คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.วิ.พ. ม. 296 วรรคสอง

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 7 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7466/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีเพิกถอนการบังคับคดี: ต้องยื่นคำร้องต่อศาลก่อนการบังคับคดีเสร็จสิ้น
โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นเจ้าพนักงานบังคับคดี เพราะเหตุที่จำเลยที่ 2 ดำเนินการบังคับคดีฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติของกฎหมายในเรื่องการบังคับคดีและมีคำขอให้มีการเพิกถอนการบังคับคดีในการขายทอดตลาดทรัพย์ครั้งที่ 11 โดยมิได้เรียกค่าเสียหายจากจำเลยที่ 2 ในกรณีเช่นนี้ ป.วิ.พ. มาตรา 296 วรรคสอง ได้บัญญัติไว้เป็นการเฉพาะแล้วว่า ให้ผู้มีส่วนได้เสียยื่นคำขอโดยทำเป็นคำร้องต่อศาลก่อนการบังคับคดีได้เสร็จลง โจทก์จึงต้องดำเนินการตามกฎหมายดังกล่าว จะฟ้องขอให้เพิกถอนการบังคับคดีเป็นคดีใหม่มิได้
โจทก์ฟ้องจำเลยทั้งห้าขอให้เพิกถอนการบังคับคดีในการขายทอดตลาดทรัพย์ คำฟ้องของโจทก์ที่เกี่ยวกับจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นโจทก์ในคดีเดิมและจำเลยที่ 3 ถึงที่ 5 ซึ่งเป็นผู้ซื้อและผู้ขายทรัพย์จากการขายทอดตลาดของเจ้าพนักงานบังคับคดีโดยมิได้เรียกค่าเสียหายมาด้วยก็เป็นคำฟ้องที่เกี่ยวเนื่องกับการบังคับคดี โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งห้า

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7521/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การคัดค้านการบังคับคดี: จำเลยต้องยื่นคำร้องคัดค้านต่อศาลก่อนการขายทอดตลาดเสร็จสิ้น หากไม่ทำตามสิทธิอุทธรณ์ฎีกาเป็นอันตกไป
ที่จำเลยทั้งสองอ้างว่าที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างจำนองไว้แก่โจทก์ตั้งแต่ปี 2529 ในราคา 500,000 บาท ซึ่งระยะเวลาได้ล่วงเลยมาพอสมควรแล้ว ทั้งที่ดินตั้งอยู่ในย่านชุมชน ราคาซื้อขายกันปกติปัจจุบันไม่ต่ำกว่า850,000 บาท หากมีการประกาศโฆษณาขายในหนังสือพิมพ์ที่ประชาชนทั่วไปสามารถอ่านได้กว้างขวางแล้ว จะทำให้มีผู้สนใจเข้าสู้ราคามากและได้ราคาสูงขึ้นขอให้ยกเลิกคำสั่งอนุญาตขาย และขายทอดตลาดใหม่นั้น เท่ากับเป็นการกล่าวอ้างว่าเจ้าพนักงานบังคับคดีดำเนินการบังคับคดีโดยมิชอบ อันเป็นการฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติแห่งลักษณะว่าด้วยการบังคับคดีตามคำพิพากษาและคำสั่ง กรณีจำต้องบังคับตาม ป.วิ.พ. มาตรา 296 วรรคสอง ซึ่งจำเลยทั้งสองต้องยื่นคำร้องคัดค้านต่อศาลชั้นต้นก่อนการบังคับคดีได้เสร็จลง แต่ต้องไม่ช้ากว่าแปดวันนับแต่ทราบการฝ่าฝืนเมื่อจำเลยทั้งสองเพียงแต่คัดค้านการขายทอดตลาดไว้ในรายงานการขายทอดตลาดของเจ้าพนักงานบังคับคดี โดยมิได้ยื่นคำร้องคัดค้านต่อศาลชั้นต้นตามที่กฎหมายกำหนดไว้ จำเลยทั้งสองจะใช้สิทธิอุทธรณ์ฎีกาหาได้ไม่ และข้อนี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาชอบที่จะยกขึ้นวินิจฉัยได้แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดยกขึ้นอ้างในชั้นฎีกา ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5) ประกอบด้วยมาตรา 246 และ 247

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5706/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับคดีเสร็จสิ้นเมื่อใด: เงินค่าขายทอดตลาดต้องถึงมือเจ้าหนี้
แม้ผู้ซื้อทรัพย์ได้จัดการโอนทรัพย์ที่ซื้อได้มาเป็นของผู้ซื้อทรัพย์แล้วก็ตาม แต่ไม่อาจถือได้ว่าการบังคับคดีได้เสร็จสิ้นลงตั้งแต่วันรับโอนดังกล่าวเพราะตราบใดที่โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษายังไม่ได้รับเงินค่าขายทอดตลาดแล้ว ย่อมถือไม่ได้ว่าการบังคับคดีได้เสร็จลง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5703/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับคดีขายทอดตลาดเสร็จสมบูรณ์แล้ว ผู้ซื้อได้กรรมสิทธิ์ แม้จำเลยไม่ทราบการยึดและไม่ได้คัดค้าน
ในการขายทอดตลาดโจทก์เป็นผู้ซื้อที่ดินได้โดยชำระเงินมัดจำค่าซื้อทรัพย์ในวันขายทอดตลาด ส่วนที่เหลือจะชำระภายใน 15 วัน การที่เจ้าพนักงาน-บังคับคดีรายงานต่อศาลชั้นต้นว่า ค่าซื้อทรัพย์ส่วนที่เหลือนั้นโจทก์ขอหักชำระหนี้โจทก์และทำบัญชีแสดงการรับ-จ่ายว่า เมื่อนำค่าซื้อทรัพย์ส่วนที่เหลือมาหักชำระหนี้โจทก์แล้วจำเลยยังคงเป็นหนี้โจทก์อยู่อีกจำนวนหนึ่ง ศาลชั้นต้นอนุญาตและมีหนังสือถึงเจ้าพนักงาน-ที่ดินให้จดทะเบียนโอนที่ดินให้แก่โจทก์ ต่อมาเจ้าพนักงานที่ดินมีหนังสือถึงศาลชั้นต้นว่าจดทะเบียนโอนที่ดินให้แก่โจทก์แล้ว ถือได้ว่าการบังคับคดีเกี่ยวกับที่ดินเสร็จลงแล้ว
การร้องคัดค้านการขายทอดตลาดนั้น จะต้องร้องคัดค้านก่อนการบังคับคดีได้เสร็จลง แต่ต้องไม่ช้ากว่า 8 วัน นับแต่วันทราบการฝ่าฝืนนั้น ตามป.วิ.พ. มาตรา 296 วรรคสอง ดังนั้น แม้จำเลยจะไม่ทราบการยึดและการประกาศขายทอดตลาดมาก่อนการขายทอดตลาดก็ตาม เมื่อจำเลยมิได้ยื่นคำร้องคัดค้านก่อนการบังคับคดีได้เสร็จลง จำเลยย่อมไม่มีสิทธิร้องขอให้ศาลเพิกถอนการขายทอดตลาดได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3781/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยื่นคำร้องเกินกำหนด: ศาลต้องไต่สวนก่อนตัดสิน
เมื่อตามคำร้องไม่ปรากฏว่าผู้ร้องได้ทราบการฝ่าฝืนกฎหมายเมื่อใดข้อเท็จจริงจึงยังฟังไม่ได้ว่าผู้ร้องได้ยื่นคำร้องเกินกำหนด 8 วัน นับแต่ทราบพฤติการณ์แห่งการฝ่าฝืนตาม ป.วิ.พ.มาตรา 296 วรรคสองหรือไม่ ศาลชั้นต้นชอบที่จะทำการไต่สวนเสียก่อน ที่ศาลชั้นต้นด่วนยกคำร้องของผู้ร้องโดยไม่ได้ทำการไต่สวนเสียก่อนจึงเป็นการไม่ชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3343/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนการขายทอดตลาดเนื่องจากเจ้าพนักงานบังคับคดีประเมินราคาต่ำกว่าตลาด และผู้ซื้อประมูลราคาต่ำโดยไม่สุจริต
หากข้อเท็จจริงได้ความว่า การที่เจ้าพนักงานบังคับคดีประเมินราคาทรัพย์ของจำเลย ต่ำกว่าราคาแท้จริงในท้องตลาด ซึ่งมีราคา 8,123,000 บาทหลายเท่าตัว โดยไม่ตรวจสอบราคาอันถูกต้องแท้จริงเสียก่อน และขายทอดตลาดแก่ บ. ไปในราคา 2,335,000 บาท ซึ่งต่ำกว่าราคาที่ประเมินไว้ ย่อมส่อพฤติการณ์ว่าไม่สุจริตอยู่ในตัว และหาก บ. ผู้ประมูลได้เคยตกลงจะเข้าประมูลในราคาถึง5,000,000 บาท แต่กลับประมูลในราคาต่ำเช่นนี้ ย่อมเป็นการใช้สิทธิไม่สุจริตทำให้จำเลยหลงเชื่อไม่เตรียมหาผู้อื่นมาประมูลสู้ราคา เป็นการไม่ชอบด้วย ป.พ.พ.มาตรา 5 มีเหตุที่ศาลชั้นต้นจะเพิกถอนการขายทอดตลาดได้
การที่ศาลชั้นต้นด่วนสั่งยกคำร้องของจำเลย โดยไม่ไต่สวนพยานจำเลยเสียก่อน และศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษายืนโดยอ้างเหตุเดียวกันว่าผู้ซื้อประมูลได้ต่ำกว่าราคาประเมินขณะยึดไม่มาก แต่ไม่ต่ำกว่าราคาประเมินของสำนักงานที่ดิน ทั้งในการขายทอดตลาดครั้งแรกจำเลยเคยแถลงคัดค้านราคาไว้แต่ไม่ได้หาคนมาสู้ราคาในครั้งที่สอง และไม่มีเหตุระแวงสงสัยว่า การขายทอดตลาดของเจ้าพนักงานบังคับคดีดำเนินไปโดยไม่สุจริตนั้น เป็นการไม่ชอบ เพราะราคาที่ขายไปทำให้จำเลยเสียหายมากน้อยเพียงใดนั้น ต้องคำนวณจากราคาแท้จริงในท้องตลาด หาใช่คำนวณจากราคาที่เจ้าพนักงานบังคับคดีประเมินไว้ขณะยึดทรัพย์ไม่และที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 1 อ้างว่าจำเลยมิได้หาคนมาสู้ราคาในครั้งที่สองนั้น เป็นการกล่าวอ้างข้อเท็จจริงขึ้นเอง โดยคู่ความยังมิได้นำสืบพยานว่า บ.เป็นบุคคลที่จำเลยหามาสู้ราคาหรือไม่ ถือได้ว่าเป็นการวินิจฉัยนอกสำนวนไม่ชอบด้วยกฎหมาย จึงมีเหตุที่ศาลชั้นต้นจะต้องไต่สวนคำร้องของจำเลยเสียก่อนที่จะมีคำสั่งตาม ป.วิ.พ. มาตรา 296 วรรคสาม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2211/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับคดี: การขานราคาและการให้โอกาสผู้เข้าสู้ราคา ความถูกต้องของการดำเนินการ
ระเบียบกระทรวงยุติธรรมว่าด้วยการบังคับคดีของเจ้าพนักงาน-บังคับคดี พ.ศ. 2522 ข้อ 83 ที่กำหนดให้ผู้ขายทอดตลาดร้องขานจำนวนเงินที่มีผู้สู้ราคาระหว่างการนับนั้น นอกจากเพื่อให้เป็นที่ชัดเจนแก่ผู้เข้าสู้ราคาคนอื่นเพื่อไตร่ตรองก่อนตัดสินใจว่าจะสู้ราคาขึ้นไปอีกหรือไม่แล้ว ยังมีเจตนารมณ์เพื่อให้โอกาสแก่ผู้เข้าสู้ราคารายอื่น ซึ่งมิได้อยู่ร่วมในการประมูลสู้ราคามาแต่ต้นแต่เพิ่งมาถึงได้ทราบราคาที่มีผู้สู้ราคาไว้แล้ว เพื่อจะได้ประกอบการตัดสินใจว่าสมควรสู้ราคาขึ้นไปอีกหรือไม่ เมื่อข้อเท็จจริงได้ความว่าผู้ร้องอยู่ร่วมเข้าสู้ราคามาแต่ต้น ผู้ร้องย่อมทราบดีอยู่แล้วว่าผู้คัดค้านได้เสนอราคามาถึงเท่าใด และอาจตัดสินใจได้ว่าจะสู้ราคาขึ้นไปอีกหรือไม่ ดังนั้น แม้ข้อเท็จจริงจะฟังได้ว่าระหว่างการนับ 1 ถึง 3 แต่ละช่วงเจ้าพนักงานบังคับคดีไม่ได้ขานจำนวนเงินที่มีผู้สู้ราคาครั้งที่หนึ่งและครั้งที่สอง 3 - 4 หนตามนัยแห่งระเบียบดังกล่าว ก็หามีผลทำให้ผู้ร้องไม่มีโอกาสเสนอราคาเพิ่มสูงขึ้นดังที่ผู้ร้องอ้าง พฤติการณ์ฟังไม่ได้ว่า เจ้าพนักงานบังคับคดีได้ดำเนินการบังคับคดีฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติแห่งลักษณะการบังคับคดีตามคำพิพากษาหรือคำสั่งดังที่บัญญัติไว้ใน ป.วิ.พ.มาตรา 296 วรรคสอง ที่จะขอให้เพิกถอนการขายทอดตลาดได้