พบผลลัพธ์ทั้งหมด 4 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7461/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิใช้ทางจำเป็นเมื่อที่ดินไม่มีทางออกสู่สาธารณะ
โจทก์บรรยายฟ้องว่า ที่ดินโจทก์และที่ดินจำเลยอยู่ติดกันและแบ่งแยกมาจากที่ดินโฉนดเดียวกัน โจทก์ใช้ทางผ่านที่ดินจำเลยออกสู่ถนนมาเป็นเวลา 10 ปีเศษ บ้านและที่ดินโจทก์อยู่ในวงล้อมของที่ดินบุคคลอื่นไม่มีทางออกสู่ถนนสาธารณะได้ โจทก์มีทางออกสู่ถนนสาธารณะต้องผ่านที่ดินจำเลยซึ่งเป็นทางจำเป็นหรือภาระจำยอม คำฟ้องของโจทก์ระบุถึงสิทธิของโจทก์ว่า มีสิทธิใช้ทางพิพาทเป็นทางจำเป็นหรือทางภาระจำยอมบนที่ดินจำเลย จากที่ดินโจทก์เพื่อออกไปสู่ทางสาธารณะ และในคำขอท้ายฟ้องก็ระบุว่าให้จำเลยเปิดทางพิพาทให้โจทก์ใช้ได้อย่างเดิม ฟ้องโจทก์บรรยายไว้ครบทั้งเรื่องทางจำเป็นและทางภาระจำยอมโดยไม่ขัดกัน ที่ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อพิพาทว่า ทางพิพาทเป็นทางจำเป็นหรือทางภาระจำยอม แล้ววินิจฉัยว่าทางพิพาทเป็นทางจำเป็น จึงมิใช่เป็นการวินิจฉัยนอกประเด็น
การแบ่งแยกหรือแบ่งโอนทำให้ที่ดินโจทก์ซึ่งแบ่งออกมาไม่มีทางออกสู่ทางสาธารณะ โจทก์จึงมีสิทธิเรียกร้องเอาทางเดินซึ่งเป็นทางจำเป็นบนที่ดินจำเลยซึ่งเป็นแปลงที่แบ่งแยกหรือแบ่งโอนออกสู่ทางสาธารณะได้ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1350
การแบ่งแยกหรือแบ่งโอนทำให้ที่ดินโจทก์ซึ่งแบ่งออกมาไม่มีทางออกสู่ทางสาธารณะ โจทก์จึงมีสิทธิเรียกร้องเอาทางเดินซึ่งเป็นทางจำเป็นบนที่ดินจำเลยซึ่งเป็นแปลงที่แบ่งแยกหรือแบ่งโอนออกสู่ทางสาธารณะได้ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1350
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6363/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
น.ส.3 ก.ออกทับ น.ส.3 เดิมเป็นโมฆะ ทำให้สิทธิครอบครองตาม น.ส.3 ก. ไม่มีผล
น.ส.3 ก.เป็นเอกสารสำคัญเกี่ยวกับที่ดินซึ่งกฎหมายสันนิษฐานว่าผู้มีชื่อในเอกสารเป็นผู้มีสิทธิครอบครอง เมื่อฟังว่า น.ส.3 ก. ตามเอกสารหมาย จ.3 ออกทับ น.ส.3 ตามเอกสารหมาย จ.22 จึงถือได้ว่าเป็นการออกโดยมิชอบ อันทำให้ไม่มีผลบังคับตามกฎหมาย โจทก์จึงไม่มีสิทธิครอบครองในที่ดินพิพาทตาม น.ส.3 ก.เอกสารหมาย จ.3 ดังนั้นการที่ศาลอุทธรณ์ยกเอาเรื่องการออกน.ส.3 ก.ของโจทก์ขึ้นวินิจฉัย จึงอยู่ในประเด็นเรื่องการครอบครองที่ดินพิพาทที่ว่ากันมาแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3475/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับสภาพหนี้ตามหนังสือและการฟ้องผิดสัญญาประกันภัย การฟ้องต้องสอดคล้องกับหนังสือรับสภาพหนี้
หนังสือของจำเลยตามเอกสารหมาย จ.7 กล่าวอ้างถึงหนังสือของจำเลยตามเอกสารหมาย จ.5 ซึ่งจำเลยเคยขอเสนอชำระค่าเสียหายแก่โจทก์เป็นเงิน 147,375.06 บาท และจำเลยยืนยันในหนังสือเอกสารหมาย จ.7 อีกครั้งว่าจะชำระค่าเสียหายดังกล่าวให้แก่โจทก์เป็นเงิน 147,375.06 บาท ภายในระยะเวลาที่สั้นที่สุด แม้จำนวนเงินที่จำเลยเสนอจะต่ำกว่าที่โจทก์เรียกร้อง เป็นจำนวนเงิน174,203.40 บาท ก็ตาม แต่จำเลยก็มิได้โต้แย้งค่าสินไหมทดแทนในจำนวนเงิน147,375.06 บาท กลับยืนยันว่าจะใช้เงินจำนวนนี้ให้แก่โจทก์ หนังสือของจำเลยตามเอกสารหมาย จ.7 จึงเป็นหนังสือรับสภาพหนี้ตามความหมายใน ป.พ.พ.มาตรา172 เดิม
ความเสียหายของเครื่องปั๊มน้ำเกิดจากไฟฟ้าลัดวงจร ซึ่งอยู่ภายใต้การคุ้มครองตามกรมธรรม์ประกันภัย การเสี่ยงภัยทุกชนิดในการติดตั้งไม่ได้อยู่ภายใต้การคุ้มครองตามกรมธรรม์ประกัยภัยการขนส่งทางทะเลตามฟ้อง เมื่อโจทก์ฟ้องบังคับจำเลยให้รับผิดตามกรมธรรม์ประกันภัยการขนส่งทางทะเล แม้โจทก์จะฟ้องบังคับจำเลยตามหนังสือรับสภาพหนี้ด้วยก็ตาม แต่โจทก์ก็กล่าวอ้างว่าเป็นการรับสภาพหนี้ตามกรมธรรม์ประกันภัยการขนส่งทางทะเล เมื่อได้ความว่าจำเลยทำหนังสือรับสภาพหนี้ตามกรมธรรม์ประกันภัยการเสี่ยงภัยทุกชนิดในการติดตั้ง มิได้รับสภาพหนี้ตามกรมธรรม์ประกันภัยการขนส่งทางทะเลตามฟ้องเช่นกัน เช่นนี้ จึงเป็นเรื่องนอกฟ้อง จำเลยไม่ต้องรับผิดตามฟ้อง
ความเสียหายของเครื่องปั๊มน้ำเกิดจากไฟฟ้าลัดวงจร ซึ่งอยู่ภายใต้การคุ้มครองตามกรมธรรม์ประกันภัย การเสี่ยงภัยทุกชนิดในการติดตั้งไม่ได้อยู่ภายใต้การคุ้มครองตามกรมธรรม์ประกัยภัยการขนส่งทางทะเลตามฟ้อง เมื่อโจทก์ฟ้องบังคับจำเลยให้รับผิดตามกรมธรรม์ประกันภัยการขนส่งทางทะเล แม้โจทก์จะฟ้องบังคับจำเลยตามหนังสือรับสภาพหนี้ด้วยก็ตาม แต่โจทก์ก็กล่าวอ้างว่าเป็นการรับสภาพหนี้ตามกรมธรรม์ประกันภัยการขนส่งทางทะเล เมื่อได้ความว่าจำเลยทำหนังสือรับสภาพหนี้ตามกรมธรรม์ประกันภัยการเสี่ยงภัยทุกชนิดในการติดตั้ง มิได้รับสภาพหนี้ตามกรมธรรม์ประกันภัยการขนส่งทางทะเลตามฟ้องเช่นกัน เช่นนี้ จึงเป็นเรื่องนอกฟ้อง จำเลยไม่ต้องรับผิดตามฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 785/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเวนคืนที่ดิน: ราคาตามความเป็นธรรมต้องพิจารณาสภาพที่ตั้งและวัตถุประสงค์การเวนคืน มิใช่ราคาตลาดทั่วไป
จำเลยไม่ได้ให้การต่อสู้ว่า การเวนคืนที่ดินพิพาททำให้ที่ดินของโจทก์ส่วนที่เหลืออยู่มีราคาสูงขึ้น ต้องเอาราคาสูงขึ้นนั้นมาหักกับค่าทดแทนที่ดินพิพาท ดังนั้นที่ศาลชั้นต้นหยิบยกปัญหาข้อเท็จจริงขึ้นวินิจฉัยว่าราคาที่ดินของโจทก์ส่วนที่เหลือมีราคาเฉลี่ยเพิ่มขึ้น 10 เท่าตัว เท่ากับโจทก์ได้รับประโยชน์จากการเวนคืนมากกว่าราคาซื้อในครั้งแรกถึง 6 เท่าตัว จึงไม่มีเหตุจะได้รับค่าทดแทนเพิ่มขึ้นนั้น เป็นการวินิจฉัยนอกประเด็นข้อพิพาทจึงไม่ชอบ ถือว่าเป็นข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้น ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
ตาม พ.ร.บ.เวนคืนอสังหาริมทรัพย์ในท้องที่ตำบลห้วยโป่งและตำบลมาบตาพุด อำเภอเมืองระยอง จังหวัดระยอง พ.ศ.2527 มาตรา 5ให้นิคมอุตสาหกรรมจำเลยกำหนดราคาของอสังหาริมทรัพย์ที่เวนคืนตามความเป็นธรรมที่เป็นอยู่ในวันใช้บังคับพระราชกฤษฎีกาดังกล่าวคือวันที่ 10 ธันวาคม 2525ทั้งนี้นอกจากคำนึงถึงราคาประเมินทุนทรัพย์ในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมแล้วยังต้องคำนึงถึงสภาพและที่ตั้งของอสังหาริมทรัพย์ประกอบกับเหตุและวัตถุประสงค์ของการเวนคืนด้วย ดังนั้น การที่จำเลยกำหนดค่าทดแทนให้แก่โจทก์โดยกำหนดตามบัญชีกำหนดราคาที่ดินตามราคาตลาดเพื่อเป็นทุนทรัพย์สำหรับเรียกเก็บค่าธรรมเนียมในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรม อำเภอเมืองระยอง ในปี 2525 ถึง 2527 ซึ่งเป็นบัญชีกำหนดราคาที่ดินโดยเอาตำบล ถนน และทะเลเป็นหลักในการประเมินราคาเป็นการประเมินอย่างกว้าง ๆ ราคาที่ดินตามบัญชีกำหนดราคาที่ดินดังกล่าวย่อมไม่ตรงกับความเป็นจริงเสมอไป การพิจารณาสภาพและที่ตั้งของที่ดินที่จะถูกเวนคืนต้องพิจารณาถึงสภาพและที่ตั้งของที่ดินที่เป็นอยู่จริงในแต่ละแปลง มิใช่พิจารณาแต่เพียงว่าที่ตั้งของที่ดินอยู่ในตำบลใด ห่างจากถนนหรือทะเล ตรงตามบัญชีกำหนดราคาที่ดิน ฯ ในหน่วยใดก็กำหนดให้ตามนั้น ส่วนเหตุและวัตถุประสงค์ในการเวนคืนแม้จำเลยมีความประสงค์จะจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรมเพื่อส่งเสริมให้มีการลงทุนภายในประเทศมากขึ้นก็ตาม แต่ตาม พ.ร.บ.การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยพ.ศ.2522 มาตรา 6 กำหนดให้จำเลยเป็นนิติบุคคลมีวัตถุประสงค์แสวงหากำไรทางเศรษฐกิจอยู่ด้วย จำเลยย่อมได้รับผลประโยชน์จากที่ดินที่ถูกเวนคืนด้วย ดังนั้นเมื่อจำเลยได้รับทรัพย์สินของโจทก์ไปเท่าใดก็ควรจะต้องใช้ค่าทดแทนให้โจทก์ตามราคาของทรัพย์สินนั้นในวันใช้บังคับพระราชกฤษฎีกา ฯ จึงจะถือว่าเป็นราคาตามความเป็นธรรม การที่จำเลยกำหนดค่าทดแทนให้แก่โจทก์โดยกำหนดราคาที่ดินของโจทก์ทุกแปลงตามการแบ่งเป็นหน่วยในบัญชีกำหนดราคาที่ดินตามราคาตลาดเพื่อเป็นทุนทรัพย์สำหรับเรียกเก็บค่าธรรมเนียมในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรม ฯแสดงให้เห็นว่าจำเลยกำหนดราคาที่ดินของโจทก์โดยไม่ได้คำนึงถึงสภาพและที่ตั้งที่แท้จริงของที่ดินของโจทก์ และไม่ได้คำนึงถึงเหตุและวัตถุประสงค์ของการเวนคืนด้วยวิธีการของจำเลยในการกำหนดค่าทดแทนให้แก่โจทก์จึงไม่ชอบด้วย พ.ร.บ.เวนคืน ฯ มาตรา 5 ดังกล่าวข้างต้น
ราคาที่ดินที่เคยซื้อขายกันดังที่โจทก์นำสืบมา บางแปลงอยู่ต่างตำบลและต่างอำเภอกับที่ดินพิพาท โจทก์ไม่ได้นำสืบว่าที่ดินดังกล่าวแปลงใดอยู่ห่างที่ดินพิพาทระยะทางเท่าใด สภาพและที่ตั้งของที่ดินดังกล่าวแปลงใดมีสภาพและที่ตั้งเหมือนหรือคล้ายคลึงกับที่ดินพิพาทแปลงไหนบ้าง จึงไม่อาจนำเอาราคาซื้อขายของที่ดินดังกล่าวมาเป็นเกณฑ์เพื่อเปรียบเทียบกับที่ดินพิพาทได้
ตาม พ.ร.บ.เวนคืนอสังหาริมทรัพย์ในท้องที่ตำบลห้วยโป่งและตำบลมาบตาพุด อำเภอเมืองระยอง จังหวัดระยอง พ.ศ.2527 มาตรา 5ให้นิคมอุตสาหกรรมจำเลยกำหนดราคาของอสังหาริมทรัพย์ที่เวนคืนตามความเป็นธรรมที่เป็นอยู่ในวันใช้บังคับพระราชกฤษฎีกาดังกล่าวคือวันที่ 10 ธันวาคม 2525ทั้งนี้นอกจากคำนึงถึงราคาประเมินทุนทรัพย์ในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมแล้วยังต้องคำนึงถึงสภาพและที่ตั้งของอสังหาริมทรัพย์ประกอบกับเหตุและวัตถุประสงค์ของการเวนคืนด้วย ดังนั้น การที่จำเลยกำหนดค่าทดแทนให้แก่โจทก์โดยกำหนดตามบัญชีกำหนดราคาที่ดินตามราคาตลาดเพื่อเป็นทุนทรัพย์สำหรับเรียกเก็บค่าธรรมเนียมในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรม อำเภอเมืองระยอง ในปี 2525 ถึง 2527 ซึ่งเป็นบัญชีกำหนดราคาที่ดินโดยเอาตำบล ถนน และทะเลเป็นหลักในการประเมินราคาเป็นการประเมินอย่างกว้าง ๆ ราคาที่ดินตามบัญชีกำหนดราคาที่ดินดังกล่าวย่อมไม่ตรงกับความเป็นจริงเสมอไป การพิจารณาสภาพและที่ตั้งของที่ดินที่จะถูกเวนคืนต้องพิจารณาถึงสภาพและที่ตั้งของที่ดินที่เป็นอยู่จริงในแต่ละแปลง มิใช่พิจารณาแต่เพียงว่าที่ตั้งของที่ดินอยู่ในตำบลใด ห่างจากถนนหรือทะเล ตรงตามบัญชีกำหนดราคาที่ดิน ฯ ในหน่วยใดก็กำหนดให้ตามนั้น ส่วนเหตุและวัตถุประสงค์ในการเวนคืนแม้จำเลยมีความประสงค์จะจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรมเพื่อส่งเสริมให้มีการลงทุนภายในประเทศมากขึ้นก็ตาม แต่ตาม พ.ร.บ.การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยพ.ศ.2522 มาตรา 6 กำหนดให้จำเลยเป็นนิติบุคคลมีวัตถุประสงค์แสวงหากำไรทางเศรษฐกิจอยู่ด้วย จำเลยย่อมได้รับผลประโยชน์จากที่ดินที่ถูกเวนคืนด้วย ดังนั้นเมื่อจำเลยได้รับทรัพย์สินของโจทก์ไปเท่าใดก็ควรจะต้องใช้ค่าทดแทนให้โจทก์ตามราคาของทรัพย์สินนั้นในวันใช้บังคับพระราชกฤษฎีกา ฯ จึงจะถือว่าเป็นราคาตามความเป็นธรรม การที่จำเลยกำหนดค่าทดแทนให้แก่โจทก์โดยกำหนดราคาที่ดินของโจทก์ทุกแปลงตามการแบ่งเป็นหน่วยในบัญชีกำหนดราคาที่ดินตามราคาตลาดเพื่อเป็นทุนทรัพย์สำหรับเรียกเก็บค่าธรรมเนียมในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรม ฯแสดงให้เห็นว่าจำเลยกำหนดราคาที่ดินของโจทก์โดยไม่ได้คำนึงถึงสภาพและที่ตั้งที่แท้จริงของที่ดินของโจทก์ และไม่ได้คำนึงถึงเหตุและวัตถุประสงค์ของการเวนคืนด้วยวิธีการของจำเลยในการกำหนดค่าทดแทนให้แก่โจทก์จึงไม่ชอบด้วย พ.ร.บ.เวนคืน ฯ มาตรา 5 ดังกล่าวข้างต้น
ราคาที่ดินที่เคยซื้อขายกันดังที่โจทก์นำสืบมา บางแปลงอยู่ต่างตำบลและต่างอำเภอกับที่ดินพิพาท โจทก์ไม่ได้นำสืบว่าที่ดินดังกล่าวแปลงใดอยู่ห่างที่ดินพิพาทระยะทางเท่าใด สภาพและที่ตั้งของที่ดินดังกล่าวแปลงใดมีสภาพและที่ตั้งเหมือนหรือคล้ายคลึงกับที่ดินพิพาทแปลงไหนบ้าง จึงไม่อาจนำเอาราคาซื้อขายของที่ดินดังกล่าวมาเป็นเกณฑ์เพื่อเปรียบเทียบกับที่ดินพิพาทได้