คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.วิ.พ. ม. 242 (1)

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 98 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2817/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลภาษีอากร: คดีความรับผิดในหนี้ภาษีอากรจากการละเมิด มิใช่อำนาจศาลภาษีอากร
ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากรพ.ศ.2528 มาตรา 10 วรรคสอง อำนาจในการวินิจฉัยกรณีมีปัญหาว่าคดีใดจะอยู่ในอำนาจของศาลภาษีอากรหรือไม่ เป็นอำนาจของประธานศาลฎีกาเป็นผู้วินิจฉัย ศาลฎีกาจึงได้ส่งสำนวนไปให้ประธานศาลฎีกาวินิจฉัย
ตามคำฟ้องเป็นเรื่องที่โจทก์กล่าวอ้างให้จำเลยที่ 2 ร่วมรับผิดในหนี้ภาษีอากรกับจำเลยที่ 1 ในทางละเมิด คดีของโจทก์เกี่ยวกับจำเลยที่ 2 จึงมิใช่คดีพิพาทเกี่ยวกับสิทธิเรียกร้องของรัฐในหนี้ภาษีอากร ไม่อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลภาษีอากร โจทก์จึงยื่นฟ้องจำเลยที่ 2 ต่อศาลภาษีอากรกลางไม่ได้กระบวนพิจารณาของศาลภาษีอากรกลางในส่วนที่เกี่ยวกับจำเลยที่ 2 จึงไม่ชอบศาลฎีกาต้องพิพากษาเพิกถอนกระบวนพิจารณาของศาลภาษีอากรกลางตั้งแต่ชั้นรับคำฟ้องจนถึงชั้นมีคำพิพากษาในส่วนที่เกี่ยวกับจำเลยที่ 2 และยกอุทธรณ์ของโจทก์ในส่วนที่เกี่ยวกับจำเลยที่ 2 ด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9736/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผลของคำพิพากษาคดีประธานต่อคำสั่งอายัดชั่วคราวเมื่อมีการบังคับคดี
เมื่อกรณีที่ผู้คัดค้านอุทธรณ์เป็นเรื่องเกี่ยวกับวิธีการ ชั่วคราวก่อนพิพากษาและข้อเท็จจริงฟังได้ว่าคดีที่โจทก์ฟ้องจำเลยซึ่งเป็นคดีประธานได้ถึงที่สุดโดยไม่มีการอุทธรณ์ ทั้งโจทก์ซึ่งเป็นฝ่ายชนะคดีได้ขอหมายบังคับคดีแก่จำเลย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 260(2) แล้วคำสั่งศาลที่ให้อายัดชั่วคราวซึ่งมีผลต่อไปเท่าที่จำเป็นเพื่อบังคับตามคำพิพากษาหรือคำสั่งนั้นย่อมสิ้นผล หลังจากนั้นย่อมเป็นปัญหาในชั้นบังคับคดี ศาลอุทธรณ์จึงชอบที่จะพิพากษายกอุทธรณ์ผู้คัดค้านโดยไม่วินิจฉัยว่าผู้คัดค้านต้องส่งเงินต่อศาลชั้นต้นตามหมายอายัดชั่วคราวหรือไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9117/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผลของคำพิพากษาถึงที่สุด แม้มีข้อสงสัยเรื่องการรับคำให้การ การไต่สวนใหม่ไม่กระทบผล
ศาลสั่งศาลชั้นต้นที่สั่งไม่รับคำให้การของจำเลยเป็นคำสั่งไม่รับคำคู่ความตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา18จำเลยมีสิทธิอุทธรณ์ฎีกาได้ทันทีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา228(3) ในระหว่างที่จำเลยอุทธรณ์คำสั่งไม่รับคำให้การศาลชั้นต้นได้ดำเนินการพิจารณาคดีต่อไปและศาลอุทธรณ์มิได้สั่งให้ศาลชั้นต้นงดการพิจารณาคดีไว้ก่อนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา228วรรคสองจนศาลชั้นต้นพิจารณาและพิพากษาคดีไปโดยจำเลยมิได้อุทธรณ์คำพิพากษาของศาลชั้นต้นแต่อย่างใดคำพิพากษาของศาลชั้นต้นดังกล่าวจึงเสร็จเด็ดขาดถึงที่สุดแล้วการที่จะให้ศาลชั้นต้นทำการไต่สวนและมีคำสั่งรับหรือไม่รับคำให้การใหม่ไม่ว่าผลการไต่สวนจะเป็นประการใดย่อมไม่อาจจะทำให้ผลของคำพิพากษาซึ่งถึงที่สุดแล้วเปลี่ยนแปลงไปได้อุทธรณ์ของจำเลยจึงไม่เป็นประโยชน์แก่คดี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9117/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำสั่งไม่รับคำให้การและการพิจารณาคดีต่อเนื่อง ผลกระทบต่อคำพิพากษาถึงที่สุด
ศาลสั่งศาลชั้นต้นที่สั่งไม่รับคำให้การของจำเลย เป็นคำสั่งไม่รับคำคู่ความตาม ป.วิ.พ.มาตรา 18 จำเลยมีสิทธิอุทธรณ์ฎีกาได้ทันที ตามป.วิ.พ.มาตรา 228 (3)
ในระหว่างที่จำเลยอุทธรณ์คำสั่งไม่รับคำให้การ ศาลชั้นต้นได้ดำเนินการพิจารณาคดีต่อไป และศาลอุทธรณ์มิได้สั่งให้ศาลชั้นต้นงดการพิจารณาคดีไว้ก่อน ตาม ป.วิ.พ. 228 วรรคสอง จนศาลชั้นต้นพิจารณาและพิพากษาคดีไปโดยจำเลยมิได้อุทธรณ์คำพิพากษาของศาลชั้นต้นแต่อย่างใด คำพิพากษาของศาลชั้นต้นดังกล่าวจึงเสร็จเด็ดขาดถึงที่สุดแล้ว การที่จะให้ศาลชั้นต้นทำการไต่สวนและมีคำสั่งรับหรือไม่รับคำให้การใหม่ ไม่ว่าผลการไต่สวนจะเป็นประการใดย่อมไม่อาจจะทำให้ผลของคำพิพากษาซึ่งถึงที่สุดแล้วเปลี่ยนแปลงไปได้ อุทธรณ์ของจำเลยจึงไม่เป็นประโยชน์แก่คดี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4947/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอายัดสิทธิเรียกร้องชั่วคราวก่อนพิพากษา, สิทธิในการอุทธรณ์, และฟ้องแย้งที่ไม่เกี่ยวข้องกับฟ้องเดิม
ที่จำเลยทั้งสามฎีกาว่าคดีมีเหตุอันสมควรที่จะให้ถอนหมายอายัดที่ศาลได้ออกตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา258ในกรณีฉุกเฉินตามคำขอของโจทก์นั้นคดีนี้เมื่อศาลอุทธรณ์ภาค2วินิจฉัยว่าศาลชั้นต้นมีคำสั่งอายัดสิทธิเรียกร้องเงินที่จำเลยที่1มีต่อบริษัท อ. ไม่ใช่สิทธิเรียกร้องของจำเลยที่2และที่3ในฐานะส่วนตัวจำเลยที่2และที่3จึงไม่มีส่วนได้เสียในคำสั่งดังกล่าวจำเลยที่2และที่3ย่อมไม่มีสิทธิยื่นคำร้องขอให้ถอนหมายอายัดและไม่ได้ถูกกระทบกระเทือนจากคำสั่งยกคำร้องขอให้ถอนหมายอายัดจำเลยที่2และที่3จึงไม่มีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวจำเลยที่2ก็ชอบที่จะฎีกาโต้แย้งคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค2ว่าตนมีสิทธิยื่นคำร้องขอถอนหมายอายัดจึงมีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งของศาลชั้นต้นที่ให้ยกคำร้องขอถอนหมายอายัดแต่จำเลยที่2ก็มิได้ฎีกาคดีจึงฟังเป็นยุติตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค2ว่าจำเลยที่2ไม่มีสิทธิยื่นคำร้องขอถอนหมายอายัดปัญหาตามฎีกาข้างต้นในส่วนของจำเลยที่2จึงไม่เป็นสาระแก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัยส่วนจำเลยที่3ปรากฏว่าจำเลยที่3ไม่ได้ร่วมยืนคำร้องขอให้ถอนหมายอายัดด้วยคงมีแต่จำเลยที่1และที่2เท่านั้นเป็นผู้ยื่นคำร้องขอให้ถอนหมายอายัดเมื่อศาลชั้นต้นยกคำร้องของจำเลยที่1และที่2ที่ขอให้ถอนหมายอายัดจำเลยที่3ย่อมไม่มีสิทธิอุทธรณ์เนื่องจากมิได้ดำเนินกระบวนพิจารณาตามลำดับชั้นศาลการที่ศาลอุทธรณ์ภาค2วินิจฉัยอุทธรณ์ของจำเลยที่3เป็นการไม่ชอบจำเลยที่3ไม่มีสิทธิฎีกาต่อมาศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยฎีกาจำเลยที่2และที่3 เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้อายัดสิทธิเรียกร้องของจำเลยที่1ชั่วคราวก่อนพิพากษาโดยฉุกเฉินโดยวินิจฉัยว่าฟ้องโจทก์มีเหตุเพียงพอกรณีมีเหตุฉุกเฉินจำเลยที่1ย่อมมีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งเมื่อจำเลยที่1ไม่ยื่นอุทธรณ์คำสั่งของศาลชั้นต้นจึงถึงที่สุดฎีกาของจำเลยที่1ที่ว่าข้ออ้างของโจทก์ไม่มีเหตุเพียงพอจึงเป็นการโต้แย้งคำสั่งศาลชั้นต้นที่ยุติไปแล้วทั้งไม่ใช่เหตุที่จะนำมาพิจารณาคำร้องของจำเลยที่1ที่ขอให้ถอนหมายอายัดชั่วคราวในกรณีฉุกเฉินได้ ฟ้องแย้งของจำเลยที่1ตั้งสิทธิเรียกร้องจากมูลละเมิดกล่าวหาว่าโจทก์ร้องขอให้ศาลนำวิธีการชั่วคราวก่อนพิพากษามาใช้บังคับโดยจงใจหรือประมาทเลินเล่อกลั่นแกล้งจำเลยที่1ให้ได้รับความเสียหายมิได้เกี่ยวข้องกับคำฟ้องของโจทก์ที่ฟ้องเรียกค่าสินค้าที่จำเลยทั้งสามซื้อเชื่อสินค้าไปจากโจทก์แล้วไม่ชำระราคาฟ้องแย้งของจำเลยที่1เช่นนี้จึงเป็นคนละเรื่องกับคำฟ้องของโจทก์ไม่เกี่ยวข้องกันพอที่จะนำมารวมพิจารณาพิพากษาเข้าด้วยกันได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4947/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตสิทธิอุทธรณ์-ฎีกาคำสั่งอายัดชั่วคราวก่อนพิพากษา และความสัมพันธ์ของคำฟ้อง-ฟ้องแย้ง
ที่จำเลยทั้งสามฎีกาว่า คดีมีเหตุอันสมควรที่จะให้ถอนหมายอายัดที่ศาลได้ออกตาม ป.วิ.พ. มาตรา 258 ในกรณีฉุกเฉินตามคำขอของโจทก์นั้น คดีนี้ เมื่อศาลอุทธรณ์ภาค 2 วินิจฉัยว่า ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอายัดสิทธิเรียกร้องเงินที่จำเลยที่ 1 มีต่อบริษัท อ. ไม่ใช่สิทธิเรียกร้องของจำเลยที่ 2 และที่ 3ในฐานะส่วนตัว จำเลยที่ 2 และที่ 3 จึงไม่มีส่วนได้เสียในคำสั่งดังกล่าว จำเลยที่ 2 และที่ 3 ย่อมไม่มีสิทธิยื่นคำร้องขอให้ถอนหมายอายัดและไม่ได้ถูกกระทบกระเทือนจากคำสั่งยกคำร้องขอให้ถอนหมายอายัด จำเลยที่ 2 และที่ 3 จีงไม่มีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าว จำเลยที่ 2 ก็ชอบที่จะฎีกาโต้แย้งคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 2 ว่าตนมีสิทธิยื่นคำร้องขอถอนหมายอายัด จึงมีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งของศาลชั้นต้นที่ให้ยกคำร้องขอถอนหมายอายัด แต่จำเลยที่ 2 ก็มิได้ฎีกา คดีจึงฟังเป็นยุติตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 2 ว่า จำเลยที่ 2 ไม่มีสิทธิยื่นคำร้องขอถอนหมายอายัดปัญหาตามฎีกาข้างต้นในส่วนของจำเลยที่ 2 จึงไม่เป็นสาระแก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัย ส่วนจำเลยที่ 3 ปรากฏว่า จำเลยที่ 3 ไม่ได้ร่วมยื่นคำร้องขอให้ถอนหมายอายัดด้วย คงมีแต่จำเลยที่ 1 และที่ 2 เท่านั้นเป็นผู้ยื่นคำร้องขอให้ถอนหมายอายัดเมื่อศาลชั้นต้นยกคำร้องของจำเลยที่ 1 และที่ 2 ที่ขอให้ถอนหมายอายัด จำเลยที่ 3ย่อมไม่มีสิทธิอุทธรณ์เนื่องจากมิได้ดำเนินกระบวนพิจารณาตามลำดับชั้นศาล การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 2 วินิจฉัยอุทธรณ์ของจำเลยที่ 3 เป็นการไม่ชอบ จำเลยที่ 3ไม่มีสิทธิฎีกาต่อมา ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยฎีกาจำเลยที่ 2 และที่ 3
เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้อายัดสิทธิเรียกร้องของจำเลยที่ 1ชั่วคราวก่อนพิพากษาโดยฉุกเฉิน โดยวินิจฉัยว่าฟ้องโจทก์มีเหตุเพียงพอกรณีมีเหตุฉุกเฉิน จำเลยที่ 1 ย่อมมีสิทธิอุทธรณ์คำสั่ง เมื่อจำเลยที่ 1 ไม่ยื่นอุทธรณ์ คำสั่งของศาลชั้นต้นจึงถึงที่สุด ฎีกาของจำเลยที่ 1 ที่ว่าข้ออ้างของโจทก์ไม่มีเหตุเพียงพอจึงเป็นการโต้แย้งคำสั่งศาลชั้นต้นที่ยุติไปแล้ว ทั้งไม่ใช่เหตุที่จะนำมาพิจารณาคำร้องของจำเลยที่ 1 ที่ขอให้ถอนหมายอายัดชั่วคราวในกรณีฉุกเฉินได้
ฟ้องแย้งของจำเลยที่ 1 ตั้งสิทธิเรียกร้องจากมูลละเมิดกล่าวหาว่า โจทก์ร้องขอให้ศาลนำวิธีการชั่วคราวก่อนพิพากษามาใช้บังคับโดยจงใจหรือประมาทเลินเล่อกลั่นแกล้งจำเลยที่ 1 ให้ได้รับความเสียหาย มิได้เกี่ยวข้องกับคำฟ้องของโจทก์ที่ฟ้องเรียกค่าสินค้าที่จำเลยทั้งสามซื้อเชื่อสินค้าไปจากโจทก์แล้วไม่ชำระราคา ฟ้องแย้งของจำเลยที่ 1 เช่นนี้จึงเป็นคนละเรื่องกับคำฟ้องของโจทก์ ไม่เกี่ยวข้องกันพอที่จะนำมารวมพิจารณาพิพากษาเข้าด้วยกันได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4853/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อจำกัดการอุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 224 และ 242: ทุนทรัพย์เกินห้าหมื่นบาท
โจทก์อุทธรณ์ขอให้บังคับจำเลยที่ 1 คืนของหมั้นเป็นเงิน10,000 บาท และให้จำเลยที่ 2 และที่ 3 ร่วมกันคืนสินสอดเป็นเงิน 50,000 บาทหนี้ที่โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 สามารถแยกออกจากหนี้ของจำเลยที่ 2 และที่ 3 เป็นคนละส่วนกันได้ ทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นอุทธรณ์แต่ละส่วนไม่เกินห้าหมื่นบาท ต้องห้ามมิให้คู่ความอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ. มาตรา 224 วรรคหนึ่ง
อุทธรณ์ของโจทก์เป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงซึ่งต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ที่ศาลอุทธรณ์รับพิจารณาเป็นการไม่ชอบตาม ป.วิ.พ. มาตรา 242 (1) จำเลยทั้งสามจึงไม่มีสิทธิฎีกา แม้ผู้พิพากษาที่นั่งพิจารณาคดีในศาลชั้นต้นจะรับรองให้ฎีกาศาลฎีกาก็ไม่อาจพิจารณาฎีกาของจำเลยทั้งสามได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3459/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สถานะ 'บริวาร' ผู้เช่าตึกแถว: สัญญาโอนสิทธิการเช่าทำให้มีฐานะเป็นบริวารของผู้อ้างสิทธิเดิม
ศาลชั้นต้นออกหมายบังคับคดีให้โจทก์และบริวารออกไปจากตึกแถวพิพาท เมื่อผู้ร้องอ้างว่า ผู้ร้องมิใช่บริวารของโจทก์ แต่จำเลยคัดค้านว่าผู้ร้องเป็นบริวารของโจทก์ คดีจึงมีประเด็นข้อพิพาทจะต้องวินิจฉัยว่า ผู้ร้องเป็นบริวารของโจทก์หรือไม่ ซึ่งการที่จะวินิจฉัยปัญหาดังกล่าวโดยปกติศาลชั้นต้นจะต้องทำการไต่สวนโดยเปิดโอกาสให้คู่กรณีนำพยานหลักฐานเข้าสืบเพื่อสนับสนุนข้ออ้างและข้อคัดค้านของตนแล้วจึงจะวินิจฉัยชี้ขาด แต่คดีนี้ผู้ร้องมิได้มีนิติสัมพันธ์กับจำเลยการที่ผู้ร้องเข้าครอบครองอ้างสิทธิในตึกแถวพิพาทก็โดยอาศัยสิทธิตามสัญญาโอนสิทธิการเช่าระหว่างผู้ร้องกับโจทก์ จึงต้องถือว่าผู้ร้องเป็นบริวารของโจทก์ ดังนั้นแม้จะทำการไต่สวนและฟังข้อเท็จจริงได้ตามคำร้อง ก็คงต้องฟังว่าผู้ร้องเป็นบริวารของโจทก์อยู่นั่นเอง ศาลชอบที่สั่งงดการไต่สวนเสียได้
เมื่อศาลอุทธรณ์ได้วินิจฉัยในปัญหาที่ว่า ที่ศาลชั้นต้นงดไต่สวนคำร้องของผู้ร้องชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ ซึ่งเป็นปัญหาตามอุทธรณ์ของผู้ร้องโดยตรงแล้ว การที่ศาลอุทธรณ์ใช้ดุลพินิจยกปัญหาอันเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนขึ้นวินิจฉัยว่า การที่ศาลชั้นต้นยกคำร้องของผู้ร้องโดยผู้พิพากษานายเดียวเป็นผู้ลงนามในคำสั่งนั้น เป็นการไม่ชอบด้วยพระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 23 เนื่องจากคำสั่งดังกล่าวมีลักษณะเป็นการวินิจฉัยชี้ขาดข้อพิพาทแห่งคดี ซึ่งไม่อยู่ในอำนาจของผู้พิพากษานายเดียวที่จะออกคำสั่งได้ ตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 21 (2)อันเป็นกรณีที่ศาลชั้นต้นมิได้ปฏิบัติให้ถูกต้องตามกฎหมาย ศาลอุทธรณ์ย่อมมีอำนาจที่จะพิพากษายกคำสั่งศาลชั้นต้น โดยให้ศาลชั้นต้นมีคำสั่งใหม่ให้มีผู้พิพากษาครบองค์คณะได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1918/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอุทธรณ์คัดค้านเจตนาทุจริตในคดีเบียดบังทรัพย์สิน: ข้อจำกัดในการอุทธรณ์ตาม พ.ร.บ.ศาลแขวง
ความผิดตาม ป.อ. มาตรา 352 ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องโดยวินิจฉัยว่า การกระทำของจำเลยไม่มีเจตนาทุจริต เป็นการยกฟ้องโดยอาศัยข้อเท็จจริง โจทก์อุทธรณ์ว่า จำเลยครอบครองทรัพย์ตามฟ้องของโจทก์แล้วไม่ส่งมอบให้โจทก์ เป็นการเบียดบังไปเป็นประโยชน์ส่วนตัวโดยทุจริต เท่ากับโจทก์อุทธรณ์คัดค้านคำพิพากษาศาลชั้นต้นว่าจำเลยมีเจตนาทุจริตอันเป็นปัญหาข้อเท็จจริง ไม่ใช่ปัญหาข้อกฎหมาย จึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ. 2499 มาตรา 22 การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 3 พิพากษายกอุทธรณ์ของโจทก์จึงชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6435/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจำหน่ายคดีเมื่อคดีที่เกี่ยวข้องถึงที่สุดแล้ว และผู้ร้องไม่ติดใจให้ประกันการชำระหนี้
ศาลอุทธรณ์มีคำพิพากษายืนตามคำสั่งศาลชั้นต้นที่มีคำสั่งให้โจทก์นำเงินหรือหาหลักประกันมาวางศาล เกี่ยวกับปัญหาการอายัดตั๋วสัญญาใช้เงินคดีนี้ซึ่งเป็นปัญหาฟ้องร้องกันระหว่างจำเลยและผู้ร้องอีกคดีหนึ่ง เมื่อปรากฏว่าคดีระหว่างจำเลยและผู้ร้องถึงที่สุด โดยศาลพิพากษาให้ผู้ร้องชำระเงินตามตั๋วสัญญาใช้เงินโจทก์จึงมีสิทธิได้รับเงินตามตั๋วสัญญาใช้เงินตามที่อายัดนอกจากนี้ผู้ร้องยังได้ยื่นคำร้องว่าไม่ติดใจให้โจทก์นำเงินหรือหลักทรัพย์ใดมาวางต่อไป ดังนั้นคดีจึงไม่มีประโยชน์ที่จะพิจารณาต่อไป ศาลฎีกาชอบที่จะจำหน่ายคดี แต่คดีนี้จะจำหน่ายคดีโดยให้คงคำสั่งศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ที่สั่งให้โจทก์นำเงินหรือหาหลักประกันมาวางต่อศาลอีกจะเป็นการไม่ชอบ ศาลฎีกาจึงพิพากษายกคำสั่งศาลชั้นต้นและคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ และให้จำหน่ายคดีเสีย
of 10