พบผลลัพธ์ทั้งหมด 21 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7224/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ละเมิดจากยาฆ่าแมลง: ความรับผิดของผู้ฉีดพ่นและค่าสินไหมทดแทน
การที่จำเลยที่1และที่3ฉีดยาฆ่าแมลงในนาข้าวเพียง1สัปดาห์ซึ่งขณะนั้นยาดังกล่าวยังไม่ทันสลายตัวหมดก็ว่าจ้างให้ผู้ตายเข้าไปเกี่ยวข้างเป็นการกระทำโดยประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงจึงเป็นการร่วมกันกระทำละเมิดต่อผู้ตาย ค่าขาดไร้อุปการะของโจทก์ที่1เป็นค่าสินไหมทดแทนที่เป็นตัวเงินจำเลยที่1และที่3จะต้องชำระทันทีที่เกิดการละเมิดโจทก์ที่1จึงมีสิทธิได้รับนับแต่วันนั้นการที่โจทก์ที่1ถึงแก่ความตายในระหว่างพิจารณาของศาลชั้นต้นหาทำให้ค่าสินไหมทดแทนจำนวนที่โจทก์ที่1ฟ้องเรียกเป็นค่าขาดไร้อุปการะมาระงับไปไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 622/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนระงับสิ้นจากสัญญาประนีประนอมยอมความ และขอบเขตการผูกพันสัญญาต่อผู้เยาว์
ศาลอุทธรณ์พิพากษาว่าจำเลยที่3ไม่ได้ขับรถโดยสารประจำทางด้วยความประมาทเลินเล่อไม่ได้ทำละเมิดจำเลยที่1และที่2ซึ่งเป็นนายจ้างไม่ต้องร่วมรับผิดโจทก์ที่2ที่5และที่6ฎีกาว่าจำเลยที่3ขับรถโดยสารประจำทางด้วยความประมาทเลินเล่อเป็นการทำละเมิดเป็นการฎีกาโต้เถียงดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลอุทธรณ์เป็นฎีกาในข้อเท็จจริงคดีนี้ทุนทรัพย์ที่พิพาทในชั้นฎีกาของโจทก์ที่2จำนวนเงิน90,000บาทโจทก์ที่5และที่6จำนวนเงินคนละ60,000บาททุนทรัพย์ที่พิพาทในชั้นฎีกาของโจทก์ที่2ที่5และที่6แต่ละคนไม่เกินสองแสนบาทต้องห้ามมิให้ฎีกาในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา248วรรคหนึ่ง จำเลยที่4และที่5ฎีกาว่าโจทก์ที่3และที่4ไม่ได้เป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของพ. ปรากฏว่าจำเลยที่4และที่5ให้การในข้อนี้ว่าโจทก์ที่3และที่4เป็นบุตรของพ. หรือไม่ไม่ทราบไม่รับรองซึ่งเป็นคำให้การที่ไม่ชัดแจ้งไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา177วรรคสองคดีจึงไม่มีประเด็นว่าโจทก์ที่3และที่4เป็นบุตรของพ. หรือไม่ฎีกาของจำเลยที่4และที่5ในปัญหานี้จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากล่าวกันมาแล้วในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ต้องห้ามมิให้ฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา249วรรคหนึ่ง หลังเกิดเหตุก่อนที่พ. ถึงแก่ความตายโจทก์ที่1กับจำเลยที่4และที่5ได้ทำบันทึกชดใช้ค่าเสียหายโดยมีข้อตกลงว่าจำเลยที่4และที่5ตกลงใช้เงินจำนวน150,000บาทและโจทก์ที่1ตกลงว่าค่าเสียหายส่วนอื่นนอกเหนือจากที่ตกลงกันและที่จะมีขึ้นต่อไปโจทก์ที่1จะไม่ใช้สิทธิเรียกร้องใดๆจากจำเลยที่4และที่5บันทึกข้อตกลงดังกล่าวจึงเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความระหว่างโจทก์ที่1กับจำเลยที่4และที่5เป็นผลให้หนี้ในมูลละเมิดระหว่างโจทก์ที่1กับจำเลยที่4และที่5ที่มีอยู่ระงับสิ้นไปทำให้แต่ละฝ่ายได้สิทธิตามที่แสดงไว้ในสัญญาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา852เมื่อจำเลยที่4และที่5ชำระเงินให้แก่โจทก์ที่1ครบถ้วนตามสัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าวแล้วโจทก์ที่1จะมาฟ้องจำเลยที่4และที่5เพื่อเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนอันเกิดจากมูลละเมิดที่ระงับสิ้นไปแล้วหาได้ไม่ โจทก์ที่2ที่3และที่4ยังเป็นผู้เยาว์การที่โจทก์ที่1ซึ่งเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองผู้เยาว์ทั้งสามจะตกลงทำสัญญาประนีประนอมยอมความกับจำเลยที่4และที่5แทนผู้เยาว์ทั้งสามซึ่งถือเป็นการทำนิติกรรมอันเกี่ยวกับทรัพย์สินของผู้เยาว์ทั้งสามจะต้องได้รับอนุญาตจากศาลก่อนตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1574(8)เดิม(มาตรา1574(12)ที่ได้ตรวจชำระใหม่)เมื่อไม่ได้รับอนุญาตจากศาลสัญญาประนีประนอมยอมความระหว่างโจทก์ที่1กับจำเลยที่4และที่5จึงไม่มีผลผูกพันโจทก์ที่2ที่3และที่4ซึ่งเป็นผู้เยาว์ในอันที่จะใช้สิทธิเรียกร้องค่าขาดไว้อุปการะจากจำเลยที่4และที่5 การใช้สิทธิเรียกค่าขาดไร้อุปการะเป็นสิทธิเฉพาะตัวของโจทก์ที่5และที่6เมื่อไม่ปรากฏว่าโจทก์ที่5และที่6ได้มอบอำนาจให้โจทก์ที่1ไปทำสัญญาประนีประนอมยอมความกับจำเลยที่4และที่5สัญญาดังกล่าวจึงไม่มีผลผูกพันโจทก์ที่5และที่6
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 622/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาสงวนสิทธิเรียกร้องชดใช้ค่าเสียหายหลังเกิดอุบัติเหตุ และผลของการทำสัญญาแทนผู้เยาว์
ศาลอุทธรณ์พิพากษาว่า จำเลยที่ 3 ไม่ได้ขับรถโดยสารประจำทางด้วยความประมาทเลินเล่อไม่ได้ทำละเมิด จำเลยที่ 1 และที่ 2 ซึ่งเป็นนายจ้างไม่ต้องร่วมรับผิด โจทก์ที่ 2 ที่ 5 และที่ 6 ฎีกาว่า จำเลยที่ 3 ขับรถโดยสารประจำทางด้วยความประมาทเลินเล่อเป็นการทำละเมิด เป็นการฎีกาโต้เถียงดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลอุทธรณ์ เป็นฎีกาในข้อเท็จจริงคดีนี้ทุนทรัพย์ที่พิพาทในชั้นฎีกาของโจทก์ที่ 2 จำนวนเงิน90,000 บาทโจทก์ที่ 5 และที่ 6 จำนวนเงินคนละ 60,000บาท ทุนทรัพย์ที่พิพาทในชั้นฎีกาของโจทก์ที่ 2 ที่ 5 และที่6 แต่ละคนไม่เกินสองแสนบาท ต้องห้ามมิให้ฎีกาในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา248 วรรคหนึ่ง จำเลยที่ 4 และที่ 5 ฎีกาว่า โจทก์ที่ 3 และที่ 4ไม่ได้เป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของ พ. ปรากฏว่าจำเลยที่ 4 และที่ 5 ให้การในข้อนี้ว่าโจทก์ที่ 3 และที่ 4 เป็นบุตรของ พ. หรือไม่ไม่ทราบไม่รับรอง ซึ่งเป็นคำให้การที่ไม่ชัดแจ้ง ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 177 วรรคสอง คดีจึงไม่มีประเด็นว่าโจทก์ที่ 3 และที่ 4 เป็นบุตรของ พ. หรือไม่ฎีกาของจำเลยที่ 4 และที่5 ในปัญหานี้จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากล่าวกันมาแล้วในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ต้องห้ามมิให้ฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคหนึ่ง หลังเกิดเหตุก่อนที่ พ. ถึงแก่ความตาย โจทก์ที่ 1 กับจำเลยที่ 4 และที่ 5 ได้ทำบันทึกชดใช้ค่าเสียหายโดยมีข้อตกลงว่าจำเลยที่ 4 และที่ 5 ตกลงใช้เงินจำนวน150,000 บาท และโจทก์ที่ 1 ตกลงว่าค่าเสียหายส่วนอื่นนอกเหนือจากที่ตกลงกันและที่จะมีขึ้นต่อไป โจทก์ที่ 1จะไม่ใช้สิทธิเรียกร้องใด ๆจากจำเลยที่ 4 และที่ 5บันทึกข้อตกลงดังกล่าวจึงเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความระหว่างโจทก์ที่ 1 กับจำเลยที่ 4 และที่ 5 เป็นผลให้หนี้ในมูลละเมิดระหว่างโจทก์ที่ 1 กับจำเลยที่ 4 และที่ 5 ที่มีอยู่ระงับสิ้นไป ทำให้แต่ละฝ่ายได้สิทธิตามที่แสดงไว้ในสัญญาตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 852 เมื่อจำเลยที่ 4 และที่ 5 ชำระเงินให้แก่โจทก์ที่ 1 ครบถ้วนตามสัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าวแล้ว โจทก์ที่ 1 จะมาฟ้องจำเลยที่ 4 และที่ 5 เพื่อเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนอันเกิดจากมูลละเมิดที่ระงับสิ้นไปแล้วหาได้ไม่ โจทก์ที่ 2 ที่ 3 และที่ 4 ยังเป็นผู้เยาว์ การที่โจทก์ที่ 1 ซึ่งเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองผู้เยาว์ทั้งสามจะตกลงทำสัญญาประนีประนอมยอมความกับจำเลยที่ 4 และที่ 5แทนผู้เยาว์ทั้งสามซึ่งถือเป็นการทำนิติกรรมอันเกี่ยวกับทรัพย์สินของผู้เยาว์ทั้งสามจะต้องได้รับอนุญาตจากศาลก่อน ตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา1574(8) เดิม(มาตรา 1574(12) ที่ได้ตรวจชำระใหม่)เมื่อไม่ได้รับอนุญาตจากศาลสัญญาประนีประนอมยอมความระหว่างโจทก์ที่ 1 กับจำเลยที่ 4 และที่ 5 จึงไม่มีผลผูกพันโจทก์ที่ 2 ที่ 3 และที่ 4 ซึ่งเป็นผู้เยาว์ในอันที่จะใช้สิทธิเรียกร้องค่าขาดไว้อุปการะจากจำเลยที่ 4 และที่ 5 การใช้สิทธิเรียกค่าขาดไร้อุปการะเป็นสิทธิเฉพาะตัวของโจทก์ที่ 5 และที่ 6 เมื่อไม่ปรากฏว่าโจทก์ที่5 และที่ 6 ได้มอบอำนาจให้โจทก์ที่ 1 ไปทำสัญญาประนีประนอมยอมความกับจำเลยที่ 4 และที่ 5 สัญญาดังกล่าวจึงไม่มีผลผูกพันโจทก์ที่ 5 และที่ 6
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1659/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิค่าอุปการะเลี้ยงดูเกิดขึ้นได้แม้ไม่มีการจ่ายจริง ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
สิทธิที่จะได้รับค่าอุปการะเลี้ยงดูเป็นสิทธิที่มีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา443วรรคสามโดยไม่ต้องอาศัยข้อเท็จจริงว่ามีการจ่ายค่าอุปการะเลี้ยงดูจริงหรือไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1659/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิค่าอุปการะเลี้ยงดูตาม ป.พ.พ. มาตรา 443 วรรคสาม เกิดขึ้นได้แม้ไม่มีการจ่ายจริง
สิทธิที่จะได้รับค่าอุปการะเลี้ยงดูเป็นสิทธิที่มีตาม ป.พ.พ. มาตรา443 วรรคสาม โดยไม่ต้องอาศัยข้อเท็จจริงว่ามีการจ่ายค่าอุปการะเลี้ยงดูจริงหรือไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1322/2525
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าขาดไร้อุปการะเด็กผู้เยาว์: ไม่ต้องพิจารณาความสามารถหารายได้หรือการอุปการะเลี้ยงดูก่อน
มารดาของผู้เยาว์ถึงแก่ความตายเพราะการกระทำละเมิดของจำเลย ทำให้ผู้เยาว์ต้องขาดไร้อุปการะจากผู้ตายตามกฎหมายผู้เยาว์จึงชอบที่จะได้รับค่าขาดไร้อุปการะทั้งในปัจจุบันและอนาคตโดยไม่จำต้องคำนึงถึงว่าผู้ตายได้เคยอุปการะเลี้ยงดูผู้เยาว์นั้นมาจริงหรือไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2794-2795/2522
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
นายจ้างต้องรับผิดในผลละเมิดของลูกจ้างที่ขับรถในทางการที่จ้าง แม้มีระเบียบภายในและผู้ตายมีผู้ดูแล
จำเลยที่ 1 เป็นลูกจ้างขับรถยนต์ประจำทางให้กับบริษัทจำเลยที่ 2 ตอนเกิดเหตุรถชนกันจำเลยที่ 1 ได้ขับรถไปส่งพนักงานของบริษัทจำเลยที่ 2 ตามบ้านแม้มีระเบียบของบริษัทว่าเมื่อพนักงานขับรถนำรถเข้ามาในบริษัทนำลูกกุญแจไปแขวนไว้แล้ว จะนำรถออกไปอีกต้องรับอนุญาตจากผู้จัดการก่อน ระเบียบดังกล่าวเป็นระเบียบปฏิบัติภายใน จะนำมาใช้ยันบุคคลภายนอกไม่ได้ทั้งระเบียบที่ว่านี้ก็มิได้ปฏิบัติเคร่งครัดถือได้ว่าการนำรถออกไปส่งพนักงานของบริษัทฯ อยู่ในระหว่างปฏิบัติงานทางการที่จ้างของจำเลยที่ 2
เรื่องค่าขาดไร้อุปการะ แม้จะมีคนอื่นอุปการะเลี้ยงดูโจทก์ หรือโจทก์มีฐานะดีไม่ได้รับความเดือดร้อนโจทก์ก็มีสิทธิจะได้รับค่าสินไหมทดแทน
เรื่องค่าขาดไร้อุปการะ แม้จะมีคนอื่นอุปการะเลี้ยงดูโจทก์ หรือโจทก์มีฐานะดีไม่ได้รับความเดือดร้อนโจทก์ก็มีสิทธิจะได้รับค่าสินไหมทดแทน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1000-1001/2521
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าใช้จ่ายในการจัดการศพและค่าขาดอุปการะเป็นค่าสินไหมทดแทนที่โจทก์ในฐานะมารดามีสิทธิเรียกร้องได้ตามกฎหมาย
ค่าพาหนะที่โจทก์ต้องเสียไปในการว่าจ้างรถแท๊กซี่ไปจัดการฌาปนกิจศพผู้ตายเป็นค่าใช้จ่ายอันจำเป็นอย่างอื่น ๆ นอกเหนือจากค่าปลงศพ และค่าขาดผลประโยชน์ที่ผู้ตายเคยส่งเสียเลี้ยงดูโจทก์ก็คือค่าสินไหมทดแทนที่โจทก์ต้องขาดไร้อุปการะตามกฎหมายไป โจทก์ในฐานะมารดาของผู้ตายมีสิทธิเรียกร้องจากจำเลยได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 443
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2361/2515
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าสินไหมทดแทนกรณีละเมิด: การคำนวณดอกเบี้ยนับแต่วันเกิดละเมิด และการชดเชยค่าแรงงานในครัวเรือน
จำเลยทำละเมิดเป็นเหตุให้ภริยาโจทก์ถึงแก่ความตายโจทก์นำสืบฟังได้ว่าเมื่อครั้งภริยาโจทก์มีชีวิตอยู่เป็นแม่บ้านจัดการบ้านเรือนด้วยตนเอง เมื่อภริยาโจทก์ถึงแก่กรรมโจทก์ต้องจ้างคนทำงานแทน 2 คนโดยทำหน้าที่ซักผ้า ตักน้ำ ถางหญ้า คนหนึ่ง ทำครัวกวาดถู-บ้านอีกคนหนึ่ง ดังนี้ โจทก์ย่อมมีสิทธิเรียกค่าสินไหมทดแทนในกรณีนี้ได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 443 วรรค3 ประกอบด้วย มาตรา 1453
การที่ศาลกำหนดจำนวนเงินค่าสินไหมทดแทนให้จำเลยชดใช้นั้นมิใช่ว่าโจทก์ได้รับความเสียหายตั้งแต่วันพิพากษา ศาลเป็นแต่กำหนดค่าเสียหายที่โจทก์ได้รับความเสียหายมาแล้วตั้งแต่วันทำละเมิดและ กฎหมายก็บัญญัติให้ถือว่า จำเลยผิดนัดตั้งแต่วันทำละเมิดจึงต้องเสียดอกเบี้ยในจำนวนเงินที่จะต้องชดใช้ตั้งแต่วันทำละเมิด การที่โจทก์ฟ้องเรียกค่าเสียหายเป็นเงินก้อน แม้จะขอค่าเสียหายที่คำนวณในอนาคตเข้ามาด้วย จำเลยก็จะต้องเสียดอกเบี้ยนับแต่วันละเมิด
(วรรค 2 วินิจฉัยโดยที่ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 21/2514)
การที่ศาลกำหนดจำนวนเงินค่าสินไหมทดแทนให้จำเลยชดใช้นั้นมิใช่ว่าโจทก์ได้รับความเสียหายตั้งแต่วันพิพากษา ศาลเป็นแต่กำหนดค่าเสียหายที่โจทก์ได้รับความเสียหายมาแล้วตั้งแต่วันทำละเมิดและ กฎหมายก็บัญญัติให้ถือว่า จำเลยผิดนัดตั้งแต่วันทำละเมิดจึงต้องเสียดอกเบี้ยในจำนวนเงินที่จะต้องชดใช้ตั้งแต่วันทำละเมิด การที่โจทก์ฟ้องเรียกค่าเสียหายเป็นเงินก้อน แม้จะขอค่าเสียหายที่คำนวณในอนาคตเข้ามาด้วย จำเลยก็จะต้องเสียดอกเบี้ยนับแต่วันละเมิด
(วรรค 2 วินิจฉัยโดยที่ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 21/2514)