คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.วิ.อ. ม. 198 วรรคหนึ่ง

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 4 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4443/2565

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขยายเวลาอุทธรณ์ต้องมีเหตุผลพิเศษ/สุดวิสัย และการปลอมเอกสารธรรมดา ไม่ใช่เอกสารสิทธิ
การขอขยายระยะเวลาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 23 ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15 จะกระทำได้ต่อเมื่อมีพฤติการณ์พิเศษและศาลมีคำสั่งหรือคู่ความมีคำขอขึ้นมาก่อนสิ้นระยะเวลานั้น เว้นแต่กรณีที่มีเหตุสุดวิสัย จำเลยยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์ เมื่อสิ้นระยะเวลาอุทธรณ์แล้ว จึงต้องมีเหตุสุดวิสัย จำเลยอ้างเหตุว่าจำเลยเจ็บป่วยกะทันหันและถูกกักตัวเป็นเวลา 14 วัน ข้ออ้างตามคำร้องของจำเลยไม่ใช่เหตุสุดวิสัยที่ทำให้จำเลยไม่อาจยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์ภายในกำหนดระยะเวลาอุทธรณ์ได้ คำร้องขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์ของจำเลยจึงไม่ต้องด้วยบทบัญญัติดังกล่าวข้างต้น การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตให้จำเลยขยายระยะเวลาอุทธรณ์ จึงไม่ชอบ จำเลยไม่มีสิทธิยื่นอุทธรณ์เมื่อพ้นกำหนดหนึ่งเดือนนับแต่วันอ่านคำพิพากษาศาลชั้นต้นให้จำเลยฟัง ปัญหานี้แม้จะไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกาแต่เป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225 ดังนั้น การที่จำเลยยื่นอุทธรณ์ ซึ่งล่วงเลยกำหนดระยะเวลายื่นอุทธรณ์แล้ว จึงไม่ชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 198 วรรคหนึ่ง ที่ศาลชั้นต้นสั่งรับอุทธรณ์ของจำเลยและศาลอุทธรณ์ภาค 1 วินิจฉัยอุทธรณ์ของจำเลยจึงเป็นการไม่ชอบ และไม่ก่อสิทธิให้แก่จำเลยที่จะฎีกา
อนึ่ง เอกสารสิทธิตาม ป.อ. มาตรา 1 (9) หมายความว่า เอกสารที่เป็นหลักฐานแห่งการก่อ เปลี่ยนแปลง โอน สงวนหรือระงับซึ่งสิทธิ แต่ใบโปรโมชั่นที่จำเลยปลอมเป็นเพียงเอกสารที่ให้ห้างโฮมโปรใช้เพื่อคำนวณเงินส่วนลดหรือส่วนชดเชยแต่ละช่วงเวลาที่ห้างโฮมโปรขายสินค้าของโจทก์ให้แก่ลูกค้าแล้วนำไปหักทอนกับเงินค่าสินค้าที่โจทก์จำหน่ายให้แก่ห้างโฮมโปร หาเป็นเอกสารซึ่งเป็นหลักฐานแห่งการก่อ เปลี่ยนแปลง โอน สงวนหรือระงับซึ่งสิทธิไม่ การที่จำเลยปลอมและใช้เอกสารดังกล่าวจึงเป็นการปลอมและใช้เอกสารธรรมดา มิใช่เป็นการปลอมและใช้เอกสารสิทธิปลอม ที่ศาลล่างทั้งสองลงโทษจำเลยฐานปลอมเอกสารสิทธิและใช้เอกสารสิทธิปลอมจึงเป็นการไม่ชอบ ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยและแก้ไขให้ถูกต้องได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225 และเมื่อวันที่ 21 มีนาคม 2560 มี พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา (ฉบับที่ 26) พ.ศ. 2560 ใช้บังคับ โดยมาตรา 4 แห่ง พ.ร.บ.ดังกล่าวให้ยกเลิกอัตราโทษในมาตรา 264 วรรคหนึ่ง และให้ใช้อัตราโทษใหม่แทน แต่กฎหมายที่ใช้ในภายหลังการกระทำความผิดไม่เป็นคุณแก่จำเลย จึงต้องใช้กฎหมายที่ใช้ในขณะกระทำความผิดบังคับแก่จำเลยสำหรับความผิดที่เกิดขึ้นก่อนวันที่ 21 มีนาคม 2560

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3170/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอุทธรณ์คำสั่งบังคับตามสัญญาประกันตัว: กำหนดเวลาอุทธรณ์นับจากคำสั่งล่าสุดที่บังคับใช้จริง
แม้ผู้ประกันจะผิดสัญญาประกันไม่ส่งตัวจำเลยต่อศาลตั้งแต่วันที่ 31กรกฎาคม 2541 และศาลชั้นต้นได้สั่งปรับผู้ประกันตามสัญญาประกันไปแล้วแต่ในวันนัดพร้อมต่อมาผู้ประกันแถลงขอเลื่อนการส่งตัวจำเลยและศาลชั้นต้นก็มีคำสั่งอนุญาต ย่อมมีความหมายว่าในช่วงเวลาดังกล่าวศาลจะยังไม่บังคับผู้ประกันให้ชำระค่าปรับตามสัญญาประกันและเป็นที่เข้าใจว่าหากผู้ประกันสามารถติดต่อตามจำเลยมาส่งศาลได้ ศาลชั้นต้นย่อมสั่งลดค่าปรับให้แก่ผู้ประกัน ต่อมาเมื่อถึงวันนัดพร้อมอีกครั้งในวันที่ 2 ธันวาคม 2541 ผู้ประกันก็ยังไม่สามารถติดตามจำเลยได้และขอเลื่อนการส่งตัวอีกครั้งหนึ่ง แต่ศาลชั้นต้นไม่อนุญาตและสั่งว่าถือว่าผู้ประกันผิดสัญญาประกัน ให้บังคับตามสัญญาประกันโดยให้ชำระค่าปรับภายใน 1 เดือน แต่ในวันนัดพร้อมวันที่ 30 ธันวาคม 2541อันเป็นนัดสุดท้าย ผู้ประกันก็ยังมิได้ชำระค่าปรับแต่มาแถลงต่อศาลขอเลื่อนการส่งตัวจำเลยอีกซึ่งศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่อนุญาตและให้ผู้ประกันชำระค่าปรับภายใน 30 วัน คำสั่งดังกล่าวมีความหมายว่าให้ผู้ประกันชำระค่าปรับตามสัญญาประกันภายใน 30 วันนับแต่วันที่ 30 ธันวาคม 2541อันเป็นวันที่ศาลมีคำสั่ง ดังนั้น การอุทธรณ์ของผู้ประกันถือได้ว่าเป็นการอุทธรณ์โต้แย้งคำสั่งของศาลชั้นต้นในวันที่ 30 ธันวาคม 2541 ที่ได้สั่งบังคับตามสัญญาประกันตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 119
เมื่อผู้ประกันได้ยื่นอุทธรณ์คำสั่งของศาลชั้นต้นในวันที่ 1 กุมภาพันธ์2542 เนื่องจากวันที่ 30 และ 31 มกราคม 2542 เป็นวันเสาร์และวันอาทิตย์อันเป็นวันหยุดทำการงานตามปกติ อุทธรณ์ของผู้ประกันจึงมิได้ยื่นเกินกำหนด1 เดือน นับแต่วันที่ 30 ธันวาคม 2541 อันเป็นวันที่ศาลชั้นต้นสั่งบังคับตามสัญญาประกันตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 198 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4002/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขยายเวลาอุทธรณ์: พฤติการณ์พิเศษและเหตุผลที่รับฟังได้
การขอขยายหรือย่นระยะเวลาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา23ประกอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา15จะกระทำได้ต่อเมื่อมีพฤติการณ์พิเศษและศาลได้มีคำสั่งหรือคู่ความมีคำขอขึ้นมาก่อนสิ้นระยะเวลานั้นเว้นแต่ในกรณีที่มีเหตุสุดวิสัยศาลชั้นต้นอ่านคำพิพากษาเมื่อวันที่9กันยายน2537วันที่ครบกำหนด1เดือนนับแต่วันที่ศาลชั้นต้นอ่านคำพิพากษาให้โจทก์ฟ้องคือวันที่9ตุลาคม2537เป็นวันอาทิตย์ซึ่งเป็นวันหยุดทำการดังนั้นวันสุดท้ายที่โจทก์มีสิทธิยื่นอุทธรณ์คือวันที่10ตุลาคม2537โจทก์มีเวลาเพียงพอที่จะเสนอความเห็นให้อัยการสูงสุดรับรองให้อุทธรณ์ได้ทันกำหนดระยะเวลาดังกล่าวแต่โจทก์เพิ่งยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ก่อนครบกำหนดระยะเวลายื่นอุทธรณ์เพียง3วันอ้างว่าต้องเสนออัยการสูงสุดรับรองอุทธรณ์ทั้งที่ปรากฏว่าเป็นคดีที่ไม่มีข้อเท็จจริงยุ่งยากซับซ้อนจำเลยก็ให้การรับสารภาพข้ออ้างของโจทก์ถือไม่ได้ว่ามีพฤติการณ์พิเศษอันจะเป็นเหตุให้โจทก์ขอขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4002/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขยายเวลาอุทธรณ์ต้องมีเหตุพิเศษและต้องยื่นก่อนครบกำหนด ศาลไม่อนุญาตขยายเวลาหากเหตุผลไม่สมเหตุสมผล
การขอขยายหรือย่นระยะเวลาตาม ป.วิ.พ.มาตรา 23ประกอบด้วย ป.วิ.อ.มาตรา 15 จะกระทำได้ต่อเมื่อมีพฤติการณ์พิเศษและศาลได้มีคำสั่งหรือคู่ความมีคำขอขึ้นมาก่อนสิ้นระยะเวลานั้น เว้นแต่ในกรณีที่มีเหตุสุดวิสัย ศาลชั้นต้นอ่านคำพิพากษาเมื่อวันที่ 9 กันยายน 2537 วันที่ครบกำหนด1 เดือน นับแต่วันที่ศาลชั้นต้นอ่านคำพิพากษาให้โจทก์ฟัง คือ วันที่ 9 ตุลาคม2537 เป็นวันอาทิตย์ซึ่งเป็นวันหยุดทำการ ดังนั้น วันสุดท้ายที่โจทก์มีสิทธิยื่นอุทธรณ์ คือ วันที่ 10 ตุลาคม 2537 โจทก์มีเวลาเพียงพอที่จะเสนอความเห็นให้อัยการสูงสุดรับรองให้อุทธรณ์ได้ทันกำหนดระยะเวลาดังกล่าว แต่โจทก์เพิ่งยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ก่อนครบกำหนดระยะเวลายื่นอุทธรณ์เพียง3 วัน อ้างว่าต้องเสนออัยการสูงสุดรับรองอุทธรณ์ ทั้งที่ปรากฏว่าเป็นคดีที่ไม่มีข้อเท็จจริงยุ่งยากซับซ้อน จำเลยก็ให้การรับสารภาพ ข้ออ้างของโจทก์ถือไม่ได้ว่ามีพฤติการณ์พิเศษอันจะเป็นเหตุให้โจทก์ขอขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ได้