พบผลลัพธ์ทั้งหมด 7 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7073/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำรับสารภาพที่ไม่น่าเชื่อถือและการปรับบทลงโทษ
คำเบิกความของพนักงานสอบสวนที่ว่าในชั้นจับกุมจำเลยที่ 1ให้การรับสารภาพว่าได้ร่วมกับจำเลยที่ 2 กระทำผิด เป็นคำบอกเล่าจากจำเลยที่ 1เมื่อประจักษ์พยานเบิกความว่าไม่เห็นจำเลยที่ 2 ในคืนเกิดเหตุ คำให้การรับสารภาพของจำเลยที่ 2 ในชั้นจับกุมและชั้นสอบสวนจึงยังไม่พอฟังลงโทษจำเลยที่ 2 ได้
เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่า การกระทำของจำเลยที่ 1 เป็นความผิดฐานชิงทรัพย์เป็นเหตุให้ผู้เสียหายได้รับอันตรายแก่กาย ที่ศาลล่างลงโทษจำเลยที่ 1 ในความผิดฐานชิงทรัพย์เป็นเหตุให้ผู้เสียหายได้รับอันตรายแก่กายโดยใช้ยานพาหนะจึงไม่ชอบ และเป็นข้อกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยแม้คู่ความมิได้ฎีกา ศาลฎีกาก็ยกขึ้นวินิจฉัยปรับบทลงโทษจำเลยที่ 1 ให้ถูกต้องได้
เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่า การกระทำของจำเลยที่ 1 เป็นความผิดฐานชิงทรัพย์เป็นเหตุให้ผู้เสียหายได้รับอันตรายแก่กาย ที่ศาลล่างลงโทษจำเลยที่ 1 ในความผิดฐานชิงทรัพย์เป็นเหตุให้ผู้เสียหายได้รับอันตรายแก่กายโดยใช้ยานพาหนะจึงไม่ชอบ และเป็นข้อกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยแม้คู่ความมิได้ฎีกา ศาลฎีกาก็ยกขึ้นวินิจฉัยปรับบทลงโทษจำเลยที่ 1 ให้ถูกต้องได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6753/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประกอบกิจการเทป/วัสดุโทรทัศน์โดยไม่ได้รับอนุญาต และความผิดเกี่ยวกับตราหมายเลขรหัส
จำเลยประกอบกิจการให้เช่า แลกเปลี่ยนหรือจำหน่ายด้วยประการใด ๆ ซึ่งเทปหรือวัสดุโทรทัศน์ โดยไม่ได้รับใบอนุญาตจากนายทะเบียนดังบัญญัติไว้ใน พ.ร.บ.ควบคุมกิจการเทปและวัสดุโทรทัศน์ พ.ศ.2530 มาตรา6, 34 เห็นได้ว่าการกระทำของจำเลยที่เป็นความผิดคือการที่จำเลยละเว้นไม่ได้รับใบอนุญาตจากนายทะเบียน ม้วนวีดีโอเทปหรือวัสดุโทรทัศน์จึงมิใช่เป็นทรัพย์ที่จำเลยมีไว้เป็นความผิดหรือมีไว้เพื่อใช้ในการกระทำความผิด จึงไม่มีเหตุที่จะริบของกลาง
ความผิดตาม พ.ร.บ.ควบคุมกิจการเทปและวัสดุโทรทัศน์พ.ศ.2530 มาตรา 10, 36 เป็นความผิดที่บัญญัติลงโทษแก่ผู้ที่ได้รับใบอนุญาตตามมาตรา 6 ที่มีไว้ในครอบครองซึ่งเทปหรือวัสดุโทรทัศน์ ซึ่งมิได้มีการแสดงตราหมายเลขรหัสและรายละเอียดตามที่กำหนดในกฎกระทรวง เมื่อจำเลยมิใช่เป็นผู้ได้รับใบอนุญาตตามมาตรา 6 แม้จำเลยจะมีไว้ในครอบครองซึ่งเทปหรือวัสดุโทรทัศน์ซึ่งมิได้มีการแสดงตราหมายเลขรหัสและรายละเอียดไว้ในกฎกระทรวงจำเลยก็ไม่มีความผิดตามบทบัญญัติดังกล่าว ปัญหาข้อนี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกาย่อมหยิบยกขึ้นวินิจฉัยได้ แม้จำเลยจะมิได้ฎีกาตามป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225
ความผิดตาม พ.ร.บ.ควบคุมกิจการเทปและวัสดุโทรทัศน์พ.ศ.2530 มาตรา 10, 36 เป็นความผิดที่บัญญัติลงโทษแก่ผู้ที่ได้รับใบอนุญาตตามมาตรา 6 ที่มีไว้ในครอบครองซึ่งเทปหรือวัสดุโทรทัศน์ ซึ่งมิได้มีการแสดงตราหมายเลขรหัสและรายละเอียดตามที่กำหนดในกฎกระทรวง เมื่อจำเลยมิใช่เป็นผู้ได้รับใบอนุญาตตามมาตรา 6 แม้จำเลยจะมีไว้ในครอบครองซึ่งเทปหรือวัสดุโทรทัศน์ซึ่งมิได้มีการแสดงตราหมายเลขรหัสและรายละเอียดไว้ในกฎกระทรวงจำเลยก็ไม่มีความผิดตามบทบัญญัติดังกล่าว ปัญหาข้อนี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกาย่อมหยิบยกขึ้นวินิจฉัยได้ แม้จำเลยจะมิได้ฎีกาตามป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6746/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขโทษทางอาญาโดยศาลอุทธรณ์ และอำนาจศาลฎีกาในการวินิจฉัยปัญหาความสงบเรียบร้อย
คำพิพากษาศาลชั้นต้นจะถึงที่สุดก็ต่อเมื่อไม่มีคู่ความฝ่ายใดอุทธรณ์ คดีนี้แม้โจทก์จะเป็นผู้อุทธรณ์ขอให้ลงโทษจำเลยให้หนักขึ้นและไม่รอการลงโทษจำคุกแก่จำเลยก็ตาม คำพิพากษาศาลชั้นต้นสำหรับจำเลยก็ยังไม่ถึงที่สุด
ปัญหาเรื่องการกำหนดโทษที่จะลงแก่ผู้กระทำผิดเป็นดุลพินิจของศาล ถ้าศาลชั้นต้นกำหนดมาไม่เหมาะสม และคดีขึ้นมาสู่ศาลอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์ย่อมแก้ได้เสมอเมื่อคดีส่วนของจำเลยคนนั้นยังไม่ถึงที่สุด ไม่ว่าฝ่ายใดจะยกขึ้นอุทธรณ์มาโดยเฉพาะหรือไม่ก็ตาม โดยคำนึงถึงพฤติการณ์ประกอบการกระทำความผิดศาลอุทธรณ์คงถูกห้ามเพียงแต่มิให้พิพากษาเพิ่มเติมโทษจำเลย เว้นแต่โจทก์จะได้อุทธรณ์ในทำนองนั้นตามที่บัญญัติไว้ใน ป.วิ.อ. มาตรา 212 เท่านั้น คดีนี้โจทก์เองเป็นผู้อุทธรณ์ทำนองขอให้เพิ่มโทษจำเลย และศาลอุทธรณ์ก็กำหนดโทษน้อยกว่าที่ศาลชั้นต้นวางไว้จึงไม่ต้องห้ามแต่อย่างใด และบทบัญญัติแห่ง ป.อ. มาตรา 55เป็นเรื่องกฎหมายให้อำนาจศาลจะกำหนดโทษจำคุกตามกฎหมายให้น้อยลง แต่คดีนี้เป็นเรื่องที่ศาลอุทธรณ์ใช้ดุลพินิจลงโทษจำเลยให้น้อยลงกว่าศาลชั้นต้น จึงนำหลักเกณฑ์ตาม ป.อ. มาตรา 55 มาปรับแก่คดีนี้ไม่ได้
โจทก์มิได้บรรยายฟ้องอ้างเหตุว่าการที่จำเลยไม่อยู่ให้ความช่วยเหลือตามสมควร ไม่แสดงตัวและไม่แจ้งเหตุต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ที่ใกล้เคียงทันทีอันเป็นการไม่ปฏิบัติตามมาตรา 78 แห่งพระราชบัญญัติจราจรทางบกพ.ศ.2522 นั้น เป็นเหตุให้บุคคลอื่นถึงแก่ความตาย คดีจึงไม่อาจลงโทษจำเลยตามพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ.2522 มาตรา 160 วรรคสอง ได้ และปัญหานี้แม้คู่ความจะมิได้อุทธรณ์ฎีกา แต่เป็นปัญหาที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยเองได้ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสองประกอบมาตรา 225
ปัญหาเรื่องการกำหนดโทษที่จะลงแก่ผู้กระทำผิดเป็นดุลพินิจของศาล ถ้าศาลชั้นต้นกำหนดมาไม่เหมาะสม และคดีขึ้นมาสู่ศาลอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์ย่อมแก้ได้เสมอเมื่อคดีส่วนของจำเลยคนนั้นยังไม่ถึงที่สุด ไม่ว่าฝ่ายใดจะยกขึ้นอุทธรณ์มาโดยเฉพาะหรือไม่ก็ตาม โดยคำนึงถึงพฤติการณ์ประกอบการกระทำความผิดศาลอุทธรณ์คงถูกห้ามเพียงแต่มิให้พิพากษาเพิ่มเติมโทษจำเลย เว้นแต่โจทก์จะได้อุทธรณ์ในทำนองนั้นตามที่บัญญัติไว้ใน ป.วิ.อ. มาตรา 212 เท่านั้น คดีนี้โจทก์เองเป็นผู้อุทธรณ์ทำนองขอให้เพิ่มโทษจำเลย และศาลอุทธรณ์ก็กำหนดโทษน้อยกว่าที่ศาลชั้นต้นวางไว้จึงไม่ต้องห้ามแต่อย่างใด และบทบัญญัติแห่ง ป.อ. มาตรา 55เป็นเรื่องกฎหมายให้อำนาจศาลจะกำหนดโทษจำคุกตามกฎหมายให้น้อยลง แต่คดีนี้เป็นเรื่องที่ศาลอุทธรณ์ใช้ดุลพินิจลงโทษจำเลยให้น้อยลงกว่าศาลชั้นต้น จึงนำหลักเกณฑ์ตาม ป.อ. มาตรา 55 มาปรับแก่คดีนี้ไม่ได้
โจทก์มิได้บรรยายฟ้องอ้างเหตุว่าการที่จำเลยไม่อยู่ให้ความช่วยเหลือตามสมควร ไม่แสดงตัวและไม่แจ้งเหตุต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ที่ใกล้เคียงทันทีอันเป็นการไม่ปฏิบัติตามมาตรา 78 แห่งพระราชบัญญัติจราจรทางบกพ.ศ.2522 นั้น เป็นเหตุให้บุคคลอื่นถึงแก่ความตาย คดีจึงไม่อาจลงโทษจำเลยตามพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ.2522 มาตรา 160 วรรคสอง ได้ และปัญหานี้แม้คู่ความจะมิได้อุทธรณ์ฎีกา แต่เป็นปัญหาที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยเองได้ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสองประกอบมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3257/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดทางอาญาของผู้สนับสนุนการกระทำผิด และการแบ่งบทบาทตัวการร่วม
การที่จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นพระภิกษุร่วมกับจำเลยที่ 1 และที่ 3 เข้าไปในห้องเกิดเหตุ แล้วจำเลยที่ 2 จากไปด้วยอาการรีบร้อน เป็นพฤติการณ์ที่เปิดโอกาสให้จำเลยที่ 1 และที่ 3 ลงมือทำร้ายและลักทรัพย์ของผู้เสียหาย และอาวุธปืนที่ยึดได้จากจำเลยที่ 1 ก็เป็นอาวุธปืนกระบอกเดียวกับที่จำเลยที่ 2 นำไปฝากไว้แก่พยานโจทก์ และจำเลยที่ 2 ไปขอคืนมาในตอนเช้าวันเกิดเหตุ ข้อเท็จจริงฟังได้ว่าจำเลยที่ 2 ได้ร่วมกระทำผิดฐานมีอาวุธปืนไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาต และพาอาวุธปืนไปในเมือง หมู่บ้าน และทางสาธารณะโดยไม่มีเหตุสมควร แต่การกระทำของจำเลยที่ 2 ยังไม่ถึงขั้นเป็นตัวการร่วมกับจำเลยที่ 1 และที่ 3 โดยแบ่งหน้าที่กันทำ แต่เป็นเพียงผู้สนับสนุนให้จำเลยที่ 1 และที่ 3 กระทำผิดเท่านั้น
ก่อนเกิดเหตุ จำเลยที่ 4 เป็นผู้พาจำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 ไปชี้ห้องที่เกิดเหตุเท่านั้น การกระทำของจำเลยที่ 4 เป็นเพียงผู้สนับสนุน มิใช่ตัวการร่วมกระทำผิด แม้จำเลยที่ 4 มิได้ฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจปรับบทลงโทษจำเลยที่ 4ให้ถูกต้องได้
ก่อนเกิดเหตุ จำเลยที่ 4 เป็นผู้พาจำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 ไปชี้ห้องที่เกิดเหตุเท่านั้น การกระทำของจำเลยที่ 4 เป็นเพียงผู้สนับสนุน มิใช่ตัวการร่วมกระทำผิด แม้จำเลยที่ 4 มิได้ฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจปรับบทลงโทษจำเลยที่ 4ให้ถูกต้องได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2127/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
องค์ประกอบความผิดชิงทรัพย์ vs. ลักทรัพย์ และอำนาจแก้ไขศาลอุทธรณ์
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยชิงทรัพย์ของผู้เสียหาย โดยใช้กำลังประทุษร้ายด้วยการใช้มือบีบและกดคอของผู้เสียหาย แล้วกระชากสร้อยคอของผู้เสียหายโดยแรงจนสร้อยคอขาดแล้วพาวิ่งหลบหนีไปซึ่งหน้า โดยโจทก์มิได้บรรยายฟ้องว่า จำเลยฉกฉวยเอาสร้อยคอของผู้เสียหายพาหนีไปซึ่งหน้าอันเป็นองค์ประกอบของความผิดฐานวิ่งราวทรัพย์ และคำขอท้ายฟ้องก็มิได้ขอให้ลงโทษฐานวิ่งราวทรัพย์ จึงเป็นเรื่องที่โจทก์ไม่ประสงค์ให้ลงโทษจำเลยฐานวิ่งราวทรัพย์คงลงโทษจำเลยได้ในข้อหาความผิดฐานลักทรัพย์ตาม ป.อ. มาตรา 335 (1)วรรคสอง ซึ่งเป็นความผิดที่ประกอบเป็นองค์ประกอบอย่างหนึ่งของความผิดฐานชิงทรัพย์ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคท้าย เท่านั้น แม้จำเลยไม่อุทธรณ์ข้อนี้ศาลอุทธรณ์มีอำนาจแก้ไขได้ เพราะเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยตามป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1843/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานพาอาวุธและการพิพากษาโดยไม่ตรงกับข้อเท็จจริง ศาลฎีกามีอำนาจแก้ไขได้
เมื่อข้อเท็จจริงฟังไม่ได้ว่าจำเลยเป็นคนใช้อาวุธปืนยิงพยายามฆ่าผู้เสียหาย จำเลยย่อมไม่มีความผิดฐานพาอาวุธไปในทางสาธารณะโดยไม่มีเหตุสมควรตามที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยด้วย แม้ความผิดในข้อหาพาอาวุธไปในทางสาธารณะโดยไม่มีเหตุสมควรจะยุติโดยต้องห้ามอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกฟ้องในข้อหาความผิดนี้ได้ด้วยตาม ป.วิ.อ. มาตรา 185 ประกอบมาตรา 215และมาตรา 225 เพราะเป็นข้อเท็จจริงอันเดียวเกี่ยวพันกัน
คำฟ้องมิได้บรรยายถึงองค์ประกอบความผิดตาม ป.วิ.อ.มาตรา 376 แม้คำขอท้ายฟ้องจะระบุให้ลงโทษมาด้วย ศาลก็จะพิพากษาลงโทษจำเลยไม่ได้ เพราะต้องห้ามตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคแรก ที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาว่าจำเลยมีความผิดข้อหาดังกล่าว แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดอุทธรณ์ฎีกาขึ้นมา แต่ปัญหาดังกล่าวเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกามีอำนาจแก้ไขให้ถูกต้องโดยพิพากษายกฟ้องข้อหาดังกล่าวได้
คำฟ้องมิได้บรรยายถึงองค์ประกอบความผิดตาม ป.วิ.อ.มาตรา 376 แม้คำขอท้ายฟ้องจะระบุให้ลงโทษมาด้วย ศาลก็จะพิพากษาลงโทษจำเลยไม่ได้ เพราะต้องห้ามตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคแรก ที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาว่าจำเลยมีความผิดข้อหาดังกล่าว แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดอุทธรณ์ฎีกาขึ้นมา แต่ปัญหาดังกล่าวเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกามีอำนาจแก้ไขให้ถูกต้องโดยพิพากษายกฟ้องข้อหาดังกล่าวได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1305/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโต้เถียงก่อนยิงและการลดโทษตามอายุ: ป้องกันตัวไม่สมเหตุผล & ลดโทษทุกกระทง
การที่จำเลยพูดโต้เถียงกับผู้ตายอันเป็นทำนองท้าทายผู้ตายแสดงว่าจำเลยสมัครใจจะทะเลาะวิวาทกับผู้ตาย เมื่อจำเลยยิงผู้ตายถึงแก่ความ-ตายจึงไม่สามารถอ้างว่าเป็นการป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมายได้
การลดมาตราส่วนโทษตาม ป.อ. มาตรา 76 เป็นการลดมาตราส่วนโทษเพราะเหตุอายุของผู้กระทำผิด เมื่อศาลใช้ดุลพินิจลดมาตราส่วนโทษให้แก่จำเลยแล้วก็จำต้องลดให้ทุกระทงความผิด แม้ว่าความผิดฐานมีอาวุธปืนจะยุติไปแล้วตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นก็ตาม แต่ปัญหาข้อนี้เป็นปัญหาข้อแรก ข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้
การลดมาตราส่วนโทษตาม ป.อ. มาตรา 76 เป็นการลดมาตราส่วนโทษเพราะเหตุอายุของผู้กระทำผิด เมื่อศาลใช้ดุลพินิจลดมาตราส่วนโทษให้แก่จำเลยแล้วก็จำต้องลดให้ทุกระทงความผิด แม้ว่าความผิดฐานมีอาวุธปืนจะยุติไปแล้วตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นก็ตาม แต่ปัญหาข้อนี้เป็นปัญหาข้อแรก ข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้