พบผลลัพธ์ทั้งหมด 268 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2658/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการได้รับเงินช่วยเหลือพิเศษตามข้อตกลงสภาพการจ้างสำหรับลูกจ้างรายวันที่มีอายุงานครบ 15 ปีขึ้นไป
ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง ระบุว่า "จำเลยตกลงจ่ายค่าชดเชยตามกฎหมายและเงินช่วยเหลือพิเศษในกรณีที่ลูกจ้างเกษียณอายุและถูกเลิกจ้างโดยไม่มีความผิดสำหรับลูกจ้างรายวัน ตามอายุงานดังนี้ อายุงานครบ 15 ปี ไม่ครบ20 ปี เพิ่มให้ 2 เดือน อายุงานครบ 20 ปี ไม่ครบ 25 ปี เพิ่มให้ 3 เดือนอายุงานครบ 25 ปี ไม่ครบ 30 ปี เพิ่มให้ 4 เดือน อายุงานครบ 30 ปี เพิ่มให้5 เดือน " จึงเห็นได้ว่า จำเลยตกลงจ่ายเงินทั้ง 2 ประเภท คือ ค่าชดเชยและเงินช่วยเหลือพิเศษให้แก่ลูกจ้างเฉพาะค่าชดเชยเป็นการจ่ายให้แก่ลูกจ้างซึ่งมีสิทธิได้รับตามกฎหมาย ส่วนเงินช่วยเหลือพิเศษเป็นการจ่ายเพิ่มขึ้นนอกเหนือจากค่าชดเชยจำเลยตกลงจ่ายเงินเพิ่มให้เฉพาะลูกจ้างรายวันซึ่งมีอายุงานครบ 15 ปีขึ้นไปที่เกษียณอายุและถูกเลิกจ้างโดยไม่มีความผิดเท่านั้น ดังนี้ เมื่อโจทก์มิใช่ลูกจ้างที่เกษียณอายุ โจทก์จึงไม่มีสิทธิได้รับเงินช่วยเหลือพิเศษตามข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1472/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อัตราดอกเบี้ยเกินสัญญาและเบี้ยปรับ: ศาลยืนตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น
ตามสัญญากู้เงินฉบับพิพาทข้อ 2 จำเลยยอมให้ธนาคารโจทก์ขึ้นหรือปรับปรุงอัตราดอกเบี้ยได้ตามความเหมาะสม โดยไม่เกินกว่าที่กฎหมายอนุญาตให้คิดได้ ซึ่งอัตราดอกเบี้ย ที่โจทก์กำหนดเมื่อวันที่ 5 มีนาคม 2541 โดยอาศัยอำนาจ ตามประกาศของธนาคารแห่งประเทศไทย และประกาศของโจทก์ลงวันที่ดังกล่าวเรื่อง อัตราดอกเบี้ยและ ส่วนลดเงินสินเชื่อ ข้อ 2 ระบุว่า อัตราดอกเบี้ย ที่เรียกเก็บจากลูกค้ารายใหญ่ชั้นดีประเภทเงินกู้มีระยะเวลา เท่ากับร้อยละ 18.00 ต่อปี และข้อ 6 ระบุว่า อัตราดอกเบี้ยเบิกเงินเกินบัญชีส่วนที่เกินวงเงิน หรือเบิกเงินเกินบัญชี ชั่วคราว หรือสินเชื่อที่ผิดเงื่อนไขตามสัญญาไม่เกินร้อยละ 25.00 ต่อปี ดังนี้ หนี้สินเชื่ออื่นนอกจากหนี้เบิกเงินเกินบัญชี โจทก์จะคิดดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 25.00 ต่อปี ได้เฉพาะ กรณีลูกหนี้ผิดนัดเท่านั้น หากลูกหนี้ไม่ผิดนัดแล้ว ถ้าเป็น ลูกค้ารายใหญ่ชั้นดี ประเภทเงินกู้มีระยะเวลา ซึ่งจำเลย เป็นลูกค้าประเภทดังกล่าวนี้ โจทก์มีสิทธิคิดดอกเบี้ยได้สูงสุด เพียงร้อยละ 18.00 ต่อปี ส่วนของอัตราดอกเบี้ยที่โจทก์มีสิทธิ เรียกสูงขึ้นได้ในกรณีจำเลยผิดนัดหรือผิดเงื่อนไขตามสัญญา จึงมีลักษณะเป็นค่าเสียหายซึ่งจำเลยผู้เป็นลูกหนี้ให้สัญญา แก่โจทก์ผู้เป็นเจ้าหนี้ว่าจะใช้เงินจำนวนอัตราที่เพิ่มสูงขึ้น ดังกล่าวเป็นเบี้ยปรับเมื่อจำเลยไม่ชำระหนี้ ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 379 ดังนั้น หากศาลเห็นว่าสูงเกินส่วน ศาลย่อมมีอำนาจลดลงเป็นจำนวน พอสมควรได้ตามมาตรา 383 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1472/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อัตราดอกเบี้ยสัญญาเงินกู้และการคิดเบี้ยปรับกรณีผิดนัดชำระหนี้ ศาลมีอำนาจลดเบี้ยปรับได้
ตามสัญญากู้เงินฉบับพิพาทข้อ 2 จำเลยยอมให้ธนาคารโจทก์ขึ้นหรือปรับปรุงอัตราดอกเบี้ยได้ตามความเหมาะสม โดยไม่เกินกว่าที่กฎหมายอนุญาตให้คิดได้ ซึ่งอัตราดอกเบี้ยที่โจทก์กำหนดเมื่อวันที่ 5 มีนาคม 2541 โดยอาศัยอำนาจตามประกาศของธนาคารแห่งประเทศไทย และประกาศของโจทก์ลงวันที่ดังกล่าวเรื่อง อัตราดอกเบี้ยและส่วนลดเงินสินเชื่อ ข้อ 2 ระบุว่า อัตราดอกเบี้ยที่เรียกเก็บจากลูกค้ารายใหญ่ชั้นดีประเภทเงินกู้มีระยะเวลาเท่ากับร้อยละ 18.00 ต่อปี และข้อ 6 ระบุว่า อัตราดอกเบี้ยเบิกเงินเกินบัญชีส่วนที่เกินวงเงิน หรือเบิกเงินเกินบัญชีชั่วคราว หรือสินเชื่อที่ผิดเงื่อนไขตามสัญญาไม่เกินร้อยละ 25.00 ต่อปี ดังนี้หนี้สินเชื่ออื่นนอกจากหนี้เบิกเงินเกินบัญชี โจทก์จะคิดดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 25.00ต่อปี ได้เฉพาะกรณีลูกหนี้ผิดนัดเท่านั้น หากลูกหนี้ไม่ผิดนัดแล้ว ถ้าเป็นลูกค้ารายใหญ่ชั้นดี ประเภทเงินกู้มีระยะเวลา ซึ่งจำเลยเป็นลูกค้าประเภทดังกล่าวนี้ โจทก์มีสิทธิคิดดอกเบี้ยได้สูงสุดเพียงร้อยละ 18.00 ต่อปี ส่วนของอัตราดอกเบี้ยที่โจทก์มีสิทธิเรียกสูงขึ้นได้ในกรณีจำเลยผิดนัดหรือผิดเงื่อนไขตามสัญญา จึงมีลักษณะเป็นค่าเสียหายซึ่งจำเลยผู้เป็นลูกหนี้ให้สัญญาแก่โจทก์ผู้เป็นเจ้าหนี้ว่าจะใช้เงินจำนวนอัตราที่เพิ่มสูงขึ้นดังกล่าวเป็นเบี้ยปรับเมื่อจำเลยไม่ชำระหนี้ ตาม ป.พ.พ.มาตรา 379 ดังนั้น หากศาลเห็นว่าสูงเกินส่วน ศาลย่อมมีอำนาจลดลงเป็นจำนวนพอสมควรได้ตามมาตรา383 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1353-1368/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม พิจารณาจากสาเหตุความจำเป็นทางธุรกิจและผลกระทบทางเศรษฐกิจ
หลักเกณฑ์การพิจารณาเรื่องการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานพ.ศ. 2522มาตรา 49 ศาลจำต้องพิจารณาว่ามีสาเหตุแห่งการเลิกจ้างหรือไม่ และสาเหตุดังกล่าวมีเหตุเพียงพอแก่การเลิกจ้างหรือไม่เป็นสำคัญแม้การเลิกจ้างนั้นจะเป็นเหตุให้ลูกจ้างเดือดร้อนก็ตามแต่หากเป็นความจำเป็นทางด้านนายจ้างที่ไม่อาจหลีกเลี่ยงได้เพื่อให้กิจการของนายจ้างยังคงดำรงย่อมเป็นสาเหตุที่จำเป็นและเพียงพอแก่การเลิกจ้างแล้ว ไม่ถือว่าเป็นการอยู่ต่อไป โดยหวังว่ากิจการของนายจ้างจะมีโอกาสกลับฟื้นคืนตัวได้ใหม่เลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม ซึ่งแตกต่างจากหลักเกณฑ์เรื่องการกระทำอันไม่เป็นธรรมตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์พ.ศ. 2518 มาตรา 121 มาตรา 122และมาตรา 123 จำเลยเลิกจ้างโจทก์เพราะจำเลยประสบภาวะเศรษฐกิจ ลูกค้าของจำเลยลดการสั่งซื้อสินค้าทำให้การผลิตลดลง เป็นเหตุให้จำเลยต้องลดอัตรากำลังคนให้พอเหมาะแก่ปริมาณงานที่แท้จริง ทั้งก่อนจำเลยเลิกจ้างโจทก์ จำเลยก็ได้คัดเลือกโจทก์ออกจากงานตามหลักเกณฑ์ที่ทุกฝ่ายยอมรับโดยไม่เลือกปฏิบัติหรือกลั่นแกล้งโจทก์ การที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์กับลูกจ้างคนอื่น ๆ เพื่อต้องการพยุงกิจการของจำเลยให้อยู่รอดต่อไปได้เช่นนี้ จึงเป็นการเลิกจ้างที่มีสาเหตุอันจำเป็นและเพียงพอแก่การเลิกจ้างแล้วกรณีถือไม่ได้ว่าเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 49 ระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยกำหนดว่าจำเลยจะจ่ายโบนัสแก่พนักงานในวันที่ 15 กรกฎาคม และวันที่ 15 มกราคม ของปีถัดไป โดยไม่มีข้อความว่าจะจ่ายให้แก่พนักงานที่พ้นสภาพการเป็นพนักงานก่อนวันดังกล่าว อันมีความหมายว่า พนักงานที่มีสิทธิได้รับโบนัสจะต้องมีตัวอยู่ในวันครบกำหนดจ่ายโบนัสด้วย การที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์ทำให้โจทก์สิ้นสภาพการเป็นลูกจ้างของจำเลยตั้งแต่วันเลิกจ้างเป็นต้นไป ดังนั้นเมื่อถึงกำหนดเวลาที่จำเลยจะจ่ายเงินโบนัสให้แก่พนักงานในวันที่ 15 มกราคม 2541 โจทก์สิ้นสภาพการเป็นพนักงานไปก่อนวันครบกำหนดจ่ายเงินโบนัสเสียแล้ว โจทก์จึงไม่มีสิทธิที่จะเรียกเงินโบนัสจากจำเลย ในวันที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์ จำเลยได้สั่งจ่ายเช็คเงินเดือนรวมกับเงินอื่นพร้อมที่จะจ่ายให้แก่โจทก์ แต่โจทก์ไม่ยอมลงลายมือชื่อรับเงินเพราะเกรงจะเป็นการสมัครใจลาออกจากงาน เมื่อเห็นได้ว่าจำเลยขอปฏิบัติการชำระหนี้โดยชอบแล้ว แต่โจทก์ปฏิเสธไม่ยอมรับชำระหนี้กรณีถือไม่ได้ว่าจำเลยจงใจผิดนัดไม่จ่ายค่าจ้างให้แก่โจทก์โดยปราศจากเหตุอันสมควรแม้จำเลยจะไม่นำเงินดังกล่าวไปมอบไว้แก่อธิบดีหรือผู้ซึ่งอธิบดีมอบหมายตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 31 วรรคสามก็ตาม โจทก์ก็ไม่มีสิทธิคิดเงินเพิ่มตามข้อ 31 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1353/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างเนื่องจากภาวะเศรษฐกิจและการจ่ายโบนัส กรณีที่ลูกจ้างพ้นสภาพก่อนรับโบนัส
หลักเกณฑ์การพิจารณาเรื่องการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมตามพ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 49 ศาลจำต้องพิจารณาว่ามีสาเหตุแห่งการเลิกจ้างหรือไม่ และสาเหตุดังกล่าวมีเหตุเพียงพอแก่การเลิกจ้างหรือไม่เป็นสำคัญ แม้การเลิกจ้างนั้นจะเป็นเหตุให้ลูกจ้างเดือดร้อนก็ตาม แต่หากเป็นความจำเป็นทางด้านนายจ้างที่ไม่อาจหลีกเลี่ยงได้เพื่อให้กิจการของนายจ้างยังคงดำรงอยู่ต่อไป โดยหวังว่ากิจการของนายจ้างจะมีโอกาสกลับฟื้นคืนตัวได้ใหม่ ย่อมเป็นสาเหตุที่จำเป็นและเพียงพอแก่การเลิกจ้างแล้ว ไม่ถือว่าเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม ซึ่งแตกต่างจากหลักเกณฑ์ เรื่อง การกระทำอันไม่เป็นธรรม ตาม พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518 มาตรา 121 มาตรา 122และมาตรา 123
จำเลยเลิกจ้างโจทก์เพราะจำเลยประสบภาวะเศรษฐกิจ ลูกค้าของจำเลยลดการสั่งซื้อสินค้าทำให้การผลิตลดลง เป็นเหตุให้จำเลยต้องลดอัตรากำลังคนให้พอเหมาะแก่ปริมาณงานที่แท้จริง ทั้งก่อนจำเลยเลิกจ้างโจทก์ จำเลยก็ได้คัดเลือกโจทก์ออกจากงานตามหลักเกณฑ์ที่ทุกฝ่ายยอมรับโดยไม่เลือกปฏิบัติหรือกลั่นแกล้งโจทก์ การที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์กับลูกจ้างคนอื่น ๆ เพื่อต้องการพยุงกิจการของจำเลยให้อยู่รอดต่อไปได้ เช่นนี้ จึงเป็นการเลิกจ้างที่มีสาเหตุอันจำเป็นและเพียงพอแก่การเลิกจ้างแล้ว กรณีถือไม่ได้ว่าเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 49
ระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยกำหนดว่าจำเลยจะจ่ายโบนัสแก่พนักงานในวันที่ 15 กรกฎาคม และวันที่ 15 มกราคม ของปีถัดไป โดยไม่มีข้อความว่าจะจ่ายให้แก่พนักงานที่พ้นสภาพการเป็นพนักงานก่อนวันดังกล่าว อันมีความหมายว่า พนักงานที่มีสิทธิได้รับโบนัสจะต้องมีตัวอยู่ในวันครบกำหนดจ่ายโบนัสด้วย การที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์ทำให้โจทก์สิ้นสภาพการเป็นลูกจ้างของจำเลยตั้งแต่วันเลิกจ้างเป็นต้นไป ดังนั้นเมื่อถึงกำหนดเวลาที่จำเลยจะจ่ายเงินโบนัสให้แก่พนักงานในวันที่ 15 มกราคม 2541 โจทก์สิ้นสภาพการเป็นพนักงานไปก่อนวันครบกำหนดจ่ายเงินโบนัสเสียแล้ว โจทก์จึงไม่มีสิทธิที่จะเรียกเงินโบนัสจากจำเลย ในวันที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์ จำเลยได้สั่งจ่ายเช็คเงินเดือนรวมกับเงินอื่นพร้อมที่จะจ่ายให้แก่โจทก์ แต่โจทก์ไม่ยอมลงลายมือชื่อรับเงินเพราะเกรงจะเป็นการสมัครใจลาออกจากงาน เมื่อเห็นได้ว่าจำเลยขอปฏิบัติการชำระหนี้โดยชอบแล้วแต่โจทก์ปฏิเสธไม่ยอมรับชำระหนี้ กรณีถือไม่ได้ว่าจำเลยจงใจผิดนัดไม่จ่ายค่าจ้างให้แก่โจทก์โดยปราศจากเหตุอันสมควร แม้จำเลยจะไม่นำเงินดังกล่าวไปมอบไว้แก่อธิบดีหรือผู้ซึ่งอธิบดีมอบหมาย ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 31 วรรคสาม ก็ตาม โจทก์ก็ไม่มีสิทธิคิดเงินเพิ่มตามข้อ31 วรรคสอง
จำเลยเลิกจ้างโจทก์เพราะจำเลยประสบภาวะเศรษฐกิจ ลูกค้าของจำเลยลดการสั่งซื้อสินค้าทำให้การผลิตลดลง เป็นเหตุให้จำเลยต้องลดอัตรากำลังคนให้พอเหมาะแก่ปริมาณงานที่แท้จริง ทั้งก่อนจำเลยเลิกจ้างโจทก์ จำเลยก็ได้คัดเลือกโจทก์ออกจากงานตามหลักเกณฑ์ที่ทุกฝ่ายยอมรับโดยไม่เลือกปฏิบัติหรือกลั่นแกล้งโจทก์ การที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์กับลูกจ้างคนอื่น ๆ เพื่อต้องการพยุงกิจการของจำเลยให้อยู่รอดต่อไปได้ เช่นนี้ จึงเป็นการเลิกจ้างที่มีสาเหตุอันจำเป็นและเพียงพอแก่การเลิกจ้างแล้ว กรณีถือไม่ได้ว่าเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 49
ระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยกำหนดว่าจำเลยจะจ่ายโบนัสแก่พนักงานในวันที่ 15 กรกฎาคม และวันที่ 15 มกราคม ของปีถัดไป โดยไม่มีข้อความว่าจะจ่ายให้แก่พนักงานที่พ้นสภาพการเป็นพนักงานก่อนวันดังกล่าว อันมีความหมายว่า พนักงานที่มีสิทธิได้รับโบนัสจะต้องมีตัวอยู่ในวันครบกำหนดจ่ายโบนัสด้วย การที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์ทำให้โจทก์สิ้นสภาพการเป็นลูกจ้างของจำเลยตั้งแต่วันเลิกจ้างเป็นต้นไป ดังนั้นเมื่อถึงกำหนดเวลาที่จำเลยจะจ่ายเงินโบนัสให้แก่พนักงานในวันที่ 15 มกราคม 2541 โจทก์สิ้นสภาพการเป็นพนักงานไปก่อนวันครบกำหนดจ่ายเงินโบนัสเสียแล้ว โจทก์จึงไม่มีสิทธิที่จะเรียกเงินโบนัสจากจำเลย ในวันที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์ จำเลยได้สั่งจ่ายเช็คเงินเดือนรวมกับเงินอื่นพร้อมที่จะจ่ายให้แก่โจทก์ แต่โจทก์ไม่ยอมลงลายมือชื่อรับเงินเพราะเกรงจะเป็นการสมัครใจลาออกจากงาน เมื่อเห็นได้ว่าจำเลยขอปฏิบัติการชำระหนี้โดยชอบแล้วแต่โจทก์ปฏิเสธไม่ยอมรับชำระหนี้ กรณีถือไม่ได้ว่าจำเลยจงใจผิดนัดไม่จ่ายค่าจ้างให้แก่โจทก์โดยปราศจากเหตุอันสมควร แม้จำเลยจะไม่นำเงินดังกล่าวไปมอบไว้แก่อธิบดีหรือผู้ซึ่งอธิบดีมอบหมาย ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 31 วรรคสาม ก็ตาม โจทก์ก็ไม่มีสิทธิคิดเงินเพิ่มตามข้อ31 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6988/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจ้างโบนัส: การผูกพันตามสัญญาเฉพาะเจาะจงเหนือกว่าระเบียบข้อบังคับ
จำเลยจ้างโจทก์เป็นลูกจ้าง และตกลงจ่ายเงินโบนัสประจำปีให้โจทก์ 4 เดือน จึงมีผลผูกพันให้โจทก์และจำเลยต้องปฏิบัติตามสัญญาจ้างดังกล่าวตลอดเวลาที่โจทก์และจำเลยยังเป็นลูกจ้างและนายจ้างกันอยู่ ตามสัญญาจ้างดังกล่าวมิได้ระบุกำหนดข้อยกเว้นในกรณีที่จะไม่จ่ายเงินโบนัสประจำปี ลดเงินโบนัสประจำปีหรือจำกัดการจ่ายเงินโบนัสประจำปีให้โจทก์ไว้ ดังนี้ เมื่อโจทก์ทำงานเป็นลูกจ้างจำเลยตลอดทั้งปี จำเลยจะต้องจ่ายเงินโบนัสประจำปีให้โจทก์ตามจำนวนที่ระบุในสัญญาจ้าง
แม้ระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยจะกำหนดว่าการจ่ายโบนัส จำเลยจะพิจารณาจากผลการปฏิบัติงาน สถิติการมาทำงาน ความประพฤติ การปฏิบัติตามระเบียบข้อบังคับในการทำงานหรือคำสั่งของผู้บังคับบัญชาในรอบปีที่ผ่านมา การจ่ายเงินโบนัสตามระเบียบข้อบังคับดังกล่าวไม่แน่นอนว่าลูกจ้างแต่ละคนจะได้เงินโบนัสประจำปีจำนวนเท่าใด ทั้งแต่ละคนอาจจะได้ไม่เท่ากันซึ่งถ้านำมาใช้แก่กรณีของโจทก์ โจทก์อาจจะได้เงินโบนัสประจำปีในแต่ละปีไม่แน่นอนและอาจจะได้ไม่ถึงปีละ 4 เดือน ตามที่ตกลงไว้ในสัญญาจ้าง และถ้าโจทก์จำเลยมีเจตนาให้โจทก์ได้รับเงินโบนัสประจำปีมากน้อยตามผลการปฏิบัติงาน การมาทำงานความประพฤติ และการปฏิบัติตามระเบียบข้อบังคับเช่นลูกจ้างคนอื่น ๆ ก็สามารถนำระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานดังกล่าวมาใช้บังคับแก่โจทก์ เช่นลูกจ้างคนอื่น ๆ ได้อยู่แล้ว หาจำต้องตกลงจ่ายเงินโบนัสไว้โดยเฉพาะในสัญญาจ้างให้ผิดแผกไปจากที่กำหนดไว้ในระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานอีกไม่ การที่โจทก์จำเลยตกลงการจ่ายเงินโบนัสประจำปีไว้โดยเฉพาะในสัญญาจ้างเช่นนี้ จึงเป็นการชี้ชัดว่าโจทก์จำเลยมีเจตนาให้ผูกพันกันในกรณีการจ่ายเงินโบนัสประจำปีให้โจทก์ผิดแผกแตกต่างไปจากที่กำหนดไว้ในระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานดังกล่าว
สัญญาจ้างระบุไว้เพียงว่า จำเลยตกลงจ่ายเงินโบนัสประจำปี4 เดือน โดยมิได้ระบุว่าจำเลยตกลงจ่ายให้เฉพาะปีแรก เมื่อปรากฏว่าผลการปฏิบัติงานในปีที่เกิดกรณีพิพาท โจทก์มีสิทธิได้รับเงินโบนัสประจำปี 4 เดือน จำเลยจึงมีความผูกพันต้องจ่ายเงินโบนัสประจำปีตามที่ตกลงกันตามสัญญาจ้างนั้นให้แก่โจทก์
แม้ระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยจะกำหนดว่าการจ่ายโบนัส จำเลยจะพิจารณาจากผลการปฏิบัติงาน สถิติการมาทำงาน ความประพฤติ การปฏิบัติตามระเบียบข้อบังคับในการทำงานหรือคำสั่งของผู้บังคับบัญชาในรอบปีที่ผ่านมา การจ่ายเงินโบนัสตามระเบียบข้อบังคับดังกล่าวไม่แน่นอนว่าลูกจ้างแต่ละคนจะได้เงินโบนัสประจำปีจำนวนเท่าใด ทั้งแต่ละคนอาจจะได้ไม่เท่ากันซึ่งถ้านำมาใช้แก่กรณีของโจทก์ โจทก์อาจจะได้เงินโบนัสประจำปีในแต่ละปีไม่แน่นอนและอาจจะได้ไม่ถึงปีละ 4 เดือน ตามที่ตกลงไว้ในสัญญาจ้าง และถ้าโจทก์จำเลยมีเจตนาให้โจทก์ได้รับเงินโบนัสประจำปีมากน้อยตามผลการปฏิบัติงาน การมาทำงานความประพฤติ และการปฏิบัติตามระเบียบข้อบังคับเช่นลูกจ้างคนอื่น ๆ ก็สามารถนำระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานดังกล่าวมาใช้บังคับแก่โจทก์ เช่นลูกจ้างคนอื่น ๆ ได้อยู่แล้ว หาจำต้องตกลงจ่ายเงินโบนัสไว้โดยเฉพาะในสัญญาจ้างให้ผิดแผกไปจากที่กำหนดไว้ในระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานอีกไม่ การที่โจทก์จำเลยตกลงการจ่ายเงินโบนัสประจำปีไว้โดยเฉพาะในสัญญาจ้างเช่นนี้ จึงเป็นการชี้ชัดว่าโจทก์จำเลยมีเจตนาให้ผูกพันกันในกรณีการจ่ายเงินโบนัสประจำปีให้โจทก์ผิดแผกแตกต่างไปจากที่กำหนดไว้ในระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานดังกล่าว
สัญญาจ้างระบุไว้เพียงว่า จำเลยตกลงจ่ายเงินโบนัสประจำปี4 เดือน โดยมิได้ระบุว่าจำเลยตกลงจ่ายให้เฉพาะปีแรก เมื่อปรากฏว่าผลการปฏิบัติงานในปีที่เกิดกรณีพิพาท โจทก์มีสิทธิได้รับเงินโบนัสประจำปี 4 เดือน จำเลยจึงมีความผูกพันต้องจ่ายเงินโบนัสประจำปีตามที่ตกลงกันตามสัญญาจ้างนั้นให้แก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6988/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจ้างระบุโบนัส 4 เดือน มีผลผูกพัน แม้ระเบียบบริษัทจะกำหนดหลักเกณฑ์อื่น
จำเลยจ้างโจทก์เป็นลูกจ้าง และตกลงจ่ายเงินโบนัสประจำปีให้โจทก์ 4 เดือน จึงมีผลผูกพันให้โจทก์และจำเลยต้องปฏิบัติตามสัญญาจ้างดังกล่าวตลอดเวลาที่โจทก์และจำเลยยังเป็นลูกจ้างและนายจ้างกันอยู่ ตามสัญญาจ้างดังกล่าวมิได้ระบุกำหนดข้อยกเว้นในกรณีที่จะไม่จ่ายเงินโบนัสประจำปีลดเงินโบนัสประจำปีหรือจำกัดการจ่ายเงินโบนัสประจำปีให้โจทก์ไว้ ดังนี้ เมื่อโจทก์ทำงานเป็นลูกจ้างจำเลยตลอดทั้งปี จำเลยจะต้องจ่ายเงินโบนัสประจำปีให้โจทก์ตามจำนวนที่ระบุในสัญญาจ้าง แม้ระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยจะกำหนดว่า การจ่ายโบนัส จำเลยจะพิจารณาจากผลการปฏิบัติงาน สถิติการมาทำงาน ความประพฤติ การปฏิบัติตามระเบียบ ข้อบังคับในการทำงานหรือคำสั่งของผู้บังคับบัญชาในรอบปี ที่ผ่านมา การจ่ายเงินโบนัสตามระเบียบข้อบังคับดังกล่าว ไม่แน่นอนว่าลูกจ้างแต่ละคนจะได้เงินโบนัสประจำปีจำนวนเท่าใด ทั้งแต่ละคนอาจจะได้ไม่เท่ากันซึ่งถ้านำมาใช้แก่กรณีของโจทก์ โจทก์อาจจะได้เงินโบนัสประจำปีในแต่ละปีไม่แน่นอนและอาจ จะได้ไม่ถึงปีละ 4 เดือน ตามที่ตกลงไว้ในสัญญาจ้าง และถ้า โจทก์จำเลยมีเจตนาให้โจทก์ได้รับเงินโบนัสประจำปีมากน้อยตาม ผลการปฏิบัติงาน การมาทำงานความประพฤติ และการปฏิบัติ ตามระเบียบข้อบังคับเช่นลูกจ้างคนอื่น ๆ ก็สามารถนำ ระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานดังกล่าวมาใช้บังคับ แก่โจทก์ เช่นลูกจ้างคนอื่น ๆ ได้อยู่แล้ว หากจำต้องตกลง จ่ายเงินโบนัสไว้โดยเฉพาะในสัญญาจ้างให้ผิดแผก ไปจากที่กำหนดไว้ในระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานอีกไม่ การที่โจทก์จำเลยตกลงการจ่ายเงินโบนัสประจำปีไว้ โดยเฉพาะในสัญญาจ้างเช่นนี้ จึงเป็นการชี้ชัดว่า โจทก์จำเลยมีเจตนาให้ผูกพันกันในกรณีการจ่ายเงินโบนัส ประจำปีให้โจทก์ผิดแผกแตกต่างไปจากที่กำหนดไว้ในระเบียบ ข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานดังกล่าว สัญญาจ้างระบุไว้เพียงว่า จำเลยตกลงจ่ายเงินโบนัสประจำปี 4 เดือน โดยมิได้ระบุว่าจำเลยตกลงจ่ายให้เฉพาะปีแรก เมื่อปรากฏว่าผลการปฏิบัติงานในปีที่เกิดกรณีพิพาท โจทก์ มีสิทธิได้รับเงินโบนัสประจำปี 4 เดือน จำเลยจึงมี ความผูกพันต้องจ่ายเงินโบนัสประจำปีตามที่ตกลงกันตามสัญญาจ้างนั้นให้แก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4393/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สวัสดิการเงินสะสมและเงินตอบแทนกรณีลาออก: เจตนาของระเบียบข้อบังคับคือการให้สิทธิพนักงาน
ระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยกำหนดว่าพนักงานที่มีอายุงานครบ 10 ปี หรือ 10 ปี ขึ้นไปจำเลยจะสมทบให้อีกร้อยละร้อยของเงินสะสมพร้อมดอกเบี้ยเมื่อลาออก และพนักงานที่มีอายุงานเกิน 15 ปี ขึ้นไปเมื่อลาออก จำเลยจะ พิจารณามอบเงินให้อีกอย่างน้อยไม่ต่ำกว่า 180 วัน ของรายได้ ครั้งสุดท้ายที่ได้รับ แต่เมื่อระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน ของจำเลยว่าด้วยสวัสดิการพนักงานมีข้อความว่า บริษัทจำเลยได้ตระหนักถึงความมั่นคงและความปลอดภัยในการทำงานของพนักงาน ทุกคนที่ทำงานอยู่กับบริษัท บริษัทจึงได้จัดให้มีสวัสดิการต่าง ๆ ขึ้น ให้แก่พนักงานเพื่อเป็นการบำรุงขวัญและกำลังใจ ตลอดจน ให้พนักงานมีความรู้สึกที่มั่นคงในการทำงานกับบริษัท ซึ่งบริษัท ถือว่าเป็นเรื่องสำคัญจึงได้กำหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับสวัสดิการ ของพนักงานขึ้น และในระเบียบว่าด้วยเงินสะสมพนักงาน ก็มีข้อความว่า เพื่อให้พนักงานมีหลักประกันว่าจะได้รับเงิน จำนวนหนึ่งเมื่อสิ้นสุดการเป็นพนักงานของบริษัทไม่ว่าเพราะลาออกหรือเกษียณอายุ ซึ่งไม่ใช่การพ้นสภาพเป็นพนักงานเนื่องจากการกระทำความผิด บริษัทได้ตระหนักถึงความมั่นคงในอนาคตของพนักงานจึงได้กำหนดหลักเกณฑ์เงินสะสมของพนักงานไว้จึงเห็นเจตนาของจำเลยที่ได้วางระเบียบข้อบังคับดังกล่าวไว้เพื่อให้พนักงานได้รับเงินจำนวนหนึ่งเป็นสวัสดิการคือเงินสะสมซึ่งเป็นของพนักงานที่จำเลยหักเก็บไว้ให้คืนพร้อมดอกเบี้ย และจำเลย จะสมทบตอบแทนให้อีกจำนวนหนึ่งรวมทั้งหากพนักงานที่มีอายุงาน เกิน 15 ปีขึ้นไป ลาออกก็จะได้รับเงินจากจำเลยอีกไม่ต่ำกว่า 180 วันของรายได้ครั้งสุดท้ายที่ได้รับ ฉะนั้น จำเลยจะหยิบยกคำว่า"จะสมทบให้" หรือคำว่า "จะพิจารณามอบเงินให้" มาแปลความหมายว่า เป็นดุลพินิจของจำเลยที่จะจ่ายเงินจำนวนดังกล่าวหรือไม่มิได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4393/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจตนาของระเบียบสวัสดิการพนักงาน: การสมทบและมอบเงินต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ ไม่ใช่ดุลพินิจ
ระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยกำหนดว่าพนักงานที่มีอายุงานครบ 10 ปี หรือ 10 ปี ขึ้นไป จำเลยจะสมทบให้อีกร้อยละร้อยของเงินสะสมพร้อมดอกเบี้ยเมื่อลาออก และพนักงานที่มีอายุงานเกิน 15 ปี ขึ้นไปเมื่อลาออก จำเลยจะพิจารณามอบเงินให้อีกอย่างน้อยไม่ต่ำกว่า 180 วัน ของรายได้ครั้งสุดท้ายที่ได้รับ เมื่อระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยว่าด้วยสวัสดิการพนักงาน มีข้อความว่า บริษัทจำเลยได้ตระหนักถึงความมั่นคงและความปลอดภัยในการทำงานของพนักงานทุกคนที่ทำงานอยู่กับบริษัท บริษัทจึงได้จัดให้มีสวัสดิการต่าง ๆ ขึ้น ให้แก่พนักงานเพื่อเป็นการบำรุงขวัญและกำลังใจ ตลอดจนให้พนักงานมีความรู้สึกที่มั่นคงในการทำงานกับบริษัท ซึ่งบริษัทถือว่าเป็นเรื่องสำคัญจึงได้กำหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับสวัสดิการของพนักงานขึ้น และในระเบียบว่าด้วยเงินสะสมพนักงาน มีข้อความว่า เพื่อให้พนักงานมีหลักประกันว่า จะได้รับเงินจำนวนหนึ่งเมื่อสิ้นสุดการเป็นพนักงานของบริษัทไม่ว่าเพราะลาออกหรือเกษียณอายุ ซึ่งไม่ใช่การพ้นสภาพเป็นพนักงานเนื่องจากการกระทำความผิด บริษัทจึงได้ตระหนักถึงความมั่นคงในอนาคตของพนักงาน จึงได้กำหนดหลักเกณฑ์เงินสะสมของพนักงานไว้ ดังนี้ แสดงให้เห็นเจตนาของจำเลยว่าที่ได้วางระเบียบข้อบังคับดังกล่าวไว้ก็เพื่อให้พนักงานได้รับเงินจำนวนหนึ่งเป็นสวัสดิการคือเงินสะสม ซึ่งเป็นของพนักงานที่จำเลยหักเก็บไว้ให้คืนพร้อมดอกเบี้ย และจำเลยจะสมทบตอบแทนให้อีกจำนวนหนึ่งรวมทั้งหากพนักงานที่มีอายุงานเกิน 15 ปีขึ้นไป ลาออกก็จะได้รับเงินจากจำเลยอีกไม่ต่ำกว่า 180 วันของรายได้ครั้งสุดท้ายที่ได้รับ ฉะนั้น จำเลยจะหยิบยกคำว่า "จะสมทบให้" หรือคำว่า "จะพิจารณามอบเงินให้" ก็ดี มาแปลความหมายว่าเป็นดุลพินิจของจำเลยที่จะจ่ายเงินจำนวนดังกล่าวแก่โจทก์หรือไม่ก็ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4139/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสละที่ดินให้รัฐเพื่อประโยชน์สาธารณะโดยไม่จำเป็นต้องทำเป็นหนังสือ และการตั้งตัวแทนในการสละ
โจทก์ฟ้องว่า โจทก์ครอบครองทำประโยชน์ในที่พิพาทโดยโจทก์ไม่ได้แจ้งการครอบครองไว้ แต่ได้เสียภาษีบำรุงท้องที่ตลอดมา ต่อมาโจทก์ได้ยื่นคำขอออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ต่อจำเลยซึ่งเป็นเจ้าพนักงานผู้มีอำนาจ จำเลยให้การต่อสู้ว่าโจทก์ได้ทำหนังสือสละการครอบครอง ที่พิพาทตกเป็นของรัฐและแผ่นดินแล้ว เป็นการต่อสู้โดยอ้างกรรมสิทธิ์จึงเป็นคดีมีทุนทรัพย์ เอกสารมีข้อความตอนท้ายว่า ตามที่ทางราชการประสงค์จะใช้ที่ดินที่ข้าพเจ้ายึดถือครอบครองอยู่นี้ เป็นวนอุทยานและแหล่งท่องเที่ยว โจทก์มีความยินดีและเต็มใจไม่ขัดข้องที่ทางราชการจะจัดเป็นวนอุทยานและแหล่งท่องเที่ยว แต่จะขอ ถือกรรมสิทธิ์ในผลอาสินต่าง ๆ ที่มีอยู่ในพื้นที่ที่ได้ถือครอบครองมาแต่เพียงอย่างเดียวหนังสือดังกล่าวแสดงไว้ ชัดเจนว่าได้มีการสละการครอบครองที่พิพาทให้เป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินแล้ว คงสงวนไว้แต่เพียงสิทธิเหนือพื้นดินเท่านั้นต่อมาทางราชการได้เข้าพัฒนาที่ดินของโจทก์อย่างเปิดเผยและวางแผนดำเนินงานเป็นขั้นตอนติดต่อกันทุกปี นับแต่โจทก์ได้สละการครอบครองโดยใช้งบประมาณแผ่นดินก่อสร้างถนนอาคารเอนกประสงค์ จัดหาม้าหินอ่อนมาวางบริการนักท่องเที่ยวสร้างถังขยะสาธารณะก่อสร้างบ้านพักรับรอง ติดตั้งป้ายชื่อหาดโดยโจทก์ไม่เคยโต้แย้งคัดค้าน และโจทก์ปล่อยให้ทางราชการดำเนินการก่อสร้างและพัฒนาที่พิพาทเสียงบประมาณไปเป็นจำนวนมาก เป็นระยะเวลา 5 ปี โดยไม่ปรากฏว่าทางราชการได้หลอกลวงโจทก์ให้สละการครอบครองที่พิพาท กรณีฟังได้ว่าโจทก์ได้สละการครอบครองที่พิพาทให้เป็นของรัฐหรือแผ่นดินแล้ว การสละการครอบครองที่ดินมือเปล่าให้แก่ทางราชการโดยจะขอถือกรรมสิทธิ์เฉพาะผลอาสินแต่เพียงอย่างเดียวนั้นมีผลให้ที่ดินที่โจทก์สละการครอบครองกลายเป็นที่สาธารณสมบัติของแผ่นดินทันที โดยไม่ต้องทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่อีก เมื่อการแสดงเจตนาสละการครอบครองที่ดินมือเปล่าเป็นกิจการที่กฎหมายไม่ได้บังคับว่าต้องทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ การตั้งตัวแทนในการสละการครอบครองจึงไม่ต้องทำเป็นหนังสือ การที่ อ.สามีโจทก์ลงลายมือชื่อในหนังสือสละการครอบครองที่ดินพิพาทถือได้ว่าโจทก์ได้ตั้งตัวแทนในการสละการครอบครองที่พิพาทแล้ว