พบผลลัพธ์ทั้งหมด 9 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7074/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฎีกาขอรอลงอาญาในคดีอาญาของผู้เยาว์: ข้อจำกัดการฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยมีความผิดตาม ป.อ. มาตรา 357วรรคหนึ่ง, 83 ขณะกระทำผิดจำเลยอายุ 15 ปี ลดมาตราส่วนโทษให้กึ่งหนึ่ง ตามป.อ. มาตรา 75 แล้ว จำคุก 2 ปี จำเลยให้การรับสารภาพ มีเหตุบรรเทาโทษลดโทษให้กึ่งหนึ่งตาม ป.อ. มาตรา 78 คงจำคุก 1 ปี ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เพียงว่าให้จัดการตาม ป.อ. มาตรา 75 ประกอบด้วยมาตรา 74 (5) โดยส่งตัวจำเลยไปฝึกและอบรมที่สถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชนมีกำหนด 1 ปี จึงเป็นการแก้ไขคำพิพากษาศาลชั้นต้นเพียงเล็กน้อย จำเลยฎีกาขอให้ศาลรอลงอาญาให้จำเลยหรือให้ศาลมอบตัวจำเลยให้แก่มารดาเพื่อควบคุมความประพฤติของจำเลย เป็นการฎีกาโต้เถียงดุลพินิจในการกำหนดโทษ เป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ต้องห้ามฎีกาตามป.วิ.อ. มาตรา 218 วรรคแรก ถึงแม้ว่าจำเลยจะได้ยื่นคำร้องขอให้รับรองให้จำเลยฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง และผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาในศาลชั้นต้นสั่งรับฎีกาของจำเลยก็ยังถือไม่ได้ว่าเป็นการอนุญาตให้ฎีกาตาม ป.วิ.อ. มาตรา 221
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5360/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาเรื่องการช่วยเหลือผู้อื่นกระทำผิดฐานปลอมเอกสารราชการ และการสนับสนุนความผิดทางอาญา
ฎีกาจำเลยที่ 2 เพียงแต่หยิบยกพยานหลักฐานบางส่วนในสำนวนขึ้นเป็นข้อฎีกา แต่ในการรับฟังพยานหลักฐานลงโทษจำเลยที่ 2ศาลอุทธรณ์ได้ใช้ดุลพินิจชั่งน้ำหนักพยานหลักฐานต่าง ๆ ในสำนวนประกอบการรับฟังข้อเท็จจริงดังกล่าวแล้วจึงวินิจฉัยความผิดของจำเลยที่ 2 และในการรับฟังข้อเท็จจริงของศาลอุทธรณ์ก็หาได้นอกเหนือหรือคลาดเคลื่อนไปจากพยานหลักฐานในสำนวนแต่อย่างใดไม่ จึงมิใช่กรณีที่ศาลอุทธรณ์ฟังข้อเท็จจริงโดยฝ่าฝืนต่อกฎหมาย จึงเป็นฎีกาโต้เถียงดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลอุทธรณ์เป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงซึ่งต้องห้ามมิให้ฎีกาตาม ป.วิ.อ. มาตรา 218วรรคแรก
แม้จำเลยที่ 2 ไม่ได้ร่วมลงมือกระทำความผิดปลอมเอกสารราชการกับจำเลยที่ 1 เกี่ยวกับการรับแจ้งย้ายทะเบียนบ้านของ ก.ให้มีชื่อเข้าอยู่ในทะเบียนบ้าน และเพิ่มชื่อ ส.เข้าอยู่ในทะเบียนบ้าน พร้อมทั้งปลอมใบรับคำขอมีบัตรประจำตัวประชาชนให้แก่ ก. และ ส. แต่การที่จำเลยที่ 2 ได้มอบซองเอกสารเกี่ยวกับการแจ้งย้ายภูมิลำเนาเท็จของผู้ที่อ้างชื่อ ก. และ ส. ให้จ่าสิบเอก อ. ไปมอบให้จำเลยที่ 1 เพื่อดำเนินการปลอมเอกสารราชการดังกล่าวย่อมถือได้ว่าจำเลยที่ 2 ช่วยเหลือหรือให้ความสะดวกในการที่จำเลยที่ 1 กระทำผิดแล้ว การกระทำของจำเลยที่ 2 จึงเป็นความผิดฐานสนับสนุนให้จำเลยที่ 1กระทำความผิดตาม ป.อ. มาตรา 157, 161, 165 ประกอบมาตรา 86
เอกสารที่จำเลยที่ 1 ทำปลอมขึ้นในการปฏิบัติหรือละเว้นปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ เป็นเพียงสำเนาทะเบียนบ้านและใบรับคำขอมีบัตรประจำตัวประชาชนอันเป็นเอกสารราชการ มิใช่เอกสารสิทธิอันเป็นเอกสารราชการ
เมื่อการกระทำของจำเลยทั้งสองเป็นความผิดตามประมวล-กฎหมายอาญา มาตรา 265 แล้ว กรณีไม่จำต้องปรับบทด้วยประมวลกฎหมาย-อาญา มาตรา 264 อีก
แม้จำเลยที่ 2 ไม่ได้ร่วมลงมือกระทำความผิดปลอมเอกสารราชการกับจำเลยที่ 1 เกี่ยวกับการรับแจ้งย้ายทะเบียนบ้านของ ก.ให้มีชื่อเข้าอยู่ในทะเบียนบ้าน และเพิ่มชื่อ ส.เข้าอยู่ในทะเบียนบ้าน พร้อมทั้งปลอมใบรับคำขอมีบัตรประจำตัวประชาชนให้แก่ ก. และ ส. แต่การที่จำเลยที่ 2 ได้มอบซองเอกสารเกี่ยวกับการแจ้งย้ายภูมิลำเนาเท็จของผู้ที่อ้างชื่อ ก. และ ส. ให้จ่าสิบเอก อ. ไปมอบให้จำเลยที่ 1 เพื่อดำเนินการปลอมเอกสารราชการดังกล่าวย่อมถือได้ว่าจำเลยที่ 2 ช่วยเหลือหรือให้ความสะดวกในการที่จำเลยที่ 1 กระทำผิดแล้ว การกระทำของจำเลยที่ 2 จึงเป็นความผิดฐานสนับสนุนให้จำเลยที่ 1กระทำความผิดตาม ป.อ. มาตรา 157, 161, 165 ประกอบมาตรา 86
เอกสารที่จำเลยที่ 1 ทำปลอมขึ้นในการปฏิบัติหรือละเว้นปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ เป็นเพียงสำเนาทะเบียนบ้านและใบรับคำขอมีบัตรประจำตัวประชาชนอันเป็นเอกสารราชการ มิใช่เอกสารสิทธิอันเป็นเอกสารราชการ
เมื่อการกระทำของจำเลยทั้งสองเป็นความผิดตามประมวล-กฎหมายอาญา มาตรา 265 แล้ว กรณีไม่จำต้องปรับบทด้วยประมวลกฎหมาย-อาญา มาตรา 264 อีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3288/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาต้องห้ามในปัญหาข้อเท็จจริง, อายุความ, และดุลพินิจศาลในคดีโกงเจ้าหนี้
ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นให้ลงโทษจำเลยความผิดฐานโกงเจ้าหนี้ตาม ป.อ. มาตรา 350 จำคุก 8 เดือน ความผิดฐานนี้จึงต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ. มาตรา 218วรรคแรก จำเลยฎีกาว่าหลังจากศาลชั้นต้นไต่สวนมูลฟ้องความผิดฐานฉ้อโกงและมีคำสั่งว่า คดีมีมูลแล้ว โจทก์ได้ยื่นคำร้องขอแก้ไขคำฟ้องโดยเพิ่มเติมข้อหาและฐานความผิดฐานโกงเจ้าหนี้ขึ้นมาใหม่ ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาต คำสั่งดังกล่าวมีผลทำให้คดีมีมูลในความผิดฐานโกงเจ้าหนี้โดยปริยาย โดยที่ศาลชั้นต้นมิได้ทำการไต่สวนมูลฟ้องความผิดฐานนี้เป็นการขัดต่อ ป.วิ.อ. โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง แต่ข้อเท็จจริงปรากฏว่าศาลชั้นต้นได้ทำการไต่สวนมูลฟ้องความผิดฐานโกงเจ้าหนี้แล้วจึงมีคำสั่งว่าคดีโจทก์มีมูลในความผิดฐานนี้ ฎีกาของจำเลยจึงเป็นการโต้เถียงข้อเท็จจริงเพื่อนำไปสู่การวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมาย ย่อมมีผลอย่างเดียวกับการฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงซึ่งต้องห้ามตามบทกฎหมายดังกล่าว
ฎีกาจำเลยที่ว่า โจทก์ได้ยื่นฟ้องจำเลยเป็นคดีแพ่งเมื่อเดือนมีนาคม 2533 โจทก์ย่อมจะต้องไปขอตรวจสอบหลักฐานที่ดินต่อเจ้าพนักงานที่ดินเพื่อนำมาใช้ในการสืบพยานในคดีดังกล่าว และที่ดินพิพาทเป็นที่ดินมี น.ส.3 ตามกฎหมายจะต้องมีการประกาศต่อสาธารณชนเป็นเวลา 30 วัน ก่อนทำการโอนปรากฏจากสารบัญด้านหลัง น.ส.3 ที่ดินพิพาทว่ามีการโอนเมื่อวันที่ 3 พฤษภาคม2533 แสดงว่าจะต้องมีการประกาศคำขอต่อบุคคลทั่วไปตั้งแต่ปลายเดือนมีนาคมหรือต้นเดือนเมษายน 2533 ซึ่งแสดงให้เห็นว่าโจทก์ควรจะทราบแล้วว่ามีการขอโอนสิทธิในที่ดินดังกล่าว เนื่องจากเป็นเวลาช่วงเดียวกันกับที่โจทก์ฟ้องคดีแพ่ง เมื่อโจทก์ยื่นคำร้องขอแก้ไขคำฟ้องโดยเพิ่มเติมข้อหาและฐานความผิดตาม ป.อ. มาตรา 350เกิน 3 เดือน นับแต่วันเกิดเหตุคดีโจทก์จึงขาดอายุความแล้วนั้น ปัญหาว่าโจทก์รู้เรื่องความผิดตั้งแต่เมื่อใดเป็นปัญหาข้อเท็จจริงที่นำไปสู่ปัญหาข้อกฎหมาย จึงเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงเช่นกัน
ฎีกาจำเลยที่ว่า โจทก์นำสืบไม่ได้ว่าจำเลยกระทำผิดฐานโกงเจ้าหนี้ตามสถานที่เกิดเหตุที่โจทก์ขอแก้ไขคำฟ้องการกระทำของจำเลยขาดเจตนากระทำผิด และขอให้ศาลรอการลงโทษนั้น เป็นการโต้เถียงดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานและการลงโทษของศาลอุทธรณ์ ถือว่าเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงเช่นกัน
แม้คดีจะฎีกาได้เฉพาะปัญหาข้อกฎหมาย แต่ถ้าหากศาลฎีกาเห็นว่าศาลล่างลงโทษจำเลยหนักเกินไปก็ย่อมมีอำนาจที่จะพิพากษาลงโทษจำเลยให้เหมาะสมก่ความผิดได้
ฎีกาจำเลยที่ว่า โจทก์ได้ยื่นฟ้องจำเลยเป็นคดีแพ่งเมื่อเดือนมีนาคม 2533 โจทก์ย่อมจะต้องไปขอตรวจสอบหลักฐานที่ดินต่อเจ้าพนักงานที่ดินเพื่อนำมาใช้ในการสืบพยานในคดีดังกล่าว และที่ดินพิพาทเป็นที่ดินมี น.ส.3 ตามกฎหมายจะต้องมีการประกาศต่อสาธารณชนเป็นเวลา 30 วัน ก่อนทำการโอนปรากฏจากสารบัญด้านหลัง น.ส.3 ที่ดินพิพาทว่ามีการโอนเมื่อวันที่ 3 พฤษภาคม2533 แสดงว่าจะต้องมีการประกาศคำขอต่อบุคคลทั่วไปตั้งแต่ปลายเดือนมีนาคมหรือต้นเดือนเมษายน 2533 ซึ่งแสดงให้เห็นว่าโจทก์ควรจะทราบแล้วว่ามีการขอโอนสิทธิในที่ดินดังกล่าว เนื่องจากเป็นเวลาช่วงเดียวกันกับที่โจทก์ฟ้องคดีแพ่ง เมื่อโจทก์ยื่นคำร้องขอแก้ไขคำฟ้องโดยเพิ่มเติมข้อหาและฐานความผิดตาม ป.อ. มาตรา 350เกิน 3 เดือน นับแต่วันเกิดเหตุคดีโจทก์จึงขาดอายุความแล้วนั้น ปัญหาว่าโจทก์รู้เรื่องความผิดตั้งแต่เมื่อใดเป็นปัญหาข้อเท็จจริงที่นำไปสู่ปัญหาข้อกฎหมาย จึงเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงเช่นกัน
ฎีกาจำเลยที่ว่า โจทก์นำสืบไม่ได้ว่าจำเลยกระทำผิดฐานโกงเจ้าหนี้ตามสถานที่เกิดเหตุที่โจทก์ขอแก้ไขคำฟ้องการกระทำของจำเลยขาดเจตนากระทำผิด และขอให้ศาลรอการลงโทษนั้น เป็นการโต้เถียงดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานและการลงโทษของศาลอุทธรณ์ ถือว่าเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงเช่นกัน
แม้คดีจะฎีกาได้เฉพาะปัญหาข้อกฎหมาย แต่ถ้าหากศาลฎีกาเห็นว่าศาลล่างลงโทษจำเลยหนักเกินไปก็ย่อมมีอำนาจที่จะพิพากษาลงโทษจำเลยให้เหมาะสมก่ความผิดได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3134/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การป้องกันตัวเกินสมควรแก่เหตุ และการโต้แย้งการรับฟังข้อเท็จจริงของศาล
คดีนี้ศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษายืนตามศาลชั้นต้นให้จำคุกจำเลย6 เดือน ริบของกลาง จึงต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ. มาตรา 218วรรคแรก ที่จำเลยฎีกาว่า ผู้เสียหายบุกรุกขึ้นบนบ้านจำเลย และใช้กำลังฉุดกระชากจำเลยโดยไม่มีสิทธิที่จะกระทำได้ การที่จำเลยเหวี่ยงมีดฟันผู้เสียหาย และผู้เสียหายก็เพียงแต่ได้รับบาดเจ็บ จำเลยก็หยุดไม่กระทำต่อ ถือว่าจำเลยกระทำพอสมควรแก่เหตุอันเป็นการป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมายนั้น เป็นฎีกาโต้แย้งการรับฟังข้อเท็จจริงของศาลอุทธรณ์ภาค 1 ที่ฟังว่าจำเลยเหวี่ยงมีดฟันผู้เสียหายหลายครั้งจนผู้เสียหายได้รับบาดเจ็บสาหัส การกระทำของจำเลยเป็นการป้องกันตัวเกินสมควรแก่เหตุ เป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงซึ่งต้องห้ามตามบทกฎหมายดังกล่าว
แม้คดีจะต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ศาลฎีกาก็มีอำนาจแก้ไขโทษให้เหมาะสมแก่พฤติการณ์แห่งคดีได้
แม้คดีจะต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ศาลฎีกาก็มีอำนาจแก้ไขโทษให้เหมาะสมแก่พฤติการณ์แห่งคดีได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1585/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาไม่รับฟังข้อเท็จจริงเรื่องยักยอกเงิน, อายุความไม่ขาด, และไม่มีเหตุรอการลงโทษ
ศาลอุทธรณ์ภาค 2 วินิจฉัยว่า พยานหลักฐานของโจทก์ โจทก์ร่วมและจำเลยยังไม่ได้ความชัดแจ้งในเรื่องจำนวนเงินที่จะให้จำเลยคืนหรือใช้ตามคำขอของโจทก์ เห็นสมควรให้ไปว่ากล่าวกันในทางแพ่ง โจทก์ฎีกาว่า พยานหลักฐานที่โจทก์และโจทก์ร่วมนำสืบมาฟังได้แน่ชัดว่าจำเลยยักยอกเอาเงินตามจำนวนที่โจทก์ขอมาจริงฎีกาของโจทก์เป็นการโต้แย้งดุลพินิจในการฟังพยานหลักฐานว่าควรเชื่อได้เพียงใดเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง เมื่อศาลล่างทั้งสองลงโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี จึงต้องห้ามฎีกาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218 วรรคแรก
โจทก์ร่วมมีหนังสือร้องทุกข์ถึงหัวหน้าพนักงานสอบสวน ลงวันที่ 15สิงหาคม 2529 สถานีตำรวจภูธรอำเภอเมืองเชียงใหม่ได้รับเมื่อวันที่ 18 สิงหาคม2529 ถือว่าผู้เสียหายได้ร้องทุกข์ตั้งแต่วันที่ 18 สิงหาคม 2529 ส่วนวิธีการของพนักงานสอบสวนจะปฏิบัติอย่างไรในการลงบันทึกประจำวันเกี่ยวกับคดีเป็นอีกขั้นตอนหนึ่งไม่กระทบถึงวันที่มีการร้องทุกข์โดยถูกต้องแล้ว คดีจึงไม่ขาดอายุความ
จำเลยมีการศึกษาระดับปริญญาตรี มีวุฒิภาวะพอเพียงที่จะสำนึกว่าการใดควรไม่ควร ก่อนที่จะได้ลงมือกระทำการนั้น จำเลยใช้โอกาสที่ตนมีหน้าที่ที่ได้รับความไว้วางใจให้ดูแลดำเนินกิจการของโจทก์ร่วมในฐานะผู้จัดการ ทำการทุจริตเป็นเวลาหลายเดือนติดต่อกัน จึงไม่มีเหตุรอการลงโทษ
โจทก์ร่วมมีหนังสือร้องทุกข์ถึงหัวหน้าพนักงานสอบสวน ลงวันที่ 15สิงหาคม 2529 สถานีตำรวจภูธรอำเภอเมืองเชียงใหม่ได้รับเมื่อวันที่ 18 สิงหาคม2529 ถือว่าผู้เสียหายได้ร้องทุกข์ตั้งแต่วันที่ 18 สิงหาคม 2529 ส่วนวิธีการของพนักงานสอบสวนจะปฏิบัติอย่างไรในการลงบันทึกประจำวันเกี่ยวกับคดีเป็นอีกขั้นตอนหนึ่งไม่กระทบถึงวันที่มีการร้องทุกข์โดยถูกต้องแล้ว คดีจึงไม่ขาดอายุความ
จำเลยมีการศึกษาระดับปริญญาตรี มีวุฒิภาวะพอเพียงที่จะสำนึกว่าการใดควรไม่ควร ก่อนที่จะได้ลงมือกระทำการนั้น จำเลยใช้โอกาสที่ตนมีหน้าที่ที่ได้รับความไว้วางใจให้ดูแลดำเนินกิจการของโจทก์ร่วมในฐานะผู้จัดการ ทำการทุจริตเป็นเวลาหลายเดือนติดต่อกัน จึงไม่มีเหตุรอการลงโทษ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1491/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงที่ศาลชั้นต้นรับฎีกาโดยไม่ชอบ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตาม ป.อ. มาตรา 147, 157, 91ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำเลยตาม ป.อ. มาตรา 147 จำคุกจำเลย 35 กรรมกรรมละ 5 ปี กับให้จำเลยคืนหรือใช้เงินแก่ผู้เสียหาย ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้ให้จำเลยคืนหรือใช้เงินแก่ผู้เสียหายน้อยลงจากที่ศาลชั้นต้นพิพากษา 7.50 บาท นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น ดังนี้ เท่ากับศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามศาลชั้นต้นที่พิพากษาลงโทษจำคุกจำเลยตาม ป.อ. มาตรา 147 และให้ลงโทษจำคุกจำเลยแต่ละกรรมไม่เกิน 5 ปี เป็นคดีที่ห้ามมิให้คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ.มาตรา 218 วรรคแรก จำเลยฎีกาว่า พยานหลักฐานที่โจทก์นำสืบมายังรับฟังไม่ได้แน่ชัดว่าจำเลยกระทำความผิดเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงต้องห้ามตามบทมาตราดังกล่าว ที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งรับฎีกาของจำเลยไว้จึงไม่ชอบ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1368/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโต้เถียงดุลพินิจชั่งน้ำหนักพยานหลักฐานของศาลอุทธรณ์ และข้อจำกัดการฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง
ฎีกาจำเลยที่อ้างว่าศาลอุทธรณ์วินิจฉัยคลาดเคลื่อนจากความเป็นจริงเพราะจากภาพถ่ายรถของจำเลยเอกสารหมาย จ.1 ซึ่งเป็นภาพถ่ายบริเวณด้านหน้าขวาของรถจำเลยไม่มีร่องรอยการเฉี่ยวหรือโดนกันแต่อย่างใด คงมีร่องรอยการ-เฉี่ยวโดนกันเฉพาะด้านข้างขวาของรถเท่านั้น การวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์จึงขัดกับพยานหลักฐานนั้น แม้ว่าตามภาพถ่ายหมาย จ.1 จะไม่ปรากฏให้สามารตรวจพบได้ชัดเจนว่ามีร่องรอยการเฉี่ยวชนดังที่จำเลยกล่าวอ้างก็ตามแต่ ศาลอุทธรณ์มิได้วินิจฉัยข้อ-เท็จจริงโดยตรวจดูจากภาพถ่ายหมาย จ.1 แต่เพียงอย่างเดียว หากแต่ได้นำคำเบิกความของพนักงานสอบสวนซึ่งได้ตรวจสภาพรถยนต์คันเกิดเหตุว่าที่กันชนหน้าขวามีรอยขูดด้วย ซึ่งเป็นการวินิจฉัยตรงตามคำเบิกความของพยาน หาใช่เป็นการวินิจฉัยขัดต่อพยานหลักฐานในสำนวนไม่ ฎีกาของจำเลยเช่นนี้จึงเป็นการโต้เถียงดุลพินิจในการวินิจฉัยชั่งน้ำหนักพยานหลักฐานของศาลอุทธรณ์เป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง คดีนี้ศาลอุทธรณ์แก้เฉพาะโทษอันเป็นการแก้ไขเล็กน้อยและให้ลงโทษจำคุกจำเลยไม่เกินห้าปีจึงต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ. มาตรา 218 วรรคแรก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1229/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หมิ่นประมาทด้วยคำพูด: การกล่าวอ้างทำให้เสียชื่อเสียง
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่าจำเลยมีความผิด ตาม ป.อ. มาตรา326 จำคุก 1 เดือน ปรับ 500 บาท โทษจำคุกให้รอไว้มีกำหนด 1 ปี ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เฉพาะโทษเป็นให้ลงโทษปรับสถานเดียว จึงเป็นกรณีศาลอุทธรณ์แก้ไข-เล็กน้อย ฎีกาของจำเลยที่ว่าไม่ได้กล่าวถ้อยคำตามที่โจทก์กล่าวหา และฎีกาของโจทก์ที่ขอให้ลงโทษจำคุกจำเลย เป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ต้องห้ามตาม ป.วิ.อ.มาตรา 218 วรรคแรก
ข้อความที่จำเลยกล่าวต่อหน้าบุคคลอื่นว่า โจทก์จบด๊อกเตอร์ได้เพราะจำเลยเป็นผู้ส่งเสียทั้งหมด พอจบออกมาก็ไล่เตะลูกเมีย ทิ้งลูกทิ้งเมียไปหาเมียใหม่ เมียคนแรกถูกหลอกเกือบหมดตัว คนที่สองถูกหลอกเกลี้ยงตัวเลย นั้น น่าจะทำให้โจทก์เสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่นหรือถูกเกลียดชังได้ จำเลยจึงมีความผิดฐานหมิ่นประมาท
ข้อความที่จำเลยกล่าวต่อหน้าบุคคลอื่นว่า โจทก์จบด๊อกเตอร์ได้เพราะจำเลยเป็นผู้ส่งเสียทั้งหมด พอจบออกมาก็ไล่เตะลูกเมีย ทิ้งลูกทิ้งเมียไปหาเมียใหม่ เมียคนแรกถูกหลอกเกือบหมดตัว คนที่สองถูกหลอกเกลี้ยงตัวเลย นั้น น่าจะทำให้โจทก์เสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่นหรือถูกเกลียดชังได้ จำเลยจึงมีความผิดฐานหมิ่นประมาท
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 688/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโต้แย้งข้อเท็จจริงเรื่องการใช้ดินระเบิดในการยิงปืน เพื่อนำไปสู่ปัญหาข้อกฎหมายตาม ป.อ. มาตรา 376
ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ฟังข้อเท็จจริงว่า จำเลยยิงปืนในหมู่บ้านและทางสาธารณะในเวลากลางคืน อันเป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 376ถือได้ว่าศาลล่างทั้งสองฟังข้อเท็จจริงโดยปริยายแล้วว่าจำเลยยิงปืนซึ่งใช้ดินระเบิดที่จำเลยฎีกาว่าข้อเท็จจริงที่ศาลล่างทั้งสองฟังมานั้นยังไม่ครบองค์ประกอบความผิดตาม ป.อ. มาตรา 376 นั้น ก็เพื่อประสงค์จะให้ศาลฎีกาวินิจฉัยข้อเท็จจริงใหม่ว่าจำเลยยิงปืนซึ่งไม่ได้ใช้ดินระเบิด อันเป็นการโต้แย้งข้อเท็จจริงเพื่อนำไปสู่ปัญหาข้อกฎหมาย จึงเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง