พบผลลัพธ์ทั้งหมด 150 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1402/2563
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้อง, ความรับผิดของกองทุนหมู่บ้านฯ และอายุความการเลื่อนเงินเดือนของพนักงาน
พ.ร.บ.กองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ พ.ศ.2547 มาตรา 11 บัญญัติว่า "ให้จัดตั้งกองทุนขึ้นกองทุนหนึ่ง เรียกว่า "กองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ" โดยเป็นหน่วยงานของรัฐมีฐานะเป็นนิติบุคคล..." และมาตรา 21 บัญญัติว่า "ให้กองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติมีสำนักงานใหญ่ เรียกว่า "สำนักงานกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ"... และอาจตั้งสาขาตามความจำเป็นก็ได้" จำเลยที่ 1 จึงมีสถานะเป็นสำนักงานใหญ่ของกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ ซึ่งจำเลยที่ 1 มีอำนาจหน้าที่ตามมาตรา 22 (1) ดำเนินการต่าง ๆ ของกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ โดยมีจำเลยที่ 2 เป็นผู้อำนวยการ ประกอบกับตามมาตรา 23 วรรคสี่ ให้ผู้อำนวยการเป็นผู้บังคับบัญชาพนักงานและลูกจ้าง และรับผิดชอบการบริหารกิจการของจำเลยที่ 1 ให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ และตามกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ และนโยบายที่คณะกรรมการกำหนด ดังนั้น จำเลยที่ 1 จึงมีอำนาจหน้าที่ในการดำเนินการต่าง ๆ ของกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ การที่โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 จึงเท่ากับเป็นการฟ้องกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาตินั่นเอง โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 1 และเมื่อโจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 ที่ถือได้ว่าเป็นการใช้สิทธิฟ้องต่อกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติแล้ว ก็ไม่จำต้องกำหนดให้คำพิพากษาผูกพันกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติเพื่อให้มาร่วมกันรับผิดต่อโจทก์อีก
โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 2 ในฐานะผู้อำนวยการและผู้แทนของจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 2 ได้กระทำการไปตามระเบียบข้อบังคับจึงผูกพันกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ จำเลยที่ 2 ทำหน้าที่ไปตามขอบอำนาจไม่จำต้องรับผิดต่อโจทก์เป็นการส่วนตัว
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยทั้งแปดไม่เลื่อนเงินเดือนโจทก์ตามระเบียบสำนักงานกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ ฉบับที่ 8 ว่าด้วยการเลื่อนเงินเดือนของพนักงาน พ.ศ.2550 ขอให้จำเลยทั้งแปดชำระค่าเสียหายตามที่โจทก์ฟ้อง เป็นการฟ้องโดยกล่าวอ้างว่า จำเลยทั้งแปดผิดสัญญาจ้างแรงงานต่อโจทก์ มิใช่เป็นการฟ้องเรียกสินจ้าง จึงมีกำหนดอายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/30
โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 2 ในฐานะผู้อำนวยการและผู้แทนของจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 2 ได้กระทำการไปตามระเบียบข้อบังคับจึงผูกพันกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ จำเลยที่ 2 ทำหน้าที่ไปตามขอบอำนาจไม่จำต้องรับผิดต่อโจทก์เป็นการส่วนตัว
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยทั้งแปดไม่เลื่อนเงินเดือนโจทก์ตามระเบียบสำนักงานกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ ฉบับที่ 8 ว่าด้วยการเลื่อนเงินเดือนของพนักงาน พ.ศ.2550 ขอให้จำเลยทั้งแปดชำระค่าเสียหายตามที่โจทก์ฟ้อง เป็นการฟ้องโดยกล่าวอ้างว่า จำเลยทั้งแปดผิดสัญญาจ้างแรงงานต่อโจทก์ มิใช่เป็นการฟ้องเรียกสินจ้าง จึงมีกำหนดอายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/30
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1010/2563
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
งานล่วงเวลา: การพิจารณาลักษณะงานเพื่อกำหนดสิทธิค่าล่วงเวลาในรัฐวิสาหกิจ
ลูกจ้างที่ไม่มีสิทธิได้รับค่าล่วงเวลาและค่าล่วงเวลาในวันหยุด แต่มีสิทธิได้รับค่าตอบแทนเป็นเงินเท่ากับอัตราค่าจ้างต่อชั่วโมงในวันทำงานตามชั่วโมงที่ทำนั้น ต้องพิจารณาว่างานที่ลูกจ้างทำล่วงเวลาหรือล่วงเวลาในวันหยุดเป็นงานที่กำหนดไว้ตามประกาศคณะกรรมการแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ เรื่อง มาตรฐานขั้นต่ำของสภาพการจ้างในรัฐวิสาหกิจ พ.ศ.2549 ข้อ 40 (1) ถึง (7) ซึ่งอาจจะเป็นงานที่มีลักษณะและสภาพของงานเช่นเดียวกับงานที่ลูกจ้างทำในวันและเวลาทำงานปกติหรือไม่ก็ได้ ประกาศข้อดังกล่าว หาได้กำหนดให้งานที่ลูกจ้างทำในวันและเวลาทำงานปกติกับงานที่ลูกจ้างทำล่วงเวลาหรือล่วงเวลาในวันหยุดต้องต่างกันแต่อย่างใดไม่ ทั้งงานใดจะเป็นงานตามข้อ 40 (1) ถึง (7) ต้องพิจารณาที่ลักษณะและสภาพของงานนั้น ๆ เป็นสำคัญ นายจ้างหามีสิทธิกำหนดให้งานหนึ่งงานใดเป็นงานที่ลูกจ้างไม่มีสิทธิได้รับค่าล่วงเวลาหรือค่าล่วงเวลาในวันหยุดให้แตกต่างไปจากที่กฎหมายกำหนดไว้ได้ไม่
งานที่ต้องอยู่ประจำการเพื่อเหตุฉุกเฉินและจำเป็น หมายถึงลักษณะหรือสภาพงานที่ลูกจ้างทำนั้น ลูกจ้างต้องประจำการ ณ สถานประกอบกิจการหรือสถานที่ที่นายจ้างกำหนดเพื่อรองานตามหน้าที่ เมื่อมีงานตามหน้าที่ซึ่งเป็นเหตุฉุกเฉินและจำเป็นขึ้นแล้ว ลูกจ้างจึงจะมีหน้าที่ไปปฏิบัติงานดังกล่าว หากไม่มีงานที่เป็นเหตุฉุกเฉินและจำเป็นเกิดขึ้น ลูกจ้างก็ไม่มีหน้าที่ต้องปฏิบัติงาน คงเพียงแต่ประจำการ ณ สถานประกอบกิจการหรือสถานที่ที่นายจ้างกำหนดเพื่อรองานตามหน้าที่เท่านั้น เมื่อแผนกสื่อสารมีหน้าที่รับผิดชอบหลักในการติดต่อสื่อสารและประสานงานกับเรือสินค้าที่เข้ามาใช้บริการในเขตร่องน้ำเจ้าพระยาให้เป็นไปตามมาตรฐานสากล การตรวจสอบความถูกต้องและบันทึกข้อมูลเรือสินค้า ควบคุมข่ายการสื่อสารของ กทท. เฝ้าฟังและติดต่อสื่อสารกับเรือสินค้า และให้บริการข้อมูลในระบบบริการเรือทางโทรศัพท์แก่หน่วยงานเกี่ยวข้องในระบบบริการเรือ เช่นนี้ลักษณะงานและสภาพงานของแผนกสื่อสารและที่โจทก์ปฏิบัติในเวลาทำงานปกติและในเวลาทำงานล่วงเวลาเป็นงานที่ต้องให้บริการท่าเรือตลอด 24 ชั่วโมง ไม่ใช่งานที่ลูกจ้างต้องอยู่ประจำการ ณ สถานประกอบกิจการหรือสถานที่ที่นายจ้างกำหนดเพื่อรองานตามหน้าที่ เมื่อมีงานตามหน้าที่ซึ่งเป็นเหตุฉุกเฉินและจำเป็นเกิดขึ้นแล้ว ลูกจ้างจึงจะมีหน้าที่ไปปฏิบัติงาน งานที่โจทก์ทำจึงมีลักษณะเป็นงานทั่วไป หาใช่งานที่ต้องอยู่ประจำการเพื่อเหตุฉุกเฉินและจำเป็นไม่
งานที่ต้องอยู่ประจำการเพื่อเหตุฉุกเฉินและจำเป็น หมายถึงลักษณะหรือสภาพงานที่ลูกจ้างทำนั้น ลูกจ้างต้องประจำการ ณ สถานประกอบกิจการหรือสถานที่ที่นายจ้างกำหนดเพื่อรองานตามหน้าที่ เมื่อมีงานตามหน้าที่ซึ่งเป็นเหตุฉุกเฉินและจำเป็นขึ้นแล้ว ลูกจ้างจึงจะมีหน้าที่ไปปฏิบัติงานดังกล่าว หากไม่มีงานที่เป็นเหตุฉุกเฉินและจำเป็นเกิดขึ้น ลูกจ้างก็ไม่มีหน้าที่ต้องปฏิบัติงาน คงเพียงแต่ประจำการ ณ สถานประกอบกิจการหรือสถานที่ที่นายจ้างกำหนดเพื่อรองานตามหน้าที่เท่านั้น เมื่อแผนกสื่อสารมีหน้าที่รับผิดชอบหลักในการติดต่อสื่อสารและประสานงานกับเรือสินค้าที่เข้ามาใช้บริการในเขตร่องน้ำเจ้าพระยาให้เป็นไปตามมาตรฐานสากล การตรวจสอบความถูกต้องและบันทึกข้อมูลเรือสินค้า ควบคุมข่ายการสื่อสารของ กทท. เฝ้าฟังและติดต่อสื่อสารกับเรือสินค้า และให้บริการข้อมูลในระบบบริการเรือทางโทรศัพท์แก่หน่วยงานเกี่ยวข้องในระบบบริการเรือ เช่นนี้ลักษณะงานและสภาพงานของแผนกสื่อสารและที่โจทก์ปฏิบัติในเวลาทำงานปกติและในเวลาทำงานล่วงเวลาเป็นงานที่ต้องให้บริการท่าเรือตลอด 24 ชั่วโมง ไม่ใช่งานที่ลูกจ้างต้องอยู่ประจำการ ณ สถานประกอบกิจการหรือสถานที่ที่นายจ้างกำหนดเพื่อรองานตามหน้าที่ เมื่อมีงานตามหน้าที่ซึ่งเป็นเหตุฉุกเฉินและจำเป็นเกิดขึ้นแล้ว ลูกจ้างจึงจะมีหน้าที่ไปปฏิบัติงาน งานที่โจทก์ทำจึงมีลักษณะเป็นงานทั่วไป หาใช่งานที่ต้องอยู่ประจำการเพื่อเหตุฉุกเฉินและจำเป็นไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 587/2563 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 587/2563
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม: เหตุผลความน่าเชื่อถือของลูกจ้าง, การกระทำส่อทุจริตเป็นเหตุอันสมควรเลิกจ้างได้
ฎีกาของจำเลยมีลักษณะเป็นการโต้แย้งว่าอุทธรณ์ของจำเลยเป็นอุทธรณ์ในข้อกฎหมาย ซึ่งเมื่อพิจารณาอุทธรณ์ของจำเลยแล้ว เป็นอุทธรณ์ที่มีปัญหาต้องวินิจฉัยว่าการกระทำของจำเลยเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมหรือไม่ อันเป็นอุทธรณ์ในข้อกฎหมายมิใช่เป็นการอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงดังที่ศาลอุทธรณ์คดีชำนัญพิเศษวินิจฉัย เมื่อมีข้อเท็จจริงเพียงพอที่ศาลฎีกาจะวินิจฉัยในปัญหาดังกล่าวนี้ไปเสียทีเดียวได้และเพื่อความรวดเร็ว ศาลฎีกาเห็นสมควรวินิจฉัยปัญหาที่ว่าการกระทำของจำเลยเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมหรือไม่ ไปโดยไม่ต้องย้อนสำนวนให้ศาลอุทธรณ์คดีชำนัญพิเศษพิจารณาพิพากษาใหม่
การเลิกจ้างที่จะถือว่าเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมนั้นต้องพิเคราะห์ถึงเหตุแห่งการเลิกจ้างว่า นายจ้างมีเหตุอันสมควรหรือเพียงพอที่จะเลิกจ้างลูกจ้างหรือไม่ เป็นคนละเหตุกับการเลิกจ้างโดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย เมื่อข้อเท็จจริงที่คู่ความไม่โต้แย้งกันได้ความว่า โจทก์ยอมรับว่าได้ขับรถยกกล่องใส่เศษสะแคร็ปที่มีม้วนสายโทรศัพท์วางอยู่บนกล่องดังกล่าวซึ่งมีมูลค่าหากได้นำไปขายต่อบุคคลภายนอก โดยไม่มีผู้ใดสั่งให้ยกมาเก็บไว้ในสถานที่ล่อแหลมพร้อมในการนำออกสู่ภายนอก การกระทำของโจทก์จึงส่อไปในทางทุจริต เป็นเหตุให้จำเลยไม่ไว้วางใจและขาดความเชื่อถือในการทำงานของโจทก์ การเลิกจ้างโจทก์ของจำเลยจึงมีเหตุอันสมควร ไม่เป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม จำเลยจึงไม่ต้องจ่ายค่าเสียหายจากการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม
การเลิกจ้างที่จะถือว่าเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมนั้นต้องพิเคราะห์ถึงเหตุแห่งการเลิกจ้างว่า นายจ้างมีเหตุอันสมควรหรือเพียงพอที่จะเลิกจ้างลูกจ้างหรือไม่ เป็นคนละเหตุกับการเลิกจ้างโดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย เมื่อข้อเท็จจริงที่คู่ความไม่โต้แย้งกันได้ความว่า โจทก์ยอมรับว่าได้ขับรถยกกล่องใส่เศษสะแคร็ปที่มีม้วนสายโทรศัพท์วางอยู่บนกล่องดังกล่าวซึ่งมีมูลค่าหากได้นำไปขายต่อบุคคลภายนอก โดยไม่มีผู้ใดสั่งให้ยกมาเก็บไว้ในสถานที่ล่อแหลมพร้อมในการนำออกสู่ภายนอก การกระทำของโจทก์จึงส่อไปในทางทุจริต เป็นเหตุให้จำเลยไม่ไว้วางใจและขาดความเชื่อถือในการทำงานของโจทก์ การเลิกจ้างโจทก์ของจำเลยจึงมีเหตุอันสมควร ไม่เป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม จำเลยจึงไม่ต้องจ่ายค่าเสียหายจากการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7486/2562
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจลงโทษทางวินัยย้อนหลังของเจ้าหน้าที่รัฐที่ลาออกแล้ว: ป.ป.ช.มีอำนาจจำกัดเฉพาะความผิดทุจริต
บทบัญญัติแห่ง พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ.2542 มาตรา 19 มาตรา 88 มาตรา 91 และมาตรา 92 วรรคหนึ่ง ซึ่งใช้ในขณะเกิดเหตุ ให้อำนาจคณะกรรมการ ป.ป.ช. ไต่สวนและพิจารณาความผิดทางวินัย เฉพาะข้อกล่าวหาที่เกี่ยวกับการกระทำความผิดฐานทุจริตต่อหน้าที่ การกระทำความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการ หรือการกระทำความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ในการยุติธรรม ตามประมวลกฎหมายอาญา และ พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดของพนักงานในองค์การหรือหน่วยงานของรัฐ พ.ศ.2502 เท่านั้น คณะกรรมการ ป.ป.ช. ไม่มีอำนาจในการไต่สวนข้อเท็จจริงและชี้มูลความผิดทางวินัยในข้อที่มีการกล่าวหาว่าโจทก์กระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรงฐานประมาทเลินเล่อในหน้าที่การงานอย่างร้ายแรง การที่คณะกรรมการ ป.ป.ช. ไต่สวนข้อเท็จจริงและชี้มูลความผิดทางวินัยโจทก์ว่า การกระทำของโจทก์มีมูลความผิดทางวินัยอย่างร้ายแรงฐานประมาทเลินเล่อในหน้าที่การงานอย่างร้ายแรงเป็นเหตุให้จำเลยได้รับความเสียหาย ตามข้อบังคับของจำเลย ส่วนข้อกล่าวหาทางอาญาไม่มีมูลให้ตกไป จึงเป็นการกระทำที่ไม่มีอำนาจ ไม่เข้ากรณีตามมาตรา 92 วรรคหนึ่ง ที่จำเลยซึ่งเป็นผู้บังคับบัญชาของโจทก์จะถือเอารายงานการไต่สวนข้อเท็จจริงและความเห็นของคณะกรรมการ ป.ป.ช. มาเป็นสำนวนการสอบสวนทางวินัยของจำเลย จำเลยต้องแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนขึ้นทำการสอบสวนโจทก์ตามข้อบังคับของจำเลยเพื่อดำเนินการทางวินัยเสียก่อน เมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยได้ดำเนินการทางวินัยแก่โจทก์ตามข้อบังคับของจำเลย จึงไม่ชอบด้วยข้อบังคับของจำเลยและไม่ชอบด้วยกฎหมาย ไม่มีผลใช้บังคับแก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7485/2562
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิรับเงินตอบแทนจากระเบียบองค์กร แม้มีมติ ครม. มติ ครม. ไม่ลบล้างระเบียบที่ออกโดยชอบ
แม้เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (ก.พ.ร.) จะมีหนังสือแจ้งจำเลยที่ 1 ว่า คณะรัฐมนตรีในคราวประชุมเมื่อวันที่ 24 กรกฎาคม 2555 มีมติเห็นชอบแนวทางการจ่ายค่าชดเชยให้แก่ผู้อำนวยการ เจ้าหน้าที่ และลูกจ้างขององค์การมหาชนว่า ในกรณีสิ้นสุดสัญญาจ้างนั้นไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยซึ่งสอดคล้องกับ พ.ร.บ.องค์การมหาชน พ.ศ.2542 มาตรา 38 ที่บัญญัติว่า "กิจการขององค์การมหาชนไม่อยู่ภายใต้บังคับแห่งกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงาน... ทั้งนี้ ผู้อำนวยการ เจ้าหน้าที่ และลูกจ้างขององค์การมหาชนต้องได้รับประโยชน์ตอบแทนไม่น้อยกว่าที่กำหนดไว้ในกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงาน..." และอัตราการจ่ายเงินตอบแทนแก่ผู้ปฏิบัติงานที่ถูกเลิกจ้างตามระเบียบจำเลยที่ 1 ว่าด้วยเงินตอบแทนแก่ผู้ปฏิบัติงานที่ถูกเลิกจ้าง พ.ศ.2555 ก็กำหนดไว้ในข้อ 5 ทำนองเดียวกับ พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 118 วรรคหนึ่ง ที่ใช้บังคับในขณะนั้นก็ตาม แต่เงินตอบแทนตามระเบียบจำเลยที่ 1 ดังกล่าวหาใช่ค่าชดเชยตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงานไม่ ทั้งมติคณะรัฐมนตรีในกรณีนี้เป็นเพียงการกำหนดกรอบนโยบายหรือแนวทางในการบริหารจัดการขององค์การมหาชนเท่านั้น หามีผลไปลบล้างระเบียบจำเลยที่ 1 ดังกล่าว ซึ่งออกโดยชอบด้วยกฎหมายด้วยไม่ เมื่อคดีนี้ขณะโจทก์มีอายุครบหกสิบปีบริบูรณ์ และถูกเลิกจ้างในปี 2558 โดยระเบียบจำเลยที่ 1 ดังกล่าวยังไม่ได้ถูกยกเลิกและยังมีผลใช้บังคับอยู่ จึงต้องใช้ระเบียบจำเลยที่ 1 ดังกล่าวบังคับแก่กรณีของโจทก์ ส่วนระเบียบจำเลยที่ 1 ว่าด้วยเงินตอบแทนแก่ผู้ปฏิบัติงานที่ถูกเลิกจ้าง (ฉบับที่ 2) แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ.2559 ซึ่งมีผลใช้บังคับหลังจากโจทก์ถูกเลิกจ้างไปแล้วจะนำมาใช้บังคับย้อนหลังกับโจทก์และทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายหาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7189/2562
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างลูกจ้างฐานจงใจทำให้นายจ้างเสียหายจากการเปิดเผยข้อมูลลับ และการกระทำผิดวินัย
ในการทำงานโจทก์กับจำเลยมีข้อตกลงต่อการรักษาความลับและพันธกรณีอื่น ๆ โดยโจทก์ยินยอมที่ป้องกันรักษาความลับของข้อมูลและสารสนเทศของจำเลย อันแสดงให้เห็นว่า จำเลย ให้ความสำคัญต่อการป้องกันและเก็บรักษาข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับกิจการของจำเลย การที่โจทก์นำข้อมูลเอกสารหมาย ล.5 ซึ่งมีเนื้อหาเกี่ยวกับกิจการและการบริหารจัดการองค์กรของจำเลยเพื่อรับรองมาตรฐานการฝึกอบรมและการประเมินของจำเลยส่งเข้าจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ส่วนตัวของโจทก์ ทำให้ง่ายต่อการส่งข้อมูลดังกล่าวต่อไป หรือนำข้อมูลออกไปโดยจำเลยไม่อาจติดตามได้ การกระทำของโจทก์ถือเป็นการปฏิบัติหน้าที่ด้วยความไม่สุจริตและเป็นการนำความลับของจำเลยไปเปิดเผยโดยไม่ได้รับอนุญาต เป็นการจงใจทำให้นายจ้างได้รับความเสียหาย และถือเป็นการกระทำผิดวินัยตามข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานตามเอกสารหมาย จ.2 ข้อ 33.4 และ 33.5 เป็นกรณีร้ายแรง จำเลยจึงเลิกจ้างโจทก์ได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 119 (2) (4) ไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้าตาม ป.พ.พ. มาตรา 583 และไม่เป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 49
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4002/2562
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การวางเงินต่อศาลเพื่อฟ้องคดีแรงงาน: หนังสือค้ำประกันไม่ใช้หลักประกันได้
พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 125 วรรคสาม บัญญัติว่า "ในกรณีที่นายจ้างเป็นฝ่ายนำคดีไปสู่ศาล นายจ้างต้องวางเงินต่อศาลตามจำนวนที่ถึงกำหนดจ่ายตามคำสั่งนั้น จึงจะฟ้องคดีได้" และมาตรา 125 วรรคสี่ บัญญัติต่อไปว่า "เมื่อคดีถึงที่สุดและนายจ้างมีหน้าที่ต้องจ่ายเงินจำนวนใดให้แก่ลูกจ้าง...ให้ศาลมีอำนาจจ่ายเงินที่นายจ้างวางไว้ต่อศาลให้แก่ลูกจ้าง...แล้วแต่กรณี" ฉะนั้นที่กฎหมายกำหนดให้ศาลนำเงินที่นายจ้างวางไว้ต่อศาลจ่ายให้แก่ลูกจ้างในกรณีที่นายจ้างแพ้คดีก็เพื่อมุ่งที่จะให้ลูกจ้างได้รับเงินโดยเร็วและทันที ไม่ต้องการให้มีกระบวนการบังคับให้นายจ้างจ่ายเงินนั้นหรือให้นายจ้างหน่วงเหนี่ยวการชำระเงินให้ชักช้า หนังสือค้ำประกันของธนาคารที่โจทก์ทั้งสี่นำมาวางศาลนั้น เป็นเพียงข้อผูกพันที่ธนาคารให้ไว้แก่ศาลว่า เมื่อศาลพิพากษาให้โจทก์ที่ 2 (นายจ้าง) ชำระเงินตามคำสั่งของจำเลยแล้ว หากนายจ้างไม่ชำระเงิน ธนาคารจะชำระแทน เช่นนี้ในทางปฏิบัติเมื่อนายจ้างไม่ชำระเงิน ศาลต้องมีหนังสือบอกกล่าวทวงถามเรียกให้ธนาคารชำระเงินนั้นก่อน โดยที่ธนาคารก็อาจมีข้อโต้แย้งปฏิเสธความรับผิดได้ หนังสือค้ำประกันของธนาคารในคดีนี้จึงมิใช่วัตถุที่ใช้ชำระหนี้ได้ตามกฎหมายทำนองเดียวกับเงินซึ่งศาลนำมาจ่ายให้ลูกจ้างได้ทันที
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2070/2562
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การวางเงินเพื่อฟ้องคดีแรงงาน: การวางเงินเฉพาะบางส่วนของผู้ร้องและขอบเขตการเพิกถอนคำสั่งพนักงานตรวจแรงงาน
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 มาตรา 212 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า "ในการที่ศาลจะใช้บทบัญญัติแห่งกฎหมายบังคับแก่คดีใด ถ้าศาลเห็นเองหรือคู่ความโต้แย้งพร้อมด้วยเหตุผลว่าบทบัญญัติแห่งกฎหมายนั้นต้องด้วยมาตรา 5 และยังไม่มีคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญในส่วนที่เกี่ยวกับบทบัญญัตินั้น ให้ศาลส่งความเห็นเช่นว่านั้นต่อศาลรัฐธรรมนูญเพื่อวินิจฉัย ในระหว่างนั้น ให้ศาลดำเนินการพิจารณาต่อไปได้แต่ให้รอการพิพากษาคดีไว้ชั่วคราวจนกว่าจะมีคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ" และมาตรา 5 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า "รัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศ บทบัญญัติใดของกฎหมาย กฎ หรือข้อบังคับ หรือการกระทำใด ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ บทบัญญัติหรือการกระทำนั้นเป็นอันใช้บังคับมิได้" หากโจทก์เห็นว่าบทบัญญัติตามมาตรา 125 วรรคสาม แห่ง พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ โจทก์จะต้องโต้แย้งพร้อมด้วยเหตุผลและขอให้ศาลส่งความเห็นต่อศาลรัฐธรรมนูญเพื่อวินิจฉัย แต่โจทก์อุทธรณ์ทำนองว่า บทบัญญัติตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 125 วรรคสาม เป็นบทบัญญัติกฎหมายที่ขัดต่อรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 มาตรา 5 ประกอบมาตรา 26 วรรคหนึ่ง วรรคสอง และมาตรา 27 ไม่อาจบังคับได้ และขอให้ศาลอุทธรณ์คดีชำนัญพิเศษมีคำสั่งกลับหรือแก้คำสั่งของศาลแรงงานกลาง จึงเป็นเรื่องที่โจทก์ประสงค์ที่จะให้ศาลอุทธรณ์คดีชำนัญพิเศษวินิจฉัยอุทธรณ์ของโจทก์ โดยขอให้ศาลอุทธรณ์คดีชำนัญพิเศษมีคำสั่งกลับหรือแก้คำสั่งของศาลแรงงานกลาง มิได้ประสงค์ให้ศาลอุทธรณ์คดีชำนัญพิเศษส่งความเห็นต่อศาลรัฐธรรมนูญเพื่อวินิจฉัย
พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 125 วรรคสาม บัญญัติว่า "ในกรณีที่นายจ้างเป็นฝ่ายนำคดีไปสู่ศาล นายจ้างต้องวางเงินต่อศาลตามจำนวนที่ถึงกำหนดจ่ายตามคำสั่งนั้น จึงจะฟ้องคดีได้" และมาตรา 125 วรรคสี่ บัญญัติต่อไปว่า "เมื่อคดีถึงที่สุดและนายจ้างมีหน้าที่ต้องจ่ายเงินจำนวนใดให้แก่ลูกจ้าง... ให้ศาลมีอำนาจจ่ายเงินที่นายจ้างวางไว้ต่อศาลให้แก่ลูกจ้าง... แล้วแต่กรณี" ที่บทบัญญัติมาตรา 125 วรรคสามและวรรคสี่ ได้กำหนดไว้ดังกล่าวก็มีเจตนารมณ์มุ่งหมายที่จะคุ้มครองลูกจ้างให้ได้รับเงินตามจำนวนที่พนักงานตรวจแรงงานสั่งให้นายจ้างจ่ายแก่ลูกจ้างเมื่อคดีถึงที่สุดทันที โดยลูกจ้างไม่ต้องเสียเวลาไปฟ้องคดีบังคับให้นายจ้างจ่ายเงินจำนวนดังกล่าวอีก ทั้งยังเป็นการป้องกันมิให้นายจ้างประวิงเวลาในการจ่ายเงินอันเป็นการสร้างภาระแก่ลูกจ้างซึ่งมีสิทธิได้รับเงินตามกฎหมายจากนายจ้าง และในกรณีที่นายจ้างฟ้องเพิกถอนคำสั่งพนักงานตรวจแรงงาน หากศาลพิพากษาเพิกถอนคำสั่งของพนักงานตรวจแรงงานแล้ว นายจ้างก็สามารถรับเงินจำนวนที่วางศาลไว้คืนไปได้โดยไม่เกิดความเสียหายแต่อย่างใด บทบัญญัติกฎหมายดังกล่าวนี้จึงไม่เป็นการจำกัดสิทธินายจ้างในการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรม ทั้งเป็นธรรมแก่นายจ้างและลูกจ้างทั้งสองฝ่าย สำหรับที่ดินที่โจทก์ขอวางต่อศาลแทนเงินนั้น หากภายหลังคดีถึงที่สุดและโจทก์มีหน้าที่ต้องจ่ายเงินให้แก่ลูกจ้าง ก็ต้องมีการบังคับคดีนำที่ดินออกขายทอดตลาดนำเงินมาชำระให้แก่ลูกจ้างต่อไป ซึ่งอาจขายทอดตลาดไม่ได้ราคาไปชำระหนี้ครบตามคำสั่งของพนักงานตรวจแรงงานก็ได้ ที่ดินดังกล่าวจึงมิใช่วัตถุที่ใช้ชำระหนี้ได้ตามกฎหมายทำนองเดียวกับเงินซึ่งศาลสามารถนำมาจ่ายให้ลูกจ้างได้ทันที นอกจากนี้เงินจำนวนที่โจทก์ต้องนำมาวางศาลนั้นมิใช่เงินค่าฤชาธรรมเนียมที่ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 27 กำหนดให้ได้รับยกเว้นไม่ต้องชำระเมื่อฟ้องคดีต่อศาลแรงงานแต่อย่างใด จึงมิอาจนำบทบัญญัติตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาใช้บังคับยกเว้นการวางเงินให้แก่โจทก์ได้
พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 125 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า "เมื่อพนักงานตรวจแรงงานได้มีคำสั่งตามมาตรา 124 แล้ว ถ้านายจ้าง ลูกจ้าง หรือทายาทโดยธรรมของลูกจ้างซึ่งถึงแก่ความตายไม่พอใจคำสั่งนั้น ให้นำคดีไปสู่ศาลได้ภายในสามสิบวันนับแต่วันทราบคำสั่ง" และวรรคสามบัญญัติว่า "ในกรณีที่นายจ้างเป็นฝ่ายนำคดีไปสู่ศาล นายจ้างต้องวางเงินต่อศาลตามจำนวนที่ถึงกำหนดจ่ายตามคำสั่งนั้น จึงจะฟ้องคดีได้" บทบัญญัติดังกล่าวมานี้ได้กำหนดอย่างชัดแจ้งว่า ในกรณีที่นายจ้างไม่พอใจคำสั่งของพนักงานตรวจแรงงานที่สั่งให้นายจ้างจ่ายเงินให้แก่ลูกจ้าง และนายจ้างประสงค์จะนำคดีไปสู่ศาลแรงงานเพื่อขอให้เพิกถอนคำสั่งนั้น นายจ้างจะต้องวางเงินตามจำนวนที่นายจ้างประสงค์จะโต้แย้งต่อศาล ซึ่งอาจเป็นจำนวนทั้งหมดตามคำสั่งของพนักงานตรวจแรงงานหรือเพียงบางส่วนก็ได้ หากนายจ้างไม่ประสงค์จะโต้แย้งเงินจำนวนใดตามคำสั่งก็ไม่ต้องวางเงินจำนวนนั้น ซึ่งหมายความว่านายจ้างพอใจที่จะจ่ายเงินจำนวนที่ไม่โต้แย้งนี้ให้แก่ลูกจ้างโดยไม่ประสงค์ให้ศาลเพิกถอนคำสั่งในส่วนของเงินจำนวนที่ไม่โต้แย้งนี้นั่นเอง หากโจทก์ประสงค์จะขอให้ศาลเพิกถอนคำสั่งของพนักงานตรวจแรงงานตามคำสั่งที่สั่งให้โจทก์จ่ายเงินแก่ผู้ร้องทั้ง 82 ราย โจทก์ก็ต้องวางเงินจำนวนตามคำสั่งทั้งหมดทุกราย จะขอวางเพียง 2 รายแล้วขอให้ศาลเพิกถอนคำสั่งของพนักงานตรวจแรงงานที่สั่งให้โจทก์จ่ายเงินให้แก่ผู้ร้องทุกรายไม่ได้
พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 125 วรรคสาม บัญญัติว่า "ในกรณีที่นายจ้างเป็นฝ่ายนำคดีไปสู่ศาล นายจ้างต้องวางเงินต่อศาลตามจำนวนที่ถึงกำหนดจ่ายตามคำสั่งนั้น จึงจะฟ้องคดีได้" และมาตรา 125 วรรคสี่ บัญญัติต่อไปว่า "เมื่อคดีถึงที่สุดและนายจ้างมีหน้าที่ต้องจ่ายเงินจำนวนใดให้แก่ลูกจ้าง... ให้ศาลมีอำนาจจ่ายเงินที่นายจ้างวางไว้ต่อศาลให้แก่ลูกจ้าง... แล้วแต่กรณี" ที่บทบัญญัติมาตรา 125 วรรคสามและวรรคสี่ ได้กำหนดไว้ดังกล่าวก็มีเจตนารมณ์มุ่งหมายที่จะคุ้มครองลูกจ้างให้ได้รับเงินตามจำนวนที่พนักงานตรวจแรงงานสั่งให้นายจ้างจ่ายแก่ลูกจ้างเมื่อคดีถึงที่สุดทันที โดยลูกจ้างไม่ต้องเสียเวลาไปฟ้องคดีบังคับให้นายจ้างจ่ายเงินจำนวนดังกล่าวอีก ทั้งยังเป็นการป้องกันมิให้นายจ้างประวิงเวลาในการจ่ายเงินอันเป็นการสร้างภาระแก่ลูกจ้างซึ่งมีสิทธิได้รับเงินตามกฎหมายจากนายจ้าง และในกรณีที่นายจ้างฟ้องเพิกถอนคำสั่งพนักงานตรวจแรงงาน หากศาลพิพากษาเพิกถอนคำสั่งของพนักงานตรวจแรงงานแล้ว นายจ้างก็สามารถรับเงินจำนวนที่วางศาลไว้คืนไปได้โดยไม่เกิดความเสียหายแต่อย่างใด บทบัญญัติกฎหมายดังกล่าวนี้จึงไม่เป็นการจำกัดสิทธินายจ้างในการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรม ทั้งเป็นธรรมแก่นายจ้างและลูกจ้างทั้งสองฝ่าย สำหรับที่ดินที่โจทก์ขอวางต่อศาลแทนเงินนั้น หากภายหลังคดีถึงที่สุดและโจทก์มีหน้าที่ต้องจ่ายเงินให้แก่ลูกจ้าง ก็ต้องมีการบังคับคดีนำที่ดินออกขายทอดตลาดนำเงินมาชำระให้แก่ลูกจ้างต่อไป ซึ่งอาจขายทอดตลาดไม่ได้ราคาไปชำระหนี้ครบตามคำสั่งของพนักงานตรวจแรงงานก็ได้ ที่ดินดังกล่าวจึงมิใช่วัตถุที่ใช้ชำระหนี้ได้ตามกฎหมายทำนองเดียวกับเงินซึ่งศาลสามารถนำมาจ่ายให้ลูกจ้างได้ทันที นอกจากนี้เงินจำนวนที่โจทก์ต้องนำมาวางศาลนั้นมิใช่เงินค่าฤชาธรรมเนียมที่ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 27 กำหนดให้ได้รับยกเว้นไม่ต้องชำระเมื่อฟ้องคดีต่อศาลแรงงานแต่อย่างใด จึงมิอาจนำบทบัญญัติตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาใช้บังคับยกเว้นการวางเงินให้แก่โจทก์ได้
พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 125 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า "เมื่อพนักงานตรวจแรงงานได้มีคำสั่งตามมาตรา 124 แล้ว ถ้านายจ้าง ลูกจ้าง หรือทายาทโดยธรรมของลูกจ้างซึ่งถึงแก่ความตายไม่พอใจคำสั่งนั้น ให้นำคดีไปสู่ศาลได้ภายในสามสิบวันนับแต่วันทราบคำสั่ง" และวรรคสามบัญญัติว่า "ในกรณีที่นายจ้างเป็นฝ่ายนำคดีไปสู่ศาล นายจ้างต้องวางเงินต่อศาลตามจำนวนที่ถึงกำหนดจ่ายตามคำสั่งนั้น จึงจะฟ้องคดีได้" บทบัญญัติดังกล่าวมานี้ได้กำหนดอย่างชัดแจ้งว่า ในกรณีที่นายจ้างไม่พอใจคำสั่งของพนักงานตรวจแรงงานที่สั่งให้นายจ้างจ่ายเงินให้แก่ลูกจ้าง และนายจ้างประสงค์จะนำคดีไปสู่ศาลแรงงานเพื่อขอให้เพิกถอนคำสั่งนั้น นายจ้างจะต้องวางเงินตามจำนวนที่นายจ้างประสงค์จะโต้แย้งต่อศาล ซึ่งอาจเป็นจำนวนทั้งหมดตามคำสั่งของพนักงานตรวจแรงงานหรือเพียงบางส่วนก็ได้ หากนายจ้างไม่ประสงค์จะโต้แย้งเงินจำนวนใดตามคำสั่งก็ไม่ต้องวางเงินจำนวนนั้น ซึ่งหมายความว่านายจ้างพอใจที่จะจ่ายเงินจำนวนที่ไม่โต้แย้งนี้ให้แก่ลูกจ้างโดยไม่ประสงค์ให้ศาลเพิกถอนคำสั่งในส่วนของเงินจำนวนที่ไม่โต้แย้งนี้นั่นเอง หากโจทก์ประสงค์จะขอให้ศาลเพิกถอนคำสั่งของพนักงานตรวจแรงงานตามคำสั่งที่สั่งให้โจทก์จ่ายเงินแก่ผู้ร้องทั้ง 82 ราย โจทก์ก็ต้องวางเงินจำนวนตามคำสั่งทั้งหมดทุกราย จะขอวางเพียง 2 รายแล้วขอให้ศาลเพิกถอนคำสั่งของพนักงานตรวจแรงงานที่สั่งให้โจทก์จ่ายเงินให้แก่ผู้ร้องทุกรายไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8986-8997/2561
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างลูกจ้างที่ชุมนุมประท้วงไม่ชอบด้วยกฎหมาย นายจ้างมีสิทธิเลิกจ้างได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย
ตาม พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518 มาตรา 5 คำว่า "การนัดหยุดงาน" หมายความว่า การที่ลูกจ้างร่วมกันไม่ทำงานชั่วคราวเนื่องจากข้อพิพาทแรงงาน แสดงว่าการนัดหยุดงานเป็นวิธีการของฝ่ายลูกจ้างที่ได้กระทำเพื่อบังคับฝ่ายนายจ้างให้ยอมรับตามข้อเรียกร้องของตนในการเจรจาต่อรองโดยวิธีการร่วมกันไม่ทำงานให้แก่นายจ้างพร้อมกันเท่านั้น แต่การกระทำอย่างอื่น เช่น การปิดกั้นหรือการชุมนุมโดยละเมิดสิทธิของผู้อื่นนั้นย่อมมิใช่การนัดหยุดงานหรือเป็นส่วนหนึ่งของการนัดหยุดงานแต่อย่างใด และเมื่อมิใช่การนัดหยุดงานและไม่มีกฎหมายระบุให้กระทำได้โดยไม่ต้องรับผิด ดังเช่นที่ระบุไว้ใน พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518 มาตรา 99 แล้ว ผู้กระทำย่อมไม่ได้รับความคุ้มครองตามกฎหมาย การที่โจทก์ที่ 1 และที่ 2 กับพวกมีการใช้กำลังฝ่าฝืนดึงดันเข้าไปในพื้นที่ชุมนุมโดยไม่ฟังการห้ามปรามของพนักงานรักษาความปลอดภัยของจำเลยและบริษัท จ. มีการนำเต็นท์ขนาดใหญ่ เครื่องขยายเสียงและสุขาเคลื่อนที่เข้าไปติดตั้ง นำรถยนต์และรถจักรยานยนต์เข้าไปจอด ใช้เครื่องขยายเสียงปราศรัยส่งเสียงรบกวนการทำงานของพนักงานจำเลยและบริษัท จ. ที่ไม่ได้หยุดงานต่อเนื่องเป็นเวลาหลายวัน ถือว่าโจทก์ที่ 1 และที่ 2 กับพวกร่วมกันชุมนุมโดยไม่ชอบด้วย พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518 มาตรา 99 (4) โจทก์ที่ 1 และที่ 2 จึงไม่ได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายดังกล่าว เมื่อการชุมนุมก่อให้เกิดความเสียหายแก่จำเลยถือว่าโจทก์ที่ 1 และที่ 2 ได้กระทำผิดอาญาโดยเจตนาแก่นายจ้าง จงใจทำให้นายจ้างได้รับความเสียหาย และฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยในกรณีร้ายแรง จำเลยจึงมีสิทธิเลิกจ้างโจทก์ที่ 1 และที่ 2 ได้โดยไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้าและไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย