คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 456 วรรคสอง

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 9 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7458/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การครอบครองทรัพย์สินหลังข้อตกลงเบื้องต้น สิทธิในการครอบครองและการฟ้องขับไล่
ปัญหาว่า โจทก์ได้มอบการครอบครองทรัพย์สินที่จะซื้อขายแก่จำเลยที่ 2 อันเป็นการชำระหนี้บางส่วน สัญญาจะซื้อขายจึงเกิดขึ้นโดยมิต้องทำเป็นหนังสือกันอีก จึงไม่ต้องห้ามที่จะฟ้องร้องหรือต่อสู้คดี ตาม ป.พ.พ.มาตรา 456 วรรคสอง นั้น เป็นข้อที่จำเลยที่ 2 ไม่ได้ให้การต่อสู้คดีไว้จึงเป็นข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
สัญญามีข้อความระบุว่า โจทก์ยินยอมให้จำเลยที่ 1 ผู้เริ่มก่อการตั้งจำเลยที่ 2 เข้าครอบครองทรัพย์สินพิพาทเป็นการชั่วคราวจนกว่าจะมีการทำสัญญาจะซื้อจะขายเสร็จ ทั้งนี้การครอบครองชั่วคราวจะไม่เกินวันที่ 31กรกฎาคม 2530 เมื่อโจทก์และจำเลยที่ 2 ไม่ได้ทำสัญญาจะซื้อจะขายกันจำเลยที่ 2 ก็มีสิทธิอยู่ในทรัพย์สินพิพาทจนถึงวันที่ 31 กรกฎาคม 2530หลังจากนั้นเป็นการอยู่โดยละเมิด โจทก์มีอำนาจฟ้องขับไล่จำเลยที่ 2 โดยไม่จำต้องบอกกล่าวได้
การที่โจทก์มีหนังสือหลังจากวันดังกล่าวแจ้งให้จำเลยที่ 2ขนย้ายทรัพย์สินและบริวารออกไปจากทรัพย์สินพิพาทให้แล้วเสร็จโดยเร็ว แต่ต้องไม่เกินวันที่ 30 กันยายน 2530 หาใช่โจทก์ยินยอมให้จำเลยที่ 2 ครอบครองทรัพย์สินพิพาทถึงวันดังกล่าว แต่เป็นเรื่องที่โจทก์เตือนให้จำเลยที่ 2 ออกไปจากทรัพย์สินพิพาท หนังสือดังกล่าวไม่ก่อให้เกิดสิทธิที่จะอยู่ในทรัพย์สินที่พิพาทโดยไม่เป็นการละเมิดต่อโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7254/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อจำกัดการฎีกาในข้อเท็จจริงเมื่อทุนทรัพย์ไม่เกิน 200,000 บาท และการยินยอมในสัญญาซื้อขาย
คดีที่ศาลอุทธรณ์ภาค 2 พิพากษาให้จำเลยที่ 3 และที่ 4จดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพร้อมบ้านพิพาทในส่วนของจำเลยที่ 3 และที่ 4 ให้โจทก์ โดยให้โจทก์ทั้งสองชำระเงินแก่จำเลยที่ 3 และที่ 4 คนละ 187,500 บาทจำเลยที่ 3 และที่ 4 ฎีกาขอให้พิพากษายกฟ้องจำเลยที่ 3 และที่ 4 ทุนทรัพย์ที่พิพาทในชั้นฎีกาของจำเลยที่ 3 และที่ 4 สามารถแยกกันได้แต่ละจำนวนที่จำเลยที่ 3 และที่ 4 ต้องรับผิดตามคำพิพากษาของศาลอุทธรณ์ภาค 2 แม้จำเลยที่ 3และที่ 4 จะยื่นฎีการวมกันมา ทุนทรัพย์ในชั้นฎีกาก็ต้องแยกกันตามจำนวนที่แต่ละคนต้องรับผิด เมื่อทุนทรัพย์ในชั้นฎีกาของจำเลยที่ 3 และที่ 4 ไม่เกินคนละสองแสนบาทต้องห้ามมิให้ฎีกาในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248วรรคหนึ่ง
โจทก์ทั้งสองฟ้องว่า จำเลยทั้งสี่จะขายที่ดินพร้อมบ้านพิพาทให้แก่โจทก์ โดยโจทก์ทั้งสองวางเงินมัดจำไว้เป็นจำนวน 20,000 บาท ซึ่งจำเลยที่ 1 ได้รับไว้แล้ว สัญญาจะซื้อจะขายระหว่างโจทก์ทั้งสองกับจำเลยทั้งสี่จึงมิใช่กรณีที่จะต้องมีหลักฐานเป็นหนังสืออย่างหนึ่งอย่างใดลงลายมือชื่อของจำเลยที่ 3และที่ 4 แต่อย่างใดไม่ ดังนั้น ความยินยอมหรือการมอบอำนาจของจำเลยที่ 3และที่ 4 หาจำต้องทำเป็นหนังสือลงลายมือชื่อของจำเลยที่ 3 และที่ 4 ไม่เช่นกันกรณีไม่ต้องด้วยบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 798

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6881/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจะซื้อขายที่ดิน disguised as สัญญาเงินกู้: การตีความตามพยานหลักฐาน
แม้เอกสารหมาย จ.3 จะใช้แบบพิมพ์สัญญากู้ยืมและในข้อ 1มีข้อความว่า ผู้กู้ (จำเลย) ได้กู้ยืมเงินของผู้ให้กู้ (โจทก์) ไปเป็นจำนวนเงิน230,000 บาท ก็ตาม แต่ก็ไม่ได้กล่าวถึงการชำระดอกเบี้ยและกำหนดเวลาที่จะชำระเงินต้นคืนไว้ดังสัญญากู้ยืมเงินทั่วไป แต่ในสัญญาข้อ 4 กลับมีข้อความระบุไว้ว่า ผู้กู้ได้นำ น.ส.3 (ที่สวนมะพร้าว) หมู่ที่ 8 ตำบลท่าชนะ เนื้อที่ 60 ไร่เศษโดยนายสำราญ ศรียาภัย ขายที่ดิน 2 แปลงนี้ให้นายไพรัช แสงฉวาง ในราคา750,000 บาท ตกลงจ่ายเงินงวดแรกเป็นเงิน 350,000 บาท และจ่ายเงินในวันทำสัญญานี้เท่ากับเงินกู้คือ 230,000 บาท ส่วนที่เหลือจะจ่ายให้เมื่อมีการทำสัญญาซื้อขายกันต่อไป โดยจะทำการโอนที่ดินทั้งสองแปลงนี้ให้แล้วเสร็จภายใน 2 ปีนับจากวันทำสัญญา หากฝ่ายใดผิดสัญญาให้ปรับหนึ่งเท่าของราคาที่ดิน นอกจากโจทก์จะมีพยานบุคคลมาเบิกความยืนยันว่าเป็นสัญญาจะซื้อขายที่ดินทั้งสองแปลงแล้วยังได้ความว่า หลังจากจำเลยรับเงินจำนวน 230,000 บาท ในวันทำเอกสารหมาย จ.3 แล้ว จำเลยยังรับเงินจากโจทก์อีกหลายครั้งจนครบจำนวน 350,000 บาทจำเลยก็ได้โอนที่ดินตามสัญญาหนึ่งแปลงให้แก่โจทก์ ดังนี้สัญญาดังกล่าวเป็นสัญญาจะซื้อขายที่ดิน
เอกสารหมาย จ.4 เป็นแบบพิมพ์สัญญากู้ยืมระบุจำเลยรับเงินจากโจทก์อีก 2 ครั้ง เอกสารหมาย จ.4 นี้มีความเกี่ยวเนื่องกับเอกสารหมาย จ.3 ดังนั้นการที่โจทก์นำสืบว่า เอกสารหมาย จ.4 เป็นการชำระเงินให้จำเลยเพื่อซื้อที่ดิน มิใช่การให้จำเลยกู้ยืมเงินย่อมไม่เป็นการนำสืบแก้ไขเปลี่ยนแปลงเอกสาร เพราะเป็นการนำสืบถึงมูลเหตุที่จะทำเอกสารหมาาย จ.4 ชอบที่จะนำสืบได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 94

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6810/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจะซื้อขายที่ดินจัดสรรภายในระยะห้ามโอนเป็นโมฆะ แม้เจตนาจะจดทะเบียนภายหลัง
ที่ดินที่เจ้าของกรรมสิทธิ์ได้มาตาม พ.ร.บ. จัดสรรที่ดินเพื่อการครองชีพ พ.ศ.2511 นั้น ภายในกำหนดเวลาห้าปีนับแต่วันได้รับโอนที่ดิน ผู้ได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์ในที่ดินจะโอนที่ดินนั้นไปยังผู้อื่นไม่ได้ นอกจากตกทอดโดยทางมรดกหรือโอนไปยังสหกรณ์ที่ตนเป็นสมาชิกอยู่แล้วแต่กรณี และที่ดินประเภทนี้ก็ไม่อยู่ในความรับผิดแห่งการบังคับคดี การที่โจทก์กับจำเลยทำสัญญาอันมีผลเป็นการโอนสิทธิในที่พิพาทโดยส่งมอบการครอบครองให้แก่กัน ภายในกำหนดระยะเวลาห้ามโอนตามกฎหมาย แม้จะเป็นสัญญาจะซื้อขาย และโจทก์กับจำเลยมีเจตนาจะจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่พิพาทกันภายหลังเมื่อครบกำหนดเวลาห้ามโอนตามกฎหมายแล้วก็ตามก็เป็นนิติกรรมที่มีวัตถุประสงค์เป็นการต้องห้ามชัดแจ้งตามกฎหมาย สัญญาจะซื้อขายที่ดินพิพาทระหว่างโจทก์กับจำเลยจึงตกเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ. มาตรา 113 (เดิม),140 (ใหม่)
จำเลยฎีกาว่าคดีเกี่ยวกับที่ดินอันเป็นที่ทำกินของประชาชนซึ่งมีราคาสูงขึ้น ผู้ทำสัญญาจะขายมักจะบ่ายเบี่ยงไม่ยอมขาย ทำให้เกิดความไม่ชอบธรรมในสังคม ศาลชอบที่จะหยิบยกเรื่องอำนาจฟ้องขึ้นวินิจฉัยนั้น เป็นฎีกาที่มิได้โต้แย้งคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ และมิได้กล่าวไว้โดยชัดแจ้ง ไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ.มาตรา 249 วรรคแรก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6102/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจะซื้อจะขายเกิดมีผลผูกพัน แม้ยังมิได้ทำเป็นหนังสือ เมื่อมีการวางมัดจำและตกลงกันแล้ว
โจทก์ตกลงซื้อตึกแถวจากจำเลยและได้วางมัดจำไว้แล้วและข้อเท็จจริงฟังไม่ได้ว่าโจทก์จำเลยมีการตกลงกันว่าจะทำสัญญาจะซื้อจะขายเป็นหนังสือ ดังนั้นแม้จะยังไม่ได้ทำสัญญากันเป็นหนังสือ ก็ถือว่าสัญญาจะซื้อจะขายเกิดมีขึ้นแล้ว โจทก์ก็มีสิทธิฟ้องคดีได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 456 วรรคสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5088/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในการบังคับชำระหนี้ตามสัญญาจะซื้อจะขาย และผลของการผิดสัญญา
การที่โจทก์ทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาทกับจำเลยที่ 1 ก็มุ่งประสงค์ที่จะได้รับชำระค่าที่ดินตามสัญญา อันเป็นความประสงค์ที่จะได้รับชำระหนี้โดยถูกต้องตรงตามวัตถุที่ประสงค์แห่งหนี้ ทั้งการจะบังคับให้เจ้าหนี้รับชำระหนี้เป็นอย่างอื่นผิดไปจากที่จะต้องชำระแก่เจ้าหนี้ ป.พ.พ. มาตรา 320 ก็บัญญัติว่า หาอาจจะบังคับได้ไม่ ที่สัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาทกำหนดไว้ว่า ถ้าผู้จะซื้อผิดสัญญาไม่ไปทำหนังสือและจดทะเบียนรับซื้อตามกำหนดในข้อตกลงนี้ ผู้จะซื้อยอมให้ผู้จะขายริบเงินมัดจำนั้นเป็นเพียงข้อสัญญาที่ให้สิทธิแก่ผู้จะขายในกรณีที่ผู้จะซื้อผิดสัญญา ข้อสัญญาดังกล่าวหาได้เป็นการตัดสิทธิโจทก์ที่จะบังคับชำระหนี้ให้ตรงตามวัตถุที่ประสงค์แห่งหนี้หรือหามีผลเป็นการบังคับให้โจทก์ริบได้เฉพาะเงินมัดจำเท่านั้นไม่ โจทก์จึงมีสิทธิฟ้องบังคับให้จำเลยที่ 1 ชำระราคาที่ดินพิพาทและรับโอนกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3799/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อตกลงซื้อขายที่ดินมีผลผูกพันแม้ไม่มีหลักฐานเป็นหนังสือ และการนำสืบราคาซื้อขายที่นอกเหนือจากสัญญา
ก่อนมีการทำสัญญาซื้อขายที่ดิน คู่ความทั้งสองฝ่ายได้มีการต่อรองราคากัน เมื่อตกลงราคากันได้แล้ว ฝ่ายจำเลยได้วางมัดจำไว้แก่ฝ่ายโจทก์เป็นเงิน100,000 บาท แม้ไม่มีการทำหลักฐานเป็นหนังสือ ข้อตกลงเรื่องราคาซื้อขายดังกล่าวย่อมมีผลบังคับได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 456 วรรคสอง การที่โจทก์นำสืบข้อตกลงเกี่ยวกับราคาที่ดินอีกส่วนหนึ่งนอกเหนือจากหนังสือสัญญาขายที่ดินที่จดทะเบียนต่อเจ้าพนักงาน ไม่ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 94

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3651/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาซื้อขายข้าวทางโทรพิมพ์: หลักฐาน, การชำระหนี้ และผลบังคับใช้
สัญญาซื้อขายข้าวระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 มิได้มีกฎหมายกำหนดแบบให้ต้องทำเป็นหนังสือ ทั้งโจทก์และจำเลยที่ 1 มิได้ตกลงให้ทำสัญญาซื้อขายกันเป็นหนังสือ เมื่อจำเลยที่ 1 และโจทก์ได้ตกลงซื้อขายข้าวกันตามที่ได้เสนอสนองและตกลงกันได้ตามโทรพิมพ์ และสำเนาโทรพิมพ์ เมื่อคำเสนอและคำสนองของโจทก์และจำเลยที่ 1 ในการซื้อขายข้าวถูกต้องตรงกัน สัญญาขายข้าวระหว่างโจทก์และจำเลยที่ 1 ย่อมเกิดขึ้นโดยสมบูรณ์แล้ว โจทก์และจำเลยที่ 1หาจำต้องทำสัญญาซื้อขายข้าวเป็นหนังสือไม่
สัญญาซื้อขายข้าวระหว่างโจทก์และจำเลยที่ 1 เป็นสัญญาซื้อขายสังหาริมทรัพย์ที่ตกลงกันเป็นราคาห้าร้อยบาทหรือกว่านั้นขึ้นไป เมื่อไม่ปรากฏว่า จำเลยที่ 1 ได้ลงลายมือชื่อไว้ในโทรพิมพ์ดังกล่าวแต่อย่างใด สัญญาซื้อขายข้าวจึงไม่มีหลักฐานเป็นหนังสือลงลายมือชื่อจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นฝ่ายต้องรับผิดเป็นสำคัญ ทั้งไม่มีการวางประจำ และไม่มีการชำระหนี้บางส่วนโดยจำเลยที่ 1โจทก์จึงไม่มีหลักฐานในการฟ้องร้องบังคับคดีแก่จำเลยที่ 1 ตามสัญญาซื้อขายข้าวได้
การที่โจทก์ผู้ซื้อชำระหนี้ให้แก่จำเลยที่ 1 ผู้ขาย โดยโจทก์เปิดเลตเตอร์ออฟเครดิตกับธนาคารต่างประเทศ มายังธนาคารในประเทศไทยนั้นต้องถือว่าธนาคารต่างประเทศเป็นเพียงตัวแทนของผู้ซื้อในต่างประเทศ และธนาคารในประเทศไทยเป็นตัวแทนของธนาคารต่างประเทศอีกต่อหนึ่ง แม้ผู้ซื้อในต่างประเทศจะได้ชำระเงินเพื่อเปิดเลตเตอร์ออฟเครดิตแล้ว ก็เป็นเพียงการชำระเงินให้แก่ตัวแทนของตนเท่านั้น หาอาจจะถือว่าเป็นการชำระหนี้ให้แก่ผู้ขายหรือตัวแทนของผู้ขายไม่ เมื่อจำเลยที่ 1 ผู้ขายยังไม่ได้ไปรับเงินจากธนาคารตามเลตเตอร์ออฟเครดิตนั้น จึงถือไม่ได้ว่าโจทก์ได้ชำระราคาสินค้าข้าวตามสัญญาซื้อขายข้าวให้แก่จำเลยที่ 1 แล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3046/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาซื้อขายข้าวนึ่งทางโทรพิมพ์: หลักฐานไม่สมบูรณ์
การที่โจทก์ซึ่งเป็นนิติบุคคลมีภูมิลำเนาอยู่ในต่างประเทศ ตกลงซื้อขายข้าวนึ่งกับจำเลยที่ 1 ซึ่งภูมิลำเนาอยู่ในประเทศไทยโดยทางโทรพิมพ์ และโจทก์ได้เปิดเลตเตอร์ออฟเครดิตมายังธนาคาร ก. เพื่อชำระเงินค่าข้าวนึ่งตามที่มีการติดต่อกันไว้ทางโทรพิมพ์แล้วก็ตาม เมื่อการตกลงซื้อขายข้าวนึ่งดังกล่าวไม่มีหลักฐานเป็นหนังสือลงลายมือชื่อจำเลยทั้งสองผู้ต้องรับผิด หรือได้วางประจำหรือได้ชำระหนี้บางส่วนแล้ว ตามที่บัญญัติไว้ใน ป.พ.พ. มาตรา 456 วรรคสองโจทก์จึงไม่สามารถฟ้องร้องบังคับแก่จำเลยทั้งสองได้