พบผลลัพธ์ทั้งหมด 268 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1879/2566
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาฝากทรัพย์ที่มีความคุ้มครองประกันภัย การโฆษณาชักจูงผู้บริโภค และความรับผิดของผู้ประกอบธุรกิจ
จำเลยประกอบธุรกิจธนาคารรับฝากเงิน ทำการโฆษณาทางสื่อสังคมออนไลน์ด้วยข้อความว่าเป็นการรับฝากเงินสงเคราะห์ แบบคุ้มครองสินเชื่อแก่ลูกค้าผู้กู้ของธนาคาร โดยกำหนดคุณสมบัติของผู้ฝากเงินสงเคราะห์และเงื่อนไขสำคัญว่า ผู้ฝากเงินสงเคราะห์ต้องมีคุณสมบัติเป็นเกษตรกรลูกค้าผู้กู้และคู่สมรส อายุระหว่าง 20 ปี ถึง 70 ปี ชำระเงินต่อปี โดยมีผลประโยชน์กรณีเสียชีวิตด้วยอุบัติเหตุรับเพิ่ม 100 เปอร์เซ็นต์ ของเงินทุนสงเคราะห์ ข้อความโฆษณาดังกล่าวจำเลยนำมาจากหลักเกณฑ์และเงื่อนไขในกรมธรรม์มอบรัก 1/1 ย่อมทำให้ผู้ตายซึ่งเป็นผู้บริโภคเข้าใจว่า หากผู้ตายเป็นลูกค้าของธนาคารจำเลย นำเงินไปฝากกับจำเลยตามจำนวนและต้องด้วยหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ในคำโฆษณาแล้ว ผู้ตายซึ่งเป็นคู่สัญญาฝากทรัพย์จะได้รับความคุ้มครองตามเงื่อนไขต่าง ๆ ของกรมธรรม์มอบรัก 1/1 ที่จำเลยโฆษณาไว้ด้วย จำเลยจึงต้องผูกพันให้ความคุ้มครองแก่ผู้ตายตามที่ตนโฆษณาซึ่งถือเป็นส่วนหนึ่งของสัญญาตาม พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค พ.ศ. 2551 มาตรา 11 การที่ผู้ตายขอฝากเงินสงเคราะห์ต่อจำเลยโดยมุ่งหวังรับผลประโยชน์ตามกรมธรรม์มอบรัก 1/1 จึงเป็นการแสดงเจตนาทำสัญญาฝากทรัพย์โดยมีความคุ้มครองประกันชีวิตให้แก่ผู้ตายอยู่ด้วย เพราะต้องตีความไปในทางที่เป็นคุณแก่ผู้ตายซึ่งเป็นผู้บริโภคซึ่งจะเป็นผู้ต้องเสียในมูลหนี้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 11 จำเลยจึงต้องรับผิดต่อโจทก์ซึ่งเป็นผู้รับประโยชน์ตามใบคำขอฝากเงินสงเคราะห์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 917/2566
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คดีประกันภัย: การชดใช้ค่าสินไหมทดแทน, ดอกเบี้ย, ค่าเสียหายเพื่อการลงโทษ, และมาตรฐานวิชาชีพ
โจทก์ที่ 1 เอาประกันภัยความเสี่ยงภัยแบ่งเป็นทุนประกันภัย 4 ประเภท คือ 1.อาคารและสิ่งปลูกสร้าง 2.เฟอร์นิเจอร์ สิ่งตกแต่งติดตั้งตรึงตราและทรัพย์สินอื่น ๆ 3.เครื่องจักร และ 4.สต๊อกสินค้าประเภทเฟอร์นิเจอร์ ลักษณะของสัญญาประกันภัยระบุประเภทความรับผิดในแต่ละส่วนแยกออกจากกันโดยชัดเจน แสดงเจตนาของคู่สัญญาว่าต้องการแบ่งแยกประเภททรัพย์สินและวงเงินความรับผิดในแต่ละประเภท แม้มีการชำระเบี้ยประกันภัยโดยไม่แบ่งแยกตามประเภททรัพย์สิน แต่เมื่อสัญญาประกันภัยแยกประเภทความรับผิดและวงเงินประกันภัยของจำเลยออกจากกันได้ ทั้งไม่ปรากฏว่าจำเลยโต้แย้งถึงราคาและความเสียหายของทรัพย์สินส่วนอื่นคงโต้แย้งเฉพาะความเสียหายเกี่ยวกับสต๊อกสินค้า ประกอบกับการแสดงหรือใช้เอกสารอันไม่ถูกต้องและเป็นเท็จของโจทก์ทั้งสองมีเฉพาะในส่วนของสต๊อกสินค้าเท่านั้น เมื่อสัญญาดังกล่าวไม่ได้ระบุเงื่อนไขโดยชัดแจ้งว่าหากผิดเงื่อนไขไม่ว่าส่วนใดส่วนหนึ่งแล้วจะทำให้จำเลยไม่ต้องรับผิดตามสัญญาประกันภัยทั้งหมด จึงต้องตีความโดยเคร่งครัด และเมื่อเงื่อนไขดังกล่าวไม่ชัดแจ้งตาม ป.พ.พ. มาตรา 11 จึงต้องตีความเป็นคุณแก่โจทก์ทั้งสองซึ่งเป็นผู้เอาประกันภัยที่ต้องเสียในมูลหนี้ โดยต้องตีความว่าสัญญาประกันภัยได้แบ่งทรัพย์สินที่เอาประกันภัยออกเป็นประเภทต่าง ๆ โดยระบุวงเงินรับผิดของแต่ละประเภทไว้เป็นการแยกสัญญาประกันภัยออกเป็นส่วน ๆ ต่างหากจากกันได้ จึงไม่ทำให้สัญญาประกันภัยในส่วนอื่น ๆ ข้างต้นที่มีลักษณะแบ่งแยกประเภทความรับผิด ทั้งวงเงินที่ต้องรับผิดตามสัญญาประกันภัยออกจากกันไว้ต่างหากโดยชัดเจนมีผลเสียไปทั้งหมด จำเลยจึงได้รับยกเว้นไม่ต้องรับผิดชดใช้เฉพาะความเสียหายสต๊อกสินค้าเท่านั้น แต่ในส่วนอาคารและสิ่งปลูกสร้าง เฟอร์นิเจอร์ สิ่งตกแต่งติดตั้งตรึงตราและทรัพย์สินอื่น ๆ รวมทั้งเครื่องจักร จำเลยยังคงต้องรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่โจทก์ทั้งสอง ปรากฏว่าตั้งแต่เกิดเหตุวินาศภัยจนถึงวันที่โจทก์ทั้งสองอ้างส่งเอกสารสต๊อกสินค้าเพื่อประกอบการพิจารณาค่าสินไหมทดแทนเป็นระยะเวลาประมาณ 2 ปี โจทก์ทั้งสองแจ้งแต่แรกว่าเอกสารเกี่ยวกับสินค้าของโจทก์ทั้งสองถูกเพลิงไหม้ทั้งหมด โดยค่าสินไหมทดแทนที่โจทก์ทั้งสองเรียกร้องเป็นไปตามวงเงินสัญญาประกันภัย แต่จำเลยปฏิเสธการชดใช้ค่าสินไหมทดแทนตั้งแต่ต้นโดยให้โจทก์ทั้งสองหาเอกสารประกอบการชดใช้ค่าสินไหมทดแทนส่วนสต๊อกสินค้า จนเป็นเหตุให้โจทก์ทั้งสองหาเอกสารจากร้านค้าคู่ค้าอันเป็นเท็จส่วนหนึ่งเกิดจากฝ่ายจำเลยและบริษัทผู้ประเมินเป็นผู้แนะนำ ภายหลังเมื่อโจทก์ทั้งสองยื่นเอกสารเท็จ จำเลยกลับแจ้งความร้องทุกข์ให้ดำเนินคดีแก่โจทก์ทั้งสองทั้งที่จำเลยก็ทราบว่าบริษัทผู้ประเมินไม่ได้ใช้เอกสารที่โจทก์ทั้งสองยื่นมาประกอบการพิจารณาค่าสินไหมทดแทน ซึ่งระหว่างเจรจาที่ คปภ. เจ้าหน้าที่สำนักงาน คปภ. แนะนำว่าวงเงินประกันภัยส่วนใดที่รับกันได้ก็ให้จ่ายไปก่อน แต่จำเลยชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ทั้งสองเพียงบางส่วนเท่านั้น ทั้งเมื่อบริษัทผู้ประเมินที่จำเลยมอบหมายรายงานการประเมินความเสียหายและค่าสินไหมทดแทน จำเลยก็ปฏิเสธไม่ยอมรับรายงานการประเมินดังกล่าว พฤติการณ์ของจำเลยซึ่งเป็นผู้ประกอบธุรกิจประกันภัยอันเป็นที่ไว้วางใจของประชาชนถือได้ว่าไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานวิชาชีพที่เหมาะสมภายใต้ระบบธุรกิจที่เป็นธรรมเพราะจำเลยสามารถชดใช้ค่าเสียหายในส่วนอื่นที่ไม่ได้โต้แย้งให้แก่โจทก์ทั้งสอง การกระทำของจำเลยในฐานะผู้ประกอบธุรกิจเป็นการเอาเปรียบโจทก์ทั้งสองซึ่งเป็นผู้บริโภคโดยไม่เป็นธรรม จึงเห็นสมควรกำหนดค่าเสียหายเพื่อการลงโทษตาม พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค พ.ศ. 2551 มาตรา 42 แต่ค่าเสียหายเพื่อการลงโทษในกรณีนี้มิใช่หนี้เงินขณะฟ้องที่จะนำมาคิดดอกเบี้ยผิดนัดตาม ป.พ.พ. มาตรา 224
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6232/2564
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
จำกัดความรับผิดของผู้ค้ำประกัน, การบังคับคดี, และการชำระหนี้ร่วมกัน
สัญญาค้ำประกันตอนแรกกำหนดวงเงินค้ำประกันแน่นอนเป็นเงิน 45,000,000 บาท แต่ตอนต่อมากลับระบุให้รวมดอกเบี้ยที่ค้างชำระโดยไม่จำกัดความรับผิด อันเป็นการขัดแย้งกันไม่แน่ชัดว่าเป็นการค้ำประกันโดยจำกัดความรับผิดหรือไม่ กรณีมีข้อสงสัย ต้องตีความไปในทางที่เป็นคุณแก่จำเลยที่ 7 ในฐานะผู้บริโภคคู่กรณีฝ่ายที่จะต้องเสียในมูลหนี้นั้นตาม ป.พ.พ. มาตรา 11 แปลความได้ว่าสัญญาค้ำประกันดังกล่าวเป็นสัญญาค้ำประกันจำกัดความรับผิดทั้งต้นเงินและดอกเบี้ยค้างชำระเป็นเงินไม่เกิน 45,000,000 บาท
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2948/2563
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ดอกเบี้ยค่าสินไหมทดแทน: เริ่มนับจากวันกระทำละเมิดครั้งสุดท้าย เมื่อมูลละเมิดเป็นหนี้อันมิอาจแบ่งแยก
ผู้ร้องยื่นคำร้องขอให้บังคับจำเลยชดใช้ค่าสินไหมทดแทนพร้อมดอกเบี้ยนับแต่วันกระทำความผิด แต่จำเลยกระทำความผิดหลายกรรมต่างกัน รวม 57 กรรม และผู้ร้องมิได้กล่าวมาในคำร้องหรือนำสืบให้ชัดแจ้งว่าขอดอกเบี้ยนับแต่วันกระทำความผิดวันใด ทั้งตามคำร้องมีคำขอบังคับให้จำเลยรับผิดในหนี้จากมูลละเมิดเป็นจำนวนเดียวซึ่งเป็นหนี้อันแบ่งแยกมิได้ และที่ศาลล่างทั้งสองวินิจฉัยให้จำเลยรับผิดก็เป็นหนี้จำนวนเดียว จึงต้องตีความไปในทางที่เป็นคุณแก่จำเลย ซึ่งจะเป็นผู้ต้องเสียในมูลหนี้นั้นตาม ป.พ.พ. มาตรา 11 ว่าขอดอกเบี้ยนับแต่วันทำละเมิดครั้งสุดท้าย ที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาให้จำเลยชำระเงินพร้อมดอกเบี้ยนับแต่วันทำละเมิดครั้งแรกจึงเป็นการไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10029/2560
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประนีประนอมยอมความข้อผิดนัดชำระ การบังคับคดีต้องเป็นไปตามส่วนที่ผิดสัญญา การตีความสัญญาต้องเป็นคุณแก่ลูกหนี้
สัญญาประนีประนอมยอมความข้อ 7 ที่ระบุว่า หากคู่สัญญาฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดผิดนัดชำระตามสัญญาข้อหนึ่งข้อใดให้ถือว่าคู่สัญญาฝ่ายนั้นเป็นฝ่ายผิดนัดทั้งหมด และยินยอมให้คู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่งบังคับคดีได้ทันทีเต็มตามฟ้อง ซึ่งการบังคับคดีต้องเป็นการบังคับคดีในส่วนที่อีกฝ่ายผิดสัญญา แต่การที่โจทก์ไม่นำบุตรไปให้บิดาโจทก์ดูแล อันเป็นการผิดสัญญาประนีประนอมยอมความนั้น จำเลยมีสิทธิบังคับคดีเพื่อให้มีการบังคับให้โจทก์ส่งบุตรไปให้บิดาโจทก์ดูแลตามที่ระบุไว้ในสัญญา หาได้หมายความถึงโจทก์จะมีสิทธิเรียกค่าอุปการะเลี้ยงดูตามสัญญาประนีประนอมยอมความข้อ 1 ไม่ เพราะนอกจากจะทำให้โจทก์และจำเลยต้องรับภาระเพิ่มขึ้นแล้ว การผิดสัญญาในข้อที่ไม่ต้องชำระด้วยเงิน กฎหมายกำหนดวิธีการบังคับคดีไว้แล้ว ทั้งสัญญาประนีประนอมยอมความข้อ 7 มีข้อความไม่รัดกุมถือว่าเป็นกรณีมีข้อสงสัย ต้องตีความในทางที่เป็นคุณแก่คู่กรณีฝ่ายซึ่งจะต้องเป็นผู้เสียในมูลหนี้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 11 จึงต้องตีความไปในทางที่เป็นคุณแก่โจทก์ เมื่อจำเลยมิได้ยื่นคำร้องว่า โจทก์ผิดนัดชำระค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตร จำเลยจึงไม่มีสิทธิขอให้ออกหมายบังคับคดีแก่โจทก์ให้ชำระค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตร
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6447/2560
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภาษีอากร: การประเมินภาษีเงินได้นิติบุคคล, เงินเพิ่ม, เบี้ยปรับ, และเหตุงดลดตามมาตรา 67 ตรี แห่งประมวลรัษฎากร
ป.รัษฎากร มาตรา 19 มิได้กำหนดว่า การออกหมายเรียกเกินกว่าสองปี นับแต่วันที่ได้ยื่นรายการ เจ้าพนักงานประเมินจะต้องขออนุมัติขยายเวลาการออกหมายเรียกดังกล่าวภายในสองปี นับแต่วันที่ได้ยื่นรายการ ดังนั้น เมื่อเจ้าพนักงานประเมินมีเหตุอันควรสงสัยว่าโจทก์มีเจตนาหลีกเลี่ยงภาษีอากร อธิบดีกรมสรรพากรจะพิจารณาอนุมัติให้ขยายระยะเวลาการออกหมายเรียกตรวจสอบภาษีอากรของโจทก์เกินกว่าสองปีก็ได้
ดอกเบี้ยเงินฝากที่จะถือเป็นรายได้ปกติธุระจากการประกอบกิจการที่ได้รับการส่งเสริมและได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลนั้น จะต้องเป็นดอกเบี้ยที่เกิดจากการนำเงินทุนหมุนเวียนที่เกิดขึ้นตั้งแต่วันที่มีรายได้จากการประกอบกิจการที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุนไปฝากธนาคารหรือสถาบันการเงิน และเฉพาะการฝากเงินประเภทออมทรัพย์ที่ใช้สมุดคู่ฝากในการถอนและไม่ใช้เช็คในการถอนเงินเท่านั้นที่จะได้รับยกเว้น เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่า รายได้ดอกเบี้ยเงินฝากออมทรัพย์พิพาทของโจทก์ไม่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล เจ้าพนักงานประเมินย่อมมีอำนาจแก้ไขปรับปรุงรายได้ของโจทก์จากรายได้ที่ได้รับการยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลเป็นรายได้ที่ไม่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล และปรับปรุงผลกำไรขาดทุนสุทธิภาษีเงินได้นิติบุคคลให้ถูกต้องได้
ดอกเบี้ยเงินฝากที่จะถือเป็นรายได้ปกติธุระจากการประกอบกิจการที่ได้รับการส่งเสริมและได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลนั้น จะต้องเป็นดอกเบี้ยที่เกิดจากการนำเงินทุนหมุนเวียนที่เกิดขึ้นตั้งแต่วันที่มีรายได้จากการประกอบกิจการที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุนไปฝากธนาคารหรือสถาบันการเงิน และเฉพาะการฝากเงินประเภทออมทรัพย์ที่ใช้สมุดคู่ฝากในการถอนและไม่ใช้เช็คในการถอนเงินเท่านั้นที่จะได้รับยกเว้น เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่า รายได้ดอกเบี้ยเงินฝากออมทรัพย์พิพาทของโจทก์ไม่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล เจ้าพนักงานประเมินย่อมมีอำนาจแก้ไขปรับปรุงรายได้ของโจทก์จากรายได้ที่ได้รับการยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลเป็นรายได้ที่ไม่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล และปรับปรุงผลกำไรขาดทุนสุทธิภาษีเงินได้นิติบุคคลให้ถูกต้องได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7257/2557
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การตีความสัญญาจำนอง: หนี้ที่ค้ำประกันรวมด้วยหรือไม่? ศาลพิจารณาเจตนาจริงและหลักการคุ้มครองลูกหนี้
ปัญหาเกี่ยวกับการตีความการแสดงเจตนาตาม ป.พ.พ. มาตรา 171 ให้เพ่งเล็งถึงเจตนาอันแท้จริงยิ่งกว่าถ้อยคำสำนวนหรือตัวอักษร และตามมาตรา 11 กรณีที่มีข้อสงสัยให้ตีความไปในทางที่เป็นคุณแก่คู่กรณีฝ่ายซึ่งจะเป็นผู้ต้องเสียในมูลหนี้นั้น เมื่อโจทก์ที่ 1 และจำเลยไม่ได้ระบุให้รวมถึงหนี้ที่โจทก์ที่ 1 ค้ำประกันหนี้กู้ยืมของบุคคลอื่นที่ทำกับจำเลยไว้ชัดแจ้งในสัญญาจำนองและบันทึกข้อตกลงต่อท้ายสัญญาจำนองทั้งที่อยู่ในวิสัยทำได้ ดังนั้น คำว่า "หนี้และภาระผูกพันทุกลักษณะและทุกประเภท" ตามสัญญาจำนองจึงหมายถึงหนี้ที่โจทก์ที่ 1 เป็นลูกหนี้ของจำเลยโดยตรงในฐานะลูกหนี้ชั้นต้นเท่านั้น ไม่ครอบคลุมถึงหนี้ที่โจทก์ที่ 1 ทำสัญญาค้ำประกันหนี้กู้ยืมของบุคคลอื่นที่ทำกับจำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6925/2557
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การนับระยะเวลาฟ้องคดีกรณีแจ้งคำวินิจฉัยทางไปรษณีย์ และการขยายระยะเวลาฟ้องคดีเนื่องจากคำพิพากษาเดิม
จำเลยส่งหนังสือแจ้งคำวินิจฉัยของคณะกรรมการอุทธรณ์ฉบับเดียวกันไปยังโจทก์ทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับโดยชอบ 2 ครั้ง ครั้งแรกส่งไปยังที่อยู่ตามทะเบียนบ้านของโจทก์ มีผู้รับไว้เมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2552 ครั้งที่สองส่งไปยังสถานประกอบการของนายจ้างตามที่โจทก์แจ้งไว้ในคำอุทธรณ์ว่าเป็นสถานที่ติดต่อได้สะดวก มีผู้รับไว้เมื่อวันที่ 16 มีนาคม 2552 การนับเวลานำคดีไปสู่ศาลต้องตีความเป็นคุณแก่โจทก์ผู้ต้องเสียในมูลหนี้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 11 จึงให้เริ่มนับแต่วันที่โจทก์ได้รับแจ้งผลคำวินิจฉัยของคณะกรรมการอุทธรณ์ครั้งที่สอง
โจทก์ฟ้องสำนักงานประกันสังคมจังหวัดสุราษฎร์ธานีเป็นจำเลยพอแปลได้ว่า เป็นการฟ้องขอให้เพิกถอนคำวินิจฉัยของคณะกรรมการอุทธรณ์นั่นเอง
โจทก์ฟ้องสำนักงานประกันสังคมจังหวัดสุราษฎร์ธานีเป็นจำเลยเมื่อวันที่ 7 เมษายน 2552 ซึ่งอยู่ในกำหนด 30 วัน นับแต่วันที่โจทก์ได้รับแจ้งคำวินิจฉัยของคณะกรรมการอุทธรณ์ (ครั้งที่สอง) ศาลแรงงานภาค 8 วินิจฉัยว่า สำนักงานประกันสังคมจังหวัดสุราษฎร์ธานีไม่มีสภาพนิติบุคคลพิพากษายกฟ้องโดยไม่ให้ระยะเวลาโจทก์มาฟ้องคดีใหม่ โจทก์จึงฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้เมื่อวันที่ 4 มีนาคม 2553 อันเป็นกรณีจำเป็นและเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม เห็นสมควรขยายระยะเวลาการฟ้องขอเพิกถอนคำวินิจฉัยของคณะกรรมการอุทธรณ์เพื่อให้โจทก์ฟ้องเป็นคดีนี้ได้ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 26
โจทก์ฟ้องสำนักงานประกันสังคมจังหวัดสุราษฎร์ธานีเป็นจำเลยพอแปลได้ว่า เป็นการฟ้องขอให้เพิกถอนคำวินิจฉัยของคณะกรรมการอุทธรณ์นั่นเอง
โจทก์ฟ้องสำนักงานประกันสังคมจังหวัดสุราษฎร์ธานีเป็นจำเลยเมื่อวันที่ 7 เมษายน 2552 ซึ่งอยู่ในกำหนด 30 วัน นับแต่วันที่โจทก์ได้รับแจ้งคำวินิจฉัยของคณะกรรมการอุทธรณ์ (ครั้งที่สอง) ศาลแรงงานภาค 8 วินิจฉัยว่า สำนักงานประกันสังคมจังหวัดสุราษฎร์ธานีไม่มีสภาพนิติบุคคลพิพากษายกฟ้องโดยไม่ให้ระยะเวลาโจทก์มาฟ้องคดีใหม่ โจทก์จึงฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้เมื่อวันที่ 4 มีนาคม 2553 อันเป็นกรณีจำเป็นและเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม เห็นสมควรขยายระยะเวลาการฟ้องขอเพิกถอนคำวินิจฉัยของคณะกรรมการอุทธรณ์เพื่อให้โจทก์ฟ้องเป็นคดีนี้ได้ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 26
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1233/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
จำนำสิทธิ/ค้ำประกัน: สัญญาจำนำสิทธิที่มีข้อความระบุความรับผิดทั้งฐานจำนำและฐานค้ำประกัน ทำให้ลูกหนี้ร่วมต้องรับผิดชอบหนี้
แม้สัญญาจำนำสิทธิตามสมุดคู่ฝากเงินจะระบุชื่อว่าเป็นเรื่องจำนำและเรียกคู่สัญญาว่าผู้รับจำนำและผู้จำนำ แต่สาระสำคัญของสัญญาจำนำสิทธิตามสมุดคู่ฝากเงินมีสาระสำคัญระบุความรับผิดของจำเลยที่ 2 ในกรณีที่จำเลยที่ 1 ไม่ยอมชำระหนี้แก่โจทก์ไว้ 2 กรณี กรณีแรกระบุว่าจำเลยที่ 2 นำสมุดคู่ฝากเงินมาจำนำไว้โดยยอมให้ธนาคาร ม. หักหนี้ของจำเลยที่ 1 จากสมุดคู่ฝากเงินของจำเลยที่ 2 ชำระหนี้ได้ กรณีที่สองระบุว่า หากจำเลยที่ 1 ยังเป็นหนี้ธนาคาร ม. อยู่อีกเท่าใด จำเลยที่ 2 ตกลงยินยอมรับผิดชำระแก่ธนาคาร ม. จนครบถ้วน และตกลงยินยอมเข้ารับเป็นผู้ค้ำประกันและตกลงรับผิดร่วมกับจำเลยที่ 1 ในอันที่จะชำระหนี้ตามสัญญาที่จำเลยที่ 1 ได้เป็นหนี้ธนาคาร ม. และยอมรับผิดร่วมกับจำเลยที่ 1 ในฐานะลูกหนี้ร่วมด้วย สัญญาดังกล่าวจึงมีความชัดเจนโดยธนาคาร ม. มีเจตนาให้จำเลยที่ 2 ต้องรับผิดทั้งสองกรณี และจำเลยที่ 2 มีความผูกพันตามสัญญาจำนำสิทธิตามสมุดคู่ฝากเงินเพื่อประกันการชำระหนี้ให้แก่ธนาคาร ม. ทั้งสองกรณีเช่นกัน กล่าวคือ สัญญาจำนำสิทธิตามสมุดคู่ฝากเงินมีข้อความชัดเจนอยู่แล้วว่า จำเลยที่ 2 ต้องรับผิดในฐานะผู้จำนำสมุดคู่ฝากเงินของตนและเป็นผู้ค้ำประกันยอมรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วมกับจำเลยที่ 1 หามีข้อสงสัยที่จะตีความไปในทางที่เป็นคุณแก่คู่กรณีฝ่ายซึ่งจะต้องเป็นผู้เสียในมูลหนี้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 11 ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 15221/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาค้ำประกันไม่ชัดเจน: ศาลตีความเอื้อประโยชน์ผู้ค้ำประกัน โดยเทียบกับวงเงินที่ระบุในสัญญาอื่น
เมื่อไม่มีการแก้ไขสัญญาค้ำประกันเอกสารหมาย จ.1 ให้มีความชัดเจนในเรื่องความรับผิดของจำเลยที่ 5 ว่าจะต้องรับผิดในจำนวนเท่าใดทั้ง ๆ ที่มีช่องว่างให้เติมตัวเลขหรือข้อความแล้ว ย่อมเป็นกรณีที่มีข้อสงสัย จึงต้องตีความไปในทางที่เป็นคุณแก่คู่กรณีฝ่ายซึ่งจะเป็นผู้ต้องเสียในมูลหนี้นั้นตาม ป.พ.พ. มาตรา 11 ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบกับสัญญาค้ำประกันเอกสารหมาย จ.2 ซึ่งฝ่ายโจทก์ยอมให้จำเลยที่ 6 ผู้ค้ำประกันจำเลยที่ 4 รับผิดในวงเงินไม่เกิน 20,000 บาท แล้วก็จะต้องฟังว่า โจทก์มีเจตนายอมให้จำเลยที่ 5 รับผิดตามสัญญาค้ำประกันในวงเงินไม่เกิน 20,000 บาท ด้วย จำเลยที่ 5 จึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ตามสัญญาค้ำประกันเอกสารหมาย จ.1 โดยไม่จำกัดวงเงินตามที่โจทก์อ้างแต่อย่างใด