พบผลลัพธ์ทั้งหมด 205 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 400/2557
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้ำ: ประเด็นการครอบครองที่ดินไม่เหมือนกัน แม้ขอแบ่งแยกที่ดินในลักษณะเดียวกัน
ในคดีก่อน คำฟ้องของโจทก์ยกข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาว่า ส. ซึ่งเป็นภริยาของบุตร ท. สัญญายกที่ดินพิพาทให้โจทก์ ส่วนฟ้องของโจทก์คดีนี้เป็นการยกข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาว่า ที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์แต่ต้นโดยได้รับการให้จาก ท. มารดาของโจทก์ ถึงแม้คำขอของโจทก์ในคดีก่อนและคดีนี้จะขอให้จำเลยทั้งสองไปจดทะเบียนแบ่งแยกที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์กึ่งหนึ่งเหมือนกันก็ตาม ก็ยังถือไม่ได้ว่าประเด็นที่ศาลได้วินิจฉัยในคดีก่อนกับประเด็นที่ศาลจะต้องวินิจฉัยในคดีนี้อาศัยเหตุอย่างเดียวกัน ฟ้องโจทก์คดีนี้จึงไม่เป็นฟ้องซ้ำกับคดีก่อนและไม่ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 148
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 238/2557
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนนิติกรรมไถ่ถอนจำนองที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย การประมาทเลินเล่อของผู้รับจำนอง และสิทธิของผู้รับโอนที่สุจริต
แม้นิติกรรมไถ่ถอนจำนองที่ดินพิพาทระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 2 จะเกิดจากการกระทำโดยผิดกฎหมายของจำเลยที่ 1 ที่ลักเอาหนังสือสัญญาจำนองที่ดินและโฉนดที่ดินพิพาทไป แล้วปลอมลายมือชื่อพนักงานผู้มีอำนาจลงลายมือชื่อโจทก์ในหนังสือมอบอำนาจและหนังสือมอบอำนาจช่วงพร้อมประทับตราสำคัญของโจทก์ลงในหนังสือมอบอำนาจ จากนั้นร่วมกับจำเลยที่ 2 นำเอกสารดังกล่าวไปจดทะเบียนนิติกรรมไถ่ถอนจำนองที่ดินพิพาทต่อเจ้าพนักงานที่ดินสำนักงานที่ดินจังหวัดชลบุรี อันเป็นการมิชอบและโจทก์ชอบที่จะฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมไถ่ถอนจำนองอันมิชอบดังกล่าวได้ก็ตาม แต่การดังกล่าวเกิดขึ้นเนื่องจากโจทก์เก็บรักษาหนังสือสัญญาจำนองที่ดินและโฉนดที่ดินพิพาทไม่ดี ทำให้จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นพนักงานสินเชื่อของโจทก์มีโอกาสลักเอาเอกสารดังกล่าวไปจดทะเบียนนิติกรรมไถ่ถอนจำนองที่ดินพิพาท ถือได้ว่าเหตุเกิดเพราะโจทก์มีส่วนประมาทเลินเล่ออยู่ด้วย และข้อเท็จจริงได้ความว่า จำเลยที่ 2 จดทะเบียนยกที่ดินพิพาทให้จำเลยที่ 3 โดยจำเลยที่ 3 รับโอนที่ดินพิพาทไว้โดยสุจริตและเสียค่าตอบแทน แล้วจำเลยที่ 3 จดทะเบียนจำนองที่ดินพิพาทไว้แก่จำเลยที่ 4 โดยจำเลยที่ 4 รับจำนองที่ดินพิพาทไว้โดยสุจริตและเสียค่าตอบแทนเช่นกัน ดังนั้น หากศาลพิพากษาว่านิติกรรมไถ่ถอนจำนองที่ดินพิพาทระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 2 ตกเป็นโมฆะ และให้จำเลยทั้งสี่ร่วมกันจดทะเบียนเพิกถอนนิติกรรมไถ่ถอนจำนองที่ดินพิพาทแล้วร่วมกันจดทะเบียนให้โจทก์เป็นผู้รับจำนองที่ดินพิพาทลำดับแรกตามเดิม ย่อมมีผลกระทบต่อจำเลยที่ 3 และที่ 4 ซึ่งอยู่ในฐานะผู้รับโอนและผู้รับจำนองที่ดินพิพาทโดยสุจริตและเสียค่าตอบแทนอย่างแน่นอน เนื่องจากผู้รับจำนองคนหลังจะบังคับตามสิทธิของตนให้เสียหายแก่ผู้รับจำนองคนก่อนนั้นหาได้ไม่ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 731 อีกทั้งในชั้นอุทธรณ์โจทก์ยังได้ระบุในอุทธรณ์ของโจทก์โดยแสดงเจตนาให้เห็นว่าโจทก์ไม่ประสงค์จะขอให้เพิกถอนนิติกรรมยกให้ที่ดินพิพาทระหว่างจำเลยที่ 2 กับจำเลยที่ 3 หรือขอให้เพิกถอนนิติกรรมจำนองระหว่างจำเลยที่ 3 กับจำเลยที่ 4 เพราะโจทก์เห็นว่า จำเลยที่ 2 ยังคงมีกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทจึงมีอำนาจที่จะจดทะเบียนยกให้จำเลยที่ 3 ได้ และจำเลยที่ 3 ก็มีอำนาจที่จะนำที่ดินพิพาทไปจดทะเบียนจำนองไว้แก่จำเลยที่ 4 ได้เช่นกัน จึงเท่ากับว่าโจทก์ยอมรับถึงสิทธิของจำเลยที่ 3 และที่ 4 ในฐานะผู้รับโอนที่ดินพิพาทและผู้รับจำนองที่ดินพิพาทตามลำดับ
โจทก์มีส่วนประมาทเลินเล่ออยู่ด้วยจึงไม่มีทางที่จะคงสิทธิของโจทก์ในฐานะผู้รับจำนองที่ดินพิพาทลำดับแรกไว้ได้โดยไม่กระทบสิทธิของจำเลยที่ 3 และที่ 4 ดังนั้น ที่โจทก์มีคำขอท้ายคำฟ้องในลำดับแรก ขอให้ศาลพิพากษาว่านิติกรรมไถ่ถอนจำนองที่ดินพิพาทระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 2 ตกเป็นโมฆะ และให้มีการเพิกถอนนิติกรรมไถ่ถอนจำนองที่ดินพิพาท โดยให้โจทก์เป็นผู้รับจำนองที่ดินพิพาทลำดับแรกตามเดิม จึงเป็นกรณีที่สภาพแห่งหนี้ไม่เปิดช่องให้ทำเช่นนั้นได้ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 213 วรรคหนึ่ง
ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องโจทก์สำหรับจำเลยที่ 3 และที่ 4 แต่ไม่ได้สั่งเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 3 และที่ 4 เป็นการไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 161 และมาตรา 167 และศาลอุทธรณ์ภาค 2 มิได้แก้ไข ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขให้ถูกต้อง
โจทก์มีส่วนประมาทเลินเล่ออยู่ด้วยจึงไม่มีทางที่จะคงสิทธิของโจทก์ในฐานะผู้รับจำนองที่ดินพิพาทลำดับแรกไว้ได้โดยไม่กระทบสิทธิของจำเลยที่ 3 และที่ 4 ดังนั้น ที่โจทก์มีคำขอท้ายคำฟ้องในลำดับแรก ขอให้ศาลพิพากษาว่านิติกรรมไถ่ถอนจำนองที่ดินพิพาทระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 2 ตกเป็นโมฆะ และให้มีการเพิกถอนนิติกรรมไถ่ถอนจำนองที่ดินพิพาท โดยให้โจทก์เป็นผู้รับจำนองที่ดินพิพาทลำดับแรกตามเดิม จึงเป็นกรณีที่สภาพแห่งหนี้ไม่เปิดช่องให้ทำเช่นนั้นได้ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 213 วรรคหนึ่ง
ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องโจทก์สำหรับจำเลยที่ 3 และที่ 4 แต่ไม่ได้สั่งเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 3 และที่ 4 เป็นการไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 161 และมาตรา 167 และศาลอุทธรณ์ภาค 2 มิได้แก้ไข ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขให้ถูกต้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 21413/2556
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องบังคับชำระหนี้ทายาทของผู้ค้ำประกันและผู้จำนองก่อนถึงกำหนดชำระหนี้หลัก
โจทก์กับบริษัท ด. ทำสัญญาปรับปรุงโครงสร้างหนี้ โดย ด. ผูกพันยอมรับผิดต่อโจทก์ในฐานะผู้ค้ำประกันและตามสัญญาจำนองที่มีอยู่เดิม ต่อมา ด. ถึงแก่ความตาย ไม่ปรากฏว่าบริษัท ด. ตกเป็นผู้ผิดนัด โจทก์ในฐานะเจ้าหนี้จึงยังไม่มีสิทธิเรียกให้กองมรดกของ ด. และจำเลยทั้งสามในฐานะทายาทโดยธรรมของ ด. ซึ่งเป็นผู้ค้ำประกันและผู้จำนองประกันหนี้ของบริษัทดังกล่าวชำระหนี้แก่โจทก์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 686 กรณียังไม่ถือว่าโจทก์ถูกโต้แย้งสิทธิ โจทก์จึงไม่สามารถใช้สิทธิทางศาลตาม ป.วิ.พ. มาตรา 55 ในการฟ้องบังคับให้กองมรดกของ ด. รวมทั้งจำเลยทั้งสามซึ่งเป็นทายาทโดยธรรมของ ด. ให้รับผิดต่อโจทก์ในมูลหนี้ดังกล่าวได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 21386/2556
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การระงับคดีอาญาหลังจำเลยเสียชีวิต และการเปลี่ยนตัวคู่ความในคดีแพ่งเกี่ยวเนื่อง
คดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา ผู้เสียหายยื่นคำร้องขอเข้าร่วมเป็นโจทก์และยื่นคำร้องขอให้บังคับจำเลยทั้งสองร่วมกันชดใช้ค่าสินไหมทดแทนตาม ป.วิ.อ. มาตรา 44/1 เมื่อจำเลยที่ 2 ถึงแก่ความตาย สิทธินำคดีอาญามาฟ้องของโจทก์และโจทก์ร่วมสำหรับจำเลยที่ 2 ย่อมระงับไปตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39 (1) ให้จำหน่ายคดีเฉพาะส่วนอาญา สำหรับคดีส่วนแพ่งเมื่อโจทก์ร่วมยื่นคำร้องขอให้เรียก ส. บุตรและผู้จัดการมรดกของจำเลยที่ 2 เข้ามาเป็นคู่ความแทนที่จำเลยที่ 2 ผู้มรณะ และข้อเท็จจริงฟังได้ว่า ส. เป็นทายาทและผู้จัดการมรดกของจำเลยที่ 2 จึงมีคำสั่งตั้ง ส. เข้ามาเป็นคู่ความแทนจำเลยที่ 2 ผู้มรณะ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 21183/2556
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การใช้สำเนาบัตรประชาชนโดยมิชอบเพื่อเช่าบริการโทรศัพท์ ถือเป็นความผิดฐานฉ้อโกงและเอาเอกสารไปเสีย
การที่จำเลยแอบอ้างขอสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนจากผู้เสียหายที่ 1 ถึงที่ 15 โดยอ้างว่าจะนำไปเข้าร่วมโครงการต่อต้านยาเสพติดให้โทษ แต่กลับนำไปใช้เป็นเอกสารยื่นคำขอและทำสัญญาเช่าใช้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่กับผู้เสียหายที่ 16 การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดฐานเอาไปเสียซึ่งเอกสารของผู้อื่นในประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่นหรือประชาชน และฐานฉ้อโกงตาม ป.อ. มาตรา 188 และ 341
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 20799/2556
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเรียกร้องประกันหนี้ vs. การบังคับคดีก่อนใช้สิทธิ ผู้มีสิทธิเรียกร้องยังมิได้บังคับใช้สิทธิยันเจ้าพนักงานบังคับคดีไม่ได้
สัญญาโอนสิทธิเรียกร้องเงินฝากเป็นประกันทั้งสองสัญญามีข้อตกลงโอนสิทธิเรียกร้องเงินตามบัญชีเงินฝากออมทรัพย์สองบัญชี ให้แก่ผู้คัดค้านเป็นผู้รับโอนโดยเฉพาะเจาะจงและผู้คัดค้านได้บอกกล่าวการโอนไปยังบริษัท บ. และ ฟ. ซึ่งเป็นลูกหนี้ของจำเลยตามสัญญาจ้างแล้ว การโอนสิทธิเรียกร้องจึงมีผลครบถ้วนสมบูรณ์ที่จะยกขึ้นต่อสู้ลูกหนี้หรือบุคคลภายนอกได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 306 วรรคหนึ่ง แต่การโอนสิทธิเรียกร้องของผู้คัดค้านที่รับโอนสิทธิมาก็เพื่อเป็นประกันหนี้สินของจำเลยที่มีต่อผู้คัดค้านเท่านั้น และในระหว่างที่เป็นประกันหนี้ของจำเลยหากจำเลยไม่ผิดสัญญาที่มีต่อผู้คัดค้าน ผู้คัดค้านก็ยังไม่อาจบังคับสิทธิเรียกร้องที่รับโอนเงินดังกล่าว และเงินจำนวนดังกล่าวยังอยู่ในบัญชีเงินฝากออมทรัพย์ของจำเลยทั้งสองบัญชี กรณีจึงเป็นเรื่องที่ผู้คัดค้านยังไม่ได้บังคับตามสิทธิเรียกร้อง แต่ได้ถูกโจทก์ซึ่งเป็นผู้ใช้สิทธิเรียกร้องฟ้องคดีต่อศาลจนศาลมีคำพิพากษาแล้วทำการอายัดบังคับชำระหนี้ไปก่อนที่ผู้คัดค้านจะใช้สิทธิเรียกร้อง เมื่อผู้คัดค้านเป็นเพียงผู้มีสิทธิเรียกร้องโดยยังมิได้บังคับใช้สิทธิเรียกร้องจึงไม่อาจใช้ยันต่อเจ้าพนักงานบังคับคดีที่ทำการอายัดไปก่อนได้ ดังนี้ ผู้คัดค้านจึงไม่มีสิทธิได้รับคืนเงินที่กรมบังคับคดีอายัดไปจากบัญชีทั้งสอง และมีหน้าที่ต้องโอนเงินที่เหลือในบัญชีทั้งสองให้แก่กรมบังคับคดี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 18489/2556
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมสิทธิ์ในบัญชีเงินฝากเป็นของเจ้าของบัญชี พินัยกรรมยกทรัพย์สินของผู้อื่นให้ไม่ได้
ป.พ.พ. มาตรา 1646 บัญญัติว่า บุคคลใดจะแสดงเจตนาโดยพินัยกรรมกำหนดการเผื่อตายในเรื่องทรัพย์สินของตนเอง หรือในการต่าง ๆ อันจะให้เกิดเป็นผลบังคับได้ตามกฎหมายเมื่อตนตายก็ได้ จากบทบัญญัติดังกล่าวผู้ที่จะทำพินัยกรรมกำหนดการเผื่อตายเกี่ยวกับทรัพย์สินได้นั้น จะต้องเป็นทรัพย์สินของตนเองเท่านั้น จะกำหนดการเผื่อตายเกี่ยวกับทรัพย์สินของบุคคลอื่นไม่ได้ การที่ผู้ตายฝากเงินกับธนาคารจำเลยที่ 1 โดยเปิดบัญชีเงินฝากใช้ชื่อ ผู้ตายเพื่อผู้เยาว์ แสดงว่าผู้เยาว์เป็นเจ้าของเงินฝากในบัญชี เช่นนี้ กรรมสิทธิ์ในเงินย่อมตกเป็นของผู้เยาว์ในทันทีที่ธนาคารจำเลยที่ 1 รับเงินเข้าบัญชีเงินฝาก ผู้ตายจึงไม่มีสิทธิทำพินัยกรรมยกเงินฝากดังกล่าวให้แก่ผู้ใด ข้อกำหนดในพินัยกรรมส่วนนี้ไม่มีผลบังคับ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 16139/2556
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความการฟ้องเรียกเงินคืนจากบันทึกข้อตกลงการรับชำระเงิน และความรับผิดตามข้อตกลงเมื่อบัตรเครดิตปฏิเสธ
โจทก์ฟ้องเรียกเงินคืนจากจำเลยโดยอาศัยสิทธิเรียกร้องที่เกิดจากบันทึกข้อตกลงการรับบริการชำระเงินเพื่อการสั่งสินค้าและ/หรือขอใช้บริการของร้านค้าผ่านสื่อต่าง ๆ ที่จำเลยทำไว้กับโจทก์ จึงมิใช่กรณีผู้ประกอบธุรกิจในการดูแลกิจการของผู้อื่นหรือรับทำการงานต่าง ๆ เรียกเอาสินจ้างอันจะพึงได้รับในการนั้น รวมทั้งเงินที่ได้ออกทดรองไปอันมีกำหนดอายุความ 2 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/34 (7) ทั้งไม่ใช่การฟ้องให้ชำระหนี้เงินตามสัญญาที่เกิดจากการใช้บัตรเครดิต การฟ้องเรียกเงินคืนจากจำเลยตามบันทึกข้อตกลงดังกล่าวไม่มีกฎหมายบัญญัติอายุความไว้โดยเฉพาะจึงต้องใช้อายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/30 คดีโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ
ตามบันทึกข้อตกลง ข้อ 12 มีข้อความจำกัดความรับผิดของโจทก์ในกรณีที่โจทก์ได้รับคำสั่งซื้อตาม ข้อ 5 และจ่ายเงินให้แก่ร้านค้า (จำเลย) หรือนำเงินเข้าบัญชีดังกล่าวใน ข้อ 9 แล้ว ปรากฏในภายหลังว่า มีกรณีอื่นใดอันเป็นผลให้โจทก์ไม่สามารถเรียกเก็บเงินดังกล่าวได้ไม่ว่าประการใด ๆ ก็ตาม จำเลยจะคืนเงินเท่ากับจำนวนที่ธนาคารไม่สามารถเรียกเก็บได้นั้นให้กับโจทก์พร้อมยินยอมเสียดอกเบี้ยในอัตราสูงสุดของจำนวนเงินดังกล่าวนับแต่โจทก์ได้จ่ายเงินหรือนำเงินเข้าบัญชีดังกล่าวในข้อ 9 จนกว่าจะชำระเสร็จสิ้น เมื่อข้อเท็จจริงรับฟังได้ว่า หลังจากโจทก์นำเงินเข้าบัญชีเงินฝากของจำเลย จำนวน 303,885.18 บาท ตามใบสั่งซื้อและ/หรือขอใช้บริการผ่านทางเครือข่ายอินเตอร์เน็ตหรือสิ่งอื่น จำนวน 4 รายการ ต่อมาโจทก์ได้รับแจ้งจากธนาคารผู้ออกบัตรเครดิตผ่านระบบวีซ่าปฏิเสธการใช้รายการและปฏิเสธการจ่ายเงิน โจทก์จึงมีสิทธิเรียกให้จำเลยคืนเงินจำนวนดังกล่าวพร้อมดอกเบี้ยในอัตราสูงสุดนับแต่โจทก์ได้จ่ายเงินหรือนำเงินเข้าบัญชีจำเลยจนกว่าจำเลยจะชำระให้โจทก์เสร็จสิ้น โดยไม่ต้องคำนึงว่า จำเลยประพฤติผิดสัญญาหรือข้อตกลงการรับบัตรชำระเงินเพื่อการสั่งซื้อสินค้าและ/หรือขอให้บริการของร้านค้าผ่านสื่อต่าง ๆ หรือไม่
ตามบันทึกข้อตกลง ข้อ 12 มีข้อความจำกัดความรับผิดของโจทก์ในกรณีที่โจทก์ได้รับคำสั่งซื้อตาม ข้อ 5 และจ่ายเงินให้แก่ร้านค้า (จำเลย) หรือนำเงินเข้าบัญชีดังกล่าวใน ข้อ 9 แล้ว ปรากฏในภายหลังว่า มีกรณีอื่นใดอันเป็นผลให้โจทก์ไม่สามารถเรียกเก็บเงินดังกล่าวได้ไม่ว่าประการใด ๆ ก็ตาม จำเลยจะคืนเงินเท่ากับจำนวนที่ธนาคารไม่สามารถเรียกเก็บได้นั้นให้กับโจทก์พร้อมยินยอมเสียดอกเบี้ยในอัตราสูงสุดของจำนวนเงินดังกล่าวนับแต่โจทก์ได้จ่ายเงินหรือนำเงินเข้าบัญชีดังกล่าวในข้อ 9 จนกว่าจะชำระเสร็จสิ้น เมื่อข้อเท็จจริงรับฟังได้ว่า หลังจากโจทก์นำเงินเข้าบัญชีเงินฝากของจำเลย จำนวน 303,885.18 บาท ตามใบสั่งซื้อและ/หรือขอใช้บริการผ่านทางเครือข่ายอินเตอร์เน็ตหรือสิ่งอื่น จำนวน 4 รายการ ต่อมาโจทก์ได้รับแจ้งจากธนาคารผู้ออกบัตรเครดิตผ่านระบบวีซ่าปฏิเสธการใช้รายการและปฏิเสธการจ่ายเงิน โจทก์จึงมีสิทธิเรียกให้จำเลยคืนเงินจำนวนดังกล่าวพร้อมดอกเบี้ยในอัตราสูงสุดนับแต่โจทก์ได้จ่ายเงินหรือนำเงินเข้าบัญชีจำเลยจนกว่าจำเลยจะชำระให้โจทก์เสร็จสิ้น โดยไม่ต้องคำนึงว่า จำเลยประพฤติผิดสัญญาหรือข้อตกลงการรับบัตรชำระเงินเพื่อการสั่งซื้อสินค้าและ/หรือขอให้บริการของร้านค้าผ่านสื่อต่าง ๆ หรือไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 16037/2556
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กำหนดเวลาเพิกถอนคำชี้ขาดอนุญาโตตุลาการ ไม่ใช่เรื่องอายุความ ผู้ร้องต้องดำเนินการภายใน 90 วันนับจากวันได้รับคำชี้ขาด
พ.ร.บ.อนุญาโตตุลาการ พ.ศ.2545 มาตรา 40 วรคสอง เป็นบทบังคับเรื่องกำหนดเวลาสำหรับร้องขอให้เพิกถอนคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการ ไม่ใช่เรื่องอายุความ จึงไม่อาจนำเรื่องอายุความสะดุดหยุดลงมาใช้บังคับได้ การที่ผู้ร้องยื่นคำร้องขอให้เพิกถอนคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการในครั้งแรกเมื่อวันที่ 27 พฤษภาคม 2551 และศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับคำร้องของผู้ร้องเพราะคำร้องบกพร่อง ผู้ร้องก็ชอบที่จะแก้ไขข้อบกพร่องและยื่นคำร้องเสียใหม่ภายในกำหนดเวลาดังกล่าว หรือหากผู้ร้องเห็นว่าศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับคำร้องเป็นการไม่ชอบ ผู้ร้องก็ชอบที่จะอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นที่ไม่รับคำร้องดังกล่าวตาม ป.วิ.พ. มาตรา 18 วรรคท้าย แต่เมื่อผู้ร้องมิได้ดำเนินการดังกล่าวมาจนล่วงเลยระยะเวลา 90 วันนับแต่วันที่ผู้ร้องได้รับสำเนาคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการ ผู้ร้องย่อมขาดสิทธิที่จะยื่นคำร้องขอให้เพิกถอนคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการ ตาม พ.ร.บ.อนุญาโตตุลาการ พ.ศ.2545 มาตรา 40 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 14973/2556
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาซื้อขายไฟฟ้า: ความรับผิดของผู้ใช้ไฟฟ้าและเจ้าของสถานที่เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงผู้ครอบครอง
เนื้อหาและเจตนารมณ์ของสัญญาซื้อขายไฟฟ้าและข้อบังคับของโจทก์ซึ่งถือเป็นส่วนหนึ่งของสัญญานั้น ไม่ได้มีเพียงในเรื่องสิทธิคู่สัญญาที่จะได้รับการจ่ายไฟฟ้าให้ถูกต้องและการได้รับชำระเงินค่าไฟฟ้าที่ครบถ้วนเท่านั้น แต่คู่สัญญาทั้งสองฝ่ายยังมีหน้าที่และความรับผิดเรื่องอื่นอีก โดยโจทก์ยังมีหน้าที่และความรับผิดด้านการดูแลการจ่ายไฟให้ถูกต้องและปลอดภัยตามวิสัยและพฤติการณ์ของผู้ประกอบการ ให้บริการสาธารณะด้านการจ่ายไฟฟ้า ส่วนจำเลยก็ยังมีหน้าที่และความรับผิดในฐานะผู้เป็นเจ้าของหรือผู้ครอบครองหรือผู้ดูแลสถานที่ใช้ไฟฟ้าซึ่งเป็นฝ่ายที่รู้เห็นเพียงฝ่ายเดียวเกี่ยวกับพฤติการณ์การใช้ไฟฟ้าภายในบ้านในฐานะความเป็นเจ้าของหรือผู้ครอบครอง หรือผู้ดูแลบ้านที่ใช้ไฟฟ้าตามสัญญาที่โจทก์และจำเลยตกลงกันไว้ในข้อบังคับของโจทก์ข้อ 36 จึงตกลงกันไว้ชัดเจนว่า ถ้าผู้ใช้ไฟฟ้าไม่ได้บอกเลิกการใช้ไฟฟ้า แต่มีผู้ครอบครองสถานที่ใช้ไฟฟ้า ให้ถือว่าผู้ใช้ไฟฟ้าและผู้ครอบครองสถานที่ใช้ไฟฟ้าเป็นผู้รับผิดชอบร่วมกันในการชำระค่าไฟฟ้า เมื่อจำเลยซึ่งรู้ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการขายบ้านของตนแต่เพียงฝ่ายเดียวโดยตามสภาพปกติแล้วโจทก์ไม่อาจรู้ข้อเท็จจริงนี้ได้ จำเลยจึงต้องอยู่ในฐานะคู่สัญญาที่ต้องดำเนินการตามเงื่อนไขของสัญญาให้ครบถ้วน การที่จำเลยไม่ดำเนินการบอกเลิกใช้ไฟฟ้าตามสัญญา แล้วต่อมามีผู้ใช้วิธีการตัดสายเช็คศูนย์ทางด้านไฟฟ้าเข้าเครื่องวัดหน่วยไฟฟ้าที่บริเวณหัวเสาหน้าบ้าน และมีการนำไฟฟ้าเข้าไปใช้กับอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้านใช้ไฟฟ้าไปทั้งสิ้น 64,108 หน่วย แต่เครื่องวัดไฟฟ้าของจำเลยอ่านได้เพียง 29,660 หน่วย ย่อมทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายไม่ได้รับชำระค่าไฟฟ้าตามที่ควรได้รับตามปกติ จำเลยจึงต้องรับผิดตามเงื่อนไขแห่งสัญญาดังกล่าว
การฟ้องขอให้จำเลยรับผิดชำระค่าเสียหายเท่ากับค่าไฟฟ้าที่เครื่องวัดหน่วยไฟฟ้าแสดงหน่วยน้อยกว่าความเป็นจริง เป็นการฟ้องให้ชำระหนี้ให้ถูกต้องโดยโจทก์ซึ่งมีฐานะเป็นรัฐวิสาหกิจมีวัตถุประสงค์จัดให้ได้มาและจำหน่ายพลังงานไฟฟ้าแก่ประชาชนอันมีลักษณะเป็นกิจการสาธารณูปโภค ไม่ใช่ผู้ประกอบการค้าที่จะต้องฟ้องคดีภายใน 2 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/34 (1) แต่เป็นการฟ้องเรียกค่าเสียหายจากผู้ใช้ไฟฟ้าที่ตกลงทำสัญญาซื้อขายไฟฟ้าแล้วไม่ได้ปฏิบัติหน้าที่ตามสัญญาให้ครบถ้วนเป็นเหตุให้มีผู้อื่นทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายเท่ากับค่าไฟฟ้าส่วนที่ขาดที่พึงได้ตามปกติ ซึ่งมิได้มีกฎหมายบัญญัติอายุความไว้โดยเฉพาะจึงต้องใช้อายุความ 10 ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/30
การฟ้องขอให้จำเลยรับผิดชำระค่าเสียหายเท่ากับค่าไฟฟ้าที่เครื่องวัดหน่วยไฟฟ้าแสดงหน่วยน้อยกว่าความเป็นจริง เป็นการฟ้องให้ชำระหนี้ให้ถูกต้องโดยโจทก์ซึ่งมีฐานะเป็นรัฐวิสาหกิจมีวัตถุประสงค์จัดให้ได้มาและจำหน่ายพลังงานไฟฟ้าแก่ประชาชนอันมีลักษณะเป็นกิจการสาธารณูปโภค ไม่ใช่ผู้ประกอบการค้าที่จะต้องฟ้องคดีภายใน 2 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/34 (1) แต่เป็นการฟ้องเรียกค่าเสียหายจากผู้ใช้ไฟฟ้าที่ตกลงทำสัญญาซื้อขายไฟฟ้าแล้วไม่ได้ปฏิบัติหน้าที่ตามสัญญาให้ครบถ้วนเป็นเหตุให้มีผู้อื่นทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายเท่ากับค่าไฟฟ้าส่วนที่ขาดที่พึงได้ตามปกติ ซึ่งมิได้มีกฎหมายบัญญัติอายุความไว้โดยเฉพาะจึงต้องใช้อายุความ 10 ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/30