พบผลลัพธ์ทั้งหมด 5 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7366/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเวนคืนที่ดิน: การไม่ปฏิบัติตามขั้นตอนการอุทธรณ์ค่าทดแทนทำให้ขาดสิทธิฟ้องร้อง
พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 295(ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2530 มาตรา 7 ให้ยกเลิกความในส่วนที่ 3 การเวนคืนอสังหาริมทรัพย์เพื่อสร้างหรือขยายทางหลวง ข้อ 63 ถึงข้อ 80 แห่งประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 295 และมาตรา 9 วรรคสอง บัญญัติว่า การเวนคืนและการปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยทางหลวงที่ได้ปฏิบัติไปแล้วก่อนวันใช้บังคับพระราชบัญญัตินี้เป็นอันใช้ได้ แต่การดำเนินการต่อไป ให้ดำเนินการตามกฎหมายว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์คือดำเนินการตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 กรณีของโจทก์ขณะที่พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 295 พ.ศ. 2515(ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2530 มีผลใช้บังคับการดำเนินการตามพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนฯ ยังไม่เสร็จสิ้น เพราะจำเลยยังไม่ได้กำหนดค่าตอบแทนที่ดินให้แก่โจทก์ ดังนั้นการดำเนินการต่อไปจึงต้องบังคับตามบทบัญญัติของพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530ซึ่งตามมาตรา 25 วรรคหนึ่งกำหนดว่า ถ้าผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนการเวนคืนไม่พอใจในราคาของอสังหาริมทรัพย์หรือจำนวนเงินค่าทดแทน มีสิทธิอุทธรณ์ต่อรัฐมนตรีผู้รักษาการตามพระราชกฤษฎีกาภายใน 60 วัน นับแต่วันได้รับหนังสือให้มารับเงินค่าทดแทน และตามมาตรา 26 วรรคหนึ่ง กำหนดว่า ในกรณีที่ผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนยังไม่พอใจคำวินิจฉัยของรัฐมนตรีตามมาตรา 25 ให้มีสิทธิฟ้องคดีต่อศาลได้ แต่เมื่อจำเลยกำหนดค่าทดแทนที่ดินที่จะถูกเวนคืนให้แก่โจทก์แล้วโจทก์ได้รับเงินดังกล่าวไปเมื่อวันที่ 5 สิงหาคม 2531 โดยไม่ได้อุทธรณ์ต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยซึ่งเป็นผู้รักษาการตามพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนฯ ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 25 วรรคหนึ่ง ซึ่งเมื่อโจทก์ไม่ปฏิบัติตามบทบัญญัติของกฎหมายดังกล่าว ก็ย่อมไม่มีสิทธิฟ้องคดีต่อศาล
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7366/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเวนคืนที่ดิน: สิทธิอุทธรณ์ค่าทดแทนและการฟ้องคดีหลังรับเงินแล้ว
พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 295(ฉบับที่ 2) พ.ศ.2530 มาตรา 7 ให้ยกเลิกความในส่วนที่ 3 การเวนคืนอสังหาริมทรัพย์เพื่อสร้างหรือขยายทางหลวง ข้อ 63 ถึงข้อ 80 แห่งประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 295 และมาตรา 9 วรรคสอง บัญญัติว่า การเวนคืนและการปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยทางหลวงที่ได้ปฏิบัติไปแล้วก่อนวันใช้บังคับพ.ร.บ.นี้เป็นอันใช้ได้ แต่การดำเนินการต่อไป ให้ดำเนินการตามกฎหมายว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ คือดำเนินการตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530 กรณีของโจทก์ขณะที่ พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 295 พ.ศ.2515 (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2530 มีผลใช้บังคับการดำเนินการตาม พ.ร.ฎ. กำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืน ฯ ยังไม่เสร็จสิ้น เพราะจำเลยยังไม่ได้กำหนดค่าทดแทนที่ดินให้แก่โจทก์ ดังนั้นการดำเนินการต่อไปจึงต้องบังคับตามบทบัญญัติของ พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530 ซึ่งตามมาตรา 25 วรรคหนึ่งกำหนดว่า ถ้าผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนการเวนคืนไม่พอใจในราคาของอสังหาริมทรัพย์หรือจำนวนเงินค่าทดแทน มีสิทธิอุทธรณ์ต่อรัฐมนตรีผู้รักษาการตาม พ.ร.ฎ. ภายใน 60 วันนับแต่วันได้รับหนังสือให้มารับเงินค่าทดแทน และตามมาตรา 26 วรรคหนึ่งกำหนดว่า ในกรณีที่ผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนยังไม่พอใจคำวินิจฉัยของรัฐมนตรีตามมาตรา 25 ให้มีสิทธิฟ้องคดีต่อศาลได้ แต่เมื่อจำเลยกำหนดค่าทดแทนที่ดินที่จะถูกเวนคืนให้แก่โจทก์แล้ว โจทก์ได้รับเงินดังกล่าวไปเมื่อวันที่ 5 สิงหาคม2531 โดยไม่ได้อุทธรณ์ต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยซึ่งเป็นผู้รักษาการตาม พ.ร.ฎ.กำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืน ฯ ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา25 วรรคหนึ่ง ซึ่งเมื่อโจทก์ไม่ปฏิบัติตามบทบัญญัติของกฎหมายดังกล่าว ก็ย่อมไม่มีสิทธิฟ้องคดีต่อศาล
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5164/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกำหนดราคาค่าทดแทนเวนคืนตามราคาตลาดจริงในวันที่ พ.ร.ฎ.ใช้บังคับ มิใช่ราคาประเมิน
ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 295 ข้อ 76 บัญญัติว่า "เงินค่าทดแทนนั้น ถ้าไม่มีบทบัญญัติเป็นพิเศษใน พ.ร.บ.เวนคืนอสังหาริมทรัพย์ซึ่งออกตามข้อ 63 แล้ว ให้กำหนดเท่าราคาทรัพย์สินตามราคาธรรมดาที่ซื้อขายในท้องตลาดในวันดังต่อไปนี้ (1) ในวันที่ พ.ร.ฎ.กำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนใช้บังคับในกรณีที่ได้มีการตรา พ.ร.ฎ.เช่นว่านั้น... ตามบทบัญญัติดังกล่าว เห็นได้ว่า การที่กำหนดให้ใช้ค่าทดแทนตามราคาธรรมดาที่ซื้อขายกันในท้องตลาดนั้น หมายถึงราคาธรรมดาที่อาจซื้อขายกันในท้องตลาดตามความเป็นจริงในวันที่ พ.ร.ฎ.ใช้บังคับ มิได้หมายความว่า ถ้าในวันที่ พ.ร.ฎ.ใช้บังคับไม่มีหลักฐานการจดทะเบียนซื้อขายกันที่สำนักงานที่ดินก็จะต้องถือเอาราคาประเมินเพื่อใช้ในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมเป็นเกณฑ์กำหนดค่าทดแทน ทั้งการที่จำเลยกำหนดค่าทดแทนให้โจทก์ทั้งสิบสองโดยถือเอาราคาประเมินในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมดังกล่าวเป็นเกณฑ์กำหนดราคาค่าทดแทนย่อมคงที่ตลอดเวลาที่ใช้ราคาประเมินนั้น มิใช่ราคาที่ซื้อขายกันในท้องตลาดซึ่งที่ดินของโจทก์ทั้งสิบสองอาจเปลี่ยนแปลงสูงขึ้นตามภาวะเศรษฐกิจ ปรากฏว่า วันที่28 ธันวาคม 2527 ซึ่งเป็นวันที่ พ.ร.ฎ.ประกาศใช้บังคับ จำเลยนำเอาราคาประเมินเพื่อใช้ในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมที่เริ่มใช้บังคับนับแต่วันที่ 1 มกราคม 2525มาเป็นเกณฑ์กำหนดค่าทดแทนให้แก่โจทก์ทั้งสิบสองนับว่าเป็นราคาที่แตกต่างจากราคาธรรมดาที่ซื้อขายในท้องตลาดในวันที่ พ.ร.ฎ.กำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนประกาศใช้บังคับแน่ เนื่องจากเป็นเวลาที่เนิ่นนานร่วม 3 ปีแล้ว ราคาที่ดินย่อมสูงขึ้นเรื่อย ๆ เป็นธรรมดา ราคาประเมินเพื่อใช้ในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมที่มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2528 จึงเป็นราคาใกล้เคียงกับราคาธรรมดาที่ซื้อขายในท้องตลาดในวันที่ พ.ร.ฎ.กำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนใช้บังคับ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3603/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเวนคืนที่ดิน ค่าทดแทนต้องเป็นราคาซื้อขายจริงในวันพระราชกฤษฎีกาใช้บังคับ
ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 295 ข้อ 76 ที่กำหนดเงินค่าทดแทนเท่าราคาของทรัพย์สินตามราคาธรรมดาที่ซื้อขายในท้องตลาดในวันที่พระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนใช้บังคับในกรณีที่ได้ตราพระราชกฤษฎีกาเช่นว่านั้นเมื่อพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 28 ธันวาคม 2527 จึงต้องกำหนดเงินทดแทนให้เท่าราคาในวันดังกล่าว ดังนั้น การที่จำเลยกำหนดค่าทดแทนที่ดินให้โจทก์โดยถือหลักเกณฑ์ตามบัญชีกำหนดจำนวนราคาที่ดินตามราคาตลาดซึ่งประกาศเมื่อวันที่ 29 ธันวาคม 2524 ให้มีผลใช้ตั้งแต่วันที่1 มกราคม 2525 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2527 เพื่อใช้เป็นทุนทรัพย์สำหรับเรียกเก็บค่าธรรมเนียมในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรม จึงไม่ถูกต้อง และขัดกับประกาศของคณะปฏิวัติฉบับดังกล่าวเพราะมิใช่ราคาที่ซื้อขายในท้องตลาดในวันที่พระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนใช้บังคับ แม้จำเลยจะได้กำหนดค่าตอบแทนที่ดินดังกล่าวให้โจทก์ตามมติของคณะกรรมการดำเนินงานก่อสร้างสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาบริเวณสะพานพระรามหกที่ได้รับแต่งตั้งจากคณะรัฐมนตรีก็ตามเงินค่าทดแทนที่จำเลยกำหนดให้โจทก์ดังกล่าวไม่ถูกต้องตามความเป็นธรรมโจทก์มีสิทธิที่จะฟ้องเรียกเงินค่าทดแทนเพิ่มขึ้นได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3603/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเวนคืนที่ดิน: ค่าทดแทนต้องเป็นราคาตลาด ณ วันที่พระราชกฤษฎีกาใช้บังคับ
ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 295 ข้อ 76 ที่กำหนดเงินค่าทดแทนเท่าราคาของทรัพย์สินตามราคาธรรมดาที่ซื้อขายในท้องตลาดในวันที่พระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนใช้บังคับในกรณีที่ได้ตราพระราชกฤษฎีกาเช่นว่านั้น เมื่อพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืน มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 28 ธันวาคม 2527 จึงต้องกำหนดเงินทดแทนให้เท่าราคาในวันดังกล่าว ดังนั้น การที่จำเลยกำหนดค่าทดแทนที่ดินให้โจทก์โดยถือหลักเกณฑ์ตามบัญชีกำหนดจำนวนราคาที่ดินตามราคาตลาดซึ่งประกาศเมื่อวันที่ 29 ธันวาคม 2524 ให้มีผลใช้ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2525 ถึงวันที่31 ธันวาคม 2527 เพื่อใช้เป็นทุนทรัพย์สำหรับเรียกเก็บค่าธรรมเนียมในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรม จึงไม่ถูกต้อง และขัดกับประกาศของคณะปฏิวัติฉบับดังกล่าวเพราะมิใช่ราคาที่ซื้อขายในท้องตลาดในวันที่พระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนใช้บังคับ แม้จำเลยจะได้กำหนดค่าทดแทนที่ดินดังกล่าวให้โจทก์ตามมติของคณะกรรมการดำเนินงานก่อสร้างสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาบริเวณสะพานพระรามหก ที่ได้รับแต่งตั้งจากคณะรัฐมนตรีก็ตามเงินค่าทดแทนที่จำเลยกำหนดให้โจทก์ดังกล่าวไม่ถูกต้องตามความเป็นธรรมโจทก์มีสิทธิที่จะฟ้องเรียกเงินค่าทดแทนเพิ่มขึ้นได้