พบผลลัพธ์ทั้งหมด 3 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 721/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำสั่งไม่อนุญาตดัดแปลงอาคารสูง ต้องพิจารณาข้อเท็จจริงและกฎกระทรวงที่เกี่ยวข้อง การฟ้องต้องระบุสิทธิที่ชัดเจน
พ.ร.บ.ควบคุมอาคารฯ มาตรา 50 บัญญัติว่า ให้มีคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ และมาตรา 51 (1) บัญญัติว่า ให้คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์มีอำนาจหน้าที่พิจารณาวินิจฉัยอุทธรณ์คำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่น ส่วนมาตรา 52 วรรคสี่ บัญญัติว่า ถ้าผู้อุทธรณ์ไม่เห็นด้วยกับคำวินิจฉัยอุทธรณ์ให้เสนอคดีต่อศาลภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้งคำวินิจฉัยอุทธรณ์ ดังนั้น เมื่อจำเลยที่ 3 ถึงที่ 11 ซึ่งเป็นคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ได้พิจารณาอุทธรณ์ของโจทก์แล้วมีคำวินิจฉัยยกอุทธรณ์ของโจทก์ ซึ่งถือได้ว่าเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ เมื่อโจทก์ไม่เห็นด้วย โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 3 ถึงที่ 11 ได้
คำสั่งที่โจทก์ฟ้องขอให้ศาลมีคำพิพากษาเพิกถอนนั้น แม้จะลงนามโดยจำเลยที่ 2 ซึ่งดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการสำนักการโยธา แต่ก็เป็นการลงนามในฐานะเป็นผู้ได้รับมอบหมายให้ปฏิบัติราชการแทนผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครซึ่งเป็นเจ้าพนักงานท้องถิ่น ดังนั้น ผู้ที่โต้แย้งสิทธิของโจทก์โดยตรงคือ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครจำเลยที่ 1 หาใช่จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นผู้ปฏิบัติราชการแทนไม่ ทั้งกรณีไม่ใช่การฟ้องให้จำเลยที่ 2 ต้องรับผิดเป็นส่วนตัว โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 2
แม้โจทก์จะฟ้องคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ขอให้เพิกถอนคำสั่งคณะกรรมการภายในระยะเวลาที่กฎหมายกำหนด และขอให้ศาลมีคำพิพากษาให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นออกใบอนุญาตตามคำขออนุญาตดัดแปลงอาคารก็ตาม แต่ตามคำฟ้องไม่ปรากฏว่าโจทก์ได้บรรยายฟ้องว่าโจทก์มีสิทธิโดยชอบที่จะดัดแปลงอาคารพิพาทของโจทก์ชั้นที่ 5 ซึ่งเดิมใช้เป็นที่จอดรถยนต์ให้เป็นโรงมหรสพ ตามคำขออนุญาตดัดแปลงอาคารที่ยื่นต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่น แต่กลับบรรยายฟ้องยืนยันว่าคำขอดังกล่าวเป็นคำขออนุญาตดัดแปลงอาคารพิพาทระหว่างชั้นที่ 6 และที่ 7 ซึ่งไม่ตรงกับข้อความที่ระบุในคำขออนุญาตดัดแปลงอาคาร เท่ากับโจทก์ไม่ได้บรรยายฟ้องว่าจำเลยที่ 1 และที่ 3 ถึงที่ 11 โต้แย้งสิทธิของโจทก์ในการขออนุญาตดัดแปลงอาคารพิพาทที่บริเวณชั้น 5 แม้โจทก์จะแนบสำเนาคำขออนุญาตดัดแปลงอาคารมาท้ายฟ้องก็ไม่เป็นประโยชน์แก่คดีของโจทก์ เพราะตามคำฟ้องไม่มีประเด็นให้วินิจฉัยเกี่ยวกับการดัดแปลงอาคารพิพาทที่บริเวณชั้น 5 ว่าเข้าข้อยกเว้นข้อ 49 ของกฎกระทรวง ฉบับที่ 33ฯ หรือไม่ ศาลไม่อาจพิพากษาบังคับคดีให้เป็นไปตามคำขอท้ายฟ้องของโจทก์ได้
คำสั่งที่โจทก์ฟ้องขอให้ศาลมีคำพิพากษาเพิกถอนนั้น แม้จะลงนามโดยจำเลยที่ 2 ซึ่งดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการสำนักการโยธา แต่ก็เป็นการลงนามในฐานะเป็นผู้ได้รับมอบหมายให้ปฏิบัติราชการแทนผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครซึ่งเป็นเจ้าพนักงานท้องถิ่น ดังนั้น ผู้ที่โต้แย้งสิทธิของโจทก์โดยตรงคือ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครจำเลยที่ 1 หาใช่จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นผู้ปฏิบัติราชการแทนไม่ ทั้งกรณีไม่ใช่การฟ้องให้จำเลยที่ 2 ต้องรับผิดเป็นส่วนตัว โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 2
แม้โจทก์จะฟ้องคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ขอให้เพิกถอนคำสั่งคณะกรรมการภายในระยะเวลาที่กฎหมายกำหนด และขอให้ศาลมีคำพิพากษาให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นออกใบอนุญาตตามคำขออนุญาตดัดแปลงอาคารก็ตาม แต่ตามคำฟ้องไม่ปรากฏว่าโจทก์ได้บรรยายฟ้องว่าโจทก์มีสิทธิโดยชอบที่จะดัดแปลงอาคารพิพาทของโจทก์ชั้นที่ 5 ซึ่งเดิมใช้เป็นที่จอดรถยนต์ให้เป็นโรงมหรสพ ตามคำขออนุญาตดัดแปลงอาคารที่ยื่นต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่น แต่กลับบรรยายฟ้องยืนยันว่าคำขอดังกล่าวเป็นคำขออนุญาตดัดแปลงอาคารพิพาทระหว่างชั้นที่ 6 และที่ 7 ซึ่งไม่ตรงกับข้อความที่ระบุในคำขออนุญาตดัดแปลงอาคาร เท่ากับโจทก์ไม่ได้บรรยายฟ้องว่าจำเลยที่ 1 และที่ 3 ถึงที่ 11 โต้แย้งสิทธิของโจทก์ในการขออนุญาตดัดแปลงอาคารพิพาทที่บริเวณชั้น 5 แม้โจทก์จะแนบสำเนาคำขออนุญาตดัดแปลงอาคารมาท้ายฟ้องก็ไม่เป็นประโยชน์แก่คดีของโจทก์ เพราะตามคำฟ้องไม่มีประเด็นให้วินิจฉัยเกี่ยวกับการดัดแปลงอาคารพิพาทที่บริเวณชั้น 5 ว่าเข้าข้อยกเว้นข้อ 49 ของกฎกระทรวง ฉบับที่ 33ฯ หรือไม่ ศาลไม่อาจพิพากษาบังคับคดีให้เป็นไปตามคำขอท้ายฟ้องของโจทก์ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2860/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรื้อถอนอาคารที่ขัดต่อข้อบัญญัติควบคุมการก่อสร้าง เจ้าของ/ผู้ครอบครองต้องรับผิด แม้ไม่ได้เป็นผู้ก่อสร้าง
โจทก์ฟ้องอ้างเหตุต่าง ๆ ว่า โจทก์ได้รับความคุ้มครองตามกฎหมาย จำเลยไม่มีอำนาจออกคำสั่งให้รื้อถอนอาคารพิพาทจำเลยให้การถึงข้อเท็จจริงต่าง ๆ สรุปได้ว่า อาคารพิพาทปลูกสร้างขัดต่อข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่องควบคุมการก่อสร้างอาคาร พ.ศ. 2522 โจทก์เป็นผู้รับโอนกรรมสิทธิ์อาคารหลังจากพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522ใช้บังคับ จึงต้องผูกพันตามกฎหมาย ดังกล่าว เป็นการแก้ข้อกล่าวหาของโจทก์ทุกข้อชัดแจ้งแล้ว ถือไม่ได้ว่าจำเลยยอมรับข้อเท็จจริงตามฟ้องโจทก์ คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์มีอำนาจพิจารณาข้ออ้างต่าง ๆของโจทก์ประกอบกับเหตุผลของเจ้าพนักงานท้องถิ่นเพื่อฟังข้อเท็จจริงให้ได้เป็นข้อสรุปแล้วปรับกับข้อกฎหมายที่มีอยู่ในเรื่องนั้น ๆ เมื่อปรับได้แล้วจึงมีคำสั่งจะถือว่าคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์มิใช่คู่กรณี จึงไม่อาจยกเหตุผลของเจ้าพนักงานท้องถิ่นขึ้นมาโต้เถียงแทนเจ้าพนักงานท้องถิ่นหาได้ไม่ การปลูกสร้างอาคารพิพาทขัดต่อข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครเรื่อง ควบคุมการก่อสร้างอาคาร พ.ศ. 2522 ข้อ 76(3) เมื่อเจ้าพนักงานท้องถิ่น เห็นว่าเป็นกรณีที่ไม่สามารถแก้ไขเปลี่ยนแปลงอาคารพิพาทให้ถูกต้องได้จึงมีอำนาจออกคำสั่งให้รื้อถอน ไม่ว่าอาคารพิพาทจะก่อสร้างเสร็จแล้วหรือไม่ เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจตามมาตรา 40 แห่งพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 ให้เจ้าของหรือผู้ครอบครองรื้อถอนอาคารทั้งหมด หรือแต่บางส่วนได้ซึ่งมิได้หมายถึงเฉพาะผู้กระทำผิดเท่านั้น เจ้าของหรือผู้ครอบครองที่แม้ไม่ได้เป็นผู้กระทำการก่อสร้างอาคาร ก็ต้องรับผิดในการกระทำนั้นด้วย คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์วินิจฉัยอุทธรณ์ของโจทก์เกินกว่ากำหนดสามสิบวัน มีผลให้โจทก์ผู้อุทธรณ์มีอำนาจเสนอคดีต่อศาลได้ทันทีโดยไม่ต้องรอคำวินิจฉัยตามขั้นตอนหาใช่จะทำให้คำวินิจฉัยไม่มีสภาพบังคับแต่ประการใดไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2860/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจเจ้าพนักงานท้องถิ่นออกคำสั่งรื้อถอนอาคารที่ขัดต่อกฎหมาย และหน้าที่ของเจ้าของอาคาร
โจทก์ฟ้องอ้างเหตุต่าง ๆ ว่า โจทก์ได้รับความคุ้มครองตามกฎหมาย จำเลยไม่มีอำนาจออกคำสั่งให้รื้อถอนอาคารพิพาท จำเลยให้การถึงข้อเท็จจริงต่าง ๆ สรุปได้ว่า อาคารพิพาทปลูกสร้างขัดต่อข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครเรื่องควบคุมการก่อสร้างอาคาร พ.ศ.2522 โจทก์เป็นผู้รับโอนกรรมสิทธิ์อาคารหลังจาก พ.ร.บ. ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 ใช้บังคับ จึงต้องผูกพันตามกฎหมายดังกล่าว เป็นการแก้ข้อกล่าวหาของโจทก์ทุกข้อชัดแจ้งแล้ว ถือไม่ได้ว่าจำเลยยอมรับข้อเท็จจริงตามฟ้องโจทก์
คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์มีอำนาจพิจารณาข้ออ้างต่าง ๆของโจทก์ประกอบกับเหตุผลของเจ้าพนักงานท้องถิ่น เพื่อฟังข้อเท็จจริงให้ได้เป็นข้อสรุปแล้วปรับกับข้อกฎหมายที่มีอยู่ในเรื่องนั้น ๆ เมื่อปรับได้แล้วจึงมีคำสั่งจะถือว่าคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์มิใช่คู่กรณี จึงไม่อาจยกเหตุผลของเจ้าพนักงานท้องถิ่นขึ้นมาโต้เถียงแทนเจ้าพนักงานท้องถิ่นหาได้ไม่
การปลูกสร้างอาคารพิพาทขัดต่อข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครเรื่อง ควบคุมการก่อสร้างอาคาร พ.ศ.2522 ข้อ 76 (3) เมื่อเจ้าพนักงานท้องถิ่น เห็นว่าเป็นกรณีที่ไม่สามารถแก้ไขเปลี่ยนแปลงอาคารพิพาทให้ถูกต้องได้จึงมีอำนาจออกคำสั่งให้รื้อถอน ไม่ว่าอาคารพิพาทจะก่อสร้างเสร็จแล้วหรือไม่
เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจตามมาตรา 40 แห่ง พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 ให้เจ้าของหรือผู้ครอบครองรื้อถอนอาคารทั้งหมด หรือแต่บางส่วนได้ ซึ่งมิได้หมายถึงเฉพาะผู้กระทำผิดเท่านั้น เจ้าของหรือผู้ครอบครองที่แม้ไม่ได้เป็นผู้กระทำการก่อสร้างอาคาร ก็ต้องรับผิดในการกระทำนั้นด้วย
คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์วินิจฉัยอุทธรณ์ของโจทก์เกินกว่ากำหนดสามสิบวัน มีผลให้โจทก์ผู้อุทธรณ์มีอำนาจเสนอคดีต่อศาลได้ทันทีโดยไม่ต้องรอคำวินิจฉัยตามขั้นตอน หาใช่จะทำให้คำวินิจฉัยไม่มีสภาพบังคับแต่ประการใดไม่
คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์มีอำนาจพิจารณาข้ออ้างต่าง ๆของโจทก์ประกอบกับเหตุผลของเจ้าพนักงานท้องถิ่น เพื่อฟังข้อเท็จจริงให้ได้เป็นข้อสรุปแล้วปรับกับข้อกฎหมายที่มีอยู่ในเรื่องนั้น ๆ เมื่อปรับได้แล้วจึงมีคำสั่งจะถือว่าคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์มิใช่คู่กรณี จึงไม่อาจยกเหตุผลของเจ้าพนักงานท้องถิ่นขึ้นมาโต้เถียงแทนเจ้าพนักงานท้องถิ่นหาได้ไม่
การปลูกสร้างอาคารพิพาทขัดต่อข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครเรื่อง ควบคุมการก่อสร้างอาคาร พ.ศ.2522 ข้อ 76 (3) เมื่อเจ้าพนักงานท้องถิ่น เห็นว่าเป็นกรณีที่ไม่สามารถแก้ไขเปลี่ยนแปลงอาคารพิพาทให้ถูกต้องได้จึงมีอำนาจออกคำสั่งให้รื้อถอน ไม่ว่าอาคารพิพาทจะก่อสร้างเสร็จแล้วหรือไม่
เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจตามมาตรา 40 แห่ง พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 ให้เจ้าของหรือผู้ครอบครองรื้อถอนอาคารทั้งหมด หรือแต่บางส่วนได้ ซึ่งมิได้หมายถึงเฉพาะผู้กระทำผิดเท่านั้น เจ้าของหรือผู้ครอบครองที่แม้ไม่ได้เป็นผู้กระทำการก่อสร้างอาคาร ก็ต้องรับผิดในการกระทำนั้นด้วย
คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์วินิจฉัยอุทธรณ์ของโจทก์เกินกว่ากำหนดสามสิบวัน มีผลให้โจทก์ผู้อุทธรณ์มีอำนาจเสนอคดีต่อศาลได้ทันทีโดยไม่ต้องรอคำวินิจฉัยตามขั้นตอน หาใช่จะทำให้คำวินิจฉัยไม่มีสภาพบังคับแต่ประการใดไม่