พบผลลัพธ์ทั้งหมด 268 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 885/2530 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การตีความสัญญาประนีประนอมยอมความเรื่องดอกเบี้ย: เริ่มคิดดอกเบี้ยเมื่อใด ศาลฎีกาชี้เริ่มนับจากวันที่ตกลงในสัญญา
โจทก์ฟ้องให้จำเลยชำระต้นเงินและดอกเบี้ยแก่โจทก์ ต่อมาคู่ความทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันเมื่อวันที่ 8 ธันวาคม 2523 มีข้อความเกี่ยวกับดอกเบี้ยว่า 'จำเลยทั้งสองจะร่วมกันชำระดอกเบี้ยให้แก่โจทก์ในอัตราร้อยละ 12 ครึ่ง ต่อปี ของเงินที่ยังค้างชำระให้แก่โจทก์ทั้งหมด โดยจะต้องชำระดอกเบี้ยดังกล่าวนี้ทุก ๆ 6 เดือน นับแต่วันที่ 10 ธันวาคม 2524 เป็นต้นไป' ปัญหาว่าโจทก์มีสิทธิคิดดอกเบี้ยนับแต่วันทำสัญญาประนีประนอมยอมความหรือนับแต่วันที่ 10 ธันวาคม 2524 เป็นต้นไป นั้น เมื่อสัญญาประนีประนอมยอมความลดอัตราดอกเบี้ยลง แสดงว่าคู่สัญญามีความประสงค์จะผ่อนผันให้แก่กัน และตามข้อตกลงในสัญญาประนีประนอมยอมความมิได้กำหนดไว้ให้ชัดเจนว่า จะคิดดอกเบี้ยตั้งแต่เมื่อใด เป็นกรณีที่มีข้อสงสัย ต้องตีความให้เป็นคุณแก่จำเลยผู้เป็นคู่กรณีฝ่ายซึ่งจะเป็นผู้ต้องเสียในมูลหนี้จำเลยจึงต้องชำระดอกเบี้ยให้แก่โจทก์ตั้งแต่วันที่ 10 ธันวาคม 2525.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 885/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การตีความสัญญาประนีประนอมยอมความเรื่องดอกเบี้ย ต้องตีความไปในทางที่เป็นคุณแก่จำเลยผู้เสียหนี้
สัญญาประนีประนอมยอมความระบุว่า จำเลยทั้งสองจะร่วมกันชำระดอกเบี้ยให้แก่โจทก์ ในอัตราร้อยละสิบสองครึ่งต่อปีของเงินที่ยังค้างชำระให้แก่โจทก์ทั้งหมด โดยจะต้องชำระดอกเบี้ยดังกล่าวนี้ทุก ๆ 6 เดือน นับแต่วันที่ 10 ธันวาคม 2524 เป็นต้นไปดังนี้การรับผิดใช้ดอกเบี้ยต้องนับตั้งแต่วันที่ 11 ธันวาคม 2524เป็นต้นไป ไม่ใช่ตั้งแต่วันทำสัญญาประนีประนอมยอมความ เพราะสัญญาประนีประนอมยอมความมิได้ระบุไว้เช่นนั้น จึงต้องตีความไปในทางที่เป็นคุณแก่จำเลยผู้เป็นคู่กรณีฝ่ายซึ่งจะเป็นผู้ต้องเสียในมูลหนี้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 885/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การตีความสัญญาประนีประนอมยอมความเรื่องดอกเบี้ย: เริ่มนับเมื่อใด? ศาลฎีกาตัดสินให้เริ่มนับดอกเบี้ยตามวันที่ระบุในสัญญา
โจทก์ฟ้องให้จำเลยชำระต้นเงินและดอกเบี้ยแก่โจทก์ ต่อมาคู่ความทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันเมื่อวันที่ 8 ธันวาคม 2523มีข้อความเกี่ยวกับดอกเบี้ยว่า 'จำเลยทั้งสองจะร่วมกันชำระดอกเบี้ยให้แก่โจทก์ในอัตราร้อยละ 12 ครึ่ง ต่อปี ของเงินที่ยังค้างชำระให้แก่โจทก์ทั้งหมด โดยจะต้องชำระดอกเบี้ยดังกล่าวนี้ทุก ๆ 6 เดือน นับแต่วันที่ 10 ธันวาคม 2524 เป็นต้นไป' ปัญหาว่าโจทก์มีสิทธิคิดดอกเบี้ยนับแต่วันทำสัญญาประนีประนอมยอมความหรือนับแต่วันที่ 10 ธันวาคม 2524 เป็นต้นไป นั้น เมื่อสัญญาประนีประนอมยอมความลดอัตราดอกเบี้ยลง แสดงว่าคู่สัญญามีความประสงค์จะผ่อนผันให้แก่กัน และตามข้อตกลงในสัญญาประนีประนอมยอมความมิได้กำหนดไว้ให้ชัดเจนว่า จะคิดดอกเบี้ยตั้งแต่เมื่อใด เป็นกรณีที่มีข้อสงสัย ต้องตีความให้เป็นคุณแก่จำเลยผู้เป็นคู่กรณีฝ่ายซึ่งจะเป็นผู้ต้องเสียในมูลหนี้จำเลยจึงต้องชำระดอกเบี้ยให้แก่โจทก์ตั้งแต่วันที่ 10 ธันวาคม2525.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2571/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เบี้ยปรับสัญญาจ้างก่อสร้าง: ใช้บังคับเฉพาะกรณีส่งมอบงานล่าช้าเมื่อลงมือทำงานแล้ว ไม่ครอบคลุมกรณีไม่ลงมือทำงานเลย
สัญญาจ้างก่อสร้างมีข้อตกลงว่าหากจำเลยไม่ส่งมอบงานให้แล้วเสร็จในกำหนดโจทก์มีสิทธิเรียกค่าปรับจากจำเลยได้เบี้ยปรับดังกล่าวจึงเป็นกรณีที่จำเลยได้ลงมือทำงานแล้วแต่ก่อสร้างไม่แล้วเสร็จในกำหนดไม่รวมถึงกรณีที่จำเลยไม่ชำระหนี้เลยหรือไม่ลงมือทำการก่อสร้างแต่อย่างใด.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2391/2529
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การซื้อขายหุ้นแทนลูกค้า: สิทธิหน้าที่ของตัวแทน, ลูกค้า, และการรับสภาพหนี้
การซื้อขายหุ้นในตลาดหลักทรัพย์แทนลูกค้านั้นบริษัทผู้ดำเนินการซื้อขายหุ้นแทนลูกค้ากับลูกค้ามีเจตนาผูกพันขอให้เป็นหุ้นประเภทจำนวนและราคาตามที่ตกลงสั่งซื้อหรือตกลงขายไว้ต่อกันเป็นปัจจัยสำคัญการซื้อขายหุ้นในตลาดหลักทรัพย์เป็นนิติกรรมอย่างหนึ่งซึ่งสามารถแยกจากการจดทะเบียนโอนหุ้นได้โดยเด็ดขาดกรรมสิทธิ์ในหุ้นย่อมตกแก่ผู้ซื้อทันทีที่ได้มีการซื้อขายกันการจดทะเบียนโอนหุ้นเป็นการกระทำเพียงเพื่อให้เจ้าของกรรมสิทธิ์ในหุ้นนั้นใช้ยันต่อบริษัทที่ออกหุ้นหรือต่อบุคคลภายนอกเท่านั้นหาเกี่ยวข้องถึงความสมบูรณ์ของการซื้อขายหุ้นแต่ประการใดไม่ดังนี้แม้โจทก์ซื้อหุ้นให้จำเลยตามข้อตกลงกันแล้วโจทก์ยังไม่ได้ปฏิบัติตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1129ก็ยังถือว่าโจทก์ได้จัดการซื้อหุ้นตามฟ้องให้จำเลยที่1และเมื่อโจทก์ได้ชำระเงินค่าหุ้นแทนจำเลยที่1ไปก่อนจำเลยที่1จึงมีหน้าที่ต้องใช้เงินที่โจทก์ได้ออกแทนไปพร้อมทั้งค่านายหน้าและดอกเบี้ยให้โจทก์ตามที่จำเลยที่1ตกลงไว้กับโจทก์. จำเลยที่1ทำบันทึกข้อตกลงรับสภาหนี้ให้โจทก์โดยมีมูลหนี้เกิดจากที่โจทก์ซื้อหุ้นให้จำเลยในตลาดหลักทรัพย์และได้ชำระเงินค่าหุ้นแทนจำเลยที่1ไปจำเลยที่1ย่อมต้องรับผิดตามบันทึกข้อตกลงรับสภาพหนี้นั้นและกรณีนี้มีอายุความ10ปีนับแต่วันที่จำเลยตกลงทำบันทึกข้อตกลงดังกล่าว. จำเลยที่2ให้การต่อสู้คดีและเบิกความว่าจำเลยที่2ตกลงกับโจทก์และสั่งให้โจทก์ซื้อหุ้นแทนจำเลยที่1กับพวกและได้ลงชื่อในบันทึกข้อตกลงรับสภาพหนี้แทนจำเลยที่1ปรากฏว่าข้อความในบันทึกตอนเริ่มต้นมีว่าจำเลยที่2ได้ทำบันทึกข้อตกลงแทนจำเลยที่1ไม่ได้ทำในนามของตนเองประกอบกับโจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสองให้ชำระหนี้ตามบันทึกข้อตกลงดังกล่าวดังนั้นแม้จำเลยที่2จะลงชื่อในท้ายบันทึกดังกล่าวในฐานะผู้ให้สัญญากรณีก็อาจตีความได้เป็นสองนัยว่าลงชื่อในฐานะเป็นผู้ทำบันทึกข้อตกลงแทนจำเลยที่1หรือในฐานะเป็นคู่สัญญากับโจทก์โดยตรงก็ได้ศาลจึงตีความในทางที่เป็นคุณแก่จำเลยที่2ตามนัยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา11จำเลยที่2ไม่ต้องรับผิดร่วมกับจำเลยที่1ต่อโจทก์ตามบันทึกข้อตกลงรับสภาพหนี้ดังกล่าว.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2391/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การซื้อขายหุ้นแทนลูกค้า: สิทธิและหน้าที่ของตัวแทน, ลูกค้า, และการรับสภาพหนี้
การซื้อขายหุ้นในตลาดหลักทรัพย์แทนลูกค้านั้น บริษัทผู้ดำเนินการซื้อขายหุ้นแทนลูกค้ากับลูกค้ามีเจตนาผูกพันขอให้เป็นหุ้นประเภท จำนวน และราคาตามที่ตกลงสั่งซื้อหรือตกลงขายไว้ต่อกันเป็นปัจจัยสำคัญ การซื้อขายหุ้นในตลาดหลักทรัพย์เป็นนิติกรรมอย่างหนึ่งซึ่งสามารถแยกจากการจดทะเบียนโอนหุ้นได้โดยเด็ดขาด กรรมสิทธิ์ในหุ้นย่อมตกแก่ผู้ซื้อทันทีที่ได้มีการซื้อขายกัน การจดทะเบียนโอนหุ้นเป็นการกระทำเพียงเพื่อให้เจ้าของกรรมสิทธิ์ในหุ้นนั้นใช้ยันต่อบริษัทที่ออกหุ้นหรือต่อบุคคลภายนอกเท่านั้นหาเกี่ยวข้องถึงความสมบูรณ์ของการซื้อขายหุ้นแต่ประการใดไม่ ดังนี้แม้โจทก์ซื้อหุ้นให้จำเลยตามข้อตกลงกันแล้ว โจทก์ยังไม่ได้ปฏิบัติตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1129 ก็ยังถือว่าโจทก์ได้จัดการซื้อหุ้นตามฟ้องให้จำเลยที่ 1 และเมื่อโจทก์ได้ชำระเงินค่าหุ้นแทนจำเลยที่ 1 ไปก่อน จำเลยที่ 1 จึงมีหน้าที่ต้องใช้เงินที่โจทก์ได้ออกแทนไปพร้อมทั้งค่านายหน้าและดอกเบี้ยให้โจทก์ตามที่จำเลยที่ 1 ตกลงไว้กับโจทก์
จำเลยที่ 1 ทำบันทึกข้อตกลงรับสภาหนี้ให้โจทก์โดยมีมูลหนี้เกิดจากที่โจทก์ซื้อหุ้นให้จำเลยในตลาดหลักทรัพย์และได้ชำระเงินค่าหุ้นแทนจำเลยที่ 1 ไปจำเลยที่ 1 ย่อมต้องรับผิดตามบันทึกข้อตกลงรับสภาพหนี้นั้น และกรณีนี้มีอายุความ 10 ปี นับแต่วันที่จำเลยตกลงทำบันทึกข้อตกลงดังกล่าว
จำเลยที่ 2 ให้การต่อสู้คดีและเบิกความว่า จำเลยที่ 2 ตกลงกับโจทก์และสั่งให้โจทก์ซื้อหุ้นแทนจำเลยที่ 1 กับพวก และได้ลงชื่อในบันทึกข้อตกลงรับสภาพหนี้แทนจำเลยที่ 1 ปรากฏว่าข้อความในบันทึกตอนเริ่มต้นมีว่า จำเลยที่ 2 ได้ทำบันทึกข้อตกลงแทนจำเลยที่ 1 ไม่ได้ทำในนามของตนเอง ประกอบกับโจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสองให้ชำระหนี้ตามบันทึกข้อตกลงดังกล่าว ดังนั้น แม้จำเลยที่ 2 จะลงชื่อในท้ายบันทึกดังกล่าวในฐานะผู้ให้สัญญา กรณีก็อาจตีความได้เป็นสองนัยว่า ลงชื่อในฐานะเป็นผู้ทำบันทึกข้อตกลงแทนจำเลยที่ 1 หรือในฐานะเป็นคู่สัญญากับโจทก์โดยตรงก็ได้ ศาลจึงตีความในทางที่เป็นคุณแก่จำเลยที่ 2 ตามนัยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 11 จำเลยที่ 2 ไม่ต้องรับผิดร่วมกับจำเลยที่ 1 ต่อโจทก์ตามบันทึกข้อตกลงรับสภาพหนี้ดังกล่าว
จำเลยที่ 1 ทำบันทึกข้อตกลงรับสภาหนี้ให้โจทก์โดยมีมูลหนี้เกิดจากที่โจทก์ซื้อหุ้นให้จำเลยในตลาดหลักทรัพย์และได้ชำระเงินค่าหุ้นแทนจำเลยที่ 1 ไปจำเลยที่ 1 ย่อมต้องรับผิดตามบันทึกข้อตกลงรับสภาพหนี้นั้น และกรณีนี้มีอายุความ 10 ปี นับแต่วันที่จำเลยตกลงทำบันทึกข้อตกลงดังกล่าว
จำเลยที่ 2 ให้การต่อสู้คดีและเบิกความว่า จำเลยที่ 2 ตกลงกับโจทก์และสั่งให้โจทก์ซื้อหุ้นแทนจำเลยที่ 1 กับพวก และได้ลงชื่อในบันทึกข้อตกลงรับสภาพหนี้แทนจำเลยที่ 1 ปรากฏว่าข้อความในบันทึกตอนเริ่มต้นมีว่า จำเลยที่ 2 ได้ทำบันทึกข้อตกลงแทนจำเลยที่ 1 ไม่ได้ทำในนามของตนเอง ประกอบกับโจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสองให้ชำระหนี้ตามบันทึกข้อตกลงดังกล่าว ดังนั้น แม้จำเลยที่ 2 จะลงชื่อในท้ายบันทึกดังกล่าวในฐานะผู้ให้สัญญา กรณีก็อาจตีความได้เป็นสองนัยว่า ลงชื่อในฐานะเป็นผู้ทำบันทึกข้อตกลงแทนจำเลยที่ 1 หรือในฐานะเป็นคู่สัญญากับโจทก์โดยตรงก็ได้ ศาลจึงตีความในทางที่เป็นคุณแก่จำเลยที่ 2 ตามนัยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 11 จำเลยที่ 2 ไม่ต้องรับผิดร่วมกับจำเลยที่ 1 ต่อโจทก์ตามบันทึกข้อตกลงรับสภาพหนี้ดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 973/2529
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเรียกร้องค่าปรับกับการเลิกสัญญาซื้อขาย: การเลิกสัญญาก่อนหรือระหว่างการปรับมีผลต่างกัน
สัญญาซื้อขายข้อ8ระบุว่าถ้าผู้ขายไม่ส่งมอบสิ่งของที่ซื้อขายให้ถูกต้องตามสัญญาผู้ซื้อมีสิทธิยกเลิกสัญญาริบหลักประกันและเรียกราคาสิ่งของที่ผู้ซื้อต้องจ่ายเพิ่มขึ้นจากสัญญาในการซื้อจากผู้อื่นได้แต่ถ้าผู้ซื้อไม่ใช้สิทธิเลิกสัญญาสัญญาข้อ9ให้สิทธิผู้ซื้อปรับผู้ขายเป็นรายวันในอัตราที่กำหนดนับแต่วันครบกำหนดตามสัญญาจนถึงวันที่ผู้ขายได้นำสิ่งของมาส่งมอบจนถูกต้องครบถ้วนและในระหว่างที่มีการปรับนั้นผู้ซื้อจะใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาริบหลักประกันและเรียกราคาสิ่งของที่ผู้ซื้อต้องจ่ายเพิ่มขึ้นจากราคาที่กำหนดไว้ในสัญญาตามสัญญาข้อ8นอกเหนือจากการปรับจนถึงวันบอกเลิกสัญญาด้วยก็ได้เช่นนี้เมื่อผู้ขายผิดสัญญาผู้ซื้อจะต้องใช้สิทธิเรียกร้องค่าปรับจากผู้ขายเสียก่อนที่จะบอกเลิกสัญญาจึงจะมีสิทธิเรียกค่าปรับควบกับการบอกเลิกสัญญาตามสัญญาข้อ9ได้การที่ผู้ซื้อมีหนังสือแจ้งให้ยกเลิกสัญญาพร้อมกับเรียกค่าปรับจากผู้ขายนั้นถือไม่ได้ว่าเป็นการเลิกสัญญาในระหว่างที่มีการปรับตามสัญญาข้อ9แต่ถือเป็นการเลิกสัญญาตามข้อ8ซึ่งไม่ได้ระบุให้สิทธิแก่ผู้ซื้อที่จะเรียกค่าปรับจากผู้ขาย.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 800/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การตีความสัญญาและการกำหนดแบบแปลนก่อสร้าง: เจตนาของคู่สัญญาและกฎหมาย
สัญญาก่อสร้างตึกแถวระหว่างโจทก์จำเลยมิได้ระบุแบบแปลนการก่อสร้างไว้แน่นอนในตัวสัญญา แต่ได้กำหนดเงื่อนไขให้จำเลยทำการก่อสร้างตึกแถวจำนวน 12 ห้อง ภายในเวลา 2 เดือน นับแต่วันที่ได้รับอนุญาตจากเทศบาลและต้องก่อสร้างให้แล้วเสร็จภายในสองปีนับแต่วันที่เทศบาลอนุญาต ดังนี้ต้องถือว่าแบบแปลนที่จำเลยยื่นขออนุญาตต่อเทศบาลและได้รับอนุมัติแล้วคือแบบแปลนตามสัญญาที่จำเลยจะต้องทำการก่อสร้างให้ถูกต้อง
การตีความสัญญาจะต้องตีความไปตามความประสงค์ในทางสุจริตโดยพิเคราะห์ถึงปกติประเพณีด้วยประกอบกัน เมื่อปรากฏว่าข้อความในสัญญาแจ้งชัดและถูกต้องตามทางปฏิบัติอันชอบด้วยกฎหมายและระเบียบข้อบังคับของทางราชการแล้ว ก็ถือได้ว่าไม่เข้ากรณีที่มีข้อสงสัยอันจะต้องตีความให้เป็นคุณแก่ฝ่ายจำเลยผู้ที่จะต้องเป็นฝ่ายเสียหายในมูลหนี้
การตีความสัญญาจะต้องตีความไปตามความประสงค์ในทางสุจริตโดยพิเคราะห์ถึงปกติประเพณีด้วยประกอบกัน เมื่อปรากฏว่าข้อความในสัญญาแจ้งชัดและถูกต้องตามทางปฏิบัติอันชอบด้วยกฎหมายและระเบียบข้อบังคับของทางราชการแล้ว ก็ถือได้ว่าไม่เข้ากรณีที่มีข้อสงสัยอันจะต้องตีความให้เป็นคุณแก่ฝ่ายจำเลยผู้ที่จะต้องเป็นฝ่ายเสียหายในมูลหนี้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 800/2529
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การตีความสัญญา การก่อสร้างตึกแถว และการผูกพันตามแบบแปลนที่ได้รับอนุมัติ
สัญญาก่อสร้างตึกแถวระหว่างโจทก์จำเลยมิได้ระบุแบบแปลนการก่อสร้างไว้แน่นอนในตัวสัญญาแต่ได้กำหนดเงื่อนไขให้จำเลยทำการก่อสร้างตึกแถว12 ห้อง ภายในเวลา 2 เดือน นับแต่วันที่ได้รับอนุญาตจากเทศบาล และต้องก่อสร้างให้แล้วเสร็จภายใน 2 ปีนับแต่วันที่เทศบาลอนุญาต ดังนี้ ต้องถือว่า แบบแปลนที่จำเลยยื่นขออนุญาตต่อเทศบาล และได้รับอนุมัติแล้วคือแบบแปลนตามสัญญาที่จำเลย จะต้องทำการก่อสร้างให้ถูกต้อง การตีความสัญญาจะต้องตีความไปตามความประสงค์ในทางสุจริตโดยพิเคราะห์ถึงปกติประเพณีด้วยประกอบกันเมื่อปรากฏว่าข้อความในสัญญาแจ้งชัด และถูกต้องตามทางปฏิบัติอันชอบด้วยกฎหมาย และระเบียบข้อบังคับของทางราชการแล้ว ก็ถือได้ว่า ไม่เข้ากรณีที่มีข้อสงสัยอันจะต้องตีความให้เป็น คุณแก่ฝ่ายจำเลยผู้ที่จะต้องเป็นฝ่ายเสียหาย ในมูลหนี้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3489/2527 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของหัวหน้าแผนกการเงินต่อการทุจริตของลูกน้อง และความรับผิดของผู้ค้ำประกัน
จำเลยที่ 4 เป็นพนักงานของโจทก์ดำรงตำแหน่งหัวหน้าแผนกการเงินมีหน้าที่รับผิดชอบในการรับเงินและจ่ายเงินให้ถูกต้อง ตลอดจนการฝากเงิน ถอนเงินธนาคาร และรวบรวมเงินที่คงเหลือทุกวันส่งผู้ช่วยหัวหน้ากองบัญชีและการคลัง ฝ่ายการเงิน เพื่อตรวจสอบและเก็บรักษาไว้ จำเลยที่ 1 ที่ 2 เป็นพนักงานการเงินของโจทก์และเป็นผู้อยู่ใต้บังคับบัญชาจำเลยที่ 4 ได้ร่วมกันกระทำการทุจริตเงินที่ผ่านเข้ามาในแผนกการเงินตามสายงานหลายครั้งต่อเนื่องกันเป็นเวลาประมาณหนึ่งเดือน ทำให้เงินของโจทก์ขาดหายไปรวม 1,394,049.85 บาท วิธีการทุจริตส่วนใหญ่เป็นเรื่องรับเงินมาแล้วไม่ลงบัญชี ไม่ออกใบรับเงิน ทำหลักฐานว่านำเงินไปฝากธนาคารแต่ความจริงไม่ได้ฝาก พฤติการณ์ของจำเลยที่ 1 ที่ 2 เหล่านี้ถ้าหากจำเลยที่ 4 ปฏิบัติหน้าที่ให้เป็นไปตามคำสั่งของโจทก์ จำเลยที่ 1 ที่ 2 ก็ไม่อาจทุจริตได้ การที่จำเลยที่ 4 ละเลยไม่ปฏิบัติหน้าที่ตามที่ตนมีหน้าที่จะต้องปฏิบัติ จนเป็นเหตุให้เงินของโจทก์ขาดหายไปโดยการทุจริตของผู้ใต้บังคับบัญชาเช่นนี้ เป็นการปฏิบัติหน้าที่โดยประมาทเลินเล่อ จำเลยที่ 4 จึงต้องชดใช้ค่าเสียหายให้โจทก์
ตามพระราชบัญญัติการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค พ.ศ. 2503 มาตรา 29 บัญญัติให้ผู้ว่าการเป็นผู้บริหารกิจการของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคให้เป็นไปตามนโยบายที่คณะกรรมการกำหนดและมีอำนาจบังคับบัญชาพนักงานทุกตำแหน่ง มาตรา 30 บัญญัติว่า ในกิจการที่เกี่ยวกับบุคคลภายนอกให้ผู้ว่าการเป็นผู้กระทำในนามของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค และเป็นผู้กระทำการแทนของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ส่วนคณะกรรมการการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคนั้นมาตรา 23 บัญญัติให้มีอำนาจหน้าที่วางนโยบายและควบคุมดูแลกิจการของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ดังนี้ การบริหารก็คือการปกครองและดำเนินการหรือการจัดการ และการฟ้องคดีในนามของนิติบุคคลก็คือการจัดการหรือการดำเนินการนั่นเอง หาใช่การควบคุมดูแลกิจการของนิติบุคคลไม่ อำนาจฟ้องในนามของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคจึงเป็นอำนาจของผู้ว่าการไม่ใช่อำนาจของคณะกรรมการการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ผู้ว่าการของโจทก์จึงมีอำนาจมอบอำนาจให้บุคคลอื่นฟ้องคดีในนามของโจทก์ได้
เดิมโจทก์มีคำสั่งจ้างจำเลยที่ 2 เป็นลูกจ้างรายวัน ต่อมาจึงได้มีคำสั่งบรรจุและแต่งตั้งจำเลยที่ 2 เป็นพนักงานของโจทก์ จำเลยที่ 7ที่ 8 ทำสัญญาค้ำประกันจำเลยที่ 2 ต่อโจทก์เมื่อจำเลยที่ 2 เข้าทำงาน เป็นลูกจ้างรายวัน เมื่อจำเลยที่ 2 ได้รับการบรรจุและ แต่งตั้งเป็นพนักงานประจำแล้วมิได้มีการทำสัญญาค้ำประกันใหม่อีก คดีได้ความว่าลูกจ้างชั่วคราวที่ได้รับการบรรจุเป็นพนักงานจะต้อง ยื่นใบสมัครและ ทำสัญญาค้ำประกันอีก เช่นนี้ ที่จำเลยที่ 7 ที่ 8 ทำสัญญาค้ำประกันจำเลยที่ 2 ต่อโจทก์ไว้นั้น คู่สัญญามีเจตนา ให้จำเลยที่ 7 ที่ 8 ค้ำประกันจำเลยที่ 2 ในฐานะลูกจ้างรายวันเท่านั้น เมื่อจำเลยที่ 2 ได้รับการบรรจุและแต่งตั้งเป็นพนักงานประจำ ไม่ได้มีการทำสัญญาค้ำประกันใหม่อีก และจำเลยที่ 2 ทำละเมิด ต่อโจทก์ในระหว่างเป็นพนักงานประจำ โจทก์จะนำสัญญาค้ำประกัน ดังกล่าวมาเป็นข้ออ้างให้จำเลยที่ 7 ที่ 8 รับผิดต่อโจทก์ในฐานะ ผู้ค้ำประกันจำเลยที่ 2 ไม่ได้
ตามพระราชบัญญัติการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค พ.ศ. 2503 มาตรา 29 บัญญัติให้ผู้ว่าการเป็นผู้บริหารกิจการของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคให้เป็นไปตามนโยบายที่คณะกรรมการกำหนดและมีอำนาจบังคับบัญชาพนักงานทุกตำแหน่ง มาตรา 30 บัญญัติว่า ในกิจการที่เกี่ยวกับบุคคลภายนอกให้ผู้ว่าการเป็นผู้กระทำในนามของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค และเป็นผู้กระทำการแทนของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ส่วนคณะกรรมการการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคนั้นมาตรา 23 บัญญัติให้มีอำนาจหน้าที่วางนโยบายและควบคุมดูแลกิจการของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ดังนี้ การบริหารก็คือการปกครองและดำเนินการหรือการจัดการ และการฟ้องคดีในนามของนิติบุคคลก็คือการจัดการหรือการดำเนินการนั่นเอง หาใช่การควบคุมดูแลกิจการของนิติบุคคลไม่ อำนาจฟ้องในนามของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคจึงเป็นอำนาจของผู้ว่าการไม่ใช่อำนาจของคณะกรรมการการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ผู้ว่าการของโจทก์จึงมีอำนาจมอบอำนาจให้บุคคลอื่นฟ้องคดีในนามของโจทก์ได้
เดิมโจทก์มีคำสั่งจ้างจำเลยที่ 2 เป็นลูกจ้างรายวัน ต่อมาจึงได้มีคำสั่งบรรจุและแต่งตั้งจำเลยที่ 2 เป็นพนักงานของโจทก์ จำเลยที่ 7ที่ 8 ทำสัญญาค้ำประกันจำเลยที่ 2 ต่อโจทก์เมื่อจำเลยที่ 2 เข้าทำงาน เป็นลูกจ้างรายวัน เมื่อจำเลยที่ 2 ได้รับการบรรจุและ แต่งตั้งเป็นพนักงานประจำแล้วมิได้มีการทำสัญญาค้ำประกันใหม่อีก คดีได้ความว่าลูกจ้างชั่วคราวที่ได้รับการบรรจุเป็นพนักงานจะต้อง ยื่นใบสมัครและ ทำสัญญาค้ำประกันอีก เช่นนี้ ที่จำเลยที่ 7 ที่ 8 ทำสัญญาค้ำประกันจำเลยที่ 2 ต่อโจทก์ไว้นั้น คู่สัญญามีเจตนา ให้จำเลยที่ 7 ที่ 8 ค้ำประกันจำเลยที่ 2 ในฐานะลูกจ้างรายวันเท่านั้น เมื่อจำเลยที่ 2 ได้รับการบรรจุและแต่งตั้งเป็นพนักงานประจำ ไม่ได้มีการทำสัญญาค้ำประกันใหม่อีก และจำเลยที่ 2 ทำละเมิด ต่อโจทก์ในระหว่างเป็นพนักงานประจำ โจทก์จะนำสัญญาค้ำประกัน ดังกล่าวมาเป็นข้ออ้างให้จำเลยที่ 7 ที่ 8 รับผิดต่อโจทก์ในฐานะ ผู้ค้ำประกันจำเลยที่ 2 ไม่ได้