พบผลลัพธ์ทั้งหมด 24 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5649/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาต้องห้าม: ข้อเท็จจริงใหม่ & ประเด็นที่ไม่ได้อุทธรณ์ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
อาคารพิพาทที่โจทก์ฟ้องขับไล่แม้โจทก์จะอ้างว่าให้เช่าได้เดือนละ 25,000 บาท แต่ศาลชั้นต้นเห็นว่าแม้อาคารพิพาทจะอยู่ในทำเลการค้าแต่ก็เป็นอาคารที่ก่อสร้างมานาน จึงกำหนดค่าเสียหายให้เพียงเดือนละ 10,000 บาทโจทก์มิได้อุทธรณ์ จึงถือได้ว่าอาคารพิพาทอาจให้เช่าได้ในขณะยื่นคำฟ้องไม่เกินเดือนละ 10,000 บาท ต้องห้ามมิให้ฎีกาในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ.มาตรา 248วรรคสอง คดีนี้ศาลอุทธรณ์ฟังข้อเท็จจริงว่า โจทก์เป็นเจ้าของที่ดินและอาคารพิพาทให้ขับไล่จำเลยและบริวารออกจากอาคารพิพาท และให้ชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์เดือนละ 10,000 บาท จำเลยฎีกาว่า โจทก์ไม่ใช่เจ้าของที่ดินและอาคารพิพาทค่าเช่าเดือนละ 10,000 บาท สูงเกินไปเพราะเป็นตึกเก่าอย่างมากคิดได้เดือนละ5,000 บาท จึงเป็นการโต้เถียงดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลอุทธรณ์เป็นฎีกาในข้อเท็จจริงจึงต้องห้ามตามบทบัญญัติของกฎหมายดังกล่าว ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้
ที่จำเลยฎีกาว่า จำเลยมีสิทธิอยู่ในอาคารพิพาทเพราะมีสัญญาต่างตอบแทนยิ่งกว่าสัญญาเช่าธรรมดาซึ่งพอแปลได้ว่าโจทก์ยังไม่มีสิทธิฟ้องขับไล่จำเลยนั้น ในประเด็นดังกล่าวจำเลยมิได้ยกขึ้นอุทธรณ์คัดค้านคำพิพากษาศาลชั้นต้นเป็นแต่ขอให้ศาลอุทธรณ์พิจารณาตามคำฟ้องแย้งของจำเลย ซึ่งคำฟ้องแย้งของจำเลยศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับและศาลอุทธรณ์พิพากษายืน ฎีกาของจำเลยในประเด็นข้อนี้จึงเป็นข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ต้องห้ามฎีกาตาม ป.วิ.พ.มาตรา 249 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
ที่จำเลยฎีกาว่า โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง เพราะคำเบิกความของโจทก์ไม่น่าเชื่อถือ โจทก์ไม่สามารถพิสูจน์ประเด็นอำนาจฟ้องให้ชัดแจ้งได้นั้นก็เป็นการโต้เถียงดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลอุทธรณ์ จึงเป็นฎีกาในข้อเท็จจริง
ปรากฏจากคำฟ้องว่าโจทก์เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินและอาคารพิพาทตั้งอยู่ที่ถนนเยาวราช แขวงสัมพันธวงศ์ เขตสัมพันธวงศ์ กรุงเทพ-มหานคร จำเลยเช่าอาคารพิพาทเลขที่ 424 จากเจ้าของกรรมสิทธิ์เดิมโดยไม่มีสัญญาเช่าและกำหนดเวลาเช่า จำเลยยื่นคำให้การว่าเช่าที่ดินพิพาทอยู่จริงและมีสัญญาต่างตอบแทนยิ่งกว่าสัญญาเช่าธรรมดามีกำหนดระยะเวลา 30 ปีโจทก์ได้รับโอนกรรมสิทธิ์ในที่ดินและอาคารพิพาทมาจึงต้องรับสิทธิและหน้าที่ที่จะต้องให้จำเลยเช่าอยู่ในอาคารจนครบกำหนดเวลาดังกล่าว แสดงว่าจำเลยเข้าใจดีว่าอาคารพิพาทตั้งอยู่ส่วนใดของที่ดินพิพาทและสามารถต่อสู้คดีได้ถูกต้องฟ้องโจทก์จึงได้แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาและข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาพอที่จำเลยจะเข้าใจข้อหาของโจทก์ได้แล้วตาม ป.วิ.พ.มาตรา 172วรรค 2 ฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม
ที่จำเลยฎีกาว่า จำเลยมีสิทธิอยู่ในอาคารพิพาทเพราะมีสัญญาต่างตอบแทนยิ่งกว่าสัญญาเช่าธรรมดาซึ่งพอแปลได้ว่าโจทก์ยังไม่มีสิทธิฟ้องขับไล่จำเลยนั้น ในประเด็นดังกล่าวจำเลยมิได้ยกขึ้นอุทธรณ์คัดค้านคำพิพากษาศาลชั้นต้นเป็นแต่ขอให้ศาลอุทธรณ์พิจารณาตามคำฟ้องแย้งของจำเลย ซึ่งคำฟ้องแย้งของจำเลยศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับและศาลอุทธรณ์พิพากษายืน ฎีกาของจำเลยในประเด็นข้อนี้จึงเป็นข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ต้องห้ามฎีกาตาม ป.วิ.พ.มาตรา 249 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
ที่จำเลยฎีกาว่า โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง เพราะคำเบิกความของโจทก์ไม่น่าเชื่อถือ โจทก์ไม่สามารถพิสูจน์ประเด็นอำนาจฟ้องให้ชัดแจ้งได้นั้นก็เป็นการโต้เถียงดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลอุทธรณ์ จึงเป็นฎีกาในข้อเท็จจริง
ปรากฏจากคำฟ้องว่าโจทก์เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินและอาคารพิพาทตั้งอยู่ที่ถนนเยาวราช แขวงสัมพันธวงศ์ เขตสัมพันธวงศ์ กรุงเทพ-มหานคร จำเลยเช่าอาคารพิพาทเลขที่ 424 จากเจ้าของกรรมสิทธิ์เดิมโดยไม่มีสัญญาเช่าและกำหนดเวลาเช่า จำเลยยื่นคำให้การว่าเช่าที่ดินพิพาทอยู่จริงและมีสัญญาต่างตอบแทนยิ่งกว่าสัญญาเช่าธรรมดามีกำหนดระยะเวลา 30 ปีโจทก์ได้รับโอนกรรมสิทธิ์ในที่ดินและอาคารพิพาทมาจึงต้องรับสิทธิและหน้าที่ที่จะต้องให้จำเลยเช่าอยู่ในอาคารจนครบกำหนดเวลาดังกล่าว แสดงว่าจำเลยเข้าใจดีว่าอาคารพิพาทตั้งอยู่ส่วนใดของที่ดินพิพาทและสามารถต่อสู้คดีได้ถูกต้องฟ้องโจทก์จึงได้แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาและข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาพอที่จำเลยจะเข้าใจข้อหาของโจทก์ได้แล้วตาม ป.วิ.พ.มาตรา 172วรรค 2 ฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5621/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความครอบครองปรปักษ์ในที่ดินป่าสงวน: ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยเนื่องจากมิได้โต้แย้งคำพิพากษาศาลอุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่า แม้ที่พิพาทจะเป็นป่าสงวนแห่งชาติแต่ในระหว่างราษฎรด้วยกันย่อมใช้ยันกันได้ หากฟังว่าโจทก์เป็นฝ่ายครอบครองใช้ประโยชน์อยู่ก่อนแล้ว จำเลยบุกรุกเข้าแย่งการครอบครอง โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้อง จำเลยฎีกาว่าที่พิพาทเป็นป่าสงวนแห่งชาติ ไม่มีผู้ใดใช้ประโยชน์บนที่ดิน การกระทำของจำเลยไม่เป็นละเมิดต่อโจทก์ โจทก์ฟ้องคดีภายหลังจากที่จำเลยซื้อสิทธิในที่พิพาทจาก ป. รวมเวลาที่ ป.และจำเลยครอบครองเกินกว่าหนึ่งปี คดีโจทก์ขาดอายุความฟ้องร้อง เป็นฎีกาที่มิได้ยกข้อเท็จจริงหรือข้อกฎหมายขึ้นโต้แย้งคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ที่พิพากษายกคำพิพากษาศาลชั้นต้นว่าไม่ชอบหรือผิดพลาดข้อไหน อย่างไร เป็นฎีกาที่ขัดต่อ ป.วิ.พ. มาตรา249 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5485/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบอกล้างสัญญาให้ระหว่างสมรสและผลกระทบต่อทายาท
การที่จำเลยอ้างอิงพินัยกรรมแนบท้ายคำร้องเพื่อสืบเป็นพยานในชั้นอุทธรณ์ โดยมิได้ระบุไว้ในบัญชีระบุพยาน เป็นการฝ่าฝืน ป.วิ.พ. มาตรา88 จึงรับฟังไม่ได้ และกรณีไม่ใช่เรื่องที่เกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนหรือที่จำเลยไม่สามารถยกปัญหาข้อกฎหมายใด ๆ ขึ้นกล่าวอ้างในศาลชั้นต้นเพราะพฤติการณ์ไม่เปิดช่องให้กระทำได้ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 225 วรรคสอง ศาลอุทธรณ์จะมีคำสั่งหรือไม่ก็ไม่ทำให้ผลของคดีเปลี่ยนไป ฎีกาของจำเลยที่ว่าศาลอุทธรณ์ไม่สั่งคำร้องจึงไม่เป็นสาระแก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัย
จำเลยให้การว่าโจทก์ไม่เคยทำสัญญายกที่ดินตามฟ้องให้จำเลยมิได้ให้การต่อสู้ว่าสัญญาให้ของโจทก์เป็นนิติกรรมอำพรางสัญญาแบ่งทรัพย์สินระหว่างสามีภริยา และการที่โจทก์ตอบทนายจำเลยถามค้านว่า จำเลยได้โอนหุ้นบริษัท บ.รถยนต์ พันธบัตรรัฐบาลและให้เงินสดแก่โจทก์ แล้วโจทก์โอนที่ดินให้จำเลยเป็นการอำพรางสัญญาแบ่งทรัพย์สินระหว่างสามีภริยานั้น เป็นเพียงการรับว่าจำเลยเคยให้ทรัพย์สินแก่โจทก์ เป็นการตอบข้อเท็จจริงนอกประเด็น ฎีกาจำเลยที่ว่า สัญญาให้ระหว่างโจทก์จำเลยเป็นนิติกรรมอำพรางโดยนิติกรรมที่แท้จริงคือสัญญาแบ่งทรัพย์สินระหว่างสามีภริยา จึงมิใช่เรื่องที่ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
โจทก์เป็นผู้ยกที่ดินให้จำเลยผู้เป็นภริยาระหว่างสมรส โจทก์มีสิทธิบอกล้างสัญญาระหว่างสมรสในเวลาใดก็ได้ระหว่างที่เป็นสามีภริยากันอยู่ โจทก์มีหนังสือบอกล้างไปถึงจำเลยเป็นการบอกล้างโดยชอบตาม ป.พ.พ. มาตรา 1469 ที่ได้ตรวจชำระใหม่ พ.ศ.2519 ซึ่งใช้บังคับในขณะนั้นแล้ว
แม้สิทธิบอกล้างจะเป็นสิทธิเฉพาะตัว แต่เมื่อมีการบอกล้างโดยชอบก่อนที่โจทก์จะถึงแก่กรรมแล้วจึงไม่เป็นสิทธิเฉพาะตัวอีกต่อไปและย่อมตกทอดไปยังทายาทของโจทก์ด้วย ทายาทของโจทก์จึงเข้าเป็นคู่ความแทนได้
จำเลยให้การว่าโจทก์ไม่เคยทำสัญญายกที่ดินตามฟ้องให้จำเลยมิได้ให้การต่อสู้ว่าสัญญาให้ของโจทก์เป็นนิติกรรมอำพรางสัญญาแบ่งทรัพย์สินระหว่างสามีภริยา และการที่โจทก์ตอบทนายจำเลยถามค้านว่า จำเลยได้โอนหุ้นบริษัท บ.รถยนต์ พันธบัตรรัฐบาลและให้เงินสดแก่โจทก์ แล้วโจทก์โอนที่ดินให้จำเลยเป็นการอำพรางสัญญาแบ่งทรัพย์สินระหว่างสามีภริยานั้น เป็นเพียงการรับว่าจำเลยเคยให้ทรัพย์สินแก่โจทก์ เป็นการตอบข้อเท็จจริงนอกประเด็น ฎีกาจำเลยที่ว่า สัญญาให้ระหว่างโจทก์จำเลยเป็นนิติกรรมอำพรางโดยนิติกรรมที่แท้จริงคือสัญญาแบ่งทรัพย์สินระหว่างสามีภริยา จึงมิใช่เรื่องที่ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
โจทก์เป็นผู้ยกที่ดินให้จำเลยผู้เป็นภริยาระหว่างสมรส โจทก์มีสิทธิบอกล้างสัญญาระหว่างสมรสในเวลาใดก็ได้ระหว่างที่เป็นสามีภริยากันอยู่ โจทก์มีหนังสือบอกล้างไปถึงจำเลยเป็นการบอกล้างโดยชอบตาม ป.พ.พ. มาตรา 1469 ที่ได้ตรวจชำระใหม่ พ.ศ.2519 ซึ่งใช้บังคับในขณะนั้นแล้ว
แม้สิทธิบอกล้างจะเป็นสิทธิเฉพาะตัว แต่เมื่อมีการบอกล้างโดยชอบก่อนที่โจทก์จะถึงแก่กรรมแล้วจึงไม่เป็นสิทธิเฉพาะตัวอีกต่อไปและย่อมตกทอดไปยังทายาทของโจทก์ด้วย ทายาทของโจทก์จึงเข้าเป็นคู่ความแทนได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5328/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ตั๋วสัญญาใช้เงินเมื่อทวงถาม: กำหนดอายุความ และประเด็นข้อต่อสู้
ตั๋วสัญญาใช้เงินพิพาทได้กำหนดไว้ชัดเจนว่าจำเลยที่ 1 สัญญาจะใช้เงินจำนวน 8,000,000 บาท แก่โจทก์เมื่อทวงถาม จึงเห็นได้ว่าวันถึงกำหนดใช้เงินของตั๋วสัญญาใช้เงินพิพาทหมายถึงวันที่โจทก์ทวงถามให้ใช้เงินตามความในตอนต้นของมาตรา 913 (3) เท่านั้น ไม่มีทางที่จะแปลว่าเป็นตั๋วสัญญาใช้เงินชนิดให้ใช้เงินเมื่อได้เห็นแต่อย่างใด
ตั๋วสัญญาใช้เงินที่ให้ใช้เงินเมื่อทวงถามมีความหมายและผลบังคับต่างกับตั๋วสัญญาใช้เงินเมื่อได้เห็น ฉะนั้นตั๋วสัญญาใช้เงินพิพาทซึ่งระบุให้ใช้เงินเมื่อทวงถามจึงไม่ตกอยู่ภายใต้บังคับของมาตรา 944 ประกอบด้วยมาตรา 985 วรรคแรก ที่จะต้องนำตั๋วยื่นเพื่อให้ใช้เงินภายใน 6 เดือน นับแต่วันที่ลงในตั๋ว
ตั๋วสัญญาใช้เงินพิพาทเป็นตั๋วสัญญาใช้เงินชนิดให้ใช้เงินเมื่อทวงถามวันที่โจทก์ทวงถามคือวันที่ 4 กันยายน 2528 จึงเป็นวันเริ่มต้นถึงกำหนดใช้เงิน เมื่อวันสุดท้ายแห่งอายุความเป็นวันอาทิตย์ที่ 4 กันยายน 2531 ซึ่งเป็นวันหยุดก็ต้องนับวันที่เริ่มทำงานใหม่เข้าด้วยตาม ป.พ.พ. มาตรา 161 (เดิม) โจทก์ฟ้องคดีนี้ในวันที่ 5 กันยายน2531 จึงยังไม่พ้นเวลาสามปี คดีโจทก์ไม่ขาดอายุความตาม มาตรา 1001
จำเลยฎีกาว่าตั๋วสัญญาใช้เงินพิพาทไม่มีมูลหนี้ แต่จำเลยทั้งสองให้การโดยมิได้ยกประเด็นข้อนี้เป็นข้อต่อสู้ ศาลชั้นต้นจึงไม่ได้กำหนดเป็นประเด็นข้อพิพาทไว้ แม้ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์จะยกขึ้นวินิจฉัย ก็เป็นการวินิจฉัยนอกประเด็นข้อต่อสู้ ถือว่าเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง
ตั๋วสัญญาใช้เงินที่ให้ใช้เงินเมื่อทวงถามมีความหมายและผลบังคับต่างกับตั๋วสัญญาใช้เงินเมื่อได้เห็น ฉะนั้นตั๋วสัญญาใช้เงินพิพาทซึ่งระบุให้ใช้เงินเมื่อทวงถามจึงไม่ตกอยู่ภายใต้บังคับของมาตรา 944 ประกอบด้วยมาตรา 985 วรรคแรก ที่จะต้องนำตั๋วยื่นเพื่อให้ใช้เงินภายใน 6 เดือน นับแต่วันที่ลงในตั๋ว
ตั๋วสัญญาใช้เงินพิพาทเป็นตั๋วสัญญาใช้เงินชนิดให้ใช้เงินเมื่อทวงถามวันที่โจทก์ทวงถามคือวันที่ 4 กันยายน 2528 จึงเป็นวันเริ่มต้นถึงกำหนดใช้เงิน เมื่อวันสุดท้ายแห่งอายุความเป็นวันอาทิตย์ที่ 4 กันยายน 2531 ซึ่งเป็นวันหยุดก็ต้องนับวันที่เริ่มทำงานใหม่เข้าด้วยตาม ป.พ.พ. มาตรา 161 (เดิม) โจทก์ฟ้องคดีนี้ในวันที่ 5 กันยายน2531 จึงยังไม่พ้นเวลาสามปี คดีโจทก์ไม่ขาดอายุความตาม มาตรา 1001
จำเลยฎีกาว่าตั๋วสัญญาใช้เงินพิพาทไม่มีมูลหนี้ แต่จำเลยทั้งสองให้การโดยมิได้ยกประเด็นข้อนี้เป็นข้อต่อสู้ ศาลชั้นต้นจึงไม่ได้กำหนดเป็นประเด็นข้อพิพาทไว้ แม้ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์จะยกขึ้นวินิจฉัย ก็เป็นการวินิจฉัยนอกประเด็นข้อต่อสู้ ถือว่าเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5133/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองปรปักษ์ต้องไม่ใช่การครอบครองแทนเจ้าของเดิม แม้ครอบครองนานก็ไม่ทำให้ได้กรรมสิทธิ์
โจทก์ครอบครองที่ดินพิพาทโดยอาศัยสิทธิของมารดาโจทก์เป็นการครอบครองที่ดินพิพาทแทนมารดาโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าของ มิใช่ยึดถือในฐานะเจ้าของ แม้โจทก์ครอบครองนานเพียงใดก็จะอ้างการครอบครองปรปักษ์มายันมารดาโจทก์ผู้เป็นเจ้าของที่ดินพิพาทเดิม และจำเลยผู้เป็นเจ้าของที่ดินพิพาทผู้รับโอนกรรมสิทธิ์ต่อมาจากมารดาโจทก์หาได้ไม่ โจทก์จึงไม่ได้กรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทโดยการครอบครองตาม ป.พ.พ. มาตรา 1382
คำขอท้ายฟ้องของโจทก์มีแต่คำขอเกี่ยวกับการครอบครองปรปักษ์เท่านั้น มิได้มีคำขอให้บังคับเกี่ยวกับเรื่องที่จำเลยใช้กลฉ้อฉลหลอกลวงมารดาโจทก์ให้โอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทแก่จำเลยแต่อย่างใด แม้วินิจฉัยข้อเท็จจริงตามที่โจทก์ฎีกาว่าจำเลยใช้กลฉ้อฉลหลอกลวงมารดาโจทก์ให้โอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทแก่จำเลย ก็ไม่ทำให้ผลของคดีเปลี่ยนแปลงไป ปัญหาข้อเท็จจริงดังกล่าวจึงไม่เป็นสาระแก่คดีอันควรได้รับวินิจฉัย
คำขอท้ายฟ้องของโจทก์มีแต่คำขอเกี่ยวกับการครอบครองปรปักษ์เท่านั้น มิได้มีคำขอให้บังคับเกี่ยวกับเรื่องที่จำเลยใช้กลฉ้อฉลหลอกลวงมารดาโจทก์ให้โอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทแก่จำเลยแต่อย่างใด แม้วินิจฉัยข้อเท็จจริงตามที่โจทก์ฎีกาว่าจำเลยใช้กลฉ้อฉลหลอกลวงมารดาโจทก์ให้โอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทแก่จำเลย ก็ไม่ทำให้ผลของคดีเปลี่ยนแปลงไป ปัญหาข้อเท็จจริงดังกล่าวจึงไม่เป็นสาระแก่คดีอันควรได้รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5024/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อจำกัดการฎีกาในประเด็นข้อเท็จจริงที่ศาลชั้นต้นตัดสินแล้ว และประเด็นใหม่ที่มิได้ยกขึ้นว่ากล่าว
ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อพิพาทว่า ที่ดินตาม ส.ค.1 เลขที่26 เป็นของโจทก์หรือจำเลย ดังนี้ ประเด็นข้อพิพาทดังกล่าวจึงคลุมไปถึงประเด็นตามคำให้การของจำเลยที่ให้การต่อสู้ว่า นิติกรรมการกู้ยืมเงินอำพรางนิติกรรมการซื้อขายที่ดินแล้ว
ส่วนที่จำเลยฎีกาโต้แย้งว่า สัญญากู้ยืมเงินเป็นนิติกรรมอำพรางการซื้อขายที่ดินพิพาท และเมื่อมารดาโจทก์ได้ส่งมอบการครอบครองที่ดินพิพาทให้แก่มารดาจำเลยและจำเลยครอบครองต่อมา ที่ดินจึงตกเป็นของจำเลยแล้วนั้นเป็นฎีกาที่โต้เถียงข้อเท็จจริงว่าที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์หรือจำเลยเป็นฎีกาในข้อเท็จจริงต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248 วรรคหนึ่ง และที่จำเลยฎีกาว่า สัญญากู้เงินไม่สมบูรณ์เพราะไม่มีพยานลงลายมือชื่อรับรองลายพิมพ์นิ้วมือของคู่สัญญา เป็นเอกสารที่รับฟังไม่ได้นั้น จำเลยมิได้ยกขึ้นว่ากล่าวกันมาในศาลชั้นต้น ต้องห้ามมิให้ฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249วรรคหนึ่ง
ส่วนที่จำเลยฎีกาโต้แย้งว่า สัญญากู้ยืมเงินเป็นนิติกรรมอำพรางการซื้อขายที่ดินพิพาท และเมื่อมารดาโจทก์ได้ส่งมอบการครอบครองที่ดินพิพาทให้แก่มารดาจำเลยและจำเลยครอบครองต่อมา ที่ดินจึงตกเป็นของจำเลยแล้วนั้นเป็นฎีกาที่โต้เถียงข้อเท็จจริงว่าที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์หรือจำเลยเป็นฎีกาในข้อเท็จจริงต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248 วรรคหนึ่ง และที่จำเลยฎีกาว่า สัญญากู้เงินไม่สมบูรณ์เพราะไม่มีพยานลงลายมือชื่อรับรองลายพิมพ์นิ้วมือของคู่สัญญา เป็นเอกสารที่รับฟังไม่ได้นั้น จำเลยมิได้ยกขึ้นว่ากล่าวกันมาในศาลชั้นต้น ต้องห้ามมิให้ฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4756/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ประเด็นการฟ้องที่ไม่ได้รับการวินิจฉัยจากศาลชั้นต้น แม้จำเลยอ้างเหตุไม่มีอำนาจฟ้อง
ข้อที่จำเลยฎีกาว่า โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องเพราะมิได้บอกกล่าวโดยชอบด้วยกฎหมายก่อนนั้น เมื่อตามฟ้องโจทก์บรรยายฟ้องชัดเจนว่า จำเลยได้ตัดต้นอ้อยออกจากที่ดินโจทก์ไปขายหมดแล้ว แต่จำเลยไม่ยอมคืนที่ดินให้แก่โจทก์ที่จำเลยให้การว่าตามฟ้องระบุว่ายังมีต้นอ้อยอยู่ในที่พิพาทจึงเป็นการบิดเบือนและที่จำเลยอ้างว่าโจทก์บอกกล่าวมิชอบด้วยกฎหมายและไม่มีสิทธิฟ้องจำเลยก็อาศัยเหตุว่ามีต้นอ้อยอยู่ในที่พิพาทเป็นหลัก เมื่อศาลชั้นต้นไม่ได้ตั้งเป็นประเด็นข้อพิพาท อีกทั้งจำเลยไม่ได้โต้แย้งไว้ จึงถือว่าเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้น ทั้งไม่เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเป็นสาระแก่คดีที่ควรได้รับการวินิจฉัยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ด้วย ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3206/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนังสือมอบอำนาจปลอมและการวินิจฉัยประเด็นนอกคำคู่ความ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำให้การต่อสู้เพียงว่า นายแสงชัย นายไชยยงค์ และนายเจริญจะเป็นกรรมการมีอำนาจกระทำการแทนโจทก์หรือไม่ เพียงใด จำเลยไม่รับรองและบุคคลทั้งสามจะมีความสามารถสมบูรณ์ตามกฎหมายเพียงใดหรือไม่ ขณะที่ทำหนังสือมอบอำนาจจำเลยไม่ทราบ ลายมือชื่อในหนังสือมอบอำนาจในช่องผู้มอบอำนาจ ไม่ใช่ลายมือชื่ออันแท้จริงของผู้มอบอำนาจ เป็นลายมือปลอม ตราประทับก็เป็นตราปลอมเท่านั้น คำให้การดังกล่าวในตอนแรกที่ว่ากรรมการของโจทก์ทั้งสามจะมีอำนาจกระทำแทนโจทก์หรือไม่เพียงใด จำเลยไม่รับรองนั้น เป็นคำให้การที่ไม่ชัดแจ้งถือว่าไม่ได้ให้การปฏิเสธจึงไม่มีประเด็นจะต้องวินิจฉัย ข้อเท็จจริงจึงต้องฟังว่านายแสงชัย นายไชยยงค์ และนายเจริญ เป็นกรรมการ ซึ่งกรรมการ 2 ใน 3ของจำนวนกรรมการดังกล่าวลงชื่อร่วมกันและประทับตราของบริษัทโจทก์มีอำนาจกระทำการแทนโจทก์ได้ตามฟ้อง การที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 3 วินิจฉัยในปัญหาว่านายแสงชัยกรรมการคนหนึ่งในจำนวนสองคนของโจทก์ที่ได้ลงชื่อร่วมกันมอบอำนาจให้นายจิรัฐฟ้องคดีนี้ได้ลาออกจากการเป็นกรรมการโจทก์แล้วหรือไม่จึงเป็นการวินิจฉัยที่ไม่ชอบ ถือว่าเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้น และศาลอุทธรณ์ภาค 3 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2813/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองปรปักษ์ไม่สมบูรณ์เนื่องจากยังมิได้จดทะเบียนซื้อขาย และข้อจำกัดในการฎีกาประเด็นใหม่
ส.ตกลงขายที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยที่ 1 โดย ส.มีเจตนาจะไปทำสัญญาซื้อขายและจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ให้แก่จำเลยที่ 1 ตามกฎหมายอีกครั้งหนึ่ง เมื่อการซื้อขายรายนี้ยังไม่ได้จดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ นิติกรรมซื้อขายย่อมไม่สมบูรณ์ตามกฎหมาย การที่จำเลยที่ 1 เข้าครอบครองที่ดินพิพาทจึงเป็นการครอบครองโดยอาศัยสิทธิของ ส.อันเป็นการยึดถือที่ดินพิพาทแทน ส.มิใช่ยึดถือในฐานะเป็นเจ้าของ แม้จะครอบครองติดต่อกันเป็นเวลาเกินสิบปีจำเลยที่ 1 ก็มิได้กรรมสิทธิ์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1382
แม้จำเลยที่ 1 จะให้การต่อสู้ไว้ในคำให้การว่า จำเลยที่ 1ปลูกสร้างอาคารในที่ดินพิพาทโดยสุจริต ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1310 ไม่จำต้องรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างออกไป แต่ศาลชั้นต้นมิได้ยกปัญหาดังกล่าวขึ้นวินิจฉัย และจำเลยที่ 1 มิได้ยกข้อนี้ขึ้นอุทธรณ์ในชั้นอุทธรณ์ จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลอุทธรณ์ ต้องห้ามมิให้ฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
แม้จำเลยที่ 1 จะให้การต่อสู้ไว้ในคำให้การว่า จำเลยที่ 1ปลูกสร้างอาคารในที่ดินพิพาทโดยสุจริต ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1310 ไม่จำต้องรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างออกไป แต่ศาลชั้นต้นมิได้ยกปัญหาดังกล่าวขึ้นวินิจฉัย และจำเลยที่ 1 มิได้ยกข้อนี้ขึ้นอุทธรณ์ในชั้นอุทธรณ์ จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลอุทธรณ์ ต้องห้ามมิให้ฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2750/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีของทบวงการเมือง: ราชบัณฑิตยสถานมีอำนาจฟ้องได้เองโดยไม่ต้องได้รับอนุญาตจากผู้บังคับบัญชา
ตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 216 เรื่อง ปรับปรุงกระทรวงทบวง กรม ลงวันที่ 29 กันยายน 2515 ข้อ 30 และข้อ 29 อันเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในขณะที่โจทก์ฟ้องคดีนี้ได้บัญญัติให้โจทก์เป็นส่วนราชการอิสระไม่สังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี กระทรวงหรือทบวงใด มีฐานะเป็นกรมและให้อยู่ในบังคับบัญชาของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ โจทก์จึงเป็นนิติบุคคลจำพวกทบวงการเมืองตามป.พ.พ. มาตรา 72 (เดิม) และ 73 (เดิม)
ส. นายกราชบัณฑิตยสถานได้ประชุมราชบัณฑิตทุกสำนักและจัดวางระเบียบการของราชบัณฑิตยสถานว่าด้วยการปฏิบัติงานทั่วไปของนายก อุปนายก และเลขาธิการราชบัณฑิตยสถานขึ้น โดยอาศัยอำนาจตามมาตรา 20 (2) ประกอบมาตรา 23 แห่ง พ.ร.บ.ราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2485 ระเบียบการดังกล่าวจึงชอบด้วยกฎหมาย ไม่เป็นโมฆะ ตามข้อ 6 ของระเบียบการของราชบัณฑิตยสถานกำหนดว่าให้นายกราชบัณฑิตยสถานเป็นผู้แทนราชบัณฑิตยสถานซึ่งเป็นนิติบุคคล ดังนั้น ตามกฎหมายและข้อบังคับว่าด้วยการจัดการควบคุมทบวงการเมืองโจทก์ จึงถือได้ว่าในขณะฟ้องคดีโจทก์มี บ.นายกราชบัณฑิตยสถานเป็นเป็นผู้แทนตาม ป.พ.พ. มาตรา 75 (เดิม)โจทก์โดย บ.นายกราชบัณฑิตยสถานย่อมมีอำนาจฟ้องคดีได้เองโดยตรง ไม่จำต้องได้รับอนุญาตจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการในฐานะผู้บังคับบัญชาก่อนโจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง(ปรีชา - เฉลิมวณิชย์ - สมาน เวทวินิจ - สังเวียน รัตนมุง)ศาลแพ่ง นายสุเมธ อุปนิสากรศาลอุทธรณ์ นายสุทธิ นิชโรจน์
นายปริญญา ดีผดุง - ตรวจ/ย่อ
นายวิชัย วิวิตเสวี - ผู้ช่วยผู้พิพากษาฯ
สุมาลี พ/ท
ส. นายกราชบัณฑิตยสถานได้ประชุมราชบัณฑิตทุกสำนักและจัดวางระเบียบการของราชบัณฑิตยสถานว่าด้วยการปฏิบัติงานทั่วไปของนายก อุปนายก และเลขาธิการราชบัณฑิตยสถานขึ้น โดยอาศัยอำนาจตามมาตรา 20 (2) ประกอบมาตรา 23 แห่ง พ.ร.บ.ราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2485 ระเบียบการดังกล่าวจึงชอบด้วยกฎหมาย ไม่เป็นโมฆะ ตามข้อ 6 ของระเบียบการของราชบัณฑิตยสถานกำหนดว่าให้นายกราชบัณฑิตยสถานเป็นผู้แทนราชบัณฑิตยสถานซึ่งเป็นนิติบุคคล ดังนั้น ตามกฎหมายและข้อบังคับว่าด้วยการจัดการควบคุมทบวงการเมืองโจทก์ จึงถือได้ว่าในขณะฟ้องคดีโจทก์มี บ.นายกราชบัณฑิตยสถานเป็นเป็นผู้แทนตาม ป.พ.พ. มาตรา 75 (เดิม)โจทก์โดย บ.นายกราชบัณฑิตยสถานย่อมมีอำนาจฟ้องคดีได้เองโดยตรง ไม่จำต้องได้รับอนุญาตจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการในฐานะผู้บังคับบัญชาก่อนโจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง(ปรีชา - เฉลิมวณิชย์ - สมาน เวทวินิจ - สังเวียน รัตนมุง)ศาลแพ่ง นายสุเมธ อุปนิสากรศาลอุทธรณ์ นายสุทธิ นิชโรจน์
นายปริญญา ดีผดุง - ตรวจ/ย่อ
นายวิชัย วิวิตเสวี - ผู้ช่วยผู้พิพากษาฯ
สุมาลี พ/ท