พบผลลัพธ์ทั้งหมด 29 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7254/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อจำกัดการฎีกาในข้อเท็จจริงเมื่อทุนทรัพย์ไม่เกิน 200,000 บาท และการยินยอมในสัญญาซื้อขาย
คดีที่ศาลอุทธรณ์ภาค 2 พิพากษาให้จำเลยที่ 3 และที่ 4จดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพร้อมบ้านพิพาทในส่วนของจำเลยที่ 3 และที่ 4 ให้โจทก์ โดยให้โจทก์ทั้งสองชำระเงินแก่จำเลยที่ 3 และที่ 4 คนละ 187,500 บาทจำเลยที่ 3 และที่ 4 ฎีกาขอให้พิพากษายกฟ้องจำเลยที่ 3 และที่ 4 ทุนทรัพย์ที่พิพาทในชั้นฎีกาของจำเลยที่ 3 และที่ 4 สามารถแยกกันได้แต่ละจำนวนที่จำเลยที่ 3 และที่ 4 ต้องรับผิดตามคำพิพากษาของศาลอุทธรณ์ภาค 2 แม้จำเลยที่ 3และที่ 4 จะยื่นฎีการวมกันมา ทุนทรัพย์ในชั้นฎีกาก็ต้องแยกกันตามจำนวนที่แต่ละคนต้องรับผิด เมื่อทุนทรัพย์ในชั้นฎีกาของจำเลยที่ 3 และที่ 4 ไม่เกินคนละสองแสนบาทต้องห้ามมิให้ฎีกาในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248วรรคหนึ่ง
โจทก์ทั้งสองฟ้องว่า จำเลยทั้งสี่จะขายที่ดินพร้อมบ้านพิพาทให้แก่โจทก์ โดยโจทก์ทั้งสองวางเงินมัดจำไว้เป็นจำนวน 20,000 บาท ซึ่งจำเลยที่ 1 ได้รับไว้แล้ว สัญญาจะซื้อจะขายระหว่างโจทก์ทั้งสองกับจำเลยทั้งสี่จึงมิใช่กรณีที่จะต้องมีหลักฐานเป็นหนังสืออย่างหนึ่งอย่างใดลงลายมือชื่อของจำเลยที่ 3และที่ 4 แต่อย่างใดไม่ ดังนั้น ความยินยอมหรือการมอบอำนาจของจำเลยที่ 3และที่ 4 หาจำต้องทำเป็นหนังสือลงลายมือชื่อของจำเลยที่ 3 และที่ 4 ไม่เช่นกันกรณีไม่ต้องด้วยบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 798
โจทก์ทั้งสองฟ้องว่า จำเลยทั้งสี่จะขายที่ดินพร้อมบ้านพิพาทให้แก่โจทก์ โดยโจทก์ทั้งสองวางเงินมัดจำไว้เป็นจำนวน 20,000 บาท ซึ่งจำเลยที่ 1 ได้รับไว้แล้ว สัญญาจะซื้อจะขายระหว่างโจทก์ทั้งสองกับจำเลยทั้งสี่จึงมิใช่กรณีที่จะต้องมีหลักฐานเป็นหนังสืออย่างหนึ่งอย่างใดลงลายมือชื่อของจำเลยที่ 3และที่ 4 แต่อย่างใดไม่ ดังนั้น ความยินยอมหรือการมอบอำนาจของจำเลยที่ 3และที่ 4 หาจำต้องทำเป็นหนังสือลงลายมือชื่อของจำเลยที่ 3 และที่ 4 ไม่เช่นกันกรณีไม่ต้องด้วยบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 798
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7097/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อจำกัดการฎีกาในข้อเท็จจริง: มูลค่าทรัพย์สินพิพาทต่ำกว่าสองแสนบาท
การที่จำเลยฎีกาว่า พยานหลักฐานของโจทก์ไม่พอฟังว่าจำเลยขายที่ดินให้โจทก์เนื้อที่ 1 ไร่ และจำเลยบุกรุกเข้าไปตัดฟันต้นกล้วยในที่ดินของโจทก์นั้นเป็นฎีกาโต้เถียงในข้อเท็จจริง เมื่อปรากฏว่าที่ดินพิพาทในขณะฟ้องราคาไร่ละ100,000 บาท ดังนี้ ราคาทรัพย์สินที่พิพาทกันในชั้นฎีกาจึงไม่เกินสองแสนบาท ต้องห้ามมิให้ฎีกาในข้อเท็จจริง ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 248 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7087/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อจำกัดการฎีกา: ประเด็นใหม่ & ฟ้องแย้งค่าเสียหายเกินดุลพินิจ
จำเลยฎีกาในข้อที่จำเลยไม่ได้ให้การสู้คดีไว้ จึงเป็นข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคหนึ่ง
ส่วนฎีกาเกี่ยวกับฟ้องแย้งในเรื่องค่าเสียหายที่ขอให้บังคับโจทก์ชดใช้ค่าเสียหายเพราะเหตุที่ไม่ได้ใช้ประโยชน์จากที่ดินพิพาท เป็นการโต้แย้งดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลอุทธรณ์ อันเป็นการฎีกาในข้อเท็จจริงซึ่งค่าเสียหายตามฟ้องแย้งไม่เกิน 200,000 บาท จึงต้องห้ามตาม ป.วิ.พ.มาตรา 248 วรรคหนึ่ง
ส่วนฎีกาเกี่ยวกับฟ้องแย้งในเรื่องค่าเสียหายที่ขอให้บังคับโจทก์ชดใช้ค่าเสียหายเพราะเหตุที่ไม่ได้ใช้ประโยชน์จากที่ดินพิพาท เป็นการโต้แย้งดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลอุทธรณ์ อันเป็นการฎีกาในข้อเท็จจริงซึ่งค่าเสียหายตามฟ้องแย้งไม่เกิน 200,000 บาท จึงต้องห้ามตาม ป.วิ.พ.มาตรา 248 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7020/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ทุนทรัพย์โจทก์แต่ละคนกำหนดสิทธิฎีกา คดีโจทก์ที่ 2 ทุนทรัพย์ไม่ถึง 200,000 บาท จึงต้องห้ามฎีกาในข้อเท็จจริง
โจทก์ทั้งสองต่างใช้สิทธิเฉพาะตัวของโจทก์แต่ละคน ฟ้องเรียกค่าเสียหายจากมูลละเมิดรวมกันมา การพิจารณาทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาจะต้องถือตามทุนทรัพย์ของโจทก์แต่ละคน ดังนั้น เมื่อทุนทรัพย์ของโจทก์ที่ 2ที่เรียกร้องไม่เกิน 200,000 บาท คดีสำหรับโจทก์ที่ 2 จึงต้องห้ามมิให้ฎีกาในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ. มาตรา 248 วรรคหนึ่ง โจทก์ที่ 2 ฎีกาว่า จำเลยที่ 1 ขับรถโดยประมาท เป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ต้องห้ามตามบทกฎหมายดังกล่าว ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6846/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อจำกัดการฎีกาในคดีที่มีทุนทรัพย์น้อยกว่า 200,000 บาท และข้อยกเว้นความรับผิดของนายจ้าง
ศาลอุทธรณ์ภาค 3 พิพากษาให้จำเลยใช้ค่าเสียหายให้โจทก์100,000 บาท จำเลยฎีกาขอให้ยกฟ้อง เป็นคดีที่มีทุนทรัพย์พิพาทกันในชั้นฎีกาไม่เกิน 200,000 บาท ต้องห้ามฎีกาในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ มาตรา 248วรรคหนึ่ง ที่จำเลยฎีกาว่า ลูกจ้างของจำเลยมิได้ประมาทก็ดี ค่าเสียหายของโจทก์ไม่ควรเกินกว่า 30,000 บาท ก็ดี เป็นฎีกาในข้อเท็จจริง ต้องห้ามฎีกาตามกฎหมายดังกล่าว ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
จำเลยฟ้องแย้งโจทก์ซึ่งเป็นนายจ้างของ ว. ให้รับผิด แต่โจทก์มิใช่ผู้กระทำผิด หรือได้ร่วมกระทำผิดทางอาญากับ ว. จึงไม่อาจนำอายุความทางอาญามาใช้บังคับได้
จำเลยฟ้องแย้งโจทก์ซึ่งเป็นนายจ้างของ ว. ให้รับผิด แต่โจทก์มิใช่ผู้กระทำผิด หรือได้ร่วมกระทำผิดทางอาญากับ ว. จึงไม่อาจนำอายุความทางอาญามาใช้บังคับได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6667/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาในข้อเท็จจริง, ดุลพินิจศาล, ทุนทรัพย์ไม่เกินสองแสน, ห้ามฎีกา
ข้อเท็จจริงที่ศาลล่างทั้งสองฟังมา ศาลล่างทั้งสองได้วินิจฉัยจากข้อเท็จจริงที่ปรากฎจากพยานหลักฐานที่โจทก์และจำเลยนำสืบ มิใช่ศาลวินิจฉัยพยานหลักฐานนอกสำนวน การที่โจทก์ฎีกาต้องการให้ศาลฟังข้อเท็จจริงตามที่ตนต้องการ จึงเป็นการโต้เถียงดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลเป็นฎีกาในข้อเท็จจริง เมื่อทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาไม่เกินสองแสนบาทจึงต้องห้ามฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 248 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6366/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อจำกัดการฎีกาในคดีที่ดิน: มูลค่าทรัพย์สินต่ำกว่าสองแสนบาท และการโต้แย้งดุลพินิจศาล
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยที่ 1 นำที่ดินของโจทก์ด้านทิศใต้ไปขอออกน.ส.3 ก.แปลงหนึ่ง จำเลยที่ 2 นำที่ดินของโจทก์ด้านทิศเหนือไปขอออก น.ส.3 ก. อีกแปลงหนึ่ง จำเลยที่ 1 และที่ 2 ต่างให้การว่า ที่พิพาทแต่ละแปลงเป็นของตน ทรัพย์ที่พิพาทจึงแยกต่างหากจากกัน เมื่อที่ดินแต่ละแปลงมีราคาไม่เกินสองแสนบาท จึงต้องห้ามมิให้ฎีกาในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ. มาตรา 248 วรรคหนึ่ง
ฎีกาของโจทก์ในปัญหาว่า โจทก์ซื้อที่พิพาทจาก ด. และโจทก์ครอบครองที่พิพาทแทนจำเลยทั้งสองหรือไม่ เป็นการโต้แย้งดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลอุทธรณ์ภาค 1 เป็นฎีกาในข้อเท็จจริง ส่วนปัญหาว่า จำเลยทั้งสองไม่ใช่เจ้าของผู้ครอบครองที่พิพาท การออก น.ส.3 ก. ไม่ชอบด้วยกฎหมาย จึงเป็นโมฆะนั้น เป็นการเถียงข้อเท็จจริงซึ่งเป็นยุติและต้องห้ามฎีกาเพื่อนำไปสู่การวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมาย จึงมีผลอย่างเดียวกับการฎีกาในข้อเท็จจริงซึ่งต้องห้ามตามบทกฎหมายดังกล่าวข้างต้น
ฎีกาของโจทก์ในปัญหาว่า โจทก์ซื้อที่พิพาทจาก ด. และโจทก์ครอบครองที่พิพาทแทนจำเลยทั้งสองหรือไม่ เป็นการโต้แย้งดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลอุทธรณ์ภาค 1 เป็นฎีกาในข้อเท็จจริง ส่วนปัญหาว่า จำเลยทั้งสองไม่ใช่เจ้าของผู้ครอบครองที่พิพาท การออก น.ส.3 ก. ไม่ชอบด้วยกฎหมาย จึงเป็นโมฆะนั้น เป็นการเถียงข้อเท็จจริงซึ่งเป็นยุติและต้องห้ามฎีกาเพื่อนำไปสู่การวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมาย จึงมีผลอย่างเดียวกับการฎีกาในข้อเท็จจริงซึ่งต้องห้ามตามบทกฎหมายดังกล่าวข้างต้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6166/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อจำกัดการฎีกาเรื่องข้อเท็จจริงและค่าเสียหายซ้ำ; การฟ้องเรียกค่าขาดประโยชน์หลังคดีถึงที่สุดไม่เป็นฟ้องซ้ำ
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยได้เข้าทำนาในที่ดินพิพาทระหว่างที่โจทก์ฟ้องคดีก่อนจนกระทั่งคดีก่อนถึงที่สุดและยังคงครอบครองตลอดมา โจทก์ไม่ได้ทำนาในที่ดินพิพาทเลย การที่โจทก์ฟ้องคดีนี้เรียกค่าขาดประโยชน์ในการที่โจทก์ไม่ได้เข้าทำนาในที่ดินพิพาท จึงเป็นการอ้างเหตุที่เกิดขึ้นหลังจากโจทก์ฟ้องคดีก่อน ไม่ใช่ประเด็นที่ได้วินิจฉัยในคดีก่อน ไม่เป็นฟ้องซ้ำ
โจทก์ทั้งสามฟ้องจำเลยให้รับผิดโดยแยกทุนทรัพย์ที่โจทก์แต่ละคนเรียกร้องมาชัดเจนเป็นส่วนของแต่ละคน มิได้เรียกร้องรวมกันมา เมื่อทุนทรัพย์ของโจทก์ทั้งสามไม่เกินคนละ 200,000 บาท จำเลยจะฎีกาข้อเท็จจริงเกี่ยวกับโจทก์แต่ละคนไม่ได้ ที่จำเลยฎีกาว่า ศาลอุทธรณ์ภาค 2 ให้จำเลยใช้ค่าขาดประโยชน์แก่โจทก์ทั้งสามคนละ 70,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยมากเกินไปเป็นฎีกาในข้อเท็จจริง ต้องห้ามมิให้ฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 248
ศาลอุทธรณ์ภาค 2 พิพากษาให้ค่าเสียหายใน พ.ศ.2533ซ้ำ ศาลฎีกาแก้ไขให้ถูกต้องได้
โจทก์ทั้งสามฟ้องจำเลยให้รับผิดโดยแยกทุนทรัพย์ที่โจทก์แต่ละคนเรียกร้องมาชัดเจนเป็นส่วนของแต่ละคน มิได้เรียกร้องรวมกันมา เมื่อทุนทรัพย์ของโจทก์ทั้งสามไม่เกินคนละ 200,000 บาท จำเลยจะฎีกาข้อเท็จจริงเกี่ยวกับโจทก์แต่ละคนไม่ได้ ที่จำเลยฎีกาว่า ศาลอุทธรณ์ภาค 2 ให้จำเลยใช้ค่าขาดประโยชน์แก่โจทก์ทั้งสามคนละ 70,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยมากเกินไปเป็นฎีกาในข้อเท็จจริง ต้องห้ามมิให้ฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 248
ศาลอุทธรณ์ภาค 2 พิพากษาให้ค่าเสียหายใน พ.ศ.2533ซ้ำ ศาลฎีกาแก้ไขให้ถูกต้องได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6050/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อจำกัดการฎีกาในคดีทุนทรัพย์น้อยกว่า 2 แสนบาท: ฎีกาข้อเท็จจริงต้องห้าม
คดีที่ราคาทรัพย์สินหรือจำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทในชั้นฎีกาไม่เกิน200,000 บาท คู่ความต้องห้ามฎีกาในข้อเท็จจริง ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณา-ความแพ่ง มาตรา 248 วรรคหนึ่ง คดีมีประเด็นตามฎีกาของจำเลยเพียงว่าจำเลยขาดนัดยื่นคำให้การและขาดนัดพิจารณาโดยจงใจหรือไม่มีเหตุอันสมควรหรือไม่ ที่จำเลยฎีกาว่า จำเลยไม่ทราบว่าถูกโจทก์ฟ้อง ไม่เคยได้รับหมายเรียกสำเนาคำฟ้องและหมายนัดสืบพยานโจทก์ เพราะจำเลยพักรักษาตัวอยู่ที่อื่น ไม่ได้อยู่ที่บ้านตามที่เจ้าพนักงานศาลนำหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องไปปิดนั้น เป็นฎีกาในข้อเท็จจริง ซึ่งต้องห้ามฎีกาตามบทกฎหมายดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5746/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อจำกัดการฎีกาในชั้นศาลฎีกาเมื่อทุนทรัพย์พิพาทไม่เกินสองแสนบาท และการโต้แย้งดุลพินิจศาล
ที่ดินพิพาทที่จำเลยต้องจดทะเบียนโอนขายแก่โจทก์มีราคา160,000 บาท และศาลอุทธรณ์กำหนดค่าเสียหายในการที่จำเลยผิดสัญญาให้แก่โจทก์อีกส่วนหนึ่งจำนวน 25,000 บาท ดังนั้นฎีกาจำเลยที่ขอให้ศาลฎีกาพิพากษากลับคำพิพากษาศาลอุทธรณ์โดยให้ยกฟ้องโจทก์ จึงมีทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาเท่ากับราคาที่ดินพิพาทรวมกับค่าเสียหายดังกล่าว คิดเป็นเงินรวม 185,000 บาทซึ่งไม่เกินสองแสนบาท ต้องห้ามมิให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามมาตรา 248วรรคหนึ่ง แห่ง ป.วิ.พ. ฎีกาจำเลยที่ว่าจำเลยไม่มีเจตนาทุจริตหรือโกงโจทก์จึงมิใช่เป็นฝ่ายผิดสัญญา และโจทก์ไม่เสียหาย เป็นการโต้เถียงดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลอุทธรณ์ที่ฟังข้อเท็จจริงว่าจำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญา และโจทก์มีสิทธิเรียกค่าเสียหายในการที่จำเลยผิดสัญญา จึงเป็นฎีกาในข้อเท็จจริงต้องห้ามมิให้ฎีกาตามบทกฎหมายดังกล่าว