คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.วิ.พ. ม. 172 วรรคสอง

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 32 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3569/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินราคาภาษีอากรที่ถูกต้องตามราคาตลาด และความรับผิดของหุ้นส่วนในห้างหุ้นส่วนจำกัด
โจทก์บรรยายฟ้องว่า ราคาสินค้าที่จำเลยสำแดงไว้คือกระจกส่องหลัง พนักพิงหลังและแผ่นรองพื้น เป็นราคาต่ำกว่าราคาแท้จริงในท้องตลาดพนักงานเจ้าหน้าที่ของโจทก์จึงประเมินราคาสินค้าและภาษีอากรใหม่ มีรายละเอียดตามสำเนาใบขนสินค้าขาเข้าและแบบแสดงรายการการค้าท้ายฟ้อง สำเนาเอกสารดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของคำฟ้อง มีข้อความระบุไว้ว่า ประเมินราคาสินค้าแต่ละรายการเพิ่มขึ้นเท่าใด คิดเป็นอากรขาเข้าและภาษีการค้าจำนวนเท่าใด คำฟ้องโจทก์แจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาและคำขอบังคับแล้ว ฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม
บัตรราคาเป็นเอกสารภายในที่โจทก์ทำขึ้น บุคคลภายนอกไม่อาจทราบได้ ทั้งมีข้อความส่วนใหญ่เป็นภาษาอังกฤษ ไม่มีคำแปลเป็นภาษาไทย ซึ่งโจทก์ก็มิได้นำสืบถึงรายละเอียดของสินค้าตามบัตรราคาดังกล่าวว่าเป็นชนิดและขนาดใดมีลักษณะอย่างไร ราคาเป็นเงินไทยเท่าใด นำเข้าโดยใคร และเมื่อใด สินค้าตามบัตรราคาเป็นสินค้าสำหรับโซนยุโรป แต่สินค้ารายพิพาทมีแหล่งกำเนิดในโซนเอเชียซึ่งเป็นสินค้าต่างแหล่งกำเนิดกัน เมื่อโจทก์ไม่นำสืบให้ได้ความดังกล่าว จึงไม่อาจนำราคาสินค้าตามบัตรราคามาใช้เป็นเกณฑ์ประเมินราคาสินค้ารายพิพาทได้
โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยทั้งสามร่วมกันรับผิดโดยอ้างว่า จำเลยที่ 1เป็นนิติบุคคลประเภทห้างหุ้นส่วนจำกัด จำเลยที่ 2 และที่ 3 เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการของจำเลยที่ 1 เป็นการฟ้องให้จำเลยทั้งสามชำระหนี้อันไม่อาจแบ่งแยกได้ แม้จำเลยที่ 2จะอุทธรณ์เพียงผู้เดียว เมื่อฟังได้ว่าจำเลยที่ 2 ไม่ต้องรับผิดตามฟ้องเนื่องจากโจทก์ประเมินภาษีอากรเพิ่มเติมสำหรับใบขนสินค้าขาเข้าและแบบแสดงรายการการค้าตามฟ้องไม่ชอบ ศาลฎีกามีอำนาจพิพากษาให้มีผลไปถึงจำเลยที่ 1 และที่ 3 ได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 245 (1) พ.ศ.2528 มาตรา 29

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3519/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความชัดเจนของคำฟ้องในคดีหนี้จากการเล่นแชร์ เพียงระบุรายละเอียดการเล่นแชร์และจำนวนหนี้ที่ค้างชำระ ถือว่าคำฟ้องไม่เคลือบคลุม
โจทก์ฟ้องว่า โจทก์และจำเลยมีนิติสัมพันธ์กันจากการเล่นแชร์เพียงอย่างเดียว ย่อมไม่ทำให้จำเลยสับสนว่าหนี้ที่โจทก์กล่าวในฟ้องเป็นเรื่องอื่นนอกจากนี้แชร์ที่โจทก์กับจำเลยร่วมกันเล่นมี 2 วง วงแชร์ที่โจทก์บรรยายในฟ้องวงแรกมีจำเลยเป็นนายวงแชร์และจำเลยค้างชำระเงินให้แก่โจทก์ผู้ประมูลได้จำนวน21,000 บาท ส่วนวงแชร์ที่โจทก์บรรยายในฟ้องตอนหลังมีโจทก์เป็นผู้เรียกเก็บเงินค่าแชร์อันหมายถึงเป็นนายวงแชร์ ซึ่งจำเลยร่วมเล่นด้วยย่อมทราบดี แชร์วงที่สองนี้จำเลยค้างชำระเงินค่าแชร์โจทก์ 2 เดือน เดือนละ 2,000 บาท เป็นเงิน4,000 บาท รวมเงินค่าแชร์ที่จำเลยค้างชำระให้แก่โจทก์ทั้งสิ้น 25,000 บาท คำฟ้องดังกล่าวแสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาและคำขอบังคับทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาพอที่จำเลยจะเข้าใจและต่อสู้คดีได้แล้ว ฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3014/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การคิดมูลค่าคดีเพื่อบังคับใช้สิทธิฎีกา ต้องพิจารณาจากส่วนครอบครองของจำเลยแต่ละราย หากราคาน้อยกว่า 200,000 บาท ถือต้องห้ามฎีกา
จำเลยแต่ละคนแยกการครอบครองที่พิพาทเป็นสัดส่วนต่างหากจากกัน การที่จะพิจารณาว่าราคาทรัพย์สินหรือจำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในข้อเท็จจริงหรือไม่ จะต้องถือตามราคาทรัพย์ที่พิพาทที่จำเลยแต่ละคนยึดถือครอบครอง เมื่อคู่ความทั้งสองฝ่ายตกลงกันตามรายงานกระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้นว่าที่พิพาทราคาไร่ละ 30,000 บาท ราคาทรัพย์สินหรือจำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีการะหว่างโจทก์กับจำเลยแต่ละรายย่อมไม่เกิน200,000 บาท จึงต้องห้ามฎีกาในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ. มาตรา 248 วรรคหนึ่ง
โจทก์บรรยายฟ้องว่า โจทก์ได้ที่พิพาทมาโดยการซื้อจากจ่าสิบตำรวจ อ. จำเลยทุกคนที่โจทก์ฟ้องได้เช่าที่พิพาทจากนาย ท. บิดาจ่าสิบ-ตำรวจ อ. แม้โจทก์จะไม่ได้บรรยายส่วนที่จำเลยแต่ละคนเช่าอยู่ว่ามีเนื้อที่คนละเท่าใดก็ตาม แต่โจทก์ก็ได้ทำแผนที่สังเขปเอกสารท้ายฟ้องระบุจุดที่จำเลยแต่ละคนเช่าอยู่อย่างชัดเจนแล้ว โจทก์จึงขอให้ขับไล่จำเลยทุกคนที่โจทก์ฟ้อง พร้อมกับเรียกค่าเสียหายเอาแก่จำเลยแต่ละคน คำฟ้องของโจทก์จึงเป็นคำฟ้องที่ได้แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาและคำขอบังคับทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 172 วรรคสองแล้ว ฟ้องโจทก์ไม่เคลือบคลุม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2986/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หน้าที่ตัวแทนจำหน่าย, การส่งมอบเงินมัดจำ, และความรับผิดต่อตัวการ
โจทก์บรรยายฟ้องว่า โจทก์มอบหมายให้จำเลยเป็นตัวแทนจำหน่ายสินค้า จำเลยขายสินค้าโจทก์แล้วไม่ส่งมอบเงินมัดจำค่าสินค้าแก่โจทก์เป็นการกล่าวอ้างว่า จำเลยในฐานะตัวแทนขายได้รับทรัพย์สินไว้แทนตัวการแล้วมิได้ส่งมอบให้แก่โจทก์ซึ่งเป็นตัวการ เป็นการผิดสัญญาตัวแทนและบรรยายคำขอบังคับ ขอให้ศาลบังคับให้จำเลยชำระเงินจำนวนดังกล่าวพร้อมดอกเบี้ยแก่โจทก์ โดยมีหลักฐานการสั่งซื้อสินค้าพร้อมหนังสือของจำเลยที่รับทราบการสั่งซื้อสินค้า และยอมรับการเป็นตัวแทนขายสินค้าให้แก่โจทก์ ฟ้องโจทก์ไม่เคลือบคลุม
โจทก์แต่งตั้งจำเลยเป็นตัวแทนจำหน่ายเครื่องจักรของโจทก์ในประเทศไทย จำเลยมีหน้าที่แนะนำผู้ซื้อเกี่ยวกับการติดตั้งเครื่องจักรให้ถูกต้องดูแลให้มีการตรวจสอบเครื่องจักรทุกชิ้นก่อนที่จะใช้เครื่องจักรดังกล่าว และจะต้องรับผิดชอบในการให้บริการหลังการขายตามสัญญา จำเลยจึงเป็นตัวแทนของโจทก์มิใช่นายหน้า จำเลยจะต้องส่งมอบเงินมัดจำให้แก่โจทก์ซึ่งเป็นตัวการเมื่อจำเลยไม่ส่งมอบจึงต้องเสียดอกเบี้ยให้แก่โจทก์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 811
เมื่อสัญญาตัวแทนมีข้อกำหนดว่า ราคาสินค้าที่ตัวแทนจะเสนอแก่ผู้จะซื้อนั้น จะต้องไม่สูงเกินกว่ารายการราคาสินค้าที่ส่งให้แก่ตัวแทน ดังนั้นการขายสินค้าเกินราคาให้แก่ลูกค้า และไม่ส่งเงินมัดจำดังกล่าวให้แก่โจทก์ซึ่งเป็นตัวการ จึงเป็นการที่ตัวแทนทำมิชอบด้วยหน้าที่ ตัวแทนไม่มีสิทธิได้รับบำเหน็จในส่วนนี้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2929/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของผู้รับขนส่งทางทะเล กรณีสินค้าสูญหายจากความประมาท ไม่ใช่เหตุสุดวิสัย
โจทก์บรรยายฟ้องว่า สินค้าของโจทก์เป็นเส้นใยฝ้ายจำนวน408 กล่อง น้ำหนัก 2,900 กิโลกรัม สูญหายทั้งหมด ซึ่งจำเลยก็ให้การรับว่าสินค้าของโจทก์ตกลงไปในทะเลและสูญหายทั้งหมด แสดงว่าจำเลยเข้าใจข้อหาได้ดีแล้ว รายการสินค้าที่เสียหายมีอย่างไร เป็นรายละเอียดที่โจทก์สามารถนำสืบได้ในชั้นพิจารณา หาจำต้องบรรยายมาในฟ้องไม่ ฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม
คดีนี้เป็นเรื่องรับขนของทางทะเล ซึ่งขณะเกิดข้อพิพาท พ.ร.บ.การรับขนของทางทะเล พ.ศ.2534 ยังไม่มีผลใช้บังคับ ทั้งไม่ปรากฏคลองจารีต-ประเพณีแห่งท้องถิ่นว่าด้วยรับขนของทางทะเล จึงต้องวินิจฉัยคดีโดยอาศัยเพียงบท-กฎหมายที่ใกล้เคียงอย่างยิ่ง ตามมาตรา 4 แห่ง ป.พ.พ. อันได้แก่ บทบัญญัติตามป.พ.พ. บรรพ 3 ลักษณะ 8 รับขน มาตรา 616 ซึ่งบัญญัติว่า ผู้ขนส่งจะต้องรับผิดในการที่ของอันเขาได้มอบหมายแก่ตนนั้นสูญหาย เว้นแต่จะพิสูจน์ได้ว่าการสูญหายนั้นเกิดแต่เหตุสุดวิสัย เมื่อปรากฏว่า การบรรทุกสินค้าของจำเลยไม่รัดกุมพอ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการใช้อุปกรณ์ผูกรัดตลอดจนวิธีการผูกรัดตู้คอนเทนเนอร์ไม่มั่นคงพอที่จะป้องกันความเสียหายอันเกิดจากคลื่นลมแรงได้ ซึ่งเป็นที่แน่นอนว่าการขนส่งสินค้าทางทะเลโดยเรือสินค้า มรสุมคลื่นลมแรงในทะเลย่อมเป็นเรื่องที่อาจเกิดขึ้นเมื่อใดก็ได้ ทั้งไม่ปรากฏว่าไม่อาจหาวิธีการอื่นใดในการผูกรัดและป้องกันการตกลงไปในทะเลของตู้คอนเทนเนอร์ให้ดีกว่าที่ปฏิบัติแล้วได้ และก่อนที่เรือจำเลยจะออกจากช่องแคบอังกฤษ ได้ทราบข่าวการพยากรณ์อากาศว่าจะเกิดคลื่นลมแรงแล้ว ดังนั้น หากนายเรือของจำเลยจะหยุดเรืออยู่ที่ช่องแคบอังกฤษรอจนกว่าคลื่นลมในอ่าวบิสเคย์สงบก่อน จึงค่อยออกเรือต่อไป ภัยพิบัติก็จะไม่เกิด จึงเป็นเรื่องที่นายเรือของจำเลยจะป้องกันได้ การที่นายเรือจำเลยอ้างว่าได้ทราบพยากรณ์-อากาศแล้วยังเดินเรือต่อไป เพราะเห็นว่าไม่เป็นอันตรายสำหรับเรือขนาดบรรทุก 20,500 ตัน นับว่าเป็นความประมาทของนายเรือจำเลยโดยแท้ ฉะนั้นจึงมิใช่เหตุสุดวิสัย เมื่อจำเลยมีภาระในการพิสูจน์ถึงเหตุสุดวิสัยเพื่อให้พ้นความรับผิดตาม ป.พ.พ. มาตรา 616 แต่นำสืบไม่ได้ตามคำให้การ จำเลยก็ต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2825/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หน้าที่นำสืบ & ความชัดเจนของฟ้อง: การที่ศาลไม่อนุญาตให้แก้ไขหน้าที่นำสืบหลังการสืบพยาน และฟ้องไม่เคลือบคลุม
จำเลยทั้งสองยื่นคำแถลงต่อศาลชั้นต้นว่า คำสั่งของศาลชั้นต้นที่กำหนดหน้าที่นำสืบไม่ถูกต้อง ขอให้ทำการชี้สองสถานและกำหนดหน้าที่นำสืบใหม่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่อนุญาต จำเลยทั้งสองไม่โต้แย้งคำสั่ง ศาลชั้นต้นดำเนินการ-สืบพยานจนเสร็จสำนวนและพิพากษาคดีแล้ว จึงอุทธรณ์ฎีกาคำสั่งในเรื่องหน้าที่-นำสืบนี้อีกไม่ได้ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 226 (2) และ 247
คำฟ้องกล่าวว่า จำเลยทั้งสองทำสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีกับโจทก์ ได้เบิกเงินเกินบัญชีหลายครั้ง และนำเงินเข้าหักทอนบัญชีตลอดมา คงเป็นหนี้ตามบัญชีกระแสรายวันท้ายฟ้องแล้วผิดสัญญา ขอให้บังคับชำระหนี้พร้อมดอกเบี้ยตามสัญญา คำฟ้องดังกล่าวจึงแสดงโดยแจ้งชัด ซึ่งสภาพแห่งข้อหา คำขอบังคับและข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหา ส่วนวิธีการคำนวณดอกเบี้ยจากต้นเงินและวันเดือนปีใดแม้โจทก์จะมิได้บรรยายไว้ ก็เป็นเรื่องรายละเอียดซึ่งโจทก์สามารถนำสืบได้ในชั้นพิจารณา ฟ้องโจทก์ไม่เคลือบคลุม
หลังจากครบกำหนดสัญญาแล้ว จำเลยทั้งสองยังคงเบิกเงิน-เกินบัญชี และนำเงินเข้าหักทอนบัญชีกับโจทก์ต่อไป เป็นการต่ออายุสัญญาออกไปโดยไม่มีกำหนดระยะเวลาจนกว่าโจทก์หรือจำเลยทั้งสองจะบอกเลิกสัญญา โจทก์มีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นต่อไปจนถึงวันบอกเลิกสัญญากับจำเลยทั้งสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2359/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับตามคำขอท้ายฟ้องและลำดับการบังคับชำระหนี้ในสัญญานายหน้า
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยมีที่ดินเนื้อที่ประมาณ 26 ไร่ ต้องการขายที่ดินดังกล่าวจำนวน 14 ไร่เศษ ซึ่งจำเลยมีโครงการจดทะเบียนแบ่งแยกที่ดินจัดสรรขายแก่บุคคลทั่วไปเพื่อนำเงินไปชำระหนี้แก่ธนาคาร เพราะจำเลยได้จำนองที่ดินจำนวน 26 ไร่ ไว้แก่ธนาคารและธนาคารบอกกล่าวบังคับจำนอง จำเลยจึงติดต่อโจทก์กับผู้มีชื่อให้เป็นนายหน้าขายที่ดินของจำเลยโดยสัญญาว่าจะยกที่ดินให้คนละ 1 ไร่เป็นค่าตอบแทนในการเป็นนายหน้า ต่อมากลางปี 2530 โจทก์สามารถติดต่อขายที่ดินให้จำเลยได้สำเร็จ แต่จำเลยไม่ยอมจดทะเบียนโอนที่ดินให้โจทก์ตามสัญญา จึงมีคำขอบังคับให้จำเลยชำระเงินค่าที่ดิน 120,000 บาท หากไม่ปฏิบัติตามให้จำเลยจดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ ดังนี้ ฟ้องโจทก์ได้บรรยายชัดแจ้งตาม ป.วิ.พ.มาตรา 172วรรคสอง แล้ว จำเลยสามารถต่อสู้คดีได้อย่างถูกต้อง ส่วนโจทก์จะติดต่อให้ผู้ใดมาซื้อที่ดินกับจำเลยในราคาเท่าใด เป็นรายละเอียดที่โจทก์สามารถนำสืบได้ในชั้นพิจารณาฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม
สัญญานายหน้าทำขึ้น 2 ฉบับ เมื่อเอกสารดังกล่าวอยู่ในความครอบครองของจำเลย 1 ฉบับ กรณีย่อมเข้าข้อยกเว้นตาม ป.วิ.พ. มาตรา 90 (2)โจทก์จึงไม่ต้องส่งสำเนาเอกสารดังกล่าวให้แก่จำเลยก่อนวันสืบพยานไม่น้อยกว่าสามวัน
แม้คำพิพากษาของศาลล่างจะมิได้บังคับให้จำเลยชำระเงิน120,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยให้แก่โจทก์ก่อน หากจำเลยไม่ปฏิบัติตามก็ให้บังคับจำเลยจดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ตามที่โจทก์ขอบังคับจำเลยมาก็ตาม แต่เมื่อลำดับการขอบังคับตามคำขอท้ายฟ้องของโจทก์มิได้เป็นไปตามขั้นตอนของการบังคับชำระหนี้ ศาลก็ชอบที่จะพิพากษาให้บังคับไปตามขั้นตอนของสิทธิที่จะบังคับชำระหนี้ที่ถูกต้องได้โดยพิพากษาให้จำเลยจดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ก่อน หากโอนไม่ได้จึงจะให้ชำระเงิน 120,000 บาท พร้อมดอกเบี้ย คำพิพากษาของศาลล่างมิได้เกินคำขอแต่อย่างใด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1478/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรุกล้ำที่ดิน: รายละเอียดการรุกล้ำไม่เป็นเหตุฟ้องขาดสาระสำคัญ, การก่อสร้างโดยสุจริต
แม้ฟ้องโจทก์มิได้บรรยายว่าอาคารของจำเลยรุกล้ำเข้าไปในที่ดินของโจทก์อย่างไร ส่วนไหน ขนาดกว้างยาวเท่าไร อยู่ทางทิศไหนของที่ดินก็หาเป็นเหตุให้ฟ้องของโจทก์ขาดสาระสำคัญไม่ เพราะข้อที่โจทก์มิได้บรรยายมานั้นเป็นเพียงรายละเอียดซึ่งนำสืบได้ในชั้นพิจารณา ฟ้องของโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม
จำเลยมีส่วนร่วมรู้เห็นและควบคุมดูแลการชี้แนวเขตและทำการก่อสร้าง แต่ไม่ทราบว่ามีการก่อสร้างคลาดเคลื่อนทำให้ตึกแถวรุกล้ำที่ดินของโจทก์ถือได้ว่าจำเลยได้ก่อสร้างตึกแถวรุกล้ำที่ดินของโจทก์โดยสุจริต

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1427/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องบังคับสัญญาซื้อขายและการเรียกร้องค่าเสียหายที่ไม่ชัดเจน ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยจดทะเบียนโอนที่ดินให้แก่โจทก์ตามสัญญาจะซื้อขายและใช้ค่าเสียหาย ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยจดทะเบียนโอนขายที่ดินและใช้ค่าเสียหายให้แก่โจทก์ ศาลอุทธรณ์พิพากษากลับให้ยกฟ้องโจทก์ฎีกาว่าจำเลยผิดสัญญาโดยเรื่องค่าเสียหาย โจทก์เพียงมีคำขอให้จำเลยใช้ค่าเสียหายมาในท้ายฎีกาเท่านั้น มิได้กล่าวอ้างมาในฎีกาว่าโจทก์ได้รับความเสียหายอย่างไรประเด็นเรื่องค่าเสียหายจึงเป็นฎีกาไม่ชัดแจ้ง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1209/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแก้ไขคำให้การเรื่องอายุความ, ฟ้องไม่เคลือบคลุม, การส่งเอกสารสืบพยาน และดุลพินิจศาล
โจทก์ยื่นฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 4 พฤศจิกายน 2531 โดยบรรยายฟ้องว่า จำเลยที่ 1 กู้เงินโจทก์ตามสัญญากู้เงิน 2 ฉบับ เมื่อวันที่ 15 ตุลาคม 2518ไม่มีกำหนดเวลาชำระเงินคืน มีจำเลยที่ 4 และที่ 5 เป็นผู้ค้ำประกันตามสำเนาสัญญาค้ำประกันท้ายฟ้อง จำเลยทั้งห้ายื่นคำให้การแล้ว ต่อมาเมื่อวันที่ 2 มีนาคม 2532ซึ่งเป็นเวลาภายหลังวันชี้สองสถาน จำเลยทั้งห้าได้ยื่นคำร้องขอแก้ไขคำให้การเพิ่มข้อต่อสู้ว่า ฟ้องโจทก์ขาดอายุความเพราะมิได้ใช้สิทธิเรียกร้องภายใน 10 ปีดังนี้ เห็นได้ว่าวันที่โจทก์ยื่นฟ้องและวันที่โจทก์อ้างว่าจำเลยที่ 1 กู้เงินโจทก์ปรากฏอยู่ในฟ้องแล้ว และจำเลยทั้งห้าทราบมาแต่แรกที่ได้รับสำเนาฟ้องแล้วว่าการกู้เงินตามที่กล่าวในฟ้องเป็นการกู้ที่ไม่มีกำหนดเวลาชำระเงินคืน ซึ่งอายุความฟ้องร้องย่อมเริ่มนับทันทีที่โจทก์ให้กู้ไป จึงเป็นกรณีที่จำเลยทั้งห้าอาจยื่นคำร้องขอแก้ไขคำให้การเพื่อเพิ่มเติมข้อต่อสู้ว่าฟ้องโจทก์ขาดอายุความได้ก่อนวันชี้สองสถาน แม้จำเลย-ทั้งห้าจะยังไม่ได้รับสำเนาสัญญากู้เงินจากโจทก์ก็ตาม ข้อเท็จจริงที่จำเลยอาจยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้ว่า ฟ้องโจทก์ขาดอายุความก็ปรากฏอยู่ในคำฟ้องก่อนวันชี้สองสถานแล้วจำเลยทั้งห้าหาจำเป็นต้องตรวจสอบความถูกต้องจากสำเนาสัญญากู้แต่อย่างใดไม่ทั้งเรื่องที่ขอแก้ไขคำให้การนี้ก็ไม่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน การที่จำเลยทั้งห้ายื่นคำร้องขอแก้ไขคำให้การเพื่อให้มีข้อต่อสู้เกี่ยวกับอายุความภายหลังวันชี้สองสถาน จึงชอบที่ศาลชั้นต้นจะมีคำสั่งยกคำร้องนั้นเสียตาม ป.วิ.พ. มาตรา180 วรรคสอง (เดิม)
ตามฟ้องโจทก์ปรากฏอยู่แล้วว่า โจทก์ฟ้องบังคับจำเลยทั้งห้าตามสัญญากู้เงิน 2 ฉบับ เป็นเงิน 544,600 บาท และสัญญาค้ำประกันท้ายฟ้องซึ่งจำเลยที่ 1 ผู้กู้ได้ชำระหนี้บางส่วนแล้ว คงค้างอยู่ในวันคิดบัญชีคือวันที่ 4พฤศจิกายน 2531 เป็นต้นเงิน 164,600 บาท และดอกเบี้ย 150,564.09 บาทดังนี้ ฟ้องโจทก์ได้บรรยายแจ้งชัดแล้วว่า หนี้ต้นเงินจำนวน 164,600 บาทที่ค้างชำระคิดมาจากยอดหนี้เงินกู้ตามสัญญากู้ทั้งสองฉบับดังกล่าว และการกล่าวถึงดอกเบี้ยก็เข้าใจได้อยู่แล้วว่าหมายถึงดอกเบี้ยของต้นเงินที่ค้างชำระอยู่ดังกล่าวโดยนับถึงวันที่ 4 พฤศจิกายน 2531 นั่นเอง ส่วนรายละเอียดในการคิดบัญชีนั้นเป็นข้อเท็จจริงที่อาจนำสืบได้ในชั้นพิจารณา คำฟ้องโจทก์ได้แสดงโดยชัดแจ้งซึ่งสภาพแห่งข้อหา และคำขอบังคับ ทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาเช่นว่านั้นตาม ป.วิ.พ. มาตรา 172 วรรคสอง แล้ว จึงไม่เป็นฟ้องเคลือบคลุม
โจทก์ได้แสดงความจำนงอ้างสัญญากู้เป็นพยานโดยยื่นบัญชีระบุพยานตามที่กำหนดไว้ใน ป.วิ.พ. มาตรา 88 วรรคแรกแล้ว แต่ในการสืบพยาน โจทก์มิได้ส่งสำเนาสัญญากู้ดังกล่าวให้จำเลยทั้งห้าก่อนวันสืบพยานอย่างน้อย 3 วัน ดังที่กำหนดไว้ใน ป.วิ.พ. มาตรา 90 (เดิม) อันเป็นกฎหมายที่ใช้อยู่ในขณะนั้น แต่ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 87 (2) ถ้าศาลเห็นว่าเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมจำเป็นจะต้องสืบพยานหลักฐานอันสำคัญซึ่งเกี่ยวกับประเด็นข้อสำคัญในคดีโดยฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติของมาตราดังกล่าว ก็ให้ศาลมีอำนาจรับฟังพยานหลักฐานเช่นว่านั้นได้ ดังนี้ ศาลชั้นต้นจึงมีอำนาจใช้ดุลพินิจรับฟังเอกสารสัญญากู้ดังกล่าวได้
เมื่อศาลอุทธรณ์เห็นพ้องด้วยกับศาลชั้นต้นที่ไม่อนุญาตให้จำเลยทั้งห้าแก้ไขคำให้การในข้อที่ว่าฟ้องโจทก์ขาดอายุความแล้ว การที่ศาลอุทธรณ์ไม่รับวินิจฉัยปัญหาเรื่องอายุความชอบด้วยกระบวนพิจารณาแล้วซึ่งศาลฎีกาเห็นพ้องด้วย จึงไม่มีเหตุที่ศาลฎีกาจะย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นพิจารณาในประเด็นเรื่องอายุความตามที่จำเลยทั้งห้าฎีกาขึ้นมา
of 4