คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.วิ.พ. ม. 177 วรรคสอง

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 18 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7494/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เอกสารประกอบคำให้การ, ค่าธรรมเนียม, และการต่อสู้คดี: ศาลรับฟังได้หากจำเลยไม่ได้จงใจหลีกเลี่ยง
เอกสารท้ายคำให้การที่จำเลยอ้างถึงในคำให้การถือเป็นส่วนหนึ่งของคำให้การจึงไม่ต้องระบุอ้างเอกสารดังกล่าวในบัญชีระบุพยานอีก ศาลรับฟังได้
การที่จำเลยไม่เสียค่าอ้างเอกสารนั้นไม่ปรากฏว่าจำเลยจงใจฝ่าฝืนไม่เสียและศาลชั้นต้นก็มิได้สั่งเรียกเก็บ จึงมิใช่ความบกพร่องของจำเลย ไม่ควรยกเป็นเหตุไม่รับฟังเอกสาร
จำเลยให้การต่อสู้ใจความว่า จำเลยไม่ได้กู้เงินจากโจทก์ตามฟ้อง ไม่เคยทำสัญญากู้เงินกับโจทก์ โจทก์บังคับให้จำเลยลงลายมือชื่อในกระดาษเปล่า เป็นการปฏิเสธฟ้องโจทก์โดยสิ้นเชิงและอ้างที่มาแห่งสัญญากู้เงินตามฟ้องว่ามีความเป็นมาอย่างไร เป็นคำให้การที่ชัดแจ้งไม่ขัดกัน ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 2 ไม่เชื่อว่าจำเลยทำสัญญากู้เงินโจทก์ตามฟ้องจึงมิใช่การวินิจฉัยนอกประเด็น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6972/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การตีใช้หนี้ด้วยที่ดินและผลของการไม่ตกลงราคาตามกฎหมาย
โจทก์ฟ้องว่า ส.ได้ยืมเงินโจทก์ไป 30,000 บาท และมอบที่ดินของ ส.ให้โจทก์เข้าครอบครองทำประโยชน์เพื่อเป็นประกันการชำระหนี้ จำเลยทั้งสองให้การเพียงแต่ว่า ส.จะเคยยืมเงินโจทก์เมื่อใด จำนวนเท่าไรและมอบที่ดินให้โจทก์ครอบครองทำประโยชน์หรือไม่ จำเลยทั้งสองไม่รับรอง เป็นคำให้การไม่ชัดแจ้งว่าจำเลยทั้งสองปฏิเสธข้ออ้างของโจทก์ทั้งสิ้นหรือแต่บางส่วน ถือไม่ได้ว่าจำเลยให้การปฏิเสธ อีกทั้งศาลชั้นต้นก็มิได้กำหนดเป็นประเด็นข้อพิพาทไว้ จึงต้องฟังตามที่โจทก์ฟ้องว่า ส.ได้ยืมเงินโจทก์ไป 30,000 บาท และมอบที่ดินของ ส.ให้โจทก์เข้าครอบครองทำประโยชน์เพื่อประกันการชำระหนี้
โจทก์นำสืบว่า ปี 2527 โจทก์ทวงถามให้จำเลยทั้งสองชำระหนี้เงินยืมกับค่าทำบุญศพให้ ส.เป็นเงินทั้งสิ้น 100,000 กว่าบาท จำเลยทั้งสองจึงพูดยกที่ดินของ ส.ให้เป็นการตีใช้หนี้ โดยจำเลยที่ 2 จะไปขออนุญาตต่อศาลเพื่อโอนให้ดังนี้ แม้จะได้ความตามที่โจทก์นำสืบก็ตาม ก็เป็นกรณีที่โจทก์ผู้ให้ยืมยอมรับเอาทรัพย์สินอย่างอื่นเป็นการชำระหนี้แทนเงินที่กู้ยืม แต่ไม่ปรากฏว่าได้มีการตกลงว่าที่ดินที่ตีใช้หนี้เงินยืมมีราคาเท่าใด เท่ากับราคาในท้องตลาดในเวลาและสถานที่ส่งมอบหรือไม่ข้อตกลงดังกล่าวจึงเป็นการขัดต่อ ป.พ.พ.มาตรา 656 วรรคสอง ตกเป็นโมฆะตามมาตรา 656 วรรคสาม โจทก์จึงไม่อาจจะฟ้องบังคับให้จำเลยที่ 1 ดำเนินการโอนที่ดินพิพาทตามข้อตกลงดังกล่าวได้
การที่จำเลยทั้งสองพูดยกที่ดินของ ส.ให้เป็นการตีใช้หนี้นั้นยังมีเงื่อนไขต่อไปว่า จำเลยที่ 2 จะต้องไปร้องขออนุญาตต่อศาลเพื่อโอนให้โจทก์เนื่องจากขณะนั้นจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นผู้รับมรดกของ ส.ยังเป็นผู้เยาว์อยู่ มิได้เป็นการยกให้โดยเด็ดขาดทันที จึงฟังไม่ได้ว่าจำเลยที่ 1 ได้มีเจตนาสละการครอบครองที่ดินโจทก์ครอบครองที่ดินโดย ส.มอบให้ครอบครองทำประโยชน์เพื่อเป็นประกันการใช้หนี้เงินยืมเป็นการครอบครองแทน ส. เมื่อ ส.ถึงแก่ความตายก็ถือได้ว่าโจทก์ยังครอบครองแทนทายาทผู้มีสิทธิรับมรดกของ ส. แม้โจทก์จะครอบครองนานเพียงใดก็หาได้สิทธิครอบครองไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6957/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การปฏิเสธความสมบูรณ์ของสัญญาและการอ้างตัวแทน: คำให้การที่ไม่ขัดแย้งกัน
โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยชำระหนี้ตามสัญญาขายลดตั๋วเงินจำเลยให้การว่าได้นำเช็คของบริษัท บ. ไปขายแก่โจทก์จริง แต่รับเงินมาไม่ครบทุกฉบับ และอย่างไรก็ตามการทำสัญญาขายลดตั๋วเงินกับโจทก์นั้นจำเลยทำในฐานะตัวแทนของ ธ. โดยโจทก์ทราบดีอยู่แล้ว จึงไม่ต้องรับผิดเป็นส่วนตัว ดังนี้ คำให้การของจำเลยเป็นการปฏิเสธความสมบูรณ์ของสัญญาเพราะยังรับเงินไปไม่ถูกต้องส่วนที่จำเลยอ้างว่าเป็นตัวแทนของ ธ. ก็เป็นการปฏิเสธความรับผิดของจำเลยอีกประการหนึ่ง ซึ่งเป็นคนละเรื่องกับประการแรก คำให้การของจำเลยจึงชอบด้วยป.วิ.พ. มาตรา 177 วรรคสอง แล้วหาขัดแย้งกันไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6842/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เช็คพิพาท: ผู้รับโอนมีสิทธิฟ้องได้ เว้นแต่โอนด้วยเจตนาฉ้อฉล
เช็คพิพาทสั่งจ่ายให้แก่ผู้ถือ โจทก์เป็นผู้รับโอนเช็คพิพาทมาจึงเป็นผู้ถือ ย่อมเป็นผู้ทรงตาม ป.พ.พ. มาตรา 904 มีอำนาจฟ้องให้จำเลยรับผิดตามเช็คได้ จำเลยไม่อาจต่อสู้โจทก์ด้วยข้อต่อสู้อันอาศัยความเกี่ยวพันกันเฉพาะบุคคลระหว่างตนกับผู้ทรงคนก่อน เว้นแต่การโอนจะมีขึ้นด้วยคบคิดกันฉ้อฉลตามมาตรา 916 ประกอบด้วยมาตรา 989
ที่จำเลยให้การว่า ผู้มีชื่อ พ. และโจทก์ได้ร่วมกันฉ้อฉลจำเลยโดยผู้มีชื่อได้มอบเช็คให้ พ. โดยทุจริต โดยไม่มีมูลหนี้ต่อกันเพื่อให้ พ.โอนเช็คพิพาทให้โจทก์โดยไม่มีมูลหนี้เช่นเดียวกันนั้น ไม่ปรากฏในคำให้การของจำเลยว่าโจทก์รับโอนเช็คพิพาทโดยคบคิดกันฉ้อฉล คำให้การของจำเลยจึงไม่ชัดแจ้งว่าโจทก์รับโอนเช็คพิพาทโดยคบคิดกันฉ้อฉลอย่างไร จึงไม่เป็นข้อต่อสู้ที่จำเลยจะยกขึ้นใช้ยันโจทก์ได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 905 และมาตรา 916จำเลยเป็นผู้สั่งจ่ายเช็คพิพาทต้องรับผิดใช้เงินตามเช็คให้แก่โจทก์ตาม มาตรา914
ศาลล่างทั้งสองพิพากษาให้จำเลยชำระดอกเบี้ยนับแต่วันที่ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็คแต่ละฉบับเป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จโดยมิได้กำหนดให้ดอกเบี้ยนับแต่วันที่ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็คแต่ละฉบับถึงวันฟ้องรวมไม่เกินจำนวนที่โจทก์ขอ ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6721/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจ้างเหมาต่อเรือชำรุด: สิทธิเรียกร้องค่าซ่อมแซมและอายุความตามสัญญา
ฟ้องโจทก์บรรยายว่าเรือทั้งสองลำจะต้องซ่อมและแก้ไขระบบต่าง ๆ โดยระบุรายละเอียดของแต่ละรายการไว้รวม 10 รายการ และโจทก์ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการจัดการซ่อมแซมเป็นเงิน 559,800 บาท เป็นการแสดงโดยแจ้งชัดแล้ว สำหรับรายละเอียดของแต่ละรายการจะต้องใช้เงินเท่าใด เป็นเรื่องที่จะต้องนำสืบในชั้นพิจารณา ฟ้องโจทก์ไม่เคลือบคลุม
ข้อจำกัดสิทธิในหนังสือมอบอำนาจในการดำเนินกระบวนพิจารณาในทางจำหน่ายสิทธิ ซึ่งได้ระบุรายละเอียดไว้เป็นข้อที่สามารถที่จะจำกัดสิทธินั้นได้ไม่ขัดต่อสิทธิและหน้าที่ตามที่บัญญัติไว้ใน ป.พ.พ. มาตรา 820
จำเลยที่ 1 รับจ้างเหมาต่อเรือพิพาทให้โจทก์ หลังจากส่งมอบเรือพิพาทเกิดการชำรุดบกพร่องไม่สามารถใช้การได้ เมื่อข้อเท็จจริงฟังเป็นยุติว่าความชำรุดบกพร่องดังกล่าวจึงเกิดจากการกระทำของจำเลยที่ 1 ซึ่งต่อเรือพิพาทพร้อมติดตั้งเครื่องยนต์และอุปกรณ์ไม่ครบถ้วนตามสัญญา ดังนั้น แม้โจทก์จะได้รับมอบเรือพิพาทไว้แล้ว ก็มิใช่ข้อยกเว้นความรับผิด
จำเลยที่ 1 ให้การเพียงว่า ความเสียหายที่โจทก์อ้างทั้ง 10รายการ เป็นการเปลี่ยนแปลงให้แตกต่างไปจากสัญญาที่โจทก์จำเลยที่ 1 ทำกันไว้โจทก์ไม่มีสิทธิเรียกร้องจากจำเลยที่ 1 โดยไม่ได้บรรยายให้แจ้งชัดว่าแต่ละรายการเป็นการเปลี่ยนแปลงแตกต่างอย่างไร เหตุใดโจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกเงินจากจำเลยที่ 1 จึงเป็นการกล่าวอ้างลอย ๆ เป็นคำให้การที่ไม่ได้แสดงโดยชัดแจ้งตาม ป.วิ.พ. มาตรา 177 วรรคสอง
โจทก์ฟ้องให้จำเลยที่ 1 ชำระเงินค่าจ้างที่โจทก์ต้องจ้างผู้อื่นทำการซ่อมแซมแก้ไขความชำรุดบกพร่องเสียหายขึ้นในระหว่างระยะเวลา 1 ปีนับแต่วันส่งมอบงานจ้างเหมาต่อเรือพิพาท ซึ่งโจทก์ได้มีหนังสือแจ้งให้จำเลยที่ 1แก้ไขภายใน 30 วัน จำเลยที่ 1 ซ่อมแซมแล้วแต่เรือพิพาทยังไม่สามารถใช้การได้จึงต้องให้ผู้อื่นซ่อมแซม ดังนี้หาใช่เป็นการฟ้องเรียกค่าเสียหายเพื่อการที่ทำชำรุดบกพร่อง ซึ่งมีอายุความ 1 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 600, 601 แต่กรณีของโจทก์จำเลยที่ 1 ได้มีข้อสัญญาตกลงกันไว้เป็นอย่างอื่น โจทก์กับจำเลยที่ 1 ต้องผูกพันปฏิบัติตามสัญญา จำเลยที่ 1 ผู้รับจ้างได้รับแจ้งแล้วไม่ซ่อมแซมให้เรียบร้อยภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้งผู้ว่าจ้างมีสิทธิจ้างผู้อื่นทำการซ่อมแซมและเรียกค่าจ้างที่ต้องเสียไป ซึ่งเข้าลักษณะจ้างธรรมดาโจทก์ฟ้องให้จำเลยที่ 1 รับผิดได้กรณีนี้ไม่มีกฎหมายบัญญัติเรื่องอายุความไว้โดยเฉพาะ จึงต้องใช้อายุความทั่วไป10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 164 เดิม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6458/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การปฏิเสธคำฟ้องที่ไม่ชัดเจนและการนำสืบพยานในชั้นพิจารณา
จำเลยยื่นคำให้การว่า ขอให้การปฏิเสธฟ้องของโจทก์อย่างสิ้นเชิง คำฟ้องใดที่จำเลยไม่ได้ให้การรับไว้โดยชัดแจ้งให้ถือว่าจำเลยปฏิเสธเป็นการปฏิเสธลอย ๆ โดยไม่มีเหตุผลแห่งการปฏิเสธคำให้การของจำเลยจึงไม่ชัดแจ้งตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 177 วรรคสอง การที่จำเลยมานำสืบข้อเท็จจริงในชั้นพิจารณาไม่ทำให้คำให้การที่ไม่ชัดแจ้งกลายเป็นคำให้การชัดแจ้งไปได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6442/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การใช้ชื่อบริษัทที่คล้ายคลึงกันจนเกิดความสับสนถือเป็นการละเมิด แม้จำเลยจะทราบและรับรองว่าจะเปลี่ยนชื่อแล้ว
ชื่อของโจทก์เป็นภาษาอังกฤษเขียนว่า ACME INDUSTRIESCO.,LTD. ส่วนชื่อของจำเลยเขียนเป็นภาษาอังกฤษว่า ACME INDUSTRY CO.,LTD. ชื่อโจทก์และจำเลยจึงคล้ายกันมาก เช่นนี้ ย่อมทำให้บุคคลทั่วไปโดยเฉพาะชาวต่างประเทศที่ติดต่อค้าขายกับโจทก์เกิดความสับสนหรือเข้าใจผิดว่าโจทก์คือจำเลย หรือจำเลยคือโจทก์ได้ โจทก์จดทะเบียนเป็นนิติบุคคลใช้ชื่อภาษาไทยว่าบริษัทอุตสาหกรรมแอคมิ จำกัด ส่วนจำเลยจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลใช้ชื่อภาษาไทยว่า บริษัทเอ็กมี่ อินดัสทรี จำกัด สาระสำคัญของชื่อโจทก์และจำเลยที่ใช้เรียกขานอยู่ที่คำว่าแอคมิหรือเอ็กมี่ ซึ่งมาจากภาษาอังกฤษคำเดียวกันคือ ACME แม้จะเขียนเป็นภาษาไทยแตกต่างกัน แต่ก็อ่านออกเสียงคล้ายกันมาก ส่วนคำว่า อุตสาหกรรมและอินดัสทรี ก็เป็นคำคำเดียวกัน เพียงแต่ของจำเลยเขียนทับศัพท์ภาษาอังกฤษเท่านั้นชื่อของจำเลยจึงพ้องหรือคล้ายกับชื่อของโจทก์แล้ว การประกอบธุรกิจต่างกันหรือมีลูกค้าคนละกลุ่มกันไม่ใช่สิ่งที่จะนำมาพิจารณาว่าชื่อโจทก์กับจำเลยพ้องหรือคล้ายกันหรือไม่ แม้ขณะที่จำเลยขอจดทะเบียนชื่อของจำเลย จำเลยอาจจะกระทำโดยสุจริตซึ่งอาจจะไม่เป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์ก็ตาม แต่ต่อมาเมื่อนายทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทกรุงเทพมหานครมีหนังสือแจ้งให้จำเลยเปลี่ยนชื่อใหม่เพราะชื่อซ้ำกับชื่อของโจทก์ และทนายโจทก์มีหนังสือแจ้งให้จำเลยเปลี่ยนชื่อจำเลยก็ได้มีหนังสือถึงทนายโจทก์แจ้งให้ทราบว่าจำเลยจะเปลี่ยนชื่อใหม่ แสดงให้เห็นว่าจำเลยรู้แล้วว่าชื่อจำเลยพ้องหรือคล้ายกับชื่อโจทก์ แต่จำเลยก็เพิกเฉย หาได้ดำเนินการเปลี่ยนชื่อไม่โจทก์ฟ้องคดีนี้หลังจากวันที่จำเลยรับรองว่าจะเปลี่ยนชื่อเกือบ 6 เดือน เช่นนี้ย่อมถือได้ว่าขณะที่โจทก์ฟ้องคดี จำเลยได้กระทำละเมิดต่อโจทก์โดยนำชื่อที่ซ้ำหรือคล้ายกับของโจทก์มาใช้โดยมิชอบแล้ว
จำเลยไม่ได้ให้การสู้คดีไว้ว่าโจทก์ไม่ได้รับความเสียหายจึงต้องถือว่าจำเลยยอมรับว่าโจทก์ได้รับความเสียหายจริง ดังนั้น แม้โจทก์จะนำสืบไม่ได้ชัดแจ้งว่าโจทก์ได้รับความเสียหายมากน้อยเพียงใด แต่เมื่อฟังได้ว่าโจทก์ได้รับความเสียหายจากการกระทำละเมิดของจำเลยดังกล่าวแล้วศาลก็มีอำนาจกำหนดค่าเสียหายให้ตามที่เห็นสมควรได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5413/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความล่าช้าในการทำสัญญาหลังประกวดราคา: จำเลยไม่ต้องรับผิดหากโจทก์เป็นฝ่ายล่าช้า
การประกวดราคาซื้อเครื่องจักรพิพาทมีการเปิดซองประกวดราคาตั้งแต่วันที่ 29 สิงหาคม 2528 แต่คณะกรรมการโจทก์เพิ่งประชุมและมีมติให้จัดซื้อจากจำเลยที่ 1 เมื่อวันที่ 25 ธันวาคม 2528 ก่อนสิ้นกำหนดการยืนราคาสินค้าที่จำเลยที่ 1แจ้งไว้ในการประกวดราคาเพียง 2 วัน และข้อกำหนดต่าง ๆ ในสัญญาซื้อขายที่โจทก์ทำขึ้นฝ่ายเดียวก็ไม่ได้มีอยู่ในเงื่อนไขและข้อตกลงในการประกวดราคา จำเลยที่ 1จึงมีสิทธิขอให้แก้ไขข้อสัญญาเหล่านั้นได้ เมื่อโจทก์แก้ไขสัญญาล่าช้า จนกระทั่งเลยกำหนดเวลาในการยืนราคาสินค้าที่จำเลยที่ 1 ขยายให้และผู้ขายต่างประเทศบอกเลิกการขายแก่จำเลยที่ 1 โจทก์ก็ยังแก้ไขสัญญาไม่เสร็จ ความล่าช้าในการทำสัญญาจึงไม่ใช่ความผิดของจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 1 จึงไม่ผิดเงื่อนไขและข้อตกลงในการประกวดราคา
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยที่ 1 ยื่นซองประกวดราคาขายเครื่องจักรให้โจทก์ แล้วไม่ยอมทำสัญญาซื้อขายกับโจทก์ เป็นการผิดเงื่อนไขและข้อตกลงในการประกวดราคา จำเลยที่ 1 ให้การปฏิเสธข้ออ้างของโจทก์ว่าจำเลยที่ 1 ไม่ได้เป็นฝ่ายผิดเงื่อนไขและข้อตกลงในการประกวดราคา แต่โจทก์เป็นฝ่ายผิดเงื่อนไขและข้อตกลงเอง ซึ่งตรงประเด็นตามคำฟ้อง และเมื่อศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อพิพาทว่าจำเลยที่ 1ผิดเงื่อนไขและข้อตกลงในการประกวดราคาขายเครื่องจักรให้โจทก์หรือไม่ โดยไม่ได้นำคำให้การของที่ 1 ที่ปฏิเสธว่าไม่ได้ยื่นซองประกวดราคามากำหนดเป็นประเด็นข้อพิพาทเพราะเห็นว่าเป็นข้อต่อสู้ที่ไม่เป็นสาระ โจทก์ก็ไม่ได้โต้แย้งคัดค้านการชี้สองสถานไว้ ที่ศาลชั้นต้นให้จำเลยที่ 1 นำสืบตามประเด็นข้อพิพาทดังกล่าวและรับฟังพยานของจำเลยที่ 1 จึงชอบแล้ว หาใช่กรณีที่คำให้การจำเลยที่ 1 ขัดแย้งกันจึงไม่มีประเด็นที่จำเลยที่ 1 จะนำสืบตามที่โจทก์ฎีกาแต่อย่างใดไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4830/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิการเอาประกันภัยของบุคคลที่มีส่วนได้เสียในทรัพย์สิน และข้อยกเว้นความรับผิดของผู้รับประกันภัย
ผู้มีสิทธิเอาประกันภัยนั้นมิได้จำกัดเพียงเฉพาะผู้มีกรรมสิทธิ์ในทรัพย์ที่เอาประกันภัยเท่านั้น ผู้ที่มีความสัมพันธ์อยู่กับทรัพย์หรือสิทธิหรือผลประโยชน์หรือรายได้ใด ๆ ซึ่งถ้ามีวินาศภัยเกิดขึ้นจะทำให้ผู้นั้นต้องเสียหายและความเสียหายที่ผู้นั้นจะได้รับสามารถประมาณเป็นเงินได้แล้ว ผู้นั้นย่อมเป็นผู้มีส่วนได้เสียที่อาจเอาประกันภัยได้ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 863 โจทก์เป็นผู้มีส่วนได้เสียในการที่จะนำสินค้าไปมอบให้แก่ผู้ซื้อ โจทก์จึงมีสิทธิเอาประกันภัยสินค้าไว้กับจำเลย โดยมิต้องคำนึงถึงว่า กรรมสิทธิ์ในสินค้าดังกล่าวจะโอนไปยังผู้ซื้อแล้วหรือไม่
จำเลยให้การรับว่า โจทก์เอาประกันภัยสินค้าตามกรมธรรม์ประกันภัยจริง แต่ปฏิเสธไม่ยอมชดใช้ค่าสินไหมทดแทน โดยให้การต่อสู้เกี่ยวกับข้ออ้างของโจทก์ข้อนี้แต่เพียงว่า โจทก์ไม่มีสิทธิเรียกร้องจากจำเลยเพราะสินค้าที่โจทก์อ้างว่าเสียหายนั้น ไม่ใช่สินค้าที่โจทก์เอาประกันภัยไว้กับจำเลย โดยมิได้กล่าวว่าสินค้าที่โจทก์อ้างว่าเสียหายนั้นไม่ใช่สินค้าที่โจทก์เอาประกันภัยไว้กับจำเลยอย่างไรเพราะเหตุใด จึงเป็นคำให้การที่ไม่ได้แสดงโดยชัดแจ้งว่าจำเลยยอมรับหรือปฏิเสธข้ออ้างดังกล่าวของโจทก์รวมทั้งเหตุแห่งการนั้น ตาม ป.วิ.พ. มาตรา177 วรรคสอง จำเลยจึงไม่มีสิทธิที่จะนำสืบตามคำให้การในส่วนนี้
ตาม ป.พ.พ. มาตรา 879 วรรคแรก ความทุจริตหรือความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงตามความในบทบัญญัติดังกล่าวจะต้องเป็นของผู้เอาประกันภัยเองหรือเป็นของผู้รับประโยชน์จึงจะทำให้ผู้รับประกันภัยพ้นความรับผิดถ้าเป็นความทุจริตหรือความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงของบุคคลอื่น ๆ แม้จะเป็นบุคคลที่ใกล้ชิดกับผู้เอาประกันภัยหรือผู้รับประโยชน์เช่นลูกจ้าง แต่ไม่ได้ความว่าเกิดจากการกระทำหรือการได้ใช้จ้างวานหรือสนับสนุนของโจทก์ ก็ไม่ทำให้ผู้รับประกันภัยพ้นความรับผิด เหตุที่สินค้าเสียหายเกิดขึ้นขณะที่ลูกจ้างของโจทก์ทำหน้าที่ควบคุมเรือ ซึ่งเกิดระเบิดขึ้นที่ห้องเครื่องยนต์ โดยไม่ได้ความว่าสการระเบิดและการที่เรือจมเกิดจากการกระทำของโจทก์ หรือการได้จ้างวานหรือการสนับสนุนของโจทก์ จำเลยผู้รับประกันภัยจึงไม่พ้นความรับผิด เหตุที่สินค้าเสียหายเกิดขึ้นขณะที่ลูกจ้างของโจทก์ทำหน้าที่ควบคุมเรือซึ่งเกิดระเบิดขึ้นที่ห้องเครื่องยนต์ โดยไม่ได้ความว่าการระเบิดและการที่เรือจมเกิดจากการกระทำของโจทก์หรือการได้จ้างวานหรือการสนับสนุนของโจทก์ จำเลยผู้รับประกันภัยจึงไม่พ้นความรับผิด
ตามกรมธรรม์ประกันภัย จำกัดความรับผิดของผู้รับประกันภัยว่า... ต้องไม่ถือว่าการประกันภัยนี้ขยายไปคุ้มครองการสูญเสีย การเสียหายหรือค่าใช้จ่ายอันมีต้นเหตุอย่างใกล้ชิดกับความล่าช้านั้น ข้อความดังกล่าวมีความหมายถึงความล่าช้าที่เป็นเหตุโดยตรงให้สินค้าที่เอาประกันภัยไว้เสียหายเท่านั้น แต่เหตุที่สินค้าเสียหายครั้งนี้เนื่องจากการระเบิดในห้องเครื่องยนต์ของเรือ หาใช่เกิดจากความล่าช้าในการขนส่งไม่ จำเลยจึงไม่พ้นความรับผิด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3564/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การต่อสู้คดีโดยอ้างสัญญาปลอมต้องระบุเหตุผลแห่งการปฏิเสธตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยทั้งสามรับผิดตามสัญญากู้และสัญญาค้ำประกันท้ายฟ้อง จำเลยทั้งสามให้การว่าจำเลยทั้งสามไม่เคยทำสัญญากู้และสัญญาค้ำประกัน สัญญากู้และสัญญาค้ำประกันที่โจทก์นำมาฟ้องเป็นสัญญาที่โจทก์กับพวกร่วมกันปลอมขึ้นดังนี้ คำให้การของจำเลยทั้งสามเป็นการต่อสู้ว่าสัญญาดังกล่าวเป็นสัญญาปลอมเป็นสำคัญข้อที่ว่าจำเลยทั้งสามไม่เคยทำสัญญากับโจทก์ไม่ทำให้เปลี่ยนประเด็นเป็นอย่างอื่นเมื่อจำเลยทั้งสามไม่อ้างเหตุว่าปลอมอย่างไร จึงเป็นคำให้การที่มิได้ให้เหตุผลแห่งการปฏิเสธโดยชัดแจ้ง ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา177 วรรคสอง จำเลยทั้งสามจึงไม่มีสิทธินำพยานหลักฐานเข้าสืบตามข้อต่อสู้นั้น
of 2