พบผลลัพธ์ทั้งหมด 34 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9740/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนนิติกรรมซื้อขายเนื่องจากฉ้อฉลและการรู้เห็นของผู้ซื้อต่อการเสียเปรียบของผู้ขาย
ผู้ร้องสอดเป็นผู้รับโอนที่ดินพิพาทมาภายหลังฟ้อง และร้องสอดเข้ามาเป็นคู่ความฝ่ายที่ 3 ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 57 (1) อันเป็นไปเพื่อยังให้ได้รับความรับรอง คุ้มครอง หรือบังคับตามสิทธิของตน โดยไม่ได้ขอเข้ามาเป็นโจทก์ร่วมหรือจำเลยร่วมตาม ป.วิ.พ. มาตรา 57 (2) เพราะตนมีส่วนได้เสียตามกฎหมายในผลแห่งคดีนั้น คำขอบังคับของผู้ร้องสอดเป็นการขอให้ศาลมีคำพิพากษาแสดงกรรมสิทธิ์ของผู้ร้องสอด และห้ามโจทก์กับจำเลยยุ่งเกี่ยวกับกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทของผู้ร้องสอด เท่ากับเป็นการตั้งประเด็นฟ้องทั้งโจทก์และจำเลย และตาม ป.วิ.พ. มาตรา 58 วรรคหนึ่ง คดีร้องสอดคดีนี้จึงเสมือนหนึ่งว่าผู้ร้องสอดได้ฟ้องโจทก์และจำเลยเป็นคดีใหม่และเป็นอีกคดีหนึ่งแยกกันได้กับคดีเดิม อันเป็นเหตุให้โจทก์ฟ้องแย้งเข้ามาในคำให้การแก้ร้องสอดได้ ผู้ร้องสอดจะยกข้อต่อสู้ที่เป็นประเด็นข้อพิพาทระหว่างโจทก์กับจำเลยในคดีเดิมมาเป็นข้อต่อสู้ของตนในคดีร้องสอดและฟ้องแย้งนี้ไม่ได้
ขณะทำสัญญาซื้อขายและจดทะเบียนโอนที่ดินพิพาท เจ้าพนักงานที่ดินแจ้งให้จำเลยและผู้ร้องสอดทราบแล้วว่า โจทก์ยื่นคำขออายัดที่ดินเนื่องจากจำเลยได้ทำหนังสือสัญญาจะซื้อขายฉบับลงวันที่ 23 มกราคม 2555 แต่จำเลยไม่ยอมมาโอนตามสัญญา เจ้าพนักงานที่ดินได้รับคำขออายัดมีกำหนด 30 วัน นับแต่วันที่ 30 เมษายน 2555 และโจทก์ยื่นฟ้องจำเลยตามสัญญาจะซื้อขายดังกล่าวในวันที่ 22 พฤษภาคม 2555 จำเลยและผู้ร้องสอดรับทราบและยืนยันให้พนักงานเจ้าหน้าที่ดำเนินการจดทะเบียนโอนขายให้ หากเกิดความเสียหายใดๆ ขอรับผิดชอบเองทั้งสิ้น ไม่เกี่ยวกับพนักงานเจ้าหน้าที่ เข้าเงื่อนไขที่โจทก์ขอเพิกถอนการฉ้อฉลตาม ป.พ.พ. มาตรา 237 วรรคหนึ่ง แล้ว
ผู้ร้องสอดเข้ามาเป็นคู่ความฝ่ายที่ 3 ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 57 (1) เพื่อขอให้มีคำพิพากษาแสดงกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทของผู้ร้องสอด กับห้ามโจทก์และจำเลยยุ่งเกี่ยวกับกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทของผู้ร้องสอด และที่โจทก์ให้การแก้คำร้องสอดและฟ้องแย้งในคดีร้องสอด ก็เป็นไปเพื่อเพิกถอนนิติกรรมตาม ป.พ.พ. มาตรา 237 อันเป็นการเพิกถอนสัญญาซื้อขายระหว่างจำเลยกับผู้ร้องสอดและการจดทะเบียนโอนที่ดินพิพาท ที่มีผลให้ที่ดินพิพาทกลับมาเป็นของจำเลย แล้วโอนที่ดินพิพาทแก่โจทก์ตามคำฟ้องอีกทอดหนึ่ง ระหว่างโจทก์กับผู้ร้องสอดจึงไม่ใช่พิพาทกันด้วยเรื่องกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทว่าเป็นของโจทก์หรือของผู้ร้องสอด คดีร้องสอดและฟ้องแย้งคดีนี้จึงเป็นคดีที่มีคำขอปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ ต้องเสียค่าขึ้นศาลเรื่องละ 200 บาท ตามตาราง 1 ค่าธรรมเนียมศาล (ค่าขึ้นศาล) (2) (ก).
ขณะทำสัญญาซื้อขายและจดทะเบียนโอนที่ดินพิพาท เจ้าพนักงานที่ดินแจ้งให้จำเลยและผู้ร้องสอดทราบแล้วว่า โจทก์ยื่นคำขออายัดที่ดินเนื่องจากจำเลยได้ทำหนังสือสัญญาจะซื้อขายฉบับลงวันที่ 23 มกราคม 2555 แต่จำเลยไม่ยอมมาโอนตามสัญญา เจ้าพนักงานที่ดินได้รับคำขออายัดมีกำหนด 30 วัน นับแต่วันที่ 30 เมษายน 2555 และโจทก์ยื่นฟ้องจำเลยตามสัญญาจะซื้อขายดังกล่าวในวันที่ 22 พฤษภาคม 2555 จำเลยและผู้ร้องสอดรับทราบและยืนยันให้พนักงานเจ้าหน้าที่ดำเนินการจดทะเบียนโอนขายให้ หากเกิดความเสียหายใดๆ ขอรับผิดชอบเองทั้งสิ้น ไม่เกี่ยวกับพนักงานเจ้าหน้าที่ เข้าเงื่อนไขที่โจทก์ขอเพิกถอนการฉ้อฉลตาม ป.พ.พ. มาตรา 237 วรรคหนึ่ง แล้ว
ผู้ร้องสอดเข้ามาเป็นคู่ความฝ่ายที่ 3 ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 57 (1) เพื่อขอให้มีคำพิพากษาแสดงกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทของผู้ร้องสอด กับห้ามโจทก์และจำเลยยุ่งเกี่ยวกับกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทของผู้ร้องสอด และที่โจทก์ให้การแก้คำร้องสอดและฟ้องแย้งในคดีร้องสอด ก็เป็นไปเพื่อเพิกถอนนิติกรรมตาม ป.พ.พ. มาตรา 237 อันเป็นการเพิกถอนสัญญาซื้อขายระหว่างจำเลยกับผู้ร้องสอดและการจดทะเบียนโอนที่ดินพิพาท ที่มีผลให้ที่ดินพิพาทกลับมาเป็นของจำเลย แล้วโอนที่ดินพิพาทแก่โจทก์ตามคำฟ้องอีกทอดหนึ่ง ระหว่างโจทก์กับผู้ร้องสอดจึงไม่ใช่พิพาทกันด้วยเรื่องกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทว่าเป็นของโจทก์หรือของผู้ร้องสอด คดีร้องสอดและฟ้องแย้งคดีนี้จึงเป็นคดีที่มีคำขอปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ ต้องเสียค่าขึ้นศาลเรื่องละ 200 บาท ตามตาราง 1 ค่าธรรมเนียมศาล (ค่าขึ้นศาล) (2) (ก).
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8752/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การดูถูกเหยียดหยามมารดาเป็นเหตุให้ถอนคืนการให้ได้ตามกฎหมาย
การที่จำเลยใช้คำ "อีเฒ่าหัวหงอก" และ "มึง" เป็นสรรพนามในการเรียกโจทก์ผู้เป็นมารดา ซึ่งไม่ปรากฏว่าโดยปกติบุคคลทั่วไปรวมถึงจำเลยใช้สรรพนามดังกล่าวแทนมารดา คำดังกล่าวไม่ได้มีความหมายว่ามารดา แต่มีความหมายเปรียบเปรยไปในทางไม่ให้ความเคารพและทำให้โจทก์ได้รับความอับอายอันเป็นการแสดงออกถึงการดูถูกเหยียดหยามโจทก์ สำหรับเนื้อหาแม้จะถือว่าเป็นการกระทบกระเทียบ แต่ก็ทำให้โจทก์ได้รับความอับอายเป็นไปในทางดูถูกเหยียดหยามโจทก์เช่นกัน การที่จำเลยด่าโจทก์ผู้เป็นมารดาด้วยถ้อยคำดังกล่าว จึงถือว่าเป็นการดูถูกเหยียดหยามและหมิ่นประมาทโจทก์อย่างร้ายแรง เป็นการประพฤติเนรคุณต่อโจทก์อันเป็นเหตุให้โจทก์ถอนคืนการให้ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7379/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ประเด็นนอกประเด็น: ศาลวินิจฉัยความรับผิดนายจ้างเกินขอบเขตที่จำกัดโดยประเด็นชี้สองสถาน
ศาลชั้นต้นชี้สองสถานกำหนดประเด็นข้อพิพาทว่า ผู้ที่กระทำละเมิดต่อโจทก์เป็นลูกจ้างของจำเลยหรือไม่ โดยไม่มีคู่ความโต้แย้งในการกำหนดประเด็นดังกล่าว การที่ศาลชั้นต้นก้าวล่วงไปวินิจฉัยว่าจำเลยในฐานะตัวการต้องรับผิดในผลแห่งละเมิดที่ตัวแทนกระทำต่อโจทก์ จึงเป็นการวินิจฉัยนอกประเด็น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7068/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนนิติกรรมโอนกรรมสิทธิ์รถเพื่อบังคับชำระหนี้: ศาลวินิจฉัยประเด็นนอกฟ้องมิชอบ
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยที่ 1 กู้เงินโจทก์ ต่อมาจำเลยที่ 1 โอนกรรมสิทธิ์รถบรรทุกให้จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นบุตรโดยเสน่หา ทำให้โจทก์เสียเปรียบไม่สามารถบังคับชำระหนี้จากจำเลยที่ 1 ได้ เนื่องจากจำเลยที่ 1 ไม่มีทรัพย์สินอื่นพอชำระหนี้ได้ จำเลยทั้งสองให้การว่ามารดาของภริยาจำเลยที่ 1 ซื้อรถคันดังกล่าวให้พี่ชายของจำเลยที่ 2 แต่ขณะนั้นพี่ชายของจำเลยที่ 2 ยังเป็นผู้เยาว์จึงใส่ชื่อจำเลยที่ 1 ไว้แทน ครั้นพี่ชายของจำเลยที่ 2 ถึงแก่ความตาย จำเลยที่ 1 จึงโอนกรรมสิทธิ์รถคันดังกล่าวให้จำเลยที่ 2 จำเลยทั้งสองไม่ได้ให้การปฏิเสธคำฟ้องโจทก์ที่ว่าจำเลยที่ 1 ไม่มีทรัพย์สินอื่นพอชำระหนี้ได้ ข้อเท็จจริงจึงฟังเป็นยุติตามคำฟ้องว่า จำเลยที่ 1 ไม่มีทรัพย์สินอื่นพอชำระหนี้ได้ คดีจึงไม่มีประเด็นว่า จำเลยที่ 1 มีทรัพย์สินอื่นพอชำระหนี้ได้หรือไม่ โจทก์จึงไม่ต้องนำสืบ แม้มีการนำสืบก็เป็นการนำสืบนอกประเด็น ที่ศาลชั้นต้นหยิบยกเรื่องดังกล่าวมาวินิจฉัยจึงเป็นการวินิจฉัยนอกประเด็น และเป็นกระบวนพิจารณาที่ไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7068/2558 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนนิติกรรมโอนกรรมสิทธิ์รถเนื่องจากหนี้สิน การวินิจฉัยนอกประเด็น และผลของการเพิกถอน
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยที่ 1 กู้เงินโจทก์ ต่อมาจำเลยที่ 1 โอนกรรมสิทธิ์รถบรรทุกให้จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นบุตรของจำเลยที่ 1 โดยเสน่หา ทำให้โจทก์เสียเปรียบไม่สามารถบังคับชำระหนี้จากจำเลยที่ 1 ได้ เนื่องจากจำเลยที่ 1 ไม่มีทรัพย์สินอื่นพอชำระหนี้ได้ จำเลยทั้งสองให้การว่า มารดาของภริยาจำเลยที่ 1 ซื้อรถคันดังกล่าวให้ น. พี่ชายของจำเลยที่ 2 แต่ขณะนั้น น. ยังเป็นผู้เยาว์จึงใส่ชื่อจำเลยที่ 1 ไว้แทน ครั้น น. ถึงแก่ความตาย จำเลยที่ 1 จึงโอนกรรมสิทธิ์รถคันดังกล่าวให้จำเลยที่ 2 จากคำให้การดังกล่าว จำเลยทั้งสองไม่ได้ให้การปฏิเสธคำฟ้องโจทก์ที่ว่า จำเลยที่ 1 ไม่มีทรัพย์สินอื่นพอชำระหนี้ได้ ข้อเท็จจริงจึงฟังเป็นยุติตามคำฟ้องโจทก์ว่า จำเลยที่ 1 ไม่มีทรัพย์สินอื่นพอชำระหนี้ได้ คดีจึงไม่มีประเด็นว่า จำเลยที่ 1 มีทรัพย์สินอื่นพอชำระหนี้ได้หรือไม่ เมื่อไม่มีประเด็น โจทก์จึงไม่ต้องนำสืบ และแม้จะมีการนำสืบก็เป็นการนำสืบนอกประเด็น ที่ศาลชั้นต้นหยิบยกเรื่องดังกล่าวมาวินิจฉัยจึงเป็นการวินิจฉัยนอกประเด็น และเป็นกระบวนพิจารณาที่ไม่ชอบ
ศาลอุทธรณ์ภาค 7 พิพากษาให้เพิกถอนนิติกรรมการโอนกรรมสิทธิ์รถบรรทุก ระหว่างจำเลยทั้งสอง เมื่อมีคำพิพากษาเพิกถอนนิติกรรมดังกล่าว นิติกรรมดังกล่าวย่อมสิ้นผลไป กรรมสิทธิ์ในรถย่อมกลับมาเป็นของจำเลยที่ 1 แล้ว จึงบังคับให้จำเลยทั้งสองไปดำเนินการจดทะเบียนกรรมสิทธิ์รถคันดังกล่าวกลับมาเป็นของจำเลยที่ 1 ตามคำขอของโจทก์อีกไม่ได้
ศาลอุทธรณ์ภาค 7 พิพากษาให้เพิกถอนนิติกรรมการโอนกรรมสิทธิ์รถบรรทุก ระหว่างจำเลยทั้งสอง เมื่อมีคำพิพากษาเพิกถอนนิติกรรมดังกล่าว นิติกรรมดังกล่าวย่อมสิ้นผลไป กรรมสิทธิ์ในรถย่อมกลับมาเป็นของจำเลยที่ 1 แล้ว จึงบังคับให้จำเลยทั้งสองไปดำเนินการจดทะเบียนกรรมสิทธิ์รถคันดังกล่าวกลับมาเป็นของจำเลยที่ 1 ตามคำขอของโจทก์อีกไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6984/2558 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลงมือกระทำความผิดฐานพยายามปล้นทรัพย์ แม้ยังไม่สำเร็จ และความผิดฐานบุกรุกทำร้ายร่างกาย
จำเลยทั้งสามกับพวกมีเจตนาร่วมกันปล้นสายไฟฟ้า การที่จำเลยทั้งสามบุกรุกเข้าไปในสถานที่เก็บรักษาสายไฟฟ้า ทั้งยังทำร้ายผู้เสียหายซึ่งครอบครองดูแลสถานที่นั้น อันเป็นส่วนหนึ่งของการปล้นทรัพย์ในคดีนี้ จึงเป็นการลงมือกระทำความผิดฐานปล้นทรัพย์แล้วไม่ใช่แค่เพียงตระเตรียมการ แม้จำเลยทั้งสามจะหลบหนีไปก่อน โดยไม่แตะต้องสายไฟฟ้าก็เป็นการลงมือกระทำความผิดแล้ว แต่กระทำไปไม่ตลอด การกระทำของจำเลยทั้งสามจึงเป็นการร่วมกันพยายามกระทำความผิดฐานปล้นทรัพย์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6984/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลงมือกระทำความผิดฐานพยายามปล้นทรัพย์ แม้ยังไม่สำเร็จ และการพิจารณาความผิดกรรมเดียว
จำเลยทั้งสามบุกรุกเข้าไปในสถานที่เก็บรักษาสายไฟฟ้า ทั้งยังทำร้ายผู้เสียหายซึ่งครอบครองดูแลสถานที่นั้น อันเป็นส่วนหนึ่งของการปล้นทรัพย์ จึงเป็นการลงมือกระทำความผิดฐานปล้นทรัพย์ไม่ใช่แค่เพียงตระเตรียมการ แม้จำเลยทั้งสามจะหลบหนีไปก่อน โดยไม่แตะต้องสายไฟฟ้าก็เป็นการลงมือกระทำความผิดแล้วแต่กระทำไปไม่ตลอด การกระทำของจำเลยทั้งสามจึงเป็นการร่วมกันพยายามกระทำความผิดฐานปล้นทรัพย์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6486/2558 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้อน: คดีเช่าและให้บริการที่ฟ้องร้องค่าเสียหายซ้ำกับคดีเดิม
ในคดีหมายเลขดำที่ 8936/2550 โจทก์ฟ้องจำเลยโดยกล่าวอ้างว่าจำเลยปฏิบัติผิดสัญญาเช่าและสัญญาให้บริการซึ่งเป็นสัญญาฉบับเดียวกันกับคดีนี้ โจทก์จึงใช้สิทธิบอกเลิกสัญญา ทำให้สัญญาทั้งสองฉบับเป็นอันเลิกกัน และขอให้บังคับจำเลยชำระเงินต่าง ๆ ที่ค้างชำระพร้อมชดใช้ค่าเสียหายกับขับไล่จำเลยและบริวารออกไปจากที่เช่าและส่งมอบที่เช่าคืนให้แก่โจทก์ อันเป็นการใช้สิทธิต่าง ๆ ในฐานะคู่สัญญาฝ่ายที่ได้รับความเสียหายจากการเลิกสัญญา ซึ่งโจทก์สามารถเรียกเอาค่าเสียหายต่าง ๆ ในอนาคตได้ด้วยรวมถึงค่าเสียหายต่าง ๆ อันสืบเนื่องมาจากจำเลยไม่ส่งมอบที่เช่าคืนให้แก่โจทก์ภายหลังสัญญาเลิกกัน ซึ่งค่าใช้ทรัพย์ที่ตกเป็นของโจทก์โดยข้อสัญญาก็ดี ค่าปรับที่จำเลยออกจากที่เช่าล่าช้าเกินกว่าที่กำหนดก็ดี ล้วนเป็นค่าเสียหายที่เกิดขึ้นจากการเลิกสัญญาที่คู่สัญญาได้คาดเห็นอยู่ก่อนแล้วว่าจำเลยอาจส่งมอบที่เช่าคืนให้โจทก์ล่าช้าและยังใช้ประโยชน์ในที่เช่าต่อไป ดังเห็นได้จากการที่มีการระบุไว้ในสัญญาเช่าเป็นใจความสำคัญว่า หากสัญญาเช่าสิ้นสุดลงไม่ว่าด้วยเหตุใด ๆ จำเลยต้องขนย้ายทรัพย์สินและบริวารออกจากที่เช่าและส่งมอบที่เช่าให้แก่โจทก์ในสภาพดีภายใน 30 วัน หากพ้นกำหนดดังกล่าวยอมให้โจทก์กลับเข้าครอบครองที่เช่าทันที และให้ทรัพย์สินที่จำเลยมิได้ขนย้ายออกไปตกเป็นกรรมสิทธิ์แก่โจทก์ และให้สิทธิแก่โจทก์ที่จะเรียกเอาค่าปรับในกรณีที่จำเลยขนย้ายทรัพย์สินออกจากที่เช่าล่าช้าเกินกว่าที่กำหนดอีกด้วย นอกจากนี้ค่าเสียหายที่โจทก์อ้างว่าเป็นค่าใช้ทรัพย์ที่ตกเป็นของโจทก์โดยข้อสัญญา และค่าปรับนับแต่วันที่สัญญาเลิกกัน ยังถือได้ว่า เป็นส่วนหนึ่งของค่าเสียหายที่โจทก์เรียกร้องเอาจากจำเลยเป็นรายเดือนนับแต่วันที่สัญญาเลิกกันจนกว่าจำเลยจะขนย้ายทรัพย์สินและบริวารออกไปจากที่เช่าและส่งมอบที่เช่าคืนให้โจทก์ ซึ่งโจทก์ฟ้องเรียกร้องเอาจากจำเลยแล้วในคดีหมายเลขดำที่ 8936/2550 ดังนั้นฟ้องโจทก์คดีนี้จึงเป็นคำฟ้องเรื่องเดียวกันและเป็นฟ้องซ้อนกับคดีหมายเลขดำที่ 8936/2550 เป็นการไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 173 วรรคสอง (1)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6486/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้อน: ค่าเสียหายจากการเลิกสัญญาเช่าที่ฟ้องซ้ำในคดีก่อน
คำฟ้องคดีก่อนและคดีนี้โจทก์อ้างเหตุว่าจำเลยปฏิบัติผิดสัญญาเช่าและสัญญาให้บริการฉบับเดียวกัน ซึ่งโจทก์ใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาทำให้สัญญาทั้งสองฉบับเลิกกันแล้ว ในคดีก่อนโจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยชำระเงินที่ค้างและค่าเสียหายกับขับไล่จำเลยและบริวารออกไปจากที่เช่า พร้อมส่งมอบที่เช่าคืนโจทก์ กรณีเป็นการใช้สิทธิในฐานะคู่สัญญาฝ่ายที่ได้รับความเสียหายจากการเลิกสัญญา โจทก์สามารถเรียกเอาค่าเสียหายในอนาคตรวมถึงค่าเสียหายต่างๆ อันสืบเนื่องจากจำเลยไม่ส่งมอบที่เช่าคืนโจทก์ภายหลังสัญญาเลิกกันได้ ค่าใช้ทรัพย์ที่ตกเป็นของโจทก์โดยข้อสัญญาและค่าปรับที่จำเลยออกจากที่เช่าล่าช้าตามฟ้องโจทก์คดีนี้ล้วนเป็นค่าเสียหายที่เกิดขึ้นจากการเลิกสัญญาที่คู่สัญญาได้คาดเห็นอยู่ก่อนแล้วว่าจำเลยอาจส่งมอบที่เช่าคืนโจทก์ล่าช้าและยังคงใช้ประโยชน์ในที่เช่าต่อไป จึงได้มีการระบุไว้เป็นข้อตกลงในสัญญาเช่า ทั้งยังถือได้ว่าเป็นส่วนหนึ่งของค่าเสียหายที่โจทก์ฟ้องเรียกจากจำเลยเป็นรายเดือนจนกว่าจะได้ที่เช่าคืนในคดีก่อนแล้ว ฟ้องโจทก์คดีนี้จึงเป็นคำฟ้องเรื่องเดียวกันกับฟ้องคดีก่อน เป็นฟ้องซ้อนไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 173 วรรคสอง (1)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5791/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องค่าเสียหายจากสัญญาเช่า: ความเสียหายก่อนเลิกสัญญานับอายุความตามมาตรา 563
คดีโจทก์ในส่วนค่าซ่อมรถยกและค่าเสื่อมราคา เป็นการฟ้องเรียกค่าเสียหายของทรัพย์สินที่เช่าอันเกิดขึ้นก่อนสัญญาเช่าเลิกกัน ตามสัญญาเช่าที่กำหนดให้จำเลยผู้เช่าต้องรับผิดในความเสียหายนั้น จึงเป็นกรณีฟ้องเกี่ยวแก่สัญญาเช่า ตาม ป.พ.พ. มาตรา 563 มีอายุความ 6 เดือน นับแต่วันส่งคืนทรัพย์สินที่เช่า