พบผลลัพธ์ทั้งหมด 32 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6528/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนที่ดินโดยสุจริต, การไม่คัดค้านในชั้นศาล, และประเด็นข้อพิพาทที่มิได้ยกขึ้นว่ากันในศาล
ป.พ.พ. มาตรา 6 ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่า โจทก์รับโอนที่ดินพิพาทโดยสุจริต เมื่อจำเลยและผู้ร้องสอดกล่าวอ้างว่า โจทก์ไม่มีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาทและรับโอนมาโดยไม่สุจริต จำเลยและผู้ร้องสอดจึงมีหน้าที่นำสืบ
จำเลยและผู้ร้องสอดฎีกาว่า ขณะศาลชั้นต้นออกไปนอกห้องพิจารณา โจทก์ออกไปซักซ้อมพยานนอกห้องพิจารณา 2 ครั้ง เป็นการไม่ชอบ แต่ปรากฏว่าจำเลยและผู้ร้องสอดมิได้แถลงคัดค้านการกระทำของโจทก์ในวันดังกล่าวกลับยอมให้โจทก์นำพยานดังกล่าวเข้าสืบและถามค้านไปตามปกติ เพิ่งคัดค้านเมื่อเวลาเนิ่นไปถึง 7 วัน แสดงว่า จำเลยและผู้ร้องสอดไม่ติดใจคัดค้านและให้สัตยาบันแก่การกระทำของโจทก์แล้วตาม ป.วิ.พ. มาตรา 27 วรรคสอง
ที่จำเลยและผู้ร้องสอดฎีกาว่า โจทก์รับโอนที่ดินพิพาทระหว่างมีการอายัดที่ดินพิพาทเป็นการไม่สุจริต มูลหนี้ตามคำพิพากษาไม่ชอบด้วยกฎหมายคำพิพากษาและการขายทอดตลาดก็ไม่เป็นกฎหมายที่จะต้องปฏิบัติตาม แต่ปรากฏว่าจำเลยและผู้ร้องสอดไม่ได้ให้การไว้และที่จำเลยและผู้ร้องสอดฎีกาว่า โจทก์ไม่เคยเข้าครอบครองที่ดินพิพาท จึงไม่มีอำนาจฟ้อง ศาลชั้นต้นก็ไม่ได้กำหนดประเด็นข้อพิพาทไว้ จึงล้วนแต่เป็นข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 1 ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
โจทก์บรรยายฟ้องว่า โจทก์เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทโดยจดทะเบียนรับโอนมาเมื่อวันที่ 2 มีนาคม 2524 จำเลยอาศัยอยู่ในที่ดินพิพาทโดยไม่มีสิทธิ ขอให้ขับไล่และชดใช้ค่าเสียหาย เป็นการบรรยายโดยชัดแจ้งซึ่งสภาพแห่งข้อหา ข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาและคำขอบังคับตาม ป.วิ.พ. มาตรา 172วรรคสองแล้ว คำฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม
โจทก์ฟ้องขับไล่ให้ออกไปจากที่ดินพิพาท ผู้ร้องสอดต่อสู้กรรมสิทธิ์ จึงเป็นคดีมีทุนทรัพย์ ผู้ร้องสอดเสียค่าขึ้นศาลชั้นฎีกาโดยตีราคาที่ดินพิพาท 274,665 บาท จึงเป็นคดีมีทุนทรัพย์ 274,665 บาท ฉะนั้นที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 กำหนดให้จำเลยและผู้ร้องสอดใช้ค่าทนายความชั้นอุทธรณ์แทนโจทก์5,000 บาท จึงชอบแล้ว
จำเลยและผู้ร้องสอดฎีกาว่า ขณะศาลชั้นต้นออกไปนอกห้องพิจารณา โจทก์ออกไปซักซ้อมพยานนอกห้องพิจารณา 2 ครั้ง เป็นการไม่ชอบ แต่ปรากฏว่าจำเลยและผู้ร้องสอดมิได้แถลงคัดค้านการกระทำของโจทก์ในวันดังกล่าวกลับยอมให้โจทก์นำพยานดังกล่าวเข้าสืบและถามค้านไปตามปกติ เพิ่งคัดค้านเมื่อเวลาเนิ่นไปถึง 7 วัน แสดงว่า จำเลยและผู้ร้องสอดไม่ติดใจคัดค้านและให้สัตยาบันแก่การกระทำของโจทก์แล้วตาม ป.วิ.พ. มาตรา 27 วรรคสอง
ที่จำเลยและผู้ร้องสอดฎีกาว่า โจทก์รับโอนที่ดินพิพาทระหว่างมีการอายัดที่ดินพิพาทเป็นการไม่สุจริต มูลหนี้ตามคำพิพากษาไม่ชอบด้วยกฎหมายคำพิพากษาและการขายทอดตลาดก็ไม่เป็นกฎหมายที่จะต้องปฏิบัติตาม แต่ปรากฏว่าจำเลยและผู้ร้องสอดไม่ได้ให้การไว้และที่จำเลยและผู้ร้องสอดฎีกาว่า โจทก์ไม่เคยเข้าครอบครองที่ดินพิพาท จึงไม่มีอำนาจฟ้อง ศาลชั้นต้นก็ไม่ได้กำหนดประเด็นข้อพิพาทไว้ จึงล้วนแต่เป็นข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 1 ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
โจทก์บรรยายฟ้องว่า โจทก์เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทโดยจดทะเบียนรับโอนมาเมื่อวันที่ 2 มีนาคม 2524 จำเลยอาศัยอยู่ในที่ดินพิพาทโดยไม่มีสิทธิ ขอให้ขับไล่และชดใช้ค่าเสียหาย เป็นการบรรยายโดยชัดแจ้งซึ่งสภาพแห่งข้อหา ข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาและคำขอบังคับตาม ป.วิ.พ. มาตรา 172วรรคสองแล้ว คำฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม
โจทก์ฟ้องขับไล่ให้ออกไปจากที่ดินพิพาท ผู้ร้องสอดต่อสู้กรรมสิทธิ์ จึงเป็นคดีมีทุนทรัพย์ ผู้ร้องสอดเสียค่าขึ้นศาลชั้นฎีกาโดยตีราคาที่ดินพิพาท 274,665 บาท จึงเป็นคดีมีทุนทรัพย์ 274,665 บาท ฉะนั้นที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 กำหนดให้จำเลยและผู้ร้องสอดใช้ค่าทนายความชั้นอุทธรณ์แทนโจทก์5,000 บาท จึงชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6503/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในเครื่องหมายการค้าต่างประเทศ การฟ้องเพิกถอนการจดทะเบียนในไทย แม้จะยังไม่มีความสัมพันธ์ทางการทูต
โจทก์บรรยายฟ้องว่า โจทก์เป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัดตามกฎหมายของสาธารณรัฐประชาชนจีน โดยแนบหนังสือรับรองพร้อมคำแปลเป็นภาษาไทยมาด้วยท้ายฟ้อง ซึ่งในคำแปลเป็นภาษาไทยดังกล่าวได้ระบุว่าเป็นใบอนุญาตประกอบธุรกิจ จดทะเบียนการค้าต่างประเทศเลขที่ 10832 มีชื่อบริษัทโจทก์ ที่อยู่และทุนจดทะเบียนพร้อมซึ่งเพียงพอที่จะทำให้จำเลยและจำเลยร่วมเข้าใจได้ว่าโจทก์เป็นนิติบุคคลของประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน ส่วนข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลหรือการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์นั้น โจทก์สามารถจะนำสืบรายละเอียดในชั้นพิจารณาคดีได้ ฟ้องของโจทก์จึงมีสภาพแห่งข้อหาและคำขอบังคับ ทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาชัดเจนพอเพียงที่จำเลยและจำเลยร่วมสามารถให้การต่อสู้คดีในส่วนนี้ได้แล้ว หาเป็นฟ้องเคลือบคลุมแต่อย่างใดไม่
การเป็นผู้รับมอบอำนาจฟ้องคดีแทนนั้นไม่จำต้องระบุไว้เป็นกิจการในวัตถุประสงค์ของนิติบุคคล หากเป็นการฟ้องคดีเกี่ยวกับกิจการค้าขายที่บริษัท ก.เกี่ยวข้องอยู่ด้วย ก็ย่อมเป็นผู้รับมอบอำนาจฟ้องคดีแทนได้ เมื่อบริษัท ก.เป็นตัวแทนจำหน่ายกุญแจตราลูกโลกของโจทก์ซึ่งพิพาทกันในคดีนี้ บริษัท ก.จึงเป็นผู้รับมอบอำนาจฟ้องคดีแทนโจทก์ได้
โจทก์ได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าตราลูกโลกกับสินค้ากุญแจไว้ในต่างประเทศหลายประเทศ และได้ใช้เครื่องหมายการค้านี้ในประเทศไทยตั้งแต่ก่อนจำเลยและจำเลยร่วมจะได้ใช้และได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้านี้การที่จำเลยและจำเลยร่วมรู้ดีว่าโจทก์เป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้าดังกล่าวอยู่ก่อนแล้ว จำเลยและจำเลยร่วมยังนำเครื่องหมายการค้านั้นไปจดทะเบียนแสดงว่าจำเลยและจำเลยร่วมมิได้คิดประดิษฐ์เครื่องหมายการค้านี้ขึ้นเอง โจทก์จึงมีสิทธิในเครื่องหมายการค้าดังกล่าวดีกว่าจำเลยและจำเลยร่วม ทั้งนี้แม้โจทก์จะยังไม่ได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้านั้นในประเทศไทย และจำเลยกับจำเลยร่วมได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้านี้ก่อนที่ประเทศไทยจะมีความสัมพันธ์ทางการทูตกับประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีนก็ตาม โจทก์ก็ย่อมจะมีสิทธิในเครื่องหมายการค้าดังกล่าวดีกว่าจำเลยกับจำเลยร่วมและมีสิทธิขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้านั้นในนามของจำเลยได้ ตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2474 มาตรา 41 (1) ซึ่งใช้บังคับในขณะเกิดข้อพิพาท
การเป็นผู้รับมอบอำนาจฟ้องคดีแทนนั้นไม่จำต้องระบุไว้เป็นกิจการในวัตถุประสงค์ของนิติบุคคล หากเป็นการฟ้องคดีเกี่ยวกับกิจการค้าขายที่บริษัท ก.เกี่ยวข้องอยู่ด้วย ก็ย่อมเป็นผู้รับมอบอำนาจฟ้องคดีแทนได้ เมื่อบริษัท ก.เป็นตัวแทนจำหน่ายกุญแจตราลูกโลกของโจทก์ซึ่งพิพาทกันในคดีนี้ บริษัท ก.จึงเป็นผู้รับมอบอำนาจฟ้องคดีแทนโจทก์ได้
โจทก์ได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าตราลูกโลกกับสินค้ากุญแจไว้ในต่างประเทศหลายประเทศ และได้ใช้เครื่องหมายการค้านี้ในประเทศไทยตั้งแต่ก่อนจำเลยและจำเลยร่วมจะได้ใช้และได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้านี้การที่จำเลยและจำเลยร่วมรู้ดีว่าโจทก์เป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้าดังกล่าวอยู่ก่อนแล้ว จำเลยและจำเลยร่วมยังนำเครื่องหมายการค้านั้นไปจดทะเบียนแสดงว่าจำเลยและจำเลยร่วมมิได้คิดประดิษฐ์เครื่องหมายการค้านี้ขึ้นเอง โจทก์จึงมีสิทธิในเครื่องหมายการค้าดังกล่าวดีกว่าจำเลยและจำเลยร่วม ทั้งนี้แม้โจทก์จะยังไม่ได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้านั้นในประเทศไทย และจำเลยกับจำเลยร่วมได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้านี้ก่อนที่ประเทศไทยจะมีความสัมพันธ์ทางการทูตกับประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีนก็ตาม โจทก์ก็ย่อมจะมีสิทธิในเครื่องหมายการค้าดังกล่าวดีกว่าจำเลยกับจำเลยร่วมและมีสิทธิขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้านั้นในนามของจำเลยได้ ตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2474 มาตรา 41 (1) ซึ่งใช้บังคับในขณะเกิดข้อพิพาท
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6164/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องแทน, การแก้ไขคำฟ้อง, และการพิสูจน์หนี้: ศาลฎีกาวินิจฉัยประเด็นการฟ้องร้องและการแก้ไขคำฟ้องในคดีหนี้สิน
หนังสือมอบอำนาจระบุให้ อ. ดำเนินคดีทางศาลแทนโจทก์ได้ทั่วไปในคดีทุกชนิด ทั้งคดีแพ่ง คดีอาญา และคดีล้มละลาย จึงเป็นหนังสือมอบอำนาจทั่วไป แม้โจทก์จะได้มอบอำนาจโดยมิได้ระบุให้ฟ้องผู้ใดเป็นจำเลย และมอบอำนาจไว้นานเพียงใด อ. ก็มีอำนาจฟ้องจำเลยแทนโจทก์โดยไม่จำต้องมีหนังสืออนุญาตจากโจทก์ให้ฟ้องจำเลยอีก
ฟ้องโจทก์ได้บรรยายถึงจำนวนหนี้พร้อมดอกเบี้ยที่จำเลยค้างชำระโจทก์แจ้งชัดพอที่จำเลยจะเข้าใจแล้ว ส่วนโจทก์จะคิดดอกเบี้ยอย่างไร จากยอดเงินใด ระยะเวลาเท่าใด เป็นรายละเอียดที่โจทก์สามารถนำสืบในชั้นพิจารณาและแสดงหลักฐานต่าง ๆ ประกอบข้อเท็จจริงในฟ้องได้ หาทำให้จำเลยเสียเปรียบในการต่อสู้คดีไม่ ฟ้องโจทก์ไม่เคลือบคลุม
เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่า จำเลยยังติดค้างหนี้โจทก์เฉพาะต้นเงินยังไม่รวมดอกเบี้ยจำนวน 2,703,000 บาทเศษ แม้จำเลยจะยังโต้เถียงอยู่ว่าโจทก์คำนวณดอกเบี้ยไม่ถูกต้อง ก็ถือได้ว่าจำเลยเป็นหนี้โจทก์ซึ่งอาจกำหนดจำนวนได้แน่นอนไม่น้อยกว่า 500,000 บาท
โจทก์ขอแก้ไขจำนวนหนี้ในฟ้องให้ถูกต้องตามความเป็นจริงเมื่อแก้แล้วจำนวนหนี้โดยเฉพาะต้นเงินก็ยังไม่น้อยกว่า 500,000 บาท ตามเดิมและในเรื่องนี้ศาลฎีกาก็วินิจฉัยไว้เพียงว่าจำเลยเป็นหนี้โจทก์ในต้นเงินไม่น้อยกว่า500,000 บาท โดยมิได้ชี้ชัดในชั้นนี้ว่ายอดหนี้ทั้งหมดที่ถูกต้องเป็นเท่าใด เพราะจะต้องไปว่ากันในชั้นขอรับชำระหนี้ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์อยู่แล้ว ฉะนั้นฎีกาของจำเลยที่ว่าศาลชั้นต้นอนุญาตให้โจทก์แก้ไขคำฟ้องภายหลังสืบพยานโจทก์เสร็จแล้วเป็นการไม่ชอบ จึงไม่เป็นสาระแก่คดี เพราะไม่ทำให้ผลแห่งคดีเปลี่ยนแปลงไม่ว่าจะอนุญาตให้แก้ไขคำฟ้องหรือไม่ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
จำเลยคงมีแต่พยานบุคคลมาสืบต่อสู้ว่าชำระหนี้ให้โจทก์ครบถ้วนแล้วโดยไม่ปรากฏว่าได้อ้างอิงพยานเอกสารแสดงถึงการชำระหนี้ หากให้จำเลยนำพยานบุคคลมาสืบอีกในประเด็นนี้ก็ไม่ทำให้การวินิจฉัยคดีเปลี่ยนแปลงไป ฉะนั้น ที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งตัดพยานบุคคลของจำเลยที่จะนำสืบในประเด็นดังกล่าวจึงชอบแล้ว
ฟ้องโจทก์ได้บรรยายถึงจำนวนหนี้พร้อมดอกเบี้ยที่จำเลยค้างชำระโจทก์แจ้งชัดพอที่จำเลยจะเข้าใจแล้ว ส่วนโจทก์จะคิดดอกเบี้ยอย่างไร จากยอดเงินใด ระยะเวลาเท่าใด เป็นรายละเอียดที่โจทก์สามารถนำสืบในชั้นพิจารณาและแสดงหลักฐานต่าง ๆ ประกอบข้อเท็จจริงในฟ้องได้ หาทำให้จำเลยเสียเปรียบในการต่อสู้คดีไม่ ฟ้องโจทก์ไม่เคลือบคลุม
เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่า จำเลยยังติดค้างหนี้โจทก์เฉพาะต้นเงินยังไม่รวมดอกเบี้ยจำนวน 2,703,000 บาทเศษ แม้จำเลยจะยังโต้เถียงอยู่ว่าโจทก์คำนวณดอกเบี้ยไม่ถูกต้อง ก็ถือได้ว่าจำเลยเป็นหนี้โจทก์ซึ่งอาจกำหนดจำนวนได้แน่นอนไม่น้อยกว่า 500,000 บาท
โจทก์ขอแก้ไขจำนวนหนี้ในฟ้องให้ถูกต้องตามความเป็นจริงเมื่อแก้แล้วจำนวนหนี้โดยเฉพาะต้นเงินก็ยังไม่น้อยกว่า 500,000 บาท ตามเดิมและในเรื่องนี้ศาลฎีกาก็วินิจฉัยไว้เพียงว่าจำเลยเป็นหนี้โจทก์ในต้นเงินไม่น้อยกว่า500,000 บาท โดยมิได้ชี้ชัดในชั้นนี้ว่ายอดหนี้ทั้งหมดที่ถูกต้องเป็นเท่าใด เพราะจะต้องไปว่ากันในชั้นขอรับชำระหนี้ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์อยู่แล้ว ฉะนั้นฎีกาของจำเลยที่ว่าศาลชั้นต้นอนุญาตให้โจทก์แก้ไขคำฟ้องภายหลังสืบพยานโจทก์เสร็จแล้วเป็นการไม่ชอบ จึงไม่เป็นสาระแก่คดี เพราะไม่ทำให้ผลแห่งคดีเปลี่ยนแปลงไม่ว่าจะอนุญาตให้แก้ไขคำฟ้องหรือไม่ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
จำเลยคงมีแต่พยานบุคคลมาสืบต่อสู้ว่าชำระหนี้ให้โจทก์ครบถ้วนแล้วโดยไม่ปรากฏว่าได้อ้างอิงพยานเอกสารแสดงถึงการชำระหนี้ หากให้จำเลยนำพยานบุคคลมาสืบอีกในประเด็นนี้ก็ไม่ทำให้การวินิจฉัยคดีเปลี่ยนแปลงไป ฉะนั้น ที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งตัดพยานบุคคลของจำเลยที่จะนำสืบในประเด็นดังกล่าวจึงชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6129/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องขับไล่ไม่ต้องอ้างสัญญาเช่า หากจำเลยเข้าครอบครองที่ดินโดยไม่มีสิทธิ
โจทก์มิได้ฟ้องขอให้บังคับจำเลยโดยอาศัยสัญญาเช่า แต่ฟ้องขับไล่เนื่องจากจำเลยเข้าไปอยู่ในที่ดินพิพาทโดยไม่มีสิทธิ ฟ้องโจทก์จึงไม่ต้องระบุรายละเอียดว่า จำเลยเช่าที่ดินส่วนไหนของที่ดินโจทก์ ที่ดินที่เช่ามีจำนวนเท่าใด ทำสัญญาเช่ากันหรือไม่ และคิดค่าเช่าเท่าใด ทั้งจำเลยก็ให้การต่อสู้ว่าไม่เคยเช่าที่ดินจากโจทก์ ที่ดินที่จำเลยปลูกโรงเรือนเป็นที่สาธารณะ แสดงว่าจำเลยทราบแล้วว่าที่ดินพิพาทอยู่บริเวณใดของที่ดินโจทก์ ฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6052/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบอกเลิกสัญญา, เบี้ยปรับ, และการรับผิดค่าฤชาธรรมเนียมในสัญญาจ้างก่อสร้าง
คำฟ้องโจทก์ได้บรรยายถึงงานที่โจทก์ว่าจ้างจำเลยที่ 1ก่อสร้างคลองส่งน้ำดาดคอนกรีตโดยมีสัญญาว่าจ้างพร้อมทั้งรายละเอียดข้อกำหนดการก่อสร้างคลองและแบบรูปคลอง ซึ่งถือว่าแบบรูปและรายละเอียดดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของสัญญาที่คู่สัญญาถือไว้คนละฉบับ โจทก์ได้แนบสัญญาว่าจ้างมาท้ายฟ้องด้วย โดยเฉพาะโจทก์ได้บรรยายฟ้องไว้โดยตรงว่า จำเลยที่ 1ผิดสัญญาในงวดที่ 3 และที่ 4 โจทก์ได้บอกเลิกสัญญาแล้วและได้ว่าจ้างผู้อื่นทำงานส่วนที่จำเลยที่ 1 ผิดสัญญาทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย ถือได้ว่าคำฟ้องโจทก์ได้แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหา คำขอบังคับและข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาเช่นว่านั้นแล้ว จำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 3 ย่อมทราบดีถึงขนาดของคลองส่งน้ำที่จำเลยที่ 1 รับจ้างก่อสร้าง โจทก์หาต้องบรรยายขนาด กว้าง ยาว ลึกของคลองส่งน้ำมาด้วยไม่ ส่วนงานที่โจทก์ว่าจ้าง พ.ให้ทำงานต่อจากจำเลยที่ 1 มีอะไรบ้างนั้นเป็นรายละเอียดที่นำสืบในชั้นพิจารณาได้ คำฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม
แม้จำเลยที่ 1 ได้ส่งมอบและโจทก์ได้รับมอบงานงวดที่ 2หลังจากสิ้นสุดการต่ออายุสัญญาครั้งที่ 2 แล้วก็ตาม แต่ในการรับมอบงานงวดที่ 2นั้น เนื่องจากล่วงเลยกำหนดเวลาส่งมอบงานตามที่ขอต่ออายุสัญญาครั้งที่ 2โจทก์ได้สงวนสิทธิในการคิดเบี้ยปรับและได้หักเบี้ยปรับจากสินจ้างงวดที่ 2ที่จ่ายให้จำเลยที่ 1 ด้วย นอกจากนี้หลังจากโจทก์ไม่รับมอบงานงวดที่ 3และที่ 4 เพราะงานไม่เสร็จตามที่จำเลยที่ 1 ขอส่งมอบแล้ว โจทก์ก็ได้มีหนังสือเร่งรัดให้จำเลยที่ 1 ทำการก่อสร้างอีก แสดงว่าโจทก์ยังมีเจตนายึดถือระยะเวลาส่งมอบงานเป็นสาระสำคัญอยู่ เมื่อจำเลยที่ 1 ทำงานงวดที่ 3 และที่ 4ไม่แล้วเสร็จตามกำหนดเวลา จำเลยที่ 1 จึงเป็นฝ่ายผิดสัญญา โจทก์มีสิทธิบอกเลิกสัญญาได้ตามสัญญา การที่โจทก์มีหนังสือเร่งรัดให้จำเลยที่ 1 ทำงานว่า ถ้าไม่ทำงานภายใน 7 วัน นับแต่ได้รับหนังสือ โจทก์จะบอกเลิกสัญญานั้น เป็นการให้โอกาสจำเลยที่ 1 โดยโจทก์ยังไม่บอกเลิกสัญญาทันทีเท่านั้น แต่จำเลยที่ 1 ก็ไม่ได้ดำเนินการก่อสร้างแต่อย่างใดโดยไม่ได้แจ้งเหตุขัดข้องและทิ้งงานไป โจทก์จึงบอกเลิกสัญญาแก่จำเลยที่ 1 การบอกเลิกสัญญาของโจทก์จึงชอบแล้ว
ส่วนเรื่องดอกเบี้ยนั้น สัญญาว่าจ้างได้กำหนดว่าจำเลยที่ 1ต้องเสียเบี้ยปรับหากไม่ทำงานให้แล้วเสร็จตามสัญญาเท่านั้น หาใช่กำหนดวันที่จำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 3 ต้องชำระเบี้ยปรับแก่โจทก์ไม่ ดังนั้น วันผิดนัดชำระเบี้ยปรับที่โจทก์จะพึงเรียกดอกเบี้ยจากจำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 3 จึงต้องเริ่มนับตั้งแต่วันครบกำหนดทวงถาม
โจทก์ฟ้องให้จำเลยที่ 4 ร่วมรับผิดน้อยกว่าจำเลยที่ 1 ที่ 2และที่ 3 จำเลยที่ 4 จึงควรรับผิดในค่าฤชาธรรมเนียมตามส่วนที่จำเลยที่ 4ต้องรับผิดเท่านั้น การที่ศาลชั้นต้นกำหนดให้จำเลยที่ 4 ใช้ค่าฤชาธรรมเนียมเท่ากับจำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 3 ย่อมไม่เป็นธรรมต่อจำเลยที่ 4 แม้จำเลยที่ 4มิได้ฎีกา ศาลฎีกาก็เห็นสมควรกำหนดให้จำเลยที่ 4 ใช้ค่าขึ้นศาลแทนโจทก์เท่าที่โจทก์ชนะคดีจำเลยที่ 4
แม้จำเลยที่ 1 ได้ส่งมอบและโจทก์ได้รับมอบงานงวดที่ 2หลังจากสิ้นสุดการต่ออายุสัญญาครั้งที่ 2 แล้วก็ตาม แต่ในการรับมอบงานงวดที่ 2นั้น เนื่องจากล่วงเลยกำหนดเวลาส่งมอบงานตามที่ขอต่ออายุสัญญาครั้งที่ 2โจทก์ได้สงวนสิทธิในการคิดเบี้ยปรับและได้หักเบี้ยปรับจากสินจ้างงวดที่ 2ที่จ่ายให้จำเลยที่ 1 ด้วย นอกจากนี้หลังจากโจทก์ไม่รับมอบงานงวดที่ 3และที่ 4 เพราะงานไม่เสร็จตามที่จำเลยที่ 1 ขอส่งมอบแล้ว โจทก์ก็ได้มีหนังสือเร่งรัดให้จำเลยที่ 1 ทำการก่อสร้างอีก แสดงว่าโจทก์ยังมีเจตนายึดถือระยะเวลาส่งมอบงานเป็นสาระสำคัญอยู่ เมื่อจำเลยที่ 1 ทำงานงวดที่ 3 และที่ 4ไม่แล้วเสร็จตามกำหนดเวลา จำเลยที่ 1 จึงเป็นฝ่ายผิดสัญญา โจทก์มีสิทธิบอกเลิกสัญญาได้ตามสัญญา การที่โจทก์มีหนังสือเร่งรัดให้จำเลยที่ 1 ทำงานว่า ถ้าไม่ทำงานภายใน 7 วัน นับแต่ได้รับหนังสือ โจทก์จะบอกเลิกสัญญานั้น เป็นการให้โอกาสจำเลยที่ 1 โดยโจทก์ยังไม่บอกเลิกสัญญาทันทีเท่านั้น แต่จำเลยที่ 1 ก็ไม่ได้ดำเนินการก่อสร้างแต่อย่างใดโดยไม่ได้แจ้งเหตุขัดข้องและทิ้งงานไป โจทก์จึงบอกเลิกสัญญาแก่จำเลยที่ 1 การบอกเลิกสัญญาของโจทก์จึงชอบแล้ว
ส่วนเรื่องดอกเบี้ยนั้น สัญญาว่าจ้างได้กำหนดว่าจำเลยที่ 1ต้องเสียเบี้ยปรับหากไม่ทำงานให้แล้วเสร็จตามสัญญาเท่านั้น หาใช่กำหนดวันที่จำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 3 ต้องชำระเบี้ยปรับแก่โจทก์ไม่ ดังนั้น วันผิดนัดชำระเบี้ยปรับที่โจทก์จะพึงเรียกดอกเบี้ยจากจำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 3 จึงต้องเริ่มนับตั้งแต่วันครบกำหนดทวงถาม
โจทก์ฟ้องให้จำเลยที่ 4 ร่วมรับผิดน้อยกว่าจำเลยที่ 1 ที่ 2และที่ 3 จำเลยที่ 4 จึงควรรับผิดในค่าฤชาธรรมเนียมตามส่วนที่จำเลยที่ 4ต้องรับผิดเท่านั้น การที่ศาลชั้นต้นกำหนดให้จำเลยที่ 4 ใช้ค่าฤชาธรรมเนียมเท่ากับจำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 3 ย่อมไม่เป็นธรรมต่อจำเลยที่ 4 แม้จำเลยที่ 4มิได้ฎีกา ศาลฎีกาก็เห็นสมควรกำหนดให้จำเลยที่ 4 ใช้ค่าขึ้นศาลแทนโจทก์เท่าที่โจทก์ชนะคดีจำเลยที่ 4
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5916/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภาระจำยอม: สิทธิการใช้ทางและขอบเขตการรื้อถอนสิ่งกีดขวางตามข้อตกลง
บันทึกข้อตกลงเรื่องภาระจำยอมมีข้อความระบุให้ที่ดินของจำเลยที่ 1 ตกอยู่ในบังคับภาระจำยอมเรื่องทางเดิน ทางรถเต็มทั้งแปลงของโฉนดที่ดินของโจทก์ ต่อมาโจทก์ได้แบ่งแยกที่ดินออกเป็นแปลงย่อยหลายแปลงที่ดินด้านหน้าที่ติดถนนก็ปลูกตึกแถวตลอดแนวเต็มเนื้อที่ และโจทก์จะดำเนินการก่อสร้างด้านในหลังตึกแถวดังกล่าวโดยทำถนนคอนกรีตไปจดแนวเขตที่ดินของจำเลยที่ 1 แต่จำเลยทั้งสองไม่ยอมรื้อหลักหินและตัดต้นไม้เล็ก ๆ ที่ขึ้นตามแนวเขตออกและยังมีสิ่งกีดขวางอื่น ๆ อีก จึงเป็นการขัดขวางการใช้ทางภาระจำยอมของโจทก์ ที่จำเลยทั้งสองอ้างว่าการจดทะเบียนภาระจำยอมนั้นเป็นการยอมให้ใช้เดินและใช้รถตามถนนในสภาพที่อยู่เดิม ไม่ใช่ยอมให้โจทก์เชื่อมถนนของโจทก์ จำเลยเข้าด้วยกัน ขัดกับข้อตกลงภาระจำยอมจึงฟังไม่ได้
จำเลยที่ 2 เป็นผู้ดูแลผลประโยชน์ที่ดินของจำเลยที่ 1 ขัดขวางมิให้โจทก์ทำถนนมาเชื่อมกับถนนภาระจำยอม เป็นการละเมิดโต้แย้งสิทธิของโจทก์โดยตรง โจทก์จึงมีสิทธิฟ้องจำเลยที่ 2
ฟ้องโจทก์ที่บรรยายว่าโจทก์ได้รับความเสียหายจากการไม่ได้ใช้ทางภาระจำยอมและจากที่บุคคลภายนอกบอกเลิกสัญญาไม่ยอมซื้อที่ดินของโจทก์ ทำให้โจทก์เสียหายไม่น้อยว่า 600,000 บาท เป็นการแสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหา คำขอบังคับทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาครบถ้วนแล้ว ฟ้องโจทก์ไม่เคลือบคลุม
จำเลยที่ 2 เป็นผู้ดูแลผลประโยชน์ที่ดินของจำเลยที่ 1 ขัดขวางมิให้โจทก์ทำถนนมาเชื่อมกับถนนภาระจำยอม เป็นการละเมิดโต้แย้งสิทธิของโจทก์โดยตรง โจทก์จึงมีสิทธิฟ้องจำเลยที่ 2
ฟ้องโจทก์ที่บรรยายว่าโจทก์ได้รับความเสียหายจากการไม่ได้ใช้ทางภาระจำยอมและจากที่บุคคลภายนอกบอกเลิกสัญญาไม่ยอมซื้อที่ดินของโจทก์ ทำให้โจทก์เสียหายไม่น้อยว่า 600,000 บาท เป็นการแสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหา คำขอบังคับทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาครบถ้วนแล้ว ฟ้องโจทก์ไม่เคลือบคลุม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5872/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความชัดเจนของคำฟ้อง: การระบุตัวผู้กระทำผิดในฐานะลูกจ้าง
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยเป็นผู้ครอบครองหรือเจ้าของรถยนต์คันเกิดเหตุชนกับรถจักรยานยนต์ของโจทก์ ในวันเกิดเหตุลูกจ้างของจำเลยขับรถยนต์ของจำเลยไปในทางการที่จ้างโดยประมาท เป็นเหตุให้รถจักรยานยนต์ของโจทก์ที่ 1 ได้รับความเสียหาย โจทก์ที่ 1 และที่ 2 ได้รับอันตรายแก่กายและได้รับอันตรายสาหัสและต้องเสียหายเพียงใด แม้โจทก์ทั้งสองจะมิได้ระบุชื่อลูกจ้างของจำเลยก็ตามก็เป็นเพียงรายละเอียด สาระสำคัญของคำฟ้องในส่วนนี้คงมุ่งเน้นแต่เพียงว่าคนขับรถยนต์คันเกิดเหตุเป็นลูกจ้างขับรถยนต์ไปในทางการที่จ้างของจำเลยหรือไม่เท่านั้น คำฟ้องดังกล่าวจึงไม่เคลือบคลุม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5752/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำฟ้องไม่ชัดเจน ขาดรายละเอียดสำคัญของหนี้และดอกเบี้ย ทำให้ไม่เป็นไปตามหลัก ป.วิ.พ. มาตรา 172
คำฟ้องของโจทก์ไม่ได้บรรยายให้ชัดแจ้งว่าจำเลยคนไหนเป็นผู้เบิกเงินไปจากบัญชี เริ่มเบิกเงินเมื่อใด ครั้งสุดท้ายวันใด จำนวนเงินที่เบิกไปจากบัญชีเบิกไปตามสัญญาฉบับไหน แต่ละสัญญาและรวมทั้งสองสัญญาเป็นเงินจำนวนเท่าใดโจทก์คิดดอกเบี้ยในอัตราใด เมื่อครบกำหนดตามสัญญามีจำนวนหนี้แต่ละสัญญาอย่างไรเงินฝากของจำเลยที่โจทก์นำมาหักชำระหนี้เป็นเงินฝากของจำเลยคนไหน มีจำนวนเท่าใดและนำไปหักหนี้ตามสัญญาฉบับไหน ยอดหนี้ที่ยังเหลืออยู่เป็นหนี้ตามสัญญาฉบับไหน โจทก์กล่าวในฟ้องว่าจำเลยที่ 2 และที่ 3 จะต้องรับผิดในหนี้จำนวน378,397.80 บาท แต่คำขอท้ายฟ้องขอให้จำเลยที่ 2 และที่ 3 ร่วมรับผิดในวงเงิน 200,000 บาท พร้อมด้วยดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 15 ต่อปี นับแต่วันที่14 พฤษภาคม 2529 จนกว่าจะชำระเสร็จ นอกจากนี้ตามคำฟ้องไม่ได้กล่าวไว้ว่ามีการเบิกเงินไปจากบัญชีครบวงเงินจำนวน 200,000 บาท เมื่อใด เพราะตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชี โจทก์มีสิทธิคิดดอกเบี้ยได้ตั้งแต่วันที่มีการเบิกเงินเกินบัญชี มิใช่คิดจากวันทำสัญญา คำฟ้องของโจทก์ดังกล่าวจึงเป็นคำฟ้องที่ไม่ได้แสดงโดยชัดแจ้งซึ่งสภาพแห่งข้อหาและข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหา ไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 172 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5649/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาต้องห้าม: ข้อเท็จจริงใหม่ & ประเด็นที่ไม่ได้อุทธรณ์ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
อาคารพิพาทที่โจทก์ฟ้องขับไล่แม้โจทก์จะอ้างว่าให้เช่าได้เดือนละ 25,000 บาท แต่ศาลชั้นต้นเห็นว่าแม้อาคารพิพาทจะอยู่ในทำเลการค้าแต่ก็เป็นอาคารที่ก่อสร้างมานาน จึงกำหนดค่าเสียหายให้เพียงเดือนละ 10,000 บาทโจทก์มิได้อุทธรณ์ จึงถือได้ว่าอาคารพิพาทอาจให้เช่าได้ในขณะยื่นคำฟ้องไม่เกินเดือนละ 10,000 บาท ต้องห้ามมิให้ฎีกาในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ.มาตรา 248วรรคสอง คดีนี้ศาลอุทธรณ์ฟังข้อเท็จจริงว่า โจทก์เป็นเจ้าของที่ดินและอาคารพิพาทให้ขับไล่จำเลยและบริวารออกจากอาคารพิพาท และให้ชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์เดือนละ 10,000 บาท จำเลยฎีกาว่า โจทก์ไม่ใช่เจ้าของที่ดินและอาคารพิพาทค่าเช่าเดือนละ 10,000 บาท สูงเกินไปเพราะเป็นตึกเก่าอย่างมากคิดได้เดือนละ5,000 บาท จึงเป็นการโต้เถียงดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลอุทธรณ์เป็นฎีกาในข้อเท็จจริงจึงต้องห้ามตามบทบัญญัติของกฎหมายดังกล่าว ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้
ที่จำเลยฎีกาว่า จำเลยมีสิทธิอยู่ในอาคารพิพาทเพราะมีสัญญาต่างตอบแทนยิ่งกว่าสัญญาเช่าธรรมดาซึ่งพอแปลได้ว่าโจทก์ยังไม่มีสิทธิฟ้องขับไล่จำเลยนั้น ในประเด็นดังกล่าวจำเลยมิได้ยกขึ้นอุทธรณ์คัดค้านคำพิพากษาศาลชั้นต้นเป็นแต่ขอให้ศาลอุทธรณ์พิจารณาตามคำฟ้องแย้งของจำเลย ซึ่งคำฟ้องแย้งของจำเลยศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับและศาลอุทธรณ์พิพากษายืน ฎีกาของจำเลยในประเด็นข้อนี้จึงเป็นข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ต้องห้ามฎีกาตาม ป.วิ.พ.มาตรา 249 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
ที่จำเลยฎีกาว่า โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง เพราะคำเบิกความของโจทก์ไม่น่าเชื่อถือ โจทก์ไม่สามารถพิสูจน์ประเด็นอำนาจฟ้องให้ชัดแจ้งได้นั้นก็เป็นการโต้เถียงดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลอุทธรณ์ จึงเป็นฎีกาในข้อเท็จจริง
ปรากฏจากคำฟ้องว่าโจทก์เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินและอาคารพิพาทตั้งอยู่ที่ถนนเยาวราช แขวงสัมพันธวงศ์ เขตสัมพันธวงศ์ กรุงเทพ-มหานคร จำเลยเช่าอาคารพิพาทเลขที่ 424 จากเจ้าของกรรมสิทธิ์เดิมโดยไม่มีสัญญาเช่าและกำหนดเวลาเช่า จำเลยยื่นคำให้การว่าเช่าที่ดินพิพาทอยู่จริงและมีสัญญาต่างตอบแทนยิ่งกว่าสัญญาเช่าธรรมดามีกำหนดระยะเวลา 30 ปีโจทก์ได้รับโอนกรรมสิทธิ์ในที่ดินและอาคารพิพาทมาจึงต้องรับสิทธิและหน้าที่ที่จะต้องให้จำเลยเช่าอยู่ในอาคารจนครบกำหนดเวลาดังกล่าว แสดงว่าจำเลยเข้าใจดีว่าอาคารพิพาทตั้งอยู่ส่วนใดของที่ดินพิพาทและสามารถต่อสู้คดีได้ถูกต้องฟ้องโจทก์จึงได้แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาและข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาพอที่จำเลยจะเข้าใจข้อหาของโจทก์ได้แล้วตาม ป.วิ.พ.มาตรา 172วรรค 2 ฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม
ที่จำเลยฎีกาว่า จำเลยมีสิทธิอยู่ในอาคารพิพาทเพราะมีสัญญาต่างตอบแทนยิ่งกว่าสัญญาเช่าธรรมดาซึ่งพอแปลได้ว่าโจทก์ยังไม่มีสิทธิฟ้องขับไล่จำเลยนั้น ในประเด็นดังกล่าวจำเลยมิได้ยกขึ้นอุทธรณ์คัดค้านคำพิพากษาศาลชั้นต้นเป็นแต่ขอให้ศาลอุทธรณ์พิจารณาตามคำฟ้องแย้งของจำเลย ซึ่งคำฟ้องแย้งของจำเลยศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับและศาลอุทธรณ์พิพากษายืน ฎีกาของจำเลยในประเด็นข้อนี้จึงเป็นข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ต้องห้ามฎีกาตาม ป.วิ.พ.มาตรา 249 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
ที่จำเลยฎีกาว่า โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง เพราะคำเบิกความของโจทก์ไม่น่าเชื่อถือ โจทก์ไม่สามารถพิสูจน์ประเด็นอำนาจฟ้องให้ชัดแจ้งได้นั้นก็เป็นการโต้เถียงดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลอุทธรณ์ จึงเป็นฎีกาในข้อเท็จจริง
ปรากฏจากคำฟ้องว่าโจทก์เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินและอาคารพิพาทตั้งอยู่ที่ถนนเยาวราช แขวงสัมพันธวงศ์ เขตสัมพันธวงศ์ กรุงเทพ-มหานคร จำเลยเช่าอาคารพิพาทเลขที่ 424 จากเจ้าของกรรมสิทธิ์เดิมโดยไม่มีสัญญาเช่าและกำหนดเวลาเช่า จำเลยยื่นคำให้การว่าเช่าที่ดินพิพาทอยู่จริงและมีสัญญาต่างตอบแทนยิ่งกว่าสัญญาเช่าธรรมดามีกำหนดระยะเวลา 30 ปีโจทก์ได้รับโอนกรรมสิทธิ์ในที่ดินและอาคารพิพาทมาจึงต้องรับสิทธิและหน้าที่ที่จะต้องให้จำเลยเช่าอยู่ในอาคารจนครบกำหนดเวลาดังกล่าว แสดงว่าจำเลยเข้าใจดีว่าอาคารพิพาทตั้งอยู่ส่วนใดของที่ดินพิพาทและสามารถต่อสู้คดีได้ถูกต้องฟ้องโจทก์จึงได้แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาและข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาพอที่จำเลยจะเข้าใจข้อหาของโจทก์ได้แล้วตาม ป.วิ.พ.มาตรา 172วรรค 2 ฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5416/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อพิพาทสัญญาซื้อขายกล่องกระดาษ: การชำระราคา, การผิดนัด, และเบี้ยปรับ
ฟ้องเดิมของโจทก์เป็นการฟ้องเรียกราคากล่องกระดาษที่จำเลยสั่งซื้อจากโจทก์ 3 ครั้ง และคำร้องที่โจทก์ขอแก้ไขเพิ่มเติมคำฟ้องนั้น โจทก์ได้ขอเพิ่มเติมโดยเรียกราคากล่องกระดาษที่จำเลยได้สั่งซื้อจากโจทก์หลังจากครั้งที่ 3คือครั้งที่ 4 เข้ามาด้วย จึงเป็นเรื่องการเรียกราคาสิ่งของประเภทเดียวกัน อันเกิดจากนิติกรรมประเภทเดียวกันระหว่างโจทก์กับจำเลย คำฟ้องที่ขอแก้ไขเพิ่มเติมกับคำฟ้องเดิมจึงเกี่ยวข้องกันพอที่จะรวมการพิจารณาและชี้ขาดตัดสินเข้าด้วยกันได้การที่ศาลชั้นต้นมิได้ส่งสำเนาคำร้องขอแก้ไขเพิ่มเติมฟ้องให้แก่จำเลยก่อนสั่งอนุญาตนั้นเมื่อจำเลยได้รับสำเนาคำร้องแล้ว ศาลชั้นต้นได้ให้โอกาสแก่จำเลยแก้ไขเพิ่มเติมคำให้การ โดยจำเลยได้กล่าวแก้ข้อหาของโจทก์ที่เพิ่มเติมเข้ามาใหม่โดยบริบูรณ์แล้วจำเลยไม่เสียเปรียบอย่างไร ศาลฎีกาไม่เห็นสมควรให้มีการแก้ไขคำสั่งของศาลชั้นต้นดังกล่าว
โจทก์ได้บรรยายในคำฟ้องแล้วว่า จำเลยสั่งซื้อสินค้าประเภทกล่องกระดาษลูกฟูกสำหรับบรรจุน้ำส้มสายชูกลั่นชนิดขวดจากโจทก์รวม 4 ครั้งรายละเอียดการสั่งซื้อ ชนิด ขนาด และจำนวนสินค้า ปรากฏตามภาพถ่ายใบสั่งซื้อเอกสารท้ายฟ้องหมายเลข 2 ถึงหมายเลข 5 ตามลำดับ โจทก์ได้จัดส่งสินค้าตามใบสั่งซื้อดังกล่าวให้จำเลยหลายคราว จำเลยได้รับสินค้าครบถ้วนแล้ว ปรากฏรายละเอียดวันส่งสินค้า ใบส่งสินค้า และจำนวนเงินค่าสินค้าที่จัดส่งให้แต่ละคราวตามภาพถ่ายรายการใบแจ้งหนี้เอกสารท้ายฟ้องหมายเลข 6 รวม 10 ฉบับ ยังคงค้างชำระอยู่ คำบรรยายฟ้องของโจทก์ได้กล่าวโดยชัดแจ้งชอบด้วยกฎหมายแล้ว
สัญญาข้อ 2 มีว่า "ถ้าผู้ขายไม่สามารถส่งมอบสิ่งของที่ถูกต้องตามใบสั่งนี้ให้แก่ผู้ซื้อได้เลยหรือส่งมอบได้แต่เพียงบางส่วนภายในกำหนดที่กล่าวไว้ในสัญญาข้อ 1 ผู้ขายยอมให้ผู้ซื้อใช้สิทธิอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือหลายอย่างหรือทุกอย่างดังต่อไปนี้ได้ตามแต่ผู้ซื้อจะเห็นสมควรคือ 2.1 ปรับผู้ขายเป็นเงินร้อยละ5 ของราคาที่ยังมิได้ส่งมอบให้ถูกต้อง" ตามสัญญาข้อนี้จึงมีการกำหนดเบี้ยปรับไว้2 ชนิด คือเบี้ยปรับเพื่อการไม่ชำระหนี้ และเบี้ยปรับเพื่อการชำระหนี้ไม่ถูกต้องตามสมควร
พฤติการณ์ระหว่างโจทก์จำเลย เป็นเรื่องที่จำเลยรับเอากล่องกระดาษที่ส่งเกินกำหนดหลายต่อหลายครั้งตลอดมา โดยมิได้ทักท้วงอย่างใดเป็นการที่คู่กรณีไม่ถือเอากำหนดเวลาในการส่งมอบกล่องกระดาษเป็นสำคัญ ฉะนั้นแม้โจทก์มิได้ส่งมอบกล่องกระดาษแก่จำเลยภายในกำหนดตามสัญญา โจทก์ก็หาตกเป็นผู้ผิดนัดไม่ นอกจากนี้ข้อเท็จจริงไม่ปรากฏว่าขณะรับมอบกล่องกระดาษจำเลยได้สงวนสิทธิไว้ว่าจะเรียกเบี้ยปรับแต่อย่างใด จำเลยจึงไม่มีสิทธิเรียกเบี้ยปรับตามสัญญาข้อ 2 สำหรับกล่องกระดาษที่จำเลยได้รับไว้ภายหลังจากครบกำหนดเวลาส่งมอบ
จำเลยได้ค้างชำระค่ากล่องกระดาษที่จำเลยได้รับมอบไปจากโจทก์สำหรับการสั่งซื้อครั้งที่ 1 ถึงครั้งที่ 3 และค้างชำระค่ากล่องกระดาษที่สั่งซื้อในครั้งที่ 4 บางส่วนด้วย โจทก์ได้ทวงถามให้จำเลยชำระแล้ว จำเลยก็ไม่ชำระ จำเลยจึงได้ชื่อว่าผิดนัดและผิดสัญญาตาม ป.พ.พ.มาตรา 204 วรรคแรกและโจทก์มีสิทธิบอกเลิกสัญญาแก่จำเลยได้ ตาม ป.พ.พ.มาตรา 387 เมื่อโจทก์บอกเลิกสัญญาแก่จำเลยแล้ว สัญญาจึงเลิกกัน โจทก์ไม่มีหน้าที่ที่จะต้องขายหรือส่งมอบกล่องกระดาษส่วนที่เหลือให้แก่จำเลยอีกต่อไป จำเลยจึงไม่มีสิทธิเรียกเบี้ยปรับจากโจทก์สำหรับการที่โจทก์ไม่ส่งมอบกล่องกระดาษส่วนที่เหลือ
ที่จำเลยเรียกค่าเสียหายจากโจทก์เพราะเหตุที่โจทก์ส่งมอบกล่องกระดาษเกินกำหนด จึงทำให้จำเลยต้องจ่ายค่าจ้าง ค่าล่วงเวลาแก่พนักงานของจำเลยเป็นเงินจำนวนหนึ่งนั้น เมื่อการที่โจทก์ส่งมอบกล่องกระดาษแก่จำเลยเกินกำหนด มิได้เป็นการผิดนัดผิดสัญญา จำเลยจึงไม่อาจที่จะเรียกร้องค่าเสียหายจากโจทก์ได้
ที่จำเลยเรียกค่าเสียหายเพราะเหตุที่โจทก์ส่งไส้ในกล่องไม่ครบตามสัญญา 4,800 ชุด อันเป็นเหตุให้จำเลยต้องจัดหาที่อื่นมาแทน ข้อนี้โจทก์มิได้ให้การแก้ฟ้องแย้งของจำเลยอย่างไร จึงถือว่าโจทก์รับแล้ว โจทก์จึงต้องรับผิดใช้เงิน
ราคากล่องกระดาษที่โจทก์ฟ้องเรียกร้องนั้นเป็นราคากล่องกระดาษที่จำเลยได้รับไว้แล้ว แม้โจทก์จะได้ส่งมอบกล่องกระดาษบางส่วนเกินกำหนดในสัญญา จำเลยก็ไม่มีเหตุใด ๆ ตามกฎหมายที่จะไม่ต้องชำระราคากล่องกระดาษเหล่านั้น สัญญาข้อ 3 ก็ระบุว่า "ผู้ซื้อจะชำระเงินค่าสิ่งของตามใบสั่งนี้ให้แก่ผู้ขายโดยเร็วอย่างช้าไม่เกิน ... วัน นับตั้งแต่วันที่คณะกรรมการเจ้าหน้าที่ของฝ่ายผู้ซื้อได้ตรวจรับของไว้ถูกต้องแล้วเป็นต้นไป" มิได้มีความหมายว่าจำเลยจะต้องชำระเงินค่ากล่องกระดาษต่อเมื่อผู้ขายได้ส่งมอบครบถ้วนตามสัญญาดังที่จำเลยกล่าวอ้างแต่อย่างไร จำเลยจึงต้องชำระราคากล่องกระดาษที่จำเลยได้รับไปแล้วแก่โจทก์
โจทก์ได้บรรยายในคำฟ้องแล้วว่า จำเลยสั่งซื้อสินค้าประเภทกล่องกระดาษลูกฟูกสำหรับบรรจุน้ำส้มสายชูกลั่นชนิดขวดจากโจทก์รวม 4 ครั้งรายละเอียดการสั่งซื้อ ชนิด ขนาด และจำนวนสินค้า ปรากฏตามภาพถ่ายใบสั่งซื้อเอกสารท้ายฟ้องหมายเลข 2 ถึงหมายเลข 5 ตามลำดับ โจทก์ได้จัดส่งสินค้าตามใบสั่งซื้อดังกล่าวให้จำเลยหลายคราว จำเลยได้รับสินค้าครบถ้วนแล้ว ปรากฏรายละเอียดวันส่งสินค้า ใบส่งสินค้า และจำนวนเงินค่าสินค้าที่จัดส่งให้แต่ละคราวตามภาพถ่ายรายการใบแจ้งหนี้เอกสารท้ายฟ้องหมายเลข 6 รวม 10 ฉบับ ยังคงค้างชำระอยู่ คำบรรยายฟ้องของโจทก์ได้กล่าวโดยชัดแจ้งชอบด้วยกฎหมายแล้ว
สัญญาข้อ 2 มีว่า "ถ้าผู้ขายไม่สามารถส่งมอบสิ่งของที่ถูกต้องตามใบสั่งนี้ให้แก่ผู้ซื้อได้เลยหรือส่งมอบได้แต่เพียงบางส่วนภายในกำหนดที่กล่าวไว้ในสัญญาข้อ 1 ผู้ขายยอมให้ผู้ซื้อใช้สิทธิอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือหลายอย่างหรือทุกอย่างดังต่อไปนี้ได้ตามแต่ผู้ซื้อจะเห็นสมควรคือ 2.1 ปรับผู้ขายเป็นเงินร้อยละ5 ของราคาที่ยังมิได้ส่งมอบให้ถูกต้อง" ตามสัญญาข้อนี้จึงมีการกำหนดเบี้ยปรับไว้2 ชนิด คือเบี้ยปรับเพื่อการไม่ชำระหนี้ และเบี้ยปรับเพื่อการชำระหนี้ไม่ถูกต้องตามสมควร
พฤติการณ์ระหว่างโจทก์จำเลย เป็นเรื่องที่จำเลยรับเอากล่องกระดาษที่ส่งเกินกำหนดหลายต่อหลายครั้งตลอดมา โดยมิได้ทักท้วงอย่างใดเป็นการที่คู่กรณีไม่ถือเอากำหนดเวลาในการส่งมอบกล่องกระดาษเป็นสำคัญ ฉะนั้นแม้โจทก์มิได้ส่งมอบกล่องกระดาษแก่จำเลยภายในกำหนดตามสัญญา โจทก์ก็หาตกเป็นผู้ผิดนัดไม่ นอกจากนี้ข้อเท็จจริงไม่ปรากฏว่าขณะรับมอบกล่องกระดาษจำเลยได้สงวนสิทธิไว้ว่าจะเรียกเบี้ยปรับแต่อย่างใด จำเลยจึงไม่มีสิทธิเรียกเบี้ยปรับตามสัญญาข้อ 2 สำหรับกล่องกระดาษที่จำเลยได้รับไว้ภายหลังจากครบกำหนดเวลาส่งมอบ
จำเลยได้ค้างชำระค่ากล่องกระดาษที่จำเลยได้รับมอบไปจากโจทก์สำหรับการสั่งซื้อครั้งที่ 1 ถึงครั้งที่ 3 และค้างชำระค่ากล่องกระดาษที่สั่งซื้อในครั้งที่ 4 บางส่วนด้วย โจทก์ได้ทวงถามให้จำเลยชำระแล้ว จำเลยก็ไม่ชำระ จำเลยจึงได้ชื่อว่าผิดนัดและผิดสัญญาตาม ป.พ.พ.มาตรา 204 วรรคแรกและโจทก์มีสิทธิบอกเลิกสัญญาแก่จำเลยได้ ตาม ป.พ.พ.มาตรา 387 เมื่อโจทก์บอกเลิกสัญญาแก่จำเลยแล้ว สัญญาจึงเลิกกัน โจทก์ไม่มีหน้าที่ที่จะต้องขายหรือส่งมอบกล่องกระดาษส่วนที่เหลือให้แก่จำเลยอีกต่อไป จำเลยจึงไม่มีสิทธิเรียกเบี้ยปรับจากโจทก์สำหรับการที่โจทก์ไม่ส่งมอบกล่องกระดาษส่วนที่เหลือ
ที่จำเลยเรียกค่าเสียหายจากโจทก์เพราะเหตุที่โจทก์ส่งมอบกล่องกระดาษเกินกำหนด จึงทำให้จำเลยต้องจ่ายค่าจ้าง ค่าล่วงเวลาแก่พนักงานของจำเลยเป็นเงินจำนวนหนึ่งนั้น เมื่อการที่โจทก์ส่งมอบกล่องกระดาษแก่จำเลยเกินกำหนด มิได้เป็นการผิดนัดผิดสัญญา จำเลยจึงไม่อาจที่จะเรียกร้องค่าเสียหายจากโจทก์ได้
ที่จำเลยเรียกค่าเสียหายเพราะเหตุที่โจทก์ส่งไส้ในกล่องไม่ครบตามสัญญา 4,800 ชุด อันเป็นเหตุให้จำเลยต้องจัดหาที่อื่นมาแทน ข้อนี้โจทก์มิได้ให้การแก้ฟ้องแย้งของจำเลยอย่างไร จึงถือว่าโจทก์รับแล้ว โจทก์จึงต้องรับผิดใช้เงิน
ราคากล่องกระดาษที่โจทก์ฟ้องเรียกร้องนั้นเป็นราคากล่องกระดาษที่จำเลยได้รับไว้แล้ว แม้โจทก์จะได้ส่งมอบกล่องกระดาษบางส่วนเกินกำหนดในสัญญา จำเลยก็ไม่มีเหตุใด ๆ ตามกฎหมายที่จะไม่ต้องชำระราคากล่องกระดาษเหล่านั้น สัญญาข้อ 3 ก็ระบุว่า "ผู้ซื้อจะชำระเงินค่าสิ่งของตามใบสั่งนี้ให้แก่ผู้ขายโดยเร็วอย่างช้าไม่เกิน ... วัน นับตั้งแต่วันที่คณะกรรมการเจ้าหน้าที่ของฝ่ายผู้ซื้อได้ตรวจรับของไว้ถูกต้องแล้วเป็นต้นไป" มิได้มีความหมายว่าจำเลยจะต้องชำระเงินค่ากล่องกระดาษต่อเมื่อผู้ขายได้ส่งมอบครบถ้วนตามสัญญาดังที่จำเลยกล่าวอ้างแต่อย่างไร จำเลยจึงต้องชำระราคากล่องกระดาษที่จำเลยได้รับไปแล้วแก่โจทก์