พบผลลัพธ์ทั้งหมด 89 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2970/2560
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนสิทธิการเช่าที่ดินปฏิรูปที่ดิน: ผลกระทบต่อสิทธิการเข้าทำประโยชน์และอำนาจฟ้องขับไล่
จำเลยเข้าทำประโยชน์ในที่ดินพิพาททั้งสองแปลงในฐานะผู้ซื้อสิทธิการเช่าจากโจทก์ผู้ได้สิทธิการเช่าจากรัฐจริง ซึ่งการโอนสิทธิการเช่านี้แม้มิได้ทำให้จำเลยมีสิทธิเข้าทำประโยชน์ในที่ดินดังกล่าวได้ตามกฎหมาย แต่ข้อห้ามมิให้เกษตรกรที่ได้รับสิทธิการเช่าโอนสิทธิการเช่าไปยังบุคคลอื่นตามระเบียบคณะกรรมการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม ว่าด้วยการให้เกษตรกรและสถาบันเกษตรกรผู้ได้รับที่ดินจากการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมปฏิบัติเกี่ยวกับการเข้าทำประโยชน์ในที่ดิน (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2540 ซึ่งออกตามความในมาตรา 19 (8) แห่งพระราชบัญญัติการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ.2518 ย่อมมีผลให้โจทก์ซึ่งเป็นเกษตรกรผู้โอนสิทธิการเช่าต้องสิ้นสิทธิการเข้าทำประโยชน์ในที่ดินที่ได้รับมอบจากสำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมทันทีที่เกิดเหตุการณ์เช่นนั้นขึ้นตามข้อ 11 วรรคสอง โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องขับไล่จำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2367/2560
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สนับสนุนการค้ายาเสพติด: ศาลฎีกาพิพากษาลงโทษผู้สนับสนุนการครอบครองยาเสพติดเพื่อจำหน่าย
จำเลยที่ 2 ให้คนรักของจำเลยที่ 2 เป็นผู้เช่าห้องพักที่เกิดเหตุ แล้วจำเลยที่ 1 นำเมทแอมเฟตามีนของกลางมาซุกซ่อนไว้เพื่อจำหน่าย ก่อนถูกจับกุมจำเลยที่ 2 เปิดประตูห้องพักพบเจ้าพนักงานตำรวจมีอาการตกใจรีบหลบหนีกลับเข้าไปในห้องพักทันที อันเป็นข้อพิรุธ ส่วนจำเลยที่ 3 เปิดบัญชีธนาคารโดยรู้เห็นยินยอมให้จำเลยที่ 1 นำสมุดบัญชีเงินฝากและบัตรเอทีเอ็มไปใช้เบิกถอนเงินออกไปจากบัญชีของจำเลยที่ 3 เป็นจำนวนมาก และจำเลยที่ 2 และที่ 3 ให้การรับสารภาพข้อหาเสพเมทแอมเฟตามีน เมื่อเมทแอมเฟตามีนของกลางเป็นของจำเลยที่ 1 เช่นนี้ จำเลยที่ 2 และที่ 3 จึงเป็นผู้ช่วยเหลือหรือให้ความสะดวกในการที่จำเลยที่ 1 กระทำความผิด การกระทำของจำเลยที่ 2 และที่ 3 จึงเป็นความผิดฐานเป็นผู้สนับสนุนการกระทำความผิดฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายของจำเลยที่ 1 แม้โจทก์จะฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยที่ 2 และที่ 3 ฐานเป็นตัวการร่วมกระทำความผิดฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย แต่ทางพิจารณาได้ความว่าเป็นเพียงผู้สนับสนุน ศาลย่อมมีอำนาจลงโทษจำเลยที่ 2 และที่ 3 ตามข้อเท็จจริงที่พิจารณาได้ความนั้นได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1850/2560
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้อน: คดีเพิกถอนการโอนหนี้กับคดีติดตามเอาคืนทรัพย์สินมีความเกี่ยวข้องกัน
โจทก์เคยยื่นฟ้องจำเลยต่อศาลแพ่ง 3 คดี โดยแต่ละคดีได้เรียกร้องขอให้ศาลเพิกถอนการโอนหนี้ที่ดินและโรงงานพร้อมเครื่องจักร แม้บางคดีจะได้กล่าวหาจำเลยในมูลละเมิดและให้มีการชดใช้ค่าเสียหายมาด้วย แต่วัตถุประสงค์หลักก็คือ ให้เพิกถอนการโอนสินทรัพย์กลับคืนมาทั้งสิ้น จึงไม่ต่างกับคดีนี้ที่โจทก์ฟ้องอ้างสิทธิความเป็นเจ้าของติดตามเอาคืนทรัพย์สินเครื่องจักรบางรายการ โดยอ้างว่าเป็นทรัพย์สินที่โจทก์ซื้อมาเก็บไว้ในโรงงานไม่เกี่ยวกับหนี้ใด ๆ ซึ่งโจทก์สามารถนำสืบความจริงและขอให้ส่งมอบคืนในคดีก่อนได้อยู่แล้ว การมาฟ้องเรียกร้องเครื่องจักรคืนในคดีนี้อีกจึงสืบเนื่องมาจากคดีก่อนที่ยังอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาล ย่อมถือว่าฟ้องของโจทก์ในคดีนี้เป็นฟ้องซ้อนต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 173 วรรคสอง (1)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 655/2560
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานมีเมทแอมเฟตามีนครอบครองเพื่อจำหน่ายและการจำหน่ายเป็นความผิดต่างกรรมกัน
โจทก์บรรยายฟ้องในข้อ ก. ว่า จำเลยที่ 1 มีเมทแอมเฟตามีน จำนวน 2,200 เม็ด ไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย แล้วจำเลยที่ 1 จำหน่ายเมทแอมเฟตามีนดังกล่าวให้สายลับผู้ล่อซื้อไปในราคา 240,000 บาท อันเป็นการฝ่าฝืนต่อกฎหมาย และในฟ้องข้อ ค. โจทก์บรรยายว่า จำเลยทั้งสองร่วมกันมีเมทแอมเฟตามีน จำนวน 262 เม็ด กับชนิดผลึกอีก 2 ซอง ไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายโดยฝ่าฝืนต่อกฎหมาย ในคำขอท้ายฟ้องโจทก์ขอให้ลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91 ซึ่งเป็นการกระทำอันเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน ให้ศาลลงโทษทุกกรรมเป็นกระทงความผิดไป แสดงว่า สำหรับจำเลยที่ 1 นั้น โจทก์ขอให้ลงโทษ 2 กระทง กระทงแรกในความผิดที่เกี่ยวกับเมทแอมเฟตามีน จำนวน 2,200 เม็ด กระทงหลังในส่วนที่เกี่ยวกับเมทแอมเฟตามีน จำนวน 262 เม็ด กับชนิดผลึก 2 ซอง ที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่า จำเลยที่ 1 มีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายและจำหน่ายให้แก่สายลับจำนวน 2,200 เม็ด จากนั้นในวันเดียวกันและทันทีต่อเนื่องกัน เจ้าพนักงานตำรวจไปตรวจค้นบ้านของจำเลยที่ 1 ยึดได้เมทแอมเฟตามีนอีก 262 เม็ด กับชนิดผลึก 2 ซอง ถือว่าจำเลยที่ 1 มีเจตนาครอบครองเมทแอมเฟตามีนทั้งสองจำนวนรวม 2,462 เม็ด กับชนิดผลึก 2 ซอง ไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายในคราวเดียวกันอันเป็นการกระทำกรรมเดียว แต่เมื่อโจทก์บรรยายฟ้องความผิดฐานจำหน่ายเมทแอมเฟตามีน กับฐานมีเมทแอมเฟตามีนจำนวน 2,200 เม็ด ไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายเป็นกรรมเดียวกัน จึงไม่อาจกำหนดโทษจำเลยที่ 1 ในความผิดฐานจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนเป็นอีกกรรมหนึ่งแยกต่างหากได้เพราะเกินคำขอและต้องห้ามนั้น จึงไม่ถูกต้อง เมื่อข้อเท็จจริงได้ความว่า ขณะที่เจ้าพนักงานตำรวจจับกุมจำเลยที่ 1 นั้น จำเลยที่ 1 มีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย จำนวน 2,200 เม็ด และจำหน่ายให้แก่สายลับไปหมดแล้ว ต่อมาในวันเดียวกัน เจ้าพนักงานตำรวจไปตรวจค้นบ้านของจำเลยที่ 1 ยึดได้เมทแอมเฟตามีนอีกจำนวน 262 เม็ด กับชนิดผลึกอีก 2 ซอง โดยเมทแอมเฟตามีนที่จำเลยที่ 1 มีไว้ในครอบครองและจำหน่ายไปในตอนแรกจำนวน 2,200 เม็ด กับที่มีไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายในตอนหลังจำนวน 262 เม็ด กับชนิดผลึก 2 ซอง เป็นคนละจำนวนกัน แม้เมทแอมเฟตามีนที่จำเลยที่ 1 จำหน่ายไปในตอนแรก เป็นส่วนหนึ่งของเมทแอมเฟตามีนที่จำเลยที่ 1 มีไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย แต่การมีไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายและการจำหน่ายเป็นความผิดที่มีเจตนาในการกระทำผิดแยกจากกันได้ ฉะนั้น การที่จำเลยที่ 1 มีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายแล้วจำหน่ายให้สายลับไปจำนวน 2,200 เม็ด และยังร่วมกับจำเลยที่ 2 มีเมทแอมเฟตามีนอยู่ที่บ้านอีกจำนวน 262 เม็ด กับชนิดผลึก 2 ซอง อีกส่วนหนึ่งต่างหาก การกระทำของจำเลยที่ 1 จึงเป็นความผิดสองกรรม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 520/2560
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความคดีแบ่งมรดก: การจัดการมรดกเสร็จสิ้นเมื่อใด และมีผลต่ออายุความอย่างไร
การที่โจทก์ฟ้องจำเลยในฐานะผู้จัดการมรดก เพื่อขอแบ่งปันทรัพย์มรดก โดยโจทก์และจำเลยต่างเป็นทายาท การฟ้องคดีของโจทก์จึงไม่เข้าลักษณะตาม ป.พ.พ. มาตรา 1300 แต่เป็นคดีเกี่ยวกับการจัดการมรดก ซึ่งตาม ป.พ.พ. มาตรา 1733 วรรคสอง ห้ามมิให้ฟ้องร้องเกินห้าปี นับแต่การจัดการมรดกสิ้นสุดลง การที่จะวินิจฉัยว่า ฟ้องโจทก์ขาดอายุความตาม ป.พ.พ. มาตรา 1733 วรรคสอง หรือไม่นั้น จำต้องฟังข้อเท็จจริงให้เป็นที่ยุติก่อนว่า การจัดการมรดกเสร็จสิ้นแล้วหรือไม่ เมื่อโจทก์ฟ้องขอให้จำเลยแบ่งปันทรัพย์มรดก จำเลยให้การต่อสู้ว่า มีข้อตกลงในการแบ่งปันทรัพย์มรดกกัน ศาลจึงต้องฟังข้อเท็จจริงว่า มีข้อตกลงกันจริงหรือไม่ เมื่อฟังได้ว่าโจทก์และจำเลยได้มีข้อตกลงขายที่ดินทรัพย์มรดกในส่วนของโจทก์ให้แก่จำเลยจริง และไม่มีทรัพย์มรดกในส่วนอื่นที่จะต้องแบ่งปันอีก จึงถือว่าการจัดการมรดกเสร็จสิ้นแล้ว โดยมีการจัดการทรัพย์มรดกครั้งสุดท้ายเมื่อวันที่ 17 พฤษภาคม 2550 โจทก์นำคดีมาฟ้องวันที่ 9 ธันวาคม 2557 เกินกว่าห้าปี คดีโจทก์จึงขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 218/2560
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสนับสนุนการกระทำความผิดทำร้ายร่างกายจนเป็นเหตุให้ผู้อื่นได้รับอันตรายสาหัส และประเด็นการพิพากษาเกินคำขอ
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษตาม ป.อ. มาตรา 288 แม้ศาลชั้นต้นฟังว่า การกระทำของจำเลยเป็นความผิดฐานเป็นผู้สนับสนุนให้ผู้อื่นกระทำความผิดตาม ป.อ. มาตรา 297 (8) โดยไตร่ตรองไว้ก่อนก็ไม่อาจปรับบทลงโทษจำเลยตาม ป.อ. มาตรา 298 ได้ เพราะตามคำฟ้องของโจทก์ไม่ได้กล่าวหาว่าจำเลยกับพวกกระทำโดยไตร่ตรอง ทั้งไม่มีบทขอให้ลงโทษในคำขอท้ายฟ้อง การที่ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำเลยตาม ป.อ. มาตรา 298 เป็นการพิพากษาเกินคำขอ ต้องห้ามตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10159/2559
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแบ่งสินสมรสหลังหย่า: การติดตามสินสมรสส่วนของโจทก์ที่จำเลยที่ 2 ได้รับ
ตามบันทึกข้อตกลงการหย่าและแบ่งสินสมรส ฝ่ายชายให้บุตรทั้งสองอยู่ในความอุปการะเลี้ยงดูของฝ่ายหญิงเพียงผู้เดียว ฝ่ายชายจะไม่เข้ามายุ่งเกี่ยวกับสินสมรสทั้งหมดที่ได้ยกให้แก่บุตรทั้งสอง สินสมรสที่มีชื่อฝ่ายชายถือกรรมสิทธิ์ผู้เดียว ฝ่ายชายก็จะโอนเปลี่ยนชื่อให้เป็นชื่อฝ่ายหญิงเป็นผู้ครอบครองแทนบุตรทั้งสอง ในส่วนสินสมรสใดซึ่งหากตรวจสอบพบในภายหลังจากทำบันทึกข้อตกลงฉบับนี้แล้ว ฝ่ายชายตกลงจะนำมายกให้แก่บุตรทั้งสองคนต่อไปในทันที ก็หมายถึง สินสมรสที่เป็นส่วนของฝ่ายชายเท่านั้น หาได้มีข้อความระบุถึงสินสมรสที่ตรวจสอบพบในภายหลังแล้วฝ่ายหญิงตกลงจะนำมายกให้แก่บุตรทั้งสองแต่อย่างใดไม่ และไม่ได้หมายถึงสินสมรสของทั้งสองฝ่ายดังเช่นที่ระบุไว้ในบันทึกข้อตกลงที่มีรายละเอียดของสินสมรสที่คู่สัญญาทั้งสองตกลงยกให้แก่บุตรทั้งสอง เมื่อปรากฏว่าสินสมรสที่ตรวจสอบพบในภายหลังจากทำบันทึกข้อตกลงในส่วนที่เป็นสินสมรสของฝ่ายชายคือจำเลยที่ 1 ได้นำไปให้จำเลยที่ 2 แล้ว คงเหลือสินสมรสส่วนที่เป็นของโจทก์ซึ่งไม่ได้ตกอยู่ในบังคับข้อตกลงดังกล่าว โจทก์จึงมีสิทธิติดตามเอาสินสมรสส่วนนี้มาเป็นของตนได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10127/2559
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกำหนดโทษเด็กและเยาวชน: ศาลฎีกาตัดสินข้อผิดพลาดในการวินิจฉัยข้อเท็จจริงเรื่องคดีก่อนหน้า
จำเลยที่ 3 กระทำความผิดในคดีหมายเลขแดงที่ 95/2556 เมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2556 กระทำความผิดคดีนี้เมื่อวันที่ 12 พฤศจิกายน 2555 ถือว่า จำเลยที่ 3 กระทำความผิดคดีนี้ก่อนคดีหมายเลขแดงที่ 95/2556 ดังนั้นการที่ศาลอุทธรณ์ภาค 2 นำข้อมูลการแสดงข้อเท็จจริงเกี่ยวกับเด็กหรือเยาวชนของสถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชนจังหวัดฉะเชิงเทรามาใช้ประกอบดุลพินิจกำหนดโทษและวิธีการสำหรับเด็กและเยาวชนแก่จำเลยที่ 3 ว่ากระทำความผิดคดีนี้เป็นครั้งที่ 2 นั้น เป็นการวินิจฉัยข้อเท็จจริงผิดจากพยานหลักฐานในสำนวน เป็นการไม่ชอบตาม ป.วิ.พ. มาตรา 243 (3) (ก), 247 ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15 และ พ.ร.บ.ศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ.2553 มาตรา 6
แม้ฎีกาของจำเลยที่ 3 เป็นฎีกาที่ขอให้รอการลงโทษ หรือ รอการกำหนดโทษ หรือ คุมประพฤติ อันเป็นฎีกาโต้แย้งดุลพินิจของศาลเกี่ยวกับวิธีการสำหรับเด็กและเยาวชน จะต้องห้ามมิให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม พ.ร.บ.ศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ.2553 มาตรา 180, 183 และไม่อาจฎีกาโดยได้รับอนุญาตจากผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาและลงชื่อในคำพิพากษา ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 221 ได้ เพราะ พ.ร.บ.ศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว บัญญัติไว้เป็นการเฉพาะแล้ว แต่เมื่อจำเลยที่ 3 ฎีกาปัญหาข้อกฎหมายมา ศาลฎีกาเห็นควรวินิจฉัยเกี่ยวกับโทษและวิธีการสำหรับเด็กและเยาวชนที่ใช้บังคับแก่จำเลยที่ 3 ให้เหมาะสมได้
แม้ฎีกาของจำเลยที่ 3 เป็นฎีกาที่ขอให้รอการลงโทษ หรือ รอการกำหนดโทษ หรือ คุมประพฤติ อันเป็นฎีกาโต้แย้งดุลพินิจของศาลเกี่ยวกับวิธีการสำหรับเด็กและเยาวชน จะต้องห้ามมิให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม พ.ร.บ.ศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ.2553 มาตรา 180, 183 และไม่อาจฎีกาโดยได้รับอนุญาตจากผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาและลงชื่อในคำพิพากษา ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 221 ได้ เพราะ พ.ร.บ.ศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว บัญญัติไว้เป็นการเฉพาะแล้ว แต่เมื่อจำเลยที่ 3 ฎีกาปัญหาข้อกฎหมายมา ศาลฎีกาเห็นควรวินิจฉัยเกี่ยวกับโทษและวิธีการสำหรับเด็กและเยาวชนที่ใช้บังคับแก่จำเลยที่ 3 ให้เหมาะสมได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9949/2559
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำพิพากษาตามยอมผูกพันคู่ความ หากไม่โต้แย้งภายในกำหนดเวลา ย่อมถึงที่สุด แม้จะมีเหตุภายหลังก็ไม่อาจเพิกถอนได้
คู่ความทำสัญญาประนีประนอมยอมความต่อศาลชั้นต้น และศาลชั้นต้นพิพากษาตามยอมแล้ว นอกจากทนายความทั้งสองฝ่ายมาศาล ยังปรากฏว่าตัวความทั้งสองฝ่ายมาศาล และได้ลงชื่อไว้ในรายงานกระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้น เมื่อศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาตามยอมแล้ว คำพิพากษานั้นย่อมผูกพันคู่ความตาม ป.วิ.พ. มาตรา 145 วรรคหนึ่ง หากจำเลยเห็นว่าคำพิพากษาตามสัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าวไม่ชอบหรือไม่ถูกต้องตามกฎหมาย ก็มีทางดำเนินคดีต่อไปเพียงประการเดียวคืออุทธรณ์ฎีกาให้ศาลสูงแก้ไข หากเข้ากรณีตาม ป.วิ.พ. มาตรา 138 วรรคสอง ภายในกำหนดเวลา หนึ่งเดือนนับแต่วันที่ได้อ่านคำพิพากษาตามยอมนั้น ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 229 เมื่อจำเลยไม่อุทธรณ์ภายในกำหนดระยะเวลาดังกล่าว คำพิพากษาตามยอมนั้นย่อมถึงที่สุด ไม่อาจที่จะเพิกถอนหรือเปลี่ยนแปลงแก้ไขได้ แม้จำเลยจะอ้างว่าเพิ่งทราบเหตุที่ขอให้เพิกถอนสัญญาประนีประนอมยอมความภายหลังว่า คำพิพากษาตามยอมตกเป็นโมฆะเพราะขัดต่อกฎหมายหรือขัดต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชนก็ไม่มีกฎหมายรับรองให้ทำได้
คดีนี้โจทก์ฟ้องหย่าและขอแบ่งสินสมรสจำเลย เป็นคดีที่ไม่มีผู้เยาว์เป็นผู้มีส่วนได้เสียหรือผลประโยชน์เกี่ยวข้อง โจทก์และจำเลยต่างแถลงร่วมกันต่อศาลชั้นต้นว่าไม่ต้องการผู้พิพากษาสมทบเป็นองค์คณะในการพิจารณาพิพากษา ตามรายงานกระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้นลงวันที่ 10 ตุลาคม 2555 ดังนั้น ผู้พิพากษาศาลชั้นต้นซึ่งไม่น้อยกว่าสองคนย่อมเป็นองค์คณะพิจารณาและพิพากษาคดีนี้ได้ตาม พ.ร.บ.ศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ.2553 มาตรา 147 วรรคหนึ่ง หาใช่เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบไม่
คดีนี้โจทก์ฟ้องหย่าและขอแบ่งสินสมรสจำเลย เป็นคดีที่ไม่มีผู้เยาว์เป็นผู้มีส่วนได้เสียหรือผลประโยชน์เกี่ยวข้อง โจทก์และจำเลยต่างแถลงร่วมกันต่อศาลชั้นต้นว่าไม่ต้องการผู้พิพากษาสมทบเป็นองค์คณะในการพิจารณาพิพากษา ตามรายงานกระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้นลงวันที่ 10 ตุลาคม 2555 ดังนั้น ผู้พิพากษาศาลชั้นต้นซึ่งไม่น้อยกว่าสองคนย่อมเป็นองค์คณะพิจารณาและพิพากษาคดีนี้ได้ตาม พ.ร.บ.ศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ.2553 มาตรา 147 วรรคหนึ่ง หาใช่เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9647/2559
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขบทความผิดและโทษจากรอการกำหนดโทษเป็นฝึกอบรมเยาวชน: กรณีต้องห้ามฎีกา
คดีนี้ โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยฐานปล้นทรัพย์โดยใช้ยานพาหนะ ตาม ป.อ. มาตรา 340, 340 ตรี จำเลยให้การปฏิเสธแต่รับว่าทำร้ายร่างกายผู้เสียหายจริง ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยมีความผิดตาม ป.อ. มาตรา 295 ประกอบมาตรา 83 และ 357 วรรคหนึ่ง ให้รอการกำหนดโทษจำเลยไว้มีกำหนด 2 ปี โดยกำหนดเงื่อนไขคุมความประพฤติจำเลย ยกฟ้องฐานปล้นทรัพย์ คำขออื่นนอกจากนี้ให้ยก ศาลอุทธรณ์ภาค 5 พิพากษาแก้เป็นว่า จำเลยมีความผิดฐานปล้นทรัพย์โดยใช้ยานพาหนะ ตาม ป.อ. มาตรา 340 วรรคหนึ่ง, 340 ตรี ประกอบมาตรา 83 จำคุก 8 ปี เปลี่ยนโทษจำคุกเป็นการส่งตัวจำเลยไปควบคุมเพื่อฝึกและอบรมที่ศูนย์ฝึกและอบรมเด็กและเยาวชนเขต 7 (จังหวัดเชียงใหม่) มีกำหนดขั้นต่ำ 1 ปี ขั้นสูง 2 ปี และให้จำเลยคืนหรือใช้ราคาทรัพย์ที่ยังไม่ได้คืนแก่ผู้เสียหาย 25,540 บาท แก่ผู้เสียหาย จำเลยฎีกาว่าไม่มีเจตนาเอาทรัพย์ของผู้เสียหาย ขอให้ลงโทษตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น ดังนี้เป็นกรณีที่ศาลอุทธรณ์ภาค 5 พิพากษาแก้ไขบทความผิดและแก้โทษจากรอการกำหนดโทษเป็นฝึกและอบรม มีกำหนดขั้นต่ำ 1 ปี ขั้นสูง 2 ปี จึงเป็นการที่ศาลอุทธรณ์ภาค 5 พิพากษาแก้ไขมากแต่ไม่เพิ่มเติมโทษจำเลย เพราะการฝึกและอบรมไม่ใช่โทษตาม ป.อ. มาตรา 18 ซึ่งต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ. มาตรา 219 ประกอบ พ.ร.บ.ศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ.2553 มาตรา 6