คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.วิ.พ. ม. 248 วรรคหนึ่ง

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 29 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5626/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คดีมีทุนทรัพย์ไม่เกินสองแสนบาท ห้ามฎีกาในข้อเท็จจริง
ในคดีฟ้องขับไล่จำเลยออกจากที่ดินพิพาท จำเลยให้การต่อสู้ว่าที่ดินพิพาทเป็นของจำเลย อันเป็นการเถียงสิทธิครอบครอง เป็นคดีมีทุนทรัพย์ การพิจารณาว่าคดีจะต้องห้ามฎีกาในข้อเท็จจริงหรือไม่ ต้องถือตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความ-แพ่ง มาตรา 248 วรรคหนึ่ง เมื่อที่ดินพิพาทซึ่งเป็นทรัพย์สินที่พิพาทกันในชั้นฎีกามีราคาไม่เกินสองแสนบาท คดีย่อมต้องห้ามฎีกาในข้อเท็จจริงตาม มาตรา 248 วรรคหนึ่ง โดยไม่มีข้อที่ต้องพิจารณาว่าที่ดินดังกล่าวอาจให้เช่าได้ในขณะยื่นฟ้องไม่เกินเดือนละหนึ่งหมื่นบาทหรือไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5518/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อจำกัดการฎีกาในคดีทรัพย์สินพิพาท และประเด็นการนอกเหนือจากประเด็นข้อพิพาท
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยที่ 1 และที่ 2 ได้กู้ยืมเงินโจทก์ 17,000 บาทและจำเลยทั้งสองได้ชำระหนี้เงินกู้ให้แก่โจทก์ด้วยที่ดินพิพาท โดยถือว่าได้ขายที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ ขอให้บังคับจำเลยทั้งสองโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินให้แก่โจทก์ จำเลยทั้งสองให้การว่า ไม่เคยกู้ยืมเงินโจทก์และไม่เคยตกลงขายที่ดินให้โจทก์ คดีจึงมีประเด็นข้อพิพาทว่า ที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์โดยจำเลยทั้งสองได้ขายให้แก่โจทก์หรือไม่ ซึ่งเป็นคดีที่โต้เถียงเกี่ยวกับสิทธิครอบครองในที่ดินพิพาท จึงเป็นคดีมีทุนทรัพย์ ไม่ปรากฏว่าจำเลยทั้งสองให้การหรือนำสืบโต้แย้งราคาที่ดินพิพาท จึงฟังได้ว่าที่ดินพิพาทมีราคา17,000 บาท และถือได้ว่าเป็นราคาทรัพย์สินที่พิพาทในคดีนี้ เมื่อราคาทรัพย์สินที่พิพาทกันในชั้นฎีกาไม่เกิน 200,000 บาท คดีจึงต้องห้ามฎีกาในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ.มาตรา 248 วรรคหนึ่ง อันเป็นบทกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในขณะที่โจทก์ยื่นฎีกา
เมื่อศาลชั้นต้นฟังข้อเท็จจริงว่าจำเลยที่ 2 กู้ยืมเงินและมอบที่ดินพิพาทให้โจทก์ทำกินต่างดอกเบี้ยแล้ว ก็ชอบที่จะพิพากษายกฟ้องโจทก์ โดยไม่จำต้องก้าวล่วงไปฟังข้อเท็จจริงว่าการตกลงชำระหนี้ด้วยที่ดินพิพาทเป็นข้อตกลงที่ฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติมาตรา 656 วรรคสอง แห่ง ป.พ.พ. ดังนั้นการที่ศาลชั้นต้นฟังข้อเท็จจริงดังกล่าวมา จึงเป็นการนอกเหนือไปจากประเด็นข้อพิพาทตามคำฟ้องและคำให้การซึ่งไม่ชอบด้วยกระบวนพิจารณา ย่อมไม่ก่อให้เกิดสิทธิในการอุทธรณ์
โจทก์ฎีกาว่า ศาลชั้นต้นวินิจฉัยข้อเท็จจริงคลาดเคลื่อนไปจากหนังสือสัญญา โดยฟังว่าจำเลยที่ 2 เพียงแต่กู้ยืมเงินไปจากโจทก์และมอบที่ดินพิพาทให้โจทก์ทำกินต่างดอกเบี้ย ฎีกาโจทก์ดังกล่าวเป็นการโต้แย้งคำพิพากษาศาลชั้นต้นมิใช่เป็นการโต้แย้งคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 1 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5494/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผลผูกพันคำพิพากษาคดีอาญาต่อบุคคลภายนอก และข้อจำกัดการฎีกาในข้อเท็จจริง
ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 145 และ ป.วิ.อ. มาตรา 46ประกอบด้วย มาตรา 15 คำพิพากษาในคดีอาญาจะผูกพันแต่คู่ความเท่านั้นเมื่อจำเลยที่ 2 หาได้เป็นคู่ความในคดีอาญา ข้อเท็จจริงในคดีอาญาที่วินิจฉัยว่าจำเลยที่ 1 ขับรถโดยประมาทนั้น จึงไม่มีผลผูกพันจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นบุคคลภายนอก จำเลยที่ 2 จึงชอบที่จะยกข้อต่อสู้และนำสืบได้ว่า จำเลยที่ 1 มิได้เป็นฝ่ายประมาท และในการพิพากษาคดีส่วนแพ่งนี้ ศาลก็ไม่จำต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีส่วนอาญา
จำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาของโจทก์สำหรับฟ้องเดิมของโจทก์ และฟ้องแย้งของจำเลยที่ 2 ต่างไม่เกิน 200,000 บาท ต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ. มาตรา 248 วรรคหนึ่ง ที่โจทก์ฎีกาว่า เหตุรถชนกันเกิดจากความประมาทของจำเลยที่ 1 แต่ฝ่ายเดียวนั้น เป็นฎีกาในข้อเท็จจริงซึ่งต้องห้ามตามบทบัญญัติดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5492/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรักษาความปลอดภัยสินค้าฝากเก็บและการไม่ต้องรับผิดชอบในความเสียหาย
คดีมีทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาไม่เกินสองแสนบาท ที่จำเลยฎีกาว่า จำเลยมีมาตรการรักษาความปลอดภัยให้แก่สินค้าที่รับฝากไว้อย่างเข้มงวดเป็นการใช้ความระมัดระวังและใช้ฝีมือสงวนทรัพย์สินเหมือนเช่นวิญญูชนจะพึงประพฤติโดยพฤติการณ์เช่นนั้นจึงไม่ต้องรับผิด เป็นฎีกาในข้อเท็จจริงอันต้องห้ามตาม ป.วิ.พ.มาตรา 248 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5299/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลในการงดสืบพยานและการกำหนดประเด็นข้อพิพาทใหม่เป็นดุลพินิจที่ชอบด้วยกฎหมาย
เมื่อเห็นว่าข้อเท็จจริงเพียงพอที่จะให้ฟังเป็นยุติได้แล้ว ศาลมีอำนาจสั่งงดสืบพยานได้ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 104 และอำนาจในการวินิจฉัยว่าตามคำฟ้อง คำให้การ และคำรับของคู่ความ ข้อเท็จจริงเป็นอันเพียงพอยุติได้หรือไม่เป็นอำนาจของศาล เมื่อศาลชั้นต้นใช้ดุลพินิจว่าเพียงพอยุติได้แล้ว การฎีกาโต้เถียงว่ายังไม่ควรยุติเป็นฎีกาโต้เถียงดุลพินิจของศาลอันเป็นปัญหาข้อเท็จจริง ต้องห้ามฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 248 วรรคหนึ่ง
โจทก์ฟ้องว่า โจทก์เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินมีโฉนด จำเลยบุกรุกเข้าไปในที่ดินดังกล่าว จำเลยให้การว่าไม่เคยเข้าไปกระทำการใดในที่ดินของโจทก์ แต่จำเลยเข้าทำประโยชน์ในที่ดินของจำเลยเองไม่ใช่ที่ดินของโจทก์ตามฟ้อง จึงไม่ได้โต้แย้งสิทธิของโจทก์ ครั้งแรกศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อพิพาทว่า ที่พิพาทเป็นของโจทก์หรือจำเลย ต่อมาศาลชั้นต้นมีคำสั่งเพิกถอนและกำหนดประเด็นข้อพิพาทใหม่ว่า ที่พิพาทอยู่ในเขตที่ดินของโจทก์หรือไม่ การกำหนดประเด็นข้อพิพาทใหม่เป็นการกำหนดตามข้ออ้างและข้อเถียงในคำฟ้องและคำให้การของโจทก์และจำเลย ซึ่งต้องวินิจฉัยข้อเท็จจริงว่าโจทก์เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในที่พิพาทหรือไม่ อันตรงกับประเด็นข้อพิพาทที่กำหนดในครั้งแรกแล้วจึงวินิจฉัยตามข้ออ้างในฟ้องโจทก์ว่าจำเลยบุกรุกที่พิพาทหรือไม่ โดยต้องวินิจฉัยถึงสิทธิของโจทก์และจำเลยว่าฝ่ายใดมีสิทธิดีกว่ากันด้วย ดังนี้ การวินิจฉัยตามประเด็นข้อพิพาทที่ศาลชั้นต้นกำหนดใหม่ไม่ทำให้ผลคดีเปลี่ยนแปลงจากเดิม และการกำหนดประเด็นข้อพิพาทใหม่ของศาลชั้นต้นจึงชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 183 วรรคสองแล้ว
ฎีกาขอให้ศาลฎีกาพิพากษาให้ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อพิพาทใหม่และสืบพยานโจทก์จำเลยแล้วพิพากษาใหม่ ต้องเสียค่าขึ้นศาลชั้นฎีกา 200 บาทอย่างคดีมีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ ตามตาราง 1(2) (ก) ท้าย ป.วิ.พ.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5024/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อจำกัดการฎีกาในประเด็นข้อเท็จจริงที่ศาลชั้นต้นตัดสินแล้ว และประเด็นใหม่ที่มิได้ยกขึ้นว่ากล่าว
ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อพิพาทว่า ที่ดินตาม ส.ค.1 เลขที่26 เป็นของโจทก์หรือจำเลย ดังนี้ ประเด็นข้อพิพาทดังกล่าวจึงคลุมไปถึงประเด็นตามคำให้การของจำเลยที่ให้การต่อสู้ว่า นิติกรรมการกู้ยืมเงินอำพรางนิติกรรมการซื้อขายที่ดินแล้ว
ส่วนที่จำเลยฎีกาโต้แย้งว่า สัญญากู้ยืมเงินเป็นนิติกรรมอำพรางการซื้อขายที่ดินพิพาท และเมื่อมารดาโจทก์ได้ส่งมอบการครอบครองที่ดินพิพาทให้แก่มารดาจำเลยและจำเลยครอบครองต่อมา ที่ดินจึงตกเป็นของจำเลยแล้วนั้นเป็นฎีกาที่โต้เถียงข้อเท็จจริงว่าที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์หรือจำเลยเป็นฎีกาในข้อเท็จจริงต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248 วรรคหนึ่ง และที่จำเลยฎีกาว่า สัญญากู้เงินไม่สมบูรณ์เพราะไม่มีพยานลงลายมือชื่อรับรองลายพิมพ์นิ้วมือของคู่สัญญา เป็นเอกสารที่รับฟังไม่ได้นั้น จำเลยมิได้ยกขึ้นว่ากล่าวกันมาในศาลชั้นต้น ต้องห้ามมิให้ฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4998/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาต้องห้าม - ความรับผิดนายจ้างต่อละเมิดลูกจ้าง - ข้อเท็จจริงและข้อกฎหมาย
โจทก์ทั้งสามฟ้องเรียกค่าเสียหายจากจำเลยทั้งสามศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยทั้งสามร่วมกันใช้เงินจำนวน 77,000 บาท แก่โจทก์ที่ 1 ใช้เงินจำนวน 150,000 บาท แก่โจทก์ที่ 2 ใช้เงินจำนวน50,000 บาท แก่โจทก์ที่ 3 พร้อมดอกเบี้ยนับแต่วันฟ้องเป็นต้นไป ศาลอุทธรณ์-พิพากษาแก้ให้ยกฟ้องโจทก์สำหรับจำเลยที่ 1 โจทก์ทั้งสามฎีกาขอให้บังคับจำเลยที่ 1 ชำระเงินให้โจทก์ทั้งสามตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น ทุนทรัพย์พิพาทในชั้นฎีกาของโจทก์ทั้งสามจึงแยกกันตามความรับผิดที่ขอให้จำเลยที่ 1 ชำระแก่โจทก์แต่ละคน ทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาจึงมีจำนวนไม่เกินรายละ200,000 บาท ต้องห้ามฎีกาในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณา-ความแพ่ง มาตรา 248 วรรคหนึ่ง
ฎีกาของโจทก์ทั้งสามในปัญหาข้อกฎหมายที่ว่า นายจ้างต้องร่วมรับผิดกับลูกจ้างในผลแห่งละเมิดที่ลูกจ้างได้กระทำไปในทางการที่จ้างตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 425 หรือไม่นั้น ข้ออ้างเป็นปัญหาข้อกฎหมายของโจทก์ทั้งสามย่อมต้องอาศัยข้อเท็จจริงเพื่อการวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมายการเถียงข้อเท็จจริงซึ่งต้องห้ามฎีกาเพื่อสู่การวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมายตามฎีกาของโจทก์ทั้งสาม จึงมีผลอย่างเดียวกับการฎีกาในข้อเท็จจริงซึ่งต้องห้ามฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4845/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องแบ่งกรรมสิทธิ์รวม ไม่ใช่การครอบครองปรปักษ์ ไม่ต้องบรรยายการทำประโยชน์ อายุความเริ่มนับแต่ซื้อ
ฟ้องโจทก์เป็นการฟ้องขอแบ่งกรรมสิทธิ์รวมในที่ดินพิพาทจากจำเลย มิใช่ขอแบ่งกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทจากจำเลยโดยการครอบครองปรปักษ์ โจทก์จึงไม่ต้องบรรยายฟ้องว่าโจทก์ได้ทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทที่ขอแบ่งกรรมสิทธิ์รวมจากจำเลยตั้งแต่เมื่อใด ทั้งปรากฏว่าจำเลยได้ให้การต่อสู้ได้ถูกต้องครบถ้วน มิได้หลงข้อต่อสู้แต่ประการใด ฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม
คดีนี้ต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ.มาตรา 248 วรรคหนึ่ง การที่จำเลยฎีกาอ้างว่า จำเลยครอบครองที่ดินพิพาทตั้งแต่ที่ซื้อเมื่อปี 2511 และจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ในปี 2526 จึงต้องเริ่มนับอายุความครอบครองปรปักษ์ตั้งแต่ปีที่จำเลยซื้อมา เพราะจำเลยเจตนาครอบครองปรปักษ์นับแต่นั้นเป็นต้นมา และโดยที่ผู้ขายมีเจตนาสละที่ดินส่วนที่ขายให้จำเลย จึงเป็นการกล่าวอ้างที่ต้องใช้ดุลพินิจในการรับฟังพยานโดยอาศัยข้อเท็จจริงเพื่อการวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมายมีผลอย่างเดียวกับการฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง จึงเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3492/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์โดยการครอบครองปรปักษ์และข้อจำกัดเรื่องจำนวนทุนทรัพย์
จำเลยที่ 1 ที่ 2 ฎีกาว่า โจทก์ได้ทำนิติกรรมขายฝากที่ดินพิพาทโดยการฉ้อฉล และจำเลยที่ 1 ที่ 2 ได้ครอบครองที่ดินพิพาทโดยความสงบและโดยเปิดเผยด้วยเจตนาเป็นเจ้าของจนได้กรรมสิทธิ์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1382 แล้ว ซึ่งเป็นข้อเท็จจริง เมื่อคดีนี้ราคาทรัพย์สินหรือจำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทกันระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 และที่ 2 ในชั้นฎีกาไม่เกินสองแสนบาท จึงต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในข้อเท็จจริง ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 248 วรรคหนึ่ง ฎีกาของจำเลยที่ 1 ที่ 2 จึงต้องห้ามตามบทกฎหมายดังกล่าวศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3490/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อจำกัดการฎีกาในคดีพิพาทครอบครองที่ดิน: ทุนทรัพย์เกินสองแสนบาท
คดีพิพาทกันในปัญหาว่าโจทก์หรือจำเลยเป็นผู้มีสิทธิครอบครองในที่ดินพิพาทเป็นคดีมีทุนทรัพย์ เมื่อราคาทรัพย์สินที่พิพาทกันในชั้นฎีกาไม่เกินสองแสนบาท จึงต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในข้อเท็จจริง ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248 วรรคหนึ่ง
โจทก์ฎีกาว่า ที่พิพาทเป็นที่ธรณีสงฆ์ แม้จำเลยจะครอบครองโดยเจตนาเป็นเจ้าของก็ไม่ได้สิทธิครอบครอง โจทก์ย่อมมีสิทธิขอให้เพิกถอนหนังสือรับรองการทำประโยชน์ได้นั้น เป็นฎีกาโต้เถียงในข้อเท็จจริงเพื่อนำไปสู่การวินิจฉัยข้อกฎหมาย
of 3