คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.วิ.พ. ม. 145 (2)

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 70 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3134/2516 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การคืนสินค้าของกลางที่ศาลสั่งให้คืนแก่เจ้าของหลังคดีถึงที่สุด และสิทธิเรียกร้องเงินค่าขายจากกรมศุลกากร
กรณีที่พนักงานศุลกากรยึดสิ่งใดๆ อันจะพึงริบตามพระราชบัญญัติศุลกากร ถ้าเจ้าของหรือผู้มีสิทธิไม่ยื่นคำร้องเรียกเอาภายในกำหนด 60 วัน สำหรับยานพาหนะที่ใช้ในการกระทำผิด 30 วัน สำหรับสิ่งอื่นนับแต่วันที่ยึดให้ถือว่าเป็นสิ่งไม่มีเจ้าของ และให้ตกเป็นของแผ่นดินนั้นหมายถึงกรณีที่ไม่มีการฟ้องคดีอาญาต่อศาล ถ้าเป็นกรณีที่มีการฟ้องคดีต่อศาลแล้ว ย่อมอยู่ในอำนาจของศาลที่จะพิพากษาให้ริบหรือไม่ริบของกลาง
เมื่อศาลพิพากษาถึงที่สุดให้คืนของกลางแก่เจ้าของการที่พนักงานศุลกากรยึดถือครอบครองของกลางไว้ต่อมา ย่อมเป็นการรักษาไว้แทนเจ้าของตามหน้าที่ราชการ หากของกลางนั้นได้ถูกขายไปแล้ว ก็ชอบที่จะต้องคืนเงินค่าขายของนั้นให้แก่เจ้าของนับแต่เวลาที่ถูกทวงถาม มิฉะนั้นย่อมตกเป็นฝ่ายผิดนัดต้องเสียดอกเบี้ยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 224
คำพิพากษาที่วินิจฉัยถึงกรรมสิทธิ์แห่งของกลางอันเป็นคุณแก่บุคคลใด อาจใช้ยันบุคคลอื่นได้ เว้นแต่บุคคลอื่นจะพิสูจน์ได้ว่ามีสิทธิดีกว่าตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 145(2)
ศาลอาญาพิพากษาถึงที่สุดให้คืนของกลางแก่โจทก์เมื่อวันที่13พฤษภาคม 2501 โจทก์ยื่นคำร้องเมื่อวันที่ 30มิถุนายน 2501ต่อศาลอาญาว่า อธิบดีกรมศุลกากรปฏิเสธไม่ยอมคืนของกลางให้ขอให้ศาลอาญาสั่งบังคับ ศาลอาญาสั่งยกคำร้องโจทก์โดยว่ามีข้อโต้แย้งเรื่องกรรมสิทธิ์ในทรัพย์ของกลางอยู่ ชอบที่จะไปว่ากล่าวกันในทางแพ่งโจทก์อุทธรณ์ฎีกาคำสั่งต่อมาศาลอุทธรณ์และฎีกาพิพากษายืนโจทก์จึงมาฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้ เมื่อวันที่ 26 มิถุนายน2507เรียกให้คืนเงินค่าขายของกลางพร้อมทั้งดอกเบี้ย ดังนี้ กรณีเป็นเรื่องเรียกทรัพย์คืน มิใช่เรื่องละเมิดซึ่งจะต้องฟ้องภายใน 1 ปีดังที่จำเลยต่อสู้ เพราะโจทก์มิได้ฟ้องเรียกเอาค่าเสียหาย คดีของโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ
อธิบดีกรมศุลกากรมีอำนาจหน้าที่ควบคุมบังคับบัญชากิจการงานของกรมศุลกากร จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นนิติบุคคล ได้ปฏิบัติราชการไปตามอำนาจหน้าที่ในกิจการของจำเลยที่ 1 ตามปกติ หาต้องรับผิดเป็นส่วนตัวไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3134/2516

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การคืนสินค้าและเงินค่าขายหลังศาลสั่งคืนของกลาง การรักษาทรัพย์แทนเจ้าของ และการผิดนัดชำระหนี้
กรณีที่พนักงานศุลกากรยึดสิ่งใดๆ อันจะพึงริบตามพระราชบัญญัติศุลกากร ถ้าเจ้าของหรือผู้มีสิทธิไม่ยื่นคำร้องเรียกเอาภายในกำหนด 60 วัน สำหรับยานพาหนะที่ใช้ในการกระทำผิด 30 วัน สำหรับสิ่งอื่นนับแต่วันที่ยึดให้ถือว่าเป็นสิ่งไม่มีเจ้าของ และให้ตกเป็นของแผ่นดินนั้นหมายถึงกรณีที่ไม่มีการฟ้องคดีอาญาต่อศาล ถ้าเป็นกรณีที่มีการฟ้องคดีต่อศาลแล้ว ย่อมอยู่ในอำนาจของศาลที่จะพิพากษาให้ริบหรือไม่ริบของกลาง
เมื่อศาลพิพากษาถึงที่สุดให้คืนของกลางแก่เจ้าของ การที่พนักงานศุลกากรยึดถือครอบครองของกลางไว้ต่อมา ย่อมเป็นการรักษาไว้แทนเจ้าของตามหน้าที่ราชการ หากของกลางนั้นได้ถูกขายไปแล้ว ก็ชอบที่จะต้องคืนเงินค่าขายของนั้นให้แก่เจ้าของนับแต่เวลาที่ถูกทวงถาม มิฉะนั้นย่อมตกเป็นฝ่ายผิดนัดต้องเสียดอกเบี้ยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 224
คำพิพากษาที่วินิจฉัยถึงกรรมสิทธิ์แห่งของกลางอันเป็นคุณแก่บุคคลใด อาจใช้ยันบุคคลอื่นได้ เว้นแต่บุคคลอื่นจะพิสูจน์ได้ว่ามีสิทธิดีกว่าตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 145(2)
ศาลอาญาพิพากษาถึงที่สุดให้คืนของกลางแก่โจทก์เมื่อวันที่13 พฤษภาคม 2501 โจทก์ยื่นคำร้องเมื่อวันที่ 30มิถุนายน 2501 ต่อศาลอาญาว่า อธิบดีกรมศุลกากรปฏิเสธไม่ยอมคืนของกลางให้ ขอให้ศาลอาญาสั่งบังคับ ศาลอาญาสั่งยกคำร้องโจทก์โดยว่ามีข้อโต้แย้งเรื่องกรรมสิทธิ์ในทรัพย์ของกลางอยู่ ชอบที่จะไปว่ากล่าวกันในทางแพ่ง โจทก์อุทธรณ์ฎีกาคำสั่งต่อมาศาลอุทธรณ์และฎีกาพิพากษายืน โจทก์จึงมาฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้ เมื่อวันที่ 26 มิถุนายน2507 เรียกให้คืนเงินค่าขายของกลางพร้อมทั้งดอกเบี้ย ดังนี้ กรณีเป็นเรื่องเรียกทรัพย์คืน มิใช่เรื่องละเมิดซึ่งจะต้องฟ้องภายใน 1 ปีดังที่จำเลยต่อสู้ เพราะโจทก์มิได้ฟ้องเรียกเอาค่าเสียหาย คดีของโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ
อธิบดีกรมศุลกากรมีอำนาจหน้าที่ควบคุมบังคับบัญชากิจการงานของกรมศุลกากร จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นนิติบุคคล ได้ปฏิบัติราชการไปตามอำนาจหน้าที่ในกิจการของจำเลยที่ 1 ตามปกติ หาต้องรับผิดเป็นส่วนตัวไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1078/2516

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การงดสืบพยานโดยอ้างคำเบิกความในคดีก่อนเป็นคำรับของโจทก์ ศาลฎีกาตัดสินว่าไม่ชอบ
ข้อเท็จจริงที่ว่า โจทก์กับจำเลยใครเป็นผู้มีสิทธิ(ในที่พิพาท)ดีกว่ากัน นั้น คู่ความทั้งสองฝ่ายยังโต้เถียงกันอยู่ ถือว่าเป็นประเด็นข้อพิพาทที่จะต้องพิจารณาสืบพยานกันต่อไป แม้ได้มีคำพิพากษาในคดีก่อนวินิจฉัยถึงกรรมสิทธิ์ในที่พิพาทเป็นคุณแก่จำเลยแล้วจะถือเอาคำเบิกความของโจทก์ (คดีนี้)ที่เบิกความไว้ในคดีนั้น เป็นคำรับของโจทก์ในคดีนี้หาได้ไม่ จึงไม่ตัดสิทธิโจทก์ที่จะนำสืบให้ศาลเห็นว่าความจริงโจทก์มีสิทธิในที่พิพาทดีกว่าจำเลย การที่ศาลชั้นต้นงดสืบพยานทั้งสองฝ่ายแล้วพิพากษายกฟ้องโจทก์ โดยถือเอาคำเบิกความของโจทก์ในคดีอื่นมาเป็นคำแถลงรับของโจทก์ในคดีนี้จึงเป็นการไม่ชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1078/2516 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การนำสืบพยานในคดีกรรมสิทธิ์ที่ดิน ศาลต้องพิจารณาตามข้อเท็จจริงที่คู่ความนำสืบ ไม่ถือคำเบิกความในคดีก่อนเป็นคำรับ
ข้อเท็จจริงที่ว่า โจทก์กับจำเลยใครเป็นผู้มีสิทธิ(ในที่พิพาท)ดีกว่ากัน นั้น คู่ความทั้งสองฝ่ายยังโต้เถียงกันอยู่ ถือว่าเป็นประเด็นข้อพิพาทที่จะต้องพิจารณาสืบพยานกันต่อไปแม้ได้มีคำพิพากษาในคดีก่อนวินิจฉัยถึงกรรมสิทธิ์ในที่พิพาทเป็นคุณแก่จำเลยแล้วจะถือเอาคำเบิกความของโจทก์ (คดีนี้)ที่เบิกความไว้ในคดีนั้น เป็นคำรับของโจทก์ในคดีนี้หาได้ไม่จึงไม่ตัดสิทธิโจทก์ที่จะนำสืบให้ศาลเห็นว่าความจริงโจทก์มีสิทธิในที่พิพาทดีกว่าจำเลย การที่ศาลชั้นต้นงดสืบพยานทั้งสองฝ่ายแล้วพิพากษายกฟ้องโจทก์ โดยถือเอาคำเบิกความของโจทก์ในคดีอื่นมาเป็นคำแถลงรับของโจทก์ในคดีนี้จึงเป็นการไม่ชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1019/2510

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำพิพากษาถึงที่สุดยันบุคคลภายนอกได้ การครอบครองตาม ส.ค.1 ไม่พอฟังว่าเป็นเจ้าของ
โจทก์นำยึดที่ดินของจำเลย แต่ปรากฏว่าที่ดินที่โจทก์นำยึดนั้นศาลเคยมีคำพิพากษาถึงที่สุดไว้แล้วในคดีเรื่องหนึ่งว่าเป็นของผู้ร้องคำพิพากษานั้นย่อมใช้ยันโจทก์ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกคดีดังกล่าวได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 145(2) เว้นแต่โจทก์จะพิสูจน์ได้ว่าตนมีสิทธิดีกว่า โดยแสดงได้ว่าที่แปลงนั้นเป็นของจำเลย
เพียงแต่มีชื่อเป็นผู้แจ้งการครอบครองใน ส.ค.1 หาพอฟังว่าตนเป็นผู้ครอบครองที่ดินนั้นไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1019/2510 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำพิพากษาถึงที่สุดยันบุคคลภายนอก การยึดทรัพย์ต้องพิสูจน์สิทธิเหนือกว่า
โจทก์นำยึดที่ดินของจำเลย แต่ปรากฏว่าที่ดินที่โจทก์นำยึดนี้น ศาลเคยมีคำพิพากษาถึงที่สุดไว้แล้วในคดีเรื่องหนึ่งว่าเป็นของผู้ร้อง คำพิพากษานั้นย่อมใช้ยันโจทก์ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกคดีดังกล่าวได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 145 (2) เว้นแต่โจทก์จะพิสูจน์ได้ว่าตนมีสิทธิดีกว่า โดยแสดงได้ว่ามีแปลงนั้นเป็นของจำเลย
เพียงแต่มีชื่อเป็นผู้แจ้งการครอบครองใน ส.ค.1 หาพอฟังว่าตนเป็นผู้ครอบครองที่ดินนั้นไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 533/2509 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การซื้อขายที่ดินก่อนสัญญาประนีประนอม: สิทธิผู้ซื้อเดิมดีกว่าผู้รับโอนจากสัญญายอมความ
การที่จำเลยที่ 1-2 ซึ่งเป็นสามีภริยากัน ยินยอมทำสัญญาขายที่พิพาทให้โจทก์ โดยโจทก์ได้วางมัดจำไว้แล้ว แต่ต่อมาจำเลยที่ 1-2 กลับทำสัญญาประนีประนอมยอมความต่อศาลยกที่พิพาทให้จำเลยที่ 3 ถึง 5 บุตรของตนเสีย ย่อมแสดงว่าจำเลยที่ 1-2 ไม่ปฏิบัติตามสัญญาที่ทำไว้กับโจทก์ และเป็นการกระทำโดยไม่สุจริต โจทก์ซึ่งได้ทำสัญญาจะซื้อขายที่พิพาทกับจำเลยที่ 1-2 ไว้ก่อนที่จะได้มีการทำสัญญายอมความนั้น จึงอยู่ในฐานะที่จะได้รับโอนที่พิพาทดีกว่าจำเลยที่ 3 ถึง 5

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 533/2509

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาซื้อขายก่อนสัญญาประนีประนอม: โจทก์มีสิทธิเหนือผู้รับโอนจากสัญญาประนีประนอม
การที่จำเลยที่ 1,2 ซึ่งเป็นสามีภริยากันยินยอมทำสัญญาขายที่พิพาทให้โจทก์โดยโจทก์ได้วางมัดจำไว้แล้วแต่ต่อมาจำเลยที่ 1,2 กลับทำสัญญาประนีประนอมยอมความต่อศาลยกที่พิพาทให้จำเลยที่ 3 ถึง 5 บุตรของตนเสียย่อมแสดงว่าจำเลยที่ 1,2 ไม่ปฏิบัติตามสัญญาที่ทำไว้กับโจทก์ และเป็นการกระทำโดยไม่สุจริต โจทก์ซึ่งได้ทำสัญญาจะซื้อขายที่พิพาทกับจำเลยที่ 1,2 ไว้ก่อนที่จะได้มีการทำสัญญายอมความนั้น จึงอยู่ในฐานที่จะได้รับโอนที่พิพาทดีกว่าจำเลยที่ 3 ถึง 5

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1311/2505

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินจากสัญญาจะขายหลายฉบับ ศาลฎีกาวินิจฉัยว่าคำพิพากษาตามยอมความไม่ใช่การแสดงกรรมสิทธิ์
คำพิพากษาตามยอมความว่าจำเลยยอมโอนกรรมสิทธิ์ให้ตามสัญญาจะขายนั้นไม่ใช่คำพิพากษาที่แสดงหรือวินิจฉัยถึงกรรมสิทธิ์ที่ดิน
จำเลยทำสัญญาจะขายที่ดินให้คนหนึ่งแล้ว มาทำสัญญาจะขายที่ดินนั้นให้อีกคนหนึ่ง ผู้ซื้อคนหลังฟ้องขอให้บังคับโอนที่ดินก่อน แล้วผู้ซื้อคนแรกจึงฟ้องขอให้โอนโดยจำเลยทำยอมความไม่สู้คดี ดังนี้ ไม่ขัดข้องที่ศาลจะพิพากษาให้จำเลยโอนที่ดินให้ผู้ซื้อคนหลัง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 413/2505 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินพิพาท: บุคคลภายนอกมีสิทธิพิสูจน์กรรมสิทธิ์ที่แท้จริง แม้มีคำพิพากษาแล้ว
แม้จะเคยมีคำพิพากษารับรองกรรมสิทธิ์ว่าทรัพย์พิพาทเป็นของผู้ร้องขัดทรัพย์มาแล้วก็ตาม โจทก์ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกคดีนั้นย่อมนำพิสูจน์ว่าทรัพย์รายพิพาทนั้นเป็นของจำเลยอันจะต้องรับผิดต่อการบังคับคดีของโจทก์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 145 (2) ได้
of 7