พบผลลัพธ์ทั้งหมด 3 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5692/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองปรปักษ์ต้องสงบ เปิดเผย และต่อเนื่องระยะเวลาที่กฎหมายกำหนด การครอบครองระหว่างคดีความไม่อาจนำมาอ้างเป็นสิทธิได้
โจทก์จำเลยมีคดีพิพาทเกี่ยวกับที่ดินพิพาทกันเรื่อยมา โดยมีการยื่นอุทธรณ์ฎีกาต่อศาลจนถึงปี 2523 ศาลฎีกาจึงได้พิพากษาในคดีที่โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยกับสามีออกจากที่ดินพิพาท การที่จำเลยครอบครองที่ดินพิพาทในระหว่างที่คดีฟ้องร้องอยู่กับโจทก์ จึงถือไม่ได้ว่าเป็นการครอบครองโดยสงบ โดยเปิดเผยด้วยเจตนาเป็นเจ้าของ เมื่อนับระยะแล้วที่ศาลชั้นต้นอ่านคำพิพากษาศาลฎีกาในคดีดังกล่าวจนถึงวันที่จำเลยยื่นคำร้องขอแสดงกรรมสิทธั์ที่ดินพิพาทโดยการครอบครองปรปักษ์เป็นเวลายังไม่ถึง 10 ปี จำเลยจึงยังไม่ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทโดยการครอบครองปรปักษ์
แม้ศาลชั้นต้นจะมีคำสั่งแสดงว่าจำเลยครอบครองปรปักษ์ที่ดินพิพาทแล้วก็ตาม ก็ไม่อาจยกขึ้นต่อสู้โจทก์ผู้เป็นบุคคลภายนอกคดีดังกล่าว และพิสูจน์ได้ว่ามีสิทธิในที่ดินพิพาทดีกว่าจำเลยได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณา-ความแพ่ง มาตรา 145 วรรคสอง (2)
แม้ศาลชั้นต้นจะมีคำสั่งแสดงว่าจำเลยครอบครองปรปักษ์ที่ดินพิพาทแล้วก็ตาม ก็ไม่อาจยกขึ้นต่อสู้โจทก์ผู้เป็นบุคคลภายนอกคดีดังกล่าว และพิสูจน์ได้ว่ามีสิทธิในที่ดินพิพาทดีกว่าจำเลยได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณา-ความแพ่ง มาตรา 145 วรรคสอง (2)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3643/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำขอให้เจ้าพนักงานที่ดินออก/ยกเลิกโฉนด เป็นคำขอที่บังคับแก่บุคคลภายนอกที่ไม่เป็นคู่ความ ย่อมไม่ชอบ
โจทก์บรรยายฟ้องไว้ชัดแจ้งว่า จำเลยได้กระทำการซึ่งเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ และฟ้องบังคับจำเลยไม่ให้กระทำการรบกวนสิทธิของโจทก์ ไม่ได้ฟ้องเจ้าพนักงานที่ดินเป็นจำเลยด้วยแต่อย่างใด ฉะนั้น ที่โจทก์มีคำขอให้เจ้าพนักงานที่ดินยกเลิกการออกโฉนดที่ดินให้แก่จำเลย และออกโฉนดให้แก่โจทก์จึงเป็นคำขอที่บังคับแก่บุคคลภายนอกที่ไม่ได้เป็นคู่ความในคดี คำขอของโจทก์จึงไม่ชอบและไม่อาจบังคับได้ ป.วิ.พ. มาตรา 145 (2) เป็นเรื่องคำพิพากษาที่วินิจฉัยข้อกรรมสิทธิ์เป็นคุณแก่โจทก์สามารถใช้ยันแก่บุคคลภายนอกได้หาใช่เป็นเรื่องบังคับให้เจ้าพนักงานที่ดินกระทำการหรือไม่กระทำการแต่อย่างใดไม่
ปัญหาว่าศาลไม่อาจบังคับจำเลยตามคำขอของโจทก์ได้ เพราะเป็นการบังคับบุคคลภายนอก และมิได้เข้ามาเป็นคู่ความในคดี เป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลจึงมีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยได้เอง แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดยกขึ้นกล่าวอ้าง
ป.ที่ดิน มาตรา 60 เป็นเรื่องที่มีกรณีโต้แย้งสิทธิกันเกี่ยวกับการออกโฉนดที่ดิน และไม่อาจตกลงกันได้ในชั้นเจ้าพนักงานที่ดิน และต้องฟ้องคดีต่อศาลซึ่งเจ้าพนักงานที่ดินจะต้องรอเรื่องไว้จนกว่าศาลจะมีคำพิพากษาอย่างหนึ่งอย่างใด แล้วจึงให้เจ้าพนักงานที่ดินดำเนินการต่อไป หาใช่เป็นเรื่องที่โจทก์ฟ้องจำเลยแล้วมีคำขอให้บังคับแก่เจ้าพนักงานที่ดินโดยไม่ได้ฟ้องเจ้าพนักงานที่ดินมาด้วยดังเช่นกรณีของโจทก์ไม่
ปัญหาว่าศาลไม่อาจบังคับจำเลยตามคำขอของโจทก์ได้ เพราะเป็นการบังคับบุคคลภายนอก และมิได้เข้ามาเป็นคู่ความในคดี เป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลจึงมีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยได้เอง แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดยกขึ้นกล่าวอ้าง
ป.ที่ดิน มาตรา 60 เป็นเรื่องที่มีกรณีโต้แย้งสิทธิกันเกี่ยวกับการออกโฉนดที่ดิน และไม่อาจตกลงกันได้ในชั้นเจ้าพนักงานที่ดิน และต้องฟ้องคดีต่อศาลซึ่งเจ้าพนักงานที่ดินจะต้องรอเรื่องไว้จนกว่าศาลจะมีคำพิพากษาอย่างหนึ่งอย่างใด แล้วจึงให้เจ้าพนักงานที่ดินดำเนินการต่อไป หาใช่เป็นเรื่องที่โจทก์ฟ้องจำเลยแล้วมีคำขอให้บังคับแก่เจ้าพนักงานที่ดินโดยไม่ได้ฟ้องเจ้าพนักงานที่ดินมาด้วยดังเช่นกรณีของโจทก์ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1307/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมสิทธิ์ที่ดินตาม พ.ร.บ.จัดที่ดินเพื่อการครองชีพและการครอบครองปรปักษ์: สิทธิของเจ้าของเดิม
ที่ดินพิพาทมีชื่อโจทก์เป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ โดยโจทก์ได้รับมาตามพ.ร.บ.จัดที่ดินเพื่อการครองชีพ พ.ศ.2511 ดังนั้นสิทธิของโจทก์ผู้ได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์จะต้องเป็นไปตาม พ.ร.บ.จัดที่ดินเพื่อการครองชีพ พ.ศ.2511 ซึ่งตามกฎหมายดังกล่าวมีข้อบังคับว่า ภายในกำหนดเวลาห้าปี นับแต่วันได้รับโฉนดที่ดิน ผู้ได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์ในที่ดินจะโอนที่ดินไปยังผู้อื่นมิได้นอกจากการตกทอดทางมรดก หรือโอนไปยังสหกรณ์ที่ตนเป็นสมาชิกอยู่แล้วแต่กรณี ดังนั้นแม้ ส.บุตรจำเลยจะซื้อที่ดินพิพาทจาก ผ.สามีโจทก์และรับมอบการครอบครองตั้งแต่วันที่ซื้อตลอดมา จนกระทั่งจำเลยรับโอนครอบครองทำประโยชน์ต่อเนื่องมาถึงวันที่ยื่นคำร้องขอต่อศาลขอแสดงกรรมสิทธิ์ก็ตาม แต่จำเลยจะนำระยะเวลาก่อนวันที่พ้นระยะเวลาห้ามโอนตามกฎหมายมาเป็นระยะเวลาการครอบครองปรปักษ์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1382 หาได้ไม่
แม้จำเลยจะมีคำสั่งของศาลชั้นต้นถึงที่สุดแสดงว่า จำเลยได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทโดยการครอบครองปรปักษ์ก็ตาม แต่เมื่อโจทก์ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกและไม่ใช่คู่ความในคดีตาม ป.วิ.พ. มาตรา 145 วรรคสอง (2) โจทก์จึงสามารถพิสูจน์ได้ว่าโจทก์ยังคงมีกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาท เมื่อจำเลยโต้แย้งกรรมสิทธิ์ของโจทก์โดยยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งว่าที่ดินพิพาทตกเป็นกรรมสิทธิ์ของตน โจทก์จึงชอบที่จะนำคดีมาฟ้องศาลได้ ไม่เป็นการใช้สิทธิไม่สุจริตแต่อย่างใด
คำสั่งศาลชั้นต้นที่วินิจฉัยว่า จำเลยได้กรรมสิทธิ์โดยการครอบครองปรปักษ์ถึงที่สุดแล้ว ไม่อาจถูกเพิกถอนได้ การที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้เพิกถอนคำสั่งศาลชั้นต้นด้วยจึงไม่ถูกต้อง ศาลฎีกาพิพากษายืน แต่ไม่เพิกถอนคำสั่งศาลชั้นต้นดังกล่าว
แม้จำเลยจะมีคำสั่งของศาลชั้นต้นถึงที่สุดแสดงว่า จำเลยได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทโดยการครอบครองปรปักษ์ก็ตาม แต่เมื่อโจทก์ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกและไม่ใช่คู่ความในคดีตาม ป.วิ.พ. มาตรา 145 วรรคสอง (2) โจทก์จึงสามารถพิสูจน์ได้ว่าโจทก์ยังคงมีกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาท เมื่อจำเลยโต้แย้งกรรมสิทธิ์ของโจทก์โดยยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งว่าที่ดินพิพาทตกเป็นกรรมสิทธิ์ของตน โจทก์จึงชอบที่จะนำคดีมาฟ้องศาลได้ ไม่เป็นการใช้สิทธิไม่สุจริตแต่อย่างใด
คำสั่งศาลชั้นต้นที่วินิจฉัยว่า จำเลยได้กรรมสิทธิ์โดยการครอบครองปรปักษ์ถึงที่สุดแล้ว ไม่อาจถูกเพิกถอนได้ การที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้เพิกถอนคำสั่งศาลชั้นต้นด้วยจึงไม่ถูกต้อง ศาลฎีกาพิพากษายืน แต่ไม่เพิกถอนคำสั่งศาลชั้นต้นดังกล่าว