พบผลลัพธ์ทั้งหมด 34 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1878/2566
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การชดใช้ค่าสินไหมทดแทนจากประกันภัยรถยนต์และการไล่เบี้ยผู้กระทำละเมิด ศาลฎีกาเห็นพ้องกับการยกฟ้องจำเลยที่ 3
โจทก์และโจทก์ร่วมฟ้องจำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นผู้รับประกันภัยภาคบังคับให้รับผิดในมูลหนี้ตามสัญญาประกันภัย ซึ่งเป็นคนละส่วนแยกต่างหากจากกันกับการฟ้องให้จำเลยที่ 1 และที่ 2 รับผิดในมูลหนี้ละเมิด เมื่อกรมธรรม์ประกันคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถระบุจำนวนเงินคุ้มครองผู้ประสบภัยสำหรับการเสียชีวิตจ่ายเต็มตามจำนวนเงินคุ้มครองสูงสุด 300,000 บาท ต่อหนึ่งคนสำหรับการเสียชีวิต จำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นผู้รับประกันภัยจึงต้องชําระแก่โจทก์และโจทก์ร่วมที่เป็นทายาทโดยไม่สามารถปฏิเสธความรับผิดได้ แต่อย่างไรก็ตาม การชดใช้ค่าสินไหมทดแทนตามกรมธรรม์ประกันคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ เป็นส่วนหนึ่งของเงินค่าสินไหมทดแทนตาม ป.พ.พ. โดย พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535 มาตรา 22 บัญญัติว่า "การได้รับชดใช้ค่าเสียหายเบื้องต้นตามมาตรา 20 ไม่ตัดสิทธิผู้ประสบภัยที่จะเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนเพิ่มเติมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์" มาตรา 25 วรรคสอง บัญญัติว่า "ให้ถือว่าค่าเสียหายเบื้องต้นเป็นส่วนหนึ่งของเงินค่าสินไหมทดแทนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์" และมาตรา 31 บัญญัติว่า "ในกรณีที่ความเสียหายเกิดขึ้นจากการกระทำของบุคคลภายนอก หรือเกิดขึ้นเพราะความจงใจหรือความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงของเจ้าของรถ ผู้ขับขี่ ผู้ซึ่งอยู่ในรถ หรือผู้ประสบภัย เมื่อบริษัทได้จ่ายค่าเสียหายเบื้องต้นหรือค่าสินไหมทดแทน....ไปแล้วจำนวนเท่าใดให้บริษัท...มีสิทธิไล่เบี้ยเอาแก่บุคคลดังกล่าวหรือมีสิทธิเรียกให้ผู้ประสบภัยคืนเงินดังกล่าวได้" อันหมายความว่าเมื่อมีความเสียหายเกิดขึ้นแก่ผู้ประสบภัยจากรถ เมื่อผู้ประสบภัยได้รับค่าเสียหายเบื้องต้นแล้ว ผู้ประสบภัยยังสามารถเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนตาม ป.พ.พ. จากผู้ก่อความเสียหายได้อีก และในกรณีที่ความเสียหายเกิดจากบุคคลภายนอก เมื่อบริษัทผู้รับประกันภัยได้จ่ายค่าเสียหายเบื้องต้นหรือค่าสินไหมทดแทนไปแล้วจำนวนเท่าใด บริษัทก็มีสิทธิไล่เบี้ยเอาแก่บุคคลภายนอกผู้ก่อให้เกิดความเสียหายได้ ค่าเสียหายเบื้องต้นหรือค่าสินไหมทดแทนที่จะต้องจ่ายตามกรมธรรม์ประกันคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถนี้จึงเป็นการจ่ายตามสัญญาประกันวินาศภัย ซึ่งค่าสินไหมทดแทนตามเงื่อนไขความคุ้มครองหมายถึงค่าเสียหายเบื้องต้นและค่าเสียหายส่วนที่เกินจากค่าเสียหายเบื้องต้นตามมาตรา 20 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว จำนวนเงินที่คุ้มครองผู้ประสบภัยดังกล่าว จึงเป็นค่าสินไหมทดแทนตาม ป.พ.พ. นั่นเอง
คดีนี้ผู้ตายขับรถยนต์คันที่เอาประกันภัยไว้กับจำเลยที่ 3 และความเสียหายเกิดขึ้นจากการกระทำของจำเลยที่ 1 ที่ขับรถกระบะของจำเลยที่ 2 จึงเป็นกรณีที่ความเสียหายเกิดขึ้นจากการกระทำของบุคคลภายนอก หากจำเลยที่ 3 ได้จ่ายค่าสินไหมทดแทนไป จำเลยที่ 3 ก็มีสิทธิไล่เบี้ยเอาแก่บุคคลภายนอกได้ ในกรณีนี้คือจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นหน่วยงานของรัฐต้นสังกัดของจำเลยที่ 1 การที่โจทก์และโจทก์ร่วมฟ้องบังคับให้จำเลยที่ 2 รับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนในความเสียหายที่โจทก์และโจทก์ร่วมได้รับ รวมทั้งฟ้องจำเลยที่ 3 ผู้รับประกันภัยภาคบังคับ แม้การฟ้องจำเลยที่ 3 ให้รับผิดจะเป็นการฟ้องตามสัญญาประกันคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถก็ตาม ในส่วนที่จำเลยที่ 3 จะต้องรับผิดนี้ หากจำเลยที่ 3 ชดใช้ให้แก่ผู้ประสบภัยไปแล้วเท่าใดก็ย่อมมีสิทธิไล่เบี้ยเอาแก่บุคคลภายนอกผู้กระทำละเมิดหรือผู้ก่อความเสียหายได้ ตามมาตรา 31 แห่งบทบัญญัติกฎหมายข้างต้น ดังนั้น เมื่อเป็นการชดใช้ค่าสินไหมทดแทนที่อาจใช้สิทธิไล่เบี้ยได้ แม้การฟ้องจะแยกจำนวนเงินที่แต่ละคนต้องรับผิด ศาลย่อมพิพากษาให้จำเลยที่ 3 และจำเลยที่ 2 ร่วมกันชําระเงินจำนวนดังกล่าว เพื่อไม่ให้ผู้ประสบภัยได้รับชดใช้เกินจำนวนความเสียหายที่ได้รับ และไม่ให้บุคคลภายนอกผู้ก่อความเสียหายต้องรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนเกินกว่าที่ต้องรับผิด แต่เมื่อข้อเท็จจริงยุติว่า ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยที่ 2 ร่วมรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่โจทก์และโจทก์ร่วมตามจำนวนความเสียหายที่กําหนดให้แล้ว ซึ่งต่อมาโจทก์และโจทก์ร่วมได้รับค่าสินไหมทดแทนจากจำเลยที่ 2 ตามคําพิพากษาจนเป็นที่พอใจแล้ว กรณีจึงไม่อาจพิพากษาให้จำเลยที่ 3 ชําระค่าสินไหมทดแทนให้แก่โจทก์และโจทก์ร่วมได้อีก เพราะจะทำให้โจทก์และโจทก์ร่วมได้รับค่าสินไหมทดแทนเกินจำนวนที่ได้รับความเสียหายจริง ทั้งหากจำเลยที่ 3 ชําระให้แก่โจทก์และโจทก์ร่วมแล้วก็ย่อมมีสิทธิไล่เบี้ยเอาแก่จำเลยที่ 2 ได้ อันจะทำให้จำเลยที่ 2 ต้องรับผิดเกินไปกว่าจำนวนความเสียหายที่แท้จริง
คดีนี้ผู้ตายขับรถยนต์คันที่เอาประกันภัยไว้กับจำเลยที่ 3 และความเสียหายเกิดขึ้นจากการกระทำของจำเลยที่ 1 ที่ขับรถกระบะของจำเลยที่ 2 จึงเป็นกรณีที่ความเสียหายเกิดขึ้นจากการกระทำของบุคคลภายนอก หากจำเลยที่ 3 ได้จ่ายค่าสินไหมทดแทนไป จำเลยที่ 3 ก็มีสิทธิไล่เบี้ยเอาแก่บุคคลภายนอกได้ ในกรณีนี้คือจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นหน่วยงานของรัฐต้นสังกัดของจำเลยที่ 1 การที่โจทก์และโจทก์ร่วมฟ้องบังคับให้จำเลยที่ 2 รับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนในความเสียหายที่โจทก์และโจทก์ร่วมได้รับ รวมทั้งฟ้องจำเลยที่ 3 ผู้รับประกันภัยภาคบังคับ แม้การฟ้องจำเลยที่ 3 ให้รับผิดจะเป็นการฟ้องตามสัญญาประกันคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถก็ตาม ในส่วนที่จำเลยที่ 3 จะต้องรับผิดนี้ หากจำเลยที่ 3 ชดใช้ให้แก่ผู้ประสบภัยไปแล้วเท่าใดก็ย่อมมีสิทธิไล่เบี้ยเอาแก่บุคคลภายนอกผู้กระทำละเมิดหรือผู้ก่อความเสียหายได้ ตามมาตรา 31 แห่งบทบัญญัติกฎหมายข้างต้น ดังนั้น เมื่อเป็นการชดใช้ค่าสินไหมทดแทนที่อาจใช้สิทธิไล่เบี้ยได้ แม้การฟ้องจะแยกจำนวนเงินที่แต่ละคนต้องรับผิด ศาลย่อมพิพากษาให้จำเลยที่ 3 และจำเลยที่ 2 ร่วมกันชําระเงินจำนวนดังกล่าว เพื่อไม่ให้ผู้ประสบภัยได้รับชดใช้เกินจำนวนความเสียหายที่ได้รับ และไม่ให้บุคคลภายนอกผู้ก่อความเสียหายต้องรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนเกินกว่าที่ต้องรับผิด แต่เมื่อข้อเท็จจริงยุติว่า ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยที่ 2 ร่วมรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่โจทก์และโจทก์ร่วมตามจำนวนความเสียหายที่กําหนดให้แล้ว ซึ่งต่อมาโจทก์และโจทก์ร่วมได้รับค่าสินไหมทดแทนจากจำเลยที่ 2 ตามคําพิพากษาจนเป็นที่พอใจแล้ว กรณีจึงไม่อาจพิพากษาให้จำเลยที่ 3 ชําระค่าสินไหมทดแทนให้แก่โจทก์และโจทก์ร่วมได้อีก เพราะจะทำให้โจทก์และโจทก์ร่วมได้รับค่าสินไหมทดแทนเกินจำนวนที่ได้รับความเสียหายจริง ทั้งหากจำเลยที่ 3 ชําระให้แก่โจทก์และโจทก์ร่วมแล้วก็ย่อมมีสิทธิไล่เบี้ยเอาแก่จำเลยที่ 2 ได้ อันจะทำให้จำเลยที่ 2 ต้องรับผิดเกินไปกว่าจำนวนความเสียหายที่แท้จริง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 997/2561
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าสินไหมทดแทนประกันภัยรถยนต์: การประเมินความรับผิด, การคำนวณดอกเบี้ย, และขอบเขตความคุ้มครอง
โจทก์ฟ้องให้จำเลยในฐานะผู้รับประกันภัยรถบรรทุกและรถพ่วงคันที่ ด. เป็นผู้ขับ รับผิดใช้ค่าสินไหมทดแทนตามกรมธรรม์ประกันภัยคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถกรณีที่ ช. เสียชีวิตทำให้โจทก์ขาดไร้อุปการะ ซึ่งข้อเท็จจริงรับฟังได้ว่า ด. ขับรถบรรทุกและรถพ่วงด้วยความประมาทชนรถจักรยานยนต์คันที่ ช. ขับเป็นเหตุให้ ช. ถึงแก่ความตาย โดย ช. ผู้ตายมีส่วนประมาทด้วย แต่ ด. มีส่วนประมาทมากกว่า เมื่อตามกรมธรรม์คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ ข้อ 3.1.3 ระบุว่า ในกรณีเสียชีวิต บริษัทจะจ่ายเต็มตามจำนวนเงินคุ้มครองสูงสุด 200,000 บาท ต่อหนึ่งคน ดังนั้น เมื่อ ช. เป็นผู้ประสบภัยที่ ด. จะต้องรับผิดชอบตามกฎหมายเพราะเหตุที่ ด. เป็นฝ่ายประมาทมากกว่า ช. จำเลยในฐานะผู้รับประกันภัยรถบรรทุกและรถพ่วงที่ ด. เป็นผู้ขับไว้จากนายจ้างของ ด. จึงต้องรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนเต็มตามจำนวนเงินคุ้มครองตามกรมธรรม์คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถฉบับละ 200,000 บาท รวมเป็น 400,000 บาท
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 381/2560
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิไล่เบี้ยค่าเสียหายจากผู้ขับขี่และนายจ้างตาม พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ และ ป.พ.พ. มาตรา 425
ตารางกรมธรรม์คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ เป็นกรมธรรม์ที่ออกตาม พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ.2535 ซึ่งบังคับให้เจ้าของรถจะต้องจัดให้มีการประกันตามมาตรา 7 ดังนั้น เมื่อโจทก์ในฐานะผู้รับประกันภัยได้จ่ายค่าสินไหมทดแทนเป็นค่าเสียหายเบื้องต้น 13,883 บาท ตามกรมธรรม์คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถแล้ว โจทก์ย่อมมีสิทธิไล่เบี้ยเอาจาก ส. ผู้ขับรถโดยสารประจำทางที่ก่อให้เกิดความเสียหายเพราะประมาทเลินเล่อได้ตาม พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ.2535 มาตรา 31 อันเป็นสิทธิไล่เบี้ยที่เกิดขึ้นโดยผลของกฎหมายเฉพาะ ทั้งจำเลยเป็นนายจ้างของ ส. ผู้ซึ่งได้กระทำละเมิดไปในทางการที่จ้าง แม้จำเลยจะมิใช่บุคคลตามมาตรา 31 ก็ตาม แต่นายจ้างต้องร่วมรับผิดกับลูกจ้างในผลแห่งละเมิดซึ่งลูกจ้างได้กระทำไปในทางการที่จ้างนั้น ตาม ป.พ.พ. มาตรา 425 โจทก์จึงมีสิทธิไล่เบี้ยเอาค่าเสียหายเบื้องต้นดังกล่าวจากจำเลยได้ด้วย จำเลยจึงต้องรับผิดต่อโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9402/2559
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับประกันภัยรถยนต์: วงเงินคุ้มครอง, การไล่เบี้ย, และดอกเบี้ยค้างชำระ
บ. ซึ่งนั่งซ้อนท้ายรถจักรยานยนต์คันที่บริษัท ว. เป็นผู้รับประกันภัยตามกรมธรรม์คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ ได้รับอันตรายถึงแก่ชีวิต โดยเหตุเกิดจากจำเลยที่ 1 ขับรถยนต์คันที่จำเลยที่ 2 รับประกันภัยด้วยความประมาทเลินเล่อ โจทก์ที่ 1 ในฐานะทายาทโดยธรรมของ บ. ผู้ประสบภัยจึงมีสิทธิได้รับชดใช้ค่าสินไหมทดแทนตาม พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ.2535 มาตรา 20 วรรคหนึ่ง และมาตรา 24 วรรคหนึ่ง บริษัท ว. จ่ายค่าเสียหายเบื้องต้นให้แก่โจทก์ที่ 1 เป็นเงิน 50,000 บาท แล้ว เมื่อเหตุละเมิดเกิดจากความประมาทเลินเล่อของจำเลยที่ 1 บริษัท ว. มีสิทธิเรียกเงินจำนวนดังกล่าวคืนจากจำเลยที่ 2 ผู้รับประกันภัยรถยนต์คันที่จำเลยที่ 1 ขับ ตามมาตรา 31 แห่ง พ.ร.บ.ดังกล่าว เช่นนี้จำเลยที่ 2 ชอบที่จะกันเงิน 50,000 บาท ไว้เพื่อคืนแก่บริษัท ว. ดังนั้นความรับผิดของจำเลยที่ 2 ต่อโจทก์ที่ 1 ตามกรมธรรม์คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถจึงเหลือเพียง 50,000 บาท ซึ่งจำเลยที่ 2 วางเงินชำระต่อศาลชั้นต้นไว้แล้ว 50,000 บาท เมื่อรวมกับเงิน 50,000 บาท ที่ต้องกันไว้เพื่อคืนบริษัท ว. แล้ว เป็นเงิน 100,000 บาท เต็มวงเงินคุ้มครองผู้ประสบภัย 100,000 บาท ต่อหนึ่งคน สำหรับการเสียชีวิตแล้ว จำเลยที่ 2 จึงไม่ต้องร่วมกับจำเลยที่ 1 ชำระเงิน 50,000 บาท แก่โจทก์ที่ 1 ตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 2 อีก แต่เนื่องจากจำเลยที่ 2 วางเงินต่อศาลชั้นต้นเพื่อชำระแก่โจทก์ที่ 1 เมื่อวันที่ 28 พฤษภาคม 2550 ช่วงเวลาก่อนหน้านั้น จำเลยที่ 2 ยังคงมีความรับผิดในดอกเบี้ยของต้นเงิน 50,000 บาท จนกว่าจะชำระหนี้เสร็จ จำเลยที่ 2 จึงต้องชำระดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ของต้นเงิน 50,000 บาท นับแต่วันฟ้องจนถึงวันที่ 27 พฤษภาคม 2550
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8443/2559
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิไล่เบี้ยค่ารักษาพยาบาลจากผู้ก่อเหตุ แม้มีการตกลงค่าเสียหายเพิ่มเติม
เมื่อวันที่ 26 มีนาคม 2554 โจทก์จ่ายค่ารักษาพยาบาล พ. อันเป็นค่าเสียหายเบื้องต้นตามกรมธรรม์คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ โจทก์ย่อมมีสิทธิไล่เบี้ยเอาแก่จำเลยผู้ก่อให้เกิดความเสียหายได้ตามมาตรา 31 แห่ง พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ.2535 มิใช่เรื่องการรับช่วงสิทธิ ส่วนค่าเสียหายจำนวน 40,000 บาท ที่จำเลยตกลงจ่ายแก่ พ. ตามบันทึกรายงานประจำวันเกี่ยวกับคดีนั้นเป็นข้อตกลงที่เกิดขึ้นภายหลังจากที่โจทก์จ่ายค่าเสียหายเบื้องต้นแล้ว ค่าเสียหายที่จำเลยตกลงจ่ายแก่ พ. จึงเป็นค่าสินไหมทดแทนนอกเหนือจากค่ารักษาพยาบาลที่โจทก์จ่ายไป ถือเป็นค่าเสียหายเพิ่มเติมในทางแพ่งที่ พ. มีสิทธิเรียกจากจำเลยผู้ทำละเมิดได้อีกส่วนหนึ่งต่างหาก ตามมาตรา 22 ไม่ทำให้ค่าเสียหายเบื้องต้นที่โจทก์จ่ายแทนไปก่อนระงับไป โจทก์จึงมีสิทธิไล่เบี้ยค่ารักษาพยาบาลที่จ่ายเป็นค่าเสียหายเบื้องต้นคืนจากจำเลยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2122/2559
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความการไล่เบี้ยค่าเสียหายตาม พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ และการกลับคำพิพากษา
ช. เอาประกันภัยรถจักรยานยนต์ไว้กับโจทก์ เป็นการเอาประกันภัยตาม พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ.2535 ซึ่งมาตรา 7 บังคับให้เจ้าของรถซึ่งใช้รถหรือมีรถไว้เพื่อใช้ต้องจัดให้มีการประกันความเสียหายสำหรับผู้ประสบภัย หากมีความเสียหายเกิดขึ้นแก่ผู้ประสบภัยจากรถที่โจทก์รับประกันภัยไว้ โจทก์ต้องจ่ายค่าเสียหายเบื้องต้นแก่ผู้ประสบภัยให้เสร็จสิ้นภายใน 7 วัน นับแต่ที่ได้รับ คำร้องขอ โดยไม่ต้องรอการพิสูจน์ความผิดตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 20 และ 25 เมื่อได้จ่ายค่าเสียหายเบื้องต้นแก่ผู้ประสบภัยไปแล้วเป็นจำนวนเท่าใด โจทก์มีสิทธิไล่เบี้ยเอาแก่บุคคลภายนอกซึ่งเป็นผู้กระทำให้เกิดความเสียหายได้ตามมาตรา 31 อันเป็นสิทธิที่เกิดขึ้นโดยผลของกฎหมายซึ่งบัญญัติไว้เป็นการเฉพาะ มิใช่เป็นเรื่องโจทก์รับช่วงสิทธิของผู้ประสบภัยมาฟ้องไล่เบี้ยเอาแก่จำเลยทั้งไม่เข้าเหตุที่จะรับช่วงสิทธิได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 880 เพราะผู้ประสบภัยไม่ใช่ผู้เอาประกันภัย โดยเดิม พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ.2535 มาตรา 31 วรรคสอง แก้ไขเพิ่มเติมโดยมาตรา 12 แห่ง พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ.2535 (ฉบับที่ 3) พ.ศ.2540 บัญญัติให้การใช้สิทธิไล่เบี้ยต้องกระทำภายใน 1 ปี นับแต่วันรู้ตัว ผู้ซึ่งต้องรับผิด แต่ทั้งนี้ต้องไม่เกิน 5 ปี นับแต่วันที่ได้จ่ายเงินค่าสินไหมทดแทนให้แก่ผู้ประสบภัย แต่ต่อมามี พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ.2535 (ฉบับที่ 4) พ.ศ.2550 มาตรา 11 ซึ่งเป็นกฎหมายที่มีผลใช้บังคับในขณะเกิดเหตุ ให้ยกเลิกวรรคสองของมาตรา 31 แห่ง พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ.2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดย พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ.2535 (ฉบับที่ 3) พ.ศ.2540 โดยมิได้มีการแก้ไขเพิ่มเติมให้ใช้ข้อความใหม่แทนข้อความเดิมที่ถูกยกเลิกไป จึงเป็นกรณี
ที่ไม่มีกฎหมายบัญญัติเรื่องอายุความไล่เบี้ยไว้โดยเฉพาะ จึงต้องใช้อายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/30 เมื่อนับระยะเวลาตั้งแต่ที่โจทก์จ่ายค่าเสียหายเบื้องต้นให้แก่ผู้ประสบภัยเมื่อวันที่ 6 พฤศจิกายน 2552 จนถึงวันที่โจทก์ฟ้องคดี ยังไม่พ้นกำหนด 10 ปี สิทธิเรียกร้องของโจทก์จึงยังไม่ขาดอายุความ
ที่ไม่มีกฎหมายบัญญัติเรื่องอายุความไล่เบี้ยไว้โดยเฉพาะ จึงต้องใช้อายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/30 เมื่อนับระยะเวลาตั้งแต่ที่โจทก์จ่ายค่าเสียหายเบื้องต้นให้แก่ผู้ประสบภัยเมื่อวันที่ 6 พฤศจิกายน 2552 จนถึงวันที่โจทก์ฟ้องคดี ยังไม่พ้นกำหนด 10 ปี สิทธิเรียกร้องของโจทก์จึงยังไม่ขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10260/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าเสียหายจากอุบัติเหตุทางรถยนต์: การหักลบค่ารักษาพยาบาลที่ได้รับจาก พ.ร.บ. คุ้มครองผู้ประสบภัย
พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ.2535 มาตรา 4 กำหนดให้ค่ารักษาพยาบาลเป็นค่าเสียหายเบื้องต้น ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของเงินค่าสินไหมทดแทนตาม ป.พ.พ. ดังที่บัญญัติไว้ใน มาตรา 25 วรรคสอง และเมื่อบริษัทรับประกันภัยจ่ายค่าเสียหายเบื้องต้นดังกล่าวไปแล้วเป็นจำนวนเท่าใด มาตรา 31 บัญญัติว่าย่อมมีสิทธิไล่เบี้ยเอาจากบุคคลภายนอกหรือจากเจ้าของรถ ผู้ขับขี่รถ ผู้ซึ่งอยู่ในรถ หรือผู้ประสบภัย หากเกิดขึ้นเพราะความจงใจหรือความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงของบุคคลดังกล่าว แม้มาตรา 22 จะไม่ตัดสิทธิของโจทก์ที่จะเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนเพิ่มเติมตาม ป.พ.พ. แต่ก็มิได้หมายความว่าเป็นการให้สิทธิโจทก์ในอันจะได้รับเงินค่ารักษาพยาบาลที่รับไปแล้วได้อีก จึงต้องนำเงินที่โจทก์ได้รับมาแล้วตามกรมธรรม์ประกันภัยคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถหักออกจากค่ารักษาพยาบาลที่โจทก์จ่ายไปจริงด้วย
ศาลชั้นต้นอนุญาตให้โจทก์ฟ้องโดยได้รับยกเว้นค่าธรรมเนียมศาลเฉพาะค่าขึ้นศาลกึ่งหนึ่ง และพิพากษาให้จำเลยทั้งสี่ร่วมกันใช้ค่าฤชาธรรมเนียมแทนโจทก์เท่าที่ชนะคดี โดยกำหนดค่าทนายความให้ 10,000 บาท แต่มิได้สั่งให้จำเลยทั้งสี่ร่วมกันชำระค่าธรรมเนียมศาลในนามของโจทก์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 158 ศาลฎีกาจึงสั่งใหม่ให้ถูกต้อง
ศาลชั้นต้นอนุญาตให้โจทก์ฟ้องโดยได้รับยกเว้นค่าธรรมเนียมศาลเฉพาะค่าขึ้นศาลกึ่งหนึ่ง และพิพากษาให้จำเลยทั้งสี่ร่วมกันใช้ค่าฤชาธรรมเนียมแทนโจทก์เท่าที่ชนะคดี โดยกำหนดค่าทนายความให้ 10,000 บาท แต่มิได้สั่งให้จำเลยทั้งสี่ร่วมกันชำระค่าธรรมเนียมศาลในนามของโจทก์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 158 ศาลฎีกาจึงสั่งใหม่ให้ถูกต้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10348-10350/2557
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดร่วมของผู้เอาประกันภัย ผู้รับประกันภัย และการหักชดเชยค่าสินไหมทดแทนจากบริษัทประกันภัย
ตาม พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ.2535 มาตรา 31 แก้ไขเพิ่มเติมโดย มาตรา 12 แห่ง พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ (ฉบับที่ 3) พ.ศ.2540 ซึ่งใช้บังคับกับคดีนี้บัญญัติไว้ความว่า "ในกรณีที่ความเสียหายเกิดจากการกระทำของบุคคลภายนอก เมื่อบริษัทผู้รับประกันภัยได้จ่ายค่าเสียหายเบื้องต้นหรือค่าสินไหมทดแทนไปแล้วเป็นจำนวนเท่าใด ให้บริษัทผู้รับประกันภัยมีสิทธิไล่เบี้ยเอาแก่บุคคลภายนอกได้" ดังนั้น เมื่อโจทก์ที่ 8 จ่ายค่าเสียหายเบื้องต้นไปสามรายการ รวมเป็นเงิน 45,000 บาท ไปแล้ว โจทก์ที่ 8 ย่อมไล่เบี้ยเอาแก่ ฉ. ผู้ขับรถโดยสารซึ่งเป็นบุคคลภายนอกได้ และย่อมไล่เบี้ยเอาแก่จำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 ที่ 5 และที่ 6 ซึ่งเป็นผู้ต้องร่วมกันรับผิดกับ ฉ. ได้ด้วย เมื่อจำเลยที่ 5 ผู้เอาประกันภัยรถโดยสารไว้ต่อจำเลยที่ 4 ต้องร่วมกันรับผิด จำเลยที่ 4 ผู้รับประกันภัยต้องรับผิดตามสัญญาประกันภัย โจทก์ที่ 8 ย่อมไล่เบี้ยเอาแก่จำเลยที่ 4 ได้ด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3648/2557
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความการฟ้องไล่เบี้ยค่าเสียหายจากบุคคลภายนอกตาม พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ เริ่มนับแต่วันรู้ตัวผู้ต้องรับผิด
มาตรา 31 วรรคหนึ่งและวรรคสอง แก้ไขเพิ่มเติมโดยมาตรา 12 แห่ง พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ.2535 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ (ฉบับที่ 3) พ.ศ.2540 ซึ่งใช้บังคับในขณะเกิดเหตุ บัญญัติไว้ชัดเจนว่า ในกรณีที่ความเสียหายเกิดขึ้นจากการกระทำของบุคคลภายนอก หรือเกิดขึ้นเพราะความจงใจหรือความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงของเจ้าของรถหรือผู้ขับขี่รถ เมื่อบริษัทได้จ่ายค่าเสียหายเบื้องต้นหรือค่าสินไหมทดแทนให้แก่ผู้ประสบภัย บริษัทมีสิทธิไล่เบี้ยเอาแก่บุคคลดังกล่าวได้ แต่การใช้สิทธิดังกล่าวต้องกระทำภายในหนึ่งปีนับแต่วันรู้ตัวผู้ซึ่งต้องรับผิด หาได้บัญญัติว่าการใช้สิทธิไล่เบี้ยเอาแก่บุคคลภายนอก ต้องกระทำภายในหนึ่งปีนับแต่วันที่คดีอาญาที่บุคคลภายนอกผู้ถูกฟ้องถึงที่สุดไม่ ดังนั้น โจทก์จึงต้องฟ้องคดีภายใน 1 ปี นับแต่วันรู้ตัวผู้ซึ่งต้องรับผิด ตามมาตรา 31 วรรคสอง ดังกล่าว เมื่อข้อเท็จจริงรับฟังเป็นยุติตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ว่า โจทก์รู้ตัวว่าจำเลยเป็นผู้ซึ่งต้องรับผิดเมื่อวันที่ 18 ตุลาคม 2549 แต่นำคดีมาฟ้องเมื่อวันที่ 24 ตุลาคม 2550 ซึ่งเกินหนึ่งปี ฟ้องโจทก์จึงขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5945/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิไล่เบี้ยค่าเสียหายจากบริษัทประกันภัย: การประเมินความรับผิดจากประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง
พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ.2535 มาตรา 31 ให้แก่บริษัทผู้รับประกันภัยไล่เบี้ยเรียกค่าเสียหายเบื้องต้นที่จ่ายไปคืนจากผู้ขับขี่รถหรือผู้ประสบภัยได้ก็แต่กรณีที่ความเสียหายเกิดขึ้นจากความจงใจหรือประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงของบุคคลผู้นั้น เมื่อ น. มิได้ขับรถโดยความจงใจหรือประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง โจทก์จึงไม่มีสิทธิไล่เบี้ยให้จำเลยที่ 1 ผู้รับเงินค่าเสียหายเบื้องต้นจำนวน 15,000 บาท ในฐานะทายาทโดยธรรมของ น. ต้องชำระเงินคืนให้แก่โจทก์