คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.วิ.พ. ม. 242 (1)

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 98 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6435/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจำหน่ายคดีเมื่อคดีที่เกี่ยวข้องถึงที่สุดแล้ว และผู้ร้องไม่ติดใจให้ประกันการชำระหนี้
ศาลอุทธรณ์มีคำพิพากษายืนตามคำสั่งศาลชั้นต้นที่มีคำสั่งให้โจทก์นำเงินหรือหาหลักประกันมาวางศาล เกี่ยวกับปัญหาการอายัดตั๋วสัญญาใช้เงินคดีนี้ซึ่งเป็นปัญหาฟ้องร้องกันระหว่างจำเลยและผู้ร้องอีกคดีหนึ่ง เมื่อปรากฏว่าคดีระหว่างจำเลยและผู้ร้องถึงที่สุด โดยศาลพิพากษาให้ผู้ร้องชำระเงินตามตั๋วสัญญาใช้เงินโจทก์จึงมีสิทธิได้รับเงินตามตั๋วสัญญาใช้เงินตามที่อายัดนอกจากนี้ผู้ร้องยังได้ยื่นคำร้องว่าไม่ติดใจให้โจทก์นำเงินหรือหลักทรัพย์ใดมาวางต่อไป ดังนั้นคดีจึงไม่มีประโยชน์ที่จะพิจารณาต่อไป ศาลฎีกาชอบที่จะจำหน่ายคดี แต่คดีนี้จะจำหน่ายคดีโดยให้คงคำสั่งศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ที่สั่งให้โจทก์นำเงินหรือหาหลักประกันมาวางต่อศาลอีกจะเป็นการไม่ชอบ ศาลฎีกาจึงพิพากษายกคำสั่งศาลชั้นต้นและคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ และให้จำหน่ายคดีเสีย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5081/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตการวินิจฉัยของอนุญาโตตุลาการและการยกอุทธรณ์ตามกฎหมายอนุญาโตตุลาการ
เหตุผลที่ผู้คัดค้านยกขึ้นอุทธรณ์โต้แย้งคำพิพากษาศาลชั้นต้นสรุปได้ว่า อนุญาโตตุลาการมิได้วินิจฉัยชี้ขาดไปตามข้อเท็จจริงและสัญญา ไม่หยิบยกพยานหลักฐานที่ผู้คัดค้านเห็นว่าสำคัญขึ้นวินิจฉัย จึงเป็นการโต้แย้งดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานเกี่ยวกับเนื้อหาแห่งคำวินิจฉัยชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการทั้งสิ้นการที่อนุญาโตตุลาการจะหยิบยกพยานหลักฐานใดขึ้นวินิจฉัยภายในขอบเขตของกฎหมายและสัญญาที่พิพาทกัน ย่อมเป็นสิทธิที่จะกระทำได้ ที่ผู้คัดค้านอ้างว่าอนุญาโตตุลาการกระทำการโดยไม่สุจริต ก็ไม่ปรากฎพยานหลักฐานใด ๆ ว่า อนุญาโตตุลาการกระทำการโดยไม่สุจริตอย่างไร อุทธรณ์ของผู้คัดค้านจึงต้องห้ามตาม พ.ร.บ.อนุญาโตตุลาการ พ.ศ.2530 มาตรา 26
แม้ศาลอุทธรณ์จะมีคำสั่งให้รับอุทธรณ์ของผู้คัดค้านไว้พิจารณาแล้วก็ตาม แต่เมื่อศาลอุทธรณ์ตรวจสำนวนความแล้วเห็นว่า คดีของผู้คัดค้านต้องห้ามตามกฎหมาย ศาลอุทธรณ์ย่อมมีอำนาจยกอุทธรณ์นั้นโดยไม่ต้องวินิจฉัยในประเด็นแห่งอุทธรณ์ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 242 (1)
ศาลอุทธรณ์พิพากษายกอุทธรณ์ของผู้คัดค้าน โดยให้ค่าฤชา-ธรรมเนียมเป็นพับ ไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 151 ศาลฎีกาแก้ไขให้ถูกต้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5081/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อนุญาโตตุลาการวินิจฉัยชี้ขาดเกินขอบเขตสัญญา/ไม่สุจริต อุทธรณ์ต้องห้ามตาม พ.ร.บ.อนุญาโตตุลาการ
เหตุผลที่ผู้คัดค้านยกขึ้นอุทธรณ์โต้แย้งคำพิพากษาศาลชั้นต้นสรุปได้ว่า อนุญาโตตุลาการมิได้วินิจฉัยชี้ขาดไปตามข้อเท็จจริงและสัญญา ไม่หยิบยกพยานหลักฐานที่ผู้คัดค้านเห็นว่าสำคัญขึ้นวินิจฉัย จึงเป็นการโต้แย้งดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานเกี่ยวกับเนื้อหาแห่งคำวินิจฉัยชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการทั้งสิ้น การที่อนุญาโตตุลาการจะหยิบยกพยานหลักฐานใดขึ้นวินิจฉัยภายในขอบเขตของกฎหมายและสัญญาที่พิพาทกัน ย่อมเป็นสิทธิที่จะกระทำได้ ที่ผู้คัดค้านอ้างว่าอนุญาโตตุลาการกระทำการโดยไม่สุจริต ก็ไม่ปรากฏพยานหลักฐานใด ๆว่าอนุญาโตตุลาการกระทำการโดยไม่สุจริตอย่างไร อุทธรณ์ของผู้คัดค้านจึงต้องห้ามตามพระราชบัญญัติอนุญาโตตุลาการพ.ศ. 2530 มาตรา 26 แม้ศาลอุทธรณ์จะมีคำสั่งให้รับอุทธรณ์ของผู้คัดค้านไว้พิจารณาแล้วก็ตาม แต่เมื่อศาลอุทธรณ์ตรวจสำนวนความแล้วเห็นว่า คดีของผู้คัดค้านต้องห้ามตามกฎหมาย ศาลอุทธรณ์ย่อมมีอำนาจยกอุทธรณ์นั้นโดยไม่ต้องวินิจฉัยในประเด็นแห่งอุทธรณ์ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 242(1) ศาลอุทธรณ์พิพากษายกอุทธรณ์ของผู้คัดค้าน โดยให้ค่าฤชาธรรมเนียมเป็นพับ ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 151 ศาลฎีกาแก้ไขให้ถูกต้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3506/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจำหน่ายคดีเมื่อจำเลยรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างออกจากที่ดินแล้ว แม้ศาลอุทธรณ์พิพากษาคดีให้จำหน่ายคดีโดยคงคำพิพากษาเดิมไว้ก็ไม่ชอบ
โจทก์ฟ้องขอให้ขับไล่จำเลยทั้งสอง และให้จำเลยทั้งสองรื้อถอนบ้านออกจากที่ดินของโจทก์ ต่อมาโจทก์กับจำเลยทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันโดยจำเลยทั้งสองยอมรื้อถอนบ้านเรือนและสิ่งปลูกสร้างออกจากที่ดินของโจทก์ภายในเวลาที่กำหนด ศาลพิพากษาตามยอม ครั้นถึงกำหนดจำเลยทั้งสองไม่ปฏิบัติตามคำพิพากษา โจทก์จึงดำเนินการบังคับคดี จำเลยที่ 1 ได้ยื่นคำร้องขอให้พิจารณาคดีใหม่ศาลชั้นต้นยกคำร้อง จำเลยที่ 1 อุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์ภาค 2 พิพากษายืนศาลชั้นต้นอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 2 ดังกล่าวให้โจทก์ฟังฝ่ายเดียวโดยเห็นว่าได้มีการส่งหมายนัดฟังคำพิพากษาให้จำเลยทั้งสองทราบโดยชอบแล้ว จำเลยที่ 1 ยื่นคำร้องว่าไม่ได้รับหมายนัดของศาลให้ไปฟังคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 2 ขอให้ศาลชั้นต้นไต่สวน และให้ระงับการบังคับคดีไว้ก่อน ศาลชั้นต้นยกคำร้องโดยไม่ไต่สวนจำเลยที่ 1 อุทธรณ์อีก ศาลอุทธรณ์ภาค 2 พิพากษายกคำสั่งของศาลชั้นต้น ให้ศาลชั้นต้นดำเนินการไต่สวนคำร้อง ของ จำเลยที่ 1โจทก์ฎีกา ในชั้นฎีกาเมื่อปรากฏข้อเท็จจริงว่า จำเลยที่ 2ได้รื้อถอนสิ่งปลูกสร้างออกจากที่ดินของโจทก์ไปเรียบร้อยแล้วคดีจึงไม่มีประโยชน์ที่จะพิจารณาพิพากษาฎีกาของโจทก์อีกต่อไปศาลฎีกาชอบที่จะจำหน่ายคดีเสียจากสารบบความ แต่คดีนี้จะจำหน่ายคดีโดยให้คงคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 2 ไว้เป็นการไม่ชอบ เพราะยังมีผลให้ดำเนินกระบวนพิจารณากันต่อไปอีกทั้ง ๆ ที่ได้มีการรื้อถอนบ้านออกไปจากที่ดินของโจทก์เรียบร้อยแล้ว และไม่มีประเด็นอื่นต้องวินิจฉัยอีก ศาลฎีกาจึงต้องพิพากษายกคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 2 ด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2672/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อจำกัดการอุทธรณ์ข้อเท็จจริงในคดีแชร์: ทุนทรัพย์แยกรายบุคคลทำให้ไม่อุทธรณ์ได้
มูลหนี้ที่โจทก์แต่ละคนฟ้องเรียกจากจำเลยตามสัญญาเล่นแชร์ที่โจทก์แต่ละคนและจำเลยต่างร่วมเล่นแชร์ด้วยกันโดยมีนาง ฉ.ซึ่งหลบหนีไปแล้วเป็นนายวงแชร์ เป็นมูลหนี้ที่แยกต่างหากจากกันคือจำเลยต้องรับผิดต่อโจทก์แต่ละคน 9,510 บาท โจทก์ทั้งเก้ามิได้ฟ้องในฐานะที่เป็นเจ้าหนี้ร่วมของจำเลย ทุนทรัพย์ในคดีของโจทก์แต่ละคนจึงแยกต่างหากจากกันคนละ 9,510 บาท คดีจึงต้องห้ามอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ. มาตรา 224
จำเลยอุทธรณ์ว่า ข้อเท็จจริงที่โจทก์นำสืบมาไม่น่าเชื่อ ข้อเท็จจริงจึงน่ารับฟังดังที่จำเลยต่อสู้ ซึ่งศาลอุทธรณ์รับวินิจฉัยว่าพยานโจทก์ที่นำสืบมายังรับฟังไม่ได้ว่าจำเลยต้องรับผิดเงินค่าแชร์ที่ประมูลไปแล้วให้แก่โจทก์ แล้วพิพากษายกฟ้องโจทก์เป็นการวินิจฉัยข้อเท็จจริงซึ่งต้องห้ามอุทธรณ์ ไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 242 (1) เมื่อศาลอุทธรณ์ไม่มีอำนาจรับพิจารณาอุทธรณ์ข้อดังกล่าวของจำเลยแล้ว ศาลฎีกาก็พิจารณาข้อฎีกาของโจทก์ต่อไปไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5160/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยักยอกทรัพย์: การยกให้เป็นเหตุให้ไม่มีเจตนาทุจริต แม้ไม่ทำตามแบบ
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยในความผิดฐานยักยอก ซึ่งมีระวางโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกิน 6,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับเมื่อศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องโจทก์ จึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง ศาลชั้นต้นฟังข้อเท็จจริงว่า บ้านที่โจทก์กล่าวหาว่าจำเลยยักยอกนั้น จำเลยได้รับยกให้จากบิดาตามที่จำเลยนำสืบต่อสู้ แม้การยกให้ดังกล่าวจะมิได้ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ก็ไม่อาจลงโทษจำเลยตามฟ้องได้ เท่ากับศาลชั้นต้นฟังข้อเท็จจริงว่าจำเลยมิได้มีเจตนาทุจริตเบียดบังยักยอกทรัพย์ตามที่โจทก์กล่าวหา ที่โจทก์อุทธรณ์ว่า การยกให้มิได้ทำตามแบบจำเลยจึงไม่ได้กรรมสิทธิ์ในทรัพย์พิพาทนั้น แม้จะเป็นปัญหาข้อกฎหมายก็ไม่ทำให้ผลของคดีเปลี่ยนแปลงไป จึงเป็นข้อกฎหมายที่ไม่เป็นสาระแก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัย.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3145/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผลของคำสั่งอายัดชั่วคราวเมื่อมีคำพิพากษาถึงที่สุดและการบังคับคดี
หมายอายัดชั่วคราวนั้น เป็นเพียงวิธีการชั่วคราวก่อนพิพากษาเมื่อศาลชั้นต้นพิพากษาให้โจทก์ชนะคดี คำสั่งนั้นก็ยังมีผลต่อไปจนกว่าจะได้ปฏิบัติตามคำพิพากษาเท่าที่จำเป็นเพื่อบังคับตามคำพิพากษาเท่านั้น เมื่อปรากฏว่าศาลชั้นต้นได้ออกหมายอายัดชั่วคราวให้ผู้คัดค้านส่งเงินที่จำเลยซึ่งเป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษามีสิทธิได้รับจากผู้คัดค้านต่อศาล แต่ผู้คัดค้านยังมิได้ปฏิบัติตามคำสั่งอายัดชั่วคราวโดยคดีอยู่ระหว่างอุทธรณ์คำสั่ง ต่อมาเมื่อศาลชั้นต้นได้พิพากษาให้จำเลยชำระเงินแก่โจทก์คดีถึงที่สุด และในชั้นบังคับคดีศาลชั้นต้นได้มีคำสั่งให้ผู้คัดค้านส่งเงินจำนวนเดียวกันกับที่มีคำสั่งในหมายอายัดชั่วคราว ดังนี้ย่อมถือได้ว่าคำสั่งอายัดชั่วคราวดังกล่าวเป็นอันยกเลิกไป ปัญหาว่าผู้คัดค้านต้องส่งเงินต่อศาลชั้นต้นตามหมายอายัดชั่วคราวตามที่โจทก์อุทธรณ์ต่อศาลอุทธรณ์ไว้ก่อนนั้นหรือไม่ จึงไม่เป็นประโยชน์แก่คดีอีกต่อไป การที่ศาลอุทธรณ์พิพากษายกอุทธรณ์ของผู้คัดค้านเสีย จึงชอบด้วยกฎหมาย.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1043/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การงดสืบพยานและการรับฟังคำเบิกความเดิมในคดีอื่นเพื่อประกอบการพิจารณาเรื่องทางภาระจำยอม
คำสั่งศาลชั้นต้นที่ให้งดสืบพยานเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณาก่อนศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาหรือคำสั่งชี้ขาดตัดสินคดี ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 226 หากโจทก์เห็นว่าการงดสืบพยานไม่ถูกต้อง โจทก์จะต้องโต้แย้งคำสั่งนั้นไว้ เมื่อโต้แย้งแล้วจึงจะอุทธรณ์คำสั่งนั้นได้ภายในหนึ่งเดือนนับแต่มีคำพิพากษาหรือคำสั่งชี้ขาดตัดสินคดี ตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 226(2) เมื่อนับแต่วันที่ศาลมีคำสั่งดังกล่าวจนถึงวันนัดฟังคำพิพากษานานประมาณ 45 วัน มีเวลาที่โจทก์จะโต้แย้งได้ ก็หาโต้แย้งไม่ และที่ศาลชั้นต้นสั่งรับอุทธรณ์โจทก์ไว้ซึ่งมีประเด็นที่ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์รวมอยู่ด้วยก็ไม่ทำให้ประเด็นที่ไม่มีสิทธิอุทธรณ์กลับเป็นมีสิทธิอุทธรณ์ขึ้นได้ โจทก์จึงฎีกาปัญหาข้อนี้ไม่ได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 242(1) และมาตรา 247
โจทก์เคยเบิกความเกี่ยวกับเรื่องทางพิพาทในคดีอื่นยอมรับว่าถ้าจะใช้ทางพิพาทจะต้องขออนุญาตจาก ส. เจ้าของที่ดินเดิมก่อนเป็นการยอมรับในสิทธิของทางพิพาทว่าเป็นของส. และในวันชี้สองสถานโจทก์ยอมรับว่าโจทก์ได้เบิกความไว้จริง โจทก์ก็มิได้กล่าวอ้างว่าคำเบิกความของตนไม่ถูกต้องทั้งมิได้คัดค้านการที่ศาลชั้นต้นสั่งงดสืบพยานเพื่อขอนำสืบให้เห็นเป็นอย่างอื่น คำเบิกความของโจทก์ในคดีดังกล่าวจึงนำมารับฟังในคดีนี้ได้ว่า โจทก์ต้องขออนุญาตใช้ทางพิพาทจากบุคคลอื่นเมื่อทางพิพาทเปลี่ยนกรรมสิทธิ์มาเป็นของจำเลย จำเลยย่อมได้รับประโยชน์นั้นด้วยแม้โจทก์จะใช้ทางพิพาทนานเท่าใด ก็อ้างสิทธิเป็นทางภาระจำยอมหาได้ไม่.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1043/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การงดสืบพยานและการรับฟังคำเบิกความเดิมในคดีอื่นเป็นหลักฐานยืนยันสิทธิภารจำยอม
คำสั่งศาลชั้นต้นที่ให้งดสืบพยานเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณาก่อนศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาหรือคำสั่งชี้ขาดตัดสินคดี ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 226 หากโจทก์เห็นว่าการงดสืบพยานไม่ถูกต้อง โจทก์จะต้องโต้แย้งคำสั่งนั้นไว้เมื่อโต้แย้งแล้วจึงจะอุทธรณ์คำสั่งนั้นได้ภายในหนึ่งเดือนนับแต่มีคำพิพากษาหรือคำสั่งชี้ขาดตัดสินคดี ตามที่บัญญัติไว้ ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 226(2) เมื่อนับแต่วันที่ศาลมีคำสั่งดังกล่าวจนถึงวันนัดฟังคำพิพากษานานประมาณ 45 วันเวลาที่โจทก์จะโต้แย้งได้ ก็หาโต้แย้งไม่ และที่ศาลชั้นต้นสั่งรับอุทธรณ์โจทก์ไว้ซึ่งมีประเด็นที่ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์รวมอยู่ด้วยก็ไม่ทำให้ประเด็นที่ไม่มีสิทธิอุทธรณ์กลับเป็นสิทธิอุทธรณ์ขึ้นได้ โจทก์จึงฎีกาปัญหาข้อนี้ไม่ได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 242(1) และมาตรา 247 โจทก์เคยเบิกความเกี่ยวกับเรื่องทางพิพาทในคดีอื่น ยอมรับว่าถ้าจะใช้ทางพิพาทจะต้องขออนุญาตจาก ส.เจ้าของที่ดินเดิมก่อนเป็นการยอมรับในสิทธิของทางพิพาทว่าเป็นของ ส.และในวันชี้สองสถานโจทก์ยอมรับว่าโจทก์ได้เบิกความไว้จริงโจทก์ ก็มิได้กล่าวอ้างว่าคำเบิกความของตนไม่ถูกต้อง ทั้งมิได้คัดค้านการที่ศาลชั้นต้นสั่งงดสืบพยานเพื่อขอนำสืบให้เห็นเป็นอย่างอื่น คำเบิกความของโจทก์ในคดีดังกล่าวจึงนำมารับฟังในคดี นี้ได้ว่า โจทก์ต้องขออนุญาตใช้ทางพิพาทจากบุคคลอื่นเมื่อทางพิพาท เปลี่ยนกรรมสิทธิ์มาเป็นของจำเลย จำเลยย่อมได้รับประโยชน์นั้นด้วยแม้โจทก์จะใช้ทางพิพาทนานเท่าใด ก็อ้างสิทธิเป็นทางภาระจำยอมหาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2197/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อุทธรณ์ข้อเท็จจริงในคดีจำนวนทุนทรัพย์น้อยกว่าสองหมื่นบาท เป็นอุทธรณ์ที่ต้องห้าม และศาลอุทธรณ์ไม่มีอำนาจพิจารณา
อุทธรณ์ที่มีเนื้อหาสาระเป็นการโต้แย้งดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลชั้นต้นเป็นอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง
คดีที่ต้องห้ามอุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 224 แม้ศาลอุทธรณ์จะรับวินิจฉัยอุทธรณ์ดังกล่าว ก็เป็นการไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 242 (1) ศาลฎีกาพิจารณาข้อฎีกาต่อไปไม่ได้
of 10