คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.วิ.พ. ม. 41 วรรคแรก

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 3 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1277/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลื่อนคดี – ดุลพินิจศาล – เจตนาประวิงคดี – การตรวจอาการป่วยของทนาย
คู่ความจะร้องขอเลื่อนคดีติดต่อกันได้ ต้องเป็นกรณีที่มี เหตุจำเป็นอันไม่อาจก้าวล่วงเสียได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 40 วรรคหนึ่งและการอนุญาตให้เลื่อนคดีหรือไม่เป็นดุลพินิจของศาลแม้ตามคำร้องทนายจำเลยอ้างว่าปวดศีรษะแต่ไม่มี ใบรับรองแพทย์มาแสดงว่าเป็นความเจ็บป่วยจนถึงกับไม่สามารถ มาศาลได้ นอกจากนี้ ทนายจำเลยก็ไม่ได้แสดงให้เป็นที่พอใจ ของศาลชั้นต้นว่าถ้าศาลชั้นต้นไม่อนุญาตให้เลื่อนคดีต่อไปอีก จะทำให้เสียความยุติธรรม ตามพฤติการณ์แสดงว่าจำเลย มีเจตนาหน่วงเหนี่ยวให้คดีล่าช้าปราศจากเหตุอันสมควร จึงเป็นการประวิงคดี ศาลชั้นต้นจะตั้งเจ้าพนักงานศาลหรือแพทย์ไปตรวจอาการ เจ็บป่วยของทนายจำเลยว่าทนายจำเลยป่วยจริงหรือไม่ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 41 วรรคหนึ่ง ต้องเป็นกรณีที่ศาลชั้นต้นเห็นสมควรหรือเมื่อคู่ความ ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งร้องขอ ศาลชั้นต้นจึงจะมีคำสั่งได้ แต่กรณีไม่มีคู่ความฝ่ายใดร้องขอ การที่ศาลชั้นต้น พิจารณาถึงพฤติการณ์ต่าง ๆ และเห็นว่าทนายจำเลยยังสามารถ ว่าความได้ ไม่เชื่อว่าทนายจำเลยป่วยจริงเป็นกรณีที่ศาลชั้นต้นใช้ดุลพินิจว่าไม่สมควรมีคำสั่งตั้งเจ้าพนักงานศาลหรือแพทย์ ไปตรวจอาการเจ็บป่วยของทนายจำเลย ศาลชั้นต้นจึงชอบที่จะ ไม่อนุญาตให้จำเลยเลื่อนคดีและงดสืบพยานได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1927/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การปฏิบัติตามขั้นตอนอุทธรณ์ และการใช้ดุลพินิจศาลในการเลื่อนคดีเนื่องจากเหตุป่วย
บทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ว่าด้วยอุทธรณ์มาตรา 198,200 และ 201 มีความหมายชัดเจนบังคับไว้ว่า เมื่อศาลชั้นต้นรับอุทธรณ์แล้วเป็นหน้าที่ของศาลชั้นต้นที่ต้องส่งสำเนาอุทธรณ์ให้อีกฝ่ายหนึ่งและกำหนดเวลาให้แก้อุทธรณ์ภายในกำหนดสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้รับสำเนาอุทธรณ์ การที่ศาลชั้นต้นสั่งอุทธรณ์ของโจทก์ว่า "รับเป็นอุทธรณ์โจทก์ สำเนาให้อีกฝ่าย"และออกหมายนัดส่งให้แก่จำเลยที่ 1 โดยมีข้อความในหมายนัดว่า"ด้วยคดีเรื่องนี้ศาลได้รับอุทธรณ์ของโจทก์ดังสำเนาอุทธรณ์แนบมาพร้อมหมายนี้ เพราะฉะนั้นจึงแจ้งมาให้ทราบ" เป็นการส่งสำเนาอุทธรณ์ของโจทก์ให้จำเลยที่ 1 ทราบเท่านั้น มิได้กำหนดให้จำเลยที่ 1แก้อุทธรณ์ภายในระยะเวลาที่กฎหมายกำหนดไว้ จึงเป็นกรณีที่ศาลชั้นต้นมิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ว่าด้วยการอุทธรณ์ คู่ความจะร้องขอเลื่อนคดีติดต่อกันได้ต้องเป็นกรณีที่มีเหตุจำเป็นอันไม่อาจก้าวล่วงเสียได้ตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 40 ประกอบประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15 และการอนุญาตให้เลื่อนคดีหรือไม่เป็นดุลพินิจของศาล ในการขอเลื่อนคดีครั้งที่ 2โจทก์มีใบรับรองแพทย์ของโรงพยาบาลมาแสดง ระบุว่าโจทก์มีอาการอ่อนแรงแขนขาด้านซ้าย เนื่องจากโรคเส้นเลือดสมองตีบ และความดันโลหิตสูงได้เข้ารักษาในโรงพยาบาลและยังไม่มีกำหนดกลับบ้านการขอเลื่อนการสืบพยานโจทก์จึงเป็นการอ้างเหตุขอเลื่อนคดีเพราะตัวความป่วยเจ็บไม่สามารถมาศาลได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 41 วรรคแรก ประกอบประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15 หากศาลชั้นต้นมีความสงสัยว่าโจทก์ป่วยจริงหรือไม่ก็มีอำนาจไต่สวนคำร้องขอเลื่อนคดีเสียก่อนได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 21(4)ประกอบประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15 หรือจะตั้งเจ้าพนักงานศาลไปตรวจดูว่า โจทก์ป่วยเจ็บจริงหรือไม่ก็ได้หากข้ออ้างดังกล่าวเป็นความจริงก็ถือได้ว่ากรณีมีเหตุจำเป็นอันไม่อาจก้าวล่วงเสียได้และมีเหตุสมควรที่ศาลชั้นต้นจะใช้ดุลพินิจให้โจทก์เลื่อนคดีอีกครั้งหนึ่งตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 40 ประกอบ ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15 ดังกล่าว ศาลชั้นต้นไม่อนุญาตให้โจทก์เลื่อนคดีแล้วมีคำสั่งงดสืบพยานโจทก์พร้อมทั้งพิพากษายกฟ้องในวันเดียวกัน โจทก์อุทธรณ์ว่าคำสั่งของศาลชั้นต้นที่ให้งดสืบพยานโจทก์ไม่ชอบ เป็นการอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงที่มิได้เกี่ยวกับประเด็นแห่งคดี จึงไม่ต้องห้ามอุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 193 ทวิ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1534/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลตั้งเจ้าพนักงานตรวจอาการป่วยจำเลยเพื่อพิจารณาเลื่อนคดี แม้เจ้าพนักงานมิใช่แพทย์
ในกรณีที่จำเลยขอเลื่อนการสืบพยาน อ้างว่า จำเลยป่วยไม่สามารถมาศาลได้ ศาลมีอำนาจตั้งเจ้าพนักงานศาลไปตรวจดูว่าจำเลยป่วยจริงหรือไม่เพียงใด โดยไม่ต้องมีแพทย์ไปตรวจด้วย แม้เจ้าพนักงานศาลจะมิใช่แพทย์ แต่เมื่อเจ้าพนักงานศาลได้รายงานผลการตรวจดูอาการจำเลยต่อศาลโดยสาบานตัวแล้ว ศาลย่อมรับฟังและเชื่อได้ว่าอาการป่วยของจำเลยไม่ร้ายแรงถึงกับจะมาศาลไม่ได้