คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
สู่บุญ วุฒิวงศ์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 89 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7403/2560

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผลคำพิพากษาคดีอาญาถึงที่สุดมีผลผูกพันคดีแพ่งที่เกี่ยวข้อง การชดใช้ค่าสินไหมทดแทน
คดีนี้ ในส่วนอาญา ศาลอุทธรณ์ภาค 7 พิพากษากลับให้ยกฟ้อง โจทก์มิได้ฎีกา ผู้ร้องซึ่งเป็นผู้เสียหายมิได้ยื่นคำร้องขอเข้าร่วมเป็นโจทก์ อันจะใช้สิทธิฎีกาในคดีส่วนอาญาดังกล่าวได้ คดีส่วนอาญาย่อมยุติและถึงที่สุดไปตามคำพิพากษาศาลชั้นอุทธรณ์จึงถือได้ว่า จำเลยมิได้ร่วมกระทำความผิดกับพวก แม้คดีส่วนแพ่งของผู้ร้องจะมีทุนทรัพย์ในชั้นฎีกาเกินสองแสนบาท และไม่ต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ. มาตรา 248 วรรคหนึ่ง (เดิม) ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 40 และ พ.ร.บ.ศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ.2553 มาตรา 6 ก็ตาม เมื่อข้อเท็จจริงในคดีส่วนอาญารับฟังเป็นยุติแล้วว่า จำเลยมิได้ร่วมกระทำความผิด ดังนั้น ในการพิพากษาคดีส่วนแพ่งศาลจำต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีส่วนอาญา ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 46 ประกอบ พ.ร.บ.ศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ.2553 มาตรา 6 ข้อเท็จจริงในส่วนคดีแพ่งจึงต้องฟังว่า จำเลยไม่ได้กระทำละเมิดต่อผู้ตายอันจะต้องชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่ผู้ร้องซึ่งเป็นผู้เสียหาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7345/2560

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตร, ผลกระทบแก้ไข ป.พ.พ. และการกำหนดจำนวนค่าเลี้ยงดูตามฐานะ
โจทก์ฟ้องเรียกค่าอุปการะเลี้ยงดูจากจำเลยซึ่งเป็นบิดา เดือนละ 10,000 บาท นับแต่วันที่โจทก์เกิดจนถึงวันฟ้องเป็นเงิน 1,720,000 บาท จำเลยให้การว่าคดีโจทก์ขาดอายุความ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/33 (4) ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า คดีโจทก์ไม่ได้ขาดอายุความตามมาตราดังกล่าว เพราะมิใช่การเรียกค่าอุปการะเลี้ยงดูที่มีการกำหนดจ่ายเป็นระยะเวลา จำเลยกลับอุทธรณ์ว่า คดีขาดอายุความตามมาตรา 1547 แทน ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับอุทธรณ์ประเด็นนี้เพราะเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาโดยชอบในศาลชั้นต้น จำเลยมิได้โต้แย้งโดยอุทธรณ์คำสั่งไม่รับอุทธรณ์ ประเด็นอายุความจึงยุติตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น แม้อายุความในคดีแพ่งจะเป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน แต่จำเลยต้องยกต่อสู้เป็นประเด็นตั้งแต่ในศาลชั้นต้น เมื่อจำเลยไม่ยกต่อสู้ ที่ศาลชั้นต้นไม่รับอุทธรณ์ และศาลอุทธรณ์ไม่รับวินิจฉัย จึงชอบแล้ว
เดิม ป.พ.พ. มาตรา 1557 บัญญัติให้การเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายมีผล... (3) นับแต่วันมีคำพิพากษาถึงที่สุด ในกรณีที่ศาลมีคำพิพากษาว่าเป็นบุตร แต่ต่อมาได้มีการแก้ไขประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตราดังกล่าว นับแต่วันที่ 8 มีนาคม 2551 ให้มีผลนับแต่วันที่เด็กเกิด บทบัญญัติดังกล่าวมีผลให้เด็กมีฐานะเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายย้อนหลังไปนับแต่วันที่เด็กเกิด ย่อมมีสิทธิได้รับค่าอุปการะเลี้ยงดูได้นับแต่วันคลอดและสามารถฟ้องเรียกค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรรวมกันมาเป็นคดีเดียวกับการฟ้องขอให้รับเด็กเป็นบุตรได้ทีเดียว เมื่อโจทก์ฟ้องคดีภายหลังวันที่ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์แก้ไขเพิ่มเติม การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 กำหนดให้จำเลยจ่ายค่าอุปการะเลี้ยงดูนับแต่วันที่โจทก์เกิดจนถึงวันฟ้องจึงชอบแล้ว หาใช่นับแต่เมื่อศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุดตามที่จำเลยฎีกาไม่
แม้บทบัญญัติแห่ง ป.พ.พ. มาตรา 1564 จะกำหนดให้บิดามารดามีหน้าที่ร่วมกันอุปการะเลี้ยงดูและให้การศึกษาตามสมควรแก่บุตรในระหว่างเป็นผู้เยาว์อันมีลักษณะเป็นลูกหนี้ร่วมกัน และในระหว่างลูกหนี้ร่วมกันย่อมจะต้องรับผิดเป็นส่วนเท่ากันก็ตาม แต่ไม่จำเป็นเสมอไปว่าบิดามารดาต้องให้ค่าอุปการะเลี้ยงดูแก่บุตรเป็นจำนวนเท่า ๆ กันตามที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 มีคำพิพากษาปรับแก้ให้เท่ากัน โดยลดค่าอุปการะเลี้ยงดูโจทก์ จากที่ศาลชั้นต้นพิพากษากำหนดให้รวม 1,370,000 บาท เหลือ 685,000 บาท เพราะการกำหนดค่าอุปการะเลี้ยงดู ป.พ.พ. มาตรา 1598/38 กำหนดให้ศาลคำนึงถึงความสามารถของผู้มีหน้าที่ให้ ฐานะของผู้รับ และพฤติการณ์แห่งคดี ทั้งมาตรา 1598/39 ศาลจะสั่งแก้ไขค่าอุปการะเลี้ยงดูเพิ่มขึ้นหรือลดลงในภายหลังก็ได้ แม้โจทก์มิได้ฎีกาคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 1 ในปัญหาข้อนี้ แต่การกำหนดค่าอุปการะเลี้ยงดูเป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกามีอำนาจกำหนดได้ตามที่เห็นควร แม้คู่ความมิได้ขอ และมิใช่เป็นการพิพากษาเกินคำขอ ค่าอุปการะเลี้ยงดูตามที่ศาลชั้นต้นกำหนด 1,370,000 บาท จึงชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7293/2560

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในการขอคืนทรัพย์สินตกเป็นของแผ่นดิน: เจ้าของทรัพย์สินเท่านั้นที่ยื่นคำร้องได้ เจ้าหนี้บังคับคดีไม่มีสิทธิ
ผู้ซึ่งอ้างว่าเป็นเจ้าของทรัพย์สินเท่านั้นที่มีสิทธิยื่นคำร้องขอให้ศาลสั่งคืนทรัพย์สิน ส่วนผู้ซึ่งอ้างว่าเป็นผู้รับประโยชน์ในทรัพย์สินคงมีสิทธิขอให้คุ้มครองสิทธิของตนในกรณีที่ศาลสั่งให้ทรัพย์สินตกเป็นของแผ่นดินเท่านั้น
เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาซึ่งนำเจ้าพนักงานบังคับคดียึดทรัพย์ไว้ก่อนศาลสั่งให้ทรัพย์สินนั้นตกเป็นของแผ่นดิน ไม่มีสิทธิขอให้ศาลสั่งคืนทรัพย์สินนั้น เพื่อจะได้ขายทอดตลาดนำเงินมาชำระหนี้แก่ตน เพราะเท่ากับเป็นการคืนทรัพย์สินที่ต้องตกเป็นของแผ่นดินให้ไปเป็นประโยชน์ในการชำระหนี้ได้ตามกฎหมาย ขัดต่อเจตนารมณ์ของกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินที่มุ่งสกัดมิให้ทรัพย์สินซึ่งมีที่มาไม่ชอบด้วยกฎหมายถูกนำไปใช้อย่างทรัพย์สินที่ได้มาโดยชอบด้วยกฎหมาย
เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาที่ร้องขอให้ศาลสั่งคืนทรัพย์สิน ไม่ได้ทรัพย์สินไปเป็นของตนแต่อย่างใด คงมีเพียงสิทธิที่จะบังคับคดีเอาแก่ทรัพย์สินนั้นเพื่อชำระหนี้ตามคำพิพากษาตามสิทธิที่ตนมีอยู่เดิม จึงเป็นคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ ต้องเสียค่าขึ้นศาล 200 บาท ตามตาราง 1 ท้าย ป.วิ.พ.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7207/2560

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การครอบครองปรปักษ์เป็นเหตุให้สิทธิผู้รับโอนบกพร่องหรือไม่ และเขตอำนาจศาลในคดีฟ้องขับไล่
ข้ออุทธรณ์ของจำเลยทั้งสอง แม้จะเป็นการอุทธรณ์ในเรื่องอำนาจฟ้องโจทก์อันเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แต่การจะวินิจฉัยปัญหาดังกล่าว ล้วนต้องฟังข้อเท็จจริงให้เป็นที่ยุติในเบื้องต้นเสียก่อนว่า จำเลยทั้งสองเป็นผู้ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทโดยการครอบครองปรปักษ์ซึ่งจะต้องมีการใช้สิทธิทางศาลตาม ป.วิ.พ. มาตรา 55 เมื่อจำเลยทั้งสองอุทธรณ์โต้แย้งมาว่าจำเลยทั้งสองได้สิทธิในที่ดินพิพาท โดยไม่ปรากฏว่าจำเลยทั้งสองมีการใช้สิทธิทางศาลมาก่อน ข้อที่จำเลยทั้งสองกล่าวอ้างการได้สิทธิในที่ดินพิพาทจึงเป็นเพียงการอนุมานของจำเลยทั้งสองแต่เพียงฝ่ายเดียวเพื่อให้เป็นคุณแก่ตนในชั้นอุทธรณ์โดยอาศัยข้อเท็จจริงเพียงว่าจำเลยทั้งสองได้ครอบครองที่ดินพิพาทมาเป็นเวลาประมาณ 30 ปีแล้วเท่านั้น ซึ่งยังไม่อาจรับฟังในชั้นนี้ได้ว่าเป็นการได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทโดยการครอบครองปรปักษ์ และในขณะเดียวกันก็ไม่อาจรับฟังได้ว่า ฉ. เจ้าของที่ดินพิพาทคนเดิมเสียสิทธิในที่ดินพิพาทเพราะเหตุดังกล่าวให้แก่จำเลยทั้งสองอันจะทำให้สิทธิของโจทก์ในฐานะผู้รับโอนต้องบกพร่องไปด้วยแต่อย่างใด เมื่อข้อเท็จจริงดังกล่าวเป็นข้อเท็จจริงอันจะนำไปสู่การวินิจฉัยในปัญหาข้อกฎหมายที่จำเลยทั้งสองอุทธรณ์ แต่ยังไม่อาจรับฟังข้อเท็จจริงดังกล่าวให้เป็นที่ยุติและเป็นคุณแก่จำเลยทั้งสองได้ เพราะไม่เป็นประเด็นข้อพิพาทในคดีที่จะนำไปสู่กระบวนพิจารณาด้วยพยานหลักฐาน ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 7 เห็นว่า อุทธรณ์ของจำเลยทั้งสองเป็นข้อที่มิได้ว่ากล่าวกันมาโดยชอบในศาลชั้นต้น และยกอุทธรณ์ของจำเลยทั้งสองมา จึงชอบแล้ว
คดีนี้เป็นคดีฟ้องขับไล่ ไม่ว่าโจทก์จะเรียกค่าเสียหายเป็นค่าเช่าในจำนวนเท่าใด ก็เป็นคดีฟ้องขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ หรือคดีไม่มีทุนทรัพย์ ซึ่งไม่อยู่ในอำนาจของผู้พิพากษาคนเดียวและอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีของศาลแขวงตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 25 วรรคหนึ่ง ประกอบมาตรา 17 ส่วนเรื่องจำนวนค่าเสียหายที่โจทก์เรียกร้องมานั้น เป็นเพียงข้อพิจารณาที่นำไปสู่ข้อจำกัดสิทธิในการอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ. มาตรา 224 วรรคสอง เท่านั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7070/2560

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตร: สัญญาประนีประนอมมีความ binding แม้ผู้เยาว์อยู่กับผู้จ่ายหรือไม่
โจทก์และจำเลยที่ 1 ทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันต่อศาลชั้นต้น ในข้อ 2 ว่า "ให้โจทก์และจำเลยที่ 1 ใช้อำนาจปกครองบุตรผู้เยาว์ทั้งสามร่วมกัน" ข้อ 3 วรรคสองของสัญญาระบุว่า "สำหรับค่าอุปกรณ์เลี้ยงดูบุตรผู้เยาว์ทั้งสาม ให้จำเลยที่ 1 เป็นผู้รับผิดชอบ" จำเลยที่ 1 ฎีกาว่า สัญญาประนีประนอมนั้นเป็นเรื่องที่โจทก์และจำเลยที่ 1 ทราบดีอยู่แล้วว่า หากบุตรผู้เยาว์ทั้งสามพักอาศัยอยู่กับใครคนนั้นจะเป็นผู้จ่ายค่าอุปการะเลี้ยงดู เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่า โจทก์พาบุตรผู้เยาว์ทั้งสามไปดูแลในช่วงที่จำเลยที่ 1 ถูกคุมขังในคดีอาญา จำเลยที่ 1 จึงไม่ต้องชำระค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรผู้เยาว์ทั้งสามนั้น เป็นเรื่องที่ขัดแย้งกับสัญญาประนีประนอมที่ทำไว้ด้วยความสมัครใจของทั้งสองฝ่ายต่อหน้าศาล ไม่อาจรับฟังได้ว่าจำเลยที่ 1 จะจ่ายเมื่อบุตรผู้เยาว์ทั้งสามอยู่กับจำเลยที่ 1 เท่านั้น เมื่อจำเลยที่ 1 ไม่ปฏิบัติตามคำพิพากษาตามยอม โจทก์จึงมีสิทธิขอบังคับคดีได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 271 (เดิม)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6960/2560

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแบ่งคำนวณปริมาณยาเสพติดเพื่อลงโทษตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดฯ โดยพิจารณาจากลักษณะการบรรจุและปริมาณโดยรวม
เมทแอมเฟตามีนของกลางมีจำนวน 4 ห่อ แต่ละห่อมีขนาดใกล้เคียงกัน เมื่อนับเมทแอมเฟตามีนรวมกันทั้งสี่ห่อได้จำนวน 23,533 เม็ด คำนวณเป็นสารบริสุทธิ์ได้ 337.602 กรัม กับได้ความตามบันทึกคำให้การชั้นสอบสวนของพันตำรวจโท ธ. ร้อยตำรวจตรี ด. และร้อยตำรวจตรี ส. เจ้าพนักงานตำรวจผู้จับกุม ประกอบบันทึกการจับกุมว่า เมทแอมเฟตามีนจำนวน 4 ห่อดังกล่าว แต่ละห่อ ห่อด้วยกระดาษสีน้ำตาล ภายในมีห่อกระดาษสีขาวจำนวน 3 ห่อ ภายในห่อกระดาษสีขาวมีถุงพลาสติกแบบรูดปิดเปิดสีฟ้าหลายถุงซึ่งภายในถุงพลาสติกมีเมทแอมเฟตามีนบรรจุอยู่จำนวนมากเช่นเดียวกัน จากลักษณะการบรรจุที่แต่ละห่อไม่แตกต่างกัน ขนาดห่อใกล้เคียงกัน จึงเชื่อได้ว่าเมทแอมเฟตามีนแต่ละห่อมีจำนวนใกล้เคียงกัน หากเฉลี่ยแต่ละห่อเท่ากัน จะมีเมทแอมเฟตามีนประมาณห่อละ 5,000 เม็ด เมื่อฟังว่าจำเลยที่ 4 และที่ 5 ร่วมกันมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองจำนวน 2 ห่อ ย่อมมีเมทแอมเฟตามีนไม่น้อยกว่า 10,000 เม็ด เมื่อคำนวณเป็นสารบริสุทธิ์ตามรายงานการตรวจพิสูจน์ แล้วย่อมคำนวณเป็นสารบริสุทธิ์เกินยี่สิบกรัมขึ้นไปอย่างแน่นอน การกระทำของจำเลยที่ 4 และที่ 5 จึงเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 มาตรา 66 วรรคสาม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6549/2560

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิจารณาคดีแพ่งและอาญาที่เกี่ยวเนื่องกัน: ศาลฎีกาย้อนสำนวนให้พิจารณาคดีแพ่งที่ยังไม่ได้วินิจฉัย
ตามฟ้องคดีนี้เป็นคดีอาญาและคดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องคดีอาญา และศาลชั้นต้นที่พิจารณาคดีเป็นศาลจังหวัด จึงเป็นศาลที่มีอำนาจพิจารณาทั้งคดีแพ่งและคดีอาญา ที่ศาลชั้นต้นไต่สวนมูลฟ้องแล้วเห็นว่าคดีไม่มีมูลและพิพากษายกฟ้องนั้น เป็นการพิจารณาพิพากษาเฉพาะคดีส่วนอาญาเท่านั้น ฟ้องของโจทก์ยังคงมีคดีส่วนแพ่งที่ต้องพิจารณาสั่งต่อไปว่าจะรับไว้พิจารณาหรือไม่ ทั้งนี้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 40 แต่ศาลชั้นต้นมิได้มีคำสั่งอย่างใดเกี่ยวกับคดีแพ่งดังกล่าว ส่วนที่ศาลอุทธรณ์ภาค 5 วินิจฉัยว่า จำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 และที่ 5 ถึงที่ 11 ไม่ต้องรับผิดในคดีส่วนแพ่งนั้น ก็เป็นการที่ศาลอุทธรณ์ภาค 5 ก้าวล่วงไปวินิจฉัยโดยที่ศาลชั้นต้นยังไม่ได้มีคำสั่งรับฟ้องของโจทก์สำหรับจำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 และที่ 5 ถึงที่ 11 ในคดีส่วนแพ่งไว้พิจารณา กรณีเป็นเรื่องปรากฏเหตุที่ศาลล่างทั้งสองมิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติว่าด้วยการพิจารณาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 243 (2) ประกอบมาตรา 247 (เดิม) และ ป.วิ.อ. มาตรา 40 ศาลฎีกาเห็นสมควรย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นพิจารณาสั่งคำฟ้องของโจทก์ในคดีส่วนแพ่งต่อไป
การอุทธรณ์หรือฎีกาคำสั่งที่ว่าคดีไม่มีมูลมีปัญหาเฉพาะคดีส่วนอาญาว่ามีมูลที่ศาลจะประทับฟ้องไว้หรือไม่เท่านั้น โจทก์จึงไม่ต้องเสียค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์หรือฎีกาสำหรับคดีส่วนแพ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6521/2560

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การริบรถยนต์ในคดียาเสพติด: ต้องพิเคราะห์ว่ารถยนต์ถูกใช้เป็นเครื่องมือหรือมีไว้เพื่อใช้ในการกระทำความผิดหรือไม่
แม้คดีนี้จำเลยให้การรับสารภาพ แต่โจทก์บรรยายฟ้องเกี่ยวกับรถยนต์ของกลางว่า เป็นยานพาหนะที่จำเลยกับพวกใช้ขับมาร่วมกันจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนให้แก่สายลับผู้ล่อซื้อ โดยไม่ปรากฏว่ามีการใช้รถยนต์ของกลางซุกซ่อนเมทแอมเฟตามีนของกลางหรือมีการใช้รถยนต์ของกลางในการร่วมกันจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนของกลางอย่างไร จำเลยเพียงแต่ขับรถยนต์ของกลางมายังสถานที่เกิดเหตุเพื่อมารับเงินค่าเมทแอมเฟตามีนของกลางเท่านั้น โดยไม่ปรากฏว่าจำเลยนำรถยนต์ของกลางมาใช้เป็นยานพาหนะสำหรับการนำเมทแอมเฟตามีนของกลางมาส่งให้แก่สายลับดังกล่าว หรือจำเลยมีเจตนาที่จะใช้รถยนต์ของกลางเป็นประโยชน์ในการกระทำความผิดคดีนี้อย่างไร รถยนต์ของกลางจึงเป็นเพียงยานพาหนะที่จำเลยใช้ในการเดินทางมายังสถานที่เกิดเหตุมิใช่เครื่องมือ เครื่องใช้ ที่จำเลยได้ใช้ในการกระทำความผิดฐานร่วมกันจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนตามที่โจทก์ฟ้องโดยตรง และไม่ใช่ทรัพย์สินที่จำเลยได้ใช้หรือมีไว้เพื่อใช้ในการกระทำความผิด หรือได้มาโดยได้กระทำความผิด จึงไม่อาจริบรถยนต์ของกลางตาม พ.ร.บ. ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 มาตรา 102 และ ป.อ. มาตรา 33 ทั้งรถยนต์ของกลางก็ไม่ใช่ทรัพย์สินที่ผู้ใดทำหรือมีไว้เป็นความผิด อันจะต้องริบเสียทั้งสิ้นตาม ป.อ. มาตรา 32

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6424/2560

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การครอบครองยาเสพติดและวัตถุออกฤทธิ์ฯ นำเข้าจากต่างประเทศ ศาลฎีกาพิพากษาตามกฎหมายใหม่ที่แก้ไขโทษจำคุก
ระหว่างพิจารณาของศาลฎีกาได้มี พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ (ฉบับที่ 6) พ.ศ.2560 มาตรา 6 ยกเลิกความใน มาตรา 65 แห่ง พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดย พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ (ฉบับที่ 5) พ.ศ.2545 และให้ใช้ความใหม่แทน ซึ่ง มาตรา 65 วรรคหนึ่ง ที่แก้ไขใหม่ ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สิบปีถึงตลอดชีวิต และปรับตั้งแต่หนึ่งล้านบาทถึงห้าล้านบาทเป็นคุณมากกว่า มาตรา 65 วรรคหนึ่ง เดิม ที่ต้องระวางโทษจำคุกตลอดชีวิต และปรับตั้งแต่หนึ่งล้านบาทถึงห้าล้านบาท จึงต้องใช้กฎหมายที่แก้ไขใหม่บังคับแก่จำเลยตาม ป.อ. มาตรา 3 ปัญหานี้เป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นอ้างและแก้ไขใหม่ได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225 และ พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดียาเสพติด พ.ศ.2550 มาตรา 3

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4224/2560

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประนีประนอมยอมความผูกพันคู่ความ แม้ภายหลังพบข้อเท็จจริงใหม่ที่ไม่เป็นไปตามที่ตกลง หากไม่มีเหตุเพิกถอน
โจทก์กล่าวอ้างมาในฟ้องเกี่ยวกับทรัพย์สินที่เป็นสินสมรสที่โจทก์ขอแบ่ง ได้แก่ ที่ดินพิพาททั้งสองแปลงว่าโจทก์จำเลยร่วมกันซื้อที่ดินดังกล่าว โดยให้จำเลยเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ ในวันทำสัญญาประนีประนอมยอมความ โจทก์มาศาลด้วยตนเองและยังมีทนายความโจทก์มาศาลและร่วมลงชื่อในสัญญาประนีประนอมยอมความและคำพิพากษาตามยอมด้วย โจทก์มีโอกาสที่จะคัดค้านข้อตกลงในสัญญาประนีประนอมยอมความได้ในขณะที่ทำสัญญาหากไม่เป็นไปตามความประสงค์ของโจทก์ แต่เมื่อโจทก์ไม่คัดค้าน ย่อมแสดงว่าโจทก์พอใจในผลแห่งสัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าว จึงได้ตกลงทำสัญญาประนีประนอมยอมความกับจำเลย เมื่อศาลพิพากษาตามยอมแล้วคำพิพากษานั้นย่อมผูกพันคู่ความ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 145 วรรคหนึ่ง ในภายหลังโจทก์จะมาอ้างว่าทำสัญญาประนีประนอมยอมความไม่ชอบด้วยกฎหมายเพราะโจทก์ถูกเอาเปรียบและเสียหายจากการฉ้อฉลของจำเลยในวันทำสัญญาทั้ง ๆ ที่ในสัญญาประนีประนอมยอมความก็ไม่ได้มีเหตุทุจริตผิดกฎหมาย หรือไม่เป็นไปตามข้อตกลงกันอันจะเป็นเหตุที่จะขอเพิกถอนได้ ตามมาตรา 138 วรรคสอง
of 9