พบผลลัพธ์ทั้งหมด 44 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 12640/2557
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
จำกัดความรับผิดของผู้ค้ำประกันตามประกาศกระทรวงแรงงาน แม้ทำสัญญาก่อนประกาศใช้
ตามประกาศกระทรวงแรงงาน เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการเรียกหรือรับหลักประกันการทำงานหรือหลักประกันความเสียหายในการทำงานจากลูกจ้าง พ.ศ.2551 นั้น นอกจากจะมีข้อ 10 ซึ่งกำหนดวงเงินค้ำประกันที่นายจ้างเรียกให้ผู้ค้ำประกันรับผิดต้องไม่เกิน 60 เท่า ของอัตราค่าจ้างรายวันโดยเฉลี่ยที่ลูกจ้างได้รับ อันเป็นการจำกัดขอบเขตความรับผิดของผู้ค้ำประกันในความเสียหายจากการทำงานให้แตกต่างไปจากหลักทั่วไปในเรื่องเสรีภาพในการทำสัญญาแล้วยังมีข้อ 12 ซึ่งกำหนดว่า กรณีที่มีการเรียกหรือรับหลักประกันเกินที่กำหนดไว้มาก่อนวันที่ประกาศฉบับนี้มีผลใช้บังคับนั้น ให้เป็นหน้าที่ของนายจ้างดำเนินการให้มีหลักประกันไม่เกินมูลค่าของหลักประกันตามที่กำหนดไว้ในประกาศนี้ด้วย แสดงว่านายจ้างและลูกจ้างไม่อาจตกลงนอกเหนือจากหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่ประกาศดังกล่าวกำหนด ดังนั้นสัญญาค้ำประกันที่จำเลยที่ 2 ทำไว้กับโจทก์แม้จะทำกันก่อนประกาศฉบับนี้มีผลใช้บังคับก็ตาม แต่เมื่อประกาศฉบับนี้มีผลใช้บังคับแล้ว ความรับผิดของจำเลยที่ 2 ในฐานะผู้ค้ำประกันซึ่งเกิดขึ้นภายหลังก็ต้องบังคับไปตามหลักเกณฑ์ของประกาศฉบับดังกล่าวคือไม่เกิน 60 เท่า ของอัตราค่าจ้างรายวันโดยเฉลี่ยที่จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นลูกจ้างได้รับด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6690-6692/2557
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างลูกจ้างฐานกระทำผิดร้ายแรง: การทะเลาะวิวาทและทำร้ายร่างกายเพื่อนร่วมงานนอกสถานที่ทำงาน แต่เชื่อมโยงกับเหตุการณ์ในที่ทำงาน
แม้ จ. จะได้รับบาดเจ็บที่บริเวณดวงตาข้างซ้ายและลำตัวมีรอยฟกช้ำโดยสามารถไปทำงานได้ในวันรุ่งขึ้นและเหตุทำร้ายร่างกายเกิดขึ้นหลังเวลาเลิกงานและนอกสถานที่ทำงานก็ตาม แต่สาเหตุที่โจทก์ทั้งสามกับ ภ. ร่วมกันทำร้าย จ. ก็เนื่องจากไม่พอใจ จ. เกี่ยวกับการทำงานและในที่ทำงาน หลังเลิกงานโจทก์ทั้งสามกับ ภ. ไปดักทำร้าย จ. ขณะลงจากรถรับส่งพนักงานของจำเลย อันมีลักษณะร่วมกันรุมทำร้าย จ. ฝ่ายเดียวและเป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นต่อเนื่องกันจากภายในที่ทำการของจำเลย ถือได้ว่าเป็นเหตุการณ์เดียวกัน ทั้งขณะเกิดเหตุโจทก์ทั้งสาม ภ. และ จ. ยังคงสวมเครื่องแบบพนักงานของจำเลย พฤติการณ์ดังกล่าวแสดงให้เห็นว่าโจทก์ทั้งสามร่วมกันทำร้ายร่างกาย จ. อย่างอุกอาจไม่เคารพยำเกรงต่อกฎหมาย เป็นการกระทำต่อเพื่อนพนักงานด้วยกันในเรื่องที่มีสาเหตุจากการทำงานต่อหน้าเพื่อนพนักงานที่มากับรถรับส่งพนักงานของจำเลย อันเป็นการทำให้เสียภาพพจน์และทำให้ยุ่งยากในการปกครองบังคับบัญชาพนักงานในองค์กรของจำเลย การกระทำของโจทก์ทั้งสามจึงเป็นการฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานในกรณีที่ร้ายแรง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6687/2557
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำสั่งย้ายงานที่ไม่เป็นธรรมและการเลิกจ้างที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย
แม้สิทธิในการย้ายตำแหน่งหน้าที่การงานของลูกจ้าง จำเลยที่ 1 ในฐานะนายจ้างสามารถกระทำได้ตามความเหมาะสมเพราะเป็นอำนาจในการบริหารจัดการภายในองค์กรของจำเลยที่ 1 ก็ตาม แต่การพิจารณาว่าคำสั่งย้ายงานดังกล่าวมีผลใช้บังคับเพียงใดคงต้องพิจารณาถึงข้อเท็จจริงเกี่ยวกับคำสั่งย้ายตำแหน่งหน้าที่การงานเป็นกรณีไป เมื่อมูลเหตุในการออกคำสั่งเป็นคำสั่งที่บีบบังคับให้โจทก์ลาออกเพื่อจำเลยไม่ต้องจ่ายเงินเกษียณอายุและไม่ต้องจ่ายค่าจ้างที่สูงเกินไปของโจทก์ซึ่งไม่คุ้มค่ากับกำลังการผลิตของจำเลยที่ 1 ที่ตกต่ำลง และการย้ายงานดังกล่าวไม่ก่อประโยชน์ให้แก่จำเลยที่ 1 เพราะโจทก์คงเหลือระยะเวลาทำงานอีกเพียง 2 เดือนเศษ ทำให้โจทก์ได้รับความเดือดร้อนอย่างมาก คำสั่งของจำเลยที่ 1 ดังกล่าวนอกจากจะเป็นการก่อให้เกิดความเดือดร้อนแก่โจทก์อย่างยิ่งแล้ว ยังมีมูลเหตุการออกคำสั่งโดยไม่สุจริตแก่ลูกจ้าง จึงมีลักษณะเป็นคำสั่งที่ไม่เป็นธรรม ฉะนั้น การที่โจทก์ไม่ปฏิบัติตามคำสั่งดังกล่าว จึงถือไม่ได้ว่าโจทก์ละทิ้งหน้าที่เป็นเวลาสามวันทำงานติดต่อกันโดยไม่มีเหตุอันสมควรและจงใจทำให้นายจ้างได้รับความเสียหาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5568/2557
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเบิกความปิดบังข้อสำคัญแห่งคดีอาญา มาตรา 177 วรรคแรก เกี่ยวกับความสัมพันธ์พิเศษของผู้ซื้อที่ดิน
ประเด็นข้อพิพาทในคดีก่อนมีว่าที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์หรือเป็นของจำเลยที่ให้โจทก์มีชื่อถือกรรมสิทธิ์แทน การที่จำเลยเบิกความเกี่ยวกับโจทก์เพียงว่าจำเลยรู้จักกับโจทก์เมื่อปี 2524 และเห็นว่าโจทก์เป็นคนดีน่าเชื่อถือ กับได้รับคำแนะนำจากนายจ้างของโจทก์ว่าโจทก์เป็นผู้ที่ไว้วางใจได้น่าเชื่อถือ อันแสดงว่าจำเลยได้พิจารณาเพียงคุณสมบัติของตัวโจทก์ดังกล่าวก่อนที่จะให้โจทก์เป็นผู้ซื้อและถือกรรมสิทธิ์ที่ดินแทนจำเลย โดยไม่เบิกความถึงความสัมพันธ์ที่จำเลยอยู่กินกับโจทก์เป็นภริยาของจำเลยอีกคนหนึ่งด้วย ซึ่งเป็นข้อเท็จจริงเกี่ยวกับโจทก์อันเป็นกรณีพิเศษไปจากบุคคลอื่นๆ และย่อมเป็นพยานหลักฐานสำคัญที่ศาลในคดีก่อนจะได้นำไปพิจารณาประกอบกับพยานหลักฐานอื่น ๆ เพื่อวินิจฉัยให้มีผลคดีที่ถูกต้องและเป็นธรรม จึงเป็นการเบิกความโดยปิดบังข้อสำคัญแห่งคดี เป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 177 วรรคแรก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3987/2557
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฐานฉ้อโกง: โจทก์ไม่ใช่ผู้เสียหายหากเงินที่จ่ายเป็นเงินส่วนตัวของกรรมการผู้จัดการ ไม่ใช่เงินของบริษัท
ข้อเท็จจริงปรากฏว่า ตามปกติโจทก์ร่วมจ่ายเงินค่าซื้อข้าวโพดหวานให้เกษตรกรภายใน 7 วัน ถึง 15 วัน นับแต่วันที่ซื้อ หากเกษตรกรรายใดประสงค์จะขอรับเงินก่อนภายใน 1 ถึง 2 วัน จะต้องขายลดสิทธิการรับเงิน โดยเกษตรกรต้องแจ้งให้จำเลยทราบแล้วจำเลยเป็นผู้มีหน้าที่รวบรวมเอกสารเสนอเพื่อขออนุมัติกับกรรมการผู้จัดการของโจทก์ร่วมก่อน เมื่ออนุมัติแล้ว ม. กรรมการผู้จัดการของโจทก์ร่วมจะสั่งจ่ายเงินจากบัญชีของตนเองจ่ายไปก่อน การจ่ายเงินของ ม. ดังกล่าวจึงเป็นเงินส่วนตัวของ ม.ทั้งสิ้นหาใช่เงินของโจทก์ร่วมซึ่งมีฐานะเป็นบุคคลต่างหากจาก ม. ไม่ แม้ ม. มีความสัมพันธ์ในฐานะเป็นกรรมการผู้จัดการของโจทก์ร่วมก็ตาม แต่ ม. ก็ได้รับเงินส่วนต่างจากการขายลดสิทธิที่เป็นกำไรเป็นของตนเองแต่เพียงผู้เดียวตามที่โจทก์ร่วมยอมรับในคำแก้อุทธรณ์ ส่วนข้อที่กล่าวอ้างว่าให้ ม. จ่ายเงินส่วนตัวไปก่อนเพื่อมิให้ผิดหลักการการจ่ายเงินในการซื้อวัตถุดิบไม่ให้เสียระบบการจ่ายเงินนั้นไม่สมเหตุสมผล ทั้งไม่มีผลทำให้โจทก์ร่วมซึ่งไม่ใช่ผู้เสียหายอยู่แล้วกลายเป็นผู้เสียหายตามกฎหมายแต่อย่างใด โจทก์ร่วมจึงไม่ใช่ผู้เสียหายในความผิดฐานฉ้อโกง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2081/2557
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีละเมิดและผิดสัญญาจ้างแรงงานของรัฐวิสาหกิจต่อลูกจ้าง อ้างอิงความรับผิดทางละเมิดและคำสั่งทางปกครอง
แม้โจทก์ซึ่งเป็นรัฐวิสาหกิจออกคำสั่งให้จำเลยที่ 2 และที่ 3 ร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ แต่เมื่อจำเลยที่ 2 และที่ 3 ไม่ชดใช้ค่าเสียหายตามคำสั่ง โจทก์จึงฟ้องจำเลยที่ 2 และที่ 3 โดยอ้างว่าจำเลยที่ 2 และที่ 3 กระทำผิดหน้าที่อันเป็นการละเมิดและผิดสัญญาจ้างแรงงานตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ต่อโจทก์ จึงเป็นการฟ้องให้รับผิดทางแพ่งที่มาจากมูลละเมิดและผิดสัญญาจ้างแรงงาน มิใช่โจทก์อาศัยคำสั่งดังกล่าวบังคับตาม พ.ร.บ.วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ.2539 อันจะต้องอาศัยสำนวนการสอบสวน จำเลยที่ 2 และที่ 3 สามารถนำพยานหลักฐานมาแสดงต่อศาลเพื่อพิสูจน์การกระทำของตนเองได้ สำนวนการสอบสวนของโจทก์เป็นเพียงพยานหลักฐานประกอบการพิจารณาคดีในชั้นศาลเท่านั้น การที่โจทก์ฟ้องโดยไม่ตั้งกรรมการสอบสวนจำเลยที่ 2 และที่ 3 ในฐานะผู้ถูกกล่าวหาก่อนไม่ทำให้โจทก์เสียสิทธิที่จะนำคดีมาฟ้องต่อศาลแรงงานกลาง โจทก์มีอำนาจฟ้อง
โจทก์ฟ้องให้จำเลยที่ 2 และที่ 3 รับผิดฐานละเมิดและผิดสัญญาจ้างแรงงานเป็นเหตุให้จำเลยที่ 1 ทุจริตเบียดบังเอาเงินของโจทก์ไป เป็นการฟ้องขอให้จำเลยที่ 2 และที่ 3 รับผิดทั้งในมูลละเมิดและมูลผิดสัญญาจ้างแรงงาน กฎหมายไม่ได้บัญญัติอายุความเรื่องผิดสัญญาจ้างแรงงานไว้โดยเฉพาะจึงมีกำหนด 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/30
โจทก์ฟ้องให้จำเลยที่ 2 และที่ 3 รับผิดฐานละเมิดและผิดสัญญาจ้างแรงงานเป็นเหตุให้จำเลยที่ 1 ทุจริตเบียดบังเอาเงินของโจทก์ไป เป็นการฟ้องขอให้จำเลยที่ 2 และที่ 3 รับผิดทั้งในมูลละเมิดและมูลผิดสัญญาจ้างแรงงาน กฎหมายไม่ได้บัญญัติอายุความเรื่องผิดสัญญาจ้างแรงงานไว้โดยเฉพาะจึงมีกำหนด 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/30
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 18055/2556
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เขตอำนาจสอบสวน ความผิดต่อเนื่อง และการลงโทษกรรมเดียวหลายบทในความผิดฐานลักทรัพย์ ปลอมแปลงเอกสาร
ความผิดฐานลักทรัพย์เกิดขึ้นที่บริษัทผู้เสียหายซึ่งตั้งอยู่ที่ตำบลบางโปรง อำเภอเมืองสมุทรปราการ จังหวัดสมุทรปราการ ต่อมามีการนำเช็คที่ถูกลักไปเข้าบัญชีของ ป. ที่ธนาคาร ก. สาขาสมุทรปราการ ที่ตำบลปากน้ำ อำเภอเมืองสมุทรปราการ จังหวัดสมุทรปราการ ซึ่งอยู่ในเขตอำนาจสอบสวนของพนักงานสอบสวนสถานีตำรวจภูธรเมืองสมุทรปราการ เพื่อเรียกเก็บเงินจากบัญชีเงินฝากของบริษัทผู้เสียหายที่ธนาคาร ก. สาขาปู่เจ้าสมิงพราย ตั้งอยู่ที่ตำบลสำโรงใต้ อำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ ซึ่งอยู่ในอำนาจสอบสวนของพนักงานสอบสวนสถานีตำรวจภูธรสำโรงใต้ กรณีจึงเป็นความผิดต่อเนื่องและกระทำต่อเนื่องกันในท้องที่ต่าง ๆ เกินกว่าท้องที่หนึ่งขึ้นไป รวมทั้งเป็นความผิดซึ่งมีหลายกรรม กระทำลงในท้องที่ต่าง ๆ กัน ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 19 (3) (4) ซึ่งพนักงานสอบสวนในท้องที่หนึ่งท้องที่ใดที่เกี่ยวข้องมีอำนาจสอบสวนได้ เมื่อพนักงานสอบสวนสถานีตำรวจภูธรสำโรงใต้เป็นผู้รับคำร้องทุกข์ พนักงานสอบสวนสถานีตำรวจภูธรสำโรงใต้จึงมีอำนาจสอบสวนและโอนการสอบสวนให้พนักงานสอบสวนสถานีตำรวจภูธรเมืองสมุทรปราการ เป็นผู้รับผิดชอบในการสอบสวนต่อไป เมื่อจับจำเลยได้ตามหมายจับ การสอบสวนดังกล่าวจึงเป็นการสอบสวนที่ชอบด้วยกฎหมายแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 15497/2556
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยิงต่อเนื่องสองครั้งถือเป็นความผิดสองกรรม แม้เวลาใกล้เคียงกัน หากมีเจตนาต่างกัน
ขณะเกิดเหตุผู้ตายยืนอยู่ใกล้กับผู้เสียหายห่างกันไม่เกิน 50 เมตร และผู้เสียหายเบิกความตอบทนายโจทก์ร่วมว่า ในครั้งแรกจำเลยยิงอาวุธปืนติดต่อกัน 2 นัด ผู้เสียหายถูกยิงนัดที่ 2 หลังจากนั้นผู้ตายจึงถูกยิง การที่จำเลยใช้อาวุธปืนยิงผู้ตายและผู้เสียหายจึงเป็นการยิงคนละครั้ง แม้จะเป็นเวลาต่อเนื่องกันไป แต่ก็แยกเจตนาในการกระทำความผิดออกจากกันได้ การยิงผู้เสียหายย่อมเป็นความผิดสำเร็จในตัวเอง และการยิงผู้ตายก็เป็นความผิดสำเร็จในตัวเองต่างหากอีกกรรมหนึ่ง ดังนั้น การที่จำเลยใช้อาวุธปืนยิงผู้เสียหายและยิงผู้ตายจึงเป็นความผิดสองกรรม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 13974/2556
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การริบทรัพย์สินจากคดียาเสพติด: กรอบเวลา 1 ปี และการแยกพิจารณาผู้ต้องหา
แม้ทรัพย์สินรายการที่ 2 และที่ 3 ที่ผู้ร้องขอให้ศาลสั่งริบ คณะกรรมการตรวจสอบทรัพย์สินจะเคยมีคำสั่งให้ตรวจสอบตามคำสั่งที่ 1036/2546 ลงวันที่ 25 มีนาคม 2546 ซึ่งเป็นการตรวจสอบทรัพย์สินอันเนื่องมาจากการกระทำความผิดในคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 1255/2547 ของศาลชั้นต้น รวมทั้งมีบันทึกของเจ้าพนักงานตำรวจ เรื่องการตรวจยึดทรัพย์สินที่ได้มาเนื่องจากการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด ลงวันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2546 ว่า เจ้าพนักงานตำรวจได้ตรวจยึดทรัพย์สินทั้งสองรายการไว้แล้วก็ตาม แต่บันทึกการตรวจยึดทรัพย์สินของเจ้าพนักงานตำรวจดังกล่าวไม่ใช่คำสั่งยึดทรัพย์ของคณะกรรมการตรวจสอบทรัพย์สินตามมาตรา 22 จึงถือไม่ได้ว่าคณะกรรมการดังกล่าวได้มีคำสั่งยึดทรัพย์ทั้งสองรายการไว้แล้วในคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 1255/2547 แต่เมื่อคณะกรรมการตรวจสอบทรัพย์สินได้มีคำสั่งที่ 346/2549 ลงวันที่ 3 มีนาคม 2549 ให้ยึดทรัพย์ทั้งสองรายการไว้ในคดีที่ผู้คัดค้านทั้งสองถูกกล่าวหาว่ากระทำความผิดครั้งใหม่เมื่อวันที่ 26 มีนาคม 2547 จนผู้คัดค้านทั้งสองถูกฟ้องต่อศาลชั้นต้น และศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาลงโทษผู้คัดค้านที่ 1 ที่ให้การรับสารภาพเป็นคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 1975/2547 เมื่อวันที่ 21 มิถุนายน 2547 แต่สำหรับผู้คัดค้านที่ 2 ที่ให้การปฏิเสธได้ถูกแยกฟ้องเป็นคดีใหม่ และศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาเมื่อวันที่ 25 พฤศจิกายน 2548 เป็นคดีหมายเลขแดงที่ 4053/2547 ระยะเวลา 1 ปี ในกรณีของผู้คัดค้านที่ 1 จึงเริ่มนับตั้งแต่วันที่ 21 มิถุนายน 2547 และในกรณีของผู้คัดค้านที่ 2 เริ่มนับตั้งแต่วันที่ 25 พฤศจิกายน 2548 เมื่อผู้ร้องยื่นคำร้องคดีนี้เมื่อวันที่ 23 มิถุนายน 2549 จึงพ้นกำหนด 1 ปี นับแต่วันที่ศาลชั้นต้นในคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 1975/2547 มีคำพิพากษาลงโทษผู้คัดค้านที่ 1 ผู้ร้องจึงไม่มีอำนาจที่จะร้องขอให้ริบทรัพย์สินในส่วนที่เป็นของผู้คัดค้านที่ 1 คงมีอำนาจร้องขอให้ริบทรัพย์สินในส่วนที่เป็นของผู้คัดค้านที่ 2
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 12235/2556
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การคืนเงินประจำตำแหน่งและประโยชน์ตอบแทนอื่นกรณี ส.ส./ส.ว. ถูกออกจากตำแหน่งเนื่องจากเลือกตั้งโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย
เมื่อคณะกรรมการการเลือกตั้งวินิจฉัยว่าจำเลยกระทำการอันเป็นการฝ่าฝืน พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ.2541 มาตรา 44 (1) ประกอบมาตรา 90 และมีคำสั่งให้มีการเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภาในเขตเลือกตั้งจังหวัดลพบุรีใหม่ มีผลทำให้สมาชิกภาพของจำเลยสิ้นสุดลงตั้งแต่วันที่ 13 มีนาคม 2544 ก่อนที่คณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ฉบับที่ 3 ลงวันที่ 19 กันยายน 2549 ข้อ 1 ให้ยกเลิกรัฐธรรมนูญ พุทธศักราช 2540 และมีผลให้รัฐธรรมนูญฉบับดังกล่าวสิ้นผลบังคับในวันดังกล่าวก็ตาม แต่สิทธิเรียกร้องของโจทก์ที่จะให้จำเลยคืนเงินประจำตำแหน่งและประโยชน์ตอบแทนอย่างอื่นที่จำเลยได้รับเนื่องจากการดำรงตำแหน่งดังกล่าว เริ่มนับตั้งแต่วันที่ 13 มีนาคม 2544 ก่อนรัฐธรรมนูญฉบับดังกล่าวถูกยกเลิก โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องให้จำเลยคืนเงินประจำตำแหน่งและผลประโยชน์ตอบแทนอย่างอื่นที่จำเลยได้รับไปจากโจทก์ในระหว่างที่ดำรงตำแหน่งโดยไม่มีสิทธิได้ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 มาตรา 97 และโจทก์ในฐานะผู้มีสิทธิในเงินดังกล่าวย่อมมีสิทธิติดตามเอาคืนจากผู้ไม่มีสิทธิได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1336 คดีโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ
เมื่อจำเลยเป็นผู้ขอให้โจทก์แต่งตั้งผู้เชี่ยวชาญ และผู้ปฏิบัติงานประจำตัวจำเลย ที่ปรึกษาประธานวุฒิสภาและรองประธานรัฐสภา และเลขานุการประธานวุฒิสภาประจำตัวจำเลย ซึ่งเป็นสิทธิของจำเลยที่ได้มาระหว่างที่จำเลยดำรงตำแหน่งและเป็นประโยชน์แก่จำเลยเอง เงินที่โจทก์ได้จ่ายให้แก่บุคคลที่จำเลยขอให้โจทก์แต่งตั้งจึงมีลักษณะเป็นประโยชน์ตอบแทนอย่างอื่นที่จำเลยได้รับมาเนื่องจากการดำรงตำแหน่ง จำเลยจึงต้องคืนแก่โจทก์ด้วย
เมื่อจำเลยเป็นผู้ขอให้โจทก์แต่งตั้งผู้เชี่ยวชาญ และผู้ปฏิบัติงานประจำตัวจำเลย ที่ปรึกษาประธานวุฒิสภาและรองประธานรัฐสภา และเลขานุการประธานวุฒิสภาประจำตัวจำเลย ซึ่งเป็นสิทธิของจำเลยที่ได้มาระหว่างที่จำเลยดำรงตำแหน่งและเป็นประโยชน์แก่จำเลยเอง เงินที่โจทก์ได้จ่ายให้แก่บุคคลที่จำเลยขอให้โจทก์แต่งตั้งจึงมีลักษณะเป็นประโยชน์ตอบแทนอย่างอื่นที่จำเลยได้รับมาเนื่องจากการดำรงตำแหน่ง จำเลยจึงต้องคืนแก่โจทก์ด้วย