คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 225

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 25 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 944/2532 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องซ้ำ, ความผิดตาม พ.ร.บ.ขนส่งทางบก, และข้อเท็จจริงต่างจากฟ้องโจทก์ ศาลฎีกายกฟ้อง
เมื่อข้อกฎหมายที่ยกขึ้นอุทธรณ์ ไม่มีผลทำให้การวินิจฉัยข้อเท็จจริงของศาลจากพยานหลักฐานที่โจทก์จำเลยนำสืบกันมาเปลี่ยนแปลงเป็นประการอื่นแล้ว ศาลอุทธรณ์ก็ไม่จำต้องวินิจฉัยข้อกฎหมายดังกล่าวให้ เพราะเป็นข้อกฎหมายที่ไม่เป็นสาระแก่คดี
แม้คดีนี้กับคดีก่อนจะเป็นการกระทำอันเดียวกันข้อหาอย่างเดียวกัน และศาลได้พิพากษาลงโทษจำเลยในคดีก่อนเสร็จเด็ดขาดไปแล้ว แต่เมื่อมิใช่จำเลยคนเดียวกันจึงไม่เป็นฟ้องซ้ำ
ฟ้องโจทก์ขอให้ลงโทษฐานประกอบการขนส่งไม่ประจำทางข้อเท็จจริงตามทางพิจารณาฟังได้ว่าจำเลยประกอบการขนส่งส่วนบุคคล ย่อมไม่อาจลงโทษจำเลยในข้อหานี้ตามที่โจทก์ฟ้องได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 785/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างลูกจ้างของรัฐวิสาหกิจ: การยุบเลิกกิจการโดยมติคณะรัฐมนตรีชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ และมีผลต่อการเลิกจ้างลูกจ้างหรือไม่
ศาลแรงงานกลางฟังข้อเท็จจริงว่า ผู้ร้องได้เลิกกิจการแล้ว ผู้ร้องจึงไม่มีเหตุจำเป็นที่จะจ้าง ผู้คัดค้านต่อไปกรณีมีเหตุสมควรที่จะเลิกจ้างผู้คัดค้านทั้งหมดได้ ดังนี้ที่ผู้คัดค้านอุทธรณ์ว่ากิจการของผู้ร้องจะยุบเลิกหรือหยุดดำเนินกิจการได้ต่อเมื่อมีพระราชกฤษฎีกาให้ยุบเลิกหรือหยุดดำเนินการออกใช้บังคับ จึงไม่มีประโยชน์ที่ศาลจะวินิจฉัยเพราะการที่ผู้ร้องยุบเลิกกิจการหรือหยุดดำเนินการจะชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ จะต้องออกเป็นพระราชกฤษฎีกาหรือไม่ ไม่เกี่ยวกับการที่ผู้ร้อง ขอ อนุญาตเลิกจ้างผู้คัดค้านในคดีนี้ เมื่อได้ความว่าผู้ร้องได้เลิกกิจการแล้ว ผู้ร้องก็ชอบที่จะเลิกจ้างผู้คัดค้านซึ่งเป็นคณะกรรมการลูกจ้างได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 148/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดพนักงานยักยอกเงิน: การพิจารณาความผิดตามกฎหมายอาญาและกฎหมายเฉพาะ
พระราชบัญญัติการรถไฟแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2494 มาตรา 18 บัญญัติให้พนักงานของการรถไฟแห่งประเทศไทยเป็นเจ้าพนักงานตามความหมายแห่งกฎหมายลักษณะอาญา เมื่อจำเลยซึ่งเป็นพนักงานของการรถไฟแห่งประเทศไทยมีหน้าที่จำหน่ายตั๋วเดินทางยักยอกเงินค่าตั๋วเดินทางที่จำเลยได้รับไว้ในระหว่างปฏิบัติหน้าที่จำเลยจึงมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 147 และโดยที่พระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดของพนักงานในองค์การหรือหน่วยงานของรัฐพ.ศ. 2502 มาตรา 3 บัญญัติไว้ว่า ผู้ใดเป็นเจ้าพนักงานอยู่แล้วตามกฎหมายไม่เป็น 'พนักงาน' ตามกฎหมายฉบับดังกล่าว จำเลยจึงไม่มีความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดของพนักงานในองค์การหรือหน่วยงานของรัฐ พ.ศ. 2502 มาตรา4 ด้วย
ปัญหาเรื่องการปรับบทลงโทษจำเลยเป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้คู่ความมิได้ยกขึ้นว่ากล่าวในชั้นฎีกาศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัย และแก้เสียให้ถูกต้องได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1674/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้ำ-ประเด็นยังไม่วินิจฉัย-ราคาที่ดิน: ศาลฎีกายืนตามคำพิพากษาเดิม แม้มีการเปลี่ยนแปลงราคา
ในคดีก่อนศาลฎีกายกฟ้องโจทก์เพราะศาลไม่อาจพิพากษาให้ตามคำขอท้ายฟ้องได้ โดยศาลฎีกายังไม่ได้วินิจฉัยว่าโจทก์มีสิทธิที่จะเรียกร้องให้จำเลยโอนที่ดินให้ดังที่โจทก์ฟ้องหรือไม่ ดังนั้นคำฟ้องของโจทก์ในคดีนี้ที่ขอให้จำเลยชำระราคาที่ดินให้โจทก์ จึงไม่ใช่ประเด็นที่ศาลได้วินิจฉัยแล้ว อันจะเป็นการต้องห้ามมิให้โจทก์นำมาฟ้องจำเลยอีก ตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 148
ฎีกาในข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลอุทธรณ์ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้
การกำหนดราคาที่ดินที่จำเลยจะต้องชดใช้แก่โจทก์ ต้องถือตามราคาในขณะที่โจทก์ยื่นฟ้องคดีนี้ ไม่ถือตามที่โจทก์เคยตีราคาในการเสียค่าขึ้นศาลในคดีก่อน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 346/2521

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีภาษี, อายุความลาภมิควรได้, การประเมินภาษี, และการคืนเงินภาษีที่ชำระเกิน
โจทก์สั่งวัตถุดิบจากต่างประเทศนำเขามาในราชอาณาจักร และได้ชำระราคาการค้าตามที่จำเลยได้เรียกเก็บให้แก่กรมศุลกากร ซึ่งเป็นตัวแทนของจำเลย ดังนี้การกระทำของเจ้าหน้าที่กรมศุลกากรแม้จะเรียกเก็บภาษีการค้าแทนจำเลยก็ไม่ใช่การประเมินภาษีตามประมวลรัษฎากร มาตรา 87 จึงไม่อยู่ในบังคับของมาตรา 30 ที่จะต้องอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์เสียก่อนฟ้อง (อ้างฎีกา 869/2520)
โจทก์ฟ้องเรียกคืนเงินภาษีที่ชำระไว้แล้ว จำเลยให้การต่อสู้ว่าโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องและต่อสู้ด้วยว่าคดีขาดอายุความ ศาลชั้นต้นให้งดสืบพยานโจทก์จำเลย แล้ววินิจฉัยชี้ขาดเบื้องต้นในปัญหาข้อกฎหมายว่าโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง เพราะไม่ได้ยื่นอุทธรณ์การประเมินต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์เสียก่อน โจทก์อุทธรณ์ในประเด็นนี้ขึ้นมา ดังนี้ศาลอุทธรณ์มีอำนาจหยิบยกประเด็นว่าคดีขาดอายุความหรือไม่ขึ้นวินิจฉัยได้ มิใช่เป็นการนอกฟ้องนอกประเด็นในชั้นอุทธรณ์
เงินค่าภาษีการค้าและภาษีบำรุงเทศบาลที่จำเลยรับชำระไปจากโจทก์เป็นเรื่องที่โจทก์ชำระไปตามหลักเกณฑ์ที่จำเลยวางไว้ และจำเลยก็ให้การโต้แย้งว่าโจทก์ต้องเสียภาษีดังกล่าวตามประมวลรัษฎากร ซึ่งไม่ใช่เรื่องที่จำเลยได้ทรัพย์มาโดยปราศจากมูลอันจะอ้างกฎหมายได้ ฉะนั้นการฟ้องเรียกภาษีดังกล่าวคืน จึงมิใช่ฟ้องเรียกคืนในฐานลาภมิควรได้อันจะอยู่ในบังคับใช้อายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 419 แต่มีอายุความ 10 ปี ตามมาตรา 164 (อ้างฎีกาที่ 869/2520 และ 1164/2520)
ศาลชั้นต้นวินิจฉัยชี้ขาดเบื้องต้นตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 24 โจทก์อุทธรณ์ฎีกาต่อมาตาม มาตรา 227, 247 ต้องเสียค่าขึ้นศาลตามตาราง 1 ข้อ 2 ข คือเรื่องละ 50 บาท แต่โจทก์เสียค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์และฎีกาตามจำนวนทุนทรัพย์ซึ่งเกินไป เมื่อศาลฎีกาพิพากษาย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นพิจารณาพิพากษาใหม่ตามรูปคดี ศาลฎีกาจึงให้คืนค่าขึ้นศาลที่เสียเกินมาให้โจทก์ไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 949/2513 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ประเด็นข้อต่อสู้ใหม่ในชั้นอุทธรณ์ฎีกา ศาลไม่รับวินิจฉัย
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยขายฝากที่ดินพิพาทกับ ล. ครบกำหนดไม่ไถ่ จำเลยเช่าที่พิพาทจาก ล. ล. ขายที่พิพาทให้โจทก์ ครบอายุสัญญาเช่าแล้ว จำเลยไม่ออกขอให้ศาลบังคับ จำเลยให้การเพียงว่า ไม่เคยขายฝากที่ดินแก่ใคร ไม่ได้ทำสัญญาเช่า และไม่ได้ลงชื่อไว้ ไม่ได้ต่อสู้โดยแจ้งชัดว่าจำเลยเช่าโดยไม่มีกำหนดเวลา ฉะนั้นการที่จำเลยอุทธรณ์ว่าเป็นการเช่าโดยไม่มีกำหนดเวลา เมื่อโจทก์ไม่ได้บอกเลิกการเช่าก่อน ก็ไม่มีอำนาจฟ้องนั้นเป็นการอุทธรณ์ในข้อที่จำเลยมิได้ยกเป็นข้อต่อสู้ไว้ในศาลชั้นต้น จำเลยจะอุทธรณ์ฎีกาไม่ได้ แม้ศาลอุทธรณ์จะวินิจฉัยข้อนี้มา ก็เป็นการวินิจฉัยนอกฟ้องนอกประเด็น ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1157/2500 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องเรียกค่าสินไหมทดแทนกรณีผู้จัดการมรดกสมยอมขายทรัพย์สินมรดกให้ภรรยาตนเอง และการกำหนดดอกเบี้ยจากเหตุการณ์ที่จำเลยทำให้ไม่สามารถโอนโฉนดกลับได้
คดีก่อนโจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมการซื้อขายระหว่างหลวงสกลฯ ผู้ขายกับจำเลยผู้ซื้อ ในระหว่างพิจารณาคดีก่อนจำเลยโอนขายที่ดินแก่คนอื่น ๆ ไปหลายทอด จนคดีก่อนถึงที่สุดโดยศาลไม่อาจพิพากษาให้ใส่ชื่อโจทก์ในโฉนดที่ดินดังกล่าวได้ โจทก์จึงมาฟ้องคดีใหม่ขอเรียกเงินราคาที่ดินแทน ไม่เป็นการฟ้องซ้ำกับคดีเดิม
ป.พ.พ.มาตรา 240 เป็นเรื่องอายุความในกรณีเพิกถอนการฉ้อฉลอันลูกหนี้ได้กระทำนิติกรรมลงโดยรู้อยู่ว่าเป็นทางให้เจ้าหนี้เสียเปรียบ ส่วนเรื่องผู้จัดการมรดกคนก่อนสมยอมขายที่ดินอันเป็นมรดกให้แก่ภรรยาของต้นนั้น จะใช้อายุความตาม ม.240 มายันแก่ผู้จัดการมรดกคนใหม่ไม่ได้
เมื่อจำเลยเป็นผู้ก่อเหตุขึ้นจนไม่สามารถโอนที่ดินพิพาทกลับคึนสู่ฐานะเดิมได้เช่นนี้ จึงเกิดเป็นหนี้ผูกพันจำเลยให้ต้องรับผิดใช้เงินราคาที่ดินแก่โจทก์รวมทั้งดอกเบี้ยในจำนวนเงินที่เป็นราคาที่ดินนั้นอีกด้วย.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1157/2500

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องเรียกเงินค่าที่ดินหลังเพิกถอนนิติกรรมซื้อขาย และอายุความในกรณีผู้จัดการมรดกสมยอม
คดีก่อนโจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมการซื้อขายระหว่างหลวงสกลฯผู้ขายกับจำเลยผู้ซื้อในระหว่างพิจารณาคดีก่อนจำเลยโอนขายที่ดินแก่คนอื่นๆ ไปหลายทอด จนคดีก่อนถึงที่สุดโดยศาลไม่อาจพิพากษาให้ใส่ชื่อโจทก์ในโฉนดที่ดินดังกล่าวได้โจทก์จึงมาฟ้องคดีใหม่ขอเรียกเงินราคาที่ดินแทน ไม่เป็นการฟ้องซ้ำกับคดีเดิม
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 240 เป็นเรื่องอายุความในกรณีเพิกถอนการฉ้อฉลอันลูกหนี้ได้กระทำนิติกรรมลงโดยรู้อยู่ว่าเป็นทางให้เจ้าหนี้เสียเปรียบ ส่วนเรื่องผู้จัดการมรดกคนก่อนสมยอมขายที่ดินอันเป็นมรดกให้แก่ภรรยาของตนนั้นจะใช้อายุความตาม มาตรา240 มายันแก่ผู้จัดการมรดกคนใหม่ไม่ได้
เมื่อจำเลยเป็นผู้ก่อเหตุขึ้นจนไม่สามารถโอนที่ดินพิพาทกลับคืนสู่ฐานะเดิมได้เช่นนี้ จึงเกิดเป็นหนี้ผูกพันจำเลยให้ต้องรับผิดใช้เงินราคาที่ดินแก่โจทก์รวมทั้งดอกเบี้ยในจำนวนเงินที่เป็นราคาที่ดินนั้นอีกด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 550/2500 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องคดีมรดก: การอ้างเหตุจากคำสั่งหน่วยงานราชการนอกประเด็นฟ้องไม่อาจขยายอายุความได้
โจทก์ฟ้องคดีมรดกเกิน 1 ปี นับแต่ได้รู้ถึงความตายของเจ้ามรดก โดยโจทก์มิได้เป็นผู้ครอบครองทรัพย์มรดกนั้น คดีโจทก์ขาดอายุความ
โจทก์กล่าวมาในอุทธรณ์ว่าโจทก์อาศัยระยะเวลาที่พนักงานที่ดินอำเภอสั่งให้ไปฟ้อง,คดีจึงยังไม่ขาดอายุความ แต่ปรากฏว่าเป็นการกล่าวอ้างเอาข้อความนอกฟ้องนอกประเด็นมาอุทธรณ์รับพิจารณาไม่ได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 824/2491

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าเสียหายจากการผิดสัญญาซื้อขายเกลือ: การคำนวณจากราคาขายจริงที่จำเลยขายได้ และการคาดการณ์ความเสียหาย
โจทก์ซื้อเกลือจากจำเลยชำระเงินแล้วแต่ยังไม่ได้รับเกลือไป จำเลยทำผิดสัญญาโดยเอาเกลือส่วนหนึ่งไปขายให้แก่ทางราชการทหารโจทก์กล่าวในฟ้องว่า "โจทก์ยินยอมไม่ว่ากล่าวในจำนวนเกลือที่จำเลยขายให้แก่ทางราชการทหารแต่จะขอรับเงินเท่าที่จำเลยขายให้แก่ทางราชการทหาร" ดังนี้ ถือว่า โจทก์ติดใจจะเอาค่าเสียหายแก่จำเลยโดยถือเอาราคาที่จำเลยขายให้แก่ทางราชการทหารเป็นราคาที่จะคำนวณค่าเสียหายให้แก่โจทก์
โจทก์จำเลยมีสัญญาต่อกัน ค่าปรับที่โจทก์ต้องเสียให้แก่บุคคลภายนอกเนื่องจากจำเลยทำผิดสัญญาต่อโจทก์ เป็นกรณีเกิดจากพฤติการณ์พิเศษ โจทก์ไม่แจ้งให้จำเลยทราบว่าโจทก์จะไปทำสัญญากับบุคคลภายนอก จำเลยไม่ต้องรับผิดในค่าปรับนั้น
การคำนวณค่าเสียหายในกรณีมีการทำผิดสัญญานั้น ไม่ใช่ถือเอาจำนวนค่าเสียหายที่ผู้ทำผิดสัญญาได้คาดหรืออยู่ในฐานะจะคาดได้ในเวลาทำสัญญาอย่างเดียวหากเป็นค่าเสียหายในขณะผิดสัญญา ซึ่งผู้กระทำผิดสัญญาย่อมคาดได้หรืออยู่ในฐานะจะคาดได้ว่า การที่ตนกระทำผิดจะเป็นผลให้เกิดการเสียหายแก่คู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่งอย่างใดแล้วก็ต้องรับผิดในค่าเสียหายนั้นตามมาตรา 222
ดอกเบี้ยในจำนวนเงินค่าเสียหายอันเป็นค่าขาดผลกำไร ศาลเห็นสมควรจะให้คิดตั้งแต่วันฟ้องจนถึงวันชำระเสร็จก็ได้
of 3