พบผลลัพธ์ทั้งหมด 34 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1598/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องไล่เบี้ยประกันภัย: ความแตกต่างระหว่างบุคคลภายนอกผู้ก่อเหตุกับบริษัทประกันภัยคู่กรณี
โจทก์บรรยายฟ้องว่า เมื่อโจทก์ได้จ่ายค่าสินไหมทดแทนเป็นค่ารักษาพยาบาลเบื้องต้นตามกฎหมายให้แก่ผู้บาดเจ็บหรือผู้เอาประกันภัยไปแล้ว โจทก์จึงอยู่ในฐานะผู้รับช่วงสิทธิใช้สิทธิไล่เบี้ยเอาแก่จำเลยในฐานะผู้รับประกันภัยรถยนต์คันที่ก่อให้เกิดความเสียหาย คำฟ้องของโจทก์จึงมิได้จำกัดเฉพาะ การฟ้องเรียกค่ารักษาพยาบาลตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535 เท่านั้น ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535มาตรา 31 มีความหมายว่า ถ้าบริษัทผู้รับประกันภัยได้จ่ายค่าเสียหายเบื้องต้นให้แก่ผู้ประสบภัยไปแล้ว บริษัทมีสิทธิไล่เบี้ยเอาแก่บุคคลภายนอก เจ้าของรถ ผู้ขับขี่รถผู้ซึ่งอยู่ในรถหรือผู้ประสบภัยซึ่งเป็นผู้ก่อให้เกิดความเสียหายได้ภายในกำหนดอายุความ 1 ปี นับแต่วันที่ได้จ่ายเงินค่าเสียหายเบื้องต้นให้แก่ผู้ประสบภัย แต่อายุความ 1 ปี ดังกล่าวมิได้หมายรวมถึงการฟ้องไล่เบี้ยเอาแก่ บริษัทผู้รับประกันภัยรถคันที่ก่อให้เกิดความเสียหายด้วย ดังนั้น เมื่อปรากฏว่าจำเลยเป็นบริษัทผู้รับประกันภัย รถคันที่ก่อให้เกิดความเสียหาย มิใช่เป็นบุคคลภายนอก ผู้ก่อให้เกิดความเสียหายในเหตุที่รถชนกันแล้ว กรณีจึง ไม่อาจนำอายุความ 1 ปี ตามมาตรา 31 วรรคสอง ดังกล่าว มาใช้บังคับ หากแต่เป็นเรื่องที่ผู้รับประกันภัยฟ้องไล่เบี้ยเรียกค่าเสียหายเอาจากผู้รับประกันภัยด้วยกัน ต้องใช้ อายุความ 2 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 882 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1598/2542 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องไล่เบี้ยประกันภัย: การแยกแยะระหว่างการฟ้องบุคคลภายนอกกับบริษัทประกันภัยด้วยกัน
เมื่อโจทก์ได้บรรยายฟ้องด้วยว่า โจทก์ได้จ่ายค่าสินไหมทดแทนเป็นค่ารักษาพยาบาลเบื้องต้นตามกฎหมายให้แก่ผู้บาดเจ็บหรือผู้เอาประกันภัยไปแล้วโจทก์จึงอยู่ในฐานะผู้รับช่วงสิทธิใช้สิทธิไล่เบี้ยเอาแก่จำเลยในฐานะผู้รับประกันภัยรถยนต์คันที่ก่อให้เกิดความเสียหายได้ คำฟ้องของโจทก์จึงมิได้จำกัดเฉพาะการฟ้องเรียกค่ารักษาพยาบาลตาม พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ.2535 ดังนี้จึงชอบที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์จะหยิบยกบทบัญญัติในเรื่องอายุความตาม ป.พ.พ.มาตรา 882 ขึ้นวินิจฉัยได้
พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ.2535 มาตรา 31มีความหมายว่า ถ้าบริษัทผู้รับประกันภัยได้จ่ายค่าเสียหายเบื้องต้นให้แก่ผู้ประสบภัยไปแล้ว บริษัทมีสิทธิไล่เบี้ยเอาแก่บุคคลภายนอก เจ้าของรถ ผู้ขับขี่รถ ผู้ซึ่งอยู่ในรถหรือผู้ประสบภัย ซึ่งเป็นผู้ก่อให้เกิดความเสียหายได้ภายในกำหนดอายุความ 1 ปีนับแต่วันที่ได้จ่ายเงินค่าเสียหายเบื้องต้นให้แก่ผู้ประสบภัย แต่อายุความ 1 ปี ดังกล่าวมิได้หมายความรวมถึงการฟ้องไล่เบี้ยเอาแก่บริษัทผู้รับประกันภัยรถคันที่ก่อให้เกิดความเสียหายด้วย เมื่อจำเลยเป็นบริษัทผู้รับประกันภัยรถคันที่ก่อให้เกิดความเสียหายมิใช่เป็นบุคคลภายนอกผู้ก่อให้เกิดความเสียหายในเหตุที่รถชนกันแล้ว กรณีจึงไม่อาจนำอายุความ 1 ปี ตามมาตรา 31 วรรคสอง ดังกล่าวมาใช้บังคับ หากแต่เป็นเรื่องที่ผู้รับประกันภัยฟ้องไล่เบี้ยเรียกค่าเสียหายเอาจากผู้รับประกันภัยด้วยกันต้องใช้อายุความ 2 ปี ตามที่บัญญัติไว้ใน ป.พ.พ.มาตรา 882 วรรคหนึ่ง
พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ.2535 มาตรา 31มีความหมายว่า ถ้าบริษัทผู้รับประกันภัยได้จ่ายค่าเสียหายเบื้องต้นให้แก่ผู้ประสบภัยไปแล้ว บริษัทมีสิทธิไล่เบี้ยเอาแก่บุคคลภายนอก เจ้าของรถ ผู้ขับขี่รถ ผู้ซึ่งอยู่ในรถหรือผู้ประสบภัย ซึ่งเป็นผู้ก่อให้เกิดความเสียหายได้ภายในกำหนดอายุความ 1 ปีนับแต่วันที่ได้จ่ายเงินค่าเสียหายเบื้องต้นให้แก่ผู้ประสบภัย แต่อายุความ 1 ปี ดังกล่าวมิได้หมายความรวมถึงการฟ้องไล่เบี้ยเอาแก่บริษัทผู้รับประกันภัยรถคันที่ก่อให้เกิดความเสียหายด้วย เมื่อจำเลยเป็นบริษัทผู้รับประกันภัยรถคันที่ก่อให้เกิดความเสียหายมิใช่เป็นบุคคลภายนอกผู้ก่อให้เกิดความเสียหายในเหตุที่รถชนกันแล้ว กรณีจึงไม่อาจนำอายุความ 1 ปี ตามมาตรา 31 วรรคสอง ดังกล่าวมาใช้บังคับ หากแต่เป็นเรื่องที่ผู้รับประกันภัยฟ้องไล่เบี้ยเรียกค่าเสียหายเอาจากผู้รับประกันภัยด้วยกันต้องใช้อายุความ 2 ปี ตามที่บัญญัติไว้ใน ป.พ.พ.มาตรา 882 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1598/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องไล่เบี้ยประกันภัย: ความแตกต่างระหว่างบุคคลภายนอกผู้ก่อเหตุ กับผู้รับประกันภัยด้วยกัน
เมื่อโจทก์ได้บรรยายฟ้องด้วยว่า โจทก์ได้จ่ายค่าสินไหมทดแทนเป็นค่ารักษาพยาบาลเบื้องต้นตามกฎหมายให้แก่ผู้บาดเจ็บ หรือผู้เอาประกันภัยไปแล้วโจทก์จึงอยู่ในฐานะผู้รับช่วงสิทธิใช้สิทธิไล่เบี้ยเอาแก่จำเลยในฐานะผู้รับประกันภัยรถยนต์คันที่ก่อให้เกิดความเสียหายได้ คำฟ้องของโจทก์จึงมิได้จำกัดเฉพาะการฟ้องเรียกค่ารักษาพยาบาลตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535 ดังนี้ จึงชอบที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์จะหยิบยกบทบัญญัติในเรื่องอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 882 ขึ้นวินิจฉัยได้ พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535มาตรา 31 มีความหมายว่า ถ้าบริษัทผู้รับประกันภัย ได้จ่ายค่าเสียหายเบื้องต้นให้แก่ผู้ประสบภัยไปแล้ว บริษัทมีสิทธิไล่เบี้ยเอาแก่บุคคลภายนอก เจ้าของรถ ผู้ขับขี่รถ ผู้ซึ่งอยู่ในรถหรือผู้ประสบภัย ซึ่งเป็น ผู้ก่อให้เกิดความเสียหายได้ภายในกำหนดอายุความ 1 ปีนับแต่วันที่ได้จ่ายเงินค่าเสียหายเบื้องต้นให้แก่ผู้ประสบภัยแต่อายุความ 1 ปี ดังกล่าวมิได้หมายความรวมถึงการฟ้องไล่เบี้ยเอาแก่บริษัทผู้รับประกันภัยรถคันที่ก่อให้เกิดความเสียหายด้วยเมื่อจำเลยเป็นบริษัทผู้รับประกันภัยรถคันที่ก่อให้เกิดความเสียหายมิใช่เป็นบุคคลภายนอกผู้ก่อให้เกิดความเสียหายในเหตุที่ รถชนกันแล้ว กรณีจึงไม่อาจนำอายุความ 1 ปี ตามมาตรา 31 วรรคสอง ดังกล่าวมาใช้บังคับ หากแต่เป็นเรื่องที่ผู้รับประกันภัย ฟ้องไล่เบี้ยเรียกค่าเสียหายเอาจากผู้รับประกันภัยด้วยกัน ต้องใช้อายุความ 2 ปี ตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 882 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1598/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องเรียกค่าเสียหายจากประกันภัย: ประกันภัยกับประกันภัย vs. ประกันภัยกับบุคคลภายนอก
โจทก์ได้บรรยายฟ้องด้วยว่า เมื่อโจทก์ได้จ่ายค่าสินไหมทดแทนเป็นค่ารักษาพยาบาลเบื้องต้นตามกฎหมายให้แก่ผู้บาดเจ็บหรือผู้เอาประกันภัยไปแล้ว โจทก์จึงอยู่ในฐานะผู้รับช่วงสิทธิใช้สิทธิไล่เบี้ยเอาแก่จำเลยในฐานะผู้รับประกันภัยรถยนต์คันที่ก่อให้เกิดความเสียหายได้ คำฟ้องของโจทก์จึงมิได้จำกัดเฉพาะการฟ้องเรียกค่ารักษาพยาบาล ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535เท่านั้น ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์จึงหยิบยกบทบัญญัติในเรื่องอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 882 ขึ้นวินิจฉัยได้ พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535มาตรา 31 ซึ่งใช้บังคับในขณะเกิดเหตุ มีความหมายว่าถ้าบริษัทผู้รับประกันภัยได้จ่ายค่าเสียหายเบื้องต้นให้แก่ผู้ประสบภัยไปแล้ว บริษัทมีสิทธิไล่เบี้ยเอาแก่บุคคลภายนอกเจ้าของรถ ผู้ขับขี่รถ ผู้ซึ่งอยู่ในรถหรือผู้ประสบภัยซึ่งเป็นผู้ก่อให้เกิดความเสียหายได้ภายในกำหนดอายุความ 1 ปี นับแต่วันที่ได้จ่ายเงินค่าเสียหายเบื้องต้นให้แก่ผู้ประสบภัย แต่อายุความ 1 ปี ดังกล่าวมิได้ หมายความรวมถึง การฟ้องไล่เบี้ยเอาแก่บริษัทผู้รับประกันภัยรถคันที่ก่อ ให้เกิดความเสียหายด้วย เมื่อจำเลยเป็นบริษัทผู้รับประกันภัย รถคันที่ก่อให้เกิดความเสียหาย มิใช่เป็นบุคคลภายนอก ผู้ก่อให้เกิดความเสียหายในเหตุที่รถชนกันแล้ว กรณีจึง ไม่อาจนำอายุความ 1 ปี ตามมาตรา 31 วรรคสอง ดังกล่าวมาใช้บังคับ หากแต่เป็นเรื่องที่ผู้รับประกันภัย ฟ้องไล่เบี้ยเรียกค่าเสียหายเอาจากผู้รับประกันภัยด้วยกัน ต้องใช้อายุความ 2 ปี ตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 882 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7625/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิไล่เบี้ยของผู้รับประกันภัยรถยนต์ตามพ.ร.บ.คุ้มครองผู้ประสบภัยฯ และขอบเขตความรับผิดของผู้เอาประกันภัย
กรมธรรม์ประกันภัยพิพาทเป็นกรมธรรม์คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535 ซึ่งบังคับให้เจ้าของรถจะต้องจัดให้มีการประกันตามมาตรา 7 เมื่อโจทก์ในฐานะผู้รับประกันภัยได้จ่ายค่าสินไหมทดแทนเป็นค่าเสียหายเบื้องต้น 10,000 บาท ตามกรมธรรม์ประกันภัยพิพาทข้อ 4 ซึ่งโจทก์จะต้องจ่ายค่าเสียหายเบื้องต้นโดยไม่ต้องรอการพิสูจน์ความรับผิดให้เสร็จสิ้นภายใน7วันนับแต่วันที่โจทก์ได้รับการร้องขอเป็นการปฏิบัติตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถพ.ศ. 2535 มาตรา 20 และกฎกระทรวงฉบับที่ 6(พ.ศ. 2535) ออกตาม ความในพระราชบัญญัติดังกล่าว โจทก์ย่อมมีสิทธิไล่เบี้ยเอาจากจำเลยที่ 1 ผู้ขับขี่รถที่ก่อให้เกิดความเสียหายเพราะประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงได้ตามพระราชบัญญัติดังกล่าวมาตรา 31 อันเป็นสิทธิไล่เบี้ยที่เกิดขึ้นโดยผลของกฎหมายเฉพาะ มิใช่การรับช่วงสิทธิตามมาตรา 880 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ทั้งโจทก์ย่อมมีสิทธิไล่เบี้ยเอาค่าเสียหายเบื้องต้นดังกล่าวจากจำเลยที่ 2 ในฐานะที่เป็นนายจ้างของจำเลยที่ 1 ในผลแห่งละเมิดซึ่งลูกจ้างได้กระทำไปในทางการที่จ้างนั้นได้ด้วย แต่โจทก์ไม่มีสิทธิไล่เบี้ยเอาค่าเสียหายเบื้องต้นส่วนนี้เอาจากจำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นผู้เอาประกันภัยเพราะจำเลยที่ 3 มิได้กระทำโดยจงใจหรือประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง ทั้งจำเลยที่ 3 ไม่ใช่ผู้ขับขี่รถหรือนายจ้างของจำเลยที่ 1 ตามมาตรา 31 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว ส่วนจำนวนค่าสินไหมทดแทนอีก 40,000 บาท ที่โจทก์จ่ายให้ฝ่ายผู้ประสบภัยจากรถไปนั้น ตามกรมธรรม์ประกันภัยพิพาทข้อ 2.1 โจทก์จะจ่ายค่าสินไหมทดแทนส่วนนี้ให้แก่ผู้ประสบภัยในนามของผู้เอาประกันภัยซึ่งผู้เอาประกันภัยจะต้องรับผิดชอบตามกฎหมาย เมื่อจำเลยที่ 3 ผู้เอาประกันไม่ต้องรับผิดสำหรับการกระทำละเมิดของจำเลยที่ 1 โจทก์จึงไม่จำต้องรับผิดชอบใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่ผู้ประสบภัยในนามของจำเลยที่ 3 ผู้เอาประกันภัยซึ่งผู้เอาประกันภัยจะต้องรับผิดชอบตามกฎหมายตามกรมธรรม์คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถข้อ 2.1 ดังนั้น การที่โจทก์จ่ายเงินจำนวนนี้ให้แก่ ส. ไปจึงเป็นการชำระหนี้โดยปราศจากมูลหนี้ ไม่อาจรับช่วงสิทธิมาไล่เบี้ยเอาจากจำเลยที่ 1 และที่ 2 ได้ เพราะกรณีไม่เข้าเหตุที่จะรับช่วงสิทธิตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 880 ทั้งโจทก์ในฐานะผู้รับประกันภัยย่อมไม่อาจจะรับช่วงสิทธิของจำเลยที่ 3 ผู้เอาประกันภัยฟ้องจำเลยที่ 3 ผู้เอาประกันภัยเรียกเอาค่าสินไหมทดแทนส่วนนี้ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7625/2541 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิไล่เบี้ยของผู้รับประกันภัยตาม พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ และขอบเขตความรับผิดของผู้เอาประกันภัย
จำเลยที่ 3 เป็นเจ้าของรถยนต์โดยสารสาธารณะ ซึ่งได้เอาประกันภัยประเภทคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถกับโจทก์ จำเลยที่ 3 ได้ว่าจ้างจำเลยที่ 2 ซ่อมรถยนต์โดยสารคันดังกล่าว วันเกิดเหตุจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นลูกจ้างของจำเลยที่ 2 ได้ทำการซ่อมรถยนต์โดยสารคันดังกล่าวอันเป็นการกระทำในทางการที่จ้างของจำเลยที่ 2 ในการซ่อมรถจำเลยที่ 1 ได้ทดลองขับรถและขับด้วยความประมาทเลินเล่อเฉี่ยวชน ห.ซึ่งขับรถจักรยานยนต์มาในที่เกิดเหตุเป็นเหตุให้ ห.ถึงแก่ความตาย จำเลยที่ 2 และที่ 3 ได้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความกับ ส.มารดาของ ห. ต่อมาโจทก์ใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่ ส.เป็นเงิน 50,000 บาทดังนี้ ตามกรมธรรม์ประกันภัยพิพาทเป็นกรมธรรม์คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถตามพ.ร.บ.คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535 ซึ่งบังคับให้เจ้าของรถจะต้องจัดให้มีการประกันตามมาตรา 7 เมื่อโจทก์ในฐานะผู้รับประกันภัยได้จ่ายค่าสินไหมทดแทนเป็นค่าเสียหายเบื้องต้น 10,000 บาท ตามกรมธรรมประกันภัยพิพาทข้อ 4 ซึ่งโจทก์จะต้องจ่ายค่าเสียหายเบื้องต้นโดยไม่ต้องรอการพิสูจน์ความรับผิดให้เสร็จสิ้นภายใน7 วัน นับแต่วันที่โจทก์ได้รับการร้องขอเป็นการปฏิบัติตาม พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535 มาตรา 20 และกฏกระทรวงฉบับที่ 6 (พ.ศ. 2535) ออกตามความใน พ.ร.บ.ดังกล่าว โจทก์ย่อมมีสิทธิไล่เบี้ยเอาจากจำเลยที่ 1 ผู้ขับขี่รถที่ก่อให้เกิดความเสียหายเพราะประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงได้ตาม พ.ร.บ.ดังกล่าวมาตรา 31 อันเป็นสิทธิไล่เบี้ยที่เกิดขึ้นโดยผลของกฎหมายเฉพาะ มิใช่การรับช่วงสิทธิตามมาตรา 880 แห่ง ป.พ.พ. ทั้งโจทก์ย่อมมีสิทธิไล่เบี้ยเอาค่าเสียหายเบื้องต้นดังกล่าวจากจำเลยที่ 2 ในฐานะที่เป็นนายจ้างของจำเลยที่ 1 ในผลแห่งละเมิดซึ่งลูกจ้างได้กระทำไปในทางการที่จ้างนั้นได้ด้วย แต่โจทก์ไม่มีสิทธิไล่เบี้ยเอาค่าเสียหายเบื้องต้นส่วนนี้เอาจากจำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นผู้เอาประกันภัยเพราะจำเลยที่ 3 มิได้กระทำโดยจงใจหรือประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง ทั้งจำเลยที่ 3 ไม่ใช่ผู้ขับขี่รถหรือนายจ้างของจำเลยที่ 1 ตามมาตรา 31 แห่ง พ.ร.บ.ดังกล่าว
ส่วนจำนวนค่าสินไหมทดแทนที่โจทก์จ่ายให้ฝ่ายผู้ประสบภัยจากรถไปนั้น ตามกรมธรรม์ประกันภัยพิพาทข้อ 2.1 โจทก์จะจ่ายค่าสินไหมทดแทนให้แก่ผู้ประสบภัยในนามของผู้เอาประกันภัยซึ่งผู้เอาประกันภัยจะต้องรับผิดชอบตามกฎหมายเมื่อจำเลยที่ 3 ผู้เอาประกันไม่ต้องรับผิดสำหรับการกระทำละเมิดของจำเลยที่ 1โจทก์จึงไม่จำต้องรับผิดชอบใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่ผู้ประสบภัยในนามของจำเลยที่ 3ผู้เอาประกันภัยซึ่งผู้เอาประกันภัยจะต้องรับผิดชอบตามกฎหมายตามกรมธรรม์คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถข้อ 2.1 ดังนั้น การที่โจทก์จ่ายเงินจำนวนนี้ให้แก่ ส.ไปจึงเป็นการชำระหนี้โดยปราศจากมูลหนี้ ไม่อาจรับช่วงสิทธิมาไล่เบี้ยเอาจากจำเลยที่ 1 และที่ 2 ได้ เพราะกรณีไม่เข้าเหตุที่จะรับช่วงสิทธิตาม ป.พ.พ.มาตรา 880 ทั้งโจทก์ในฐานะผู้รับประกันภัยย่อมไม่อาจจะรับช่วงสิทธิของจำเลยที่ 3 ผู้เอาประกันภัยฟ้องจำเลยที่ 3 ผู้เอาประกันภัยเรียกเอาค่าสินไหมทดแทนส่วนนี้ได้
ส่วนจำนวนค่าสินไหมทดแทนที่โจทก์จ่ายให้ฝ่ายผู้ประสบภัยจากรถไปนั้น ตามกรมธรรม์ประกันภัยพิพาทข้อ 2.1 โจทก์จะจ่ายค่าสินไหมทดแทนให้แก่ผู้ประสบภัยในนามของผู้เอาประกันภัยซึ่งผู้เอาประกันภัยจะต้องรับผิดชอบตามกฎหมายเมื่อจำเลยที่ 3 ผู้เอาประกันไม่ต้องรับผิดสำหรับการกระทำละเมิดของจำเลยที่ 1โจทก์จึงไม่จำต้องรับผิดชอบใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่ผู้ประสบภัยในนามของจำเลยที่ 3ผู้เอาประกันภัยซึ่งผู้เอาประกันภัยจะต้องรับผิดชอบตามกฎหมายตามกรมธรรม์คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถข้อ 2.1 ดังนั้น การที่โจทก์จ่ายเงินจำนวนนี้ให้แก่ ส.ไปจึงเป็นการชำระหนี้โดยปราศจากมูลหนี้ ไม่อาจรับช่วงสิทธิมาไล่เบี้ยเอาจากจำเลยที่ 1 และที่ 2 ได้ เพราะกรณีไม่เข้าเหตุที่จะรับช่วงสิทธิตาม ป.พ.พ.มาตรา 880 ทั้งโจทก์ในฐานะผู้รับประกันภัยย่อมไม่อาจจะรับช่วงสิทธิของจำเลยที่ 3 ผู้เอาประกันภัยฟ้องจำเลยที่ 3 ผู้เอาประกันภัยเรียกเอาค่าสินไหมทดแทนส่วนนี้ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7625/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิไล่เบี้ยของผู้รับประกันภัยคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ: ขอบเขตความรับผิดของผู้ขับขี่ นายจ้าง และผู้เอาประกัน
จำเลยที่ 3 เป็นเจ้าของรถยนต์โดยสารได้เอาประกันภัยประเภทคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถไว้กับโจทก์ จำเลยที่ 3ว่าจ้างจำเลยที่ 2 ซ่อมรถยนต์ จำเลยที่ 1 เป็นลูกจ้างของจำเลยที่ 2 ได้ซ่อมรถยนต์และทดลองขับรถและขับด้วยความประมาทเลินเล่อเฉี่ยวชน ห. ถึงแก่ความตายจำเลยที่ 2 และที่ 3 ได้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความกับ ส.มารดาของ ห.ต่อมาโจทก์ใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่ส.เป็นเงิน 50,000 บาท เมื่อโจทก์ในฐานะผู้รับประกันภัยได้จ่ายค่าสินไหมทดแทนเป็นค่าเสียหายเบื้องต้น 10,000 บาทซึ่งโจทก์จะต้องจ่ายค่าเสียหายเบื้องต้นโดยไม่ต้องรอการพิสูจน์ ความรับผิดให้เสร็จสิ้นภายใน 7 วัน นับแต่วันที่โจทก์ได้รับการร้องขอเป็นการปฏิบัติตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535 มาตรา 20 โจทก์ย่อมมีสิทธิ ไล่เบี้ยเอาจากจำเลยที่ 1 ผู้ขับขี่รถที่ก่อให้เกิดความเสียหาย เพราะประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงได้ตามพระราชบัญญัติ คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถฯ มาตรา 31 อันเป็นสิทธิไล่เบี้ย ที่เกิดขึ้นโดยผลของกฎหมายเฉพาะ มิใช่การรับช่วงสิทธิ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 880 ทั้งโจทก์ ย่อมมีสิทธิไล่เบี้ยเอาค่าเสียหายเบื้องต้นดังกล่าว จากจำเลยที่ 2 ในฐานะที่เป็นนายจ้างของจำเลยที่ 1ในผลแห่งละเมิดซึ่งลูกจ้างได้กระทำไปในทางการที่จ้างนั้นได้ด้วย แต่โจทก์ไม่มีสิทธิไล่เบี้ยเอาค่าเสียหายเบื้องต้นส่วนนี้จากจำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นผู้เอาประกันภัยได้เพราะจำเลยที่ 3 มิได้กระทำโดยจงใจหรือประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงทั้งไม่ใช่ผู้ขับขี่รถหรือนายจ้างของจำเลยที่ 1 ตามกรมธรรม์ประกันภัย โจทก์จะจ่ายค่าสินไหมทดแทนให้แก่ผู้ประสบภัยในนามของผู้เอาประกันภัย ซึ่งผู้เอาประกันภัยจะต้องรับผิดชอบตามกฎหมาย เมื่อจำเลยที่ 3 ผู้เอาประกันไม่ต้องรับผิดสำหรับการกระทำละเมิดของจำเลยที่ 1โจทก์จึงไม่จำต้องรับผิดชอบใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่ผู้ประสบภัยในนามของจำเลยที่ 3 ผู้เอาประกันภัย ดังนั้นการที่โจทก์จ่ายเงินอีก 40,000 บาทให้แก่ ส. ไป จึงเป็นการชำระหนี้โดยปราศจากมูลหนี้ไม่อาจรับช่วงสิทธิมาไล่เบี้ยเอาจากจำเลยที่ 1 และที่ 2 ได้ เพราะกรณีไม่เข้าเหตุที่จะรับช่วงสิทธิตามมาตรา 880 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ทั้งโจทก์ในฐานะผู้รับประกันภัยย่อมไม่อาจจะรับช่วงสิทธิของจำเลยที่ 3 ผู้เอาประกันภัยฟ้องจำเลยที่ 3 ผู้เอาประกันภัยเรียกเอาค่าสินไหมทดแทนส่วนนี้ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3307/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความไล่เบี้ยประกันภัย: ผู้รับประกันภัยฟ้องเรียกค่าเสียหายจากผู้รับประกันภัยด้วยกัน ต้องใช้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535มาตรา 31 กำหนดให้บริษัทหรือสำนักงานกองทุนทดแทนผู้ประสบภัย ซึ่งได้จ่ายค่าเสียหายเบื้องต้นให้แก่ผู้ประสบภัยไปแล้ว เป็นจำนวนเท่าใด มีสิทธิไล่เบี้ยเอากับบุคคลภายนอกเจ้าของรถผู้ขับขี่ ผู้ซึ่งอยู่ในรถหรือผู้ประสบภัยซึ่งเป็นผู้ก่อให้เกิดความเสียหายได้ภายในกำหนดอายุความ1 ปี นับแต่วันที่ได้จ่ายเงินค่าเสียหายเบื้องต้นให้แก่ผู้ประสบภัยเมื่อโจทก์ซึ่งเป็นผู้รับประกันภัยรถยนต์ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถฯ ฟ้องจำเลยซึ่งเป็นผู้รับประกันภัยรถคันที่ก่อให้เกิดความเสียหาย มิใช่เป็นบุคคลภายนอกผู้ก่อให้เกิดความเสียหายให้เหตุที่รถชนกันจึงไม่อาจนำอายุความ 1 ปี ตามพระราชบัญญัติคุ้มครอง ผู้ประสบภัยจากรถฯ มาตรา 31 วรรคสองมาใช้บังคับ แต่เป็นเรื่อง ที่ผู้รับประกันภัยฟ้องไล่เบี้ยเรียกค่าเสียหายเอาจาก ผู้รับประกันภัยด้วยกันจึงต้องใช้อายุความ 2 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 882 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3307/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความไล่เบี้ย พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ประสบภัย: ความแตกต่างระหว่างบุคคลภายนอกกับผู้รับประกันภัยด้วยกัน
บทบัญญัติตาม พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ.2535มาตรา 31 มีความหมายว่า ให้บริษัทหรือสำนักงานกองทุนทดแทนผู้ประสบภัยซึ่งได้จ่ายค่าเสียหายเบื้องต้นให้แก่ผู้ประสบภัยไปแล้วเป็นจำนวนเท่าใด มีสิทธิไล่เบี้ยเอากับบุคคลภายนอก เจ้าของรถ ผู้ขับขี่รถ ผู้ซึ่งอยู่ในรถหรือผู้ประสบภัย ซึ่งเป็นผู้ก่อให้เกิดความเสียหายได้ภายในกำหนดอายุความ 1 ปี นับแต่วันที่ได้จ่ายเงินค่าเสียหายเบื้องต้นให้แก่ผู้ประสบภัย
จำเลยเป็นเพียงบริษัทผู้รับประกันภัยรถคันที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ จำเลยจึงมิใช่บุคคลภายนอกผู้ก่อให้เกิดความเสียหายในเหตุที่รถชนกัน กรณีจึงไม่อาจนำอายุความ 1 ปี ตาม พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถพ.ศ.2535 มาตรา 31 วรรคสอง มาใช้บังคับ การที่ผู้รับประกันภัยฟ้องไล่เบี้ยเรียกค่าเสียหายเอาจากจำเลยผู้รับประกันภัยด้วยกัน จึงต้องนำอายุความ 2 ปีนับแต่วันวินาศภัย ตาม ป.พ.พ.มาตรา 882 วรรคหนึ่ง มาใช้บังคับ
จำเลยเป็นเพียงบริษัทผู้รับประกันภัยรถคันที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ จำเลยจึงมิใช่บุคคลภายนอกผู้ก่อให้เกิดความเสียหายในเหตุที่รถชนกัน กรณีจึงไม่อาจนำอายุความ 1 ปี ตาม พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถพ.ศ.2535 มาตรา 31 วรรคสอง มาใช้บังคับ การที่ผู้รับประกันภัยฟ้องไล่เบี้ยเรียกค่าเสียหายเอาจากจำเลยผู้รับประกันภัยด้วยกัน จึงต้องนำอายุความ 2 ปีนับแต่วันวินาศภัย ตาม ป.พ.พ.มาตรา 882 วรรคหนึ่ง มาใช้บังคับ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2437/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เขตอำนาจศาล: มูลคดีคือต้นเหตุการโต้แย้งสิทธิ ไม่ใช่การจ่ายค่าเสียหายเบื้องต้น
ที่ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา4บัญญัติให้เสนอคำฟ้องต่อศาลที่จำเลยมีภูมิลำเนาอยู่ในเขตศาลหรือต่อศาลที่มีมูลคดีเกิดขึ้นในเขตศาลไม่ว่าจำเลยจะมีภูมิลำเนาอยู่ในราชอาณาจักรหรือไม่นั้นคำว่ามูลคดีหมายถึงต้นเหตุอันเป็นที่มาแห่งการโต้แย้งสิทธิอันจะทำให้โจทก์เกิดอำนาจฟ้องแต่ตามคำฟ้องของโจทก์ที่ว่าโจทก์ได้จ่ายค่าเสียหายเบื้องต้นให้แก่ป. ที่สำนักงานคุ้มครองผู้เอาประกันภัยซึ่งตั้งอยู่ในเขตอำนาจศาลแขวงพระโขนง เป็นเรื่องที่โจทก์ใช้สิทธิไล่เบี้ยตามมาตรา31วรรคหนึ่งแห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถพ.ศ.2535อันเนื่องมาแต่มูลเหตุละเมิดที่จำเลยได้ก่อขึ้นการจ่ายค่าเสียหายเบื้องต้นดังกล่าวมิใช่ต้นเหตุพิพาทอันเป็นที่มาแห่งการโต้แย้งสิทธิแห่งโจทก์คงเป็นเพียงสิทธิที่โจทก์จะใช้สิทธิไล่เบี้ยตามที่กฎหมายกำหนดไว้เท่านั้นมูลคดีนี้จึงมิได้เกิดขึ้นในเขตอำนาจของศาลแขวงพระโขนง โจทก์จึงเสนอคำฟ้องต่อศาลแขวงพระโขนงหาได้ไม่