พบผลลัพธ์ทั้งหมด 8 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6312/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องและผลของสัญญาที่ลงนามโดยผู้ไม่มีอำนาจ
จำเลยได้ให้การต่อสู้ว่า สัญญาที่โจทก์นำมาฟ้องนั้นไม่ชอบเพราะลงนามโดยผู้ไม่มีอำนาจทำการแทนโจทก์ ดังนั้น ที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์หยิบยกข้อเท็จจริงที่ว่า ว.และ ป.ผู้ลงนามในสัญญาตามฟ้องไม่ใช่กรรมการของโจทก์และโจทก์ไม่ได้มอบอำนาจให้ทำสัญญาดังกล่าวแทน สัญญานั้นจึงไม่ผูกพันคู่กรณีขึ้นวินิจฉัย จึงเป็นการวินิจฉัยข้อเท็จจริงในประเด็นที่จำเลยโต้เถียง ทั้งประเด็นดังกล่าวเป็นเรื่องอำนาจฟ้องซึ่งเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้จะมิได้มีการชี้สองสถานกำหนดประเด็นไว้ ศาลก็อาจยกขึ้นวินิจฉัยชี้ขาดตัดสินคดีไปได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6312/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้อง สัญญาที่ไม่ชอบ การลงนามโดยผู้ไม่มีอำนาจ
จำเลยได้ให้การต่อสู้ว่าสัญญาที่โจทก์นำมาฟ้องนั้นไม่ชอบเพราะลงนามโดยผู้ไม่มีอำนาจทำการแทนโจทก์ดังนั้นที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์หยิบยกขอเท็จจริงที่ว่าว.และป. ผู้ลงนามในสัญญาตามฟ้องไม่ใช่กรรมการของโจทก์และโจทก์ไม่ได้มอบอำนาจให้ทำสัญญาดังกล่าวแทนสัญญานั้นจึงไม่ผูกพันคู่กรณีขึ้นวินิจฉัยจึงเป็นการวินิจฉัยข้อเท็จจริงในประเด็นที่จำเลยได้เถียงทั้งประเด็นดังกล่าวเป็นเรื่องอำนาจฟ้องซึ่งเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนแม้จะมิได้มีการชี้สองสถานกำหนดประเด็นไว้ศาลก็อาจยกขึ้นวินิจฉัยชี้ขาดตัดสินคดีไปได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3825/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมการบริษัทต้องรับผิดในฐานะผู้แทนของบริษัท ไม่ใช่ฐานะส่วนตัว แม้ทุนจดทะเบียนน้อยกว่ามูลค่างาน
จำเลยที่1จดทะเบียนเป็นนิติบุคคลตามกฎหมายแล้วจำเลยที่1ย่อมมีสิทธิและหน้าที่ต่างๆต้องตามบทบัญญัติทั้งปวงแห่งกฎหมายภายในของวัตถุที่ประสงค์ของจำเลยที่1ดั่งมีกำหนดไว้ในข้อบังคับหรือตราสารจัดตั้งจำเลยที่1ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา69เดิมที่ใช้บังคับอยู่ในขณะที่โจทก์อาจบังคับสิทธิเรียกร้องได้และตามมาตรา75เดิมบัญญัติว่าอันความประสงค์ของนิติบุคคลย่อมแสดงปรากฎจากผู้แทนทั้งหลายของนิติบุคคลนั้นเมื่อจำเลยที่2และที่4เป็นกรรมการของจำเลยที่1จึงเป็นผู้แทนที่ดำเนินการหรือแสดงความประสงค์ของจำเลยที่1การที่จำเลยที่2ในฐานะกรรมการของจำเลยที่1ได้ลงลายมือชื่อในสัญญาว่าจ้างหรือจำเลยที่4ในฐานะกรรมการของจำเลยที่1มอบหมายให้จำเลยที่3ลงลายมือชื่อแทนจำเลยที่4ในสัญญาว่าจ้างโจทก์ก็ดีก็เป็นการกระทำในฐานะเป็นผู้แทนของจำเลยที่1ซึ่งเป็นนิติบุคคลจำเลยที่1ได้รับผลงานจากการจ้างที่จำเลยที่2และที่4ได้ลงลายมือชื่อเป็นผู้ว่าจ้างก็ดีลงลายมือชื่อในเอกสารยอมรับชำระหนี้ให้แก่โจทก์ก็ดีหรือจำเลยที่4ลงลายมือชื่อรับรองยอดหนี้ของจำเลยที่1ก็ดีตลอดจนที่จำเลยที่4ลงลายมือชื่อรับมอบงวดงานตามเอกสารต่างๆก็ดีแม้มิได้ระบุว่ากระทำการแทนจำเลยที่1ก็พึงเห็นได้ว่าจำเลยที่2และที่4กระทำการในฐานะเป็นกรรมการหรือผู้แทนของจำเลยที่1นั่นเองและแม้ทุนจดทะเบียนของจำเลยที่1จะมีน้อยกว่าการงานที่จำเลยที่1ว่าจ้างโจทก์แต่ก็ได้ความว่าหากขาดเงินทุนหมุนเวียนจำเลยที่1ก็จะไปขอสินเชื่อจากธนาคารนอกจากนี้ตามสัญญาว่าจ้างจำเลยที่1เป็นผู้ว่าจ้างโจทก์ไม่มีข้อความที่แสดงให้เห็นว่าจำเลยที่2และที่4ว่าจ้างโจทก์ในฐานะส่วนตัวแต่อย่างใดจึงฟังไม่ได้ว่าจำเลยที่2และที่4ว่าจ้างโจทก์ในฐานะส่วนตัวด้วยจำเลยที่2และที่4ซี่งเป็นกรรมการของจำเลยที่1จึงหาจำต้องรับผิดในฐานะส่วนตัวร่วมกับจำเลยที่1ต่อโจทก์ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3825/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของนิติบุคคลและกรรมการ: การกระทำของผู้แทนของนิติบุคคลผูกพันนิติบุคคล
จำเลยที่ 1 จดทะเบียนเป็นนิติบุคคลตามกฎหมายแล้ว จำเลยที่ 1ย่อมมีสิทธิและหน้าที่ต่าง ๆ ต้องตามบทบัญญัติทั้งปวงแห่งกฎหมาย ภายในขอบวัตถุที่ประสงค์ของจำเลยที่ 1 ดั่งมีกำหนดไว้ในข้อบังคับหรือตราสารจัดตั้งจำเลยที่ 1ตาม ป.พ.พ.มาตรา 69 เดิม ที่ใช้บังคับอยู่ในขณะที่โจทก์อาจบังคับสิทธิเรียกร้องได้และตามมาตรา 75 เดิม บัญญัติว่า อันความประสงค์ของนิติบุคคลย่อมแสดงปรากฏจากผู้แทนทั้งหลายของนิติบุคคลนั้น เมื่อจำเลยที่ 2 และที่ 4 เป็นกรรมการของจำเลยที่ 1 จึงเป็นผู้แทนที่ดำเนินการหรือแสดงความประสงค์ของจำเลยที่ 1 การที่จำเลยที่ 2 ในฐานะกรรมการของจำเลยที่ 1 ได้ลงลายมือชื่อในสัญญาว่าจ้างหรือจำเลยที่ 4ในฐานะกรรมการของจำเลยที่ 1 มอบหมายให้จำเลยที่ 3 ลงลายมือชื่อแทนจำเลยที่ 4ในสัญญาว่าจ้างโจทก์ก็ดี ก็เป็นการกระทำในฐานะเป็นผู้แทนของจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นนิติบุคคล จำเลยที่ 1 ได้รับผลงานจากการจ้าง ที่จำเลยที่ 2 และที่ 4 ได้ลงลายมือชื่อเป็นผู้ว่าจ้างโจทก์ก็ดี ลงลายมือชื่อในเอกสารยอมรับชำระหนี้ให้แก่โจทก์ก็ดี หรือจำเลยที่ 4 ลงลายมือชื่อรับรองยอดหนี้ของจำเลยที่ 1 ก็ดี ตลอดจนที่จำเลยที่ 4ลงลายมือชื่อรับมอบงวดงานตามเอกสารต่าง ๆ ก็ดี แม้มิได้ระบุว่ากระทำการแทนจำเลยที่ 1 ก็พึงเห็นได้ว่าจำเลยที่ 2 และที่ 4 กระทำการในฐานะเป็นกรรมการหรือผู้แทนของจำเลยที่ 1 นั่นเอง และแม้ทุนจดทะเบียนของจำเลยที่ 1 จะมีน้อยกว่าการงานที่จำเลยที่ 1 ว่าจ้างโจทก์ แต่ก็ได้ความว่าหากขาดเงินทุนหมุนเวียนจำเลยที่ 1 ก็จะไปขอสินเชื่อจากธนาคาร นอกจากนี้ตามสัญญาว่าจ้าง จำเลยที่ 1 เป็นผู้ว่าจ้างโจทก์ ไม่มีข้อความที่แสดงให้เห็นว่าจำเลยที่ 2 และที่ 4 ว่าจ้างโจทก์ในฐานะส่วนตัวแต่อย่างใด จึงฟังไม่ได้ว่าจำเลยที่ 2 และที่ 4 ว่าจ้างโจทก์ในฐานะส่วนตัวด้วยจำเลยที่ 2 และที่ 4 ซึ่งเป็นกรรมการของจำเลยที่ 1 จึงหาจำต้องรับผิดในฐานะส่วนตัวร่วมกับจำเลยที่ 1 ต่อโจทก์ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2956/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องละเมิดของนิติบุคคล และการคำนวณค่าเสียหายจากทรัพย์สินที่ได้รับการยกเว้นภาษี
กองทับบกโจทก์เป็นนิติบุคคลมีผู้บัญชาการทหารบกเป็นผู้แทนมีอำนาจบังคับบัญชาและรับผิดชอบจึงเป็นผู้มีอำนาจทำการแทนโจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา75หรือที่แก้ไขใหม่มาตรา70การที่กองบัญชาการควบคุมกองพลทหารราบที่4ส่วนราชการของโจทก์มีคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนเพื่อทราบข้อเท็จจริงและมีการรายงานเหตุการเสียชีวิตของนายทหารชั้นสัญญาบัตรให้โจทก์ทราบตลอดจนมีการทำบันทึกเรื่องค่าเสียหายจะถือว่าโจทก์ทราบไม่ได้กรณีต้องถือว่าโจทก์เพิ่งทราบเหตุและตัวผู้ต้องรับผิดเมื่อผู้บัญชาการทหารบกได้ทราบรายงานและลงนามอนุมัติให้ฟ้องเรียกค่าเสียหายจากจำเลยทั้งสามเมื่อวันที่28ธันวาคม2531โจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่30สิงหาคม2532ยังไม่พ้นกำหนด1ปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา448ฟ้องโจทก์จึงยังไม่ขาดอายุความ การที่โจทก์ซื้อรถมาโดยได้รับยกเว้นภาษีอากรนั้นราคาที่โจทก์ซื้อย่อมมิใช่ราคาที่แท้จริงในท้องตลาดเพราะราคาในท้องตลาดต้องเป็นราคาที่รวมค่าภาษีอากรเข้าด้วยแล้วดังนี้ราคารถที่จะให้ชดใช้ต้องถือตามราคาปกติในท้องตลาดอันเป็นมูลค่าที่แท้จริงของทรัพย์สิน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2956/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องเรียกค่าเสียหายและการประเมินราคาทรัพย์สินที่ได้รับการยกเว้นภาษี
กองทัพบกโจทก์เป็นนิติบุคคล มีผู้บัญชาการทหารบกเป็นผู้แทนมีอำนาจบังคับบัญชาและรับผิดชอบ จึงเป็นผู้มีอำนาจทำการแทนโจทก์ตาม ป.พ.พ.มาตรา 75 หรือที่แก้ไขใหม่ มาตรา 70 การที่กองบัญชาการควบคุม กองพลทหารราบที่ 4 ส่วนราชการของโจทก์มีคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการการสอบสวนเพื่อทราบข้อเท็จจริงและมีการรายงานเหตุการเสียชีวิตของนายทหารชั้นสัญญาบัตรให้โจทก์ทราบ ตลอดจนมีการทำบันทึกเรื่องค่าเสียหาย จะถือว่าโจทก์ทราบไม่ได้ กรณีต้องถือว่าโจทก์เพิ่งทราบเหตุและตัวผู้ต้องรับผิดเมื่อผู้บัญชาการทหารบกได้ทราบรายงานและลงนามอนุมัติให้ฟ้องเรียกค่าเสียหายจากจำเลยทั้งสามเมื่อวันที่ 28 ธันวาคม 2531 โจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 30 สิงหาคม 2532 ยังไม่พ้นกำหนด 1 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา448 ฟ้องโจทก์จึงยังไม่ขาดอายุความ
การที่โจทก์ซื้อรถมาโดยได้รับยกเว้นภาษีอากรนั้น ราคาที่โจทก์ซื้อย่อมมิใช่ราคาที่แท้จริงในท้องตลาด เพราะราคาในท้องตลาดต้องเป็นราคาที่รวมค่าภาษีอากรเข้าด้วยแล้ว ดังนี้ราคารถที่จะให้ชดใช้ต้องถือตามราคาปกติในท้องตลาด อันเป็นมูลค่าที่แท้จริงของทรัพย์สิน
การที่โจทก์ซื้อรถมาโดยได้รับยกเว้นภาษีอากรนั้น ราคาที่โจทก์ซื้อย่อมมิใช่ราคาที่แท้จริงในท้องตลาด เพราะราคาในท้องตลาดต้องเป็นราคาที่รวมค่าภาษีอากรเข้าด้วยแล้ว ดังนี้ราคารถที่จะให้ชดใช้ต้องถือตามราคาปกติในท้องตลาด อันเป็นมูลค่าที่แท้จริงของทรัพย์สิน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 874/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ละเมิดสัญญา, ความรับผิดร่วม, อายุความ: การกระทำของกรรมการและตัวแทนเรือ, ผลกระทบต่อความเสียหายของบริษัท
ฟ้องโจทก์ได้บรรยายชัดแจ้งซึ่งสภาพแห่งข้อหาแล้วว่าจำเลยทั้งสองร่วมกันทำละเมิดต่อโจทก์เป็นเหตุให้โจทก์ได้รับความเสียหายไม่ได้รับเงินค่าระวางสินค้าเงินชดเชยค่าใช้จ่ายและค่าเจรจาในการปล่อยเรือส่วนรายละเอียดเรื่องค่าเสียหายโจทก์สามารถนำสืบได้ในชั้นพิจารณาฟ้องชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา172วรรคสอง สัญญาให้บริการร่วมกันระหว่างโจทก์กับบริษัทท.กำหนดให้บริษัทท. ต้องมอบหนังสือค้ำประกันของธนาคารให้แก่โจทก์ยึดถือเป็นประกันความเสียหายแต่จำเลยที่1ผู้อำนวยการของโจทก์ลงนามในสัญญาโดยมีแต่สำเนาหนังสือค้ำประกันและสั่งการเกี่ยวกับการเดินเรือโดยไม่ผ่านฝ่ายปฏิบัติการตามระเบียบทั้งยังทำหนังสือมอบอำนาจให้จำเลยที่2มีอำนาจเต็มในนามจำเลยที่1เป็นเหตุให้จำเลยที่2ใช้เอกสารต่างๆแสดงต่อบุคคลภายนอกและก่อหนี้ขึ้นเมื่อเรือของโจทก์ถูกยึดโดยคำสั่งของศาลต่างประเทศเป็นเหตุให้โจทก์ต้องเสียค่าใช้จ่ายต่างๆดังนี้แม้ว่าจำเลยที่1จะมีอำนาจหน้าที่กระทำการแทนโจทก์ก็ตามแต่การกระทำต่างๆดังกล่าวของจำเลยที่1ก็เป็นการกระทำโดยจงใจหรือประมาทเลินเล่อทำให้โจทก์เสียหายทั้งเป็นการฝ่าฝืนต่อคำสั่งและระเบียบข้อบังคับของโจทก์และไม่ใช้ความเอื้อเฟื้อสอดส่องอย่างบุคคลค้าขายผู้ประกอบด้วยความระมัดระวังจึงต้องร่วมกับจำเลยที่2รับผิดต่อโจทก์ โจทก์ไม่สามารถบังคับชำระหนี้ต่อบริษัทท.เพราะไม่มีต้นฉบับหนังสือค้ำประกันของธนาคารให้โจทก์ยึดถือการสั่งการเดินเรือของจำเลยที่1เป็นเหตุให้จำเลยที่2นำเรือไปเดินรับส่งสินค้ายังท่าเรือที่มิได้ระบุในสัญญาเป็นเหตุให้เรือถูกยึดการที่จำเลยที่2นำหนังสือมอบอำนาจที่จำเลยที่1ออกให้เป็นผู้แทนเรือไปใช้แสดงต่อบุคคลต่างๆหาประโยชน์ในทางมิชอบล้วนแต่เป็นผลโดยตรงของการที่จำเลยที่1กระทำละเมิดร่วมกับจำเลยที่2จำเลยที่1จึงต้องร่วมกับจำเลยที่2รับผิดชดใช้ค่าเสียหายทั้งหมดแก่โจทก์ หนังสือบริคณห์สนธิและข้อบังคับของโจทก์กำหนดว่ากรรมการ2นายมีอำนาจลงนามในสัญญาตราสารเอกสารสำคัญแทนบริษัทและประทับตราบริษัทดังนั้นเมื่อมีผู้กระทำละเมิดต่อโจทก์อายุความ1ปีจึงเริ่มนับเมื่อกรรมการดังกล่าวรู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนมิใช่นับแต่สภากรรมการรู้แต่เมื่อกรรมการ2นายผู้มีอำนาจกระทำการแทนโจทก์ได้เข้าร่วมประชุมสภากรรมการด้วยจึงถือว่าได้รู้ในฐานะผู้แทนโจทก์แล้วแต่เมื่อขณะที่รู้นั้นเหตุละเมิดยังไม่เกิดอายุความจึงยังไม่เริ่มนับอายุความจะเริ่มนับเมื่อมีเหตุละเมิดเกิดขึ้นและผู้เสียหายรู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้พึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2750/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีของทบวงการเมือง: ราชบัณฑิตยสถานมีอำนาจฟ้องได้เองโดยไม่ต้องได้รับอนุญาตจากผู้บังคับบัญชา
ตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 216 เรื่อง ปรับปรุงกระทรวงทบวง กรม ลงวันที่ 29 กันยายน 2515 ข้อ 30 และข้อ 29 อันเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในขณะที่โจทก์ฟ้องคดีนี้ได้บัญญัติให้โจทก์เป็นส่วนราชการอิสระไม่สังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี กระทรวงหรือทบวงใด มีฐานะเป็นกรมและให้อยู่ในบังคับบัญชาของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ โจทก์จึงเป็นนิติบุคคลจำพวกทบวงการเมืองตามป.พ.พ. มาตรา 72 (เดิม) และ 73 (เดิม)
ส. นายกราชบัณฑิตยสถานได้ประชุมราชบัณฑิตทุกสำนักและจัดวางระเบียบการของราชบัณฑิตยสถานว่าด้วยการปฏิบัติงานทั่วไปของนายก อุปนายก และเลขาธิการราชบัณฑิตยสถานขึ้น โดยอาศัยอำนาจตามมาตรา 20 (2) ประกอบมาตรา 23 แห่ง พ.ร.บ.ราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2485 ระเบียบการดังกล่าวจึงชอบด้วยกฎหมาย ไม่เป็นโมฆะ ตามข้อ 6 ของระเบียบการของราชบัณฑิตยสถานกำหนดว่าให้นายกราชบัณฑิตยสถานเป็นผู้แทนราชบัณฑิตยสถานซึ่งเป็นนิติบุคคล ดังนั้น ตามกฎหมายและข้อบังคับว่าด้วยการจัดการควบคุมทบวงการเมืองโจทก์ จึงถือได้ว่าในขณะฟ้องคดีโจทก์มี บ.นายกราชบัณฑิตยสถานเป็นเป็นผู้แทนตาม ป.พ.พ. มาตรา 75 (เดิม)โจทก์โดย บ.นายกราชบัณฑิตยสถานย่อมมีอำนาจฟ้องคดีได้เองโดยตรง ไม่จำต้องได้รับอนุญาตจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการในฐานะผู้บังคับบัญชาก่อนโจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง(ปรีชา - เฉลิมวณิชย์ - สมาน เวทวินิจ - สังเวียน รัตนมุง)ศาลแพ่ง นายสุเมธ อุปนิสากรศาลอุทธรณ์ นายสุทธิ นิชโรจน์
นายปริญญา ดีผดุง - ตรวจ/ย่อ
นายวิชัย วิวิตเสวี - ผู้ช่วยผู้พิพากษาฯ
สุมาลี พ/ท
ส. นายกราชบัณฑิตยสถานได้ประชุมราชบัณฑิตทุกสำนักและจัดวางระเบียบการของราชบัณฑิตยสถานว่าด้วยการปฏิบัติงานทั่วไปของนายก อุปนายก และเลขาธิการราชบัณฑิตยสถานขึ้น โดยอาศัยอำนาจตามมาตรา 20 (2) ประกอบมาตรา 23 แห่ง พ.ร.บ.ราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2485 ระเบียบการดังกล่าวจึงชอบด้วยกฎหมาย ไม่เป็นโมฆะ ตามข้อ 6 ของระเบียบการของราชบัณฑิตยสถานกำหนดว่าให้นายกราชบัณฑิตยสถานเป็นผู้แทนราชบัณฑิตยสถานซึ่งเป็นนิติบุคคล ดังนั้น ตามกฎหมายและข้อบังคับว่าด้วยการจัดการควบคุมทบวงการเมืองโจทก์ จึงถือได้ว่าในขณะฟ้องคดีโจทก์มี บ.นายกราชบัณฑิตยสถานเป็นเป็นผู้แทนตาม ป.พ.พ. มาตรา 75 (เดิม)โจทก์โดย บ.นายกราชบัณฑิตยสถานย่อมมีอำนาจฟ้องคดีได้เองโดยตรง ไม่จำต้องได้รับอนุญาตจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการในฐานะผู้บังคับบัญชาก่อนโจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง(ปรีชา - เฉลิมวณิชย์ - สมาน เวทวินิจ - สังเวียน รัตนมุง)ศาลแพ่ง นายสุเมธ อุปนิสากรศาลอุทธรณ์ นายสุทธิ นิชโรจน์
นายปริญญา ดีผดุง - ตรวจ/ย่อ
นายวิชัย วิวิตเสวี - ผู้ช่วยผู้พิพากษาฯ
สุมาลี พ/ท