พบผลลัพธ์ทั้งหมด 29 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3406/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อพิพาทเรื่องกรรมสิทธิ์ที่ดิน: การโอนสิทธิและการครอบครองทำประโยชน์
โจทก์ฟ้องว่า โจทก์ทั้งสองเป็นผู้ครอบครองทำประโยชน์ร่วมกันในที่พิพาทซึ่งมีหนังสือรับรองการทำประโยชน์ โดยซื้อมาจากจำเลยที่ 1 แต่จำเลยที่ 1ไม่ได้โอนชื่อทางทะเบียนให้ ต่อมาจำเลยที่ 1 ขายที่พิพาทให้จำเลยที่ 2 โดยโอนชื่อทางทะเบียนโดยจำเลยทั้งสองรู้อยู่แล้วว่าที่พิพาทได้โอนให้แก่โจทก์ทั้งสองแล้วทำให้โจทก์ทั้งสองเสียเปรียบ และจำเลยที่ 2 เข้าไปแย่งการครอบครองที่พิพาทขอให้ขับไล่จำเลยที่ 2 ออกไป กับให้จำเลยที่ 1 โอนชื่อทางทะเบียนแก่โจทก์ทั้งสองจำเลยที่ 2 ให้การต่อสู้ว่า จำเลยที่ 2 ซื้อที่พิพาทจากจำเลยที่ 1 และเข้าครอบครองที่พิพาทโดยโจทก์ทั้งสองมิได้ครอบครองที่พิพาท ดังนี้ ประเด็นในคดีนี้จึงมีว่า ที่พิพาทเป็นของโจทก์ทั้งสองหรือจำเลยที่ 2 จึงเป็นคดีมีทุนทรัพย์ แม้โจทก์ทั้งสองจะมีคำขอให้จำเลยที่ 2 เพิกถอนชื่อออกจากหนังสือรับรองการทำประโยชน์ กับให้จำเลยที่ 1โอนชื่อทางทะเบียนแก่โจทก์ทั้งสอง ก็เป็นผลต่อเนื่องในเรื่องที่พิพาทเป็นของใครเท่านั้น ถือไม่ได้ว่าเป็นคดีมีคำขออันไม่มีทุนทรัพย์ แยกกันได้จากคำขอที่เป็นทุนทรัพย์เมื่อราคาที่พิพาทไม่เกินสองแสนบาท จึงต้องห้ามฎีกาในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ.มาตรา 248 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3014/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การคิดมูลค่าคดีเพื่อบังคับใช้สิทธิฎีกา ต้องพิจารณาจากส่วนครอบครองของจำเลยแต่ละราย หากราคาน้อยกว่า 200,000 บาท ถือต้องห้ามฎีกา
จำเลยแต่ละคนแยกการครอบครองที่พิพาทเป็นสัดส่วนต่างหากจากกัน การที่จะพิจารณาว่าราคาทรัพย์สินหรือจำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในข้อเท็จจริงหรือไม่ จะต้องถือตามราคาทรัพย์ที่พิพาทที่จำเลยแต่ละคนยึดถือครอบครอง เมื่อคู่ความทั้งสองฝ่ายตกลงกันตามรายงานกระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้นว่าที่พิพาทราคาไร่ละ 30,000 บาท ราคาทรัพย์สินหรือจำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีการะหว่างโจทก์กับจำเลยแต่ละรายย่อมไม่เกิน200,000 บาท จึงต้องห้ามฎีกาในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ. มาตรา 248 วรรคหนึ่ง
โจทก์บรรยายฟ้องว่า โจทก์ได้ที่พิพาทมาโดยการซื้อจากจ่าสิบตำรวจ อ. จำเลยทุกคนที่โจทก์ฟ้องได้เช่าที่พิพาทจากนาย ท. บิดาจ่าสิบ-ตำรวจ อ. แม้โจทก์จะไม่ได้บรรยายส่วนที่จำเลยแต่ละคนเช่าอยู่ว่ามีเนื้อที่คนละเท่าใดก็ตาม แต่โจทก์ก็ได้ทำแผนที่สังเขปเอกสารท้ายฟ้องระบุจุดที่จำเลยแต่ละคนเช่าอยู่อย่างชัดเจนแล้ว โจทก์จึงขอให้ขับไล่จำเลยทุกคนที่โจทก์ฟ้อง พร้อมกับเรียกค่าเสียหายเอาแก่จำเลยแต่ละคน คำฟ้องของโจทก์จึงเป็นคำฟ้องที่ได้แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาและคำขอบังคับทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 172 วรรคสองแล้ว ฟ้องโจทก์ไม่เคลือบคลุม
โจทก์บรรยายฟ้องว่า โจทก์ได้ที่พิพาทมาโดยการซื้อจากจ่าสิบตำรวจ อ. จำเลยทุกคนที่โจทก์ฟ้องได้เช่าที่พิพาทจากนาย ท. บิดาจ่าสิบ-ตำรวจ อ. แม้โจทก์จะไม่ได้บรรยายส่วนที่จำเลยแต่ละคนเช่าอยู่ว่ามีเนื้อที่คนละเท่าใดก็ตาม แต่โจทก์ก็ได้ทำแผนที่สังเขปเอกสารท้ายฟ้องระบุจุดที่จำเลยแต่ละคนเช่าอยู่อย่างชัดเจนแล้ว โจทก์จึงขอให้ขับไล่จำเลยทุกคนที่โจทก์ฟ้อง พร้อมกับเรียกค่าเสียหายเอาแก่จำเลยแต่ละคน คำฟ้องของโจทก์จึงเป็นคำฟ้องที่ได้แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาและคำขอบังคับทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 172 วรรคสองแล้ว ฟ้องโจทก์ไม่เคลือบคลุม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2994/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาข้อเท็จจริงในคดีทรัพย์สินที่มีราคาต่ำกว่าเกณฑ์ที่กฎหมายกำหนด
ฎีกาจำเลยเป็นฎีกาที่โต้เถียงดุลพินิจของศาลอุทธรณ์ ในการวินิจฉัยพยานหลักฐานในสำนวน จึงเป็นฎีกาในข้อเท็จจริง เมื่อที่ดินพิพาทอันเป็นทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกามีราคา 60,000 บาท จึงต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ. มาตรา 248 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2449/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อพิพาทเกี่ยวกับเนื้อที่และราคาที่ดิน ส่งผลต่อการห้ามฎีกาในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
โจทก์ฟ้องว่า ที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์ และขับไล่จำเลย จำเลยให้การต่อสู้ว่าที่ดินพิพาทเป็นของจำเลย และครอบครองตลอดมา ดังนี้ เป็นการโต้เถียงกันในสิทธิครอบครองที่ดินพิพาท จึงเป็นคดีมีทุนทรัพย์
แม้โจทก์จะกล่าวมาในฟ้องว่าที่ดินพิพาทที่จำเลยครอบครองมีเนื้อที่ประมาณ28 ไร่เศษ แต่เมื่อในระหว่างการพิจารณาของศาลชั้นต้น โจทก์และจำเลยขอให้ทำแผนที่พิพาทปรากฏตามแผนที่พิพาทว่าที่ดินพิพาทที่จำเลยครอบครองมีเนื้อที่ 17 ไร่ 1 งาน 45 ตารางวาจึงต้องถือว่าที่ดินพิพาทมีเนื้อที่ 17 ไร่ 1 งาน 45 ตารางวา ในชั้นอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์ภาค 1ตีราคาที่ดินพิพาทตามคำให้การของจำเลยในราคาไร่ละ 10,000 บาท ซึ่งโจทก์มิได้คัดค้านและมิได้ฎีกาโต้เถียงราคาทรัพย์ที่พิพาทที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 กำหนดดังกล่าวจึงถือว่าโจทก์ยอมรับในข้อนี้ ดังนี้จึงเป็นคดีที่ราคาทรัพย์สินหรือจำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาเป็นเงิน173,625 บาท หาใช่เนื้อที่ 28 ไร่ เป็นเงิน 280,000 บาทไม่ คดีจึงต้องห้ามมิให้ฎีกาในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248 วรรคหนึ่ง
แม้โจทก์จะกล่าวมาในฟ้องว่าที่ดินพิพาทที่จำเลยครอบครองมีเนื้อที่ประมาณ28 ไร่เศษ แต่เมื่อในระหว่างการพิจารณาของศาลชั้นต้น โจทก์และจำเลยขอให้ทำแผนที่พิพาทปรากฏตามแผนที่พิพาทว่าที่ดินพิพาทที่จำเลยครอบครองมีเนื้อที่ 17 ไร่ 1 งาน 45 ตารางวาจึงต้องถือว่าที่ดินพิพาทมีเนื้อที่ 17 ไร่ 1 งาน 45 ตารางวา ในชั้นอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์ภาค 1ตีราคาที่ดินพิพาทตามคำให้การของจำเลยในราคาไร่ละ 10,000 บาท ซึ่งโจทก์มิได้คัดค้านและมิได้ฎีกาโต้เถียงราคาทรัพย์ที่พิพาทที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 กำหนดดังกล่าวจึงถือว่าโจทก์ยอมรับในข้อนี้ ดังนี้จึงเป็นคดีที่ราคาทรัพย์สินหรือจำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาเป็นเงิน173,625 บาท หาใช่เนื้อที่ 28 ไร่ เป็นเงิน 280,000 บาทไม่ คดีจึงต้องห้ามมิให้ฎีกาในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1966/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจำกัดสิทธิฎีกาในข้อเท็จจริงเมื่อค่าเสียหายไม่เกินสองแสนบาท
คดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันอาจคำนวณเป็นราคาเงินได้และไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้รวมอยู่ด้วยกันนั้น ในชั้นฎีกาจำเลยฎีกาเฉพาะค่าเสียหายและค่าขาดประโยชน์ว่า โจทก์ที่ 1 ถึงที่ 5 ไม่ได้เสียหายตามคำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์อันเป็นฎีกาในข้อเท็จจริง เมื่อจำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาซึ่งเป็นค่าเสียหายและค่าขาดประโยชน์ที่โจทก์ที่ 1 ถึงที่ 5 แต่ละคนมีสิทธิได้รับไม่เกินสองแสนบาท จึงต้องห้ามมิให้ฎีกาในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ. มาตรา 248วรรคหนึ่ง ที่แก้ไขใหม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1926/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ทุนทรัพย์พิพาทฎีกา, ข้อจำกัดการฎีกา, การหักเงินจากกองมรดก, สัญญาแบ่งมรดก, ค่าขึ้นศาลเกิน
การคำนวณทุนทรัพย์ที่พิพาทในชั้นฎีกานั้น จะนำดอกเบี้ยของต้นเงินนับแต่วันฟ้องถึงวันยื่นฎีกามารวมคำนวณด้วยไม่ได้ เมื่อทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาของจำเลยมีจำนวนไม่เกิน 200,000 บาท จึงต้องห้ามฎีกาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ.มาตรา 248 (วินิจฉัยโดยมติที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกา)
จำเลยฎีกาว่า เจ้ามรดกเป็นหนี้ พ. และจำเลยได้ใช้หนี้ดังกล่าวให้แก่พ.แล้ว เป็นฎีกาโต้เถียงดุลพินิจในการรับฟังข้อเท็จจริงของศาลอุทธรณ์ ซึ่งวินิจฉัยว่าจำเลยได้ชำระหนี้จำนองดังกล่าวให้แก่ พ. จึงเป็นฎีกาในข้อเท็จจริง
จำเลยมิได้ให้การว่า จำเลยได้กันเงินจำนวน 100,000 บาท ไว้เพื่อจัดการทำบุญและจัดงานศพให้แก่เจ้ามรดกในอนาคต อุทธรณ์ของจำเลยที่ว่าจำเลยมีสิทธิกันเงินจำนวน 100,000 บาท ไว้จัดการทำบุญและจัดงานศพให้แก่เจ้ามรดกในอนาคต จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นที่ศาลอุทธรณ์ไม่รับวินิจฉัยอุทธรณ์ของจำเลยข้อนี้จึงชอบแล้ว
จำเลยฎีกาว่า ได้ให้การต่อสู้คดีและอุทธรณ์ว่าจำเลยนำมรดกไปจำนองธนาคารก่อนที่จะมีการขายที่ดินนั้น ขณะจำนองมิได้มีการชำระหนี้ดอกเบี้ยและเงินต้นให้แก่ธนาคาร นับแต่วันกู้ถึงวันขายที่ดินและชำระหนี้เงินกู้คิดเป็นดอกเบี้ยจำนวนไม่น้อยกว่า 300,000 บาท ซึ่งเป็นเงินที่จำเลยสามารถนำมาหักหนี้กองมรดกได้ ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ชอบจะหักเงินดอกเบี้ยจำนวนดังกล่าวออกจากกองมรดกด้วย แต่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์มิได้วินิจฉัยในประเด็นส่วนที่เกี่ยวกับดอกเบี้ยโดยไม่ชอบนั้น ปรากฏว่าจำเลยมิได้ให้การต่อสู้คดีตามที่ฎีกาดังกล่าว คดีจึงไม่มีประเด็นข้อพิพาทตามที่จำเลยฎีกาแต่อย่างใด ที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์มิได้วินิจฉัยให้หักเงินดอกเบี้ยดังกล่าวจึงชอบแล้ว
โจทก์มีหนังสือถึงจำเลยข้อความว่า "วันที่ 14 มีนาคม ถึงกิมเช็งทราบเรื่องเงินเหลือจากจ่ายธนาคาร 1 ล้านบาท เอาทำบุญให้แม่เขา 1 แสนบาทกิมห้องให้ไป 1 แสนห้าหมื่น เฮียเอา 5 หมื่น เหลือนอกนั้นให้แป๊ว, ณีไป เพราะเฮียต้องเอามารักษาตัว ถ้าเฮียไม่เป็นอะไรก็จะไม่เอา เวลานี้ก็มีบ้านอยู่กันไม่เดือดร้อนอะไรแล้ว ถนอม" เอกสารนี้มิได้มีลักษณะเป็นสัญญาแบ่งทรัพย์มรดกระหว่างทายาทตาม ป.พ.พ. มาตรา 1750 วรรคสอง เป็นแต่หนังสือที่โจทก์มีถึงจำเลยขอเงินส่วนแบ่งมรดกไปรักษาตัวจำนวน 50,000 บาท อันเป็นหนังสือที่โจทก์แสดงเจตนาเพียงฝ่ายเดียวไม่เข้าลักษณะสัญญาประนีประนอมยอมความตาม ป.พ.พ. มาตรา 850
จำเลยเสียค่าขึ้นศาลในชั้นฎีกามาสำหรับทุนทรัพย์จำนวน 250,000 บาทเมื่อทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาของจำเลยมีจำนวนเพียง 200,000 บาท จำเลยจึงเสียค่าขึ้นศาลในชั้นฎีกาเกินมา ต้องคืนค่าขึ้นศาลส่วนที่เกินมา
จำเลยฎีกาว่า เจ้ามรดกเป็นหนี้ พ. และจำเลยได้ใช้หนี้ดังกล่าวให้แก่พ.แล้ว เป็นฎีกาโต้เถียงดุลพินิจในการรับฟังข้อเท็จจริงของศาลอุทธรณ์ ซึ่งวินิจฉัยว่าจำเลยได้ชำระหนี้จำนองดังกล่าวให้แก่ พ. จึงเป็นฎีกาในข้อเท็จจริง
จำเลยมิได้ให้การว่า จำเลยได้กันเงินจำนวน 100,000 บาท ไว้เพื่อจัดการทำบุญและจัดงานศพให้แก่เจ้ามรดกในอนาคต อุทธรณ์ของจำเลยที่ว่าจำเลยมีสิทธิกันเงินจำนวน 100,000 บาท ไว้จัดการทำบุญและจัดงานศพให้แก่เจ้ามรดกในอนาคต จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นที่ศาลอุทธรณ์ไม่รับวินิจฉัยอุทธรณ์ของจำเลยข้อนี้จึงชอบแล้ว
จำเลยฎีกาว่า ได้ให้การต่อสู้คดีและอุทธรณ์ว่าจำเลยนำมรดกไปจำนองธนาคารก่อนที่จะมีการขายที่ดินนั้น ขณะจำนองมิได้มีการชำระหนี้ดอกเบี้ยและเงินต้นให้แก่ธนาคาร นับแต่วันกู้ถึงวันขายที่ดินและชำระหนี้เงินกู้คิดเป็นดอกเบี้ยจำนวนไม่น้อยกว่า 300,000 บาท ซึ่งเป็นเงินที่จำเลยสามารถนำมาหักหนี้กองมรดกได้ ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ชอบจะหักเงินดอกเบี้ยจำนวนดังกล่าวออกจากกองมรดกด้วย แต่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์มิได้วินิจฉัยในประเด็นส่วนที่เกี่ยวกับดอกเบี้ยโดยไม่ชอบนั้น ปรากฏว่าจำเลยมิได้ให้การต่อสู้คดีตามที่ฎีกาดังกล่าว คดีจึงไม่มีประเด็นข้อพิพาทตามที่จำเลยฎีกาแต่อย่างใด ที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์มิได้วินิจฉัยให้หักเงินดอกเบี้ยดังกล่าวจึงชอบแล้ว
โจทก์มีหนังสือถึงจำเลยข้อความว่า "วันที่ 14 มีนาคม ถึงกิมเช็งทราบเรื่องเงินเหลือจากจ่ายธนาคาร 1 ล้านบาท เอาทำบุญให้แม่เขา 1 แสนบาทกิมห้องให้ไป 1 แสนห้าหมื่น เฮียเอา 5 หมื่น เหลือนอกนั้นให้แป๊ว, ณีไป เพราะเฮียต้องเอามารักษาตัว ถ้าเฮียไม่เป็นอะไรก็จะไม่เอา เวลานี้ก็มีบ้านอยู่กันไม่เดือดร้อนอะไรแล้ว ถนอม" เอกสารนี้มิได้มีลักษณะเป็นสัญญาแบ่งทรัพย์มรดกระหว่างทายาทตาม ป.พ.พ. มาตรา 1750 วรรคสอง เป็นแต่หนังสือที่โจทก์มีถึงจำเลยขอเงินส่วนแบ่งมรดกไปรักษาตัวจำนวน 50,000 บาท อันเป็นหนังสือที่โจทก์แสดงเจตนาเพียงฝ่ายเดียวไม่เข้าลักษณะสัญญาประนีประนอมยอมความตาม ป.พ.พ. มาตรา 850
จำเลยเสียค่าขึ้นศาลในชั้นฎีกามาสำหรับทุนทรัพย์จำนวน 250,000 บาทเมื่อทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาของจำเลยมีจำนวนเพียง 200,000 บาท จำเลยจึงเสียค่าขึ้นศาลในชั้นฎีกาเกินมา ต้องคืนค่าขึ้นศาลส่วนที่เกินมา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1447/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อจำกัดการฎีกาเมื่อทุนทรัพย์ไม่เกินเกณฑ์ และการไม่ฎีกาประเด็นค่าเสียหาย
แม้โจทก์จะเสียค่าขึ้นศาลชั้นฎีกามาตามทุนทรัพย์280,000 บาท ซึ่งเป็นการรวมเอาราคาที่ดินพิพาทจำนวน 80,000 บาทกับค่าเสียหายที่โจทก์ฟ้องเรียกจากจำเลยจำนวน 200,000 บาท เข้าด้วยกันก็ตามแต่ฎีกาของโจทก์มิได้กล่าวถึงประเด็นเรื่องค่าเสียหายว่าโจทก์ยังประสงค์จะเรียกร้องค่าเสียหายจากจำเลยตามฟ้อง จึงเท่ากับว่าโจทก์ไม่ได้ฎีกาในประเด็นนี้ฎีกาของโจทก์มีเพียงประเด็นว่าที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์หรือไม่ เมื่อราคาที่ดินพิพาทไม่เกิน 200,000 บาท คดีโจทก์ก็ต้องห้ามมิให้ฎีกาในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ.มาตรา 248 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1113/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การคิดมูลค่าทุนทรัพย์ในคดีแย่งการครอบครองที่ดินเมื่อโจทก์ฟ้องรวมกัน แต่สิทธิเป็นของแต่ละคน
คดีนี้โจทก์ทั้งสองกล่าวฟ้องเป็นสาระสำคัญว่า โจทก์ที่ 1กับโจทก์ที่ 2 ต่างเป็นเจ้าของที่ดินคนละแปลง จำเลยเข้ามาแย่งการครอบครองและขอออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ในที่ดินของโจทก์ทั้งสองเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์แต่ละคน ขอให้ศาลพิพากษาว่าที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์แต่ละคน เห็นได้ว่าที่ดินพิพาทมีสองแปลงซึ่งโจทก์แต่ละคนอ้างว่าเป็นเจ้าของเพียงแต่ที่ดินของโจทก์ทั้งสองมีเขตติดต่อกันเท่านั้น เป็นเรื่องที่โจทก์แต่ละคนต่างถูกโต้แย้งสิทธิ แม้โจทก์ทั้งสองจะฟ้องรวมกันมาก็ต้องถือทุนทรัพย์ของโจทก์แต่ละคนแยกกัน ดังนั้น ทุนทรัพย์ของคดีนี้ต้องห้ามฎีกาในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ. มาตรา 248 วรรคหนึ่งหรือไม่จึงต้องคิดแยกเป็นของโจทก์แต่ละคน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 963/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อจำกัดการระบุพยานเพิ่มเติมหลังศาลไม่อนุญาต เหตุจำเลยไม่แจ้งเหตุผลในการไม่นำสืบพยานเดิม
ศาลอุทธรณ์ภาค 2 มีคำสั่งไม่อนุญาตให้จำเลยระบุพยานเพิ่มเติมว่า จำเลยมิได้ระบุเหตุที่ไม่สามารถทราบว่าต้องนำพยานหลักฐานที่มีอยู่แล้วบางอย่างมาสืบเพื่อประโยชน์ของตนตาม ป.วิ.พ.มาตรา 88 วรรคสี่ ทั้ง ๆ ที่จำเลยอ้างว่าตนเป็นเจ้าของที่พิพาทและจำเลยก็มีทนายความดำเนินคดีแล้วการที่จำเลยฎีกาว่า จำเลยไม่ทราบว่าต้องนำพยานหลักฐานที่มีอยู่แล้วบางอย่างมาสืบเป็นประโยชน์ของตนและพยานหลักฐานบางอย่างก็มิเคยทราบว่ามีอยู่ ทั้งนี้เพราะทนายความคนเดิมมิได้ระบุอ้างไว้ เมื่อทนายความคนใหม่เข้ารับหน้าที่จำเลยเพิ่งทราบว่าเป็นพยานหลักฐานอันสำคัญที่เป็นความจำเป็นนั้น เป็นฎีกาในข้อเท็จจริงจึงต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 248 วรรคหนึ่ง