คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 113 เดิม

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 3 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2230/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การซื้อขายที่ดินช่วงล้มละลายเป็นโมฆะ และการครอบครองปรปักษ์ต้องแสดงการยึดถือครอบครองจริง
การซื้อขายที่ดินพิพาทซึ่งทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อ พนักงานเจ้าหน้าที่ได้กระทำในช่วงเวลาที่โจทก์ถูกศาลสั่ง พิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดแล้ว อำนาจในการจัดการทรัพย์สินย่อม ตกอยู่แก่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ โจทก์ไม่มีอำนาจกระทำการใด ๆ เกี่ยวกับทรัพย์สินของตนตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483มาตรา 22 และ 24 ดังนั้นการซื้อขายที่ดินพิพาทดังกล่าว จึงตกเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 113(เดิม)ไม่มีผลบังคับ การซื้อขายที่ดินพิพาทก่อนโจทก์มีสถานะเป็นบุคคลล้มละลาย เมื่อมิได้ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ย่อมตกเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 456ไม่มีผลบังคับตามกฎหมาย ไม่อาจฟังว่ามีการซื้อขายที่ดินพิพาท คดีแพ่ง การยกอายุความขึ้นเป็นข้อต่อสู้เป็นการปฏิเสธ ข้ออ้างของโจทก์ จำเลยจะต้องแสดงโดยชัดแจ้งในคำให้การ ว่าคดีของโจทก์ขาดอายุความเพราะเหตุใด จำเลยให้การแต่เพียงว่า โจทก์จะต้องเรียกร้องภายในกำหนด 1 ปี นับแต่วันที่โจทก์ ได้รู้ว่าตนมีสิทธิเรียกคืน หรือภายในกำหนด 10 ปี นับแต่ เวลาสิทธินั้นได้มีขึ้นฟ้องโจทก์ขาดอายุความ โดยมิได้แสดงให้ ชัดแจ้งว่าคดีขาดอายุความเรื่องอะไรและเพราะเหตุใด คำให้การ ของจำเลยจึงไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 177 วรรคสอง ที่ศาลอุทธรณ์ไม่รับวินิจฉัยอุทธรณ์ของจำเลยในปัญหาเรื่องอายุความ จึงชอบแล้ว การได้กรรมสิทธิ์ในอสังหาริมทรัพย์โดยการครอบครองตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1382 จะต้องแสดง อาการยึดถือครอบครองอสังหาริมทรัพย์ของผู้อื่นเพื่อตนจริง ๆ โดยสงบและโดยเปิดเผยติดต่อกันเป็นเวลาสิบปี ลำพังการมีชื่อ เป็นเจ้าของที่ดินในโฉนดและการเสียภาษีบำรุงท้องที่ย่อม มิใช่เป็นการครอบครองที่ดิน ที่ดินที่พิพาทคือที่ดินโฉนดเลขที่ 102174 แต่ศาลชั้นต้นพิพากษาไปตามคำขอท้ายฟ้องของโจทก์เป็นโฉนดเลขที่ 102175 ก็เนื่องจากการพิมพ์ผิดพลาดจากเลข 4 เป็นเลข 5 มาแต่แรก จึงเป็นข้อผิดพลาดหรือผิดหลงเล็กน้อย ดังนี้ศาลอุทธรณ์ย่อมมี อำนาจแก้ไขได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 143 วรรคแรก กรณีหาใช่โจทก์นำสืบแตกต่างกับ ฟ้องหรือจำเลยหลงต่อสู้แต่อย่างใดไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2230/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การซื้อขายที่ดินช่วงล้มละลายเป็นโมฆะ การครอบครองปรปักษ์ต้องเข้ายึดถือครอบครองจริง และอายุความต้องยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้ชัดเจน
การซื้อขายที่ดินพิพาทซึ่งทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ได้กระทำในช่วงเวลาที่โจทก์ ถูกศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดแล้วอำนาจในการจัดการทรัพย์สินย่อมตกอยู่แก่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ โจทก์ไม่มีอำนาจกระทำ การใด ๆ เกี่ยวกับทรัพย์สินของตนตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 22 และ 24 ดังนั้นการ ซื้อขายที่ดินพิพาทดังกล่าวจึงตกเป็นโมฆะตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 113(เดิม) ไม่มีผลบังคับ การซื้อขายที่ดินพิพาทก่อนโจทก์มีสถานะเป็นบุคคลล้มละลาย เมื่อมิได้ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ย่อมตกเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 456 จึงเสียไป ไม่มีผลบังคับตามกฎหมาย ไม่อาจฟังว่า มีการซื้อขายที่ดินพิพาท ในคดีแพ่ง การยกอายุความขึ้นเป็นข้อต่อสู้เป็น การปฏิเสธข้ออ้างของโจทก์ จำเลยจะต้องแสดงโดยชัดแจ้งในคำให้การว่าคดีของโจทก์ขาดอายุความเพราะเหตุใดจำเลยให้การแต่เพียงว่าโจทก์จะต้องเรียกร้องภายในกำหนด 1 ปี นับแต่วันที่โจทก์ได้รู้ว่าตนมีสิทธิเรียกคืน หรือภายในกำหนด 10 ปี นับแต่เวลาสิทธินั้นได้มีขึ้น ฟ้องโจทก์ขาดอายุความ โดยมิได้ แสดงให้ชัดแจ้งว่าคดีขาดอายุความเรื่องอะไรและเพราะเหตุใด คำให้การของจำเลยจึงไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 177 วรรคสอง ที่ศาลอุทธรณ์ไม่รับวินิจฉัยอุทธรณ์ของจำเลย ในปัญหาเรื่องอายุความจึงชอบแล้ว การได้กรรมสิทธิ์ในอสังหาริมทรัพย์โดยการครอบครองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1382 จะต้องแสดงอาการยึดถือครอบครองอสังหาริมทรัพย์ของผู้อื่นเพื่อตนจริง ๆ โดยสงบและโดยเปิดเผยติดต่อกันเป็นเวลาสิบปี ลำพังการมีชื่อเป็นเจ้าของที่ดินในโฉนดและการเสียภาษีบำรุงท้องที่ย่อมมิใช่เป็นการครอบครองที่ดิน ที่ดินที่พิพาทคือที่ดินโฉนดเลขที่ 102174 แต่ศาลชั้นต้นพิพากษาไปตามคำขอท้ายฟ้องของโจทก์เป็นโฉนดเลขที่ 102175ก็เนื่องจากการพิมพ์ผิดพลาดจากเลข 4 เป็นเลข 5 มาแต่แรกจึงเป็นข้อผิดพลาดหรือผิดหลงเล็กน้อย ดังนี้ศาลอุทธรณ์ย่อมมี อำนาจแก้ไขได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 143 วรรคแรก หาใช่โจทก์นำสืบแตกต่างกับ ฟ้องหรือจำเลยหลงต่อสู้แต่อย่างใดไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 375/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาชำระหนี้เพื่อแลกกับการถอนฟ้องคดีอาญาแผ่นดิน เป็นโมฆะเพราะขัดต่อความสงบเรียบร้อย
จำเลยทำสัญญายินยอมชำระหนี้แก่โจทก์แทน ส. บุตรจำเลยเป็นการตอบแทนที่ขอให้โจทก์ถอนฟ้องคดีอาญาที่โจทก์ฟ้อง ส.ในความผิดฐานแจ้งความเท็จ เบิกความเท็จ และนำสืบพยานหลักฐานอันเป็นเท็จ ซึ่งเป็นคดีอาญาแผ่นดิน วัตถุประสงค์ของสัญญาดังกล่าวเป็นการตกลงให้ระงับคดีอาญาแผ่นดินขัดต่อความสงบเรียบร้อยของประชาชนสัญญาตกเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 113(เดิม)