พบผลลัพธ์ทั้งหมด 205 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8771/2557
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในการฟ้องคดีความผิด พ.ร.บ.เสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐ สงวนไว้สำหรับรัฐเท่านั้น เอกชนผู้เสนอราคมิใช่ผู้เสียหาย
ความผิดตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐ พ.ศ.2542 มาตรา 3, 7, 12 รัฐเท่านั้นที่จะเป็นผู้เสียหายในการฟ้องคดีต่อผู้กระทำความผิด โจทก์ซึ่งเป็นผู้เข้าร่วมเสนอราคาซึ่งเป็นเอกชนมิได้อยู่ในฐานะผู้เสียหายที่จะฟ้องร้องคดีเองได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7337/2557
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เขตอำนาจศาลเปลี่ยนแปลงหลังมีกฎหมายใหม่ คดีอยู่ในอำนาจศาลฎีกาฯ
ประกาศคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ฉบับที่ 30 ข้อ 10/1 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดย พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประกาศคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ฉบับที่ 30 พ.ศ.2550 มาตรา 3 เป็นบทบัญญัติว่าด้วยการฟ้องและการพิจารณาคดีจึงเป็นกฎหมายในส่วนวิธีสบัญญัติและมีผลใช้บังคับทันทีนับตั้งแต่วันที่กฎหมายมีผลใช้บังคับ เป็นผลให้คดีที่โจทก์ฟ้องกล่าวหาจำเลยในฐานะกรรมการตรวจสอบว่ากระทำความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการ อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ทั้งการดำเนินคดีต่อคณะกรรมการ ป.ป.ช. ซึ่งรวมทั้งคณะกรรมการตรวจสอบตาม พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง พ.ศ.2542 มาตรา 36 ถึงมาตรา 44 มีวิธีพิเศษแตกต่างไปจากการดำเนินคดีอาญาทั่วไป เป็นการคุ้มครองประโยชน์สาธารณะ และคุ้มครองคณะกรรมการดังกล่าวมิให้ถูกกลั่นแกล้งดำเนินคดีได้โดยง่าย อันเป็นหลักประกันในการปฏิบัติหน้าที่ ศาลชั้นต้นจึงไม่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีนี้อีกต่อไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6336/2557
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกระทำชำเราโดยใช้สิ่งอื่นใดกับอวัยวะเพศเด็กชาย: ศาลฎีกาวินิจฉัยความผิดฐานกระทำชำเรา
การกระทำของจำเลยที่ใช้ปากอมอวัยวะเพศของผู้เสียหายที่ 3 จากนั้นจับอวัยวะเพศของผู้เสียหายที่ 3 ใส่เข้าไปในทวารหนักของจำเลยถือได้ว่าเป็นการใช้สิ่งอื่นใดกระทำกับอวัยวะเพศของผู้เสียหายที่ 3 ตาม ป.อ. มาตรา 277 วรรคสอง การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดฐานกระทำชำเรา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6197/2557
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอุทธรณ์เฉพาะปัญหาข้อกฎหมายต้องไม่ขัดกับข้อเท็จจริงที่ต้องวินิจฉัย หากมีประเด็นข้อเท็จจริง ศาลชั้นต้นไม่อนุญาตอุทธรณ์โดยตรงต่อศาลฎีกา
แม้โจทก์อุทธรณ์ในเรื่องอำนาจฟ้องซึ่งเป็นปัญหาข้อกฎหมาย แต่จำเลยได้ยื่นคำแก้อุทธรณ์ว่าโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องและให้ยกฟ้องโจทก์ในส่วนที่เกี่ยวกับที่ดินพิพาทเสียด้วย ซึ่งพอแปลได้ว่า จำเลยเห็นว่าที่ดินพิพาทมิได้เป็นทรัพย์สินที่ผู้ตายและจำเลยหามาได้ร่วมกันดังที่ศาลชั้นต้นได้วินิจฉัยมา ดังนี้ คดีจึงมีประเด็นตามคำแก้อุทธรณ์ของจำเลยที่ศาลต้องยกขึ้นวินิจฉัยด้วยว่า ที่ดินพิพาทเป็นทรัพย์สินที่ผู้ตายและจำเลยหามาได้ร่วมกันหรือเป็นทรัพย์สินของจำเลย ซึ่งข้อเท็จจริงยังฟังไม่ยุติ ประเด็นในชั้นอุทธรณ์ในส่วนนี้ จึงเป็นปัญหาข้อเท็จจริง กรณีไม่ใช่การอุทธรณ์เฉพาะปัญหาข้อกฎหมายจึงไม่อาจอนุญาตให้อุทธรณ์โดยตรงต่อศาลฎีกา ป.วิ.พ. มาตรา 223 ทวิ วรรคหนึ่งได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5870/2557
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเจ้าหนี้ในคดีล้มละลาย: การเลือกยื่นคำขอรับชำระหนี้จากลูกหนี้รายใด เป็นสิทธิของเจ้าหนี้ ไม่ถือเป็นการละเมิด
โจทก์เป็นเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ของบริษัท ก. ซึ่งศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดเมื่อวันที่ 2 พฤษภาคม 2544 ตามหนังสือแจ้งคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด บริษัท ก. เป็นลูกหนี้ของจำเลยโดยเมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2540 บริษัท ก. ทำสัญญาโอนสิทธิเรียกร้องที่จะได้รับค่าจ้างตามสัญญาจ้างเหมาก่อสร้างอาคารโครงการ ค. ที่มีต่อบริษัท ค. ให้แก่จำเลยตามหนังสือสัญญาโอนสิทธิเรียกร้อง ซึ่งบริษัทดังกล่าวชำระเงินให้แก่จำเลยไม่ตรงตามสัญญาโอนสิทธิเรียกร้อง จำเลยจึงยื่นฟ้องบริษัท ค. ต่อศาลและเมื่อวันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2543 ศาลชั้นต้นพิพากษาให้บริษัท ค. ชำระเงินพร้อมดอกเบี้ยแก่จำเลยตามสำเนาคำพิพากษา ต่อมาบริษัท ก. ถูกพิทักษ์ทรัพย์ จำเลยยื่นคำร้องขอรับชำระหนี้จากกองทรัพย์สินของบริษัท ก. ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ในมูลหนี้ที่มีอยู่ตามสัญญากู้ยืมเงิน ขายลดตั๋วเงิน บัญชีเดินสะพัด ทรัสต์รีซีท และจำนอง ตามสำเนาคำขอรับชำระหนี้และสัญญาจำนอง ต่อมาวันที่ 4 มีนาคม 2546 ศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของบริษัท ค. เด็ดขาด ตามสำเนาคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดในหนังสือพิมพ์แนวหน้าฉบับลงวันที่ 11 เมษายน 2546 และลงประกาศโฆษณาในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 13 พฤษภาคม 2546 ตามสำเนาประกาศเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์สำเนาประกาศหนังสือพิมพ์และราชกิจจานุเบกษาซึ่งจำเลยไม่ได้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ของบริษัท ค. ปัญหาว่าการที่จำเลยไม่ยื่นคำขอรับชำระหนี้จากทรัพย์สินของบริษัท ค. เป็นการละเมิดต่อกองทรัพย์สินของบริษัท ก. จำเลยหรือไม่ เห็นว่า ตามหนังสือสัญญาโอนสิทธิเรียกร้องข้อ 2 ระบุว่าการโอนสิทธิเรียกร้องที่บริษัท ก. จำกัด มีต่อบริษัท ค. ให้แก่จำเลยเพื่อเป็นการประกันหนี้ต่าง ๆ ของบริษัท ก. ที่มีต่อจำเลย ซึ่งหากจำเลยได้รับชำระหนี้ตามสัญญาโอนสิทธิเรียกร้องต่ำกว่าหนี้สิน บริษัท ก. ยังคงต้องรับผิดในส่วนที่ขาดต่อโจทก์ตามสัญญาข้อ 8 ทั้งยังต้องรับผิดในมูลหนี้เดิมตามสัญญาข้อ 9 ภาระหนี้ที่บริษัท ก. จะต้องรับผิดต่อจำเลยจึงเป็นไปตามหนังสือสัญญาโอนสิทธิเรียกร้องซึ่งเกิดจากความสมัครใจของบริษัท ค. ที่จะตกลงผูกพันเช่นนั้น เมื่อทั้งบริษัท ค. และบริษัท ก. ถูกศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด ย่อมก่อให้เกิดสิทธิแก่จำเลยในฐานะเจ้าหนี้ที่จะยื่นคำขอรับชำระหนี้ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2493 มาตรา 91 จากกองทรัพย์สินของลูกหนี้ทุกคน ส่วนจำเลยจะยื่นคำขอรับชำระหนี้คนใดไม่ยื่นคำขอรับชำระหนี้จากกองทรัพย์สินของลูกหนี้คนใดก็เป็นสิทธิของจำเลย และเมื่อไม่ปรากฏว่าการงดเว้นไม่ขอรับชำระหนี้จากกองทรัพย์สินของบริษัทเป็นการงดเว้นการใช้สิทธิซึ่งมีความประสงค์ให้เกิดความเสียหายแก่บริษัท ก. การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นละเมิดต่อกองทรัพย์สินของบริษัท ก. จำเลยจึงไม่ต้องชดใช้รับผิดค่าเสียหายแก่โจทก์ตามฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4492/2557
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนสิทธิเรียกร้องไปยังบริษัทบริหารสินทรัพย์และการสวมสิทธิดำเนินคดีตาม พ.ร.ก.บริหารสินทรัพย์
การที่โจทก์เดิมโอนสิทธิเรียกร้องที่มีอยู่กับจำเลยทั้งสี่ให้แก่บริษัทสินทรัพย์เพชรบุรี จำกัด เป็นการโอนสินทรัพย์ด้อยคุณภาพและหลักประกันเพื่อให้บริษัทบริหารสินทรัพย์ดำเนินการบริหารจัดการหนี้ อันเป็นเรื่องการบริหารสินทรัพย์ตามความในมาตรา 3 แห่ง พ.ร.ก.บริษัทบริหารสินทรัพย์ พ.ศ.2541 การโอนสิทธิในการบริหารจัดการหนี้มิใช่เป็นเรื่องการโอนกิจการของธนาคารพาณิชย์ตามความในมาตรา 38 ตรี แห่ง พ.ร.บ.การธนาคารพาณิชย์ พ.ศ.2505 จึงไม่ต้องดำเนินการตาม พ.ร.บ.การธนาคารพาณิชย์ พ.ศ.2505 มาตรา 38 จัตวา การโอนสิทธิเรียกร้องระหว่างโจทก์เดิมกับบริษัทบริหารสินทรัพย์เพชรบุรี จำกัด จึงเป็นการดำเนินการตาม พ.ร.ก.บริษัทบริหารสินทรัพย์ พ.ศ.2541 ซึ่งโจทก์เดิมสามารถกระทำได้ และเมื่อบริษัทบริหารสินทรัพย์เพชรบุรี จำกัด โอนสิทธิเรียกร้องดังกล่าวให้แก่ผู้ร้อง ผู้ร้องก็มีสิทธิขอเข้าสวมสิทธิเป็นโจทก์ตามความในมาตรา 7 แห่ง พ.ร.ก.บริษัทบริหารสินทรัพย์ พ.ศ.2541
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3867/2557
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผลกระทบของกฎหมายวิธีสบัญญัติใหม่ต่อคดีที่ฟ้องไว้ก่อนหน้า: อำนาจศาลเปลี่ยนแปลง
หลักกฎหมายที่ห้ามมีผลใช้บังคับย้อนหลังนั้น ห้ามใช้บังคับย้อนหลังเฉพาะกฎหมายในส่วนที่เป็นสารบัญญัติเท่านั้น มิได้ห้ามในส่วนวิธีสบัญญัติด้วย พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประกาศคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ฉบับที่ 30 พ.ศ.2550 ที่แก้ไขเพิ่มเติม ข้อ 10/1 ของประกาศฉบับดังกล่าวจึงมีผลใช้บังคับแก่คดีนี้ทันที อันมีผลให้คดีของโจทก์ทั้งสองไม่อยู่ในเขตอำนาจการพิจารณาพิพากษาของศาลชั้นต้นอีกต่อไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1488/2557
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเปลี่ยนแปลงโทษยาเสพติดและการริบของกลาง ศาลฎีกาตัดสินให้บังคับคดีตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น
ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำเลยที่ 1 ตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 มาตรา 66 วรรคสอง จำคุก 2 ปี และปรับ 200,000 บาท ศาลอุทธรณ์ภาค 2 พิพากษาแก้ให้ลงโทษตามมาตรา 66 วรรคหนึ่ง จำคุก 3 ปี ศาลอุทธรณ์ภาค 2 แก้เฉพาะวรรคในมาตรา 66 และแก้โทษด้วยนั้น โดยความผิดตามวรรคหนึ่งและวรรคสองของพระราชบัญญัติดังกล่าวมีอัตราโทษขั้นต่ำและขั้นสูงต่างกันมาก ซึ่งความผิดตามวรรคหนึ่งนั้น มีอัตราโทษจำคุกขั้นต่ำสี่ปี ขั้นสูงสิบห้าปี หรือปรับขั้นต่ำแปดหมื่นบาทถึงสามแสนบาท แต่วรรคสองมีอัตราโทษจำคุกขั้นต่ำสี่ปี ขั้นสูงจำคุกตลอดชีวิต และปรับขั้นต่ำสี่แสนบาท ขั้นสูงห้าล้านบาท การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 2 แก้วรรคและแก้โทษในกรณีความผิดตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 มาตรา 66 นั้น เป็นการแก้ไขมาก ไม่ต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ. มาตรา 218
เมทแอมเฟตามีนของกลางที่จำเลยทั้งสองมีไว้ในครอบครองมีจำนวน 50 เม็ด คำนวณเป็นสารบริสุทธิ์ได้ 1.10 กรัม จึงต้องด้วยข้อสันนิษฐานตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 มาตรา 15 วรรคสาม (2) ให้ถือว่าเป็นการมีไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายลงโทษตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 มาตรา 66 วรรคสอง
โทรศัพท์เคลื่อนที่ของกลางที่เจ้าพนักงานตำรวจยึดได้จากจำเลยที่ 2 นั้น จำเลยที่ 2 ได้นำโทรศัพท์เคลื่อนที่ดังกล่าวมาใช้ในการติดต่อซื้อขายเมทแอมเฟตามีนกับสายลับ โดยติดต่อนัดหมายเวลาและสถานที่ในการส่งมอบเมทแอมเฟตามีน โทรศัพท์เคลื่อนที่ดังกล่าวจึงเป็นเครื่องมือ เครื่องใช้ หรือวัตถุอื่น ซึ่งได้ใช้ในการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดให้โทษตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 มาตรา 102 จึงให้ริบ
เมทแอมเฟตามีนของกลางที่จำเลยทั้งสองมีไว้ในครอบครองมีจำนวน 50 เม็ด คำนวณเป็นสารบริสุทธิ์ได้ 1.10 กรัม จึงต้องด้วยข้อสันนิษฐานตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 มาตรา 15 วรรคสาม (2) ให้ถือว่าเป็นการมีไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายลงโทษตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 มาตรา 66 วรรคสอง
โทรศัพท์เคลื่อนที่ของกลางที่เจ้าพนักงานตำรวจยึดได้จากจำเลยที่ 2 นั้น จำเลยที่ 2 ได้นำโทรศัพท์เคลื่อนที่ดังกล่าวมาใช้ในการติดต่อซื้อขายเมทแอมเฟตามีนกับสายลับ โดยติดต่อนัดหมายเวลาและสถานที่ในการส่งมอบเมทแอมเฟตามีน โทรศัพท์เคลื่อนที่ดังกล่าวจึงเป็นเครื่องมือ เครื่องใช้ หรือวัตถุอื่น ซึ่งได้ใช้ในการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดให้โทษตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 มาตรา 102 จึงให้ริบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1419/2557
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับผิดร่วมกันในสัญญาจ้างว่าความของผู้เยาว์ โดยผู้แทนโดยชอบธรรม
แม้หนังสือสัญญาว่าจ้างระบุชื่อผู้ว่าจ้างคือ จำเลยที่ 2 แต่เพียงผู้เดียว แต่ในหนังสือสัญญาดังกล่าวข้อ 1 มีข้อตกลงระบุให้โจทก์ว่าความในคดีดังกล่าวที่จำเลยที่ 2 เป็นผู้แทนโดยชอบธรรมของจำเลยที่ 1 อีกทั้งใบแต่งทนายความก็ระบุว่า จำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 2 ผู้แทนโดยชอบธรรมแต่งตั้งโจทก์เป็นทนายความในคดีดังกล่าว นอกจากนี้จำเลยที่ 2 ไม่ได้เป็นตัวความในคดีดังกล่าว การจ้างโจทก์ว่าความจึงเป็นการกระทำเพื่อประโยชน์ของจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นผู้เยาว์อย่างแท้จริง ข้อเท็จจริงย่อมฟังได้ว่า จำเลยที่ 2 ทำหนังสือสัญญาจ้างว่าความแทนจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นผู้เยาว์ด้วย จำเลยที่ 1 จึงต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 2 ต่อโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 827/2557
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
จำกัดสิทธิอุทธรณ์/ฎีกาในคดีเช่าและค่าเสียหาย หากเกินทุนทรัพย์ที่ฟ้อง และประเด็นค่าซ่อมแซมอาคาร
โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยออกจากอาคารพาณิชย์พิพาท 2 คูหา อันมีค่าเช่าคูหาละ 4,000 บาท จึงต้องห้ามมิให้คู่ความอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 224 วรรคสอง ที่จำเลยอุทธรณ์ว่า พยานหลักฐานจำเลยฟังได้ว่าสัญญาเช่าระหว่างโจทก์กับจำเลยเป็นสัญญาต่างตอบแทนยิ่งกว่าการเช่า เป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง ต้องห้ามตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายดังกล่าว ส่วนที่จำเลยอุทธรณ์ว่า ศาลชั้นต้นกำหนดค่าเสียหายสูงเกินไปนั้น ศาลชั้นต้นกำหนดค่าเสียหายเดือนละ 14,000 บาท นับแต่วันที่ 1 ธันวาคม 2553 เมื่อนับถึงวันฟ้องวันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2554 ทุนทรัพย์ที่พิพาทในส่วนนี้จึงไม่เกินห้าหมื่นบาท ต้องห้ามมิให้คู่ความอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 224 วรรคหนึ่ง ที่ศาลอุทธรณ์รับวินิจฉัยข้อเท็จจริงดังกล่าวแล้วมีคำพิพากษามาจึงไม่ชอบ และปัญหานี้เป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้คู่ความไม่ได้ฎีกาขึ้นมา ศาลฎีกาย่อมยกขึ้นวินิจฉัยแก้ไขให้ถูกต้องได้ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5) และกรณีเช่นนี้จำเลยย่อมไม่มีสิทธิฎีกาข้อเท็จจริงในประเด็นดังกล่าวต่อมาด้วย
ส่วนที่จำเลยฎีกาในส่วนฟ้องแย้งขอให้โจทก์ชำระค่าซ่อมแซมอาคารพิพาทเป็นเงิน 450,000 บาท นั้น เห็นว่า ที่จำเลยซ่อมแซมอาคารพิพาทนั้นล้วนเป็นการซ่อมแซมเพื่อประโยชน์ของจำเลยเอง จำเลยจึงไม่มีสิทธิเรียกค่าซ่อมแซมอาคารพิพาทจากโจทก์
ส่วนที่จำเลยฎีกาในส่วนฟ้องแย้งขอให้โจทก์ชำระค่าซ่อมแซมอาคารพิพาทเป็นเงิน 450,000 บาท นั้น เห็นว่า ที่จำเลยซ่อมแซมอาคารพิพาทนั้นล้วนเป็นการซ่อมแซมเพื่อประโยชน์ของจำเลยเอง จำเลยจึงไม่มีสิทธิเรียกค่าซ่อมแซมอาคารพิพาทจากโจทก์