คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 11

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 268 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5053/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การตีความเอกสารการรับเงินมัดจำ และความรับผิดของจำเลยในการส่งคืนเงินเมื่อไม่สามารถจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ได้
โจทก์ฟ้องว่า โจทก์ตกลงซื้อที่ดินพร้อมตึกแถวจากจำเลย โดยโจทก์วางมัดจำให้จำเลยและจำเลยได้ออกใบเสร็จรับเงินไว้ให้ส่วนราคาที่เหลือโจทก์จะชำระให้จำเลยในวันที่จำเลยจัดการให้เจ้าของกรรมสิทธิ์จัดการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ให้โจทก์ได้ต่อมาจำเลยไม่สามารถนำเจ้าของที่ดินและตึกแถวมาทำการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ให้โจทก์ได้ โจทก์จึงให้จำเลยคืนเงินมัดจำ แต่จำเลยเพิกเฉย จึงขอให้จำเลยชำระเงินดังกล่าว จำเลยให้การว่า จำเลยไม่เคยทำหรือให้สัญญาแก่โจทก์ว่าจะจัดการให้เจ้าของกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทไปทำการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ตึกแถวและที่ดินแก่โจทก์ส่วนใบเสร็จรับเงินที่โจทก์กล่าวอ้างนั้นเป็นใบเสร็จรับเงินที่จำเลยออกเพื่อรับเงินไว้แทน ว.ซึ่งเป็นลูกจ้างของจำเลยว. รับเงินจำนวนดังกล่าวทั้งหมดไปแล้ว โจทก์ชอบที่จะไล่เบี้ยเอาจาก ว.ขอให้ยกฟ้อง ดังนี้ ในการตีความตามเอกสารใบเสร็จรับเงินที่จำเลยทำขึ้นแล้วมอบไว้ต่อโจทก์นั้น เมื่อไม่มีข้อความว่ารับเงินไว้แทนใครการที่จำเลยให้การว่ารับเงินไว้แทน ว. ลูกจ้างของจำเลย แต่โจทก์ไม่ได้สั่งให้จำเลยรับเงินไว้เพื่อให้จำเลยมอบต่อไปให้ผู้ใด โจทก์จึงเป็นฝ่ายผู้ต้องเสียหายในมูลหนี้ในเงินมัดจำที่มอบไว้ตามหลักฐานเป็นหนังสือ ในกรณีที่มีข้อสงสัยจึงต้องตีความไปในทางที่เป็นคุณแก่โจทก์ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 11

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1325/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การลาออกและสิทธิประโยชน์: การคำนวณค่าชดเชยตามอายุและข้อบังคับธนาคาร
โจทก์มีอายุ 50 ปี ยื่นหนังสือลาออกจากงานต่อจำเลย มีข้อความว่า "ข้าพเจ้า (โจทก์) มีความประสงค์ขอลาออกจากงานเพื่อขอรับเงินชดเชยและสิทธิประโยชน์ต่าง ๆ ให้แก่ข้าพเจ้า เต็มตามสิทธิของพนักงานที่ได้ปฏิบัติงานธนาคารมาด้วยดีจนอายุครบ 55 ปี" คำว่า "สิทธิของพนักงานที่ได้ปฏิบัติงานมาจนอายุครบ 55 ปี"นั้น เมื่อตามคำสั่งของจำเลยที่ 6/2525 เรื่อง กำหนดระยะเวลาจ้าง ตลอดจนกำหนดการจ่ายค่าชดเชยและเงินทดแทน ข้อ 9 มีข้อความว่าพนักงานชายอายุตั้งแต่ 55 ปีขึ้นไป และพนักงานหญิงอายุตั้งแต่ 45 ปีขึ้นไป หากกรรมการผู้จัดการใหญ่พิจารณาเห็นว่าสมควรอนุมัติให้ในกรณีพิเศษให้ลาออกเพื่อรับค่าชดเชยก็อาจทำได้ แต่ทั้งนี้ให้คำนวณค่าชดเชยตามข้อ 13.2 และตามข้อ 13.2 การจ่ายค่าชดเชย ให้คำนวณจ่ายให้เท่ากับเงินเดือนสุดท้าย คูณด้วยปีที่ทำงาน ดังนั้น พนักงานชายที่อายุตั้งแต่ 55 ปีขึ้นไปเท่านั้นที่มีสิทธิพิเศษได้รับค่าชดเชยตามข้อ 9 นี้ ส่วนพนักงานชายที่มีอายุยังไม่ครบ 55 ปี แต่ปฏิบัติงานมานานเช่นโจทก์ในคดีนี้เมื่อลาออกจากงานจะได้รับค่าชดเชยตามข้อ 10 คือเท่ากับเงินเดือนสุดท้าย คูณด้วยจำนวนปีที่ทำงาน หารด้วยสอง ทำให้ค่าชดเชยลดลงกึ่งหนึ่งการที่โจทก์ระบุข้อความไว้ในหนังสือลาออกทำนองว่า ขอให้โจทก์ได้รับสิทธิเท่าเทียมกับพนักงานที่ได้ปฏิบัติงานมาจนมีอายุ 55 ปีดังกล่าว ก็เพื่อหวังผลให้ตนได้รับประโยชน์จากการคำนวณค่าชดเชย อันเป็นการอิงสิทธิของพนักงานที่มีคุณสมบัติตาม ข้อ 9 เท่านั้นหามีความหมายนอกเหนือไปจากนี้ไม่ ที่จำเลยอนุมัติให้โจทก์ลาออกจากงานโดยยินยอมตามเงื่อนไขในหนังสือลาออกของโจทก์ จึงเป็นคุณแก่โจทก์เท่าที่ระเบียบข้อบังคับของจำเลยจะเอื้อให้
เมื่อข้อความในหนังสือลาออกของโจทก์มีความชัดเจนในตัวและมีความหมายเป็นนัยเดียวไม่อาจแปลความเกินเลยไปถึงว่าจำเลยยังมีหน้าที่ต้องจ่ายสิทธิประโยชน์ต่าง ๆ ตามที่โจทก์เรียกร้องข้างต้นโดยคำนวณจนถึงโจทก์มีอายุครบ 55 ปี ซึ่งเป็นข้อเรียกร้องนอกเหนือจากข้อความที่ระบุไว้ในหนังสือลาออกอีก ดังนั้น ที่จำเลยจ่ายค่าชดเชยแก่โจทก์ โดยคำนวณตามหลักเกณฑ์ในข้อ 9จึงเป็นการชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1325/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การคำนวณค่าชดเชยการลาออกของลูกจ้างก่อนอายุ 55 ปี โดยอิงตามข้อบังคับบริษัท และความหมายของหนังสือลาออก
โจทก์มีอายุ 50 ปี ยื่นหนังสือลาออกจากงานต่อจำเลยมีข้อความว่า "ข้าพเจ้า (โจทก์) มีความประสงค์ขอลาออกจากงานเพื่อขอรับเงินชดเชยและสิทธิประโยชน์ต่าง ๆ ให้แก่ข้าพเจ้า เต็มตามสิทธิของพนักงานที่ได้ปฏิบัติงานธนาคารมาด้วยดีจนอายุครบ 55 ปี" คำว่า "สิทธิของพนักงานที่ได้ปฏิบัติงานมาจนอายุครบ 55 ปี" นั้น เมื่อตามคำสั่งของจำเลยที่ 6/2525 เรื่อง กำหนดระยะเวลาจ้าง ตลอดจนกำหนดการจ่ายค่าชดเชยและเงินทดแทน ข้อ 9 มีข้อความว่า พนักงานชายอายุตั้งแต่ 55 ปีขึ้นไป และพนักงานหญิงอายุตั้งแต่ 45 ปี ขึ้น ไปหากกรรมการผู้จัดการใหญ่พิจารณาเห็นว่าสมควรอนุมัติ ให้ในกรณีพิเศษให้ลาออกเพื่อรับค่าชดเชยก็อาจทำได้ แต่ทั้งนี้ให้คำนวณค่าชดเชยตามข้อ 13.2 และตามข้อ 13.2การจ่ายค่าชดเชย ให้คำนวณจ่ายให้เท่ากับเงินเดือนสุดท้ายคูณด้วยปีที่ทำงาน ดังนั้น พนักงานที่อายุตั้งแต่ 55 ปี ขึ้นไปเท่านั้นที่มีสิทธิพิเศษได้รับค่าชดเชยตามข้อ 9 นี้ ส่วน ส่วนพนักงานชายที่มีอายุยังไม่ครบ 55 ปี แต่ปฏิบัติงานมานานเช่นโจทก์ในคดีนี้เมื่อลาออกจากงานจะได้รับค่าชดเชยตาม ข้อ 10 คือเท่ากับเงินเดือนสุดท้าย คูณด้วยจำนวนปีที่ทำงาน หารด้วยสอง ทำให้ค่าชดเชยลดลงกึ่งหนึ่งการที่โจทก์ระบุข้อความไว้ในหนังสือลาออกทำนองว่า ขอให้โจทก์ได้รับสิทธิ เท่าเทียมกับพนักงานที่ได้ปฏิบัติงานมาจนมีอายุ 55 ปีดังกล่าว ก็เพื่อหวังให้ตนได้รับประโยชน์จากการคำนวณค่าชดเชย อันเป็นการอิงสิทธิของพนักงานที่มีคุณสมบัติตามข้อ 9เท่านั้น หามีความหมายนอกเหนือไปจากนี้ไม่ ที่จำเลยอนุมัติ ให้โจทก์ลาออกจากงานโดยยินยอมตามเงื่อนไขในหนังสือลาออกของโจทก์ จึงเป็นคุณแก่โจทก์เท่าที่ระเบียบข้อบังคับของจำเลยจะเอื้อ ให้ เมื่อข้อความในหนังสือลาออกของโจทก์มีความชัดเจนในตัวและ มีความหมายเป็นนัยเดียวไม่อาจแปลความเกินเลยไปถึงว่า จำเลยยังมีหน้าที่ต้องจ่ายสิทธิประโยชน์ต่าง ๆ ตามที่ โจทก์เรียกร้องข้างต้นโดยคำนวณจนถึงโจทก์มีอายุครบ 55 ปี ซึ่งเป็นข้อเรียกร้องนอกเหนือจากข้อความที่ระบุไว้ใน หนังสือลาออกอีก ดังนั้น ที่จำเลยจ่ายค่าชดเชยแก่โจทก์ โดยคำนวณตามหลักเกณฑ์ในข้อ 9 จึงเป็นการชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1225/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฐานความรับผิดของผู้รับอาวัล vs. ผู้ค้ำประกัน และอายุความของตั๋วสัญญาใช้เงิน
ตามหนังสือรับรองการขายตั๋วสัญญาใช้เงินไม่ปรากฏความข้อใดเลยว่า หากจำเลยที่ 1 ไม่ใช้เงินแก่โจทก์ตามสัญญาขายลดแล้ว จำเลยที่ 2จะยอมใช้เงินแก่โจทก์ หรือแม้แต่คำว่า "ค้ำประกัน" ก็ไม่ปรากฏฐานะของจำเลยที่ 2 คงระบุเพียงว่าเป็นผู้รับอาวัลเท่านั้น แม้จะระบุถึงเรื่องการผ่อนเวลาไว้ก็คงเป็นการกล่าวถึงความรับผิดของจำเลยที่ 2 ในฐานะผู้รับอาวัลซึ่งต้องผูกพันเป็นอย่างเดียวกันกับบุคคลที่ตนประกัน ตาม ป.พ.พ. มาตรา 940โดยไม่อาจอ้างเรื่องการผ่อนเวลาตามหลักค้ำประกันทั่วไปใน มาตรา 700ขึ้นต่อสู้โจทก์ได้อยู่แล้ว ดังนี้ เมื่อเป็นกรณีที่มีข้อสงสัย จึงต้องตีความไปในทางที่เป็นคุณแก่จำเลยที่ 2 ซึ่งจะเป็นผู้ต้องเสียในมูลหนี้นั้น จึงถือไม่ได้ว่าจำเลยที่ 2เป็นผู้ค้ำประกันจำเลยที่ 1 ในการขายลดตั๋วสัญญาใช้เงินต่อโจทก์นอกเหนือไปจากการเป็นผู้รับอาวัลจำเลยที่ 1 ผู้ออกตั๋วสัญญาใช้เงิน อันจะทำให้คดีโจทก์ในส่วนของจำเลยที่ 2 มีอายุความ 10 ปี ตามมาตรา 164 เดิม หากแต่เป็นการฟ้องให้จำเลยที่ 2 ให้รับผิดในฐานะผู้รับอาวัลเท่านั้น ซึ่งมีอายุความ 3 ปี นับแต่วันที่ตั๋วสัญญาใช้เงินถึงกำหนดใช้เงินตาม มาตรา 1001 ประกอบ มาตรา 940
แม้ปรากฏว่าหลังจากที่ตั๋วสัญญาใช้เงินถึงกำหนดใช้เงินแล้วจำเลยที่ 1 ผู้ออกตั๋วจะได้ผ่อนชำระเงินให้โจทก์ไปบางส่วน เป็นเหตุให้อายุความในส่วนของจำเลยที่ 1 สะดุดหยุดลงก็ตาม แต่ไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 2 ผู้รับอาวัลได้ร่วมกระทำกับจำเลยที่ 1 ด้วย จึงเป็นเรื่องแต่เฉพาะจำเลยที่ 1 เท่านั้นอายุความในส่วนของจำเลยที่ 2 จึงไม่สะดุดหยุดลงด้วยตามมาตรา 295 ประกอบมาตรา 967, 985

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1225/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องผู้รับอาวัลตั๋วสัญญาใช้เงิน: ตรวจสอบฐานะผู้รับอาวัล vs ผู้ค้ำประกัน เพื่อกำหนดอายุความที่ถูกต้อง
จำเลยที่ 1 ได้นำตั๋วสัญญาใช้เงินที่จำเลยที่ 1 เป็นผู้ออกตั๋วมีจำเลยที่ 2 เป็นผู้รับอาวัลมาขายให้แก่โจทก์ ตามหนังสือรับรองการขายตั๋วสัญญาใช้เงินไม่ปรากฏข้อความว่า หากจำเลยที่ 1 ไม่ใช้เงินแก่โจทก์ จำเลยที่ 2 จะยอมใช้เงินแก่โจทก์ หรือคำว่า "ค้ำประกัน" คงระบุเพียงฐานะของจำเลยที่ 2 ว่า"ผู้รับอาวัล" ต่อท้ายลายมือชื่อจำเลยที่ 2 และแม้จะระบุเรื่องการผ่อนเวลาไว้ก็เป็นการกล่าวถึงความรับผิดของจำเลยที่ 2 ในฐานะผู้รับอาวัล ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 940 เท่านั้นเมื่อเป็นกรณีมีข้อสงสัย จึงต้องตีความไปในทางที่เป็นคุณแก่จำเลยที่ 2 ซึ่งจะเป็นผู้ต้องเสียในมูลหนี้นั้น โดยถือไม่ได้ว่าจำเลยที่ 2 เป็นผู้ค้ำประกันในการขายลดตั๋วสัญญาใช้เงิน แม้ปรากฏว่าหลังจากที่ตั๋วสัญญาใช้เงินถึงกำหนดใช้เงินแล้วจำเลยที่ 1 ผู้ออกตั๋วได้ผ่อนชำระเงินให้โจทก์ไปบางส่วน เป็นเหตุให้อายุความในส่วนของจำเลยที่ 1 สะดุดหยุดลง แต่เมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 2 ผู้รับอาวัลได้ร่วมกระทำด้วยอายุความในส่วนของจำเลยที่ 2 จึงไม่สะดุดหยุดลง ตาม มาตรา 295 ประกอบ มาตรา 967,985

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1225/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องคดีผู้รับอาวัลตั๋วสัญญาใช้เงิน กรณีไม่ได้เป็นผู้ค้ำประกัน
ตามหนังสือรับรองการขายตั๋วสัญญาใช้เงินไม่ปรากฏความข้อใดเลยว่า หากจำเลยที่ 1 ไม่ใช้เงินแก่โจทก์ตามสัญญาขายลดแล้ว จำเลยที่ 2จะยอมใช้เงินแก่โจทก์ หรือแม้แต่คำว่า "ค้ำประกัน" ก็ไม่ปรากฏฐานะของจำเลยที่ 2 คงระบุเพียงว่าเป็นผู้รับอาวัลเท่านั้น แม้จะระบุถึงเรื่องการผ่อนเวลาไว้ก็คงเป็นการกล่าวถึงความรับผิดของจำเลยที่ 2ในฐานะผู้รับอาวัลซึ่งต้องผูกพันเป็นอย่างเดียวกันกับบุคคลที่ตนประกัน ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 940 โดยไม่อาจอ้างเรื่องการผ่อนเวลาตามหลักค้ำประกันทั่วไปใน มาตรา 700ขึ้นต่อสู้โจทก์ได้อยู่แล้ว ดังนี้ เมื่อเป็นกรณีที่มีข้อสงสัยจึงต้องตีความไปในทางที่เป็นคุณแก่จำเลยที่ 2 ซึ่งจะเป็นผู้ต้องเสียในมูลหนี้นั้น จึงถือไม่ได้ว่าจำเลยที่ 2 เป็นผู้ค้ำประกันจำเลยที่ 1 ในการขายลดตั๋วสัญญาใช้เงินต่อโจทก์นอกเหนือไปจากการเป็นผู้รับอาวัลจำเลยที่ 1 ผู้ออกตั๋วสัญญาใช้เงิน อันจะทำให้คดีโจทก์ในส่วนของจำเลยที่ 2 มีอายุความ 10 ปี ตามมาตรา 164 เดิมหากแต่เป็นการฟ้องให้จำเลยที่ 2 ให้รับผิดในฐานะผู้รับอาวัลเท่านั้นซึ่งมีอายุความ 3 ปี นับแต่วันที่ตั๋วสัญญาใช้เงินถึงกำหนดใช้เงินตาม มาตรา 1001 ประกอบมาตรา 940 แม้ปรากฏว่าหลังจากที่ตั๋วสัญญาใช้เงินถึงกำหนดใช้เงินแล้วจำเลยที่ 1 ผู้ออกตั๋วจะผ่อนชำระเงินให้โจทก์ไปบางส่วน เป็นเหตุให้อายุความในส่วนของจำเลยที่ 1 สะดุดหยุดลงก็ตาม แต่ไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 2 ผู้รับอาวัลได้ร่วมกระทำกับจำเลยที่ 1 ด้วย จึงเป็นเรื่องแต่เฉพาะจำเลยที่ 1 เท่านั้น อายุความในส่วนของจำเลยที่ 2จึงไม่สะดุดหยุดลงด้วยตามมาตรา 295 ประกอบมาตรา 967,985

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 598/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยกเว้นความรับผิดในสัญญาประกันภัยกรณีระเบิดจากเครื่องจักร: ประกันภัยไม่คุ้มครอง
กรมธรรม์ประกันภัยระบุว่า จำเลยจะต้องรับผิดในทรัพย์สินที่เอาประกันภัยในกรณีที่ทรัพย์สินต้องสูญเสียหรือเสียหายเนื่องจากเพลิงไหม้ (ไม่ว่าจะเกิดจากการระเบิดหรือไม่ก็ตาม) หรือ ฟ้าผ่าหรือการระเบิดของแก๊สที่ใช้สำหรับทำแสงสว่างหรือประโยชน์เพื่อการอยู่อาศัยเท่านั้น แต่สำหรับกรณีวินาศภัยที่เกิดจากการระเบิดมีข้อยกเว้น เหตุแห่งการสูญเสียและการเสียหายซึ่งไม่รวมอยู่ในการประกันภัย คือ การระเบิดทุกชนิด (ไม่ว่าการระเบิดจะเกิดจากเพลิงไหม้หรือไม่ก็ตาม) เว้นแต่ส่วนที่ระบุในสัญญาว่าให้คุ้มครองเงื่อนไขที่เป็นที่ยกเว้นที่จำเลยไม่ต้องรับผิดในเหตุแห่งการสูญเสียและการเสียหายจากการระเบิดจึงมีความหมายถึงการระเบิดที่เกิดจากเพลิงไหม้ด้วย เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่า ขณะเครื่องจักรตีแป้งที่เอาประกันภัยไว้กำลังทำงาน ชิ้นส่วนโลหะภายในเครื่องเกิดหลุดหรือหักออกทำให้ชิ้นส่วนโลหะดังกล่าวกระทบกันเกิดเป็นประกายไฟลุกติดกับผงละอองแป้งภายในเครื่องตีแป้งแล้วลุกเป็นไฟลามไปตามท่อจนถึงถังรองรับไซโคลน ทำให้มีการเผาไหม้ภายในถังรองรับไซโคลน เกิดแรงอัดสูงสุดจนระเบิดขึ้น เป็นเหตุให้สินค้าแป้งข้าวจ้าวและเครื่องจักรที่โจทก์เอาประกันภัยไว้สูญเสียหรือเสียหาย ความสูญเสียหรือเสียหายจึงมีสาเหตุโดยตรงมาจากการระเบิดในถังรองรับไซโคลน การสูญเสียหรือเสียหายของทรัพย์สินโจทก์ที่เอาประกันภัยไว้กับจำเลยจึงไม่ได้รับความคุ้มครองตามสัญญาประกันภัย เพราะได้รับการยกเว้นตามกรมธรรม์ประกันภัยจำเลยจึงไม่ต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายให้แก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 566/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ จำนองประกันหนี้ซื้อขายขวดแก้ว ไม่ครอบคลุมหนี้ค่าลังไม้ ผู้จำนองไม่ต้องรับผิด
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยที่ 1 ซื้อผลิตภัณฑ์ขวดแก้วและยืมลังไม้ใส่ขวดแก้วจากโจทก์หลายคราวติดต่อกันตั้งแต่ พ.ศ. 2515 ถึงพ.ศ. 2522 เมื่อได้มีการคิดบัญชีกันปรากฏว่า จำเลยที่ 1 ยังไม่ได้ส่งลังไม้คืนโจทก์จำนวน 54,788 ลัง เป็นเงิน 687,551 บาท จำเลยที่ 1 เคยชำระค่าลังไม้ให้โจทก์เกินไป 4 บาท จึงเหลือเงินที่จำเลยที่ 1 จะต้องจ่ายเป็นค่าลังไม้แก่โจทก์ 687,547 บาท ดังนี้เป็นคำฟ้องที่เข้าใจชัดแจ้งแล้วไม่เคลือบคลุม ส่วนเรื่องจำนวนลังไม้ที่ว่าต่างราคากันและชนิดของลังไม้ที่จำเลยที่ 1 รับไปเมื่อใดต้องคืนเมื่อใด เหลือเท่าใดนั้นเป็นรายละเอียดที่จะต้องนำสืบในชั้นพิจารณา ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 649 เป็นเรื่องความรับผิดเพื่อเสียค่าทดแทนเกี่ยวกับการยืมใช้คงรูป แต่ตามคำฟ้องโจทก์เป็นการฟ้องเรียกคืนลังไม้หรือราคาลังไม้ซึ่งจำเลยที่ 1 ยืมไปพร้อมผลิตภัณฑ์ขวดแก้ว ซึ่งโจทก์ขายให้จำเลยที่ 1 ตามสัญญาซื้อขาย และจำเลยที่ 1 ปฏิบัติกับโจทก์ตลอดมาตั้งแต่มีการซื้อขายกันจึงนำมาตรา 649 มาบังคับหาได้ไม่ ต้องใช้อายุความ 10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164 สัญญาจำนองระบุเพียงว่า จำเลยที่ 2 ผู้จำนองตกลงจำนองที่ดินทั้งแปลงแก่ผู้รับจำนองเพื่อเป็นประกันในการซื้อขายผลิตภัณฑ์ขวดแก้วของบริษัท อ. จำเลยที่ 1 แม้ขณะทำสัญญาจำนองจำเลยที่ 1เป็นหนี้โจทก์ทั้งค่าผลิตภัณฑ์ขวดแก้วและค่าลังไม้ แต่เมื่อไม่ได้ระบุในสัญญาจำนองว่าเป็นการประกัน การชำระหนี้ค่าลังไม้ด้วยและเป็นที่เห็นได้ชัดว่าลังไม้ไม่ใช่ผลิตภัณฑ์ขวดแก้ว จำเลยที่ 2เป็นแต่เพียงผู้ทำสัญญาจำนองประกันการชำระหนี้ของจำเลยที่ 1เท่านั้นทั้งไม่ได้ความว่าจำเลยที่ 2 มีตำแหน่งหรือเกี่ยวข้องอะไรกับจำเลยที่ 1 กรณีเช่นนี้จึงต้องถือว่าเจตนาของคู่สัญญาจำนองยังเป็นที่สงสัยอยู่ จำต้องตีความไปในทางที่เป็นคุณแก่จำเลยที่ 2ซึ่งเป็นคู่กรณีฝ่ายจะต้องเสียเปรียบในมูลหนี้นั้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 11 ตามสัญญาจำนองที่จำเลยที่ 3 จำนองที่ดินเป็นการประกันการชำระหนี้ของจำเลยที่ 1 ในการซื้อผลิตภัณฑ์ขวดแก้วจากโจทก์ในวันเดียวกับวันที่จำเลยที่ 2 ทำสัญญาจำนองระบุเพียงว่าผู้จำนองตกลงจำนองที่ดินเพื่อเป็นประกันในการสั่งซื้อผลิตภัณฑ์ขวดแก้วของจำเลยที่ 1 เช่นเดียวกับที่ระบุในสัญญาจำนองที่จำเลยที่ 2 ทำไว้การจำนองที่ดินของจำเลยที่ 3 จึงเป็นการจำนองเพื่อประกันหนี้รายเดียวกันนี้ ซึ่งเป็นหนี้อันไม่อาจแบ่งแยกได้ เมื่อจำเลยที่ 2 ผู้จำนองหนี้รายนี้ไม่ต้องรับผิด จำเลยที่ 3 ผู้จำนองหนี้ดังกล่าวก็ไม่ต้องรับผิดด้วย แม้จำเลยที่ 3 จะมิได้อุทธรณ์และฎีกา แต่ศาลฎีกาเห็นสมควรวินิจฉัยให้มีผลถึงจำเลยที่ 3 ด้วย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 245(1) ประกอบด้วย มาตรา 247

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 566/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ จำนองประกันหนี้ค่าสินค้า-ลังไม้: ศาลฎีกาชี้เจตนาคู่สัญญา, ผู้จำนองไม่จำต้องรับผิดหากไม่มีข้อตกลง
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยที่ 1 ซื้อผลิตภัณฑ์ขวดแก้วและยืมลังไม้ใส่ขวดแก้วจากโจทก์หลายคราวติดต่อกันตั้งแต่ พ.ศ. 2515ถึง พ.ศ. 2522 เมื่อได้มีการคิดบัญชีกันปรากฏว่าจำเลยที่ 1 ยังไม่ได้ส่งลังไม้คืนโจทก์จำนวน 54,788 ลัง เป็นเงิน 687,551 บาทจำเลยที่ 1 ชำระค่าลังไม้ให้โจทก์เกินไป 4 บาท จึงเหลือเงินที่จำเลยที่ 1 จะต้องจ่ายเป็นค่าลังไม้แก่โจทก์ 687,547 บาท ดังนี้ เป็นคำฟ้องที่เข้าใจชัดแจ้งแล้ว ไม่เคลือบคลุม ส่วนเรื่องจำนวนลังไม้ที่ว่าต่างราคากันและชนิดของลังไม้ที่จำเลยที่ 1 รับไปเมื่อใดต้องคืนเมื่อใด เหลือเท่าใดนั้น เป็นรายละเอียดที่จะต้องนำสืบในชั้นพิจารณา ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 649 เป็นเรื่องความรับผิดเพื่อเสียค่าทดแทนเกี่ยวกับการยืมใช้คงรูป เช่น เรียกค่าเสียหายเกี่ยวกับความชำรุดหรือเสื่อมราคาจากการใช้ทรัพย์ที่ให้ยืมแต่ตามคำฟ้องโจทก์เป็นการฟ้องเรียกคืนลังไม้หรือราคาลังไม้ซึ่งจำเลยที่ 1 ยืมไปพร้อมผลิตภัณฑ์ขวดแก้วซึ่งโจทก์ขายให้จำเลยที่ 1 ตามสัญญาซื้อขาย และจำเลยที่ 1 ปฏิบัติกับโจทก์ตลอดมาตั้งแต่มีการซื้อขายกัน จึงนำมาตรา 649 มาบังคับหาได้ไม่ ต้องใช้อายุความ 10 ปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164 สัญญาจำนองระบุเพียงว่า จำเลยที่ 2 ตกลงจำนองที่ดินทั้งแปลงแก่ผู้รับจำนองเพื่อเป็นประกันในการซื้อขายผลิตภัณฑ์ขวดแก้วของจำเลยที่ 1 แม้ขณะทำสัญญาจำนองจำเลยที่ 1 เป็นหนี้โจทก์ทั้งค่าผลิตภัณฑ์ขวดแก้วและค่าลังไม้ แต่เมื่อไม่ได้ระบุในสัญญาจำนองว่าเป็นการประกันการชำระหนี้ค่าลังไม้ด้วย และเป็นที่เห็นได้ชัดว่าลังไม้ไม่ใช่ผลิตภัณฑ์ขวดแก้วจำเลยที่ 2 เป็นแต่เพียงผู้ทำสัญญาจำนองประกันการชำระหนี้ของจำเลยที่ 1 เท่านั้น ทั้งไม่ได้ความว่าจำเลยที่ 2 มีตำแหน่งหรือเกี่ยวข้องอะไรกับจำเลยที่ 1 กรณีเช่นนี้จึงต้องถือว่าเจตนาของคู่สัญญาจำนองยังเป็นที่สงสัยอยู่จำต้องตีความไปในทางที่เป็นคุณแก่จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นคู่กรณีฝ่ายจะต้องเสียเปรียบในมูลหนี้นั้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 11 ตามสัญญาจำนองที่จำเลยที่ 3 จำนองที่ดินเป็นการประกันการชำระหนี้ของจำเลยที่ 1 ในการซื้อผลิตภัณฑ์ขวดแก้วจากโจทก์ในวันเดียวกับวันที่จำเลยที่ 2 ทำสัญญาจำนองระบุเพียงว่าผู้จำนองตกลงจำนองที่ดินเพื่อเป็นประกันในการสั่งซื้อผลิตภัณฑ์ขวดแก้วของจำเลยที่ 1 เช่นเดียวกับที่ระบุในสัญญาจำนองที่จำเลยที่ 2 ทำไว้ การจำนองที่ดินของจำเลยที่ 3 จึงเป็นการจำนองเพื่อประกันหนี้รายเดียวกันนี้ ซึ่งเป็นหนี้อันไม่อาจแบ่งแยกได้เมื่อจำเลยที่ 2 ผู้จำนองหนี้รายนี้ไม่ต้องรับผิด จำเลยที่ 3ผู้จำนองหนี้ดังกล่าวก็ไม่ต้องรับผิดด้วย แม้จำเลยที่ 3 จะมิได้อุทธรณ์และฎีกา แต่ศาลฎีกาเห็นสมควรวินิจฉัยให้มีผลถึงจำเลยที่ 3ด้วย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 245(1) ประกอบด้วยมาตรา 247

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2205/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตการจำนอง: สัญญาจำนองครอบคลุมเฉพาะหนี้เดิมหรือไม่? ศาลตีความสัญญาโดยคำนึงถึงฝ่ายเสียเปรียบ
หนังสือสัญญาต่อท้ายหนังสือสัญญาจำนองมีข้อความว่าผู้จำนองได้จำนองที่ดินและสิ่งปลูกสร้างเป็นประกันเงินซึ่งผู้จำนองเป็นหนี้ผู้รับจำนองอยู่ในเวลานี้หรือในเวลาใดเวลาหนึ่งต่อไปในภายหน้าเป็นจำนวนเงิน 160,000 บาท หรือในเรื่องเงินจำนวนใดจำนวนหนึ่งซึ่งผู้จำนองเป็นหนี้ผู้รับจำนองอยู่ในเวลานี้หรือจะเป็นหนี้ต่อไปในภายหน้า ผู้จำนองยอมรับผิดชอบทั้งสิ้นข้อความตอนแรกที่ระบุว่าการจำนองรายนี้เป็นประกันหนี้เงิน160,000 บาท ซึ่งเท่ากับจำนวนเงินที่โจทก์กู้ยืมไปจากจำเลยส่วนข้อความในตอนหลังที่ระบุให้การจำนองเป็นประกันเงินจำนวนใดจำนวนหนึ่งซึ่งผู้จำนองเป็นหนี้ผู้รับจำนองอยู่ในเวลานี้หรือจะเป็นหนี้ต่อไปในภายหน้านั้นไม่ได้ระบุให้ชัดแจ้งว่าให้เป็นประกันถึงหนี้อันเกิดจากมูลละเมิดหรือหนี้อย่างอื่นคนละประเภทกันที่จะเกิดขึ้นในภายหน้า กรณีจึงมีข้อสงสัย ดังนั้นการตีความถึงเจตนาของคู่สัญญาในกรณีที่มีข้อสงสัยเช่นนี้ ต้องตีความไปในทางที่เป็นคุณแก่คู่กรณีฝ่ายที่จะเป็นผู้ต้องเสียในมูลหนี้นั้นดังที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 11 จึงต้องฟังว่าสัญญาจำนองรายนี้ไม่ได้ประกันถึงหนี้อันเกิดจากมูลละเมิดซึ่งโจทก์จะต้องรับผิดต่อจำเลยอีกประเภทหนึ่ง
of 27