พบผลลัพธ์ทั้งหมด 124 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1695/2559
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้ำทางจำเป็น: ศาลฎีกาวินิจฉัยประเด็นทางจำเป็นยังไม่ผูกพัน แม้ศาลชั้นต้น/อุทธรณ์วินิจฉัยเฉพาะทางภาระจำยอม
คดีก่อนศาลชั้นต้นพิพากษาว่า ทางพิพาทเป็นทางภาระจำยอม โดยมิได้วินิจฉัยว่า ทางพิพาทเป็นทางจำเป็นหรือไม่ ทั้ง ๆ ที่ทางพิพาทอาจเป็นได้ทั้งทางจำเป็นและทางภาระจำยอมในขณะเดียวกัน แต่โจทก์ไม่มีความจำเป็นใดที่จะต้องอุทธรณ์อีกต่อไปอีก เพราะคำพิพากษาเป็นผลดีแก่โจทก์อยู่แล้ว แม้ว่าเมื่อจำเลยทั้งสามอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์ภาค 7 จะพิพากษากลับ ให้ยกฟ้อง โดยวินิจฉัยว่า ทางพิพาทไม่เป็นทางภาระจำยอมและไม่เป็นทางจำเป็น แต่เมื่อโจทก์ฎีกา ศาลฎีกาก็วินิจฉัยเฉพาะประเด็นว่า ทางพิพาทเป็นทางภาระจำยอมหรือไม่เท่านั้น โดยไม่รับวินิจฉัยประเด็นว่า ทางพิพาทเป็นทางจำเป็นหรือไม่ เนื่องจากเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ภาค 7 ต้องห้ามมิให้ฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง (เดิม) ส่วนที่ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า เมื่อโจทก์มิได้อุทธรณ์ ปัญหาเรื่องทางพิพาทเป็นทางจำเป็นหรือไม่ย่อมยุติไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น ก็เป็นการกล่าวถึงเหตุผลตามกฎหมายที่ศาลอุทธรณ์ภาค 7 ไม่มีอำนาจยกปัญหาดังกล่าวขึ้นวินิจฉัยเท่านั้น กรณีถือไม่ได้ว่า คดีก่อนศาลชั้นต้นได้วินิจฉัยประเด็นที่ว่า ทางพิพาทเป็นทางจำเป็นหรือไม่แล้ว และไม่มีคำพิพากษาในประเด็นดังกล่าวที่จะผูกพันโจทก์ตามมาตรา 145 วรรคหนึ่ง การที่โจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสามขอให้เปิดทางจำเป็นคดีนี้ จึงมิใช่เป็นการรื้อร้องฟ้องกันอีกในประเด็นที่ได้วินิจฉัยโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกัน ฟ้องของโจทก์คดีนี้จึงไม่เป็นฟ้องซ้ำ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 148
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1320/2559
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เพลิงไหม้ลุกลามจากบ้านจำเลย โจทก์พิสูจน์ได้ว่าเกิดจากจำเลย จำเลยต้องรับผิดชอบค่าเสียหาย
เมื่อข้อเท็จจริงรับฟังได้ว่าต้นเพลิงเกิดจากบ้านของจำเลยแล้วไฟไหม้ลุกลามไปไหม้บ้านของโจทก์ได้รับความเสียหาย โจทก์จึงได้รับประโยชน์จากข้อกฎหมายตาม ป.วิ.พ. มาตรา 84/1 โดยกรณีนี้ศาลฎีกาเห็นว่า การที่ต้นเพลิงเกิดจากบ้านของจำเลยแล้วไฟไหม้ลุกลามไปไหม้บ้านของโจทก์ จำเลยจึงต้องรับผิดชอบเพราะถือว่าเป็นข้อสันนิษฐานที่ควรจะเป็นซึ่งปรากฏจากสภาพปกติธรรมดาของเหตุการณ์เป็นคุณแก่โจทก์ จำเลยมีหน้าที่ต้องพิสูจน์เพื่อหักล้างข้อสันนิษฐานดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 820/2559
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เหตุหย่าจากการกระทำของทั้งสองฝ่าย ค่าทดแทนเหมาะสม และการแบ่งสินสมรสที่ดิน
โจทก์บันทึกข้อความหลายตอนลงในสมุดบันทึกที่แสดงให้เห็นว่าโจทก์มีความรักฉันชู้สาวกับชายอื่น ย่อมทำให้ครอบครัวแตกแยกขาดความปกติสุข อีกฝ่ายหนึ่งต้องมีความทุกข์ทรมาน ถือว่าได้รับความเดือดร้อนเกินควร การกระทำดังกล่าวจึงถือว่าเป็นปฏิปักษ์ต่อการเป็นสามีหรือภริยาอย่างร้ายแรง ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1516 (6)
ในคดีแพ่งผู้ฟ้องคดีมีหน้าที่บรรยายข้อเท็จจริงอันเป็นข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาให้ชัดแจ้งเท่านั้น ส่วนการปรับบทกฎหมายแก่คดีเป็นหน้าที่ของศาล ดังนั้น แม้จำเลยที่ 1 จะอ้างเหตุหย่าตามป.พ.พ. มาตรา 1516 (1) แต่เมื่อข้อเท็จจริงแห่งคดีได้ความจากการสืบของทั้งสองฝ่ายถือเป็นเหตุหย่าตามมาตรา 1516 (6) ศาลฎีกามีอำนาจปรับบทกฎหมายให้ถูกต้องตามข้อเท็จจริงแห่งคดีได้
จำเลยที่ 1 มีเจตนาโอนที่ดินซึ่งเป็นสินส่วนตัวของจำเลยที่ 1 ให้แก่โจทก์ อันเป็นสัญญาที่สมบูรณ์มีผลใช้บังคับได้ ที่ดินดังกล่าวจึงตกเป็นสินส่วนตัวของโจทก์ตามมาตรา 1471 (3) ไม่ใช่สินส่วนตัวของจำเลยที่ 1 อีกต่อไป แต่อย่างไรก็ตาม แม้ที่ดินเป็นสินส่วนตัวของโจทก์ แต่เมื่อโจทก์ฟ้องขอให้แบ่งที่ดินแก่โจทก์กึ่งหนึ่ง ศาลจึงไม่อาจพิพากษาเกินไปกว่าคำขอของโจทก์ได้ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142
ในคดีแพ่งผู้ฟ้องคดีมีหน้าที่บรรยายข้อเท็จจริงอันเป็นข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาให้ชัดแจ้งเท่านั้น ส่วนการปรับบทกฎหมายแก่คดีเป็นหน้าที่ของศาล ดังนั้น แม้จำเลยที่ 1 จะอ้างเหตุหย่าตามป.พ.พ. มาตรา 1516 (1) แต่เมื่อข้อเท็จจริงแห่งคดีได้ความจากการสืบของทั้งสองฝ่ายถือเป็นเหตุหย่าตามมาตรา 1516 (6) ศาลฎีกามีอำนาจปรับบทกฎหมายให้ถูกต้องตามข้อเท็จจริงแห่งคดีได้
จำเลยที่ 1 มีเจตนาโอนที่ดินซึ่งเป็นสินส่วนตัวของจำเลยที่ 1 ให้แก่โจทก์ อันเป็นสัญญาที่สมบูรณ์มีผลใช้บังคับได้ ที่ดินดังกล่าวจึงตกเป็นสินส่วนตัวของโจทก์ตามมาตรา 1471 (3) ไม่ใช่สินส่วนตัวของจำเลยที่ 1 อีกต่อไป แต่อย่างไรก็ตาม แม้ที่ดินเป็นสินส่วนตัวของโจทก์ แต่เมื่อโจทก์ฟ้องขอให้แบ่งที่ดินแก่โจทก์กึ่งหนึ่ง ศาลจึงไม่อาจพิพากษาเกินไปกว่าคำขอของโจทก์ได้ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 15690/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าป่วยการที่ปรึกษากฎหมายในคดีเยาวชน: ดุลพินิจศาลชั้นต้นเด็ดขาด, อุทธรณ์ฎีกาต้องห้ามหากอ้างเหตุผลไม่สอดคล้องกับระเบียบ
ค่าป่วยการที่กำหนดแก่ที่ปรึกษากฎหมายเทียบได้กับค่าฤชาธรรมเนียม ไม่ใช่เป็นค่าจ้างที่ปรึกษากฎหมาย ศาลจะกำหนดค่าป่วยการโดยคำนึงถึงความยากง่าย เวลาและงานหรือตามสมควรแก่พฤติการณ์ในการทำงานของที่ปรึกษากฎหมาย หาได้เป็นการกำหนดเพื่อชดเชยค่าใช้จ่ายที่ที่ปรึกษากฎหมายได้ใช้จ่ายไปจริงไม่ และในกรณีมีการอุทธรณ์หรือฎีกา ศาลสามารถกำหนดเพิ่มเติมได้ตามที่เห็นสมควร แต่รวมทั้งหมดต้องไม่เกินอัตราขั้นสูงที่กำหนดไว้สำหรับคดีประเภทนั้น ตามระเบียบคณะกรรมการบริหารศาลยุติธรรมว่าด้วยค่าป่วยการที่ปรึกษากฎหมายที่ศาลแต่งตั้งให้แก่เด็กและเยาวชน พ.ศ.2555 ข้อ 5 (4) ซึ่งตามระเบียบดังกล่าวเป็นดุลพินิจของศาลชั้นต้นและถือเป็นเด็ดขาดจะอุทธรณ์ฎีกาโต้แย้งดุลพินิจของศาลชั้นต้นดังกล่าวไม่ได้
ผู้ร้องเป็นที่ปรึกษากฎหมายของจำเลยอุทธรณ์ทำนองว่า ศาลชั้นต้นกำหนดค่าป่วยการแก่ผู้ร้องน้อยเกินไป ไม่เหมาะสมกับการทำงาน อุทธรณ์ของผู้ร้องจึงเป็นอุทธรณ์ที่ต้องห้ามตามกฎหมายไม่อาจรับวินิจฉัยได้ แม้ศาลอุทธรณ์ภาค 9 จะรับวินิจฉัยอุทธรณ์ของผู้ร้องก็ไม่ถือเป็นข้อที่ว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ภาค 9 ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
ผู้ร้องเป็นที่ปรึกษากฎหมายของจำเลยอุทธรณ์ทำนองว่า ศาลชั้นต้นกำหนดค่าป่วยการแก่ผู้ร้องน้อยเกินไป ไม่เหมาะสมกับการทำงาน อุทธรณ์ของผู้ร้องจึงเป็นอุทธรณ์ที่ต้องห้ามตามกฎหมายไม่อาจรับวินิจฉัยได้ แม้ศาลอุทธรณ์ภาค 9 จะรับวินิจฉัยอุทธรณ์ของผู้ร้องก็ไม่ถือเป็นข้อที่ว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ภาค 9 ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 15690/2558 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าป่วยการที่ปรึกษากฎหมายศาลแต่งตั้งเป็นดุลพินิจศาลชั้นต้น อุทธรณ์ฎีกาโต้แย้งมิได้
ค่าป่วยการที่ศาลกำหนดให้แก่ที่ปรึกษากฎหมายตามระเบียบคณะกรรมการบริหารศาลยุติธรรม พ.ศ.2555 เทียบได้กับค่าฤชาธรรมเนียม ไม่ใช่เป็นค่าจ้างที่ปรึกษากฎหมาย ศาลจะกำหนดค่าป่วยการโดยคำนึงถึงความยากง่าย เวลาและงานหรือตามสมควรแก่พฤติการณ์ในการทำงานของที่ปรึกษากฎหมาย หาได้เป็นการกำหนดเพื่อชดเชยค่าใช้จ่ายที่ที่ปรึกษากฎหมายได้ใช้จ่ายไปจริงไม่ และในกรณีคดีมีการอุทธรณ์หรือฎีกา ศาลสามารถกำหนดเพิ่มเติมได้ตามที่เห็นสมควร แต่รวมทั้งหมดต้องไม่เกินอัตราขั้นสูงที่กำหนดไว้สำหรับคดีประเภทนั้น ตามระเบียบคณะกรรมการ บริหารศาลยุติธรรมว่าด้วยค่าป่วยการที่ปรึกษากฎหมายที่ศาลแต่งตั้งให้แก่เด็กและเยาวชน พ.ศ.2555 ข้อ 5 (4) ซึ่งตามระเบียบดังกล่าวเป็นดุลพินิจของศาลชั้นต้นและถือเป็นเด็ดขาดจะอุทธรณ์ฎีกาโต้แย้งดุลพินิจของศาลชั้นต้นดังกล่าวไม่ได้
ผู้ร้องเป็นที่ปรึกษากฎหมายของจำเลยอุทธรณ์ทำนองว่า ศาลชั้นต้นกำหนดค่าป่วยการแก่ผู้ร้องน้อยเกินไป ไม่เหมาะสมกับการทำงาน อุทธรณ์ของผู้ร้องจึงเป็นอุทธรณ์ที่ต้องห้ามตามกฎหมายไม่อาจรับวินิจฉัยได้ แม้ศาลอุทธรณ์ภาค 9 จะรับวินิจฉัยอุทธรณ์ของผู้ร้องก็ไม่ถือเป็นข้อที่ว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ภาค 9 ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
ผู้ร้องเป็นที่ปรึกษากฎหมายของจำเลยอุทธรณ์ทำนองว่า ศาลชั้นต้นกำหนดค่าป่วยการแก่ผู้ร้องน้อยเกินไป ไม่เหมาะสมกับการทำงาน อุทธรณ์ของผู้ร้องจึงเป็นอุทธรณ์ที่ต้องห้ามตามกฎหมายไม่อาจรับวินิจฉัยได้ แม้ศาลอุทธรณ์ภาค 9 จะรับวินิจฉัยอุทธรณ์ของผู้ร้องก็ไม่ถือเป็นข้อที่ว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ภาค 9 ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 15358/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกสัญญาสัญญาเช่าซื้อโดยปริยาย และสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายที่จำกัด
แม้จำเลยที่ 1 จะผิดนัดชำระค่าเช่าซื้อตั้งแต่วันที่ 8 กรกฎาคม 2550 ติดต่อกันเกิน 3 งวด แต่ปรากฏตามหนังสือบอกกล่าวทวงถามและบอกเลิกสัญญาพร้อมใบตอบรับว่า โจทก์มีหนังสือบอกกล่าวทวงถามให้จำเลยที่ 1 ชำระค่าเช่าซื้อที่ค้างชำระภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับหนังสือ หากจำเลยที่ 1 ไม่ชำระภายในระยะเวลาที่กำหนด ถือว่าสัญญาเช่าซื้อเลิกกันทันที และตามใบตอบรับจำเลยที่ 1 รับหนังสือในวันที่ 31 พฤษภาคม 2551 ซึ่งจะครบ 30 วันในวันที่ 30 มิถุนายน 2551 แต่โจทก์ไปยึดรถที่เช่าซื้อคืนเมื่อวันที่ 1 มิถุนายน 2551 ซึ่งยังไม่ล่วงพ้นกำหนด 30 วัน นับแต่วันที่จำเลยที่ 1 ได้รับหนังสือดังกล่าวโดยจำเลยที่ 1 ยินยอมให้ยึดรถและไม่ได้โต้แย้งทักท้วง อันเป็นพฤติการณ์ที่ถือได้ว่า โจทก์และจำเลยที่ 1 ต่างสมัครใจเลิกสัญญากันโดยปริยายในวันยึดรถดังกล่าว
โจทก์กับจำเลยที่ 1 สมัครใจเลิกสัญญากันโดยปริยาย อันเป็นการเลิกสัญญาด้วยเหตุอื่นมิใช่เป็นการเลิกสัญญาที่มีผลมาจากฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งผิดสัญญาเช่าซื้อ คู่สัญญาจึงไม่มีสิทธิและหน้าที่ตามสัญญาเช่าซื้ออีกต่อไป โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกค่าขาดราคาจากค่าเช่าซื้อที่ต้องชำระโดยอาศัยข้อสัญญาตามสัญญาเช่าซื้อซึ่งระงับไปแล้วได้ โจทก์คงมีสิทธิเรียกค่าขาดประโยชน์จากการใช้รถที่เช่าซื้อในระหว่างที่จำเลยที่ 1 ครอบครองนับตั้งแต่วันผิดนัดจนถึงวันที่ยึดรถที่เช่าซื้อได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 391 วรรคสาม
โจทก์กับจำเลยที่ 1 สมัครใจเลิกสัญญากันโดยปริยาย อันเป็นการเลิกสัญญาด้วยเหตุอื่นมิใช่เป็นการเลิกสัญญาที่มีผลมาจากฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งผิดสัญญาเช่าซื้อ คู่สัญญาจึงไม่มีสิทธิและหน้าที่ตามสัญญาเช่าซื้ออีกต่อไป โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกค่าขาดราคาจากค่าเช่าซื้อที่ต้องชำระโดยอาศัยข้อสัญญาตามสัญญาเช่าซื้อซึ่งระงับไปแล้วได้ โจทก์คงมีสิทธิเรียกค่าขาดประโยชน์จากการใช้รถที่เช่าซื้อในระหว่างที่จำเลยที่ 1 ครอบครองนับตั้งแต่วันผิดนัดจนถึงวันที่ยึดรถที่เช่าซื้อได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 391 วรรคสาม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 15357/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่าซื้อมีผลเป็นอันเลิกกันเมื่อผู้ขายส่งมอบทรัพย์สินไม่ตรงตามสัญญา ผู้ซื้อมีสิทธิได้รับเงินค่าเช่าซื้อคืน
โจทก์กำหนดในสัญญาเช่าซื้อข้อ 1 วรรคท้าย ให้ใช้เนื้อที่ห้องชุดตามสัญญาเช่าซื้อ โดยไม่ให้คิดราคาเพิ่มหรือลดตามเนื้อที่ในหนังสือกรรมสิทธิ์ห้องชุดที่ออกในภายหลัง เป็นการยกเว้น ป.พ.พ. มาตรา 466 ซึ่งเป็นบทบัญญัติเกี่ยวกับการส่งมอบทรัพย์สินในการซื้อขายซึ่งนำมาใช้บังคับกับการเช่าซื้อ โจทก์ส่งมอบห้องชุดเนื้อที่ขาดตกบกพร่องจากสัญญาเช่าซื้อ 6.51 ตารางเมตรคิดเป็นร้อยละ 9.1 ของเนื้อที่ทั้งหมด แต่โจทก์ก็ยังคงให้จำเลยรับเอาห้องชุดไว้โดยไม่อาจใช้ราคาตามส่วนได้ ทั้งที่ความแตกต่างของเนื้อที่ห้องชุดมาจากการคำนวณของโจทก์เอง จำเลยจะต้องรับภาระชำระราคาเกินกว่าเนื้อที่ห้องชุดถึง 162,000 บาท จึงเป็นข้อตกลงที่นอกจากจะไม่เป็นไปตามมาตรา 466 แล้ว ยังเป็นข้อตกลงในสัญญาสำเร็จรูปที่โจทก์ซึ่งมีอำนาจต่อรองมากกว่าเป็นผู้กำหนดให้จำเลยรับภาระเกินกว่าที่วิญญูชนพึงคาดหมายได้ตามปกติ อีกทั้งโจทก์เป็นฝ่ายบกพร่องในการคำนวณเนื้อที่ห้องชุดและสามารถแก้ไขให้ถูกต้องได้อยู่ก่อนแล้วถือได้ว่าข้อตกลงเช่นนี้ทำให้โจทก์ได้เปรียบจำเลยคู่สัญญาอีกฝ่ายเกินสมควร จึงเป็นข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรมและไม่มีผลใช้บังคับ ตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรม พ.ศ.2540 มาตรา 4 ข้อสัญญาตามสัญญาเช่าซื้อข้อ 1 วรรคท้าย จึงไม่อาจใช้บังคับได้
สัญญาเช่าซื้อเป็นสัญญาต่างตอบแทน โจทก์ต้องปรับลดราคาห้องชุดให้เป็นไปตามเนื้อที่จริงจึงจะเรียกให้จำเลยชำระค่าเช่าซื้องวดสุดท้ายได้หากโจทก์ไม่ปรับลดราคาห้องชุด จำเลยก็มีสิทธิที่จะอ้างเหตุดังกล่าวปฏิเสธการชำระค่าเช่าซื้องวดสุดท้ายและถือไม่ได้ว่าจำเลยเป็นผู้ผิดสัญญา โจทก์จึงไม่มีสิทธิบอกเลิกสัญญาเช่าซื้อห้องชุด เมื่อสัญญาเช่าซื้อข้อ 1 วรรคท้าย ไม่มีผลบังคับ จำเลยย่อมมีสิทธิบอกปัดไม่รับเอาห้องชุดที่โจทก์ส่งมอบเนื้อที่ขาดจำนวนจากสัญญาเช่าซื้อเกินกว่าร้อยละ 5 การที่จำเลยมีหนังสือบอกเลิกสัญญาไปยังโจทก์เป็นการใช้สิทธิบอกปัดโดยขอเลิกสัญญา สัญญาเช่าซื้อระหว่างโจทก์กับจำเลยจึงเป็นอันเลิกกันซึ่งมิใช่เป็นการเลิกสัญญาด้วยความผิดของจำเลย โจทก์จึงไม่มีสิทธิริบเงินค่าเช่าซื้อไว้ ผลของการเลิกสัญญาคู่สัญญาแต่ละฝ่ายจำต้องให้อีกฝ่ายหนึ่งได้กลับคืนสู่ฐานะดังที่เป็นอยู่เดิม ตาม ป.พ.พ. มาตรา 391 โจทก์ต้องคืนเงินค่าเช่าซื้อที่ได้รับชำระมาแล้วแก่จำเลย ส่วนจำเลยต้องส่งมอบห้องชุดคืนแก่โจทก์ และการที่จำเลยเข้าครอบครองใช้ประโยชน์ห้องชุดถือเป็นการยอมให้ใช้ทรัพย์ของโจทก์ จำเลยจึงต้องชดใช้เงินตามควรค่าแห่งการนั้นตามมาตรา 391 วรรคสาม ในส่วนที่จำเลยขอให้โจทก์คืนเงินค่าเช่าซื้อตามฟ้องแย้ง จึงต้องหักด้วยค่าใช้ทรัพย์ และโจทก์ชอบที่จะได้รับค่าใช้ทรัพย์ตลอดเวลาที่จำเลยครอบครองห้องชุดของโจทก์
สัญญาเช่าซื้อเป็นสัญญาต่างตอบแทน โจทก์ต้องปรับลดราคาห้องชุดให้เป็นไปตามเนื้อที่จริงจึงจะเรียกให้จำเลยชำระค่าเช่าซื้องวดสุดท้ายได้หากโจทก์ไม่ปรับลดราคาห้องชุด จำเลยก็มีสิทธิที่จะอ้างเหตุดังกล่าวปฏิเสธการชำระค่าเช่าซื้องวดสุดท้ายและถือไม่ได้ว่าจำเลยเป็นผู้ผิดสัญญา โจทก์จึงไม่มีสิทธิบอกเลิกสัญญาเช่าซื้อห้องชุด เมื่อสัญญาเช่าซื้อข้อ 1 วรรคท้าย ไม่มีผลบังคับ จำเลยย่อมมีสิทธิบอกปัดไม่รับเอาห้องชุดที่โจทก์ส่งมอบเนื้อที่ขาดจำนวนจากสัญญาเช่าซื้อเกินกว่าร้อยละ 5 การที่จำเลยมีหนังสือบอกเลิกสัญญาไปยังโจทก์เป็นการใช้สิทธิบอกปัดโดยขอเลิกสัญญา สัญญาเช่าซื้อระหว่างโจทก์กับจำเลยจึงเป็นอันเลิกกันซึ่งมิใช่เป็นการเลิกสัญญาด้วยความผิดของจำเลย โจทก์จึงไม่มีสิทธิริบเงินค่าเช่าซื้อไว้ ผลของการเลิกสัญญาคู่สัญญาแต่ละฝ่ายจำต้องให้อีกฝ่ายหนึ่งได้กลับคืนสู่ฐานะดังที่เป็นอยู่เดิม ตาม ป.พ.พ. มาตรา 391 โจทก์ต้องคืนเงินค่าเช่าซื้อที่ได้รับชำระมาแล้วแก่จำเลย ส่วนจำเลยต้องส่งมอบห้องชุดคืนแก่โจทก์ และการที่จำเลยเข้าครอบครองใช้ประโยชน์ห้องชุดถือเป็นการยอมให้ใช้ทรัพย์ของโจทก์ จำเลยจึงต้องชดใช้เงินตามควรค่าแห่งการนั้นตามมาตรา 391 วรรคสาม ในส่วนที่จำเลยขอให้โจทก์คืนเงินค่าเช่าซื้อตามฟ้องแย้ง จึงต้องหักด้วยค่าใช้ทรัพย์ และโจทก์ชอบที่จะได้รับค่าใช้ทรัพย์ตลอดเวลาที่จำเลยครอบครองห้องชุดของโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 14219/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หน้าที่ศาลแจ้งเงินวางชำระหนี้ และสิทธิเจ้าหนี้รับเงินภายใน 5 ปี
เมื่อมีการวางเงินที่ศาลชั้นต้นเพื่อชำระหนี้ของลูกหนี้ตามคำพิพากษาแล้ว ศาลชั้นต้นมีหน้าที่ต้องดำเนินการให้เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาทราบว่ามีเงินที่ลูกหนี้ตามคำพิพากษานำมาวางที่ศาลเพื่อให้เจ้าหนี้ตามคำพิพากษามารับไป เมื่อมีการดำเนินการแจ้งให้เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาทราบแล้ว หากเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาไม่มารับเงินไปภายใน 5 ปีนับแต่วันที่วางเงิน เงินค้างจ่ายจำนวนดังกล่าวจึงตกเป็นของแผ่นดิน
หลังจากจำเลยทั้งสามนำเงินจำนวนดังกล่าวมาวางต่อศาลชั้นต้นเพื่อชำระหนี้ตามคำพิพากษาแล้ว ปรากฏว่าศาลชั้นต้นยังมิได้มีคำสั่งหรือการดำเนินการใดๆ เพื่อให้โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาทราบว่ามีเงินที่จำเลยทั้งสามนำมาวางศาลเพื่อชำระหนี้ตามคำพิพากษา เงินที่นำมาวางดังกล่าวจึงยังไม่เป็นเงินที่ค้างจ่ายอยู่ที่ศาลชั้นต้นที่ผู้มีสิทธิต้องเรียกเอาเสียภายในห้าปีตาม ป.วิ.พ. มาตรา 323 เงินดังกล่าวจึงยังไม่ตกเป็นของแผ่นดิน โจทก์มีสิทธิได้รับเงินค้างจ่ายที่จำเลยทั้งสามนำมาวางเพื่อชำระหนี้ตามคำพิพากษา การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งคำแถลงของโจทก์ฉบับแรกว่า โจทก์มิได้เรียกเอาเงินที่จำเลยทั้งสามนำมาวางศาลภายใน 5 ปี จึงตกเป็นของแผ่นดิน ให้ยกคำแถลง และมีคำสั่งคำแถลงของโจทก์ฉบับที่สองว่า กรณีไม่มีเหตุเปลี่ยนแปลงคำสั่งเดิม ให้ยกคำแถลง จึงไม่ถูกต้อง
หลังจากจำเลยทั้งสามนำเงินจำนวนดังกล่าวมาวางต่อศาลชั้นต้นเพื่อชำระหนี้ตามคำพิพากษาแล้ว ปรากฏว่าศาลชั้นต้นยังมิได้มีคำสั่งหรือการดำเนินการใดๆ เพื่อให้โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาทราบว่ามีเงินที่จำเลยทั้งสามนำมาวางศาลเพื่อชำระหนี้ตามคำพิพากษา เงินที่นำมาวางดังกล่าวจึงยังไม่เป็นเงินที่ค้างจ่ายอยู่ที่ศาลชั้นต้นที่ผู้มีสิทธิต้องเรียกเอาเสียภายในห้าปีตาม ป.วิ.พ. มาตรา 323 เงินดังกล่าวจึงยังไม่ตกเป็นของแผ่นดิน โจทก์มีสิทธิได้รับเงินค้างจ่ายที่จำเลยทั้งสามนำมาวางเพื่อชำระหนี้ตามคำพิพากษา การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งคำแถลงของโจทก์ฉบับแรกว่า โจทก์มิได้เรียกเอาเงินที่จำเลยทั้งสามนำมาวางศาลภายใน 5 ปี จึงตกเป็นของแผ่นดิน ให้ยกคำแถลง และมีคำสั่งคำแถลงของโจทก์ฉบับที่สองว่า กรณีไม่มีเหตุเปลี่ยนแปลงคำสั่งเดิม ให้ยกคำแถลง จึงไม่ถูกต้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 14218/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การว่าจ้างดูแลความปลอดภัย, ตัวการร่วม, การรับช่วงสิทธิจากผู้รับประกันภัย, การวินิจฉัยนอกฟ้อง
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยที่ 3 ว่าจ้างจำเลยที่ 2 ให้ดูแลรักษาความปลอดภัยในทรัพย์สินซึ่งเป็นรถยนต์ของบุคคลทั่วไปที่นำเข้ามาจอดในลานจอดรถของจำเลยที่ 3 จำเลยที่ 1 ลูกจ้างหรือตัวแทนของจำเลยที่ 2 ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความประมาทปล่อยให้มีผู้นำรถที่โจทก์รับประกันภัยออกไปจากลานจอดรถของจำเลยที่ 3 โดยไม่คืนบัตรจอดรถ จำเลยทั้งสามต้องร่วมกันรับผิดต่อโจทก์ จำเลยที่ 3 แม้จะให้การว่า จำเลยที่ 3 มิได้ว่าจ้างจำเลยที่ 2 ให้ดูแลรักษาความปลอดภัยในทรัพย์สินของลูกค้าผู้ใช้บริการหรือบุคคลภายนอกแต่จำเลยที่ 3 ก็ให้การว่าจำเลยที่ 3 ได้ว่าจ้างจำเลยที่ 2 ให้มาดำเนินการดูแลและรักษาความปลอดภัยแก่พนักงานและทรัพย์สินของจำเลยที่ 3 ที่อยู่ภายในสาขานครปฐม โดยจำเลยที่ 2 มีหน้าที่ตามสัญญาจ้างที่จะต้องจัดหาพนักงานรักษาความปลอดภัย อุปกรณ์ และเครื่องมือที่ต้องใช้ในการรักษาความปลอดภัยในการดูแลรักษาความปลอดภัยในทรัพย์สินของจำเลยที่ 3 มิได้ให้การว่าจำเลยที่ 3 ว่าจ้างบริษัท บ. ดูแลความปลอดภัยให้จำเลยที่ 3 เช่นนี้จึงแปลได้ว่าจำเลยที่ 3 ว่าจ้างจำเลยที่ 2 ดูแลรักษาความปลอดภัยแล้ว การที่จำเลยที่ 3 นำสืบว่า จำเลยที่ 3 มิได้ว่าจ้างจำเลยที่ 2 แต่ว่าจ้างบริษัท บ. ดูแลรักษาความปลอดภัยให้จำเลยที่ 3 จึงเป็นการนำสืบนอกคำให้การ ดังนั้น ข้อเท็จจริงที่ว่าจำเลยที่ 3 ว่าจ้างบริษัท บ. จึงเป็นข้อเท็จจริงนอกข้อต่อสู้ในคำให้การและนอกประเด็นข้อพิพาท ศาลจะรับฟังมาวินิจฉัยไม่ได้เพราะเป็นข้อเท็จจริงที่ได้มาโดยไม่ชอบด้วยกระบวนพิจารณา ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 87 ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 7 นำข้อเท็จจริงดังกล่าวมาวินิจฉัยว่า จำเลยที่ 3 ไม่ได้ว่าจ้างจำเลยที่ 2 แล้วพิพากษายกฟ้องจำเลยที่ 3 จึงเป็นการวินิจฉัยนอกฟ้องนอกประเด็นไม่ชอบด้วยกระบวนพิจารณา ข้อเท็จจริงจึงต้องรับฟังเป็นยุติตามคำให้การของจำเลยที่ 3 ว่า จำเลยที่ 3 ว่าจ้างจำเลยที่ 2 ให้เป็นผู้ดูแลรักษาความปลอดภัย การที่ศาลล่างทั้งสองวินิจฉัยว่าจำเลยที่ 3 มิได้ว่าจ้างจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นข้อเท็จจริงที่ปรากฏจากพยานนอกข้อต่อสู้ในคำให้การและนอกประเด็นข้อพิพาทอันเป็นประเด็นข้อสำคัญในคดี ซึ่งมีผลทำให้การวินิจฉัยคดีของศาลคลาดเคลื่อนไปจากความเป็นจริง จึงเป็นกรณีที่ศาลล่างทั้งสองมิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ในข้อที่จะมุ่งหมายจะยังให้การเป็นไปด้วยความยุติธรรมและเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้โจทก์จะไม่ได้ยกขึ้นกล่าวอ้างในชั้นอุทธรณ์ โจทก์ย่อมยกขึ้นอ้างในชั้นฎีกาได้
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยที่ 1 ปฏิบัติหน้าที่รักษาความปลอดภัยด้วยความประมาทปราศจากความระมัดระวังซึ่งบุคคลในภาวะเช่นจำเลยที่ 1 ต้องพึงมีตามวิสัยและพฤติการณ์ซึ่งจำเลยที่ 1 อาจใช้ความระมัดระวังเช่นว่านั้นได้แต่หาได้ใช้ให้เพียงพอไม่... กลับปล่อยให้มีผู้นำรถที่โจทก์รับประกันภัยออกไปจากลานจอดรถของจำเลยที่ 3 โดยไม่รับคืนบัตรจอดรถเท่ากับว่าโจทก์ได้บรรยายฟ้องให้รับผิดฐานละเมิดไว้ด้วย หาได้บรรยายฟ้องให้รับผิดฐานฝากทรัพย์เท่านั้นไม่
จำเลยที่ 3 ว่าจ้างจำเลยที่ 2 ให้ดูแลรักษาความปลอดภัยโดยมีจำเลยที่ 1 เป็นพนักงานรักษาความปลอดภัยของจำเลยที่ 2 ซึ่งจำเลยที่ 3 ประกอบกิจการห้างสรรพสินค้าขนาดใหญ่ย่อมมีหน้าที่ดูแลรักษาความปลอดภัยรถยนต์ของลูกค้าตามสมควร การที่จำเลยที่ 3 ว่าจ้างจำเลยที่ 2 ดูแลรักษาความปลอดภัยบริเวณลานจอดรถจึงเป็นการมอบหมายให้จำเลยที่ 2 และลูกจ้างของจำเลยที่ 2 ทำการดูแลรักษาความปลอดภัยแทน จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นลูกจ้างของจำเลยที่ 2 จึงเป็นตัวแทนของจำเลยที่ 3 ในการดูแลรักษาความปลอดภัย โดยจำเลยที่ 1 มีหน้าที่รับบัตรจอดรถคืนจากผู้ขับรถ เมื่อปรากฏว่ามีผู้ขับรถคันที่โจทก์รับประกันภัยออกจากลานจอดรถของจำเลยที่ 3 โดยบัตรจอดรถยังอยู่กับ ช. และ ไม่ปรากฏว่ามีการคืนบัตรจอดรถหมายเลขทะเบียนเดียวกับรถคันที่โจทก์รับประกันภัย พฤติการณ์ดังกล่าวถือได้ว่าจำเลยที่ 1 ไม่ปฏิบัติหน้าที่เรียกคืนบัตรจอดรถจากคนร้ายเป็นเหตุให้รถที่โจทก์รับประกันภัยถูกลักไป อันเป็นการกระทำโดยประมาทเลินเล่อของจำเลยที่ 1 ที่ไม่ดูแลรักษาความปลอดภัยรถยนต์ของลูกค้าตามสมควร จำเลยที่ 3 ต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ฐานเป็นตัวการตาม ป.พ.พ. มาตรา 427 ประกอบมาตรา 425
โจทก์รับประกันภัยรถยนต์พิพาทจาก ช. ซึ่ง ป.พ.พ. มาตรา 880 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า "ถ้าความวินาศภัยนั้นได้เกิดขึ้นเพราะการกระทำของบุคคลภายนอกไซร้ ผู้รับประกันภัยได้ใช้ค่าสินไหมทดแทนไปเป็นจำนวนเพียงใด ผู้รับประกันภัยย่อมเข้ารับช่วงสิทธิของผู้เอาประกันภัยและของผู้รับประโยชน์ซึ่งมีต่อบุคคลภายนอกเพียงนั้น" ดังนี้ เมื่อโจทก์ได้ใช้ค่าสินไหมทดแทนไปย่อมเข้ารับช่วงสิทธิของผู้เอาประกันภัยเรียกร้องจากผู้ทำละเมิดได้ตามบทบัญญัติดังกล่าว
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยที่ 1 ปฏิบัติหน้าที่รักษาความปลอดภัยด้วยความประมาทปราศจากความระมัดระวังซึ่งบุคคลในภาวะเช่นจำเลยที่ 1 ต้องพึงมีตามวิสัยและพฤติการณ์ซึ่งจำเลยที่ 1 อาจใช้ความระมัดระวังเช่นว่านั้นได้แต่หาได้ใช้ให้เพียงพอไม่... กลับปล่อยให้มีผู้นำรถที่โจทก์รับประกันภัยออกไปจากลานจอดรถของจำเลยที่ 3 โดยไม่รับคืนบัตรจอดรถเท่ากับว่าโจทก์ได้บรรยายฟ้องให้รับผิดฐานละเมิดไว้ด้วย หาได้บรรยายฟ้องให้รับผิดฐานฝากทรัพย์เท่านั้นไม่
จำเลยที่ 3 ว่าจ้างจำเลยที่ 2 ให้ดูแลรักษาความปลอดภัยโดยมีจำเลยที่ 1 เป็นพนักงานรักษาความปลอดภัยของจำเลยที่ 2 ซึ่งจำเลยที่ 3 ประกอบกิจการห้างสรรพสินค้าขนาดใหญ่ย่อมมีหน้าที่ดูแลรักษาความปลอดภัยรถยนต์ของลูกค้าตามสมควร การที่จำเลยที่ 3 ว่าจ้างจำเลยที่ 2 ดูแลรักษาความปลอดภัยบริเวณลานจอดรถจึงเป็นการมอบหมายให้จำเลยที่ 2 และลูกจ้างของจำเลยที่ 2 ทำการดูแลรักษาความปลอดภัยแทน จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นลูกจ้างของจำเลยที่ 2 จึงเป็นตัวแทนของจำเลยที่ 3 ในการดูแลรักษาความปลอดภัย โดยจำเลยที่ 1 มีหน้าที่รับบัตรจอดรถคืนจากผู้ขับรถ เมื่อปรากฏว่ามีผู้ขับรถคันที่โจทก์รับประกันภัยออกจากลานจอดรถของจำเลยที่ 3 โดยบัตรจอดรถยังอยู่กับ ช. และ ไม่ปรากฏว่ามีการคืนบัตรจอดรถหมายเลขทะเบียนเดียวกับรถคันที่โจทก์รับประกันภัย พฤติการณ์ดังกล่าวถือได้ว่าจำเลยที่ 1 ไม่ปฏิบัติหน้าที่เรียกคืนบัตรจอดรถจากคนร้ายเป็นเหตุให้รถที่โจทก์รับประกันภัยถูกลักไป อันเป็นการกระทำโดยประมาทเลินเล่อของจำเลยที่ 1 ที่ไม่ดูแลรักษาความปลอดภัยรถยนต์ของลูกค้าตามสมควร จำเลยที่ 3 ต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ฐานเป็นตัวการตาม ป.พ.พ. มาตรา 427 ประกอบมาตรา 425
โจทก์รับประกันภัยรถยนต์พิพาทจาก ช. ซึ่ง ป.พ.พ. มาตรา 880 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า "ถ้าความวินาศภัยนั้นได้เกิดขึ้นเพราะการกระทำของบุคคลภายนอกไซร้ ผู้รับประกันภัยได้ใช้ค่าสินไหมทดแทนไปเป็นจำนวนเพียงใด ผู้รับประกันภัยย่อมเข้ารับช่วงสิทธิของผู้เอาประกันภัยและของผู้รับประโยชน์ซึ่งมีต่อบุคคลภายนอกเพียงนั้น" ดังนี้ เมื่อโจทก์ได้ใช้ค่าสินไหมทดแทนไปย่อมเข้ารับช่วงสิทธิของผู้เอาประกันภัยเรียกร้องจากผู้ทำละเมิดได้ตามบทบัญญัติดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 14217/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดร่วมกันของนายจ้าง ตัวการ และลูกจ้าง/ตัวแทน จากการกระทำละเมิดในการซ่อมแซมเรือ
โจทก์ได้บรรยายให้เห็นว่า โจทก์เป็นผู้รับประกันภัย เรือ พ. จากบริษัท อ. จำเลยที่ 1 เป็นผู้ครอบครองอู่ต่อเรือ จำเลยที่ 2 เป็นผู้จัดการเรือ พ. มีหน้าที่ดูแลรักษาและซ่อมแซมเรือและเข้าร่วมซ่อมแซมเรือกับจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 1 และที่ 2 ร่วมกันรับจ้างซ่อมแซมเรือ พ. จำเลยที่ 3 เป็นลูกจ้างของจำเลยที่ 1 และ/หรือเป็นบุคคลที่จำเลยที่ 1 และ/หรือจำเลยที่ 2 เป็นผู้จัดหาทำการว่าจ้าง วาน ใช้ หรือได้รับมอบหมายจากจำเลยที่ 1 และ/หรือจำเลยที่ 2 ให้ดำเนินการซ่อมแซมเรือ จำเลยทั้งสามร่วมกันทำละเมิดต่อเจ้าของเรือ พ. โดยจำเลยที่ 3 กระทำโดยประมาททำให้เกิดเพลิงลุกไหม้เรือ พ. จนได้รับความเสียหาย เป็นคำฟ้องที่แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาที่โจทก์อาศัยเป็นหลักในการกล่าวหาเพื่อขอให้บังคับจำเลยทั้งสามรับผิดต่อโจทก์ ทั้งโจทก์ยืนยันว่าเหตุละเมิดเกิดจากการปฏิบัติหน้าที่ของจำเลยที่ 3 ในทางการที่จ้างหรือได้รับมอบหมายจากจำเลยที่ 1 และ/หรือที่ 2 หากพิจารณาข้อเท็จจริงแล้วได้ความตามฟ้อง จำเลยที่ 1 และ/หรือที่ 2 ย่อมต้องร่วมรับผิดต่อโจทก์ ไม่ว่าในฐานะตัวการตัวแทนหรือนายจ้างลูกจ้าง เนื่องจาก ป.พ.พ. มาตรา 427 ให้นำมาตรา 425 และ 426 ซึ่งเป็นบทบัญญัติว่าด้วยความรับผิดของนายจ้างเพื่อผลละเมิดของลูกจ้างซึ่งกระทำไปในทางการที่จ้างบังคับแก่กรณีตัวการตัวแทนโดยอนุโลม ทั้งจำเลยที่ 1 และ/หรือที่ 2 อาจต้องร่วมรับผิดทั้งการกระทำละเมิดและการกระทำผิดสัญญาจ้างซ่อมแซมเรือที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ในคราวเดียวกัน ที่โจทก์บรรยายฟ้องมาจึงไม่ได้ขัดแย้งกัน ฟ้องของโจทก์จึงชอบด้วย ป.วิ.พ.มาตรา 172 วรรคสอง