คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 11

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 268 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1477/2521

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การตีความสัญญาเช่าที่ไม่ชัดเจน ศาลใช้หลักกฎหมายคุ้มครองผู้เช่าโดยตีความตามที่ผู้เช่าได้ประโยชน์
เอกสารที่ตีความได้ 2 นัย คือผู้เช่าต่อสัญญาได้ครั้งเดียวหรือหลายครั้ง ศาลตีความเป็นคุณแก่ผู้เช่าว่าต่อได้มิใช่ครั้งเดียว แต่ต่อได้อีก 1 ครั้ง มิใช่ต่อได้ตลอดไปคราวละ 3 ปี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2349/2519 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประนีประนอมยอมความ: สิทธิเรียกร้องดอกเบี้ยจำนอง - ไม่มีข้อตกลงให้จำเลยรับผิด
โจทก์จำเลยทำสัญญาประนีประนอมยอมความว่า จำเลยตกลงเช่าซื้อทรัพย์สินของโจทก์ที่โจทก์จำนองไว้ต่อธนาคาร ถ้าจำเลยผิดสัญญาไม่ชำระเงินให้โจทก์ โจทก์มีสิทธิ์เรียกร้องค่าเสียหายที่เกิดขึ้นจากการผิดสัญญาได้ ดังนี้ เมื่อสัญญาประนีประนอมยอมความที่มีกล่าวถึงเรื่องไถ่ถอนจำนอง ก็ไม่มีข้อตกลงให้จำเลยรับผิดในเรื่องดอกเบี้ยของหนี้จำนองแต่อย่างใด โจทก์จึงไม่มีสิทธิ์เรียกร้องให้จำเลยรับผิดชำระดอกเบี้ยหนี้จำนองทรัพย์สินที่จำเลยเช่าซื้อจากโจทก์และโจทก์ต้องเสียให้ธนาคารในระหว่างจำเลยผิดสัญญาประนีประนอมยอมความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2349/2519

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประนีประนอมยอมความ: การเรียกร้องดอกเบี้ยจำนองเมื่อไม่มีข้อตกลงชัดเจน
โจทก์จำเลยทำสัญญาประนีประนอมยอมความว่า จำเลยตกลงเช่าซื้อทรัพย์สินของโจทก์ที่โจทก์จำนองไว้ต่อธนาคาร ถ้าจำเลยผิดสัญญาไม่ชำระเงินให้โจทก์ โจทก์มีสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายที่เกิดขึ้นจากการผิดสัญญาได้ ดังนี้ เมื่อสัญญาประนีประนอมยอมความที่มีกล่าวถึงเรื่องไถ่ถอนจำนองก็ไม่มีข้อตกลงให้จำเลยรับผิดในเรื่องดอกเบี้ยของหนี้จำนองแต่อย่างใด โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยรับผิดชำระดอกเบี้ยหนี้จำนองทรัพย์สินที่จำเลยเช่าซื้อจากโจทก์ และโจทก์ต้องเสียให้ธนาคารในระหว่างจำเลยผิดสัญญาประนีประนอมยอมความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2614/2517 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบอกเลิกสัญญาเช่า: การตีความสัญญา การสร้างอาคารไม่ครบตามสัญญา และสิทธิของผู้เช่า
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยค้างชำระค่าเช่า 17 เดือน จำเลยให้การว่าจำเลยชำระตลอดมา คงไม่ชำระเพียง 6 เดือนเพราะโจทก์ไม่ยอมรับดังนี้ การที่จำเลยนำสืบว่าโจทก์ยืมเงินจำเลย และยอมให้หักเงินยืมนั้นกับค่าเช่าที่ยังไม่ได้ชำระ 11 เดือน จำเลยจึงยังไม่ได้ชำระค่าเช่าอีกเพียง 6 เดือน ดังนี้ เป็นการนำสืบเพื่อแสดงว่าจำเลยชำระค่าเช่าให้โจทก์แล้ว คงยังไม่ได้ชำระอีก 6 เดือนตามคำให้การของจำเลย มิใช่เป็นการนำสืบนอกประเด็น
ตามสัญญาเช่าที่ดินกำหนดว่า "หากอายุการเช่าครบ 3 ปีแล้ว ผู้เช่ายังไม่ทำการถมดินและก่อสร้างอาคารร้านค้าอย่างน้อย10 ห้อง และครบ 7 ปี ตั้งแต่วันทำสัญญาต้องสร้างให้เสร็จครบ อย่างน้อย 20 ห้อง ผู้เช่ายอมให้ผู้ให้เช่าบอกเลิกสัญญาได้ทันที"ดังนี้ กรณีมีข้อสงสัยว่าเมื่อครบ 3 ปีแล้ว ผู้เช่าถมดินและก่อสร้างร้านค้าเกินกว่า 10 ห้อง แต่ก่อสร้างเสร็จน้อยกว่า 10 ห้อง ผู้ให้เช่าจะบอกเลิกสัญญาเช่าได้หรือไม่ จึงต้องตีความไปในทางที่เป็นคุณแก่ผู้เช่าซึ่งเป็นคู่กรณีฝ่ายซึ่งจะต้องเสียในมูลหนี้นั้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 11 ว่าจะบอกเลิกสัญญายังไม่ได้จนกว่าจะล่วงพ้น 7 ปีนับตั้งแต่วันทำสัญญาเช่า

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2614/2517

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่าที่ดิน: การบอกเลิกสัญญาเมื่อผู้เช่ายังไม่สร้างอาคารให้เสร็จตามกำหนด และการตีความสัญญาที่เป็นคุณแก่ผู้เสียเปรียบ
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยค้างชำระค่าเช่า 17 เดือน จำเลยให้การว่าจำเลยชำระตลอดมา คงไม่ชำระเพียง 6 เดือนเพราะโจทก์ไม่ยอมรับดังนี้ การที่จำเลยนำสืบว่าโจทก์ยืมเงินจำเลย และยอมให้หักเงินยืมนั้นกับค่าเช่าที่ยังไม่ได้ชำระ 11 เดือน จำเลยจึงยังไม่ได้ชำระค่าเช่าอีกเพียง 6 เดือน ดังนี้ เป็นการนำสืบเพื่อแสดงว่า จำเลยชำระค่าเช่าให้โจทก์แล้ว คงยังไม่ได้ชำระอีก 6 เดือนตามคำให้การของจำเลย มิใช่เป็นการนำสืบนอกประเด็น
ตามสัญญาเช่าที่ดินกำหนดว่า 'หากอายุการเช่าครบ 3 ปีแล้ว ผู้เช่ายังไม่ทำการถมดินและก่อสร้างอาคารร้านค้า อย่างน้อย10 ห้อง และครบ 7 ปีตั้งแต่วันทำสัญญาต้องสร้างให้เสร็จครบอย่างน้อย 20 ห้อง ผู้เช่ายอมให้ผู้ให้เช่าบอกเลิกสัญญาได้ทันที' ดังนี้ กรณีมีข้อสงสัยว่าเมื่อครบ 3 ปีแล้ว ผู้เช่าถมดินและก่อสร้างร้านค้าเกินกว่า 10 ห้อง แต่ก่อสร้างเสร็จน้อยกว่า 10 ห้อง ผู้ให้เช่าจะบอกเลิกสัญญาเช่าได้หรือไม่ จึงต้องตีความไปในทางที่เป็นคุณแก่ผู้เช่าซึ่งเป็นคู่กรณีฝ่ายซึ่งจะต้องเสียในมูลหนี้นั้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 11 ว่าจะบอกเลิกสัญญายังไม่ได้จนกว่าจะล่วงพ้น 7 ปีนับตั้งแต่วันทำสัญญาเช่า

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2643/2515 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตคำว่า 'ผลิตภัณฑ์อาหาร' ในประมวลรัษฎากร: อาหารสัตว์รวมด้วยหรือไม่
คำว่า 'ผลิตภัณฑ์อาหาร' ตามบัญชีที่ 1 หมวด 1 (4)ท้ายพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการลดอัตรารัษฎากร (ฉบับที่ 21) พ.ศ. 2509 ไม่มีบทนิยามให้มีความหมายโดยเฉพาะ ย่อมค้นหาความหมายได้โดยเปรียบเทียบจากบทบัญญัติที่ใกล้เคียงอย่างยิ่งคือจากบทมาตราอื่นๆ ของประมวลรัษฎากร
คำว่า 'อาหาร' ในบทบัญญัติแห่งประมวลรัษฎากร ถ้าใช้เป็นคำกลางๆ หมายถึงอาหารสำหรับคนเท่านั้น หามีความหมายถึงอาหารสัตว์ด้วยไม่ คำว่า 'ผลิตภัณฑ์อาหาร' จึงหมายถึง อาหารคนแต่อย่างเดียว ถ้ากฎหมายประสงค์จะให้หมายถึงอาหารอย่างอื่น ก็จำเป็นจะต้องบัญญัติไว้ให้ชัดเป็นแห่ง ๆ ไป ฉะนั้น อาหารสัตว์จึงไม่อยู่ในความหมายของคำว่า 'ผลิตภัณฑ์อาหาร'

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2643/2515

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำว่า 'ผลิตภัณฑ์อาหาร' ตามกฎหมายภาษีอากร ไม่รวมถึงอาหารสัตว์
คำว่า 'ผลิตภัณฑ์อาหาร' ตามบัญชีที่ 1 หมวด 1(4)ท้ายพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการลดอัตรารัษฎากร (ฉบับที่ 21) พ.ศ. 2509 ไม่มีบทนิยามให้มีความหมายโดยเฉพาะ ย่อมค้นหาความหมายได้โดยเปรียบเทียบจากบทบัญญัติที่ใกล้เคียงอย่างยิ่งคือจากบทมาตราอื่นๆ ของประมวลรัษฎากร
คำว่า 'อาหาร' ในบทบัญญัติแห่งประมวลรัษฎากร ถ้าใช้เป็นคำกลางๆ หมายถึงอาหารสำหรับคนเท่านั้น หามีความหมายถึงอาหารสัตว์ด้วยไม่ คำว่า 'ผลิตภัณฑ์อาหาร' จึงหมายถึง อาหารคนแต่อย่างเดียว ถ้ากฎหมายประสงค์จะให้หมายถึงอาหารอย่างอื่น ก็จำเป็นจะต้องบัญญัติไว้ให้ชัดเป็นแห่ง ๆ ไปฉะนั้น อาหารสัตว์จึงไม่อยู่ในความหมายของคำว่า 'ผลิตภัณฑ์อาหาร'

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1077-1079/2515

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การดัดแปลงทรัพย์สินที่เช่า: การกั้นห้องที่ไม่ทำให้เกิดความเสียหายและการอนุญาตดัดแปลงบันไดด้วยวาจา
ข้อเท็จจริงปรากฏว่าจำเลยผู้เช่าได้กั้นห้องด้วยไม้อัดไม่แน่นหนา รื้อออกได้ง่ายและไม่ทำให้เกิดความเสียหายหรือเปลี่ยนแปลงรูปทรงอาคารเดิมของโจทก์ จึงไม่ถือว่าเป็นการดัดแปลงหรือต่อเติมแก่ทรัพย์ที่เช่า
ส่วนการดัดแปลงบันไดนั้น ปรากฏว่าโจทก์ได้อนุญาตด้วยวาจาให้จำเลยดัดแปลงได้ การที่ระบุไว้ในสัญญาว่าจำเลยจะไม่ดัดแปลงหรือต่อเติมอย่างใดแก่ทรัพย์ที่เช่าโดยไม่ได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรนั้น ก็เพื่อความสะดวกแก่การพิสูจน์โดยมีหลักฐานแน่นอนและชัดแจ้งเมื่อมีปัญหาเกิดขึ้นเท่านั้นไม่ใช่ว่าโจทก์จะไม่อาจให้คำอนุญาตด้วยวาจาได้เลยประการหนึ่งและอีกประการหนึ่งเมื่อโจทก์ได้อนุญาตด้วยวาจาแล้วเช่นนี้ ย่อมถือได้ว่าโจทก์ได้สละข้อห้ามในสัญญานั้นแล้ว โจทก์จึงบอกเลิกสัญญาเช่าไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2033/2514 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การชำระเงินล่วงหน้า vs. เงินมัดจำ: การตีความสัญญาซื้อขายจากพยานหลักฐานและข้อเท็จจริง
สัญญาซื้อขายมีข้อความเกี่ยวกับการชำระเงินว่า ผู้ซื้อได้ชำระเงินในวันทำสัญญา 40,000 บาท ไม่ชัดแจ้งว่าเป็นเงินมัดจำหรือเงินที่ชำระราคาของล่วงหน้า ศาลย่อมฟังคำพยานบุคคลประกอบการแปลสัญญาได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2033/2514

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การตีความสัญญาซื้อขาย: เงินชำระล่วงหน้า vs. เงินมัดจำ ศาลพิจารณาจากพฤติการณ์และข้อสัญญา
สัญญาซื้อขาย มีข้อความเกี่ยวกับการชำระเงินว่า ผู้ซื้อได้ชำระเงินในวันทำสัญญา 40,000 บาท ไม่ชัดแจ้งว่าเป็นเงินมัดจำหรือเงินที่ชำระราคาของล่วงหน้า ศาลย่อมฟังคำพยานบุคคลประกอบการแปลสัญญาได้
of 27