คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 11

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 268 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3618/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตความรับผิดค่าอุปการะเลี้ยงดูและค่าเล่าเรียนตามสัญญาประนีประนอมยอมความ: 'หรือ' หมายถึงแยกคำนวณรายบุคคล
สัญญาประนีประนอมยอมความที่ศาลมีคำพิพากษาตามยอมมีข้อความว่า "จำเลยยอมรับผิดชำระเงินค่าอุปการะเลี้ยงดู และค่าศึกษาเล่าเรียนให้แก่บุตรทั้งสองคือ เด็กชาย อ. และเด็กชาย พ. เป็นเงินจำนวนเดือนละ 16,000 บาท โดยจำเลยยินยอมจ่ายเงินจำนวนดังกล่าวให้แก่บุตรทั้งสองคนจนกว่าจะเรียนจบชั้นปริญญาตรีหรือบรรลุนิติภาวะ" ดังนี้ เมื่อสัญญาใช้คำว่า "หรือ" จำเลยต้องชำระเงินค่าอุปการะเลี้ยงดูและค่าศึกษาเล่าเรียนสำหรับบุตรทั้งสองคนละ8,000 บาท ต่อเดือน จนกว่าบุตรคนใดคนหนึ่งจะจบชั้นปริญญาตรีหรือบรรลุนิติภาวะในกรณีหนึ่งกรณีใดที่มาถึงก่อนแก่โจทก์จึงจะเป็นอันหลุดพ้นจากความรับผิดต่อบุตร โดยให้คิดคำนวณสำหรับบุตรเป็นรายบุคคลไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3505/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่าซื้อ: การบอกเลิกสัญญาเนื่องจากผู้ให้เช่าไม่สามารถส่งมอบห้องพักและทำสัญญาเช่าช่วงได้
จำเลยให้การในข้อที่โจทก์ใช้สิทธิโดยไม่สุจริต โดยอ้างว่าโจทก์ไม่ยอมไปทำการจดทะเบียนการเช่าช่วงหลังจากที่จำเลยก่อสร้างอาคารพิพาทแล้วเสร็จตามสัญญาซึ่งเป็นคนละเหตุกับที่จำเลยอ้างมาในฎีกา ฎีกาของจำเลยจึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ต้องห้ามฎีกา ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง
จำเลยมิได้ให้การต่อสู้ว่าโจทก์และจำเลยสละประโยชน์แห่งเงื่อนเวลาเพราะโจทก์และจำเลยมิได้ถือเอา ระยะเวลาการชำระหนี้เป็นสาระสำคัญตามข้อเท็จจริงที่จำเลยกล่าวอ้างมาในฎีกา ถือว่าเป็นฎีกาในข้อเท็จจริงที่มิได้ ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น ศาลอุทธรณ์ไม่รับวินิจฉัยอุทธรณ์ข้อนี้ของจำเลยชอบแล้ว
ตามสัญญาจองสิทธิการเช่าช่วงข้อ 4 วรรคหนึ่ง ระบุไว้ว่า "ผู้ให้เช่า (จำเลย) สัญญาว่าจะดำเนินการก่อสร้างอาคารให้เสร็จสมบูรณ์ภายในเดือนกรกฎาคม 2539 แต่หากระยะเวลาการก่อสร้างจะต้องขยายออกไปเนื่องจาก เหตุจำเป็นใด ๆ ของผู้ให้เช่าแล้ว ระยะเวลาที่ขยายออกไปนั้นจะต้องไม่เกิน 6 เดือนนับแต่วันครบกำหนดเวลาก่อสร้างดังกล่าว" และในวรรคสามได้ระบุไว้ว่า "แต่หากผู้ให้เช่า (จำเลย) ไม่สามารถดำเนินการก่อสร้างอาคารให้แล้วเสร็จสมบูรณ์ภายในกำหนดระยะเวลาดังกล่าวข้างต้น และไม่สามารถทำสัญญาเช่าช่วงหรือส่งมอบห้องพักอาศัยให้แก่ผู้เช่า (โจทก์) ได้ตามสัญญานี้ อันเนื่องจากความผิดของผู้ให้เช่า ผู้เช่ามีสิทธิบอกเลิกสัญญานี้ได้?" พอเป็นที่เข้าใจได้ว่า จำเลยมีหน้าที่ต้องก่อสร้างอาคารพิพาทให้แล้วเสร็จสมบูรณ์อย่างช้าภายในเดือนมกราคม 2540 พร้อมทั้งทำสัญญาเช่าช่วงและส่งมอบห้องพักอาศัยให้แก่โจทก์ภายในกำหนดระยะเวลาดังกล่าวด้วย มิฉะนั้นโจทก์มีสิทธิบอกเลิกสัญญา แต่ไม่หมายความว่าจำเลยจะส่งมอบห้องพักอาศัยให้แก่โจทก์หรือทำสัญญาเช่าช่วงกับโจทก์ภายหลังจากครบกำหนดระยะเวลาก่อสร้างอาคารพิพาทแล้วเมื่อใดก็ได้
จำเลยก่อสร้างอาคารพิพาทไม่แล้วเสร็จสมบูรณ์ตามข้อกำหนดในสัญญา ย่อมเป็นที่เห็นได้ว่าจำเลย ไม่สามารถส่งห้องพักอาศัยแก่โจทก์หรือทำสัญญาเช่าช่วงกับโจทก์ได้ในกำหนดระยะเวลาดังกล่าว จำเลยจึงเป็นฝ่ายผิดสัญญา
โจทก์ได้ชำระเงินค่าเช่าล่วงหน้างวดที่ 1 จำนวน 34,000 บาท แก่จำเลยเมื่อวันที่ 1 มีนาคม 2537 แต่ศาลล่าง ทั้งสองพิพากษาให้จำเลยใช้ดอกเบี้ยแก่โจทก์ในต้นเงินจำนวนดังกล่าวนับแต่วันที่ 4 มีนาคม 2536 จึงไม่ถูกต้อง ปัญหาข้อนี้เป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้จำเลยจะมิได้ยกขึ้นฎีกาศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยและแก้ไขให้เป็นคุณแก่จำเลยได้ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5)
ศาลชั้นต้นมิได้พิพากษาให้จำเลยใช้ดอกเบี้ยแก่โจทก์สำหรับต้นเงิน โจทก์มิได้อุทธรณ์ ปัญหาข้อนี้จึงเป็นอันยุติไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น ศาลฎีกาจึงมิอาจพิพากษาแก้ไขให้เป็นผลร้ายแก่จำเลยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3308/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การหักเงินบำเหน็จชดใช้หนี้: ต้องเป็นหนี้ที่ชัดเจน ไม่เป็นข้อพิพาท
แม้ข้อบังคับโรงงานน้ำตาล กรมโรงงานอุตสาหกรรม ว่าด้วยกองทุนบำเหน็จ พ.ศ.2527 จะกำหนดว่า ถ้าพนักงานมีข้อผูกพันในอันที่จำต้องชำระเงินให้แก่โรงงานน้ำตาล ไม่ว่ากรณีใด ๆ ให้หักเงินบำเหน็จที่จะต้องจ่ายชดใช้หนี้นั้นเสียก่อนก็ตาม แต่หนี้ที่จะนำมาหักเงินบำเหน็จนั้นต้องเป็นหนี้ที่พนักงานมิได้โต้แย้งหรือเป็นหนี้ที่ไม่มีข้อต่อสู้ และจำนวนหนี้ต้องกำหนดได้แน่นอนตาม ป.พ.พ.มาตรา 344
โจทก์นำสืบปฏิเสธว่ามิได้ก่อให้เกิดความเสียหายแก่จำเลย ทั้งคดีที่จำเลยฟ้องให้โจทก์ชดใช้ค่าเสียหาย ศาลยังมิได้มีคำพิพากษา จึงยังไม่แน่นอนว่าโจทก์มีข้อผูกพันในอันที่จำต้องชำระเงินให้จำเลยหรือไม่ และจำนวนเท่าใด จำเลยไม่มีสิทธิหักเงินบำเหน็จที่โจทก์มีสิทธิได้รับเพื่อชำระหนี้ค่าเสียหายตามข้ออ้างของจำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3308/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การหักเงินบำเหน็จชดใช้หนี้ต้องเป็นหนี้ที่แน่นอนและไม่มีข้อพิพาท
แม้ข้อบังคับโรงงานน้ำตาล กรมโรงงานอุตสาหกรรม ว่าด้วยกองทุนบำเหน็จพ.ศ. 2527 จะกำหนดว่า ถ้าพนักงานมีข้อผูกพันในอันที่จำต้องชำระเงินให้แก่โรงงานน้ำตาล ไม่ว่ากรณีใด ๆ ให้หักเงินบำเหน็จที่จะต้องจ่ายชดใช้หนี้นั้นเสียก่อนก็ตาม แต่หนี้ที่จะนำมาหักเงินบำเหน็จนั้นต้องเป็นหนี้ที่พนักงานมิได้โต้แย้งหรือเป็นหนี้ที่ไม่มีข้อต่อสู้ และจำนวนหนี้ต้องกำหนดได้แน่นอนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 344
โจทก์นำสืบปฏิเสธมิได้ก่อให้เกิดความเสียหายแก่จำเลย ทั้งคดีที่จำเลย ฟ้องให้โจทก์ชดใช้ค่าเสียหาย ศาลยังมิได้มีคำพิพากษา จึงยังไม่แน่นอนว่า โจทก์มีข้อผูกพันในอันที่จำต้องชำระเงินให้จำเลยหรือไม่ และจำนวนเท่าใด จำเลยไม่มี สิทธิหักเงินบำเหน็จที่โจทก์มีสิทธิได้รับเพื่อชำระหนี้ค่าเสียหาย ตามข้ออ้างของจำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3300-3301/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิการได้รับเงินโบนัสของพนักงานที่ไปปฏิบัติงานในบริษัทร่วมทุน ต้องไม่น้อยกว่าที่เคยได้รับเดิม แม้รายได้รวมจะสูงกว่า
ระเบียบการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทยว่าด้วยการให้พนักงานไปปฏิบัติงานในบริษัทที่ ปตท. ถือหุ้น พ.ศ. 2536 เป็นระเบียบเกี่ยวกับสิทธิประโยชน์ระหว่างพนักงานกับจำเลย ส่วนมติที่ประชุมของคณะกรรมการบริหารทรัพยากรบุคคล ปตท. เป็นเพียงความเห็นของฝ่ายจำเลยที่ตีความระเบียบดังกล่าว โดยจำเลยไม่สามารถแก้ไขหรือตีความขัดแย้งกับระเบียบดังกล่าวได้โดยลำพัง ดังนั้น โจทก์จะมีสิทธิได้รับเงินโบนัสจากจำเลยหรือไม่เพียงใด ต้องพิเคราะห์จากระเบียบนั้นเป็นสำคัญ ซึ่งข้อ 7 ระบุว่า "พนักงานที่ไปปฏิบัติงานในบริษัทจะได้รับค่าตอบแทนในการทำงานต่อไปนี้จาก ปตท. หรือจากบริษัทก็ได้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการตกลงกันระหว่างบริษัทกับ ปตท. แต่ค่าตอบแทนในการทำงานที่ได้รับนั้นจะต้องไม่น้อยกว่าที่พนักงานได้รับอยู่เดิมขณะปฏิบัติงานที่ ปตท. 7.1 เงินเดือนและโบนัส ฯลฯ" ระเบียบข้อนี้หมายความว่า พนักงานที่จำเลยส่งไปปฏิบัติงานที่บริษัทที่จำเลยถือหุ้นจะต้องได้รับเงินเดือนและเงินโบนัสไม่น้อยกว่าที่พนักงานนั้นเคยได้รับอยู่เดิมในขณะปฏิบัติงานที่จำเลย โจทก์ได้รับเงินเดือนที่บริษัท ป. มากกว่าที่ได้รับจากจำเลยร้อยละ 20 เนื่องจากชั่วโมงทำงานมากกว่าแต่ไม่ได้รับเงินโบนัสเพราะบริษัท ป. ไม่มีการจ่ายเงินโบนัส โจทก์ย่อมมีสิทธิรับเงินโบนัสจากจำเลยเท่ากับที่เคยได้รับอยู่เดิมขณะปฏิบัติงานกับจำเลย ซึ่งไม่แน่ชัดว่าจะคำนวณอย่างไร จำเลยจึงจัดประชุมคณะกรรมการบริหารทรัพยากรบุคคลของจำเลยเพื่อกำหนดวิธีคำนวณเงินโบนัสดังกล่าว 2 ครั้ง ที่ประชุมมีมติให้พนักงาน Secondment มีสิทธิได้รับเงินรางวัล (เงินโบนัส) เช่นเดียวกับพนักงานของจำเลย โดยคำนวณจากเงินเดือนเงา ซึ่งหมายถึงเงินเดือนที่เคยได้รับอยู่เดิมจากจำเลย อันเป็นการสอดคล้องกับข้อ 7 แห่งระเบียบการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทยว่าด้วยการให้พนักงานไปปฏิบัติงานในบริษัทที่ ปตท. ถือหุ้น พ.ศ. 2536 แต่ที่ประชุมมีมติให้ใช้วิธีเปรียบเทียบรายได้ของพนักงานที่ได้รับจากจำเลยและบริษัทที่ไปปฏิบัติงาน หากรายได้จากจำเลยมากกว่า จำเลยจะจ่ายส่วนต่างที่เพิ่มให้แก่พนักงาน ถ้ารายได้ที่ได้รับจากบริษัทมากกว่า ให้พนักงานรับเงินจากบริษัททางเดียวนั้น ซึ่งไม่สอดคล้องกับข้อ 7 แห่งระเบียบดังกล่าว เนื่องจากเป็นการตัดสิทธิพนักงานที่จะได้รับเงินโบนัส หรือได้รับเงินโบนัสไม่เท่ากับพนักงานของจำเลย มติของที่ประชุมจึงใช้บังคับไม่ได้ กรณีของโจทก์ต้องบังคับตามข้อ 7 แห่งระเบียบดังกล่าว โดยพิจารณาประกอบกับมติที่ประชุมคณะกรรมการบริหารทรัพยากรบุคคลที่กำหนดให้จำเลยจ่ายเงินโบนัสแก่โจทก์โดยคำนวณจากเงินเดือนเงา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3259/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกสัญญาซื้อขายอาคารชุด กรณีผู้ขายไม่ปฏิบัติตามสัญญา และสิทธิในการเลิกสัญญาตามบทบัญญัติกฎหมาย
ป.พ.พ. มาตรา 386 วางหลักในเรื่องการเลิกสัญญาไว้ 2 กรณี คือ เลิกสัญญาโดยข้อสัญญาและเลิกสัญญาโดยบทบัญญัติแห่งกฎหมาย ดังนั้น แม้จะมีข้อสัญญากำหนดไว้ให้เลิกสัญญาได้ในกรณีใดบ้าง หากมีกรณีที่ไม่ตรงตาม ข้อสัญญา แต่ตรงตามบทบัญญัติของกฎหมายก็เลิกสัญญาได้
ตามเอกสารแนบท้ายเงื่อนไขการจะซื้อจะขาย ที่ระบุไว้ว่า "ในกรณีที่ผุ้จะขายนั้นไม่สามารถทำการก่อสร้างอาคารชุดหรือห้องชุดผู้จะซื้อให้แล้วเสร็จหรือไม่สามารถจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ห้องชุดจะซื้อภายในเวลที่กำหนดในสัญญานี้และการผิดสัญญาดังกล่าวดำเนินต่อไปภายหลังจากผู้จะซื้อส่งหนังสือบอกกล่าวไปยังผู้จะขายไม่น้อยกว่าหกเดือน ผู้จะซื้ออาจบอกเลิกภาระผูกพันของผู้จะซื้อตามสัญญานี้?" เป็นการกำหนดให้ผู้จะซื้อบอกเลิกสัญญาได้ 2 กรณี คือ ผู้จะขายก่อสร้างห้องชุดไม่แล้วเสร็จในระยะเวลาที่กำหนด หรือไม่สามารถจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ ห้องชุดได้ การที่ผู้จะขายมิได้ก่อสร้างฝ้าเพดานให้ถูกต้องตามข้อตกลงในสัญญา ผู้จะซื้อจึงเลิกสัญญาโดยข้อสัญญาไม่ได้
โจทก์ทำสัญญาจะซื้ออาคารชุดจากจำเลยและชำระเงินแก่จำเลยตามสัญญาบางส่วนในวันทำสัญญา ส่วนที่เหลือจะชำระในวันโอนกรรมสิทธิ์ ตามเงื่อนไขในสัญญากำหนดให้ผู้จะขายใช้วัสดุและอุปกรณ์อื่นแทนได้เฉพาะ รายการก่อสร้างและวัสดุและอุปกรณ์ที่จะใช้ในการก่อสร้างห้องชุดของผู้จะซื้อเท่านั้น และตามสัญญาระบุไว้ใน รายการฝ้าเพดานระบุว่าห้องทั่วไปเป็นคอนกรีต แต่งผิว ทาสี ส่วนกลางเป็นโครงสร้างอะลูมิเนียมทีบาร์บุยิปซัมบอร์ด ดังนั้น จำเลยจึงไม่มีสิทธิก่อสร้างโดยใช้วัสดุและอุปกรณ์อื่นในทรัพย์ส่วนกลาง ยิ่งไปกว่านั้นจำเลยมิได้ทำฝ้าเพดาน จำเลยจึงเป็นฝ่ายผิดสัญญา และฝ้าเพดานอันเป็นทรัพย์ส่วนกลางนี้ แม้โจทก์ยังมิได้เป็นผู้มีส่วนถือกรรมสิทธิ์รวมเพราะยังมิได้รับโอนกรรมสิทธิ์ห้องชุดก็ตาม แต่โจทก์ก็มีสิทธิตามสัญญาจะซื้อจะขายที่ทำกับจำเลยในอันที่จะบังคับให้จำเลยต้องปฏิบัติตามสัญญาดังกล่าวได้
ตามบทบัญญัติ ป.พ.พ. มาตรา 216 เป็นเรี่องการผิดนัดชำระหนี้และผลของการผิดนัดทำให้เจ้าหนี้ไม่ได้รับประโยชน์จากการชำระหนี้ ส่วนกรณีที่เป็นเรื่องที่คู่สัญญาฝ่ายหนึ่งไม่ชำระหนี้ซึ่งรวมถึงการชำระหนี้ที่ไม่ถูกต้องตามสัญญาตาม ป.พ.พ. มาตรา 387 เมื่อโจทก์บอกกล่าวให้จำเลยชำระหนี้โดยให้ก่อสร้างฝ้าเพดานอันเป็นทรัพย์ส่วนกลางให้ถูกต้องภายในกำหนดระยะเวลา 1 เดือน อันเป็นระยะเวลาพอสมควร แต่จำเลยไม่ก่อสร้างให้ถูกต้อง จึงเท่ากับจำเลยไม่ชำระหนี้ภายในระยะเวลาที่กำหนด โจทก์จึงมีสิทธิบอกเลิกสัญญาได้ เมื่อกรณีเป็นการเลิกสัญญาโดยบทบัญญัติแห่งกฎหมาย จึงไม่ต้องบอกกล่าวโดยกำหนดระยะเวลาไม่น้อยกว่า 6 เดือน ตามที่ระบุไว้ในเงื่อนไขในสัญญา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3173/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อตกลงท้าทายผลรังวัดที่ดิน: การตีความ 'สิ่งปลูกสร้างใด ๆ' หมายถึงทั้งหลัง
โจทก์จำเลยได้ตกลงท้ากันมีข้อความว่า ให้เจ้าพนักงานที่ดินไปรังวัดตรวจสอบที่ดินตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3 ก.) หากผลการรังวัดปรากฏว่ามีสิ่งปลูกสร้างใด ๆ ของจำเลยอยู่ในแนวเขตที่ดินดังกล่าวจำเลยยอมถือว่าเป็นที่ดินของโจทก์ ยอมขนย้ายข้าวของและบริวารออกไปจากเขตที่ดินดังกล่าวทันที หากผลการรังวัดปรากฏว่าบ้านเรือนและสิ่งปลูกสร้างที่จำเลยอยู่อาศัยไม่ได้อยู่ในที่ดินดังกล่าว โจทก์ยอมถอนฟ้อง และจะไม่ยุ่งเกี่ยวกับบ้านพิพาทอีกต่อไป ตามคำท้าดังกล่าว คำว่า "สิ่งปลูกสร้างใด ๆ ของจำเลยอยู่ในแนวเขตที่ดิน"หมายถึงต้องเป็นบ้านเรือนที่จำเลยอยู่อาศัยทั้งหลังอยู่ในแนวเขตที่ดิน ไม่ใช่ล้ำเข้าไปในแนวเขตที่ดินเพียงส่วนใดส่วนหนึ่ง เมื่อข้อเท็จจริงได้ความว่า บ้านเรือนที่จำเลยอยู่อาศัยไม่ได้อยู่ในแนวเขตที่ดินของโจทก์ เพียงแต่ล้ำแนวเขตที่ดินเพียง 2 ตารางวาเท่านั้น โจทก์จึงต้องแพ้คดี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3173/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การตีความข้อตกลงท้ากันรังวัดที่ดิน: สิ่งปลูกสร้างต้องอยู่ในแนวเขตที่ดินทั้งหลัง มิใช่เพียงล้ำเข้าไป
โจทก์จำเลยได้ตกลงท้ากันมีข้อความว่า ให้เจ้าพนักงานที่ดินไปรังวัดตรวจสอบที่ดินตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3 ก.) หากผลการรังวัดปรากฏว่ามีสิ่งปลูกสร้างใด ๆ ของจำเลยอยู่ในแนวเขตที่ดินดังกล่าว จำเลย ยอมถือว่าเป็นที่ดินของโจทก์ ยอมขนย้ายข้าวของและบริวารออกไปจาก เขตที่ดินดังกล่าวทันที หากผลการรังวัดปรากฏว่าบ้านเรือนและสิ่งปลูกสร้างที่จำเลยอยู่อาศัยไม่ได้อยู่ในที่ดินดังกล่าว โจทก์ยอมถอนฟ้อง และจะไม่ยุ่งเกี่ยวกับบ้านพิพาทอีกต่อไปตามคำท้าดังกล่าว คำว่า "สิ่งปลูกสร้างใด ๆ ของจำเลยอยู่ในแนวเขตที่ดิน" หมายถึงต้องเป็นบ้านเรือนที่จำเลยอยู่อาศัยทั้งหลังอยู่ในแนวเขตที่ดิน ไม่ใช่ล้ำเข้าไปในแนวเขตที่ดินเพียง ส่วนใดส่วนหนึ่ง เมื่อข้อเท็จจริงได้ความว่า บ้านเรือนที่จำเลยอยู่อาศัย ไม่ได้อยู่ในแนวเขตที่ดินของโจทก์ เพียงแต่ล้ำแนวเขตที่ดินเพียง 2 ตารางวาเท่านั้น โจทก์จึงต้องแพ้คดี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2971/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาซื้อขายที่ดิน: การส่งมอบการครอบครองไม่ใช่การโอนทางทะเบียน สิทธิของผู้ซื้อมีจำกัด
หนังสือสัญญาซื้อขายระหว่างโจทก์จำเลยมีข้อความว่า ผู้ขายได้ขายที่ดินจำนวนเนื้อที่ 3 งาน 24 ตารางวา ให้แก่ผู้ซื้อเป็นจำนวนเงิน 1,500 บาท และยอมส่งมอบทรัพย์สินที่ขายให้แก่ผู้ซื้อ วันที่ 2 เมษายน 2524 และผู้ขายได้รับราคาดังกล่าวแล้วไปจากผู้ซื้อเสร็จแล้วแต่วันที่ 2 เมษายน 2524 ย่อมมีความหมายชัดแจ้งว่าผู้ขายได้ขายที่ดินให้แก่ผู้ซื้อโดยเจตนาส่งมอบการครอบครองที่ดินให้แก่ผู้ซื้อเท่านั้น ไม่มีถ้อยคำใด ๆ พอที่จะตีความหรือมีความหมายว่าผู้ขายจะไปดำเนินการโอนทางทะเบียนสำหรับที่ดินที่ซื้อขายกันให้แก่ผู้ซื้อ โจทก์ย่อมได้สิทธิครอบครองในที่ดินที่ซื้อจากจำเลยแล้ว โจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องบังคับให้จำเลยไปจดทะเบียนโอนที่ดินให้แก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2971/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาซื้อขายที่ดิน: การส่งมอบการครอบครองไม่ผูกพันการจดทะเบียนโอน
หนังสือสัญญาซื้อขายระหว่างโจทก์จำเลยมีข้อความว่า ผู้ขายได้ขายที่ดินจำนวนเนื้อที่ 3 งาน 24 ตารางวา ให้แก่ผู้ซื้อเป็นจำนวนเงิน 1,500 บาทและยอมส่งมอบทรัพย์สินที่ขายให้แก่ผู้ซื้อ วันที่ 2 เมษายน 2524 และผู้ขายได้รับราคาดังกล่าวแล้วไปจากผู้ซื้อเสร็จแล้วแต่วันที่ 2 เมษายน 2524 ย่อมมีความหมายชัดแจ้งว่าผู้ขายได้ขายที่ดินให้แก่ผู้ซื้อโดยเจตนาส่งมอบการครอบครองที่ดินให้แก่ผู้ซื้อเท่านั้น ไม่มีถ้อยคำใด ๆ พอที่จะตีความหรือมีความหมายว่าผู้ขายจะไปดำเนินการโอนทางทะเบียนสำหรับที่ดินที่ซื้อขายกันให้แก่ผู้ซื้อ โจทก์ย่อมได้สิทธิครอบครองในที่ดินที่ซื้อจากจำเลยแล้วโจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องบังคับให้จำเลยไปจดทะเบียนโอนที่ดินให้แก่โจทก์
of 27