พบผลลัพธ์ทั้งหมด 14 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7072/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาต้องห้ามวินิจฉัย: ประเด็นใหม่นอกคำให้การ, สละสิทธิข้อต่อสู้, พยานประกอบดุลพินิจ
จำเลยฎีกาว่า ฟ้องโจทก์ไม่ชอบด้วยกฎหมาย เพราะการซื้อขายที่ดินระหว่างโจทก์จำเลยไม่มีหลักฐานเป็นหนังสือ มิได้ปฏิบัติให้ถูกต้องตามบทบัญญัติของกฎหมาย โจทก์จะฟ้องร้องบังคับคดีเอาแก่จำเลยไม่ได้ ฎีกาของจำเลยในข้อนี้แม้จำเลยจะยกขึ้นต่อสู้ไว้ในคำให้การ แต่ในชั้นพิจารณาของศาลชั้นต้นจำเลยก็ได้สละข้อต่อสู้ในประเด็นดังกล่าวไปแล้ว จึงถือเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 1 ต้องห้ามมิให้ฎีกาตามประมวล-กฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคแรก ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้
ที่จำเลยฎีกาว่า คำเบิกความของนาย ว. พยานโจทก์ไม่มีน้ำหนักให้รับฟังได้นั้น เห็นว่า เมื่อจำเลยยอมรับในฎีกาว่าจำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญามาตั้งแต่เริ่มแรก แต่อ้างว่าโจทก์ไม่ได้บอกเลิกสัญญาแก่จำเลย คำเบิกความของนาย ว. พยานโจทก์ดังกล่าวซึ่งศาลล่างทั้งสองก็ได้รับฟังประกอบดุลพินิจที่ฟังว่าจำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญา ฎีกาของจำเลยที่โต้แย้งคำเบิกความของนาย ว. พยานโจทก์และในส่วนอื่นอันเกี่ยวเนื่องกัน จึงเป็นฎีกาที่ไม่เป็นสาระแก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัย
ส่วนที่จำเลยฎีกาขอให้โจทก์ใช้ค่าแรงงานให้จำเลยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1312 ประกอบมาตรา 1317 นั้น เป็นฎีกาที่จำเลยยกข้อเท็จจริงขึ้นใหม่ ซึ่งมิได้กล่าวไว้ในคำให้การ จึงเป็นฎีกาที่นอกเหนือไปจากคำให้การ ถือว่าเป็นฎีกาที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 1 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้เช่นเดียวกัน
ที่จำเลยฎีกาว่า คำเบิกความของนาย ว. พยานโจทก์ไม่มีน้ำหนักให้รับฟังได้นั้น เห็นว่า เมื่อจำเลยยอมรับในฎีกาว่าจำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญามาตั้งแต่เริ่มแรก แต่อ้างว่าโจทก์ไม่ได้บอกเลิกสัญญาแก่จำเลย คำเบิกความของนาย ว. พยานโจทก์ดังกล่าวซึ่งศาลล่างทั้งสองก็ได้รับฟังประกอบดุลพินิจที่ฟังว่าจำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญา ฎีกาของจำเลยที่โต้แย้งคำเบิกความของนาย ว. พยานโจทก์และในส่วนอื่นอันเกี่ยวเนื่องกัน จึงเป็นฎีกาที่ไม่เป็นสาระแก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัย
ส่วนที่จำเลยฎีกาขอให้โจทก์ใช้ค่าแรงงานให้จำเลยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1312 ประกอบมาตรา 1317 นั้น เป็นฎีกาที่จำเลยยกข้อเท็จจริงขึ้นใหม่ ซึ่งมิได้กล่าวไว้ในคำให้การ จึงเป็นฎีกาที่นอกเหนือไปจากคำให้การ ถือว่าเป็นฎีกาที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 1 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้เช่นเดียวกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6810/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจะซื้อขายที่ดินจัดสรรภายในระยะห้ามโอนเป็นโมฆะ แม้เจตนาจะจดทะเบียนภายหลัง
ที่ดินที่เจ้าของกรรมสิทธิ์ได้มาตาม พ.ร.บ. จัดสรรที่ดินเพื่อการครองชีพ พ.ศ.2511 นั้น ภายในกำหนดเวลาห้าปีนับแต่วันได้รับโอนที่ดิน ผู้ได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์ในที่ดินจะโอนที่ดินนั้นไปยังผู้อื่นไม่ได้ นอกจากตกทอดโดยทางมรดกหรือโอนไปยังสหกรณ์ที่ตนเป็นสมาชิกอยู่แล้วแต่กรณี และที่ดินประเภทนี้ก็ไม่อยู่ในความรับผิดแห่งการบังคับคดี การที่โจทก์กับจำเลยทำสัญญาอันมีผลเป็นการโอนสิทธิในที่พิพาทโดยส่งมอบการครอบครองให้แก่กัน ภายในกำหนดระยะเวลาห้ามโอนตามกฎหมาย แม้จะเป็นสัญญาจะซื้อขาย และโจทก์กับจำเลยมีเจตนาจะจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่พิพาทกันภายหลังเมื่อครบกำหนดเวลาห้ามโอนตามกฎหมายแล้วก็ตามก็เป็นนิติกรรมที่มีวัตถุประสงค์เป็นการต้องห้ามชัดแจ้งตามกฎหมาย สัญญาจะซื้อขายที่ดินพิพาทระหว่างโจทก์กับจำเลยจึงตกเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ. มาตรา 113 (เดิม),140 (ใหม่)
จำเลยฎีกาว่าคดีเกี่ยวกับที่ดินอันเป็นที่ทำกินของประชาชนซึ่งมีราคาสูงขึ้น ผู้ทำสัญญาจะขายมักจะบ่ายเบี่ยงไม่ยอมขาย ทำให้เกิดความไม่ชอบธรรมในสังคม ศาลชอบที่จะหยิบยกเรื่องอำนาจฟ้องขึ้นวินิจฉัยนั้น เป็นฎีกาที่มิได้โต้แย้งคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ และมิได้กล่าวไว้โดยชัดแจ้ง ไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ.มาตรา 249 วรรคแรก
จำเลยฎีกาว่าคดีเกี่ยวกับที่ดินอันเป็นที่ทำกินของประชาชนซึ่งมีราคาสูงขึ้น ผู้ทำสัญญาจะขายมักจะบ่ายเบี่ยงไม่ยอมขาย ทำให้เกิดความไม่ชอบธรรมในสังคม ศาลชอบที่จะหยิบยกเรื่องอำนาจฟ้องขึ้นวินิจฉัยนั้น เป็นฎีกาที่มิได้โต้แย้งคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ และมิได้กล่าวไว้โดยชัดแจ้ง ไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ.มาตรา 249 วรรคแรก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6559/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในที่ดินพิพาท: ผู้ครอบครองยังไม่เป็นผู้มีส่วนได้เสียในการถอนการยึดจากการล้มละลาย
ผู้ร้องเคยยื่นคำร้องขอให้ปล่อยทรัพย์พิพาทรายเดียวกันในคดีแพ่ง ซึ่งถึงที่สุดโดยศาลฎีกาวินิจฉัยว่า ที่ดินพิพาทเป็นของจำเลยไม่ใช่ของผู้ร้องข้อเท็จจริงจึงฟังได้ว่าที่ดินพิพาทไม่ใช่ของผู้ร้อง
แม้ที่ดินพิพาทจะมีพระราชกฤษฎีกากำหนดให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม และผู้ร้องเป็นผู้ครอบครองที่ดินพิพาท ผู้ร้องมีคุณสมบัติครบถ้วนตามระเบียบหลักเกณฑ์และวิธีการคัดเลือกเกษตรกรเข้าทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทนั้น แต่สำนักงานปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมและคณะกรรมการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมได้รอการพิจารณาคำร้องขอเข้าอยู่อาศัยและทำประโยชน์ของผู้ร้องไว้ เพราะที่ดินพิพาทถูกยึด ผู้ร้องจึงยังไม่ได้รับสิทธิให้ครอบครองและทำประโยชน์ในที่ดินพิพาท ยังไม่อยู่ในฐานะเป็นผู้มีส่วนได้เสียที่จะมีสิทธิร้องขอให้มีคำสั่งว่าที่ดินพิพาทไม่อยู่ในความรับผิดแห่งการบังคับคดีและให้ถอนการยึดตามพ.ร.บ. ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 158 ต้องยกคำร้องขอ คดีไม่จำต้องวินิจฉัยว่า กรณีเป็นการร้องซ้ำหรือดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำตามฎีกาของผู้ร้องต่อไป เพราะไม่ทำให้ผลของคดีเปลี่ยนแปลงไป
แม้ที่ดินพิพาทจะมีพระราชกฤษฎีกากำหนดให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม และผู้ร้องเป็นผู้ครอบครองที่ดินพิพาท ผู้ร้องมีคุณสมบัติครบถ้วนตามระเบียบหลักเกณฑ์และวิธีการคัดเลือกเกษตรกรเข้าทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทนั้น แต่สำนักงานปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมและคณะกรรมการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมได้รอการพิจารณาคำร้องขอเข้าอยู่อาศัยและทำประโยชน์ของผู้ร้องไว้ เพราะที่ดินพิพาทถูกยึด ผู้ร้องจึงยังไม่ได้รับสิทธิให้ครอบครองและทำประโยชน์ในที่ดินพิพาท ยังไม่อยู่ในฐานะเป็นผู้มีส่วนได้เสียที่จะมีสิทธิร้องขอให้มีคำสั่งว่าที่ดินพิพาทไม่อยู่ในความรับผิดแห่งการบังคับคดีและให้ถอนการยึดตามพ.ร.บ. ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 158 ต้องยกคำร้องขอ คดีไม่จำต้องวินิจฉัยว่า กรณีเป็นการร้องซ้ำหรือดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำตามฎีกาของผู้ร้องต่อไป เพราะไม่ทำให้ผลของคดีเปลี่ยนแปลงไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6316/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การละเมิดเครื่องหมายการค้า: การเลียนแบบที่ทำให้เกิดความสับสน
ฎีกาของจำเลยทั้งสองมิได้โต้แย้งคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ว่า คำพิพากษาศาลอุทธรณ์วินิจฉัยไม่ถูกต้องด้วยเหตุใด คงกล่าวอ้างแต่เพียงว่าเครื่องหมายการค้าของโจทก์และของจำเลยทั้งสองมีลักษณะแตกต่างกันเห็นได้ชัดเจนเท่านั้น จะแตกต่างกันส่วนไหน อย่างไร จึงเห็นได้ชัดเจนไม่ได้ระบุไว้ ดังนี้ถือไม่ได้ว่าเป็นการกล่าวอ้างข้อเท็จจริงโดยชัดแจ้งในฎีกา เป็นฎีกาที่ไม่ชอบด้วยป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคแรก ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
โจทก์จดทะเบียนและใช้เครื่องหมายการค้าคำว่า "BEE BYFARRIS" และรูปหัวคนอินเดียนแดงกับกางเกงยีนของโจทก์มาตั้งแต่ปี 2525 จำเลยที่ 2 มีอาชีพขายเสื้อผ้ามานานถึงประมาณ 50 ปี ย่อมทราบว่าโจทก์ได้ใช้เครื่องหมาย-การค้าของโจทก์มาก่อน จำเลยทั้งสองนำเอาเครื่องหมายการค้าของโจทก์มาทำการดัดแปลงใช้กับสินค้าประเภทกางเกงยีนเช่นเดียวกับโจทก์ จำเลยที่ 2 มิได้คิดประดิษฐ์เครื่องหมายการค้าดังกล่าวของตนขึ้นเอง จำเลยทั้งสองใช้เครื่องหมายการค้ากับสินค้ากางเกงยีนในลักษณะเป็นตราสลากติดกับสินค้าเช่นเดียวกันกับการใช้เครื่องหมาย-การค้าของโจทก์ แม้จะมีลักษณะของตัวอักษรคำว่า "Lee man" กับคำว่า "BEE BYFARRIS" กำกับอยู่แตกต่างกัน แต่คำว่า "Lee" ในเครื่องหมายการค้าของจำเลยกับคำว่า "BEE" ในเครื่องหมายการค้าของโจทก์ที่จดทะเบียนไว้แล้ว ประกอบด้วยตัวอักษรเกือบเหมือนกันทุกตัว แตกต่างกันเฉพาะตัวอักษรตัวแรกระหว่าง L กับ Bเท่านั้น เครื่องหมายทั้งสองอาจเรียกขานได้ว่า ตราศีรษะอินเดียนแดงเหมือนกันเมื่อใช้กับสินค้ากางเกงยีนเช่นเดียวกัน ย่อมแสดงให้เห็นว่าจำเลยทั้งสองจงใจเลียนแบบเครื่องหมายการค้าของโจทก์เพื่อให้ผู้อื่นหลงเชื่อว่าสินค้าของจำเลยทั้งสองเป็นสินค้า /สินค้าของโจทก์ การกระทำของจำเลยทั้งสองจึงเป็นการละเมิดสิทธิในเครื่องหมาย-การค้าของโจทก์
เมื่อจำเลยทั้งสองได้ทำละเมิดต่อโจทก์และโจทก์ได้รับความเสียหาย แม้โจทก์นำสืบว่าความเสียหายของโจทก์มีมากน้อยเพียงใดไม่ได้แต่ศาลก็มีอำนาจกำหนดค่าสินไหมทดแทนให้ตามควรแก่พฤติการณ์และความร้ายแรงแห่งละเมิด
โจทก์จดทะเบียนและใช้เครื่องหมายการค้าคำว่า "BEE BYFARRIS" และรูปหัวคนอินเดียนแดงกับกางเกงยีนของโจทก์มาตั้งแต่ปี 2525 จำเลยที่ 2 มีอาชีพขายเสื้อผ้ามานานถึงประมาณ 50 ปี ย่อมทราบว่าโจทก์ได้ใช้เครื่องหมาย-การค้าของโจทก์มาก่อน จำเลยทั้งสองนำเอาเครื่องหมายการค้าของโจทก์มาทำการดัดแปลงใช้กับสินค้าประเภทกางเกงยีนเช่นเดียวกับโจทก์ จำเลยที่ 2 มิได้คิดประดิษฐ์เครื่องหมายการค้าดังกล่าวของตนขึ้นเอง จำเลยทั้งสองใช้เครื่องหมายการค้ากับสินค้ากางเกงยีนในลักษณะเป็นตราสลากติดกับสินค้าเช่นเดียวกันกับการใช้เครื่องหมาย-การค้าของโจทก์ แม้จะมีลักษณะของตัวอักษรคำว่า "Lee man" กับคำว่า "BEE BYFARRIS" กำกับอยู่แตกต่างกัน แต่คำว่า "Lee" ในเครื่องหมายการค้าของจำเลยกับคำว่า "BEE" ในเครื่องหมายการค้าของโจทก์ที่จดทะเบียนไว้แล้ว ประกอบด้วยตัวอักษรเกือบเหมือนกันทุกตัว แตกต่างกันเฉพาะตัวอักษรตัวแรกระหว่าง L กับ Bเท่านั้น เครื่องหมายทั้งสองอาจเรียกขานได้ว่า ตราศีรษะอินเดียนแดงเหมือนกันเมื่อใช้กับสินค้ากางเกงยีนเช่นเดียวกัน ย่อมแสดงให้เห็นว่าจำเลยทั้งสองจงใจเลียนแบบเครื่องหมายการค้าของโจทก์เพื่อให้ผู้อื่นหลงเชื่อว่าสินค้าของจำเลยทั้งสองเป็นสินค้า /สินค้าของโจทก์ การกระทำของจำเลยทั้งสองจึงเป็นการละเมิดสิทธิในเครื่องหมาย-การค้าของโจทก์
เมื่อจำเลยทั้งสองได้ทำละเมิดต่อโจทก์และโจทก์ได้รับความเสียหาย แม้โจทก์นำสืบว่าความเสียหายของโจทก์มีมากน้อยเพียงใดไม่ได้แต่ศาลก็มีอำนาจกำหนดค่าสินไหมทดแทนให้ตามควรแก่พฤติการณ์และความร้ายแรงแห่งละเมิด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6164/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องแทน, การแก้ไขคำฟ้อง, และการพิสูจน์หนี้: ศาลฎีกาวินิจฉัยประเด็นการฟ้องร้องและการแก้ไขคำฟ้องในคดีหนี้สิน
หนังสือมอบอำนาจระบุให้ อ. ดำเนินคดีทางศาลแทนโจทก์ได้ทั่วไปในคดีทุกชนิด ทั้งคดีแพ่ง คดีอาญา และคดีล้มละลาย จึงเป็นหนังสือมอบอำนาจทั่วไป แม้โจทก์จะได้มอบอำนาจโดยมิได้ระบุให้ฟ้องผู้ใดเป็นจำเลย และมอบอำนาจไว้นานเพียงใด อ. ก็มีอำนาจฟ้องจำเลยแทนโจทก์โดยไม่จำต้องมีหนังสืออนุญาตจากโจทก์ให้ฟ้องจำเลยอีก
ฟ้องโจทก์ได้บรรยายถึงจำนวนหนี้พร้อมดอกเบี้ยที่จำเลยค้างชำระโจทก์แจ้งชัดพอที่จำเลยจะเข้าใจแล้ว ส่วนโจทก์จะคิดดอกเบี้ยอย่างไร จากยอดเงินใด ระยะเวลาเท่าใด เป็นรายละเอียดที่โจทก์สามารถนำสืบในชั้นพิจารณาและแสดงหลักฐานต่าง ๆ ประกอบข้อเท็จจริงในฟ้องได้ หาทำให้จำเลยเสียเปรียบในการต่อสู้คดีไม่ ฟ้องโจทก์ไม่เคลือบคลุม
เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่า จำเลยยังติดค้างหนี้โจทก์เฉพาะต้นเงินยังไม่รวมดอกเบี้ยจำนวน 2,703,000 บาทเศษ แม้จำเลยจะยังโต้เถียงอยู่ว่าโจทก์คำนวณดอกเบี้ยไม่ถูกต้อง ก็ถือได้ว่าจำเลยเป็นหนี้โจทก์ซึ่งอาจกำหนดจำนวนได้แน่นอนไม่น้อยกว่า 500,000 บาท
โจทก์ขอแก้ไขจำนวนหนี้ในฟ้องให้ถูกต้องตามความเป็นจริงเมื่อแก้แล้วจำนวนหนี้โดยเฉพาะต้นเงินก็ยังไม่น้อยกว่า 500,000 บาท ตามเดิมและในเรื่องนี้ศาลฎีกาก็วินิจฉัยไว้เพียงว่าจำเลยเป็นหนี้โจทก์ในต้นเงินไม่น้อยกว่า500,000 บาท โดยมิได้ชี้ชัดในชั้นนี้ว่ายอดหนี้ทั้งหมดที่ถูกต้องเป็นเท่าใด เพราะจะต้องไปว่ากันในชั้นขอรับชำระหนี้ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์อยู่แล้ว ฉะนั้นฎีกาของจำเลยที่ว่าศาลชั้นต้นอนุญาตให้โจทก์แก้ไขคำฟ้องภายหลังสืบพยานโจทก์เสร็จแล้วเป็นการไม่ชอบ จึงไม่เป็นสาระแก่คดี เพราะไม่ทำให้ผลแห่งคดีเปลี่ยนแปลงไม่ว่าจะอนุญาตให้แก้ไขคำฟ้องหรือไม่ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
จำเลยคงมีแต่พยานบุคคลมาสืบต่อสู้ว่าชำระหนี้ให้โจทก์ครบถ้วนแล้วโดยไม่ปรากฏว่าได้อ้างอิงพยานเอกสารแสดงถึงการชำระหนี้ หากให้จำเลยนำพยานบุคคลมาสืบอีกในประเด็นนี้ก็ไม่ทำให้การวินิจฉัยคดีเปลี่ยนแปลงไป ฉะนั้น ที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งตัดพยานบุคคลของจำเลยที่จะนำสืบในประเด็นดังกล่าวจึงชอบแล้ว
ฟ้องโจทก์ได้บรรยายถึงจำนวนหนี้พร้อมดอกเบี้ยที่จำเลยค้างชำระโจทก์แจ้งชัดพอที่จำเลยจะเข้าใจแล้ว ส่วนโจทก์จะคิดดอกเบี้ยอย่างไร จากยอดเงินใด ระยะเวลาเท่าใด เป็นรายละเอียดที่โจทก์สามารถนำสืบในชั้นพิจารณาและแสดงหลักฐานต่าง ๆ ประกอบข้อเท็จจริงในฟ้องได้ หาทำให้จำเลยเสียเปรียบในการต่อสู้คดีไม่ ฟ้องโจทก์ไม่เคลือบคลุม
เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่า จำเลยยังติดค้างหนี้โจทก์เฉพาะต้นเงินยังไม่รวมดอกเบี้ยจำนวน 2,703,000 บาทเศษ แม้จำเลยจะยังโต้เถียงอยู่ว่าโจทก์คำนวณดอกเบี้ยไม่ถูกต้อง ก็ถือได้ว่าจำเลยเป็นหนี้โจทก์ซึ่งอาจกำหนดจำนวนได้แน่นอนไม่น้อยกว่า 500,000 บาท
โจทก์ขอแก้ไขจำนวนหนี้ในฟ้องให้ถูกต้องตามความเป็นจริงเมื่อแก้แล้วจำนวนหนี้โดยเฉพาะต้นเงินก็ยังไม่น้อยกว่า 500,000 บาท ตามเดิมและในเรื่องนี้ศาลฎีกาก็วินิจฉัยไว้เพียงว่าจำเลยเป็นหนี้โจทก์ในต้นเงินไม่น้อยกว่า500,000 บาท โดยมิได้ชี้ชัดในชั้นนี้ว่ายอดหนี้ทั้งหมดที่ถูกต้องเป็นเท่าใด เพราะจะต้องไปว่ากันในชั้นขอรับชำระหนี้ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์อยู่แล้ว ฉะนั้นฎีกาของจำเลยที่ว่าศาลชั้นต้นอนุญาตให้โจทก์แก้ไขคำฟ้องภายหลังสืบพยานโจทก์เสร็จแล้วเป็นการไม่ชอบ จึงไม่เป็นสาระแก่คดี เพราะไม่ทำให้ผลแห่งคดีเปลี่ยนแปลงไม่ว่าจะอนุญาตให้แก้ไขคำฟ้องหรือไม่ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
จำเลยคงมีแต่พยานบุคคลมาสืบต่อสู้ว่าชำระหนี้ให้โจทก์ครบถ้วนแล้วโดยไม่ปรากฏว่าได้อ้างอิงพยานเอกสารแสดงถึงการชำระหนี้ หากให้จำเลยนำพยานบุคคลมาสืบอีกในประเด็นนี้ก็ไม่ทำให้การวินิจฉัยคดีเปลี่ยนแปลงไป ฉะนั้น ที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งตัดพยานบุคคลของจำเลยที่จะนำสืบในประเด็นดังกล่าวจึงชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5449/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาขัดแย้งและข้อหาไม่ชอบด้วยกฎหมาย: ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
ตามฎีกาของโจทก์ตอนแรกโจทก์กล่าวมาในฎีกาว่าคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ยังคลาดเคลื่อนอยู่ทั้งข้อเท็จจริงและข้อกฎหมาย แต่อีกตอนหนึ่งโจทก์กลับกล่าวเป็นทำนองเห็นด้วยกับคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ว่า ศาลชั้นต้นพิพากษาว่าสัญญาดังกล่าวถูกต้องเป็นสัญญาที่สมบูรณ์โดยชอบด้วยกฎหมาย ฎีกาของโจทก์จึงขัดแย้งกัน อีกทั้งมิได้คัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ว่าตีความสัญญาไม่ถูกต้องผิดจากที่คู่กรณีบ่งชี้ไว้อย่างไร และโจทก์ไม่เห็นด้วยกับคำพิพากษาศาลอุทธรณ์เพราะเหตุใด ถือว่าเป็นฎีกาที่ไม่ชัดแจ้ง ส่วนที่โจทก์ฎีกาขอให้โจทก์ได้มีสิทธิเข้าไปปรับปรุงทำถนนในที่พิพาทซึ่งยังค้างอยู่ต่อไปนั้น เนื่องจากคดีนี้โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยทั้งสองโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินตามสัญญาซื้อขายให้แก่โจทก์ คำขอตามฎีกาของโจทก์ดังกล่าวจึงเป็นข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ฎีกาของโจทก์จึงเป็นฎีกาที่ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา249 วรรคแรก ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย เมื่อฎีกาของโจทก์ต้องห้ามดังวินิจฉัยมาปัญหาตามฎีกาของโจทก์ในข้อที่ว่า โจทก์ได้ทำถนนเข้าไปในที่ดินพิพาทแล้วหรือไม่จึงไม่เป็นสาระแก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3379/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยกข้อต่อสู้เรื่องเอกสารปลอมและการนำสืบพยานนอกคำให้การในคดีค้ำประกัน
จำเลยที่ 2 ให้การปฏิเสธฟ้องโจทก์ว่าจำเลยที่ 2 ไม่เคยทำสัญญาค้ำประกันกับโจทก์ สัญญาค้ำประกันตามเอกสารท้ายฟ้องเป็นเอกสารปลอม และไม่ว่ากรณีจะเป็นอย่างไร หากจำเลยที่ 2 จะต้องรับผิดต่อโจทก์แล้วก็จะต้องรับผิดไม่เกิน 150,000 บาท ดังนี้คำให้การจำเลยที่ 2 ตอนต้นเป็นการโต้เถียงข้อเท็จจริงส่วนตอนหลังเป็นเรื่องปัญหาข้อกฎหมายว่าจะต้องรับผิดต่อโจทก์เพียงใด หาได้ขัดกันไม่จึงมีประเด็นที่จะต้องวินิจฉัยต่อไปว่า จำเลยที่ 2 ได้ทำสัญญาค้ำประกันหรือไม่ และจะต้องรับผิดต่อโจทก์เพียงใด
คำให้การของจำเลยทื่ 2 ดังกล่าว ไม่ได้ให้การในรายละเอียดว่าลายมือชื่อผู้ค้ำประกันในเอกสารท้ายฟ้องดังกล่าวไม่ใช่ลายมือชื่อจำเลยที่ 2จำเลยที่ 2 ไม่มีสิทธินำสืบว่าลายมือชื่อในสัญญาค้ำประกันไม่ใช่ของจำเลยที่ 2 ข้อนำสืบของจำเลยที่ 2 ดังกล่าวเป็นเรื่องนอกคำให้การ จึงรับฟังไม่ได้
จำเลยที่ 2 ฎีกาว่า ให้ถือเอาคำฟ้องอุทธรณ์ของจำเลยที่ 2เป็นคำฟ้องฎีกาของจำเลยที่ 2 ด้วยนั้น เป็นฎีกาที่ไม่ชัดแจ้ง เป็นฎีกาที่ไม่ชอบจึงไม่มีประเด็นที่จะต้องวินิจฉัย
คำให้การของจำเลยทื่ 2 ดังกล่าว ไม่ได้ให้การในรายละเอียดว่าลายมือชื่อผู้ค้ำประกันในเอกสารท้ายฟ้องดังกล่าวไม่ใช่ลายมือชื่อจำเลยที่ 2จำเลยที่ 2 ไม่มีสิทธินำสืบว่าลายมือชื่อในสัญญาค้ำประกันไม่ใช่ของจำเลยที่ 2 ข้อนำสืบของจำเลยที่ 2 ดังกล่าวเป็นเรื่องนอกคำให้การ จึงรับฟังไม่ได้
จำเลยที่ 2 ฎีกาว่า ให้ถือเอาคำฟ้องอุทธรณ์ของจำเลยที่ 2เป็นคำฟ้องฎีกาของจำเลยที่ 2 ด้วยนั้น เป็นฎีกาที่ไม่ชัดแจ้ง เป็นฎีกาที่ไม่ชอบจึงไม่มีประเด็นที่จะต้องวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2271/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขัดขวางกระบวนการยุติธรรมและการละเมิดอำนาจศาล: ข้อจำกัดในการอุทธรณ์
ฎีกาของโจทก์ที่ว่า ศาลอุทธรณ์มิได้ยกเลิกข้อกำหนดตามป.วิ.พ. มาตรา 30, 31, และมาตรา 33 คงให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นทำให้โจทก์ไม่สามารถดำเนินกระบวนพิจารณาในศาลชั้นต้นต่อไปได้ เพราะโจทก์ได้คัดค้านไว้แล้ว ขอให้ยกเลิกข้อกำหนดของศาลชั้นต้นเสียนั้น โจทก์มิได้อุทธรณ์ในปัญหาข้อนี้ขึ้นมาในชั้นอุทธรณ์ จึงเป็นข้อที่มิได้ว่ากล่าวกันมาแล้วในชั้นอุทธรณ์ต้องห้ามฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคแรก ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
การที่ศาลออกข้อกำหนดก็เพื่อให้กระบวนพิจารณาดำเนินไปตามความเที่ยงธรรมและรวดเร็ว ที่ศาลชั้นต้นออกข้อกำหนดมิให้โจทก์ลุกขึ้นแถลงการณ์ใด ๆ ในขณะที่ศาลจดรายงานกระบวนพิจารณาอยู่อันจะเป็นการขัดขวางทำให้กระบวนพิจารณาไม่อาจดำเนินไปได้โดยรวดเร็ว เหตุที่ออกข้อกำหนดเพราะโจทก์ได้กระทำหลายครั้งแล้ว เมื่อศาลชั้นต้นออกข้อกำหนด โจทก์มิได้นำพาต่อข้อกำหนดของศาล ยังลุกขึ้นแถลงโดยศาลมิได้อนุญาต และขอให้ศาลบันทึกในรายงาน-กระบวนพิจารณาอีก โจทก์ย่อมทราบถึงการกระทำของตนดีว่าเป็นการขัดขวางทำให้กระบวนพิจารณาไม่อาจดำเนินไปได้โดยรวดเร็ว ย่อมเป็นการละเมิดอำนาจศาลจะอ้างว่ากระทำไปโดยไม่รู้ว่ามีความผิดไม่ได้
การที่ศาลออกข้อกำหนดก็เพื่อให้กระบวนพิจารณาดำเนินไปตามความเที่ยงธรรมและรวดเร็ว ที่ศาลชั้นต้นออกข้อกำหนดมิให้โจทก์ลุกขึ้นแถลงการณ์ใด ๆ ในขณะที่ศาลจดรายงานกระบวนพิจารณาอยู่อันจะเป็นการขัดขวางทำให้กระบวนพิจารณาไม่อาจดำเนินไปได้โดยรวดเร็ว เหตุที่ออกข้อกำหนดเพราะโจทก์ได้กระทำหลายครั้งแล้ว เมื่อศาลชั้นต้นออกข้อกำหนด โจทก์มิได้นำพาต่อข้อกำหนดของศาล ยังลุกขึ้นแถลงโดยศาลมิได้อนุญาต และขอให้ศาลบันทึกในรายงาน-กระบวนพิจารณาอีก โจทก์ย่อมทราบถึงการกระทำของตนดีว่าเป็นการขัดขวางทำให้กระบวนพิจารณาไม่อาจดำเนินไปได้โดยรวดเร็ว ย่อมเป็นการละเมิดอำนาจศาลจะอ้างว่ากระทำไปโดยไม่รู้ว่ามีความผิดไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1599/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อัตราดอกเบี้ยตามคำพิพากษาคงเดิม แม้ธปท. เปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ย และประเด็นหนี้สินล้นพ้นตัวไม่จำเป็นวินิจฉัย
การคิดอัตราดอกเบี้ยตามคำพิพากษาอันถึงที่สุดแล้ว แม้ธนาคารแห่งประเทศไทยจะประกาศกำหนดอัตราดอกเบี้ยให้สูงหรือต่ำกว่าอัตราดอกเบี้ยตามคำพิพากษาดังกล่าวในภายหลัง ก็ไม่ทำให้อัตราดอกเบี้ยตามคำ-พิพากษานั้นมีผลเปลี่ยนแปลงไป โจทก์คิดอัตราดอกเบี้ยจากจำเลยได้ตามคำพิพากษา
เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้แล้วว่าจำเลยเป็นผู้มีหนี้สินล้นพ้นตัวปัญหาที่ว่าจำเลยจะได้รับหนังสือทวงถามครั้งที่ 2 ของโจทก์หรือไม่ จึงไม่เป็นสาระแก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัย เพราะไม่อาจทำให้ข้อเท็จจริงที่ฟังได้ว่าจำเลยเป็นผู้มีหนี้สินล้นพ้นตัวมีผลเปลี่ยนแปลงไป ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้แล้วว่าจำเลยเป็นผู้มีหนี้สินล้นพ้นตัวปัญหาที่ว่าจำเลยจะได้รับหนังสือทวงถามครั้งที่ 2 ของโจทก์หรือไม่ จึงไม่เป็นสาระแก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัย เพราะไม่อาจทำให้ข้อเท็จจริงที่ฟังได้ว่าจำเลยเป็นผู้มีหนี้สินล้นพ้นตัวมีผลเปลี่ยนแปลงไป ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1524/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อจำกัดการฎีกา: ประเด็นข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายที่มิได้ยกขึ้นในศาลอุทธรณ์
การโต้เถียงเรื่องวันเวลาในการเข้าแย่งการครอบครองที่พิพาทว่าเมื่อใดเป็นการโต้เถียงข้อเท็จจริง คดีนี้เป็นคดีฟ้องขับไล่จำเลยออกจากอสังหาริมทรัพย์ อันอาจให้เช่าได้ในขณะที่ยื่นคำฟ้องเดือนละไม่เกิน 10,000 บาทต้องห้ามฎีกาในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ. มาตรา 248 วรรคสอง
ปัญหาข้อกฎหมายซึ่งเกิดขึ้นตั้งแต่ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาจำเลยสามารถยกปัญหาข้อกฎหมายนั้นขึ้นอุทธรณ์ได้ แต่จำเลยหาได้ยกขึ้นกล่าวอ้างในอุทธรณ์ของจำเลยไม่ จึงเป็นข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาล-อุทธรณ์ ต้องห้ามฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคแรก
ปัญหาข้อกฎหมายซึ่งเกิดขึ้นตั้งแต่ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาจำเลยสามารถยกปัญหาข้อกฎหมายนั้นขึ้นอุทธรณ์ได้ แต่จำเลยหาได้ยกขึ้นกล่าวอ้างในอุทธรณ์ของจำเลยไม่ จึงเป็นข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาล-อุทธรณ์ ต้องห้ามฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคแรก