คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.วิ.พ. ม. 249 วรรคหนึ่ง

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 24 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3560/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การดำเนินกระบวนการพิจารณาซ้ำ และสิทธิในการถอดถอนผู้จัดการมรดกที่ตกทอดไปยังทายาท
ผู้คัดค้านและ น. เป็นบุตรของ ม. และผู้ร้อง ม. เคยยื่นคำร้องต่อศาลขอให้ถอดถอนผู้ร้องจากการเป็นผู้จัดการมรดกของ น. เนื่องจากผู้ร้องขายที่ดินทรัพย์มรดกของ น. และเก็บเงินไว้แต่เพียงผู้เดียวทำให้ ม. และผู้คัดค้านเสียหาย ต่อมา ม. ถึงแก่ความตาย ผู้คัดค้านได้ขอเข้ารับมรดกความแทนที่ ม. แต่ศาลชั้นต้นเห็นว่าคำร้องดังกล่าวเป็นการเฉพาะตัวของ ม. ผู้คัดค้านไม่สามารถเข้าเป็นคู่ความแทนที่ได้ จึงไม่อนุญาตให้ผู้คัดค้านเข้าเป็นคู่ความแทนที่ ม.ดังนั้น เมื่อผู้คัดค้านยื่นคำร้องอ้างเหตุเดียวกันซึ่งเกิดขึ้นตั้งแต่ผู้คัดค้านยังไม่ได้สืบสิทธิของ ม. ในการรับมรดกของ น.และเหตุตามคำร้องมิได้เป็นเรื่องที่โต้แย้งสิทธิของผู้คัดค้านมาเพื่อให้ศาลพิจารณาว่าเป็นเหตุให้ถอดถอนผู้ร้องจากการเป็นผู้จัดการมรดกของ น. หรือไม่ ซึ่งศาลจะต้องวินิจฉัยก่อนว่า เหตุตามคำร้องเป็นสิทธิ หน้าที่ และความรับผิดชอบต่าง ๆ ของ ม. ที่จะตกทอดไปยังผู้คัดค้านซึ่งเป็นทายาทของ ม. ให้มีอำนาจยกขึ้นอ้างเพื่อถอดถอนผู้จัดการมรดกได้หรือไม่ อันเป็นการวินิจฉัยในข้อที่ศาลได้เคยวินิจฉัยไว้แล้วในคดีที่ ม. ยื่นคำร้องคัดค้านขอให้ศาลถอดถอนผู้ร้องจากการเป็นผู้จัดการมรดกของ น. นั่นเอง จึงเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 144

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7559/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสละสิทธิเรียกร้องหนี้และการถอนการยึดทรัพย์ ทำให้หนี้ระงับ และไม่มีสิทธิขอเฉลี่ยจากทรัพย์สินอีก
ตามคำแถลงที่ผู้ร้องยื่นต่อเจ้าพนักงานบังคับคดีในคดีที่ผู้ร้องเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษานั้น ผู้ร้องแถลงว่าผู้ร้องตกลงกับจำเลยแล้วโดยจำเลยยอมชำระเงินให้ผู้ร้อง 100,000 บาท ผู้ร้องจึงไม่ประสงค์ที่จะดำเนินคดีแก่จำเลยอีกต่อไป และขอถอนการยึดทรัพย์ของจำเลยโดยจำเลยได้นำค่าธรรมเนียมการถอนการยึดทรัพย์มาชำระแล้ว จึงถือได้ว่าผู้ร้องได้ตกลงรับชำระหนี้จากจำเลยเพียงจำนวน 100,000 บาท และสละสิทธิการบังคับคดีในคดีที่ผู้ร้องเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาดังกล่าว อันมีผลทำให้หนี้ตามคำพิพากษาในคดีดังกล่าวระงับแล้ว ผู้ร้องจึงไม่มีสิทธินำหนี้ในคดีดังกล่าวมาขอเฉลี่ยจากทรัพย์สินของจำเลยในคดีนี้อีก
ที่ผู้ร้องฎีกาว่า ความจริงผู้ร้องตกลงและขอถอนการยึดทรัพย์ในคดีอื่น ไม่ใช่คดีที่ผู้ร้องอ้างตามคำร้องขอเฉลี่ยนั้น เป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7216/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องเรียกหนี้ก่อนกำหนด & ข้อตกลงค้ำประกัน: ประเด็นฟ้องไม่ชัดเจน & สิทธิผู้ให้กู้
จำเลยให้การว่าฟ้องโจทก์เคลือบคลุมเพราะไม่ได้แสดงโดยชัดแจ้งซึ่งสภาพแห่งข้อหาว่าโจทก์อาศัยสิทธิใดในการเรียกดอกเบี้ย และโจทก์ได้รับชำระดอกเบี้ยกับต้นเงินจากจำเลยที่ 1 แล้วจำนวนเท่าใด แต่จำเลยฎีกาว่าฟ้องโจทก์เคลือบคลุมเพราะบรรยายแต่เพียงลอย ๆ ระบุยอดหนี้รวมมา ไม่แยกแยะให้เห็นว่ามีการชำระหนี้เงินต้นเมื่อไร อย่างไร ชำระดอกเบี้ยกันอย่างไร กี่ครั้งครั้งสุดท้ายเมื่อไร ข้อฏีกาของจำเลยจึงเป็นข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้น ต้องห้ามฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 24 วรรคหนึ่ง
สัญญากู้ยืมเงินมีกำหนดเวลาชำระหนี้เสร็จสิ้นใน 20 เดือน แต่มีข้อตกลงให้ผู้ให้กู้มีสิทธิเรียกร้องให้ผู้กู้ชำระหนี้ตามสัญญาทั้งหมดหรือบางส่วนก่อนถึงกำหนดได้โดยผู้ให้กู้ไม่จำต้องชี้แจงแสดงเหตุ ผู้ให้กู้จึงมีสิทธิฟ้องบังคับผู้กู้ให้ชำระหนี้ได้ทันทีโดยไม่ต้องบอกกล่าวก่อนแม้หนี้จะยังไม่ถึงกำหนดและผู้กู้ไม่ได้ผิดนัด และการที่หนี้ระหว่างผู้ให้กู้และผู้กู้เปลี่ยนเป็นหนี้ที่ไม่มีกำหนดเวลาชำระหนี้ ก็หาทำให้สิทธิของผู้ให้กู้ตามข้อตกลงดังกล่าวเปลี่ยนแปลงไปไม่
แม้สัญญาค้ำประกันจะไม่ได้ระบุอัตราดอกเบี้ยที่ผู้ค้ำประกันจะต้องรับผิดไว้ แต่ก็ได้เท้าความถึงสัญญากู้ยืมเงินที่ผู้ค้ำประกันตกลงค้ำประกันหนี้ไว้ชัดแจ้งและมีข้อความอีกว่า ถ้าลูกหนี้ผิดนัดการชำระหนี้ผู้ค้ำประกันตกลงชำระหนี้นั้นแก่ผู้ให้กู้ทันทีพร้อมดอกเบี้ย กรณีจึงถือได้ว่าผู้ค้ำประกันตกลงค้ำประกันหนี้ของลูกหนี้ทั้งต้นเงิน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7212/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ดอกเบี้ยค่าทดแทนเวนคืน: เริ่มนับเมื่อใดตาม พ.ร.บ.เวนคืนฯ
เมื่อศาลวินิจฉัยให้จำเลยชำระเงินค่าทดแทนที่ดินเพิ่มขึ้นแก่โจทก์โจทก์จึงมีสิทธิได้รับดอกเบี้ยในอัตราสูงสุดของดอกเบี้ยเงินฝากประเภทฝากประจำของธนาคารออมสินในจำนวนที่เพิ่มขึ้นนับแต่วันที่ต้องมีการจ่ายหรือวางเงินค่าทดแทนนั้น ตาม พ.ร.บ. ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530 มาตรา 26วรรคท้าย คดีนี้ไม่มีการวางเงินค่าทดแทน ดังนั้นวันที่เริ่มต้นคิดดอกเบี้ยคือวันที่ต้องมีการจ่ายเงินค่าทดแทน ซึ่งมาตรา 11 วรรคแรก บัญญัติว่าในกรณีที่มีการตกลงซื้อขายอสังหาริมทรัพย์กันได้ตามมาตรา 10 ให้เจ้าหน้าที่หรือผู้ซึ่งได้รับมอบหมายจากเจ้าหน้าที่จ่ายเงินค่าอสังหาริมทรัพย์ดังกล่าวทั้งหมดให้แก่เจ้าของหรือผู้ครอบครองโดยชอบด้วยกฎหมายภายในหนึ่งร้อยยี่สิบวันนับแต่วันที่ทำสัญญาซื้อขาย โจทก์จำเลยทำสัญญาซื้อขายกันเมื่อวันที่ 8 มีนาคม 2531 จำเลยจึงต้องจ่ายเงินค่าที่ดินที่ถูกเวนคืนแก่โจทก์ภายในหนึ่งร้อยยี่สิบวัน นับแต่วันที่ 8 มีนาคม 2531 คือภายในวันที่6 กรกฎาคม 2531 ซึ่งเป็นวันที่ต้องมีการจ่ายเงินค่าทดแทนตามมาตรา 26 วรรคท้ายจำเลยจึงต้องจ่ายดอกเบี้ยให้แก่โจทก์นับแต่วันที่ 6 กรกฎาคม 2531
โจทก์ฎีกาว่าคณะกรรมการปรองดองและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมกำหนดค่าทดแทนให้แก่โจทก์โดยขาดความรอบคอบและไม่เป็นธรรมโดยโจทก์ไม่ได้โต้แย้งหรือคัดค้านคำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์ว่าไม่ถูกต้องตามข้อเท็จจริงหรือข้อกฎหมายอย่างไรบ้าง และที่ถูกต้องทั้งตามข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายควรจะเป็นอย่างไร จึงเป็นฎีกาที่ไม่ได้กล่าวโดยชัดแจ้งตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7087/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อจำกัดการฎีกา: ประเด็นใหม่ & ฟ้องแย้งค่าเสียหายเกินดุลพินิจ
จำเลยฎีกาในข้อที่จำเลยไม่ได้ให้การสู้คดีไว้ จึงเป็นข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคหนึ่ง
ส่วนฎีกาเกี่ยวกับฟ้องแย้งในเรื่องค่าเสียหายที่ขอให้บังคับโจทก์ชดใช้ค่าเสียหายเพราะเหตุที่ไม่ได้ใช้ประโยชน์จากที่ดินพิพาท เป็นการโต้แย้งดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลอุทธรณ์ อันเป็นการฎีกาในข้อเท็จจริงซึ่งค่าเสียหายตามฟ้องแย้งไม่เกิน 200,000 บาท จึงต้องห้ามตาม ป.วิ.พ.มาตรา 248 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6878/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อจำกัดการฎีกา: ทุนทรัพย์ไม่เกินสองแสนบาท และประเด็นนอกฟ้อง-ให้การ
คดีนี้มีจำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาไม่เกินสองแสนบาทจึงต้องห้ามมิให้ฎีกาในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ.มาตรา 248 วรรคหนึ่ง ที่จำเลยฎีกาว่า จำเลยได้สิทธิครอบครองในที่ดินพิพาทแล้วนั้น เป็นปัญหาข้อเท็จจริงต้องห้ามมิให้ฎีกาตามบทกฎหมายดังกล่าว ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยออกจากที่ดินพิพาทโดยอ้างว่าเป็นของโจทก์จำเลยให้การว่าที่ดินแปลงนี้เป็นของจำเลยโดยจำเลยเป็นผู้ก่นสร้างและครอบครองมานานกว่า 30 ปีแล้ว ตามคำให้การดังกล่าวจำเลยมิได้อ้างว่าจำเลยแย่งการครอบครองที่ดินพิพาทจากโจทก์ จึงไม่มีประเด็นเรื่องเปลี่ยนลักษณะแห่งการยึดถือตาม ป.พ.พ.มาตรา 1381 จำเลยไม่อาจอ้างสิทธิตามมาตรา 1375 ได้ การที่ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อพิพาทในเรื่องนี้ จึงเป็นการกำหนดประเด็นนอกเหนือไปจากคำฟ้องและคำให้การ เป็นการไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ.มาตรา 142 และมาตรา183 แม้ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์วินิจฉัยให้ก็ถือว่าเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ต้องห้ามฎีกาตาม ป.วิ.พ.มาตรา 249วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6772/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตการฎีกาจำกัดตามคำให้การเดิม, ที่ดินพิพาทไม่ใช่ปัญหาความสงบเรียบร้อย
ปัญหาว่าที่ดินพิพาทเป็นป่าสงวนแห่งชาติหรือไม่เป็นข้อ-เท็จจริงที่จะต้องพิสูจน์กันในทางพิจารณาไม่ใช่เรื่องอำนาจฟ้องและไม่ใช่ปัญหาอันเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน เมื่อจำเลยมิได้ยกปัญหาดังกล่าวขึ้นอุทธรณ์จึงต้องห้ามฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยทั้งสองบุกรุกเข้ามาทำกินและปลูกกระท่อมลงในที่ดินของโจทก์บางส่วน จำเลยทั้งสองให้การต่อสู้ว่า จำเลยที่ 2 ก่อสร้างครอบครองทำประโยชน์มานานกว่า 20 ปี ที่ดินที่โจทก์ฟ้องเป็นที่ดินคนละแปลงกับที่ดินที่จำเลยที่ 1 ครอบครอง ดังนี้ตามคำให้การของจำเลยทั้งสองจึงไม่มีประเด็นในเรื่องแย่งการครอบครองตาม ป.พ.พ. มาตรา 1375 จำเลยทั้งสองจะยกปัญหาข้อนี้ขึ้นฎีกาไม่ได้ เพราะเป็นฎีกาที่นอกเหนือไปจากคำให้การที่จำเลยให้การต่อสู้ไว้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6528/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนที่ดินโดยสุจริต, การไม่คัดค้านในชั้นศาล, และประเด็นข้อพิพาทที่มิได้ยกขึ้นว่ากันในศาล
ป.พ.พ. มาตรา 6 ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่า โจทก์รับโอนที่ดินพิพาทโดยสุจริต เมื่อจำเลยและผู้ร้องสอดกล่าวอ้างว่า โจทก์ไม่มีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาทและรับโอนมาโดยไม่สุจริต จำเลยและผู้ร้องสอดจึงมีหน้าที่นำสืบ
จำเลยและผู้ร้องสอดฎีกาว่า ขณะศาลชั้นต้นออกไปนอกห้องพิจารณา โจทก์ออกไปซักซ้อมพยานนอกห้องพิจารณา 2 ครั้ง เป็นการไม่ชอบ แต่ปรากฏว่าจำเลยและผู้ร้องสอดมิได้แถลงคัดค้านการกระทำของโจทก์ในวันดังกล่าวกลับยอมให้โจทก์นำพยานดังกล่าวเข้าสืบและถามค้านไปตามปกติ เพิ่งคัดค้านเมื่อเวลาเนิ่นไปถึง 7 วัน แสดงว่า จำเลยและผู้ร้องสอดไม่ติดใจคัดค้านและให้สัตยาบันแก่การกระทำของโจทก์แล้วตาม ป.วิ.พ. มาตรา 27 วรรคสอง
ที่จำเลยและผู้ร้องสอดฎีกาว่า โจทก์รับโอนที่ดินพิพาทระหว่างมีการอายัดที่ดินพิพาทเป็นการไม่สุจริต มูลหนี้ตามคำพิพากษาไม่ชอบด้วยกฎหมายคำพิพากษาและการขายทอดตลาดก็ไม่เป็นกฎหมายที่จะต้องปฏิบัติตาม แต่ปรากฏว่าจำเลยและผู้ร้องสอดไม่ได้ให้การไว้และที่จำเลยและผู้ร้องสอดฎีกาว่า โจทก์ไม่เคยเข้าครอบครองที่ดินพิพาท จึงไม่มีอำนาจฟ้อง ศาลชั้นต้นก็ไม่ได้กำหนดประเด็นข้อพิพาทไว้ จึงล้วนแต่เป็นข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 1 ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
โจทก์บรรยายฟ้องว่า โจทก์เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทโดยจดทะเบียนรับโอนมาเมื่อวันที่ 2 มีนาคม 2524 จำเลยอาศัยอยู่ในที่ดินพิพาทโดยไม่มีสิทธิ ขอให้ขับไล่และชดใช้ค่าเสียหาย เป็นการบรรยายโดยชัดแจ้งซึ่งสภาพแห่งข้อหา ข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาและคำขอบังคับตาม ป.วิ.พ. มาตรา 172วรรคสองแล้ว คำฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม
โจทก์ฟ้องขับไล่ให้ออกไปจากที่ดินพิพาท ผู้ร้องสอดต่อสู้กรรมสิทธิ์ จึงเป็นคดีมีทุนทรัพย์ ผู้ร้องสอดเสียค่าขึ้นศาลชั้นฎีกาโดยตีราคาที่ดินพิพาท 274,665 บาท จึงเป็นคดีมีทุนทรัพย์ 274,665 บาท ฉะนั้นที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 กำหนดให้จำเลยและผู้ร้องสอดใช้ค่าทนายความชั้นอุทธรณ์แทนโจทก์5,000 บาท จึงชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6035/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้อง, การซื้อขายสินค้าเคมีภัณฑ์, และฟ้องแย้งที่มีเงื่อนไข
ข.ผู้รับมอบอำนาจช่วงของโจทก์เบิกความว่า โจทก์เป็นนิติ-บุคคลจดทะเบียนตามกฎหมายประเทศอังกฤษ โจทก์มอบอำนาจให้ ส.ฟ้องคดีนี้ได้ในประเทศไทย กับให้อำนาจ ส.มอบอำนาจช่วงได้ และ ส.มอบอำนาจให้ทนายฟ้องคดีนี้แทน โดยโจทก์มีเอกสารที่มีข้อความตรงตามที่ ช.พยานเบิกความทุกประการ ซึ่งเอกสารฉบับนี้มีโนตารีปับลิกและเลขานุการสถานเอกอัครราชทูตไทย-ประจำกรุงลอนดอนลงลายมือชื่อรับรอง จำเลยไม่ได้นำสืบให้เห็นเป็นอย่างอื่น จึงฟังได้ว่า โจทก์มีอำนาจฟ้อง กรณีไม่จำเป็นต้องนำเจ้าหน้าที่ของสถานเอกอัครราชทูต-ไทยประจำกรุงลอนดอนหรือผู้ทำเอกสารดังกล่าวมาสืบประกอบ
โจทก์และจำเลยซื้อสินค้าเคมีภัณฑ์เหลวชนิดเดียวกัน เป็นการซื้อขายโดยกำหนดจำนวนหรือปริมาณและราคาของทรัพย์สินที่ซื้อขายกันแน่นอน โดยไม่ต้องหมาย หรือนับ ชั่ง ตวง วัด หรือคัดเลือก เพื่อให้บ่งตัวทรัพย์สินนั้นออกเป็นแน่นอนอีก ทั้งสินค้าดังกล่าวได้บรรทุกมาในเรือลำเดียวกัน เที่ยวเดียวกัน และบรรจุในแท็งก์เดียวกันด้วย ถือว่าเป็นการซื้อขายเสร็จเด็ดขาด กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินที่ซื้อขายย่อมโอนไปยังผู้ซื้อตั้งแต่ขณะเมื่อได้ทำสัญญาซื้อขายกันแล้วตามป.พ.พ. มาตรา 458 เมื่อจำเลยรับสินค้าเคมีภัณฑ์ซึ่งเป็นของโจทก์เกินไปจำเลยต้องคืนให้แก่โจทก์
ศาลอุทธรณ์มิได้วินิจฉัยถึงเรื่องที่จำเลยฎีกาเลย การที่จำเลยฎีกาเรื่องดังกล่าวโดยไม่ได้โต้แย้งคัดค้านว่า ที่ศาลอุทธรณ์มิได้วินิจฉัยเรื่องที่จำเลยฎีกาดังกล่าวไม่ชอบเพราะเหตุใด ฎีกาของจำเลยจึงเป็นฎีกาที่มิได้ยกข้อเท็จจริงหรือข้อกฎหมายขึ้นอ้างอิงไว้โดยชัดแจ้งไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ.มาตรา 249 วรรคหนึ่ง
โจทก์ฟ้องให้จำเลยชำระราคาสินค้าพิพาทที่จำเลยเอาไปจากโจทก์โดยละเมิด โจทก์จึงมีสิทธิเรียกดอกเบี้ยในจำนวนเงินที่จะต้องใช้ คิดตั้งแต่เวลาอันเป็นฐานที่ตั้งแห่งการประมาณราคานั้นได้ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 440
ฟ้องแย้งของจำเลยเป็นคำฟ้องที่ขอให้บังคับโจทก์ชำระค่าภาษีและค่าใช้จ่ายต่าง ๆ แก่จำเลยก็ต่อเมื่อศาลพิพากษาให้จำเลยคืนสินค้าพิพาทแก่โจทก์แล้ว การที่จำเลยจะต้องคืนสินค้าพิพาทให้แก่โจทก์หรือไม่ ยังไม่เป็นที่แน่นอนโดยจะต้องรอจนศาลพิพากษาให้จำเลยคืนสินค้าพิพาทแก่โจทก์ตามฟ้องเดิมเสียก่อน จึงเป็นฟ้องแย้งที่มีเงื่อนไข ไม่เกี่ยวกับฟ้องเดิมพอที่จะรวมการพิจารณาและชี้ขาดตัดสินเข้าด้วยกันได้ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 177 วรรคสาม และ 189วรรคสุดท้าย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5989/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อเท็จจริงนอกสำนวนในชั้นฎีกา: ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
ที่จำเลยฎีกาว่า โจทก์ฟ้องจำเลยเป็นคดีอาญาข้อหาบุกรุกลักทรัพย์ ทำให้เสียทรัพย์ และศาลชั้นต้นได้วินิจฉัยว่า จำเลยขาดเจตนาทางอาญาพิพากษายกฟ้อง คดีถึงที่สุดแล้ว คดีนี้จึงต้องถือข้อเท็จจริงตามคดีอาญาดังกล่าวตามป.วิ.อ.มาตรา 46 นั้น จำเลยเพิ่งจะหยิบยกข้อเท็จจริงดังกล่าวขึ้นอ้างในชั้นฎีกาโดยแนบเป็นเอกสารท้ายฎีกา ซึ่งโจทก์แก้ฎีกาคัดค้านจึงเป็นข้อเท็จจริงนอกสำนวนมิใช่ข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
of 3