คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 169 เดิม

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 14 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4312/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความการกู้ยืมเงินเริ่มนับจากวันผิดสัญญาชำระดอกเบี้ย แม้ยังไม่ถึงกำหนดชำระเงินต้น
การกู้ยืมเงินมิได้กำหนดอายุความโดยเฉพาะ จึงมีอายุความ 10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164(เดิม) และตามมาตรา 169(เดิม)บัญญัติว่า "อายุความให้เริ่มนับแต่ขณะที่อาจบังคับสิทธิเรียกร้องเป็นต้นไป" เมื่อสัญญากู้เงิน ข้อ 4 กำหนดให้จำเลยจะต้องชำระดอกเบี้ยให้โจทก์เดือนแรกภายในวันที่30 พฤศจิกายน 2527 การที่จำเลยไม่ได้ชำระดอกเบี้ยให้โจทก์เลยจึงเป็นการผิดสัญญาซึ่งสัญญากู้เงินข้อ 6 ระบุว่า โจทก์ฟ้องเรียกต้นเงินและดอกเบี้ยได้ ถือได้ว่า ระยะเวลาซึ่งโจทก์อาจบังคับสิทธิเรียกร้องได้เริ่มนับตั้งแต่วันที่ 1 ธันวาคม 2527 เป็นต้นไป โดยไม่จำต้องรอจนครบกำหนดชำระเงินคืนตามสัญญา อายุความจึงเริ่มนับตั้งแต่วันดังกล่าวโจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 27 ตุลาคม 2538 เกิน 10 ปี ฟ้องโจทก์จึงขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6082/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องเรียกเงินค่าจ้างที่นายจ้างหักไว้จากลูกจ้าง เริ่มนับเมื่อได้รับชำระหนี้จากลูกหนี้ของนายจ้าง
การที่จำเลยหักจากค่าจ้างโจทก์ซึ่งเป็นพนักงานขายเป็นงวด ๆเพื่อเป็นค่าสินค้าที่เรียกเก็บจากลูกค้าไม่ได้ โดยจำเลยจะต้องจ่ายเงินคืนโจทก์เมื่อเก็บค่าสินค้าที่ขายให้แก่ลูกค้าได้แล้ว เมื่อคดีที่จำเลยฟ้องโรงเรียน ก. เรียกค่าเครื่องพิมพ์ดีดที่โจทก์นำไปขายได้เสร็จสิ้นเมื่อวันที่ 10 มีนาคม 2535 แสดงว่าจำเลยได้รับค่าสินค้าจากลูกค้าแล้วจึงต้องเริ่มนับอายุความตั้งแต่วันดังกล่าว ซึ่งเป็นวันที่โจทก์มีสิทธิบังคับตามสิทธิเรียกร้องเป็นต้นไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 169บรรพ 1 เดิม ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในขณะนั้น หนี้การเรียกเงินที่นายจ้างหักจากค่านายหน้าจากการขาย (ค่าจ้าง)ของลูกจ้างเพื่อชำระค่าเสียหายนั้น ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์และกฎหมายอื่นมิได้บัญญัติอายุความไว้โดยเฉพาะจึงมีอายุความ10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164 บรรพ 1 เดิมโจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 30 มีนาคม 2543 จึงไม่ขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7176/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความค่าเช่าที่ดิน: นับเริ่มเมื่อค้างชำระรายเดือน ไม่นับจากวันเริ่มสัญญา
การนับอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 193/12(เดิม 169) ให้นับเริ่มแต่ขณะที่อาจบังคับสิทธิเรียกร้องได้เป็นต้นไป
ค่าเช่าที่ดินที่จำเลยต้องชำระให้แก่โจทก์เป็นรายเดือนเมื่อจำเลยค้างชำระค่าเช่าที่ดินในเดือนใด สิทธิเรียกร้องค่าเช่าที่ดินที่ค้างชำระในเดือนนั้นก็เกิดขึ้นนับแต่วันที่จำเลยค้างชำระอันเป็นวันที่อาจบังคับสิทธิเรียกร้องค่าเช่าที่ดินนั้นได้เป็นต้นไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1986/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของผู้จัดการสหกรณ์ต่อความเสียหายจากสินค้าขาดบัญชี และขอบเขตความรับผิดของจำนอง
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยที่ 1 รับจ้างเป็นผู้จัดการของโจทก์ตามสัญญาจ้างผู้จัดการ โดยสัญญามีข้อตกลงว่าจำเลยที่ 1 รับชดใช้ค่าเสียหายหรือหนี้สินที่จำเลยที่ 1 เป็นผู้ก่อให้เกิดความเสียหายหรือก่อให้เกิดหนี้สินต่อโจทก์ไม่ว่าด้วยเหตุใด ๆระหว่างจำเลยที่ 1 ปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้จัดการของโจทก์ สินค้าโจทก์ขาดบัญชีไป จำเลยที่ 1 มีหน้าที่รับผิดชดใช้ค่าสินค้าที่ขาดบัญชีดังกล่าวตามข้อตกลง เป็นการเรียกร้องให้จำเลยที่ 1 ชำระหนี้ตามข้อตกลงที่มีต่อกันตามสัญญาที่ทำกันไว้ และอายุความในกรณีนี้มิได้มีกฎหมายบัญญัติไว้โดยเฉพาะ จึงต้องมีอายุความ 10 ปี นับแต่โจทก์ทราบว่าสินค้าโจทก์ขาดบัญชีตาม มาตรา 169 เดิม อันเป็นบทกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในขณะที่โจทก์ถูกโต้แย้งสิทธิ
สัญญาจ้างฉบับพิพาทมีข้อความว่า ผู้รับจ้างได้รับทราบและตกลงที่จะปฏิบัติหน้าที่ผู้จัดการตามระเบียบข้อบังคับของร้านสหกรณ์และหน้าที่อื่น ๆ ตามที่คณะกรรมการดำเนินการจะมอบหมายให้ ถ้าผู้รับจ้างก่อให้เกิดความเสียหายหรือก่อให้เกิดหนี้สินขึ้นต่อผู้จ้างไม่ว่าด้วยเหตุใด ผู้รับจ้างยอมรับผิดชดใช้ค่าเสียหายหรือหนี้สินนั้น ๆ โดยสิ้นเชิงให้แก่ผู้จ้างตามที่ผู้จ้างจะเรียกร้อง และข้อบังคับของโจทก์เกี่ยวกับอำนาจหน้าที่ของผู้จัดการระบุว่า ผู้จัดการมีอำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบในการจัดการทั่วไปในส่วนที่เกี่ยวกับบรรดากิจการค้าของสหกรณ์ รวมทั้งเป็นผู้บังคับบัญชาเจ้าหน้าที่ทั้งหลายของสหกรณ์ จัดการวางระเบียบเกี่ยวกับการปกครองและการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ตามที่เห็นสมควร ทั้งนี้โดยได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการดำเนินการ รับผิดชอบในการจัดทำบัญชีและทะเบียนต่าง ๆ ของสหกรณ์ให้ถูกต้องและเป็นปัจจุบันอยู่เสมอ ตรวจตราดูแลสถานที่ สำนักงาน ร้าน และอุปกรณ์ต่าง ๆ ตลอดจนบรรดาสินค้าของสหกรณ์ให้อยู่ในสภาพอันดีและปลอดภัย ดังนั้นเมื่อสินค้าของโจทก์ในช่วงระยะเวลาที่จำเลยที่ 1 เป็นผู้จัดการของโจทก์ขาดบัญชีไปและไม่ปรากฏว่าที่สินค้าขาดบัญชีไปดังกล่าวเกิดจากการกระทำของผู้อื่น ย่อมเป็นกรณีที่ถือได้ว่าจำเลยที่ 1 ไม่ปฏิบัติตามอำนาจหน้าที่ของผู้จัดการ ทำให้สินค้าของโจทก์ที่อยู่ในความครอบครองสอดส่องดูแลของตนขาดบัญชีไปโดยประมาทเลินเล่อและเกิดความเสียหายแก่โจทก์ จำเลยที่ 1 จึงต้องชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์โดยสิ้นเชิง
จำเลยที่ 2 จำนองที่ดินเป็นประกันความเสียหายที่จำเลยที่ 1อาจเป็นผู้ก่อในวงเงินจำนวน 200,000 บาท ซึ่งเป็นจำนวนจำกัด จำเลยที่ 2จึงไม่ต้องรับผิดเกินไปกว่าวงเงินที่จำนองที่ดินเป็นประกัน การที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้จำเลยที่ 2 ชำระเงินแทน และหากจำเลยที่ 2 ไม่ชำระ ให้ยึดทรัพย์จำนองออกขายทอดตลาดเอาเงินชำระหนี้ให้โจทก์จนครบนั้น ยังไม่ถูกต้อง ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขเสียให้ถูกต้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5535/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความค่าซ่อมรถ: การรับสภาพหนี้ต้องทำโดยลูกหนี้หรือตัวแทน ไม่ใช่หน่วยงานภายใน
คณะกรรมการสอบสวนข้อเท็จจริงที่กรป.กลางตั้งขึ้นเพื่อสอบให้แน่ชัดว่าได้มีการซ่อมรถยนต์9คันกับโจทก์จริงหรือไม่นั้นเป็นเรื่องภายในของหน่วยราชการที่สังกัดจำเลยที่2แม้คณะกรรมการดังกล่าวจะลงความเห็นว่าได้ว่าจ้างให้โจทก์ซ่อมจริงและควรหาทางนำเงินค่าซ่อมไปชำระแก่โจทก์ตามเอกสารหมายจ.34ถือไม่ได้ว่าเป็นการรับสภาพหนี้ทำให้อายุความสะดุดหยุดลงเพราะการรับสภาพหนี้ต้องเป็นกรณีที่ลูกหนี้รับสภาพต่อเจ้าหนี้ว่าจะชำระหนี้ให้ซึ่งจะต้องกระทำโดยลูกหนี้เองหรือโดยตัวแทนของลูกหนี้เท่านั้นแต่ตามเอกสารหมายจ.34ไม่ปรากฎว่าจำเลยที่2ได้รับทราบในการกระทำดังกล่าวและไม่ปรากฎว่าจำเลยที่2ได้แต่งตั้งให้กรป.กลางเป็นตัวแทนไปรับสภาพหนี้ต่อโจทก์แม้กรป.กลางจะเป็นส่วนราชการในสังกัดของจำเลยที่2ก็มิได้หมายความว่าเป็นผู้แทนของจำเลยที่2เป็นเพียงผู้บังคับบัญชากับผู้ใต้บังคับบัญชาเท่านั้นและเปรียบลักษณะอย่างผู้ทำการแทนบริษัทกับบริษัทหาได้ไม่ เมื่อกรป.กลางเป็นเพียงหน่วยงานหนึ่งของจำเลยที่2ซึ่งจะต้องปฎิบัติภารกิจตามที่จำเลยที่2มอบหมายโดยเฉพาะการทำนิติกรรมสัญญากับบุคคลภายนอกกรป.กลางย่อมไม่อาจทำได้เพราะมิใช่นิติบุคคลตามกฎหมายต้องให้จำเลยที่2เป็นคู่สัญญากับบุคคลภายนอกหรือให้กรป.กลางเป็นผู้กระทำแทนในฐานะผู้รับมอบอำนาจจากจำเลยที่2ดังนี้สิทธิเรียกร้องค่าจ้างซ่อมรายนี้โจทก์สามารถเรียกร้องแก่จำเลยที่2ในฐานคู่สัญญาได้นับตั้งแต่วันที่โจทก์ส่งมอบรถยนต์ที่ซ่อมเสร็จจึงถือได้ว่าโจทก์อาจบังคับสิทธิเรียกร้องนั้นแก่จำเลยที่2ได้ตั้งแต่วันดังกล่าวและอายุความย่อมเริ่มนับแต่วันนั้นแต่โจทก์รีรอฟังผลจากกรป.กลางเรื่อยมาจนกระทั่งพ้นกำหนด2ปีนับแต่วันที่มีการส่งมอบและรับมอบรถยนต์ที่ซ่อมแล้วจึงต้องถือว่าคดีของโจทก์ขาดอายุความแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4566-4567/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความค่าจ้างทำของ: สัญญาบริการบำรุงรักษาคอมพิวเตอร์ ฟ้องข้ามปี
สัญญาจ้างบริการบำรุงรักษาและซ่อมแซมแก้ไขเครื่องคอมพิวเตอร์มีข้อความกำหนดให้ผู้รับจ้างจัดหาสิ่งของชนิดที่ดีใช้เครื่องมือดีและช่างผู้มีความรู้ความชำนาญและฝีมือดีมาดำเนินการบำรุงรักษาและซ่อมแซมแก้ไขเครื่องคอมพิวเตอร์สัญญามีกำหนดระยะเวลา12เดือนคู่สัญญาตกลงค่าจ้างซึ่งรวมทั้งค่าแรงงานและค่าสิ่งของตลอดอายุสัญญาเป็นเงิน5,088,252บาทโดยผู้ว่าจ้างจะจ่ายค่าจ้างเป็นรายเดือนในอัตราเดือนละ424,021บาทสัญญาเช่นนี้เป็นสัญญาซึ่งผู้รับจ้างตกลงจะทำการงานสิ่งใดสิ่งหนึ่งจนสำเร็จให้แก่ผู้ว่าจ้างและผู้ว่าจ้างตกลงจะให้สินจ้างเพื่อผลสำเร็จแห่งการที่ทำนั้นจึงเป็นสัญญาจ้างทำของตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา587สิทธิเรียกร้องค่าจ้างทำของจึงมีอายุความ2ปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา165(1)(เดิม),193/34(1)(ใหม่)นับแต่วันที่เริ่มจะอาจบังคับสิทธิเรียกร้องได้เป็นต้นไปของค่าจ้างแต่ละเดือนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา169(เดิม),193/12(ใหม่)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8514/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องคดีเครื่องหมายการค้าต้องใช้กฎหมายเฉพาะ อายุความฟ้องเป็นไปตามบทบัญญัติทั่วไป ป.พ.พ.
การฟ้องคดีเพื่อติดตามเอาคืนซึ่งทรัพย์สิน ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1336 เป็นการใช้อำนาจแห่งกรรมสิทธิ์ซึ่งเป็นบทบัญญัติที่ใช้บังคับแก่ทรัพย์สินที่มีรูปร่างอันได้แก่อสังหาริมทรัพย์และสังหาริมทรัพย์ ส่วนสิทธิในเครื่องหมายการค้าเป็นทรัพย์-สินทางปัญญาซึ่งเป็นสิทธิในนามธรรม การใช้สิทธิฟ้องคดีจึงต้องเป็นไปตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายที่ให้ความคุ้มครองไว้โดยเฉพาะอันได้แก่ พ.ร.บ. เครื่องหมายการค้าพ.ศ.2474 ซึ่งใช้บังคับอยู่ในขณะที่โจทก์ถูกโต้แย้งสิทธิ กรณีของโจทก์ไม่อาจนำมาตรา 1336 แห่ง ป.พ.พ. มาใช้บังคับได้ ตามคำฟ้องโจทก์เป็นเรื่องฟ้องขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้ารายพิพาท โดยโจทก์อ้างว่าโจทก์มีสิทธิในเครื่องหมายการค้านั้นดีว่า ส. และจำเลยทั้งห้าซึ่งเป็นทายาทโดยธรรมผู้รับมรดกของ ส. เป็นการฟ้องคดีตาม พ.ร.บ. เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2474 มาตรา 41 (1) ซึ่งไม่มีกฎหมายบัญญัติเรื่องอายุความไว้ จึงต้องนำบทบัญญัติทั่วไปว่าด้วยอายุความตาม ป.พ.พ. มาตรา 164 เดิม ซึ่งมีกำหนด 10 ปี มาใช้บังคับโดยอนุโลม และต้องเริ่มนับอายุความตั้งแต่ขณะที่อาจบังคับสิทธิเรียกร้องได้เป็นต้นไป ตาม ป.พ.พ. มาตรา 169 เดิม คือนับตั้งแต่วันที่ 14 ธันวาคม 2514 อันเป็นวันจดทะเบียนเครื่องหมายการค้ารายพิพาท แต่โจทก์มาฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม 2533 เกินกว่า 10 ปี แล้วคดีของโจทก์จึงขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7505/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความค่าจ้างเหมา: เริ่มนับเมื่อรับมอบงาน ไม่ใช่เมื่อตกลงจ่ายเงินแต่ละงวด
จำเลยว่าจ้างให้โจทก์ก่อสร้างบ้าน เป็นการจ้างทำของซึ่งตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 602 วรรคหนึ่ง บัญญัติให้สินจ้างนั้นพึงใช้ให้เมื่อรับมอบการที่ทำ กำหนดอายุความ2 ปี ตามมาตรา 165(1) เดิม จึงต้องเริ่มนับแต่เมื่อผู้ว่าจ้างรับมอบการที่ทำ อันเป็นเวลาที่ผู้รับจ้างอาจบังคับสิทธิเรียกร้องได้เป็นต้นไปตามมาตรา 169 เดิม แม้ตามสัญญาจ้างกำหนดเงื่อนไขการจ่ายค่าจ้างว่าจ่ายเงินในแต่ละงวดมุ่งถึงความสำเร็จของงานเป็นหลักก็ตามแต่เมื่อจำเลยยังมิได้รับมอบการที่ทำในงวดที่ 3 และที่ 4 โจทก์จึงยังไม่มีสิทธิเรียกร้องเอาสินจ้าง อายุความเรียกเอาสินจ้างของโจทก์งวดที่ 3 และที่ 4 จึงยังไม่เริ่มนับ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6853/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องคดีสัญญาจ้าง: เริ่มนับจากวันที่จำเลยผิดนัดชำระหนี้ หากฟ้องเกิน 10 ปี คดีขาดอายุความ
โจทก์ทำสัญญาจ้างจำเลยให้ทำการย่อยและขนส่งหินคลุกกองรายทางใช้สำหรับราดยางในทางหลวงตามสัญญาดังกล่าวกำหนดให้จำเลยส่งมอบงานงวดที่1ให้เสร็จภายในวันที่3ตุลาคม2522และส่งมอบงานงวดที่2ให้เสร็จภายในวันที่2พฤศจิกายน2522เมื่อจำเลยไม่ชำระหนี้มาตั้งแต่ครบกำหนดส่งมอบงานงวดที่1คือวันที่3ตุลาคม2522จำเลยจึงผิดนัดตั้งแต่วันดังกล่าวโจทก์จึงมีสิทธิบอกเลิกสัญญาและบังคับตามสิทธิเรียกร้องแก่จำเลยได้นับแต่วันที่จำเลยผิดนัดดังกล่าวดังนั้นอายุความจึงต้องเริ่มนับแต่ขณะที่โจทก์อาจจะบังคับสิทธิเรียกร้องได้เป็นต้นไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา169เดิม(มาตรา193/12ที่แก้ไขใหม่)โจทก์ยื่นฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่27ตุลาคม2532จึงเกินกำหนด10ปีคดีโจทก์ย่อมขาดอายุความตามมาตรา164เดิม|มาตรา193/30ที่แก้ไขใหม่)จำเลยจึงมีสิทธิที่จะปฏิเสธการชำระหนี้ตามสิทธิเรียกร้องนั้นได้ตามมาตรา188เดิม(มาตรา193/10ที่แก้ไขใหม่)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2557/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความการกู้ยืมเงินเริ่มนับจากวันผิดสัญญาชำระดอกเบี้ย ไม่ใช่วันครบกำหนดชำระเงิน
การกู้ยืมเงินมิได้กำหนดอายุความไว้โดยเฉพาะจึงมีอายุความ10ปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา164เดิม(มาตรา193/30)และตามมาตรา169เดิม(มาตรา193/32)บัญญัติว่าอายุความให้เริ่มนับแต่ขณะที่อาจบังคับสิทธิเรียกร้องได้เป็นต้นไปเมื่อตามสัญญาข้อ4จำเลยที่1จะต้องชำระดอกเบี้ยให้โจทก์เดือนแรกภายในวันที่4มกราคม2524การที่จำเลยที่1ไม่ชำระดอกเบี้ยให้โจทก์เลยจึงเป็นการผิดสัญญาซึ่งสัญญาข้อ6ระบุว่าโจทก์ฟ้องเรียกเงินต้นและดอกเบี้ยได้ถือได้ว่าระยะเวลาซึ่งโจทก์อาจบังคับสิทธิเรียกร้องได้นับแต่วันที่4มกราคม2524ซึ่งนับถึงวันฟ้องไม่เกิน10ปีคดีโจทก์จึงขาดอายุความ
of 2