พบผลลัพธ์ทั้งหมด 3 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7471/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแจ้งปริมาณการผลิตล่าช้าถือเป็นการฝ่าฝืนประกาศคณะกรรมการกำหนดราคาสินค้า แม้ไม่มีผลเสียต่อราชการ
ประกาศคณะกรรมการกลางกำหนดราคาสินค้าและป้องกันการผูกขาด กำหนดให้ผู้ผลิตสินค้าควบคุมแจ้งปริมาณการผลิตหรือการนำเข้าของแต่ละเดือนเป็นประจำทุกไตรมาส (3 เดือน) ต่อเลขาธิการภายในเดือนแรกของไตรมาส(3 เดือน) ถัดไป ย่อมหมายถึงว่าผู้ผลิตสินค้าควบคุมมีหน้าที่ต้องยื่นแบบแจ้งปริมาณการผลิตภายในเวลาที่กำหนด การที่จำเลยจัดทำแบบแจ้งปริมาณการผลิตเสร็จเมื่อวันที่ 27 เมษายน 2528 แล้วไม่ยื่นแบบแจ้งต่อเลขาธิการคณะกรรมการกลางกำหนดราคาสินค้าและป้องกันการผูกขาดภายในวันที่ 30 เมษายน 2528 จะถือว่าจำเลยได้ปฏิบัติตามประกาศดังกล่าวหาได้ไม่ จำเลยจึงมีความผิดตาม พ.ร.บ.กำหนดราคาสินค้าและป้องกันการผูกขาด มาตรา 43
การที่จำเลยแจ้งปริมาณการผลิตหรือการนำเข้าของแต่ละเดือนเป็นประจำทุกไตรมาสล่าช้ากว่ากำหนด 4 วัน และจำเลยไม่ได้รับประโยชน์และก่อให้เกิดความเสียหายแก่ทางราชการ ก็ถือว่าจำเลยมีเจตนาฝ่าฝืนประกาศคณะกรรมการกลางกำหนดราคาสินค้าและป้องกันการผูกขาดแล้ว เพราะประกาศดังกล่าวประกาศใช้เพื่อควบคุมสินค้าบางประเภทที่ทางราชการเห็นว่าผู้ผลิตผู้จำหน่ายอาจจะเอารัดเอาเปรียบผู้บริโภค
การที่จำเลยแจ้งปริมาณการผลิตหรือการนำเข้าของแต่ละเดือนเป็นประจำทุกไตรมาสล่าช้ากว่ากำหนด 4 วัน และจำเลยไม่ได้รับประโยชน์และก่อให้เกิดความเสียหายแก่ทางราชการ ก็ถือว่าจำเลยมีเจตนาฝ่าฝืนประกาศคณะกรรมการกลางกำหนดราคาสินค้าและป้องกันการผูกขาดแล้ว เพราะประกาศดังกล่าวประกาศใช้เพื่อควบคุมสินค้าบางประเภทที่ทางราชการเห็นว่าผู้ผลิตผู้จำหน่ายอาจจะเอารัดเอาเปรียบผู้บริโภค
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6471/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตการวินิจฉัยคดีอาญา: การเปลี่ยนแปลงข้อกล่าวหาจากพยายามฆ่าเป็นทำร้ายร่างกาย
จำเลยที่ 2 ใช้เหล็กขูดชาฟท์แทงทำร้ายผู้เสียหายที่ 1 จำนวน2 ครั้ง ในลักษณะเลือกแทงและแทงโดยแรง ปรากฏว่าผู้เสียหายที่ 1 มีบาดแผลที่คอด้านหลังข้างขวาเหนือกระดูกไหปลาร้า ยาวประมาณครึ่งนิ้ว ลึกเข้าไปข้างในที่กระดูกสะบักข้างขวามีลมรั่วในช่องปอดข้างขวาต้องเจาะเอาลมออก แพทย์ลงความเห็นว่าถ้าร้กษาไม่ถูกต้องอาจทำให้ถึงตายได้ การกระทำของจำเลยที่ 2ถือได้ว่ามีเจตนาจะฆ่าผู้เสียหายที่ 1 ให้ตาย จึงเป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 288ประกอบมาตรา 80
ที่โจทก์ฎีกาว่า การกระทำของจำเลยที่ 2 เป็นความผิดฐานพยายามฆ่าหรือเป็นเพียงฐานทำร้ายร่างกายเป็นปัญหาข้อเท็จจริง ซึ่งจำเลยที่ 2มิได้โต้แย้งไว้ในอุทธรณ์ ถือได้ว่าจำเลยที่ 2 ไม่ประสงค์ต่อสู้ในปัญหานี้ ศาลอุทธรณ์ภาค 1 จึงไม่มีอำนาจวินิจฉัยนั้น คดีนี้โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยที่ 2 ใช้เหล็กขูดชาฟท์แทงพยายามฆ่าผู้เสียหายที่ 2 เป็นเหตุให้ผู้เสียหายที่ 2 ได้รับอันตรายสาหัสศาลชั้นต้นลงโทษจำเลยที่ 2 ตามฟ้อง จำเลยที่ 2 อุทธรณ์ว่าไม่ได้กระทำผิดตามที่โจทก์ฟ้อง เมื่อศาลอุทธรณ์ภาค 1 ฟังข้อเท็จจริงว่า จำเลยที่ 2 มิได้มีเจตนาฆ่าผู้เสียหายที่ 2 มีเพียงเจตนาทำร้ายเท่านั้น ศาลอุทธรณ์ภาค 1 ย่อมมีอำนาจวินิจฉัยว่า จำเลยที่ 2 มีความผิดเพียงฐานทำร้ายร่างกายผู้เสียหายที่ 2 ได้ แม้ว่าจำเลยที่ 2 จะมิได้โต้แย้งไว้ในชั้นอุทธรณ์ว่า การกระทำของจำเลยที่ 2 เป็นความผิดฐานพยายามฆ่าหรือทำร้ายร่างกายผู้เสียหายที่ 2 ก็ตาม
ที่โจทก์ฎีกาว่า การกระทำของจำเลยที่ 2 เป็นความผิดฐานพยายามฆ่าหรือเป็นเพียงฐานทำร้ายร่างกายเป็นปัญหาข้อเท็จจริง ซึ่งจำเลยที่ 2มิได้โต้แย้งไว้ในอุทธรณ์ ถือได้ว่าจำเลยที่ 2 ไม่ประสงค์ต่อสู้ในปัญหานี้ ศาลอุทธรณ์ภาค 1 จึงไม่มีอำนาจวินิจฉัยนั้น คดีนี้โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยที่ 2 ใช้เหล็กขูดชาฟท์แทงพยายามฆ่าผู้เสียหายที่ 2 เป็นเหตุให้ผู้เสียหายที่ 2 ได้รับอันตรายสาหัสศาลชั้นต้นลงโทษจำเลยที่ 2 ตามฟ้อง จำเลยที่ 2 อุทธรณ์ว่าไม่ได้กระทำผิดตามที่โจทก์ฟ้อง เมื่อศาลอุทธรณ์ภาค 1 ฟังข้อเท็จจริงว่า จำเลยที่ 2 มิได้มีเจตนาฆ่าผู้เสียหายที่ 2 มีเพียงเจตนาทำร้ายเท่านั้น ศาลอุทธรณ์ภาค 1 ย่อมมีอำนาจวินิจฉัยว่า จำเลยที่ 2 มีความผิดเพียงฐานทำร้ายร่างกายผู้เสียหายที่ 2 ได้ แม้ว่าจำเลยที่ 2 จะมิได้โต้แย้งไว้ในชั้นอุทธรณ์ว่า การกระทำของจำเลยที่ 2 เป็นความผิดฐานพยายามฆ่าหรือทำร้ายร่างกายผู้เสียหายที่ 2 ก็ตาม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3127/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจตนาทำร้ายร่างกาย ไม่ใช่ฆ่า ขวาน-ค้อนขนาดเล็ก บาดแผลหายได้ ไม่เป็นอันตรายฉกรรจ์
แม้จำเลยใช้ขวานและค้อนเป็นอาวุธฟันและตีทำร้ายผู้เสียหายทั้งสอง แต่สาเหตุของการทำร้ายไม่ปรากฏว่าจำเลยกับผู้เสียหายทั้งสองมีสาเหตุโกรธเคืองกันมาก่อนเกิดเหตุ สาเหตุการทำร้ายเป็นเพราะความไม่พอใจกันในหมู่ญาติ ขณะเกิดเหตุจำเลยกับผู้เสียหายที่ 1 ต่างมีอาการเมาสุราและสมัครใจวิวาททำร้ายร่างกายซึ่งกันและกัน เมื่อมีผู้ห้ามต่างก็เลิกรากันไป ทั้งขนาดของคมขวานยาว 3 นิ้ว สันขวานหนาเพียง 1 นิ้วครึ่ง เป็นขวานขนาดเล็ก เฉพาะความยาวของขวานรวมทั้งด้ามมีความยาว 14 นิ้วครึ่ง ส่วนขนาดของค้อนไม่ปรากฏและแม้จะปรากฏว่าผู้เสียหายที่ 1 มีบาดแผลที่หางคิ้วซ้ายยาว 1.5 เซนติเมตรลึกถึงกระดูก บาดแผลที่เหนือท้ายทอยยาว 3 เซนติเมตร ลึกถึงกระดูก กับบาดแผลฉีกขาดที่ริมฝีปากด้านบนยาว 4 เซนติเมตร ส่วนผู้เสียหายที่ 2 มีบาดแผลที่บริเวณศีรษะด้านหน้ายาว 5 เซนติเมตร ลึกถึงกะโหลกก็ตาม แต่บาดแผลของผู้เสียหายที่ 1และที่ 2 หายเป็นปกติภายใน 10 วัน และ 7 วัน ไม่ถือว่าเป็นบาดแผลฉกรรจ์แสดงว่าจำเลยมิได้ใช้ขวานฟันและใช้ค้อนตีผู้เสียหายทั้งสองโดยแรง ดังนี้ จำเลยมีเพียงเจตนาทำร้ายร่างกายผู้เสียหายทั้งสองเท่านั้น ไม่ใช่เจตนาฆ่า
คดีนี้โจทก์ฟ้องว่า จำเลยพยายามฆ่าผู้เสียหายทั้งสองแต่ข้อเท็จจริงฟังได้ว่า จำเลยทำร้ายร่างกายผู้เสียหายทั้งสองเป็นเหตุให้ได้รับอันตรายแก่กาย ศาลย่อมลงโทษจำเลยในความผิดฐานดังกล่าวได้ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 192 ไม่เป็นการพิพากษาเกินกว่าคำฟ้อง
โทษจำคุกแต่ละกระทงไม่เกิน 2 ปี จึงอยู่ในเกณฑ์ที่จะรอการลงโทษให้แก่จำเลยได้ ตาม ป.อ. มาตรา 56
คดีนี้โจทก์ฟ้องว่า จำเลยพยายามฆ่าผู้เสียหายทั้งสองแต่ข้อเท็จจริงฟังได้ว่า จำเลยทำร้ายร่างกายผู้เสียหายทั้งสองเป็นเหตุให้ได้รับอันตรายแก่กาย ศาลย่อมลงโทษจำเลยในความผิดฐานดังกล่าวได้ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 192 ไม่เป็นการพิพากษาเกินกว่าคำฟ้อง
โทษจำคุกแต่ละกระทงไม่เกิน 2 ปี จึงอยู่ในเกณฑ์ที่จะรอการลงโทษให้แก่จำเลยได้ ตาม ป.อ. มาตรา 56