พบผลลัพธ์ทั้งหมด 53 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4632/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแต่งตั้งผู้จัดการมรดกเพิ่มเติมเพื่อแก้ไขปัญหาความล่าช้าและความขัดแย้งในการจัดการทรัพย์มรดก
การจัดการมรดกมีความเนิ่นช้ามากว่า 20 ปี ย่อมเกิดความเคลือบแคลงในหมู่ทายาทผู้มีส่วนได้เสีย ก่อนคดีนี้ทายาทผู้มีส่วนได้เสียคนหนึ่งไปร้องต่อศาลขอให้ถอนผู้ร้องทั้งสองจากการเป็นผู้จัดการมรดก แม้จะมีการถอนคำร้องดังกล่าวไป แต่ก็มีเงื่อนไขให้ผู้ร้องร่วมเข้าเป็นผู้จัดการมรดกด้วย แสดงถึงความไม่ไว้ใจในการจัดการมรดกที่ผ่านมาของผู้ร้องทั้งสอง ดังนั้น การแต่งตั้งผู้มีส่วนได้เสียคนอื่นเข้าร่วมจัดการมรดกอาจช่วยให้การจัดการมรดกลุล่วงไปได้ด้วยดี เนื่องจากต่างฝ่ายต่างมุ่งรักษาผลประโยชน์ของตน
ฎีกาที่ว่าผู้ร้องร่วมปกปิดทรัพย์มรดก เป็นการกระทำการไม่สุจริตนั้นก็ไม่ปรากฏพฤติการณ์ไปในทางเสียหาย เพราะผู้ร้องร่วมไม่ได้เป็นผู้จัดการมรดกในอันที่จะไปขอจดทะเบียนเปลี่ยนแปลงชื่อผู้ถือกรรมสิทธิ์เป็นของตน การถือโฉนดที่ดินไว้ไม่ก่อให้เกิดประโยชน์ใดแก่ผู้ร้องร่วม ส่วนข้อที่ว่ามีผู้ไปขอแสดงกรรมสิทธิ์โดยการครอบครองปรปักษ์ในที่ดินมรดกก็เป็นเรื่องของบุคคลภายนอกที่บุกรุกแล้วอ้างสิทธิโดยชอบของตนไม่ปรากฏว่าผู้ร้องร่วมมีส่วนเกี่ยวข้องด้วย การที่ต้องเสียค่าใช้จ่ายเพื่อต่อสู้คดีกับบุคคลภายนอกเป็นเรื่องของส่วนรวม เพราะทุกคนต่างได้รับผลประโยชน์หากชนะคดี ไม่ใช่เรื่องที่ผู้ร้องร่วมจะต้องรับผิดชอบเพียงผู้เดียว
ฎีกาที่ว่าผู้ร้องร่วมปกปิดทรัพย์มรดก เป็นการกระทำการไม่สุจริตนั้นก็ไม่ปรากฏพฤติการณ์ไปในทางเสียหาย เพราะผู้ร้องร่วมไม่ได้เป็นผู้จัดการมรดกในอันที่จะไปขอจดทะเบียนเปลี่ยนแปลงชื่อผู้ถือกรรมสิทธิ์เป็นของตน การถือโฉนดที่ดินไว้ไม่ก่อให้เกิดประโยชน์ใดแก่ผู้ร้องร่วม ส่วนข้อที่ว่ามีผู้ไปขอแสดงกรรมสิทธิ์โดยการครอบครองปรปักษ์ในที่ดินมรดกก็เป็นเรื่องของบุคคลภายนอกที่บุกรุกแล้วอ้างสิทธิโดยชอบของตนไม่ปรากฏว่าผู้ร้องร่วมมีส่วนเกี่ยวข้องด้วย การที่ต้องเสียค่าใช้จ่ายเพื่อต่อสู้คดีกับบุคคลภายนอกเป็นเรื่องของส่วนรวม เพราะทุกคนต่างได้รับผลประโยชน์หากชนะคดี ไม่ใช่เรื่องที่ผู้ร้องร่วมจะต้องรับผิดชอบเพียงผู้เดียว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4533/2558 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ศาลต้องพิจารณาเหตุขอเลื่อนคดีตามกฎหมาย หากไม่อนุญาตอาจเสียความยุติธรรม
การขอเลื่อนคดีเนื่องจากมีเหตุจำเป็นของคู่ความ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 40 นั้น จะต้องมีเหตุจำเป็นอันมิอาจก้าวล่วงเสียได้ และหากศาลไม่อนุญาตให้เลื่อนคดีจะทำให้เสียความยุติธรรม ซึ่งศาลจะต้องพิจารณาว่าที่โจทก์ขอเลื่อนคดีนั้นมีเหตุทั้งสองประการดังกล่าวหรือไม่ หากได้ความตามบทบัญญัติดังกล่าว ก็อนุญาตให้เลื่อนคดี มิฉะนั้นต้องยกคำร้อง
โจทก์ยื่นคำร้องขอเลื่อนคดีอ้างเหตุประการแรกว่าได้ถอนทนายความคนเดิมและแต่งตั้งทนายความคนใหม่ซึ่งยังไม่ทราบข้อเท็จจริงในคดี และประการที่สองว่าโจทก์เดินทางไปเยี่ยมมารดาซึ่งป่วยอยู่ที่ประเทศมาเลเซีย จึงไม่อาจมาศาลในวันนัดสืบพยานโจทก์ได้ โดยมีสำเนาตั๋วเครื่องบินเป็นหลักฐาน ศาลชั้นต้นจึงต้องพิจารณาเหตุแห่งการขอเลื่อนคดีดังกล่าวว่ามีเหตุจำเป็นอันไม่อาจก้าวล่วงเสียได้ และหากศาลไม่อนุญาตจะทำให้เสียความยุติธรรมหรือไม่ แต่ศาลชั้นต้นกลับมีคำสั่งว่า โจทก์ขอเลื่อนคดีมาหลายครั้งด้วยเหตุทำแผนที่พิพาท เมื่อศาลสั่งให้เจ้าพนักงานที่ดินทำแผนที่พิพาทแล้วโจทก์ก็ไม่พอใจและขอเลื่อนคดีเพื่อทำแผนที่พิพาทใหม่มาหลายนัด หลังจากเจ้าพนักงานที่ดินทำแผนที่พิพาทใหม่โจทก์ก็ยังไม่พอใจ และขอเลื่อนคดีเพื่อขอเอกสารจากสำนักงานที่ดินมาเสนอต่อศาลอีกจนมาถึงนัดนี้ศาลกำหนดนัดล่วงหน้า 3 เดือนเศษ โจทก์ทราบวันนัด แต่ก็ไม่มาศาลทั้งไม่มีพยานอื่นมาศาล เชื่อว่าโจทก์มีเจตนาประวิงคดีให้ชักช้า จึงไม่อนุญาตให้เลื่อนคดีและให้งดสืบพยานโจทก์ จึงเป็นการที่ศาลชั้นต้นใช้ดุลพินิจไม่อนุญาตให้โจทก์เลื่อนคดีโดยไม่ได้พิจารณาเหตุแห่งการขอเลื่อนคดีตามที่โจทก์กล่าวอ้างว่ามีเหตุตามบทบัญญัติของกฎหมายที่จะอนุญาตให้เลื่อนคดีได้หรือไม่ ซึ่งหากข้ออ้างทั้งสองประการดังกล่าวเป็นความจริง ก็ถือได้ว่ากรณีมีเหตุจำเป็นอันมิอาจก้าวล่วงเสียได้ หากศาลไม่อนุญาตให้เลื่อนคดีจะเสียความยุติธรรม แม้ระหว่างพิจารณาหลังจากจัดทำแผนที่พิพาทแล้ว โจทก์ขอเลื่อนคดีโดยแถลงขอให้เพิ่มเติมรายละเอียดในแผนที่พิพาท เช่น ขอให้ใส่รูปจำลองแผนที่หลังโฉนดที่ดินเดิมลงในแผนที่พิพาท รวมทั้งขอดำเนินการเกี่ยวกับต้นฉบับเอกสารคำขอออกโฉนดที่ดินพิพาท เป็นเหตุให้ต้องเสียเวลาไปมากก็ตาม แต่เมื่อจำเลยทั้งสองไม่ได้คัดค้าน และศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตมาตลอด ตามรูปคดีก็จะถือว่าโจทก์มีเจตนาประวิงคดีให้ชักช้าหาได้ไม่ การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งดังกล่าวหาเป็นการชอบไม่และถือได้ว่าศาลชั้นต้นมิได้ดำเนินการให้เป็นไปตาม ป.วิ.พ. มาตรา 40
โจทก์ยื่นคำร้องขอเลื่อนคดีอ้างเหตุประการแรกว่าได้ถอนทนายความคนเดิมและแต่งตั้งทนายความคนใหม่ซึ่งยังไม่ทราบข้อเท็จจริงในคดี และประการที่สองว่าโจทก์เดินทางไปเยี่ยมมารดาซึ่งป่วยอยู่ที่ประเทศมาเลเซีย จึงไม่อาจมาศาลในวันนัดสืบพยานโจทก์ได้ โดยมีสำเนาตั๋วเครื่องบินเป็นหลักฐาน ศาลชั้นต้นจึงต้องพิจารณาเหตุแห่งการขอเลื่อนคดีดังกล่าวว่ามีเหตุจำเป็นอันไม่อาจก้าวล่วงเสียได้ และหากศาลไม่อนุญาตจะทำให้เสียความยุติธรรมหรือไม่ แต่ศาลชั้นต้นกลับมีคำสั่งว่า โจทก์ขอเลื่อนคดีมาหลายครั้งด้วยเหตุทำแผนที่พิพาท เมื่อศาลสั่งให้เจ้าพนักงานที่ดินทำแผนที่พิพาทแล้วโจทก์ก็ไม่พอใจและขอเลื่อนคดีเพื่อทำแผนที่พิพาทใหม่มาหลายนัด หลังจากเจ้าพนักงานที่ดินทำแผนที่พิพาทใหม่โจทก์ก็ยังไม่พอใจ และขอเลื่อนคดีเพื่อขอเอกสารจากสำนักงานที่ดินมาเสนอต่อศาลอีกจนมาถึงนัดนี้ศาลกำหนดนัดล่วงหน้า 3 เดือนเศษ โจทก์ทราบวันนัด แต่ก็ไม่มาศาลทั้งไม่มีพยานอื่นมาศาล เชื่อว่าโจทก์มีเจตนาประวิงคดีให้ชักช้า จึงไม่อนุญาตให้เลื่อนคดีและให้งดสืบพยานโจทก์ จึงเป็นการที่ศาลชั้นต้นใช้ดุลพินิจไม่อนุญาตให้โจทก์เลื่อนคดีโดยไม่ได้พิจารณาเหตุแห่งการขอเลื่อนคดีตามที่โจทก์กล่าวอ้างว่ามีเหตุตามบทบัญญัติของกฎหมายที่จะอนุญาตให้เลื่อนคดีได้หรือไม่ ซึ่งหากข้ออ้างทั้งสองประการดังกล่าวเป็นความจริง ก็ถือได้ว่ากรณีมีเหตุจำเป็นอันมิอาจก้าวล่วงเสียได้ หากศาลไม่อนุญาตให้เลื่อนคดีจะเสียความยุติธรรม แม้ระหว่างพิจารณาหลังจากจัดทำแผนที่พิพาทแล้ว โจทก์ขอเลื่อนคดีโดยแถลงขอให้เพิ่มเติมรายละเอียดในแผนที่พิพาท เช่น ขอให้ใส่รูปจำลองแผนที่หลังโฉนดที่ดินเดิมลงในแผนที่พิพาท รวมทั้งขอดำเนินการเกี่ยวกับต้นฉบับเอกสารคำขอออกโฉนดที่ดินพิพาท เป็นเหตุให้ต้องเสียเวลาไปมากก็ตาม แต่เมื่อจำเลยทั้งสองไม่ได้คัดค้าน และศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตมาตลอด ตามรูปคดีก็จะถือว่าโจทก์มีเจตนาประวิงคดีให้ชักช้าหาได้ไม่ การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งดังกล่าวหาเป็นการชอบไม่และถือได้ว่าศาลชั้นต้นมิได้ดำเนินการให้เป็นไปตาม ป.วิ.พ. มาตรา 40
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4533/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลื่อนคดีต้องพิจารณาเหตุจำเป็นและผลกระทบต่อความยุติธรรม หากไม่พิจารณาเหตุผลของคู่ความ อาจเป็นเหตุให้ศาลใช้ดุลพินิจไม่ถูกต้อง
การขอเลื่อนคดีเนื่องจากมีเหตุจำเป็นของคู่ความตาม ป.วิ.พ. มาตรา 40 นั้น จะต้องมีเหตุจำเป็นอันมิอาจก้าวล่วงเสียได้ และหากศาลไม่อนุญาตให้เลื่อนคดีจะทำให้เสียความยุติธรรม ซึ่งศาลจะต้องพิจารณาว่าที่โจทก์ขอเลื่อนคดีนั้นมีเหตุทั้งสองประการดังกล่าวหรือไม่ หากได้ความตามบทบัญญัติดังกล่าว ก็อนุญาตให้เลื่อนคดี มิฉะนั้นต้องยกคำร้อง โจทก์ยื่นคำร้องขอเลื่อนคดีอ้างเหตุประการแรกว่าได้ถอนทนายความ
คนเดิมและแต่งตั้งทนายความคนใหม่ซึ่งยังไม่ทราบข้อเท็จจริงในคดี และประการที่สองว่าโจทก์เดินทางไปเยี่ยมมารดาซึ่งป่วยอยู่ที่ประเทศมาเลเซีย จึงไม่อาจมาศาลในวันนัดสืบพยานโจทก์ได้ ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่า โจทก์ขอเลื่อนคดีมาหลายครั้งด้วยเหตุทำแผนที่พิพาท และขอเลื่อนคดีเพื่อขอเอกสารจากสำนักงานที่ดินมาเสนอต่อศาลอีกจนมาถึงนัดนี้ศาลกำหนดนัดล่วงหน้า 3 เดือนเศษ โจทก์ทราบวันนัด แต่ก็ไม่มาศาล ทั้งไม่มีพยานมาสืบ เชื่อว่าโจทก์มีเจตนาประวิงคดีให้ชักช้า ไม่อนุญาตให้เลื่อนคดีและให้งดสืบพยานโจทก์ จึงเป็นการที่ศาลชั้นต้นใช้ดุลพินิจไม่อนุญาตให้โจทก์เลื่อนคดีโดยไม่ได้พิจารณาเหตุแห่งการขอเลื่อนคดีตามที่โจทก์กล่าวอ้างว่ามีเหตุตามบทบัญญัติของกฎหมายที่จะอนุญาตให้เลื่อนคดีได้หรือไม่ การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่ง
ดังกล่าวหาเป็นการชอบไม่ และถือได้ว่าศาลชั้นต้นมิได้ดำเนินการให้เป็นไปตาม ป.วิ.พ. มาตรา 40
คนเดิมและแต่งตั้งทนายความคนใหม่ซึ่งยังไม่ทราบข้อเท็จจริงในคดี และประการที่สองว่าโจทก์เดินทางไปเยี่ยมมารดาซึ่งป่วยอยู่ที่ประเทศมาเลเซีย จึงไม่อาจมาศาลในวันนัดสืบพยานโจทก์ได้ ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่า โจทก์ขอเลื่อนคดีมาหลายครั้งด้วยเหตุทำแผนที่พิพาท และขอเลื่อนคดีเพื่อขอเอกสารจากสำนักงานที่ดินมาเสนอต่อศาลอีกจนมาถึงนัดนี้ศาลกำหนดนัดล่วงหน้า 3 เดือนเศษ โจทก์ทราบวันนัด แต่ก็ไม่มาศาล ทั้งไม่มีพยานมาสืบ เชื่อว่าโจทก์มีเจตนาประวิงคดีให้ชักช้า ไม่อนุญาตให้เลื่อนคดีและให้งดสืบพยานโจทก์ จึงเป็นการที่ศาลชั้นต้นใช้ดุลพินิจไม่อนุญาตให้โจทก์เลื่อนคดีโดยไม่ได้พิจารณาเหตุแห่งการขอเลื่อนคดีตามที่โจทก์กล่าวอ้างว่ามีเหตุตามบทบัญญัติของกฎหมายที่จะอนุญาตให้เลื่อนคดีได้หรือไม่ การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่ง
ดังกล่าวหาเป็นการชอบไม่ และถือได้ว่าศาลชั้นต้นมิได้ดำเนินการให้เป็นไปตาม ป.วิ.พ. มาตรา 40
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4304/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผู้ว่าจ้างต้องรับผิดในความเสียหายจากการตอกเสาเข็ม แม้จะจ้างผู้รับเหมาช่วง
โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยที่ 1 ร่วมรับผิดในความเสียหายที่เกิดขึ้นจากการดำเนินการตอกเสาเข็มในโครงการบ้านพักอาศัยของจำเลยที่ 1 ซึ่งอยู่ติดกับอาคารพิพาทของโจทก์ แม้โจทก์จะบรรยายฟ้องระบุเพียงว่าจำเลยที่ 1 ตกลงให้จำเลยที่ 2 เป็นผู้ก่อสร้าง ก็มีความหมายอยู่ในตัวว่า จำเลยที่ 1 คือผู้ว่าจ้าง ส่วนจำเลยที่ 2 คือผู้รับจ้าง และแม้ความจริงจะปรากฏว่าจำเลยที่ 2 เพียงรับจ้างก่อสร้างอาคาร มิได้รับจ้างตอกเสาเข็มด้วย อันทำให้จำเลยที่ 2 พ้นความรับผิดจากความเสียหายที่เกิดขึ้นก็ตาม แต่สำหรับจำเลยที่ 1 นั้น ไม่ว่าจะจ้างใครเข้าไปตอกเสาเข็มในที่ดินพิพาท ก็ยังคงสถานะความเป็นผู้ว่าจ้างอยู่เช่นเดิม จำเลยที่ 1 จึงไม่พ้นความผูกพันในฐานะผู้ว่าจ้างทำของ ภายใต้บังคับของ ป.พ.พ. มาตรา 428 ฉะนั้น การพ้นความรับผิดของจำเลยที่ 2 เนื่องเพราะมิได้เป็นผู้รับจ้างจากจำเลยที่ 1 ในการตอกเสาเข็มจึงเป็นเรื่องเฉพาะตัว คำพิพากษาศาลชั้นต้นเฉพาะจำเลยที่ 1 ให้ชำระค่าเสียหายแก่โจทก์ จึงมิใช่เป็นเรื่องของการพิพากษาเกินไปกว่าหรือนอกจากที่ปรากฏในคำฟ้อง ไม่ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 วรรคหนึ่ง
โจทก์นำสืบเพียงว่าจำเลยที่ 1 เริ่มก่อสร้างบ้านโดยใช้ปั้นจั่นตอกเสาเข็มเมื่อประมาณเดือนมิถุนายน 2554 แต่โจทก์ไม่สามารถนำสืบให้เห็นชัดเจนว่าจำเลยที่ 1 ได้กระทำละเมิดในวันใด จึงให้คิดดอกเบี้ยนับแต่วันที่ 30 มิถุนายน 2554 ซึ่งเป็นวันสุดท้ายของเดือนมิถุนายน 2558
โจทก์นำสืบเพียงว่าจำเลยที่ 1 เริ่มก่อสร้างบ้านโดยใช้ปั้นจั่นตอกเสาเข็มเมื่อประมาณเดือนมิถุนายน 2554 แต่โจทก์ไม่สามารถนำสืบให้เห็นชัดเจนว่าจำเลยที่ 1 ได้กระทำละเมิดในวันใด จึงให้คิดดอกเบี้ยนับแต่วันที่ 30 มิถุนายน 2554 ซึ่งเป็นวันสุดท้ายของเดือนมิถุนายน 2558
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3568/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตความรับผิดของบริษัทรักษาความปลอดภัย: รถเข็นกระเป๋าไม่ใช่ทรัพย์สินที่ต้องรับผิดชอบ
สัญญาจ้างให้บริการรักษาความปลอดภัยระหว่างบริษัท ท. ผู้ว่าจ้าง กับ กลุ่ม ล. ผู้รับจ้างซึ่งมีจำเลยเป็นตัวแทน ข้อ 9.1 ระบุให้จำเลยรับผิดเฉพาะกรณีเป็นทรัพย์สินของผู้ว่าจ้าง หรือเป็นทรัพย์สินที่ผู้ว่าจ้างมีหน้าที่ดูแลรับผิดชอบได้รับความเสียหาย แต่ตามสัญญารับจ้างให้บริการรถเข็นกระเป๋าระหว่างบริษัท ท. ผู้ว่าจ้าง กับ บริษัท อ. ผู้รับจ้างซึ่งทำประกันภัยไว้กับโจทก์ เห็นได้ชัดว่าเป็นสัญญาจ้างทำของ ดังนั้น รถเข็นกระเป๋าจึงไม่ใช่ทรัพย์สินของบริษัท ท. หรือทรัพย์สินที่บริษัท ท. มีหน้าที่ดูแลรับผิดชอบ กรณีย่อมไม่เข้าเงื่อนไขตามสัญญาที่จะให้จำเลยต้องรับผิด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1922/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเรียกร้องค่าเสียหายจากการชำระหนี้แทน และดอกเบี้ยผิดนัดชำระหนี้
โจทก์ในฐานะผู้ค้ำประกันการชำระหนี้ของจำเลยที่ 1 ชำระค่าประกันชดเชยตามสัญญาค้ำประกันให้แก่ผู้เป็นเจ้าหนี้เป็นต้นเงินจำนวน 754,333.57 บาท และดอกเบี้ยอีกจำนวน 63,898.62 บาท รวม 818,232.19 บาท เงินจำนวนนี้จึงรวมเป็นต้นเงินที่โจทก์ชำระให้แก่เจ้าหนี้ไป โจทก์ย่อมมีสิทธิไล่เบี้ยเอาจากจำเลยที่ 1 ผู้เป็นลูกหนี้ และจำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ซึ่งเป็นผู้ค้ำประกันการชำระหนี้ของจำเลยที่ 1 ให้ชำระเงินจำนวน 818,232.19 บาท ได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 693 วรรคหนึ่ง หนี้ดังกล่าวเป็นหนี้เงิน โจทก์ทวงถามให้จำเลยทั้งสี่ชำระเงินจำนวนดังกล่าวพร้อมดอกเบี้ยนับแต่วันที่ 18 เมษายน 2549 แก่โจทก์ภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับหนังสือ จำเลยทั้งสี่ได้รับหนังสือทวงถามเมื่อวันที่ 13 พฤษภาคม 2549 ครบกำหนดชำระแล้วจำเลยทั้งสี่เพิกเฉย จึงตกเป็นผู้ผิดนัดมาตั้งแต่วันที่ 13 มิถุนายน 2549 โจทก์ย่อมมีสิทธิคิดดอกเบี้ยในระหว่างผิดนัดร้อยละ 7.5 ต่อปี ของเงินจำนวน 818,232.19 บาท จากจำเลยทั้งสี่ได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 224 วรรคหนึ่ง นับแต่วันที่ 13 มิถุนายน 2549 เป็นต้นไป มิใช่นับแต่วันที่โจทก์ชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 884/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เช็คสั่งจ่าย - สันนิษฐานความรับผิด - จำเลยต้องพิสูจน์การสูญหาย - ไม่ฟังเหตุผล
จำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 2 หุ้นส่วนผู้จัดการของจำเลยที่ 1 เป็นผู้ลงลายมือชื่อสั่งจ่ายในเช็คพิพาททั้งสามฉบับ ย่อมเข้าข้อสันนิษฐานตามกฎหมายที่ระบุให้จำเลยที่ 1 และที่ 2 จะต้องรับผิดตามเนื้อความในเช็คนั้นตาม ป.พ.พ. มาตรา 900 วรรคหนึ่ง การที่จำเลยที่ 1 และที่ 2 ปฏิเสธความรับผิด ภาระการพิสูจน์จึงตกแก่จำเลยที่ 1 และที่ 2 ชั้นพิจารณาจำเลยที่ 2 เบิกความในฐานะพยานจำเลยที่ 1 และที่ 2 เพียงว่าเช็คพิพาทหาย และไปแจ้งความลงบันทึกในรายงานประจำวันรับแจ้งเอกสารหายต่อเจ้าพนักงานตำรวจไว้เท่านั้น ไม่ได้ดำเนินการใดต่อไปหรือแม้กระทั่งการเรียกคืนเช็คจากโจทก์ในฐานะเจ้าของกรรมสิทธิ์พึงกระทำเลย และในรายละเอียดของรายงานประจำวันรับแจ้งเอกสารหายก็ไม่ได้กล่าวว่าเช็คพิพาทสูญหายไปอย่างไร แค่กล่าวอ้างอย่างลอย ๆ ว่าไม่แน่ใจว่าเช็คหล่นหายหรือถูกขโมย ย่อมยากที่จะรับฟังเป็นจริงตามภาระการพิสูจน์ จำเลยที่ 1 และที่ 2 ต้องแพ้คดี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 18225/2557
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การทิ้งอุทธรณ์เนื่องจากไม่ชำระค่าขึ้นศาลตามกำหนด ทำให้คดีถูกจำหน่ายออกจากสารบบ
เมื่อผู้ร้องไม่นำเงินค่าขึ้นศาลชั้นฎีกามาชำระให้ครบถ้วนภายในเวลาที่ศาลชั้นต้นกำหนด จึงเป็นกรณีที่ผู้ร้องเพิกเฉยไม่ดำเนินคดีภายในระยะเวลาตามที่ศาลชั้นต้นกำหนด ถือได้ว่าผู้ร้องทิ้งอุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 174 (2) ประกอบด้วยมาตรา 246, 247
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7844/2557
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องแบ่งมรดก: คดีจัดการมรดกใช้มาตรา 1733 วรรคสอง ไม่ใช่ 1754/1755
โจทก์ทั้งสามและจำเลยที่ 2 ต่างเป็นทายาทโดยธรรมของ พ. เจ้ามรดกลำดับเดียวกัน ชอบที่จะได้รับส่วนแบ่งมรดกเท่ากัน ทั้งมีสิทธิและหน้าที่เกี่ยวกับการจัดการมรดกที่ยังไม่ได้แบ่งร่วมกันจนกว่าจะแบ่งมรดกแล้วเสร็จ จึงถือได้ว่าโจทก์ทั้งสามและจำเลยที่ 2 เป็นเจ้าของรวมในที่ดินพิพาทเท่า ๆ กัน การที่จำเลยที่ 1 ในฐานะผู้จัดการมรดกของ พ. โอนที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยที่ 2 แต่เพียงผู้เดียวโดยไม่ได้รับความยินยอมจากทายาททุกคน จึงเป็นการปฏิบัติผิดหน้าที่ผู้จัดการมรดกตาม ป.พ.พ. มาตรา 1719 ดังนั้น โจทก์ทั้งสามในฐานะทายาทโดยธรรมผู้มีส่วนได้เสียและมีสิทธิได้รับทรัพย์มรดกย่อมฟ้องขอแบ่งทรัพย์มรดกที่จำเลยที่ 1 โอนให้แก่จำเลยที่ 2 แต่ผู้เดียวจากจำเลยที่ 2 ได้ตามมาตรา 1745 ประกอบมาตรา 1363 เมื่อโจทก์ทั้งสามฟ้องจำเลยที่ 1 ในฐานะผู้จัดการมรดกกระทำการโอนที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยที่ 2 แต่เพียงผู้เดียวซึ่งไม่ถูกต้อง จึงเป็นคดีเกี่ยวกับการจัดการมรดก กำหนดอายุความต้องบังคับตามมาตรา 1733 วรรคสอง หาใช่บังคับตามมาตรา 1754 วรรคหนึ่ง ประกอบมาตรา 1755
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 421/2556
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีฉ้อโกงแรงงาน: การแจ้งข้อหาไม่ถือเป็นการจับกุม และองค์ประกอบความผิดครบถ้วน
ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 78 ซึ่งนำมาปรับใช้แก่คดีนี้โดยอาศัยอำนาจตาม พ.ร.บ.ให้นำวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงมาใช้บังคับในศาลจังหวัด พ.ศ.2520 มาตรา 3 และ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ.2499 มาตรา 4 นั้น การจับบุคคลใดจะกระทำมิได้เว้นแต่มีคำสั่งหรือหมายของศาล หรือผู้นั้นได้กระทำความผิดซึ่งหน้า หรือมีเหตุจำเป็นอย่างอื่นให้จับได้โดยไม่มีหมายจับตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ การที่พนักงานสอบสวนแจ้งข้อหาแก่จำเลยตาม ป.วิ.อ. มาตรา 134 ซึ่งนำมาปรับใช้แก่คดีนี้โดยอาศัยอำนาจตาม พ.ร.บ.ให้นำวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงมาใช้บังคับในศาลจังหวัด พ.ศ.2520 มาตรา 3 และ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ.2499 มาตรา 4 จึงยังถือไม่ได้ว่าจำเลยถูกจับเพราะยังไม่มีหมายจับหรือคำสั่งของศาล และไม่เข้าข้อยกเว้นตามบทบัญญัติดังกล่าว เมื่อจำเลยยังไม่ถูกจับ จึงไม่อยู่ในบังคับของมาตรา 7 และมาตรา 9 แห่ง พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ.2499 ประกอบ พ.ร.บ.ให้นำวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงมาใช้บังคับในศาลจังหวัด พ.ศ.2520 มาตรา 3 ที่โจทก์ต้องฟ้องจำเลยภายในกำหนดเวลาสี่สิบแปดชั่วโมงนับแต่เวลาที่จำเลยถูกจับหรือต้องผัดฟ้อง หรือได้รับอนุญาตให้ฟ้องคดีจากอัยการสูงสุด โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
คดีนี้ผู้เสียหายทั้งสิบเอ็ดคนทราบเรื่องความผิดและรู้ว่าจำเลยเป็นผู้กระทำความผิดเมื่อวันที่ 10 มิถุนายน 2547 ผู้เสียหายทั้งสิบเอ็ดคนจึงเข้าแจ้งความร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนระหว่างวันที่ 27 กรกฎาคม 2547 ถึงวันที่ 1 กันยายน 2547 โดยผู้เสียหายแต่ละคนต่างให้การในรายละเอียดกล่าวหาว่าจำเลยกระทำความผิดโดยมีเจตนาให้จำเลยได้รับโทษ ซึ่งพนักงานสอบสวนบันทึกไว้ ลงวันเดือนปี และลายมือชื่อพนักงานสอบสวนผู้บันทึกกับลายมือชื่อผู้เสียหายแต่ละคนในฐานะผู้ร้องทุกข์ จึงเป็นคำร้องทุกข์ที่ชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 2 (7) และ 123 วรรคสาม และกรณีที่มีการกระทำความผิดต่อผู้เสียหายหลายคนไม่มีกฎหมายบังคับให้ผู้เสียหายทุกคนต้องมาแจ้งความร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนพร้อมกัน เพียงแต่ผู้เสียหายแต่ละคนต้องร้องทุกข์ภายใน 3 เดือน นับแต่วันที่รู้เรื่องความผิดและรู้ตัวผู้กระทำความผิดเท่านั้น เมื่อคดีนี้ผู้เสียหายแต่ละคนร้องทุกข์ให้ดำเนินคดีแก่จำเลยภายใน 3 เดือน นับแต่วันที่รู้เรื่องความผิดและรู้ตัวผู้กระทำความผิด จึงฟังได้ว่า คดีนี้มีผู้เสียหายตั้งแต่สิบคนขึ้นไปครบองค์ประกอบความผิดใน ป.อ. มาตรา 344 และการที่จำเลยหลอกลวงผู้เสียหายทั้งสิบเอ็ดคนให้ประกอบการงาน คือ สร้างภาพยนตร์ให้จำเลย โดยเจตนาจะไม่ใช้ค่าแรงงานหรือค่าจ้าง จนผู้เสียหายทั้งสิบเอ็ดคนหลงเชื่อและมีการทำงานที่เกี่ยวข้องไปบางส่วน แม้ผู้เสียหายทั้งสิบเอ็ดคนยังสร้างภาพยนตร์ไม่แล้วเสร็จและจำเลยยังไม่ได้รับผลประโยชน์จากการสร้างภาพยนตร์นั้น การกระทำของจำเลยก็ครบองค์ประกอบความผิดตาม ป.อ. มาตรา 344 แล้ว
คดีนี้ผู้เสียหายทั้งสิบเอ็ดคนทราบเรื่องความผิดและรู้ว่าจำเลยเป็นผู้กระทำความผิดเมื่อวันที่ 10 มิถุนายน 2547 ผู้เสียหายทั้งสิบเอ็ดคนจึงเข้าแจ้งความร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนระหว่างวันที่ 27 กรกฎาคม 2547 ถึงวันที่ 1 กันยายน 2547 โดยผู้เสียหายแต่ละคนต่างให้การในรายละเอียดกล่าวหาว่าจำเลยกระทำความผิดโดยมีเจตนาให้จำเลยได้รับโทษ ซึ่งพนักงานสอบสวนบันทึกไว้ ลงวันเดือนปี และลายมือชื่อพนักงานสอบสวนผู้บันทึกกับลายมือชื่อผู้เสียหายแต่ละคนในฐานะผู้ร้องทุกข์ จึงเป็นคำร้องทุกข์ที่ชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 2 (7) และ 123 วรรคสาม และกรณีที่มีการกระทำความผิดต่อผู้เสียหายหลายคนไม่มีกฎหมายบังคับให้ผู้เสียหายทุกคนต้องมาแจ้งความร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนพร้อมกัน เพียงแต่ผู้เสียหายแต่ละคนต้องร้องทุกข์ภายใน 3 เดือน นับแต่วันที่รู้เรื่องความผิดและรู้ตัวผู้กระทำความผิดเท่านั้น เมื่อคดีนี้ผู้เสียหายแต่ละคนร้องทุกข์ให้ดำเนินคดีแก่จำเลยภายใน 3 เดือน นับแต่วันที่รู้เรื่องความผิดและรู้ตัวผู้กระทำความผิด จึงฟังได้ว่า คดีนี้มีผู้เสียหายตั้งแต่สิบคนขึ้นไปครบองค์ประกอบความผิดใน ป.อ. มาตรา 344 และการที่จำเลยหลอกลวงผู้เสียหายทั้งสิบเอ็ดคนให้ประกอบการงาน คือ สร้างภาพยนตร์ให้จำเลย โดยเจตนาจะไม่ใช้ค่าแรงงานหรือค่าจ้าง จนผู้เสียหายทั้งสิบเอ็ดคนหลงเชื่อและมีการทำงานที่เกี่ยวข้องไปบางส่วน แม้ผู้เสียหายทั้งสิบเอ็ดคนยังสร้างภาพยนตร์ไม่แล้วเสร็จและจำเลยยังไม่ได้รับผลประโยชน์จากการสร้างภาพยนตร์นั้น การกระทำของจำเลยก็ครบองค์ประกอบความผิดตาม ป.อ. มาตรา 344 แล้ว