คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 11

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 268 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3489/2527

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของหัวหน้าแผนกจากการละเลยหน้าที่จนเกิดการทุจริตของผู้ใต้บังคับบัญชา และการค้ำประกัน
จำเลยที่ 4 เป็นพนักงานของโจทก์ดำรงตำแหน่งหัวหน้าแผนกการเงินมีหน้าที่รับผิดชอบในการรับเงินและจ่ายเงินให้ถูกต้อง ตลอดจนการฝากเงิน ถอนเงินธนาคาร และรวบรวมเงินที่คงเหลือทุกวันส่งผู้ช่วยหัวหน้ากองบัญชีและการคลังฝ่ายการเงิน เพื่อตรวจสอบและเก็บรักษาไว้ จำเลยที่ 1 ที่ 2 เป็นพนักงานการเงินของโจทก์และเป็นผู้อยู่ใต้บังคับบัญชาจำเลยที่ 4 ได้ร่วมกันกระทำการทุจริตเงินที่ผ่านเข้ามาในแผนกการเงินตามสายงานหลายครั้งต่อเนื่อง กันเป็นเวลาประมาณหนึ่งเดือน ทำให้เงินของโจทก์ขาดหายไปรวม 1,394,049.85 บาท วิธีการทุจริตส่วนใหญ่เป็นเรื่องรับเงินมาแล้วไม่ลงบัญชี ไม่ออกใบรับเงิน ทำหลักฐานว่านำเงินไปฝากธนาคารแต่ความจริงไม่ได้ฝาก พฤติการณ์ของจำเลยที่ 1 ที่ 2 เหล่านี้ถ้าหากจำเลยที่ 4 ปฏิบัติหน้าที่ให้เป็นไปตามคำสั่งของโจทก์ จำเลยที่ 1 ที่ 2 ก็ไม่อาจทุจริตได้ การที่จำเลยที่ 4 ละเลยไม่ปฏิบัติหน้าที่ตามที่ตนมีหน้าที่จะต้องปฏิบัติ จนเป็นเหตุให้เงินของโจทก์ขาดหายไปโดยการทุจริตของผู้ใต้บังคับบัญชาเช่นนี้เป็นการปฏิบัติหน้าที่โดยประมาทเลินเล่อ จำเลยที่ 4 จึงต้องชดใช้ค่าเสียหายให้โจทก์ ตามพระราชบัญญัติการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค พ.ศ. 2503 มาตรา 29บัญญัติให้ผู้ว่าการเป็นผู้บริหารกิจการของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคให้เป็นไปตามนโยบายที่คณะกรรมการกำหนดและมีอำนาจบังคับบัญชาพนักงานทุกตำแหน่ง มาตรา 30 บัญญัติว่า ในกิจการที่เกี่ยวกับบุคคลภายนอกให้ผู้ว่าการเป็นผู้กระทำในนามของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคและเป็นผู้กระทำการแทนของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ส่วนคณะกรรมการการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคนั้นมาตรา 23 บัญญัติให้มีอำนาจหน้าที่วางนโยบายและควบคุมดูแลกิจการของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ดังนี้ การบริหารก็คือการปกครองและดำเนินการหรือการจัดการ และการฟ้องคดีในนามของนิติบุคคลก็คือการจัดการหรือการดำเนินการนั่นเอง หาใช่การควบคุมดูแลกิจการของนิติบุคคลไม่ อำนาจฟ้องในนามของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคจึงเป็นอำนาจของผู้ว่าการไม่ใช่อำนาจของคณะกรรมการการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ผู้ว่าการของโจทก์จึงมีอำนาจมอบอำนาจให้บุคคลอื่นฟ้องคดีในนามของโจทก์ได้ เดิมโจทก์มีคำสั่งจ้างจำเลยที่ 2 เป็นลูกจ้างรายวัน ต่อมาจึงได้มีคำสั่งบรรจุและแต่งตั้งจำเลยที่ 2 เป็นพนักงานของโจทก์ จำเลยที่ 7 ที่ 8 ทำสัญญาค้ำประกันจำเลยที่ 2 ต่อโจทก์เมื่อจำเลยที่ 2 เข้าทำงาน เป็นลูกจ้างรายวัน เมื่อจำเลยที่ 2 ได้รับการบรรจุและ แต่งตั้งเป็นพนักงานประจำแล้วมิได้มีการทำสัญญาค้ำประกันใหม่อีก คดีได้ความว่าลูกจ้างชั่วคราวที่ได้รับการบรรจุเป็นพนักงานจะต้อง ยื่นใบสมัครและ ทำสัญญาค้ำประกันอีก เช่นนี้ ที่จำเลยที่ 7 ที่ 8 ทำสัญญาค้ำประกันจำเลยที่ 2 ต่อโจทก์ไว้นั้น คู่สัญญามีเจตนา ให้จำเลยที่ 7 ที่ 8 ค้ำประกันจำเลยที่ 2 ในฐานะลูกจ้างรายวันเท่านั้น เมื่อจำเลยที่ 2 ได้รับการบรรจุและแต่งตั้งเป็นพนักงานประจำ ไม่ได้มีการทำสัญญาค้ำประกันใหม่อีก และจำเลยที่ 2 ทำละเมิด ต่อโจทก์ในระหว่างเป็นพนักงานประจำ โจทก์จะนำสัญญาค้ำประกัน ดังกล่าวมาเป็นข้ออ้างให้จำเลยที่ 7 ที่ 8 รับผิดต่อโจทก์ในฐานะ ผู้ค้ำประกันจำเลยที่ 2 ไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3397/2527

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตการจำนอง: การตีความสัญญาประกันหนี้ที่ยังมิได้เกิดขึ้น โดยคำนึงถึงเจตนาของคู่สัญญาและหลักประมวลกฎหมายแพ่งฯ
ขณะจำเลยที่ 4 ที่ 5 ทำสัญญาจำนองที่ดินและสัญญาต่อท้ายสัญญาจำนองที่ดินกับโจทก์เพื่อประกันหนี้ของจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 1 เป็นลูกหนี้โจทก์เฉพาะหนี้ตาม สัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีเท่านั้น ส่วนหนี้ตามสัญญาขายลดเช็ค ยังไม่เกิดขึ้น เพราะจำเลยที่ 1 เพิ่งทำสัญญาขายลดเช็ค กับโจทก์ในภายหลัง อีกทั้งข้อความตามสัญญาต่อท้าย สัญญาจำนองที่ดินเป็นประกันมีข้อความว่า ประกันเงินที่ เบิกไปจากผู้รับจำนองเกินกว่ายอดเงินในบัญชีหรือเงินที่ เป็นหนี้อยู่ในเวลานี้หรือเป็นต่อไปในภายหน้า ย่อมมี ความหมายถึงหนี้ตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีโดยตรงหาใช่หนี้ตามสัญญาขายลดเช็คหรือหนี้อื่นที่ยังมิได้ เกิดขึ้นแต่อย่างใดไม่ และตามหนังสือสัญญาจำนองก็ ระบุถึงหนี้ที่รับจำนองอยู่ในเวลานี้หรือเวลาใดต่อไป ภายหน้า ก็หมายถึงกำหนดเวลา มิได้หมายถึงลักษณะของหนี้ ไม่มีข้อความที่ระบุให้ค้ำประกันหนี้ตามสัญญาขายลดเช็คหรือ หนี้อย่างอื่นคนละประเภทกันที่จะเกิดมีขึ้นภายหน้า การตีความถึงเจตนาของคู่สัญญาในกรณีที่มีข้อสงสัยเช่นนี้ ท่านให้ตีความไปในทางที่เป็นคุณแก่คู่กรณีฝ่ายซึ่งจะต้อง เสียในมูลหนี้นั้น ดังที่บัญญัติไว้ใน ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 11 การที่ตีความถึงเจตนา ให้เป็นโทษแก่จำเลยที่ 4 ที่ 5 ซึ่งจะเป็นผู้ต้องเสีย ในมูลหนี้จึงขัดต่อบทกฎหมายดังกล่าว ดังนั้นต้องฟัง ว่าสัญญาจำนองที่ดินและสัญญาต่อ ท้ายสัญญาจำนองที่ดินไม่ได้ ประกันถึงหนี้ที่เกิดจากสัญญาขายลดเช็คซึ่งจำเลยที่ 1 ทำกับโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3397/2527 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตสัญญาจำนอง: การคุ้มครองหนี้ที่เกิดขึ้นภายหลัง และหลักการตีความสัญญาที่เป็นคุณแก่ผู้เสีย
ขณะจำเลยที่ 4 ที่ 5 ทำสัญญาจำนองที่ดินและสัญญาต่อท้ายสัญญาจำนองที่ดินกับโจทก์เพื่อประกันหนี้ของจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 1 เป็นลูกหนี้โจทก์เฉพาะหนี้ตาม สัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีเท่านั้น ส่วนหนี้ตามสัญญาขายลดเช็คยังไม่เกิดขึ้น เพราะจำเลยที่ 1เพิ่งทำสัญญาขายลดเช็คกับโจทก์ในภายหลัง อีกทั้งข้อความตามสัญญาต่อท้าย สัญญาจำนองที่ดินเป็นประกันมีข้อความว่าประกันเงินที่เบิกไปจากผู้รับจำนองเกินกว่ายอดเงินในบัญชีหรือเงินที่ เป็นหนี้อยู่ในเวลานี้หรือเป็นต่อไปในภายหน้า ย่อมมี ความหมายถึงหนี้ตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีโดยตรง หาใช่หนี้ตามสัญญาขายลดเช็คหรือหนี้อื่นที่ยังมิได้ เกิดขึ้นแต่อย่างใดไม่ และตามหนังสือสัญญาจำนองก็ระบุถึงหนี้ที่รับจำนองอยู่ในเวลานี้หรือเวลาใดต่อไป ภายหน้า ก็หมายถึงกำหนดเวลา มิได้หมายถึงลักษณะของหนี้ ไม่มีข้อความที่ระบุให้ค้ำประกันหนี้ตามสัญญาขายลดเช็คหรือ หนี้อย่างอื่นคนละประเภทกันที่จะเกิดมีขึ้นภายหน้า การตีความถึงเจตนาของคู่สัญญาในกรณีที่มีข้อสงสัยเช่นนี้ ท่านให้ตีความไปในทางที่เป็นคุณแก่คู่กรณีฝ่ายซึ่งจะต้องเสียในมูลหนี้นั้น ดังที่บัญญัติไว้ใน ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 11 การที่ตีความถึงเจตนา ให้เป็นโทษแก่จำเลยที่ 4 ที่ 5 ซึ่งจะเป็นผู้ต้องเสียในมูลหนี้จึงขัดต่อบทกฎหมายดังกล่าว ดังนั้นต้องฟัง ว่าสัญญาจำนองที่ดินและสัญญาต่อท้ายสัญญาจำนองที่ดินไม่ได้ ประกันถึงหนี้ที่เกิดจากสัญญาขายลดเช็คซึ่งจำเลยที่ 1 ทำกับโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2505/2527 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ บันทึกข้อตกลงซื้อขายที่ดินไม่สมบูรณ์ เพราะจำเลยไม่ได้สมัครใจทำสัญญา และไม่มีเจตนาผูกพัน
ก่อนวันทำบันทึกเอกสารหมาย ล. 3 แม้ฝ่ายโจทก์จะต้องการให้ จำเลยทำสัญญาจะซื้อจะขายที่พิพาทให้โจทก์ แต่จำเลยก็มิได้สมัครใจที่จะทำสัญญาจะซื้อจะขายที่พิพาทขึ้นให้เป็นการผูกพันระหว่างโจทก์จำเลย ส่วนบันทึกหมายล.3 รวม 7 แผ่น ศ. ปลัดอำเภอทำขึ้นระหว่างจำเลยซึ่งเป็นเจ้าของนากับ ล. และพวกซึ่งเป็นผู้เช่านาและผู้ปลูกบ้านอาศัยอยู่ในที่พิพาท ในแผ่นที่ 1 และที่ 2 ระบุข้อความว่าเป็นเรื่องแจ้งการขายที่ดินโดยจำเลยซึ่งเป็นเจ้าของที่นาจะทำการขายให้โจทก์หรือนิติบุคคลอื่นใดที่โจทก์เป็นกรรมการหรือผู้ถือหุ้น แต่ที่ดินแปลงนี้จำเลยได้ให้ผู้มีชื่อรวม 11 รายเช่าและปลูกบ้านอยู่อาศัย จำเลยมีความ ประสงค์จะขายที่นาแปลงดังกล่าวในราคา 2,688,000 บาท โดยชำระเงินงวดเดียวในวันโอนกรรมสิทธิ์ในที่ดิน จึงขอเสนอขายให้ผู้เช่ามาก่อน จำเลยกับผู้เช่านารวม 8 รายได้ลงชื่อไว้ในบันทึกแผ่นที่ 2 นี้ ส่วนโจทก์มิได้ลงชื่อไว้ แผ่นที่ 3 ถึงที่ 5 เป็นบันทึกเกี่ยวกับความยินยอมของผู้เช่านาที่ยินยอมให้จำเลยขายที่พิพาทให้โจทก์และผู้เช่านาทั้งหมดขอเลิกการเช่านาโดยมีเงื่อนไขว่าผู้เช่าขอที่นาจากโจทก์ผู้ซื้อคนละ 1 ไร่ ผู้เช่าและผู้ปลูกบ้านขอค่ารื้อถอนและผู้เช่านาทั้งหมดไม่มีความต้องการจะซื้อที่นาแปลงดังกล่าว โดยมีผู้เช่านาทั้งหมดลงชื่อไว้ฝ่ายเดียวในแผ่นที่ 4 และแผ่นที่ 5 ส่วนโจทก์และจำเลยมิได้ลงชื่อไว้ สำหรับแผ่นที่ 6 เป็นบันทึกเปรียบเทียบของนายอำเภอว่าผู้เช่านาและผู้อาศัยยินดีเลิกการเช่าและรื้อถอนบ้านออกไปจากที่ดินยอมให้เจ้าของนาขายที่นาให้โจทก์และโจทก์ยินดียกที่นาให้ผู้เช่านารายละ 1 ไร่ และยินยอมให้ค่ารื้อบ้านแก่ผู้เช่านาและผู้อาศัยปลูกบ้าน โดยผู้เช่านาและผู้อาศัยรวม 11 ราย จำเลยในฐานะผู้ให้เช่านา โจทก์ในฐานะผู้จะซื้อกับนายอำเภอผู้เปรียบเทียบลงชื่อไว้ในแผ่นที่ 7 ดังนี้ บันทึกหมาย ล. 3 ที่จำเลยเข้าไปเกี่ยวข้องลงชื่อไว้ เป็นเพียงการกระทำของจำเลยในฐานะผู้ให้เช่านาเสนอขายที่นาให้แก่ผู้เช่านาก่อน ตามที่กฎหมายบังคับไว้ มิได้มีใจสมัครที่จะมุ่งหมายให้ข้อความในบันทึกดังกล่าวเป็นสัญญาจะซื้อจะขายที่พิพาทระหว่างโจทก์จำเลย บันทึกหมาย ล. 3 จึงมิใช่สัญญาจะซื้อจะขายที่พิพาท

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2505/2527

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจะซื้อจะขายต้องมีเจตนาผูกพัน สัญญาที่ไม่ชัดเจนไม่ถือเป็นสัญญาจะซื้อจะขายที่สมบูรณ์
ก่อนวันทำบันทึกเอกสารหมาย ล.3 แม้ฝ่ายโจทก์จะต้องการให้ จำเลยทำสัญญาจะซื้อจะขายที่พิพาทให้โจทก์ แต่จำเลยก็มิได้สมัครใจที่จะทำสัญญาจะซื้อจะขายที่พิพาทขึ้นให้เป็นการผูกพันระหว่างโจทก์จำเลย ส่วนบันทึกหมายล.3 รวม 7 แผ่น ศ. ปลัดอำเภอทำขึ้นระหว่างจำเลยซึ่งเป็นเจ้าของนากับล.และพวกซึ่งเป็นผู้เช่านาและผู้ปลูกบ้านอาศัยอยู่ในที่พิพาท ในแผ่นที่ 1 และที่ 2 ระบุข้อความว่าเป็น เรื่องแจ้งการขายที่ดินโดยจำเลยซึ่งเป็นเจ้าของที่นาจะทำการขายให้โจทก์หรือนิติบุคคลอื่นใดที่โจทก์เป็นกรรมการหรือผู้ถือหุ้น แต่ที่ดินแปลงนี้จำเลยได้ให้ผู้มีชื่อรวม 11 รายเช่าและปลูกบ้านอยู่อาศัย จำเลยมีความประสงค์จะขายที่นาแปลงดังกล่าวในราคา 2,688,000 บาทโดยชำระเงินงวดเดียวในวันโอนกรรมสิทธิ์ในที่ดิน จึงขอเสนอขาย ให้ผู้เช่ามาก่อน จำเลยกับผู้เช่านารวม 8 รายได้ลงชื่อไว้ในบันทึกแผ่นที่ 2 นี้ ส่วนโจทก์มิได้ลงชื่อไว้ แผ่นที่ 3 ถึงที่ 5 เป็นบันทึกเกี่ยวกับ ความยินยอมของผู้เช่านาที่ยินยอมให้จำเลยขายที่พิพาทให้โจทก์ และผู้เช่านาทั้งหมดขอเลิกการเช่านาโดยมีเงื่อนไขว่าผู้เช่าขอที่นาจากโจทก์ผู้ซื้อคนละ 1 ไร่ ผู้เช่าและผู้ปลูกบ้านขอค่ารื้อถอน และผู้เช่านาทั้งหมดไม่มีความต้องการจะซื้อที่นาแปลงดังกล่าว โดยมีผู้เช่านาทั้งหมดลงชื่อไว้ฝ่ายเดียวในแผ่นที่ 4 และแผ่นที่ 5 ส่วนโจทก์และจำเลยมิได้ลงชื่อไว้ สำหรับแผ่นที่ 6 เป็นบันทึกเปรียบเทียบของนายอำเภอว่าผู้เช่านาและผู้อาศัยยินดีเลิกการเช่าและรื้อถอนบ้านออกไปจากที่ดินยอมให้เจ้าของนาขายที่นาให้โจทก์ และโจทก์ยินดียกที่นาให้ผู้เช่านารายละ 1 ไร่ และยินยอมให้ค่ารื้อบ้านแก่ผู้เช่านาและผู้อาศัยปลูกบ้าน โดยผู้เช่านาและผู้อาศัยรวม 11 ราย จำเลยในฐานะผู้ให้เช่านา โจทก์ในฐานะผู้จะซื้อกับนายอำเภอผู้เปรียบเทียบลงชื่อไว้ในแผ่นที่ 7 ดังนี้ บันทึกหมาย ล.3ที่จำเลยเข้าไปเกี่ยวข้องลงชื่อไว้เป็นเพียงการกระทำของจำเลยในฐานะผู้ให้เช่านาเสนอขายที่นาให้แก่ผู้เช่านาก่อน ตามที่กฎหมายบังคับไว้ มิได้มีใจสมัครที่จะมุ่งหมายให้ข้อความในบันทึกดังกล่าวเป็นสัญญาจะซื้อจะขายที่พิพาทระหว่างโจทก์จำเลย บันทึกหมาย ล.3 จึงมิใช่สัญญาจะซื้อจะขายที่พิพาท

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 942/2527 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิยึดถือโฉนดที่ดินเป็นประกันหนี้เบิกเงินเกินบัญชี แม้เสนอชำระหนี้ไม่ครบถ้วน
สัญญาเบิกเงินเกินบัญชีที่โจทก์จำเลยทำไว้ต่อกัน มีข้อความที่เกี่ยวกับหลักประกันว่าให้โจทก์จำนองที่ดินโฉนดรายพิพาทพร้อมสิ่งปลูกสร้างเป็นประกัน และให้จำเลยยึดถือโฉนดดังกล่าวไว้เป็นหลักประกันจนกว่าจะได้รับชำระหนี้แล้วโดยสิ้นเชิง เมื่อโจทก์ยังเป็นหนี้จำเลยมากกว่าที่โจทก์จะชำระให้แก่จำเลย จำเลยย่อมมีสิทธิที่จะปฏิเสธไม่รับชำระหนี้และยึดถือโฉนดไว้จนกว่าจะได้รับชำระหนี้เสร็จสิ้นได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 942/2527

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิยึดหน่วงโฉนดที่ดินเป็นประกันหนี้ตามสัญญาเบิกเงินเกินบัญชี แม้เสนอชำระหนี้ไม่ครบ
สัญญาเบิกเงินเกินบัญชีที่โจทก์จำเลยทำไว้ต่อกัน มีข้อความที่เกี่ยวกับหลักประกันว่าให้โจทก์จำนองที่ดินโฉนดรายพิพาทพร้อมสิ่งปลูกสร้างเป็นประกันและให้จำเลยยึดถือโฉนดดังกล่าวไว้เป็นหลักประกันจนกว่าจะได้รับชำระหนี้แล้วโดยสิ้นเชิงเมื่อโจทก์ยังเป็นหนี้จำเลยมากกว่าที่โจทก์จะชำระให้แก่จำเลยจำเลยย่อมมีสิทธิที่จะปฏิเสธไม่รับชำระหนี้และยึดถือโฉนดไว้จนกว่าจะได้รับชำระหนี้เสร็จสิ้นได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3493/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของผู้ค้ำประกันเมื่อลูกหนี้ผิดนัด และการคิดดอกเบี้ยทบต้นหลังบอกเลิกสัญญา
โจทก์ได้บอกกล่าวทวงถามให้ลูกหนี้ชำระหนี้จนลูกหนี้ตกเป็นผู้ผิดนัดแล้ว ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 686 ลูกหนี้ผิดนัดลงเมื่อใด เจ้าหนี้ชอบที่จะเรียกให้ผู้ค้ำประกันชำระหนี้ได้แต่นั้น ดังนั้นแม้ผู้ค้ำประกันจะมิได้รับหนังสือทวงถาม ผู้ค้ำประกันก็หาหลุดพ้นจากความรับผิดไม่ และโจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องผู้ค้ำประกัน
โจทก์มีหนังสือบอกเลิกสัญญาบัญชีเดินสะพัดระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 นับแต่วันที่จำเลยที่ 1 ได้รับหนังสือบอกเลิกแต่ไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 1 ได้รับหนังสือดังกล่าวเมื่อใดโจทก์จึงมีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นได้เพียงแค่วันที่ลงในหนังสือนั้น ต่อจากนั้นไปคงคิดได้แต่ดอกเบี้ยธรรมดา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3493/2525

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของผู้ค้ำประกันเมื่อลูกหนี้ผิดนัด และการคิดดอกเบี้ยทบต้นหลังบอกเลิกสัญญา
โจทก์ได้บอกกล่าวทวงถามให้ลูกหนี้ชำระหนี้จนลูกหนี้ตกเป็นผู้ผิดนัดแล้ว ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 686ลูกหนี้ผิดนัดลงเมื่อใด เจ้าหนี้ชอบที่จะเรียกให้ผู้ค้ำประกันชำระหนี้ได้แต่นั้น ดังนั้นแม้ผู้ค้ำประกันจะมิได้รับหนังสือทวงถาม ผู้ค้ำประกันก็หาหลุดพ้นจากความรับผิดไม่ และโจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องผู้ค้ำประกัน
โจทก์มีหนังสือบอกเลิกสัญญาบัญชีเดินสะพัดระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 นับแต่วันที่จำเลยที่ 1 ได้รับหนังสือบอกเลิกแต่ไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 1 ได้รับหนังสือดังกล่าวเมื่อใดโจทก์จึงมีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นได้เพียงแค่วันที่ลงในหนังสือนั้น ต่อจากนั้นไปคงคิดได้แต่ดอกเบี้ยธรรมดา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2343/2521

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจตนาแท้จริงในสัญญาสัญญาประนีประนอมและการตีความตามประมวลกฎหมายแพ่งฯ มาตรา 132
จำเลยถูกโจทก์ฟ้องคดีอาญาในข้อหาว่ายักยอกเงินโจทก์ไป214,878 บาท 8 สตางค์ ระหว่างพิจารณาคดีอาญาโจทก์จำเลยทำสัญญาประนีประนอมยอมความกัน ตามสัญญาข้อ 1 จำเลยยอมรับผิดใช้เงินจำนวน 50,000 บาท เพื่อเป็นการชดเชยยอดเงินที่ขาดบัญชี จ่ายซ้ำสองครั้ง ส่วนตามสัญญาข้อ 2 ยอดเงินที่ใช้จ่ายไปโดยไม่มีใบสำคัญจำนวน 130,045 บาท 75 สตางค์ โจทก์ยอมให้จำเลยไปจัดหาใบสำคัญมาหักล้าง หรือหลักฐานอื่นอันแสดงว่าได้ใช้จ่ายไปมาแสดงให้เป็นที่พอใจคณะกรรมการบริษัทโจทก์ภายใน 120 วัน และข้อ 3 ฝ่ายโจทก์ไม่ติดใจที่จะดำเนินคดีกับจำเลยต่อไปอีก ดังนี้เมื่อจำเลยไม่จัดหาใบสำคัญมาหักล้างหรือหลักฐานอื่นอันแสดงว่าได้ใช้จ่ายไปมาแสดงภายใน 120 วัน ปัญหาว่าจำเลยต้องรับผิดชำระเงินที่ใช้จ่ายไปจำนวน 130,045 บาท 75 สตางค์ ให้แก่โจทก์ตามสัญญาข้อ 2 หรือไม่ เป็นเรื่องการตีความแสดงเจตนาซึ่งต้องเพ่งเล็งถึงเจตนาอันแท้จริงยิ่งกว่าถ้อยคำสำนวนตามตัวอักษร ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 132 และความประสงค์หรือเจตนาของคู่สัญญาต้องแปลจากสัญญาทั้งฉบับไม่ใช่ยกเอาเฉพาะตอนใดตอนหนึ่งหรือสัญญาข้อใดข้อหนึ่งขึ้นมาแปล สัญญาประนีประนอมดังกล่าวแม้จะไม่มีข้อความว่าถ้าจำเลยหามาไม่ได้ภายในกำหนดจำเลยจะต้องชดใช้เงินให้โจทก์ แต่ก็เห็นเจตนาของโจทก์จำเลยได้ว่าต้องการระงับคดีอาญาโดยจำเลยต้องใช้เงินในสัญญาข้อ 1 ให้โจทก์ ส่วนตามข้อ 2 นั้น ยังมีปัญหาว่าจำเลยได้ใช้จ่ายไปจริงหรือไม่ โจทก์จึงให้โอกาสจำเลยไปหาใบสำคัญมาแสดงอันเป็นการแสดงเจตนาแก่จำเลยว่า ถ้าจำเลยหาใบสำคัญหรือหลักฐานการใช้เงินมาแสดงได้ โจทก์ยอมหักเงินให้จำเลย ถ้าจำเลยหามาไม่ได้ก็ต้องรับผิดในเงินยอดนั้นเมื่อจำเลยหามาไม่ได้ภายใน 120 วัน ตามสัญญาข้อ 2 ก็ต้องถือว่าจำเลยยอมรับผิด และไม่เข้ากรณีที่มีข้อสงสัยอันให้ตีความไปในทางที่เป็นคุณแก่คู่กรณีฝ่ายซึ่งจะต้องเป็นผู้เสียในมูลหนี้นั้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 11(ประชุมใหญ่ครั้งที่19/2521)
of 27