คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.วิ.อ. ม. 3 (2)

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 19 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3902/2549 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีอาญาของบริษัทล้มละลาย: เจ้าหนี้/ผู้จัดการทรัพย์สิน vs. กรรมการ
การที่โจทก์ซึ่งเป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัดถูกพิพากษาให้ล้มละลายบริษัทโจทก์ย่อมเลิกกันตาม ป.พ.พ. มาตรา 1236 (5) แต่ตามมาตรา 1249 ก็ให้พึงถือว่าบริษัทโจทก์ยังคงตั้งอยู่ตราบเท่าเวลาที่จำเป็นเพื่อการชำระบัญชี และการชำระบัญชีของโจทก์อันเป็นบริษัทจำกัดซึ่งล้มละลายให้จัดทำไปตามบทกฎหมายลักษณะล้มละลายที่คงใช้อยู่ตามแต่จะทำได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1247 วรรคแรกซึ่ง พ.ร.บ. ล้มละลายฯ มาตรา 22, 24 และมาตรา 25 เป็นบทบัญญัติที่จำกัดอำนาจในการจัดการเกี่ยวกับทรัพย์สินหรือกิจการของลูกหนี้ซึ่งเป็นโจทก์คดีนี้แต่เฉพาะในทางแพ่งเท่านั้น หาได้รวมถึงการฟ้องร้องหรือต่อสู้คดีอาญาด้วยไม่ โดยการฟ้องร้องหรือต่อสู้คดีแพ่งที่กระทบต่อกองทรัพย์สินของลูกหนี้โดยตรงนั้นเป็นอำนาจของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แต่ผู้เดียวในการดำเนินการตามมาตรา 22 (3) สำหรับคดีนี้โจทก์ฟ้องจำเลยเป็นคดีอาญาในข้อหาหรือฐานความผิดบุกรุกขอให้ลงโทษจำเลยในทางอาญาแต่เพียงอย่างเดียว มิได้มีคำขอบังคับในส่วนแพ่งให้จำเลยชดใช้ค่าเสียหายหรือขับไล่จำเลยออกจากที่ดินของโจทก์ กรณีจึงไม่ต้องด้วยมาตรา 22 (3) ดังกล่าวที่โจทก์จะต้องดำเนินการฟ้องร้องโดยเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ แต่เป็นกรณีที่โจทก์ซึ่งเป็นผู้เสียหายโดยกรรมการผู้มีอำนาจสามารถฟ้องร้องคดีอาญาได้เองตาม ป.วิ.อ. มาตรา 5 (3) ประกอบมาตรา 28 (2)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3449/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การระบุตัวผู้เสียหายในความผิดตาม พ.ร.บ.จราจรทางบก และประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 390
ความผิดต่อพระราชบัญญัติจราจรทางบกฯ เป็นความผิดเกี่ยวกับการกำหนดหน้าที่ให้ประชาชนปฏิบัติเพื่อความเป็นระเบียบ ความสงบสุขและความปลอดภัยแก่ประชาชนและเป็นความผิดที่ไม่มีผู้ถูกกระทำ ถือว่าเป็นการกระทำต่อรัฐโดยตรง รัฐเท่านั้นเป็นผู้เสียหาย เอกชนไม่ใช่ผู้เสียหายที่จะฟ้องคดีหรือเข้าร่วมเป็นโจทก์กับพนักงานอัยการได้ สำหรับความผิดฐานกระทำโดยประมาทและการกระทำนั้นเป็นเหตุให้ผู้อื่นได้รับอันตรายแก่กายหรือจิตใจตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 390 อันเป็นความผิดลหุโทษนั้น ผู้ร้องไม่ใช่เป็นผู้เสียหายเพราะมิใช่เป็นผู้ได้รับอันตรายแก่กายหรือจิตใจจากการกระทำความผิดฐานนี้ แต่ อ. เป็นผู้เสียหายในความผิดฐานดังกล่าวทั้งตามคำร้องก็ไม่ปรากฏว่าผู้ร้องเป็นผู้แทนโดยชอบธรรมหรือผู้อนุบาลของ อ. ซึ่งอยู่ในความดูแลอันจะทำให้ผู้ร้องมีอำนาจจัดการแทนผู้เสียหายโดยขอเข้าร่วมเป็นโจทก์กับพนักงานอัยการตามที่ระบุไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 3(2) ประกอบด้วยมาตรา 5(1)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1548/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิผู้ครอบครองทรัพย์สินในการเป็นผู้เสียหาย, พยานหลักฐานนอกสำนวนสอบสวน, การลดโทษตามเหตุผล
โจทก์ร่วมเช่าซื้อรถยนต์คันที่ถูกจำเลยลักไปมาจากผู้อื่นแม้ว่าขณะเกิดเหตุกรรมสิทธิ์ในรถยนต์ยังไม่โอนมาเป็นของโจทก์ร่วมก็ตาม แต่โจทก์ร่วมเป็นผู้ครอบครองรถยนต์คันดังกล่าว เมื่อถูกจำเลยแบ่งการครอบครอง โจทก์ร่วมย่อมเป็นผู้เสียหายมีอำนาจร้องทุกข์และเข้าร่วมเป็นโจทก์กับพนักงานอัยการโจทก์ได้ ไม่มีกฎหมายบังคับว่าเอกสารที่จะอ้างหรือนำสืบในคดีอาญาจะต้องเป็นเอกสารที่ได้มีการสอบสวนและอยู่ในสำนวนการสอบสวนเท่านั้น ดังนั้น ศาลอุทธรณ์จึงชอบที่จะรับฟังบันทึกคำรับสารภาพแผนที่บ้านจำเลย และภาพถ่ายประกอบพยานหลักฐานอื่นเพื่อลงโทษจำเลยได้ แม้ว่าเอกสารดังกล่าวจะมิใช่เอกสารที่อยู่ในสำนวนการสอบสวนของพนักงานสอบสวนก็ตาม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1548/2535 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องร้องคดีอาญาของผู้ครอบครองทรัพย์สิน & การใช้หลักฐานนอกสำนวน
ในขณะเกิดเหตุแม้โจทก์ร่วมจะมิใช่เจ้าของกรรมสิทธิ์รถยนต์แต่โจทก์ร่วมเป็นผู้ครอบครองทรัพย์ที่ถูกจำเลยลักไป เมื่อถูกจำเลยแย่งการครอบครองโจทก์ร่วมย่อมเป็นผู้เสียหายมีอำนาจร้องทุกข์และเข้าร่วมเป็นโจทก์กับพนักงานอัยการได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 3(1)(2) เมื่อไม่มีกฎหมายบังคับว่าเอกสารที่จะอ้างหรือนำสืบในคดีอาญาจะต้องเป็นเอกสารที่ได้มีการสอบสวนและอยู่ในสำนวนการสอบสวนเท่านั้นศาลย่อมรับฟังบันทึกคำรับสารภาพ แผนที่บ้านจำเลยและภาพถ่ายประกอบพยานหลักฐานอื่นเพื่อลงโทษจำเลยได้ แม้ว่าเอกสารดังกล่าวจะมิใช่เอกสารที่อยู่ในสำนวนการสอบสวนก็ตาม.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3376/2526

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจร้องทุกข์เช็ค: โจทก์ร่วมต้องพิสูจน์สถานะผู้ทรงเช็ค หรือเป็นตัวแทนบริษัทจึงจะมีอำนาจฟ้อง
จำเลยติดต่อขอซื้อเพชรร่วงจากโจทก์ร่วมและจากบริษัทซึ่งโจทก์ร่วมเป็นกรรมการผู้จัดการอยู่ โดยได้ออกเช็คมอบให้ไว้แก่โจทก์ร่วม 22 ฉบับ เช็คที่โจทก์ร่วมนำมาดำเนินคดีมี 13 ฉบับเช็คดังกล่าวเป็นเช็คสั่งจ่ายให้แก่ผู้ถือและไม่ปรากฏว่า โจทก์ร่วมได้รับโอนมาในฐานะผู้ทรงตามกฎหมาย เมื่อโจทก์ร่วมไม่สามารถแยกแยะหรือจำได้ว่าฉบับใดเป็นเช็คส่วนตัวฉบับใดเป็นเช็คของบริษัท เช็คที่โจทก์ร่วมนำมาดำเนินคดีจึงฟังไม่ได้ว่าเป็นเช็คส่วนตัวหรือเช็คของบริษัท โจทก์ร่วมจึงไม่มีอำนาจร้องทุกข์หรือเข้าร่วมเป็นโจทก์ในคดีนี้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 529/2491

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิโจทก์ฟ้องคดีอาญาของบุตรผู้ถูกทำร้ายถึงแก่ความตาย แม้มีสามีแล้ว และประเด็นการพิสูจน์ข้อเท็จจริงในคดีอาญา
บุตรผู้ถูกทำร้ายตายแม้จะมีสามีแล้ว ก็มีสิทธิเป็นโจทก์ฟ้องคดีอาญาหรือเข้าร่วมเป็นโจทก์กับพนักงานอัยการในคดีที่ฟ้องผู้ที่ทำให้ตายได้ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 3(2) และมาตรา 5(2) การที่ภรรยาผู้ถูกทำร้ายตายไม่ขอร่วมเป็นโจทก์กับอัยการ ไม่ทำให้สิทธิของบุตรผู้ตายดังกล่าวแล้วเสียไป
โจทก์ฟ้องหาว่าจำเลยใช้ปืนยิงและใช้มีดแทงผู้ตายตายแต่ทางพิจารณาได้ความชัดว่าจำเลยใช้มีดแทงผู้ตายอย่างเดียวนั้น ไม่เป็นเหตุพอจะให้ยกฟ้องโจทก์เสียได้ และคดีก็ต้องลงโทษจำเลยตามกฎหมายลักษณะอาญา มาตรา 249

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 529/2491 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิโจทก์ฟ้องคดีอาญาของบุตรผู้ถูกทำร้ายถึงแก่ความตาย แม้มีภรรยา และการพิพากษาลงโทษตามพฤติการณ์
บุตรผู้ถูกทำร้ายตาย+จะมีสามีแล้ว ก็มีสิทธิเป็นโจทก์ฟ้องคดีอาญาหรือเข้าร่วมเป็นโจทก์กับพนักงานอัยยการในคดีที่ฟ้องผู้ที่ทำให้ตายได้ ตาม ป.วิ.อาญามาตรา 3(2) และมาตรา 5(2) การที่ภรรยาผู้ถูกทำร้ายตายไม่ขอร่วมเป็นโจทก์กับอัยยการ ไม่ทำให้สิทธิของบุตรผู้ตายดังกล่าวแล้วเสียไป
โจทก์ฟ้องหาว่าจำเลยใช้ปืนยิงและใช้มีดแทงผู้ตายตาย แต่ทางพิจารณาได้ความชัดว่าจำเลยใช้มีดแทงผู้ตายอย่างเดียวนั้นไม่เป็นเหตุพอจะให้ยกฟ้องโจทก์เสียได้ และคดีก็ต้องลงโทษจำเลยตาม ก.ม.ลักษณะอาญามาตรา 252, 259

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 268/2484

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีอาญา: การมอบอำนาจและการอ้างอำนาจในฐานะผู้จัดการ
ในคำร้องขอเข้าเป็นโจทก์ร่วมกับอัยยการอ้างว่าได้รับมอบอำนาจจากผู้จัดการบริษัท,ในชั้นศาลฎีกาจะอ้างว่าตนเป็นผู้จัดการมีอำนาจเป็นโจทก์เองนั้นไม่ได้
of 2