คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
พ.ร.บ.บรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย พ.ศ.2502 ม. 22

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 1 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2065/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดี, การบรรยายฟ้อง, และการคิดดอกเบี้ยผิดนัดในสัญญากู้
ฟ้องโจทก์ไม่ได้บรรยายว่า คณะกรรมการโจทก์เป็นใครแต่การที่โจทก์มีหนังสือมอบอำนาจโดย ส. ซึ่งเป็นประธานกรรมการลงนามแทนคณะกรรมการบรรษัทโจทก์ มอบอำนาจให้ ศ.มีอำนาจกระทำกิจการอันเป็นธุรกิจของบรรษัทแทน ซึ่งรวมทั้งการฟ้องคดีส่งมาท้ายฟ้องด้วย แสดงว่า ส.และศ.เป็นผู้แทนโจทก์ ซึ่งจำเลยอาจใช้สิทธิตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 66 ได้ ไม่ทำให้จำเลยเสียเปรียบ ฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม ฟ้องโจทก์มิได้บรรยายให้แจ้งชัดว่า โจทก์คำนวณเปรียบเทียบอัตราเงินสกุลต่างประเทศมาเป็นเงินไทยในอัตราหน่วยละเท่าใดคิดอัตราเปรียบเทียบในวันที่เท่าใด คิดดอกเบี้ยในอัตราดังกล่าวตั้งแต่เมื่อใด และในอัตราดอกเบี้ยกี่เปอร์เซนต์นั้น เมื่อโจทก์ได้บรรยายถึงวิธีการคิดอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศเป็นเงินตราไทยพร้อมทั้งอัตราดอกเบี้ยและวิธีการคิดดอกเบี้ยไว้ในฟ้องแล้วและได้ส่งรายละเอียดแห่งการเป็นหนี้ของจำเลยมาท้ายฟ้องด้วย ซึ่งทำให้จำเลยเข้าใจข้อหาได้ดี ฟ้องจึงไม่เคลือบคลุม ตามพระราชบัญญัติบรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยพ.ศ. 2502 มาตรา 22 บัญญัติไว้ว่า "ในส่วนกิจการที่เกี่ยวกับบุคคลภายนอกให้ผู้จัดการทั่วไปมีอำนาจกระทำการแทนบรรษัทแต่ผู้จัดการทั่วไปจะมอบอำนาจให้บุคคลอื่นกระทำแทนตนในกิจการใดก็ได้" การฟ้องคดีเป็นส่วนกิจการที่เกี่ยวกับบุคคลภายนอก ดังนั้นศ.ซึ่งเป็นกรรมการและผู้จัดการทั่วไปของโจทก์จึงมีอำนาจกระทำการแทนบรรษัทโจทก์ได้ โดยไม่จำต้องให้คณะกรรมการมอบอำนาจอีกปัญหาเรื่องโจทก์สละประโยชน์แห่งเงื่อนเวลาชำระหนี้ เพราะเมื่อจำเลยผิดนัดโจทก์คิดดอกเบี้ยเพิ่มมาตลอด โจทก์มิได้ถือข้อตกลงในสัญญากู้ที่ระบุว่าถ้าจำเลยที่ 1 ผิดนัดไม่ชำระเงินหรือดอกเบี้ยงวดใดงวดหนึ่ง ถือว่าผิดนัดทุกงวด เป็นสาระสำคัญหรือไม่นั้นจำเลยมิได้ต่อสู้ไว้ในคำให้การ จึงมิใช่ปัญหาที่ว่ากันมาในศาลชั้นต้น แม้ศาลอุทธรณ์จะได้วินิจฉัยปัญหานี้มาก็ถือไม่ได้ว่าเป็นข้อที่ยกขึ้นว่ากันโดยชอบ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย