คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
จรูญ ชีวิตโสภณ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 124 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 14216/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประกันภัยตกเป็นโมฆะเนื่องจากผู้เอาประกันภัยแสดงเจตนาไม่ตรงกัน
จำเลยขาดนัดพิจารณาและโจทก์สืบพยานไปบ้างแล้ว จำเลยยื่นคำร้องขอให้พิจารณาคดีใหม่ ศาลชั้นต้นไต่สวนแล้วเห็นว่าการขาดนัดเป็นไปโดยไม่จงใจให้ยกคดีขึ้นพิจารณาใหม่ โจทก์โต้แย้งคำสั่งไว้ หลังจากศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาแล้ว โจทก์อุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นที่อนุญาตให้พิจารณาคดีใหม่ ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน กรณีเป็นเรื่องการขอพิจารณาคดีใหม่ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 206 วรรคสาม ซึ่งไม่มีบทบัญญัติแห่งกฎหมายจำกัดสิทธิในการอุทธรณ์ฎีกาไว้ หาใช่อุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นที่อนุญาตให้พิจารณาคดีใหม่หลังจากศาลมีคำสั่งชี้ขาดให้จำเลยแพ้คดีโดยการขาดนัดพิจารณา ตามมาตรา 199 ตรี และมาตรา 207 อันเป็นที่สุดตาม ป.วิ.พ. มาตรา 199 เบญจ วรรคสี่ ไม่ โจทก์จึงฎีกาคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ในปัญหาเรื่องการจงใจขาดนัดพิจารณาหรือไม่ ได้
ในวันนัดไต่สวนคำร้องขอดำเนินคดีอย่างคนอนาถา นอกจากศาลชั้นต้นอนุญาตให้โจทก์ดำเนินคดีอย่างคนอนาถาแล้ว ยังมีคำสั่งให้รับคำฟ้อง หมายเรียกให้จำเลยยื่นคำให้การ และนัดสืบพยานโจทก์ด้วย ซึ่งในวันดังกล่าวทนายจำเลยไม่ได้มาศาลหรือลงชื่อทราบวันนัดของศาลแต่อย่างใด และแม้ทนายจำเลยเคยระบุไว้ในคำแถลงวันที่ 5 เมษายน 2544 ว่าศาลนัดสืบพยานโจทก์วันที่ 23 พฤษภาคม 2544 เวลา 13.30 นาฬิกา ก็ตาม แต่ปรากฏตามคำร้องลงวันที่ 3 พฤษภาคม 2544 ของทนายจำเลยที่ขอให้จำหน่ายคดีเนื่องจากโจทก์ฟ้องคดีโดยไม่ได้เสนอข้อพิพาทให้อนุญาโตตุลาการพิจารณาก่อนจึงเป็นการไม่ชอบซึ่งศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่า "รวมและรอไว้สั่งในวันนัด" ที่หัวกระดาษบนด้านขวาเหนือตราประทับของแผนกเก็บสำนวนคดีดำเขียนว่า "24 พค 44" นอกจากนั้นบัญชีพยานจำเลยลงวันที่ 15 พฤษภาคม 2544 หัวกระดาษตอนบนมีข้อความระบุว่า "นัดวันที่ 24 พค 44 13.30 น" เมื่อพิจารณาถึงเหตุที่ทนายจำเลยมาศาลในวันที่ 24 พฤษภาคม 2544 และยื่นคำร้องขอให้พิจารณาคดีใหม่ในวันนั้นโดยระบุชัดแจ้งถึงเหตุที่มาศาลในวันนั้นเพื่อปฏิบัติหน้าที่คดีนี้และเหตุที่ไม่ได้มาศาลในวันนัด พร้อมสำเนาหลักฐานสมุดนัดความของทนายจำเลยซึ่งสอดคล้องกับเอกสารสำนวนศาล พฤติการณ์ตามข้ออ้างของทนายจำเลยจึงน่าเชื่อว่าทนายจำเลยสำคัญผิดในวันนัดและไม่ได้จงใจขาดนัดพิจารณา
จำเลยออกกรมธรรม์ประกันชีวิตให้แก่ จ. แต่อ้างว่าผู้แสดงเจตนาขอเอาประกันภัยไม่ใช่ จ. ประเด็นข้อพิพาทจึงมีว่าสัญญาประกันภัยบังคับได้หรือไม่ เพียงใด จำเลยซึ่งมีภาระการพิสูจน์ย่อมสามารถนำพยานหลักฐานเข้าสืบเพื่อหักล้างให้เห็นว่าสัญญาประกันภัยไม่มีผลผูกพันได้
คำสั่งศาลชั้นต้นที่อนุญาตให้ส่งเอกสารไปตรวจพิสูจน์นั้นเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณา หากโจทก์ไม่เห็นด้วยต้องโต้แย้งคัดค้านไว้ เมื่อไม่ปรากฏว่าโจทก์โต้แย้งคำสั่งศาลชั้นต้นทั้งที่มีเวลาเพียงพอโจทก์ไม่อาจอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวได้ ที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยให้เป็นการไม่ชอบ จึงเป็นข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ ต้องห้ามมิให้ฎีกา ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 14118/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การครอบครองปรปักษ์ vs. สิทธิจำนอง: สิทธิยังไม่ได้จดทะเบียนใช้ต่อสู้บุคคลภายนอกผู้สุจริตไม่ได้
โจทก์เป็นผู้ได้มาซึ่งที่ดินโฉนดเลขที่ 91005 อันเป็นอสังหาริมทรัพย์โดยการครอบครองปรปักษ์อันเป็นการได้มาโดยทางอื่นนอกจากนิติกรรม สิทธิของโจทก์ซึ่งยังไม่ได้จดทะเบียน จึงไม่อาจยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้จำเลยที่ 3 ผู้รับจำนองซึ่งไม่ใช่เจ้าของที่ดินเดิมอันถือว่าเป็นบุคคลภายนอกที่ได้สิทธิตามสัญญาโดยเสียค่าตอบแทนและโดยสุจริต ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1299 วรรคสอง
ศาลชั้นต้นพิพากษาให้ปล่อยทรัพย์ที่ยึดคือที่ดินโฉนดเลขที่ 91005 ในคดีที่จำเลยที่ 3 เป็นโจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 นั้น มีผลเพียงทำให้จำเลยที่ 3 ไม่อาจยึดนำที่ดินและบ้านพิพาทดังกล่าวออกขายทอดตลาดในคดีดังกล่าวได้เท่านั้น แต่ไม่มีผลกระทบถึงสิทธิในฐานะผู้รับจำนองของจำเลยที่ 3 ที่มีต่อทรัพย์จำนอง ซึ่งสิทธิตามสัญญาจำนองจะระงับไปก็ต่อเมื่อมีเหตุตาม ป.พ.พ. มาตรา 744 เท่านั้น อันได้แก่ เมื่อหนี้ที่ประกันระงับสิ้นไปด้วยเหตุประการอื่นใดมิใช่เหตุอายุความ เมื่อปลดจำนองให้แก่ผู้จำนองด้วยหนังสือเป็นสำคัญ เมื่อผู้จำนองหลุดพ้น เมื่อถอนจำนอง เมื่อขายทอดตลาดทรัพย์สินซึ่งจำนองตามคำสั่งศาล อันเนื่องมาแต่การบังคับจำนองหรือถอนจำนอง เมื่อเอาทรัพย์สินซึ่งจำนองนั้นหลุด เมื่อเหตุที่โจทก์อ้างไม่ใช่เหตุตามบทบัญญัติที่กล่าว สัญญาจำนองในที่ดินโฉนดเลขที่ 91005 จึงยังไม่ระงับสิ้นไป โจทก์จึงไม่มีสิทธิเพิกถอนการจดทะเบียนจำนองในที่ดินโฉนดเลขที่ 91005 ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 13965/2558 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การไต่สวนพยานที่ไม่ถูกต้องตามระเบียบ และองค์คณะพิจารณาคดีไม่ครบถ้วนในคดีครอบครัว
โจทก์กล่าวอ้างข้อเท็จจริงในเรื่องของเหตุหย่า จำเลยให้การปฏิเสธ โจทก์ผู้มีภาระการพิสูจน์จึงมีหน้าที่จะต้องนำพยานหลักฐานเข้าสืบสนับสนุนข้ออ้างของตนตาม ป.วิ.พ. มาตรา 84/1 แต่ปรากฏว่าศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้มีการไต่สวนพยานโจทก์จำเลยโดยศาลชั้นต้นเป็นผู้สอบถามโจทก์จำเลยเองทั้งหมด ไม่ได้ให้ทนายโจทก์หรือทนายจำเลยซักถามหรือถามค้านพยาน แล้วก็มีคำสั่งว่า คดีพอวินิจฉัยได้ จึงให้งดสืบพยานโจทก์จำเลย จากนั้นก็วินิจฉัยคดีตามประเด็นข้อพิพาท สำหรับประเด็นเรื่องฟ้องหย่าก็วินิจฉัยชั่งน้ำหนักพยานเหมือนคดีที่มีการสืบพยานทั่วไป เพียงแต่เป็นพยานหลักฐานที่เกิดจากศาลเป็นผู้ไต่สวนเองและฟังเป็นข้อเท็จจริงว่าจำเลยไม่อุปการะเลี้ยงดูโจทก์เท่าที่ควร แต่เมื่อคดีนี้เป็นคดีมีข้อพิพาท ซึ่งใน ป.วิ.พ. ไม่ได้ให้อำนาจศาลเรียกพยานมาไต่สวนเอง แม้ศาลจะมีอำนาจซักถามพยาน แต่ก็ต้องเป็นพยานที่คู่ความอ้างเข้ามาและศาลต้องให้คู่ความซักถามต่อจากศาล ทั้งข้อเท็จจริงที่ศาลชั้นต้นไต่สวนก็มิได้สอดคล้องและครบถ้วนตามข้อเท็จจริงที่โจทก์กล่าวอ้างมาในคำฟ้องและประเด็นข้อพิพาท การที่ศาลชั้นต้นไต่สวนพยานโจทก์และพยานจำเลยเองทั้งหมดจึงเป็นการพิจารณาคดีที่ผิดระเบียบตาม ป.วิ.พ. มาตรา 27 วรรคสอง ประกอบ พ.ร.บ.ศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ.2553 มาตรา 6
คดีที่ผู้เยาว์มีผลประโยชน์หรือส่วนได้เสียอยู่ด้วยในการพิจารณาพิพากษาคดีครอบครัวต้องมีผู้พิพากษาสมทบอีกสองคนซึ่งอย่างน้อยคนหนึ่งต้องเป็นสตรีเป็นองค์คณะพิจารณาพิพากษาตาม พ.ร.บ.ศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ.2553 มาตรา 23 ประกอบมาตรา 147 การที่ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาพิพากษาคดีโดยมีเพียงผู้พิพากษาสองคนเป็นองค์คณะ ไม่มีผู้พิพากษาสมทบอีกสองคนซึ่งอย่างน้อยคนหนึ่งต้องเป็นสตรีเป็นองค์คณะร่วมอยู่ด้วยจึงเป็นการพิจารณาคดีที่ผิดระเบียบตาม ป.วิ.พ. มาตรา 27 วรรคสอง ประกอบ พ.ร.บ.ศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ.2553 มาตรา 6

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 13965/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กระบวนการพิจารณาคดีหย่าผิดระเบียบ: การไต่สวนพยานโดยศาลเอง และองค์คณะไม่ครบถ้วน
โจทก์ฟ้องกล่าวอ้างข้อเท็จจริงในเรื่องของเหตุหย่า จำเลยให้การปฏิเสธ โจทก์ผู้มีภาระการพิสูจน์จึงมีหน้าที่จะต้องนำพยานหลักฐานเข้าสืบสนับสนุนข้ออ้างของตน ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 84/1 แต่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ไต่สวนพยานโจทก์และจำเลยโดยศาลชั้นต้นเป็นผู้สอบถามโจทก์จำเลยเองทั้งหมด ไม่ได้ให้ทนายโจทก์หรือทนายจำเลยซักถามหรือถามค้านพยาน แล้วก็มีคำสั่งว่า คดีพอวินิจฉัยได้ จึงให้งดสืบพยานโจทก์และจำเลย จากนั้นก็วินิจฉัยคดีตามประเด็นข้อพิพาท สำหรับประเด็นเรื่องฟ้องหย่าก็วินิจฉัยชั่งน้ำหนักพยานหลักฐานเหมือนคดีที่มีการสืบพยานทั่วไป เพียงแต่เป็นพยานหลักฐานที่เกิดจากศาลเป็นผู้ไต่สวนและฟังข้อเท็จจริงยุติว่าจำเลยไม่อุปการะเลี้ยงดูโจทก์เท่าที่ควร แต่เมื่อคดีนี้เป็นคดีมีข้อพิพาทซึ่งใน ป.วิ.พ. ไม่ได้ให้อำนาจศาลเรียกพยานมาไต่สวนเอง แม้ศาลจะมีอำนาจซักถามพยาน แต่ก็ต้องเป็นพยานที่คู่ความอ้างและศาลต้องให้คู่ความซักถามต่อจากศาล ทั้งข้อเท็จจริงที่ศาลชั้นต้นไต่สวนก็มิได้สอดคล้องและครบถ้วนตามข้อเท็จจริงที่โจทก์กล่าวอ้างมาในคำฟ้องและประเด็นข้อพิพาท การที่ศาลชั้นต้นไต่สวนพยานโจทก์และจำเลยเองทั้งหมดจึงเป็นการพิจารณาคดีที่ผิดระเบียบตาม ป.วิ.พ. มาตรา 27 วรรคสอง ประกอบ พ.ร.บ.ศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ.2553 มาตรา 6
คดีที่ผู้เยาว์มีผลประโยชน์หรือส่วนได้เสียอยู่ด้วยในการพิจารณาพิพากษาคดีครอบครัวต้องมีผู้พิพากษาสมทบอีกสองคนซึ่งอย่างน้อยคนหนึ่งต้องเป็นสตรีเป็นองค์คณะพิจารณาพิพากษาตาม พ.ร.บ.ศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ.2553 มาตรา 23 ประกอบมาตรา 147 การที่ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาพิพากษาคดีโดยมีเพียงผู้พิพากษาสองคนเป็นองค์คณะ ไม่มีผู้พิพากษาสมทบอีกสองคนซึ่งอย่างน้อยคนหนึ่งต้องเป็นสตรีเป็นองค์คณะร่วมอยู่ด้วยจึงเป็นการพิจารณาคดีที่ผิดระเบียบตาม ป.วิ.พ. มาตรา 27 วรรคสอง ประกอบ พ.ร.บ.ศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ.2553 มาตรา 6

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 13666/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิจารณาคดีมโนสาเร่และการยื่นบัญชีระบุพยาน ศาลต้องบันทึกพยานหลักฐานเองตาม ป.วิ.พ. มาตรา 193 ตรี
ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 193 ตรี บัญญัติให้ศาลสอบถามคู่ความฝ่ายที่จะต้องนำพยานเข้าสืบว่า ประสงค์จะอ้างอิงพยานหลักฐานใดแล้วให้ศาลบันทึกไว้ ย่อมแสดงว่า ในการพิจารณาคดีมโนสาเร่ เป็นหน้าที่ของศาลที่จะต้องบันทึกเกี่ยวกับพยานหลักฐานที่จะนำเข้าสืบได้เองไว้ในรายงานกระบวนพิจารณา โดยคู่ความไม่จำต้องจัดทำบัญชีระบุพยานยื่นต่อศาลล่วงหน้าตามกำหนดเวลาที่บัญญัติไว้ใน ป.วิ.พ. มาตรา 88 ดังนั้น การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับบัญชีระบุพยานฉบับที่สองของโจทก์ จึงไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 193 ตรี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 13533/2558 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ รายงานสถานพินิจไม่ใช่พยานหลักฐานวินิจฉัยความผิดเด็ก ต้องมีพยานบุคคลประกอบเพื่อพิสูจน์ความผิด
แม้รายงานการแสดงข้อเท็จจริงเกี่ยวกับเด็กหรือเยาวชนของผู้อำนวยการสถานพินิจจะมีความสำคัญแก่การพิพากษาคดีมากเนื่องจาก พ.ร.บ.ศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ.2553 มาตรา 131 บัญญัติว่า ศาลจะลงโทษหรือใช้วิธีการสำหรับเด็กและเยาวชนได้ต่อเมื่อได้รับทราบรายงานดังกล่าว แต่ก็มีวัตถุประสงค์เพียงเพื่อให้ข้อเท็จจริงต่าง ๆ ของจำเลย ตลอดจนสิ่งแวดล้อมทั้งปวงเกี่ยวกับจำเลยและของบิดามารดา ผู้ปกครอง หรือบุคคลซึ่งจำเลยอาศัยอยู่ด้วยหรือบุคคลซึ่งให้การศึกษา ให้ทำการงานหรือมีความเกี่ยวข้องตามมาตรา 115 เข้าสู่สำนวนคดี โดยมาตรา 118 บัญญัติไว้ชัดเจนว่า ศาลจะรับฟังรายงานเกี่ยวกับข้อเท็จจริงตามมาตรา 115 ได้ เฉพาะที่มิใช่ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการกระทำความผิดที่ถูกฟ้องโดยไม่ต้องมีพยานบุคคลประกอบได้เพื่อเสนอรายงานและความเห็นต่อศาลเกี่ยวกับการลงโทษ หรือการใช้วิธีการสำหรับเด็กและเยาวชนแก่จำเลยเท่านั้น ข้อเท็จจริงตามรายงานก็มิใช่ข้อเท็จจริงที่ได้มาจากการสืบพยานของคู่ความ จึงไม่สามารถนำมารับฟังในฐานะเป็นพยานหลักฐานที่จะนำมาวินิจฉัยเกี่ยวกับการกระทำความผิดของจำเลยได้ การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 9 รับฟังรายงานดังกล่าวแล้วเชื่อว่าจำเลยกระทำความผิดฐานรับของโจรนั้น จึงมิชอบด้วยกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 13533/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ รายงานสถานพินิจไม่ใช่พยานหลักฐานพิสูจน์ความผิด ต้องมีพยานบุคคลซักค้าน การรับฟังพยานหลักฐานต้องปราศจากข้อสงสัย
แม้รายงานการแสดงข้อเท็จจริงเกี่ยวกับเด็กหรือเยาวชนของผู้อำนวยการสถานพินิจ จะมีความสำคัญแก่การพิพากษาคดีเนื่องจาก พ.ร.บ.ศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ.2553 มาตรา 131 บัญญัติว่า ศาลจะลงโทษหรือใช้วิธีการสำหรับเด็กและเยาวชนได้ต่อเมื่อได้รับทราบรายงานดังกล่าว แต่ก็มีวัตถุประสงค์เพียงเพื่อให้ข้อเท็จจริงต่าง ๆ ตลอดจนสิ่งแวดล้อมทั้งปวงเกี่ยวกับจำเลยและบิดามารดา ผู้ปกครอง หรือบุคคลซึ่งจำเลยอาศัยอยู่ด้วยหรือบุคคลซึ่งให้การศึกษา ให้ทำการงานหรือมีความเกี่ยวข้องตามมาตรา 115 เข้าสู่สำนวนคดี โดยมาตรา 118 บัญญัติไว้ชัดเจนว่า ศาลจะรับฟังรายงานเกี่ยวกับข้อเท็จจริงตามมาตรา 115 ได้ เฉพาะที่มิใช่ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการกระทำความผิดที่ถูกฟ้องโดยไม่ต้องมีพยานบุคคลประกอบได้ เพื่อเสนอรายงานและความเห็นต่อศาลเกี่ยวกับการลงโทษ หรือการใช้วิธีการสำหรับเด็กและเยาวชนแก่จำเลยเท่านั้น ข้อเท็จจริงตามรายงานก็มิใช่ข้อเท็จจริงที่ได้มาจากการสืบพยานของคู่ความ จึงไม่สามารถนำมารับฟังในฐานะเป็นพยานหลักฐานที่จะนำมาวินิจฉัยเกี่ยวกับการกระทำความผิดของจำเลยได้ การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 9 รับฟังรายงานดังกล่าวแล้วเชื่อว่าจำเลยกระทำความผิดฐานรับของโจรนั้น จึงมิชอบด้วยกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 13385/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่าซื้อไม่ปิดอากรแสตมป์ใช้เป็นพยานหลักฐานไม่ได้ ศาลฎีกายกประเด็นได้แม้จำเลยไม่ยก
โจทก์อ้างสัญญาเช่าซื้อเป็นพยานหลักฐานสนับสนุนข้ออ้าง สัญญาเช่าซื้อมีลักษณะเป็นตราสาร จึงต้องปิดอากรแสตมป์ให้ถูกต้องครบถ้วนตามบัญชีอัตราอากรแสตมป์ท้ายประมวลรัษฎากร แต่ปรากฏว่า สัญญาเช่าซื้อมิได้ปิดอากรแสตมป์ จึงไม่อาจใช้เป็นพยานหลักฐานในคดีแพ่งได้ตามบทบัญญัติ ป.รัษฎากร มาตรา 118 ที่ศาลล่างทั้งสองรับฟังสัญญาเช่าซื้อเป็นพยานหลักฐานจึงเป็นการไม่ชอบ ปัญหานี้เป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้จำเลยที่ 1 และที่ 2 ไม่ได้ให้การต่อสู้คดีไว้หรือยกปัญหาในเรื่องสัญญาเช่าซื้อมิได้ปิดอากรแสตมป์ขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลล่างทั้งสอง ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5)
จำเลยทั้งสามให้การต่อสู้ว่าสัญญาเช่าซื้อที่โจทก์ฟ้องเป็นเอกสารที่เกิดจากกลฉ้อฉลของโจทก์เพราะในการกรอกข้อความลงในเอกสารดังกล่าวไม่ตรงกับเงื่อนไขและข้อกำหนดที่จำเลยทั้งสามเสนอต่อโจทก์ เมื่อไม่อาจรับฟังสัญญาเช่าซื้อเป็นพยานหลักฐานได้ พยานหลักฐานอื่นของโจทก์ไม่มีน้ำหนักดีไปกว่าพยานหลักฐานของจำเลยทั้งสาม ดังนั้น จำเลยที่ 1 และที่ 2 จึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ตามสัญญาเช่าซื้อ กรณีนี้เกี่ยวด้วยการชำระหนี้อันไม่อาจแบ่งแยกได้ จึงให้มีผลถึงจำเลยที่ 3 ที่มิได้ฎีกาด้วย ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 245 (1) ประกอบมาตรา 247

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 13184/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอุทธรณ์นอกคำให้การ และสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายจากสัญญาเช่าซื้อที่ผิดนัด
จำเลยทั้งสองให้การชัดเจนในประเด็นโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งสองเกี่ยวกับหนังสือมอบอำนาจให้ฟ้องคดีและหนังสือมอบอำนาจให้ลงนามในสัญญาเช่าซื้อเท่านั้น จำเลยทั้งสองมิได้ให้การว่ารถยนต์เช่าซื้อได้สูญหายไปในระหว่างสัญญาเช่าซื้อแต่ประการใด ดังนั้น ที่จำเลยทั้งสองอุทธรณ์เกี่ยวกับรถยนต์เช่าซื้อได้สูญหายเป็นการอุทธรณ์ในเรื่องที่นอกเหนือคำให้การที่จำเลยทั้งสองต่อสู้ไว้ จึงเป็นข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 225 วรรคหนึ่ง และเมื่อจำเลยทั้งสองฎีกาในปัญหาดังกล่าวขึ้นมาอีกจึงเป็นฎีกาในข้อที่มิได้ว่ากล่าวกันมาแล้วโดยชอบในศาลล่างทั้งสอง ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง
สัญญาเช่าซื้อเลิกกันเพราะเหตุจำเลยที่ 1 ผิดนัดไม่ชำระค่าเช่าซื้อและไม่ส่งมอบรถยนต์เช่าซื้อคืนให้แก่โจทก์ ย่อมทำให้โจทก์ขาดประโยชน์ที่จะใช้รถยนต์เช่าซื้อตลอดเวลาที่จำเลยที่ 1 ครอบครองรถยนต์เช่าซื้อ จำเลยทั้งสองต้องร่วมกันชดใช้ค่าเสียหายดังกล่าวให้โจทก์ อันเป็นผลตามบทบัญญัติตาม ป.พ.พ. มาตรา 391 วรรคสาม การที่โจทก์จะประกอบกิจการให้เช่ารถยนต์หรือไม่นั้น ไม่มีผลกระทบถึงสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 13078/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องเรียกคืนสินสมรส: การฟ้องต่อเนื่องจากคำพิพากษาเดิมมีอายุความ 60 วัน ไม่ใช่ 1 ปี
เมื่อวันที่ 17 พฤษภาคม 2549 โจทก์ในฐานะภริยาโดยชอบด้วยกฎหมายของจำเลยที่ 1 ฟ้องเพิกถอนนิติกรรมที่จำเลยที่ 1 นำเงินสินสมรสไปซื้อที่ดินและทาวน์เฮ้าส์พิพาทให้แก่จำเลยที่ 2 ภายในกำหนดเวลาหนึ่งปี นับแต่โจทก์ทราบเหตุการณ์ทำนิติกรรมระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 แต่ต่อมาศาลอุทธรณ์ภาค 1 มีคำพิพากษาเมื่อวันที่ 3 มิถุนายน 2552 ว่า ฟ้องโจทก์มิใช่การฟ้องเพื่อเพิกถอนนิติกรรมการซื้อขายที่ดินและทาวน์เฮ้าส์ แต่เป็นการฟ้องเพื่อเรียกสินสมรสคืนจากจำเลยที่ 2 และการที่ศาลชั้นต้นให้โจทก์นำสืบว่าจำเลยที่ 1 เป็นคนถอนเงินในบัญชีซึ่งเป็นสินสมรสและมอบให้แก่จำเลยที่ 2 เพื่อซื้อที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง แล้วพิพากษาให้จำเลยที่ 2 คืนเงินแก่โจทก์ เป็นการนำสืบนอกฟ้องนอกประเด็น จะพิพากษาให้จำเลยที่ 2 คืนเงินหาได้ไม่ โจทก์ต้องไปว่ากล่าวต่างหาก โจทก์จึงยื่นฟ้องคดีนี้ในวันที่ 9 กรกฎาคม 2552 เรียกร้องให้จำเลยที่ 2 คืนเงินจำนวน 1,512,400 บาท จึงเป็นการใช้สิทธิฟ้องต่อเนื่องจากคำพิพากษาในคดีเดิม แม้คำพิพากษาคดีดังกล่าวจะไม่มีถ้อยคำว่า "โดยไม่ตัดสิทธิโจทก์ที่จะฟ้องคดีใหม่" อายุความคดีนี้ก็ตกอยู่ในบังคับ ป.พ.พ. มาตรา 193/17 วรรคสอง ที่ฟ้องใหม่ได้ภายในหกสิบวัน นับแต่วันที่คำพิพากษาหรือคำสั่งนั้นถึงที่สุด หาใช่ต้องฟ้องคดีภายในหนึ่งปี นับแต่วันที่ได้รู้เหตุอันเป็นมูลให้เพิกถอนตาม ป.พ.พ. มาตรา 1480 วรรคสอง คดีโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ
of 13