คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.อ. ม. 148

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 124 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 657/2513 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจ้าพนักงานใช้อำนาจในตำแหน่งโดยมิชอบเรียกรับเงินจากประชาชน และความผิดฐานสนับสนุน
จำเลยที่ 1, 5, 6, 7 และ 8 ได้ร่วมกันเรียกร้องเงินจากผู้เสียหายจำเลยที่ 1 มีตำแหน่งเป็นผู้ใหญ่บ้านได้รับแต่งตั้งจากทางการให้มีหน้าที่สำรวจที่ดิน เมื่อจำเลยที่ 1 เรียกร้องขืนใจให้ผู้เสียหายที่มาแจ้งการสำรวจที่ดินมอบเงินให้ จำเลยที่ 1 มีความผิดฐานเป็นเจ้าพนักงานใช้อำนาจในตำแหน่งโดยมิชอบตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 148ส่วนจำเลยที่ 5, 6, 7 และ 8 มิได้มีหน้าที่ในการสำรวจที่ดินด้วยจึงมีความผิดเพียงเป็นผู้สนับสนุนในการกระทำผิดของจำเลยที่ 1ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 148 ประกอบด้วยมาตรา 86

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 657/2513

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจ้าพนักงานใช้อำนาจในตำแหน่งโดยมิชอบเรียกรับเงินจากประชาชน ผู้สนับสนุนมีความผิดฐานสนับสนุน
จำเลยที่ 1, 5, 6, 7 และ 8 ได้ร่วมกันเรียกร้องเงินจากผู้เสียหาย จำเลยที่ 1 มีตำแหน่งเป็นผู้ใหญ่บ้านได้รับแต่งตั้งจากทางการให้มีหน้าที่สำรวจที่ดิน เมื่อจำเลยที่ 1 เรียกร้องขืนใจให้ผู้เสียหายที่มาแจ้งการสำรวจที่ดินมอบเงินให้ จำเลยที่ 1 มีความผิดฐานเป็นเจ้าพนักงานใช้อำนาจในตำแหน่งโดยมิชอบตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 148ส่วนจำเลยที่ 5, 6, 7 และ 8 มิได้มีหน้าที่ในการสำรวจที่ดินด้วยจึงมีความผิดเพียงเป็นผู้สนับสนุนในการกระทำผิดของจำเลยที่ 1ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 148 ประกอบด้วยมาตรา 86

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1538/2511

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจหน้าที่ตำรวจปราบปราม, การใช้อำนาจหน้าที่โดยชอบ, ความผิดทุจริตต่อหน้าที่, การสนับสนุนความผิด
ประกาศดังกล่าวกำหนดไว้ว่า 'ข้อ 6 กองปราบปรามมีเขตอำนาจการรับผิดชอบในการปฏิบัติหน้าที่ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา. และตามบทกฎหมายอื่นอันเกี่ยวกับความผิดคดีอาญาทั้งหลายทั่วราชอาณาจักร'. ย่อมหมายความว่าเจ้าหน้าที่ตำรวจกองปราบปรามมีอำนาจหน้าที่สืบสวนสอบสวนคดีอาญาได้ทั่วราชอาณาจักร. แม้จะมีข้อบังคับกรมตำรวจกำหนดเขตอำนาจหน้าที่ของกองกำกับการแต่ละกองไว้ก็เป็นเพียงคำสั่งภายในเท่านั้น. หากผู้บังคับบัญชาสั่งให้นายตำรวจคนใดไปสืบสวนสอบสวนนอกเขตที่กำหนดไว้นี้.นายตำรวจผู้นั้นย่อมมีอำนาจหน้าที่ในฐานะเจ้าพนักงานโดยชอบด้วยกฎหมาย. ฉะนั้น การที่จำเลยที่ 1 ทำการนอกเหนือจากเขตอำนาจหน้าที่ซึ่งแบ่งไว้. ไม่.ทำให้จำเลยที่ 1. ไม่.เป็นเจ้าพนักงานตามกฎหมาย.
จำเลยที่ 1 เป็นเจ้าพนักงานตำรวจมีอำนาจหน้าที่สืบสวนสอบสวนความผิดอาญา. ฉะนั้น การจับกุมผู้กระทำผิดในฐานเป็นเจ้ามือสลากกินรวบจึงเป็นการใช้อำนาจในตำแหน่งโดยชอบ.มิใช่การแกล้งกล่าวหา. แต่เมื่อไปขู่เข็ญให้จ่ายเงินสินพนันสลากกินรวบแก่ผู้เล่นแล้ว.ละเว้นไม่จับกุม.ย่อมเป็นความผิดฐานทุจริตต่อหน้าที่ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 149.
จำเลยที่ 2 เป็นราษฎรไปขอให้จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นเจ้าพนักงานตำรวจช่วยเจรจากับเจ้ามือสลากกินรวบให้จ่ายเงินสินพนันสลากกินรวบแก่ตน. แต่จำเลยที่ 1 ไปใช้อำนาจในตำแหน่งโดยพลการขู่เข็ญเจ้ามือสลากกินรวบว่า. หากไม่จ่ายให้แก่จำเลยที่ 2 แล้วจะจับกุมฐานเป็นเจ้ามือสลากกินรวบ. ดังนี้ ยังไม่พอฟังว่า.จำเลยที่2 ได้ร่วมมือกับจำเลยที่ 1. โดยการใช้วานให้จำเลยที่ 1 ขู่เข็ญ เรียกเงินมาให้จำเลยที่ 2 หรือแบ่งปันระหว่างกัน. ยังไม่ผิดฐานเป็นผู้ใช้จ้างวานยุยงส่งเสริมหรือสนับสนุนให้จำเลยที่ 1 กระทำผิด.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1538/2511 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจหน้าที่ตำรวจปราบปราม, การใช้อำนาจโดยชอบ, ความผิดฐานทุจริตต่อหน้าที่, การสนับสนุนความผิด
ประกาศดังกล่าวกำหนดไว้ว่า 'ข้อ 6 กองปราบปรามมีเขตอำนาจการรับผิดชอบในการปฏิบัติหน้าที่ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา และตามบทกฎหมายอื่นอันเกี่ยวกับความผิดคดีอาญาทั้งหลายทั่วราชอาณาจักร' ย่อมหมายความว่าเจ้าหน้าที่ตำรวจกองปราบปรามมีอำนาจหน้าที่สืบสวนสอบสวนคดีอาญาได้ทั่วราชอาณาจักร แม้จะมีข้อบังคับกรมตำรวจกำหนดเขตอำนาจหน้าที่ของกองกำกับการแต่ละกองไว้ก็เป็นเพียงคำสั่งภายในเท่านั้น หากผู้บังคับบัญชาสั่งให้นายตำรวจคนใดไปสืบสวนสอบสวนนอกเขตที่กำหนดไว้นี้นายตำรวจผู้นั้นย่อมมีอำนาจหน้าที่ในฐานะเจ้าพนักงานโดยชอบด้วยกฎหมาย ฉะนั้น การที่จำเลยที่ 1 ทำการนอกเหนือจากเขตอำนาจหน้าที่ซึ่งแบ่งไว้ ไม่ทำให้จำเลยที่ 1 ไม่เป็นเจ้าพนักงานตามกฎหมาย
จำเลยที่ 1 เป็นเจ้าพนักงานตำรวจมีอำนาจหน้าที่สืบสวนสอบสวนความผิดอาญา ฉะนั้น การจับกุมผู้กระทำผิดในฐานเป็นเจ้ามือสลากกินรวบจึงเป็นการใช้อำนาจในตำแหน่งโดยชอบมิใช่การแกล้งกล่าวหา แต่เมื่อไปขู่เข็ญให้จ่ายเงินสินพนันสลากกินรวบแก่ผู้เล่นแล้วละเว้นไม่จับกุมย่อมเป็นความผิดฐานทุจริตต่อหน้าที่ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 149
จำเลยที่ 2 เป็นราษฎรไปขอให้จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นเจ้าพนักงานตำรวจช่วยเจรจากับเจ้ามือสลากกินรวบให้จ่ายเงินสินพนันสลากกินรวบแก่ตน แต่จำเลยที่ 1 ไปใช้อำนาจในตำแหน่งโดยพลการขู่เข็ญเจ้ามือสลากกินรวบว่า หากไม่จ่ายให้แก่จำเลยที่ 2 แล้วจะจับกุมฐานเป็นเจ้ามือสลากกินรวบ ดังนี้ ยังไม่พอฟังว่าจำเลยที่ 2 ได้ร่วมมือกับจำเลยที่ 1 โดยการใช้วานให้จำเลยที่ 1 ขู่เข็ญ เรียกเงินมาให้จำเลยที่ 2 หรือแบ่งปันระหว่างกัน ยังไม่ผิดฐานเป็นผู้ใช้จ้างวานยุยงส่งเสริมหรือสนับสนุนให้จำเลยที่ 1 กระทำผิด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1538/2511 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจหน้าที่ตำรวจกองปราบปรามในการสืบสวนสอบสวนทั่วราชอาณาจักร และความผิดฐานทุจริตต่อหน้าที่
ประกาศดังกล่าวกำหนดไว้ว่า "ข้อ 6 กองปราบปรามมีเขตอำนาจการรับผิดชอบในการปฏิบัติหน้าที่ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา และตามบทกฎหมายอื่นอันเกี่ยวกับความผิดคดีอาญาทั้งหลายทั่วราชอาณาจักร" ย่อมหมายความว่าเจ้าหน้าที่ตำรวจกองปราบปรามมีอำนาจหน้าที่สืบสวนสอบสวนคดีอาญาได้ทั่วราชอาณาจักร แม้จะมีข้อบังคับกรมตำรวจกำหนดเขตอำนาจหน้าที่ของกองกำกับการแต่ละกองไว้ก็เป็นเพียงคำสั่งภายในเท่านั้น หากผู้บังคับบัญชาสั่งให้นายตำรวจคนใดไปสืบสวนสอบสวนนอกเขตที่กำหนดไว้นี้นายตำรวจผู้นั้นย่อมมีอำนาจหน้าที่ในฐานะเจ้าพนักงานโดยชอบด้วยกฎหมาย ฉะนั้น การที่จำเลยที่ 1 ทำการนอกเหนือจากเขตอำนาจหน้าที่ซึ่งแบ่งไว้ ไม่ ทำให้จำเลยที่ 1 ไม่ เป็นเจ้าพนักงานตามกฎหมาย
จำเลยที่ 1 เป็นเจ้าพนักงานตำรวจมีอำนาจหน้าที่สืบสวนสอบสวนความผิดอาญา ฉะนั้น การจับกุมผู้กระทำผิดในฐานเป็นเจ้ามือสลากกินรวบจึงเป็นการใช้อำนาจในตำแหน่งโดยชอบ มิใช่การแกล้งกล่าวหา แต่เมื่อไปขู่เข็ญให้จ่ายเงินสินพนันสลากกินรวบแก่ผู้เล่นแล้ว ละเว้นไม่จับกุมย่อมเป็นความผิดฐานทุจริตต่อหน้าที่ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 149
จำเลยที่ 2 เป็นราษฎรไปขอให้จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นเจ้าพนักงานตำรวจช่วยเจรจากับเจ้ามือสลากกินรวบให้จ่ายเงินสินพนันสลากกินรวบแก่ตน แต่จำเลยที่ 1 ไปใช้อำนาจในตำแหน่งโดยพลการขู่เข็ญเจ้ามือสลากกินรวบว่า หากไม่จ่ายให้แก่จำเลยที่ 2 แล้วจะจับกุมฐานเป็นเจ้ามือสลากกินรวบ ดังนี้ ยังไม่พอฟังว่า จำเลยที่ 2 ได้ร่วมมือกับจำเลยที่ 1 โดยการใช้วานให้จำเลยที่ 1 ขู่เข็ญ เรียกเงินมาให้จำเลยที่ 2 หรือแบ่งปันระหว่างกัน ยังไม่ผิดฐานเป็นผู้ใช้จ้างวานยุยงส่งเสริมหรือสนับสนุนให้จำเลยที่ 1 กระทำผิด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1230/2510 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตความผิดฐานใช้อำนาจในตำแหน่งหน้าที่โดยมิชอบของผู้ร่วมกระทำผิดที่ไม่ใช่เจ้าพนักงานตำรวจ
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยที่ 1 เป็นตำรวจประจำสถานีตำรวจทุ่งวัง อำเภอเมืองสงขลา จำเลยที่ 2 เป็นผู้คุมเรือนจำประจำเรือนจำเขตสงขลา ได้ร่วมกันใช้อำนาจในตำแหน่งโดยมิชอบ ข่มขืนใจเพื่อให้ผู้อื่นมอบเงินให้ อันเป็นผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 148, 157, 337 และ 83 นั้น เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าจำเลยทั้งสองกระทำผิดจริง ก็ลงโทษจำเลยที่ 2 ในฐานะเป็นผู้สนับสนุนเท่านั้น เพราะแม้จำเลยที่ 2 เป็นพลตำรวจ แต่โจทก์มิได้ระบุในฟ้องว่าเป็นเจ้าพนักงานตำรวจ จำเลยที่ 2 จึงมิใช่ตำรวจผู้มีอำนาจหน้าที่จับกุมผู้กระทำผิดโดยทั่ว ๆ ไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1230/2510

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตอำนาจหน้าที่เจ้าพนักงาน: การกระทำผิดร่วมกันระหว่างตำรวจและผู้คุมเรือนจำ
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยที่ 1 เป็นตำรวจประจำสถานีตำรวจทุ่งวังอำเภอเมืองสงขลา จำเลยที่ 2 เป็นผู้คุมเรือนจำประจำเรือนจำเขตสงขลาได้ร่วมกันใช้อำนาจในตำแหน่งโดยมิชอบ ข่มขืนใจเพื่อให้ผู้อื่นมอบเงินให้อันเป็นผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 148,157, 337 และ 83 นั้นเมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าจำเลยทั้งสองกระทำผิดจริง ก็ลงโทษจำเลยที่ 2 ในฐานะเป็นผู้สนับสนุนเท่านั้น เพราะแม้จำเลยที่ 2 เป็นพลตำรวจแต่โจทก์ก็มิได้ระบุในฟ้องว่าเป็นเจ้าพนักงานตำรวจ จำเลยที่ 2 จึงมิใช่ตำรวจผู้มีอำนาจหน้าที่จับกุมผู้กระทำผิดโดยทั่ว ๆ ไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 173/2510 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเรียกเงินเพื่อตกลงเลิกคดีหลังถูกทำร้าย ไม่ถือเป็นความผิดขู่กรรโชก หากไม่มีเจตนาทุจริต
เมื่อคดีฟังได้ว่าจำเลยที่ 2 ถูกผู้เสียหายยิง แล้วได้ไปแจ้งความต่อจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นกำนัน การที่จำเลยที่ 2 เรียกร้องเอาเงินจากผู้เสียหายเพื่อตกลงเลิกคดีกัน และจำเลยที่ 1 ก็ได้พูดกับผู้เสียหายเป็นทำนองไกล่เกลี่ยให้เลิกแล้วต่อกันนั้น ดังนี้ จำเลยย่อมไม่มีความผิดตามมาตรา 148, 337

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 173/2510

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเรียกเงินตกลงคดีหลังถูกทำร้าย: ไม่เป็นความผิดขู่กรรโชก หากไม่มีเจตนาทุจริต
เมื่อคดีฟังได้ว่าจำเลยที่ 2 ถูกผู้เสียหายยิง แล้วได้ไปแจ้งความต่อจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นกำนัน การที่จำเลยที่ 2 เรียกร้องเอาเงินจากผู้เสียหายเพื่อตกลงเลิกคดีกัน และจำเลยที่ 1 ก็ได้พูดกับผู้เสียหายเป็นทำนองไกล่เกลี่ยให้เลิกแล้วต่อกันนั้น ดังนี้จำเลยย่อมไม่มีความผิดตามมาตรา 148, 337

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 222-223/2509 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจ้าพนักงานใช้อำนาจโดยมิชอบ ข่มขืนใจเอาทรัพย์สินจากผู้ถูกจับกุม การฟ้องซ้ำ และการพิจารณารวมสำนวน
จำเลยเป็นเจ้าพนักงาน(ตำรวจ) ไปจับผู้เสียหายทั้งสอง (ในข้อหาว่า ขายสลากกินรวบ) และยึดเอาเงินในตัวผู้เสียหายทั้งสอง โดยปราศจากหลักฐานหรือเหตุผลที่ควรจะจับได้ตามกฎหมาย การกระทำของจำเลยจึงเป็นการใช้อำนาจในตำแหน่งโดยมิชอบ และได้จูงใจให้ผู้เสียหายยอมให้เงินที่จำเลยยึดไว้แก่จำเลย แล้วจำเลยปล่อยผู้เสียหายไป การกระทำของจำเลยเป็นผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 148 และการที่จำเลยจับผู้เสียหายแต่ละสำนวนมาคนละที(โจทก์ฟ้องจำเลยเป็น 2 สำนวน)ในเวลาห่างกัน สถานที่ที่จับก็เป็นคนละแห่ง ข้อหาที่จับแม้จะเป็นอย่างเดียวกัน แต่ก็มิได้เกี่ยวเนื่องเป็นกรณีเดียวกัน จะฟังว่าคดีที่โจทก์กล่าวหาจำเลยทั้ง 2 สำนวนเป็นเรื่องเดียวกันไม่ได้ ฉะนั้น เมื่อปรากฏว่าคดีทั้ง 2 สำนวน ศาลพิจารณารวมกัน ข้อเท็จจริงได้ความว่า จำเลยไปจับผู้เสียหายทั้งสองแล้วนำไปส่งสถานีตำรวจ แล้วเรียกให้ผู้เสียหายยอมให้เงินในเวลาที่พาไป ศาลล่างทั้งสองจึงวินิจฉัยฟังข้อเท็จจริงต้องกันว่า จำเลยเรียกและรับเงินจากผู้เสียหายทั้งสองจริงตามฟ้อง จึงไม่มีข้อเท็จจริงอะไรที่จะย้อนสำนวนให้ศาลชั้นต้นวินิจฉัย ฉะนั้น เมื่อ(ศาลชั้นต้นยกฟ้องสำนวนหลังสำนวนเดียวเห็นว่าเป็นฟ้องซ้อน) ศาลอุทธรณ์เห็นว่าฟ้องโจทก์ไม่เป็นฟ้องซ้ำ และจำเลยกระทำผิดจริง ก็ชอบเพียงแต่ย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นพิพากษาใหม่ตามรูปคดีเท่านั้น เพื่อให้เป็นไปตามลำดับศาล
of 13